สถานการณ์การค้า 9 เดือนแรกของปี 2544 ยังคงมีแนวโน้มซบเซา และลดลงอย่างต่อเนื่อง แม้ผลกระทบจากการถูกวินาศกรรมของสหรัฐฯ จะยังไม่ปรากฏผลชัดเจน แต่ก็เป็นการย้ำว่าการส่งออกในสิ้นปีนี้ คงจะมีมูลค่าต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้
การค้า 9 เดือนแรก มีมูลค่า 96,581.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีมูลค่าการส่งออก 49,340.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และการนำเข้า 47,240.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า การส่งออกลดลง ร้อยละ 3.97 ในขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.31 ทำให้ดุลการค้าใน 9 เดือนแรกของปีนี้ มีการเกินดุลเพียง 2,099.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
โครงสร้างการส่งออก
การส่งออกใน 9 เดือนแรก ประกอบด้วย สินค้าอุตสาหกรรม 36,349.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 73.67) สินค้าเกษตรกรรม 5,912.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 11.98) สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 3,701.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 7.5) สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 1,592.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 3.22) และสินค้าอื่นๆ 1,784 ล้านเหรียญสหรัฐฯ(คิดเป็นร้อยละ 3.6)
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร และสินค้าแร่และเชื้อเพลิง มีอัตราการขยายตัวติดลบ (ลดลงร้อยละ 6.3, 12.5 และ 1.5 ตามลำดับ) ส่วนสินค้าเกษตรกรรม และสินค้าอื่นๆ การส่งออกใน 9 เดือนแรกยังคงขยายตัว (ร้อยละ 10 และ 30)
เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา การส่งออกรวมขยายตัวร้อยละ 2.1 โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวเพียงเล็กน้อย (ร้อยละ 0.5) ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร และสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ขยายตัวลดลง(ลดลงร้อยละ 1.7 และ 6.6) ในขณะที่การส่งออกสินค้าเกษตรขยายตัวสูง (ร้อยละ 15)
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า การส่งออกรวมลดลงกว่าร้อยละ 10 โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมลดลง ร้อยละ 14.45 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรลดลงร้อยละ 18.7 สินค้าแร่และเชื้อเพลิงลดลงร้อยละ 5.3 ส่วนสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4
สินค้าส่งออกสำคัญ 10 รายการใน 9 เดือนแรก ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ซึ่งยังคงมีมูลค่าการส่งออกสูงสุด คือ 5,854.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ถัดมาได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า 2,731.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ยานพาหนะและอุปกรณ์ 2,386.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เสื้อผ้าสำเร็จรูป 2,202.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง 1,637.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เม็ดพลาสติก 1,316.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัญมณีและเครื่องประดับ 1,279 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ 1,160.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ข้าว 1,063.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และยางพารา 998.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาอัตราการขยายตัวเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า ในสินค้าส่งออก 10 รายการแรก มีเพียง 3 รายการ คือ ยานพาหนะและอุปกรณ์ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง และอัญมณีและเครื่องประดับ ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 6.8, 48.8 และ 9.7 ตามลำดับ) ส่วนรายการที่เหลือ มีมูลค่าการส่งออกลดลง ซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ลดลงร้อยละ 5.8 แผงวงจรไฟฟ้า ลดลงร้อยละ 13.6 เสื้อผ้า ลดลงร้อยละ 8.6 เม็ดพลาสติก ลดลงร้อยละ 10.4 เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ ลดลงร้อยละ 15.7 ข้าว ลดลงร้อยละ 5.7 และยางพารา ลดลงร้อยละ 8.9
เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา สินค้าที่มีอัตราการส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุดในจำนวน 10 รายการแรก คือ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง มีอัตราการเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25.32 ส่วนอันดับถัดมาได้แก่ ยางพารา ยานพาหนะและอุปกรณ์ ข้าว ซึ่งมีอัตราการเพิ่มขึ้นร้อยละ 23, 21 และ 17 ตามลำดับ ส่วนสินค้าออกที่สำคัญที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 คือ แผงวงจรไฟฟ้า มูลค่าการส่งออกลดลงถึงร้อยละ 20
