ANDEAN Trade Preference Act (ATPA) เป็นกฎหมายที่สหรัฐฯ ให้สิทธิพิเศษทางการค้า และให้การช่วยเหลือและสนับสนุนในด้านเศรษฐกิจสำหรับประเทศในกลุ่มแอนเดียน (โบลิเวีย โคลัมเบีย เอกวาดอร์ และเปรู) เพื่อเป็นการจูงใจให้ประเทศเหล่านี้ลดปริมาณการผลิตยาเสพติด และเป็นการช่วยลดการแพร่กระจายของยาเสพติดจากกลุ่มประเทศเหล่านี้ไปยังสหรัฐฯ
กฎหมายฉบับนี้จะหมดอายุลงในเดือนธันวาคม 2544 และสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะต่ออายุสิทธิพิเศษ รวมทั้งปรับปรุงแก้ไขกฎหมายดังกล่าวให้แก่กลุ่มประเทศเหล่านี้ออกไปอีก โดยกฎหมายฉบับใหม่นี้ วุฒิสมาชิก Bob Graham ได้นำเสนอร่าง The ANDEAN Trade Preference Expansion Act (S. 525) ต่อสมาชิกสภาสูงสหรัฐฯ เมื่อ วันที่ 13 มีนาคม 2544
อย่างไรก็ตาม การขอแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ อาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมของไทย เนื่องจากประเทศในกลุ่มนี้ขอขยายสิทธิพิเศษให้สามารถครอบคลุมสินค้าอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น เช่นเปรู ต้องการที่จะให้สหรัฐฯ ลดภาษีนำเข้าสิ่งทอ โคลัมเบียต้องการให้ขยายสิทธิพิเศษให้ในเรื่องของ duty-free และ quota-free สำหรับสินค้า เสื้อผ้า และได้เสนอให้ขยายสิทธิให้ครอบคลุมถึงสินค้าอื่นๆ ด้วย เช่น สินค้ารองเท้า เครื่องหนัง นาฬิกา และน้ำตาล ส่วนเอกวาดอร์ต้องการให้ขยายการให้สิทธิให้ครอบคลุมถึงสินค้าปลาทูน่ากระป๋องด้วย โดยขอให้สหรัฐฯ พิจารณาให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรในอัตราเดียวกับที่สหรัฐฯ ให้แก่ประเทศในกลุ่ม NAFTA คือร้อยละ 6.2 (ในขณะที่ไทยเสียภาษีในอัตราร้อยละ 12.5)
หลังจากนี้ นาย Phillip Crane ประธาน House Subcommittee on Trade ได้เสนอร่างกฎหมาย The ANDEAN Trade Promotion and Drug Eradication Act (H.R. 3009) เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2544 เพื่อต่ออายุกฎหมาย ATPA และให้สิทธิพิเศษเพิ่มเติมแก่กลุ่มประเทศแอนเดียนเช่นเดียวกัน ที่สำคัญคือ หากร่างกฎหมายฉบับนี้ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา จะมีผลทำให้ประเทศในกลุ่มแอนเดียนสามารถส่งสินค้าปลาทูน่ากระป๋องเข้ามาจำหน่ายในสหรัฐฯ ได้โดยไม่ต้องเสียภาษี
ความคืบหน้าล่าสุด
ภายหลังจากเหตุการณ์ก่อการร้ายที่สหรัฐฯ ในเดือนกันยายนที่ผ่านมานี้ รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ชะลอการพิจารณากฎหมาย The ANDEAN Trade Preference Expansion Act (S. 525) ออกไป แต่อย่างไรก็ตาม ร่างกฎหมาย The Andean Trade Promotion and Drug Eradication Act (H.R. 3009) ที่ นาย Phillip Crane ได้เสนอเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมาธิการ House Ways and Means Committee แล้วเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2544 และในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2544 รัฐบาลสหรัฐฯ จะนำร่างกฎหมายนี้เสนอต่อคณะกรรมาธิการด้านการเงินของวุฒิสมาชิก (Senate Committee on Finance) ก่อนที่จะเสนอสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาลงคะแนนต่อไป
ผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทยในตลาดสหรัฐฯ
จากสถิติของ World Trade Atlas การนำเข้าสินค้าปลาทูน่ากระป๋องของสหรัฐฯ ในปี 2543 มีมูลค่าทั้งสิ้น 231.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยไทยส่งออกมากเป็นลำดับที่ 1 มีมูลค่าการส่งออก 136.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 58.93
มูลค่าการส่งออกของประเทศในกลุ่ม ANDEAN ส่วนใหญ่มาจากประเทศเอกวาดอร์ โดยส่งออกมากเป็นลำดับที่ 5 มีมูลค่าการส่งออก 6.52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 2.8 ส่วนประเทศอื่นๆ ในกลุ่ม ANDEAN มีการส่งออกไปยังสหรัฐฯ น้อยมาก
ดังนั้นหากประเทศในกลุ่ม ANDEAN ได้รับสิทธิพิเศษแล้ว การที่ประเทศเหล่านี้ มีต้นทุนการผลิต ค่าจ้างแรงงาน ตลอดจนมีระยะเวลาและค่าขนส่งสินค้าที่ใกล้และประหยัดกว่าสินค้าไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งอาจทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบความสามารถในการแข่งขันกับประเทศเหล่านี้ได้ในอนาคต