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว เป็นที่น่าสังเกตว่าสินค้าออก 10 รายการแรกนั้น มูลค่าการส่งออกเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 3 รายการ โดยกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 51 อัญมณีและเครื่องประดับเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 ยานยนต์ ร้อยละ 0.01 ส่วนสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่สุดได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า ลดลงร้อย 47 ลำดับถัดไป ได้แก่ เม็ดพลาสติก เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป โดยลดลงร้อยละ 35, 25 และ 12 ตามลำดับ
ตลาดส่งออก
การส่งออกไปตลาดหลัก ซึ่งได้แก่ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป อาเซียน และญี่ปุ่น มีสัดส่วนการส่งออกรวมคิดเป็นร้อยละ 71. 5 ของการส่งออกไปทั่วโลก โดยใน 9 เดือนแรก การส่งออกไปตลาดหลัก ลดลงทุกตลาด โดยตลาดสหรัฐลดลงมากที่สุด (ร้อยละ 8.56) ตลาดอาเซียน ลดลงร้อยละ 2 ตลาดสหภาพยุโรป ลดลงร้อยละ 1.1 ส่วนตลาดญี่ปุ่นลดลงเล็กน้อย เพียงร้อยละ 0.03
เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา การส่งออกไปยังประเทศและกลุ่มประเทศคู่ค้าที่สำคัญยังคงเพิ่มขึ้นยกเว้นกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปที่มีอัตราการส่งออกลดลงร้อยละ 5 ส่วนประเทศที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 คือ ประเทศ สหรัฐอเมริกา ซึ่งมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11 ส่วนที่เหลือเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนพบว่าการส่งออกมีมูลค่าลดลงในทุกๆตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยโดยตลาดที่ลดลงมากที่สุดได้แก่ ตลาดสหรัฐอเมริกา ลดลงร้อยละ 15.58 ส่วนในตลาด สหภาพยุโรป อาเซียน และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 13 ,10 , 6 ตามลำดับ
ในตลาดสหรัฐฯ สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการส่งออกลดลง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง และรองเท้าและชิ้นส่วน ส่วนสินค้าส่งออกสำคัญที่ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้สำหรับเดินทาง และหม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ
ในตลาดอาเซียน สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการส่งออกลดลง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก เหล็กและผลิตภัณฑ์ มอเตอร์ไฟฟ้า ส่วนสินค้าสำคัญที่การส่งออกยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป ยานพาหนะและอุปกรณ์ น้ำตาลทราย และเครื่องจักรกล
ในตลาดสหภาพยุโรปสินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการส่งออกลดลง ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องปรับอากาศ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ ส่วนสินค้าสำคัญที่การส่งออกยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยานพาหนะอุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ รองเท้าและชิ้นส่วน ไก่สดแช่เย็นและแช่แข็ง และผลิตภัณฑ์ยาง
ในตลาดญี่ปุ่น สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการส่งออกลดลง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน และยางพารา ส่วนสินค้าสำคัญที่การส่งออกยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ไดโอดและอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ยานพาหนะและอุปกรณ์ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ และไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง
โครงสร้างการนำเข้า
การนำเข้าใน 9 เดือนแรกของปี 2544 มีมูลค่า 47,240.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยการนำเข้าสินค้าทุนมีมูลค่าสูงสุด เท่ากับ 22,214.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ(สัดส่วนร้อยละ 47.0) ถัดมาเป็นการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 13,564.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (สัดส่วนร้อยละ 28.7) สินค้าเชื้อเพลิง 5,830.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (สัดส่วนร้อยละ 12.3) สินค้าบริโภค 3,749.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (สัดส่วนร้อยละ 7.9) และสินค้าหมวดยานพาหนะ 1,405.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ(สัดส่วนร้อยละ 2.9)
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า การนำเข้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป และยานพาหนะ มีมูลค่าลดลง(ลดลงร้อยละ 0.5 และ 7.07 ตามลำดับ) ส่วนการนำเข้าสินค้าทุน ขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงสุด ร้อยละ 8.02 สินค้าเชื้อเพลิงขยายตัวร้อยละ 7.3 และสินค้าบริโภคขยายตัวร้อยละ 3.05
เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา สินค้าเข้าในกลุ่มยานพาหนะ มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.6 ส่วนน้ำมัน และ สินค้าบริโภคเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.5 และ 4 ตามลำดับ ส่วนที่เหลือเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้านำเข้าที่สำคัญๆทุกรายการมีมูลค่าการนำเข้า ลดลงโดยน้ำมันมีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุดคือลดลงร้อยละ 8.78 ส่วน สินค้าทุน ยานพาหนะ สินค้าบริโภคมีอัตราการลดลงร้อยละ 5.91 , 5.34 และ 4.75 ตามลำดับ
แหล่งนำเข้า
การนำเข้าจากแหล่งนำเข้าสำคัญ ซึ่งได้แก่ ญี่ปุ่น อาเซียน สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ใน 9 เดือนแรก มีมูลค่า 29,446.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ( คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 62.3 ของการนำเข้ารวม ) โดยมีมูลค่านำเข้าจากแต่ละแหล่งเท่ากับ 10,374.2, 7,646.9, 5,662.6 และ 5,762.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่า การนำเข้าจากญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 9 ส่วนแหล่งนำเข้าสำคัญอื่นๆ มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น โดยการนำเข้าจากสหภาพยุโรป เพิ่มขึ้นร้อยละ 29 จากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 และจากอาเซียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6
เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา การนำเข้าจากประเทศในกลุ่มอาเซียนมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 และสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 ส่วนการนำเข้าจากประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นมีมูลค่าลดลงร้อยละ 1.9 และ 2.1 ตามลำดับ
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนพบว่า มูลค่าการนำเข้าจากกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปเพียงกลุ่มเดียวที่มีมูลค่าการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นโดยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.2 สำหรับ ประเทศญี่ปุ่น กลุ่ม อาเซียน และ ประเทศสหรัฐอเมริกา มีมูลค่าลดลง ร้อยละ 19 , 8 , 7.6 ตามลำดับ
แนวโน้มการส่งออก
จากสถานการณ์การค้าใน 9 เดือนแรก ที่ยังคงซบเซาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการที่สหรัฐฯถูกวินาศกรรม ทำให้หลายฝ่าย เริ่มปรับตัวเลขคาดการณ์การส่งออกปี 2544 อีกครั้ง โดยส่วนใหญ่ คาดว่าการส่งออกทั้งปี 2544 จะลดลงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 โดยกระทรวงพาณิชย์ได้ปรับเป้าหมายการส่งออกทั้งปี 2544 ว่าจะมีมูลค่าประมาณ 64,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือลดลงประมาณร้อยละ 8.1 โดยเฉพาะการส่งออกไปสหรัฐฯ คาดว่าจะลดลงร้อยละ 13 (กรุงเทพธุรกิจ, 26 กย 44) ส่วนซิตี้แบงก์ คาดการณ์ว่าการส่งออกในปีนี้จะลดลงร้อยละ 6-7 (กรุงเทพธุรกิจ, 6 ตค 44) ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าการส่งออกทั้งปีจะลดลง ร้อยละ 7-8 (กรุงเทพธุรกิจ, 18 กย. 44)
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
การค้า 9 เดือนแรก มีมูลค่า 96,581.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีมูลค่าการส่งออก 49,340.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และการนำเข้า 47,240.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า การส่งออกลดลง ร้อยละ 3.97 ในขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.31 ทำให้ดุลการค้าใน 9 เดือนแรกของปีนี้ มีการเกินดุลเพียง 2,099.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
โครงสร้างการส่งออก
การส่งออกใน 9 เดือนแรก ประกอบด้วย สินค้าอุตสาหกรรม 36,349.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 73.67) สินค้าเกษตรกรรม 5,912.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 11.98) สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 3,701.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 7.5) สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 1,592.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 3.22) และสินค้าอื่นๆ 1,784 ล้านเหรียญสหรัฐฯ(คิดเป็นร้อยละ 3.6)
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร และสินค้าแร่และเชื้อเพลิง มีอัตราการขยายตัวติดลบ (ลดลงร้อยละ 6.3, 12.5 และ 1.5 ตามลำดับ) ส่วนสินค้าเกษตรกรรม และสินค้าอื่นๆ การส่งออกใน 9 เดือนแรกยังคงขยายตัว (ร้อยละ 10 และ 30)
เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา การส่งออกรวมขยายตัวร้อยละ 2.1 โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวเพียงเล็กน้อย (ร้อยละ 0.5) ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร และสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ขยายตัวลดลง(ลดลงร้อยละ 1.7 และ 6.6) ในขณะที่การส่งออกสินค้าเกษตรขยายตัวสูง (ร้อยละ 15)
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า การส่งออกรวมลดลงกว่าร้อยละ 10 โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมลดลง ร้อยละ 14.45 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรลดลงร้อยละ 18.7 สินค้าแร่และเชื้อเพลิงลดลงร้อยละ 5.3 ส่วนสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4