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
กฎหมายฉบับนี้จะหมดอายุลงในเดือนธันวาคม 2544 และสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะต่ออายุสิทธิพิเศษ รวมทั้งปรับปรุงแก้ไขกฎหมายดังกล่าวให้แก่กลุ่มประเทศเหล่านี้ออกไปอีก โดยกฎหมายฉบับใหม่นี้ วุฒิสมาชิก Bob Graham ได้นำเสนอร่าง The ANDEAN Trade Preference Expansion Act (S. 525) ต่อสมาชิกสภาสูงสหรัฐฯ เมื่อ วันที่ 13 มีนาคม 2544
อย่างไรก็ตาม การขอแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ อาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมของไทย เนื่องจากประเทศในกลุ่มนี้ขอขยายสิทธิพิเศษให้สามารถครอบคลุมสินค้าอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น เช่นเปรู ต้องการที่จะให้สหรัฐฯ ลดภาษีนำเข้าสิ่งทอ โคลัมเบียต้องการให้ขยายสิทธิพิเศษให้ในเรื่องของ duty-free และ quota-free สำหรับสินค้า เสื้อผ้า และได้เสนอให้ขยายสิทธิให้ครอบคลุมถึงสินค้าอื่นๆ ด้วย เช่น สินค้ารองเท้า เครื่องหนัง นาฬิกา และน้ำตาล ส่วนเอกวาดอร์ต้องการให้ขยายการให้สิทธิให้ครอบคลุมถึงสินค้าปลาทูน่ากระป๋องด้วย โดยขอให้สหรัฐฯ พิจารณาให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรในอัตราเดียวกับที่สหรัฐฯ ให้แก่ประเทศในกลุ่ม NAFTA คือร้อยละ 6.2 (ในขณะที่ไทยเสียภาษีในอัตราร้อยละ 12.5)
หลังจากนี้ นาย Phillip Crane ประธาน House Subcommittee on Trade ได้เสนอร่างกฎหมาย The ANDEAN Trade Promotion and Drug Eradication Act (H.R. 3009) เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2544 เพื่อต่ออายุกฎหมาย ATPA และให้สิทธิพิเศษเพิ่มเติมแก่กลุ่มประเทศแอนเดียนเช่นเดียวกัน ที่สำคัญคือ หากร่างกฎหมายฉบับนี้ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา จะมีผลทำให้ประเทศในกลุ่มแอนเดียนสามารถส่งสินค้าปลาทูน่ากระป๋องเข้ามาจำหน่ายในสหรัฐฯ ได้โดยไม่ต้องเสียภาษี
ความคืบหน้าล่าสุด
ภายหลังจากเหตุการณ์ก่อการร้ายที่สหรัฐฯ ในเดือนกันยายนที่ผ่านมานี้ รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ชะลอการพิจารณากฎหมาย The ANDEAN Trade Preference Expansion Act (S. 525) ออกไป แต่อย่างไรก็ตาม ร่างกฎหมาย The Andean Trade Promotion and Drug Eradication Act (H.R. 3009) ที่ นาย Phillip Crane ได้เสนอเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมาธิการ House Ways and Means Committee แล้วเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2544 และในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2544 รัฐบาลสหรัฐฯ จะนำร่างกฎหมายนี้เสนอต่อคณะกรรมาธิการด้านการเงินของวุฒิสมาชิก (Senate Committee on Finance) ก่อนที่จะเสนอสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาลงคะแนนต่อไป
ผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทยในตลาดสหรัฐฯ
จากสถิติของ World Trade Atlas การนำเข้าสินค้าปลาทูน่ากระป๋องของสหรัฐฯ ในปี 2543 มีมูลค่าทั้งสิ้น 231.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยไทยส่งออกมากเป็นลำดับที่ 1 มีมูลค่าการส่งออก 136.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 58.93
มูลค่าการส่งออกของประเทศในกลุ่ม ANDEAN ส่วนใหญ่มาจากประเทศเอกวาดอร์ โดยส่งออกมากเป็นลำดับที่ 5 มีมูลค่าการส่งออก 6.52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 2.8 ส่วนประเทศอื่นๆ ในกลุ่ม ANDEAN มีการส่งออกไปยังสหรัฐฯ น้อยมาก
ดังนั้นหากประเทศในกลุ่ม ANDEAN ได้รับสิทธิพิเศษแล้ว การที่ประเทศเหล่านี้ มีต้นทุนการผลิต ค่าจ้างแรงงาน ตลอดจนมีระยะเวลาและค่าขนส่งสินค้าที่ใกล้และประหยัดกว่าสินค้าไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งอาจทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบความสามารถในการแข่งขันกับประเทศเหล่านี้ได้ในอนาคต
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-