สินค้าส่งออกสำคัญ 10 รายการใน 9 เดือนแรก ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ซึ่งยังคงมีมูลค่าการส่งออกสูงสุด คือ 5,854.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ถัดมาได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า 2,731.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ยานพาหนะและอุปกรณ์ 2,386.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เสื้อผ้าสำเร็จรูป 2,202.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง 1,637.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เม็ดพลาสติก 1,316.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัญมณีและเครื่องประดับ 1,279 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ 1,160.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ข้าว 1,063.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และยางพารา 998.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาอัตราการขยายตัวเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า ในสินค้าส่งออก 10 รายการแรก มีเพียง 3 รายการ คือ ยานพาหนะและอุปกรณ์ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง และอัญมณีและเครื่องประดับ ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 6.8, 48.8 และ 9.7 ตามลำดับ) ส่วนรายการที่เหลือ มีมูลค่าการส่งออกลดลง ซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ลดลงร้อยละ 5.8 แผงวงจรไฟฟ้า ลดลงร้อยละ 13.6 เสื้อผ้า ลดลงร้อยละ 8.6 เม็ดพลาสติก ลดลงร้อยละ 10.4 เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ ลดลงร้อยละ 15.7 ข้าว ลดลงร้อยละ 5.7 และยางพารา ลดลงร้อยละ 8.9
เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา สินค้าที่มีอัตราการส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุดในจำนวน 10 รายการแรก คือ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง มีอัตราการเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25.32 ส่วนอันดับถัดมาได้แก่ ยางพารา ยานพาหนะและอุปกรณ์ ข้าว ซึ่งมีอัตราการเพิ่มขึ้นร้อยละ 23, 21 และ 17 ตามลำดับ ส่วนสินค้าออกที่สำคัญที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 คือ แผงวงจรไฟฟ้า มูลค่าการส่งออกลดลงถึงร้อยละ 20
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว เป็นที่น่าสังเกตว่าสินค้าออก 10 รายการแรกนั้น มูลค่าการส่งออกเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 3 รายการ โดยกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 51 อัญมณีและเครื่องประดับเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 ยานยนต์ ร้อยละ 0.01 ส่วนสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่สุดได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า ลดลงร้อย 47 ลำดับถัดไป ได้แก่ เม็ดพลาสติก เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป โดยลดลงร้อยละ 35, 25 และ 12 ตามลำดับ
ตลาดส่งออก
การส่งออกไปตลาดหลัก ซึ่งได้แก่ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป อาเซียน และญี่ปุ่น มีสัดส่วนการส่งออกรวมคิดเป็นร้อยละ 71. 5 ของการส่งออกไปทั่วโลก โดยใน 9 เดือนแรก การส่งออกไปตลาดหลัก ลดลงทุกตลาด โดยตลาดสหรัฐลดลงมากที่สุด (ร้อยละ 8.56) ตลาดอาเซียน ลดลงร้อยละ 2 ตลาดสหภาพยุโรป ลดลงร้อยละ 1.1 ส่วนตลาดญี่ปุ่นลดลงเล็กน้อย เพียงร้อยละ 0.03
เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา การส่งออกไปยังประเทศและกลุ่มประเทศคู่ค้าที่สำคัญยังคงเพิ่มขึ้นยกเว้นกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปที่มีอัตราการส่งออกลดลงร้อยละ 5 ส่วนประเทศที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 คือ ประเทศ สหรัฐอเมริกา ซึ่งมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11 ส่วนที่เหลือเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนพบว่าการส่งออกมีมูลค่าลดลงในทุกๆตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยโดยตลาดที่ลดลงมากที่สุดได้แก่ ตลาดสหรัฐอเมริกา ลดลงร้อยละ 15.58 ส่วนในตลาด สหภาพยุโรป อาเซียน และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 13 ,10 , 6 ตามลำดับ
ในตลาดสหรัฐฯ สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการส่งออกลดลง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง และรองเท้าและชิ้นส่วน ส่วนสินค้าส่งออกสำคัญที่ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้สำหรับเดินทาง และหม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ
ในตลาดอาเซียน สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการส่งออกลดลง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก เหล็กและผลิตภัณฑ์ มอเตอร์ไฟฟ้า ส่วนสินค้าสำคัญที่การส่งออกยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป ยานพาหนะและอุปกรณ์ น้ำตาลทราย และเครื่องจักรกล
ในตลาดสหภาพยุโรปสินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการส่งออกลดลง ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องปรับอากาศ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ ส่วนสินค้าสำคัญที่การส่งออกยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยานพาหนะอุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ รองเท้าและชิ้นส่วน ไก่สดแช่เย็นและแช่แข็ง และผลิตภัณฑ์ยาง
ในตลาดญี่ปุ่น สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการส่งออกลดลง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน และยางพารา ส่วนสินค้าสำคัญที่การส่งออกยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ไดโอดและอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ยานพาหนะและอุปกรณ์ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ และไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง
โครงสร้างการนำเข้า
การนำเข้าใน 9 เดือนแรกของปี 2544 มีมูลค่า 47,240.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยการนำเข้าสินค้าทุนมีมูลค่าสูงสุด เท่ากับ 22,214.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ(สัดส่วนร้อยละ 47.0) ถัดมาเป็นการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 13,564.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (สัดส่วนร้อยละ 28.7) สินค้าเชื้อเพลิง 5,830.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (สัดส่วนร้อยละ 12.3) สินค้าบริโภค 3,749.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (สัดส่วนร้อยละ 7.9) และสินค้าหมวดยานพาหนะ 1,405.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ(สัดส่วนร้อยละ 2.9)
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า การนำเข้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป และยานพาหนะ มีมูลค่าลดลง(ลดลงร้อยละ 0.5 และ 7.07 ตามลำดับ) ส่วนการนำเข้าสินค้าทุน ขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงสุด ร้อยละ 8.02 สินค้าเชื้อเพลิงขยายตัวร้อยละ 7.3 และสินค้าบริโภคขยายตัวร้อยละ 3.05
เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา สินค้าเข้าในกลุ่มยานพาหนะ มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.6 ส่วนน้ำมัน และ สินค้าบริโภคเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.5 และ 4 ตามลำดับ ส่วนที่เหลือเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้านำเข้าที่สำคัญๆทุกรายการมีมูลค่าการนำเข้า ลดลงโดยน้ำมันมีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุดคือลดลงร้อยละ 8.78 ส่วน สินค้าทุน ยานพาหนะ สินค้าบริโภคมีอัตราการลดลงร้อยละ 5.91 , 5.34 และ 4.75 ตามลำดับ
แหล่งนำเข้า
การนำเข้าจากแหล่งนำเข้าสำคัญ ซึ่งได้แก่ ญี่ปุ่น อาเซียน สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ใน 9 เดือนแรก มีมูลค่า 29,446.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ( คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 62.3 ของการนำเข้ารวม ) โดยมีมูลค่านำเข้าจากแต่ละแหล่งเท่ากับ 10,374.2, 7,646.9, 5,662.6 และ 5,762.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่า การนำเข้าจากญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 9 ส่วนแหล่งนำเข้าสำคัญอื่นๆ มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น โดยการนำเข้าจากสหภาพยุโรป เพิ่มขึ้นร้อยละ 29 จากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 และจากอาเซียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6
เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา การนำเข้าจากประเทศในกลุ่มอาเซียนมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 และสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 ส่วนการนำเข้าจากประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นมีมูลค่าลดลงร้อยละ 1.9 และ 2.1 ตามลำดับ
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนพบว่า มูลค่าการนำเข้าจากกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปเพียงกลุ่มเดียวที่มีมูลค่าการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นโดยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.2 สำหรับ ประเทศญี่ปุ่น กลุ่ม อาเซียน และ ประเทศสหรัฐอเมริกา มีมูลค่าลดลง ร้อยละ 19 , 8 , 7.6 ตามลำดับ
แนวโน้มการส่งออก
จากสถานการณ์การค้าใน 9 เดือนแรก ที่ยังคงซบเซาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการที่สหรัฐฯถูกวินาศกรรม ทำให้หลายฝ่าย เริ่มปรับตัวเลขคาดการณ์การส่งออกปี 2544 อีกครั้ง โดยส่วนใหญ่ คาดว่าการส่งออกทั้งปี 2544 จะลดลงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 โดยกระทรวงพาณิชย์ได้ปรับเป้าหมายการส่งออกทั้งปี 2544 ว่าจะมีมูลค่าประมาณ 64,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือลดลงประมาณร้อยละ 8.1 โดยเฉพาะการส่งออกไปสหรัฐฯ คาดว่าจะลดลงร้อยละ 13 (กรุงเทพธุรกิจ, 26 กย 44) ส่วนซิตี้แบงก์ คาดการณ์ว่าการส่งออกในปีนี้จะลดลงร้อยละ 6-7 (กรุงเทพธุรกิจ, 6 ตค 44) ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าการส่งออกทั้งปีจะลดลง ร้อยละ 7-8 (กรุงเทพธุรกิจ, 18 กย. 44)
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--