กรุงเทพฯ--12 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (11 ตุลาคม) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับการประชุมเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 3 ซึ่งสาธารณรัฐเกาหลีจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นที่กรุงโซล ระหว่างวันที่ 18-21 ตุลาคม 2543 ดังนี้
ความสำคัญของการประชุมเอเชีย-ยุโรป
การประชุมเอเชีย-ยุโรป (Asia-Europe Meeting — ASEM) เป็นเวทีการหารือเพื่อสร้างความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคม ระหว่างภูมิภาคเอเชียและยุโรปให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ซึ่งจะนำผลประโยชน์มาสู่ภูมิภาคทั้งสอง เพราะต่างก็มีผลประโยชน์ที่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน การส่งเสริมความร่วมมือในกรอบอาเซมจะสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเอเชียกับยุโรปเพื่อให้เกิดความสมดุลย์ในความสัมพันธ์ระหว่างศูนย์กลางการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจระหว่างภูมิภาคเอเชียกับยุโรป ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างเอเชียกับภูมิภาคอเมริกาเหนือมีกรอบความร่วมมือ เอเปค อยู่แล้ว
อาเซมมีสมาชิกในปัจจุบัน 26 ประเทศ ประกอบด้วยประเทศจากภูมิภาคเอเชีย 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน ดารุสซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี ประเทศสมาชิกจากภูมิภาคยุโรป 15 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ อิตาลี ไอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน สวีเดน และสหราชอาณาจักร รวมทั้งคณะกรรมาธิการยุโรป
ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพการประชุมอาเซม ครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 1-2 มีนาคม 2539 ส่วนการประชุมอาเซม ครั้งที่ 2 มีขึ้นที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 3-4 เมษายน 2541 และสาธารณรัฐเกาหลีจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมอาเซม ครั้งที่ 3 ณ กรุงโซล ระหว่างวันที่ 19-21 ตุลาคม 2543
ความร่วมมือใน 3 เสาหลักในกรอบการประชุมเอเชีย-ยุโรป
อาเซมได้ตกลงที่จะให้มีความร่วมมือกันใน 3 ด้าน ได้แก่ การหารือด้านการเมือง ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ และความร่วมมือด้านอื่น ๆ ซึ่งครอบคลุมด้านสังคม วัฒนธรรม ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ปัญหาสำคัญ ๆ ของโลก รวมทั้งประเด็นปัญหาข้ามชาติหรือประเด็นที่เกี่ยวกับความ มั่นคงในความหมายใหม่ต่าง ๆ เช่น สิ่งแวดล้อม ยาเสพติด สวัสดิการเด็กและสตรี และการฟอกเงิน เป็นต้น
กำหนดการการประชุมเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 3
ประเด็นสำคัญในการประชุมเอเชีย-ยุโรป ระดับผู้นำ ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 20-21 ตุลาคม 2543 จะแบ่งการประชุมออกเป็น 3 ช่วง ช่วงแรก จะเป็นการหารือระหว่างผู้นำเกี่ยวกับประเด็นด้านการเมืองซึ่งเรื่องที่จะหารืออาจจะได้แก่ การทบทวนและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับ สถานการณ์ด้านการเมืองและความมั่นคงของแต่ละภูมิภาค บทบาทของสหประชาชาติในศตวรรษใหม่ ประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวกับความมั่นคงต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการควบคุมและลดอาวุธ การไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ และการสร้างระเบียบด้านการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศในศตวรรษที่ 21 การประชุม
ช่วงที่สอง จะเป็นการหารือเกี่ยวกับประเด็นด้านเศรษฐกิจซึ่งเรื่องที่หารืออาจจะได้แก่ ความร่วมมือเพื่อป้องกันการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจรอบใหม่ การเสริมสร้างระบบการค้า พหุภาคี การส่งเสริมความร่วมมือเพื่อให้เกิดระเบียบระหว่างประเทศทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจขึ้นใหม่ในท่ามกลางกระแสโลกา ภิวัฒน์และในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ การเพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างภาคธุรกิจและเอกชนระหว่างสอง ภูมิภาค และการประชุม
ช่วงที่ 3 จะหารือเกี่ยวกับประเด็นด้านสังคม วัฒนธรรม และอื่น ๆ ได้แก่ การขยายการแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมวิชาการ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างสองภูมิภาค การส่งเสริมความร่วมมือด้านสังคม การขจัดความไม่เท่าเทียมกันด้านสังคม และการส่งเสริมเครือข่ายรองรับทางสังคม ตลอดจนความร่วมมือเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ของโลก อาทิ สิ่งแวดล้อม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ สวัสดิภาพของสตรีและเด็ก เป็นต้น
การประชุมครั้งนี้ จะมีการออกเอกสารสำคัญ ได้แก่ 1) Chairman ’s Statement 2) Comprehensive Asia-Europe Cooperation Framework และ 3) Seoul Declaration for Peace on the Korean Peninsula.
การแถลงข่าวเกี่ยวกับผลการประชุมจะมีขึ้นในวันที่ 21 ตุลาคม 2543 โดยมีผู้นำจากประเทศผู้ประสานงาน 4 ประเทศ ได้แก่ เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส ไทย และคณะกรรมาธิการยุโรป เข้าร่วมการแถลงข่าวด้วย
ต่อคำถามของผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับประเด็นที่ประเทศไทยจะหยิบยกขึ้นหารือนั้น นายดอนฯ ตอบว่า ไทยพร้อมจะหารือในทุกประเด็นข้างต้น แต่ประเด็นหลักคือการร่วมกับประเทศในเอเชียและ ยุโรปหาหลักประกันป้องกันมิให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจเช่นที่เคยเกิดขึ้นพร้อมกับมุ่งเน้นสานเรื่องการ พัฒนาทรัพยกรมนุษย์และโครงข่ายรองรับทางสังคมซึ่งเป็นเรื่องที่ไทยผลักดันมาตลอดในการประชุม AMM และ PMC ครั้งก่อน รวมทั้งจะยกประเด็นเรื่องราคาน้ำมันในตลาดโลกซึ่งไทยพยายามเรียกร้องให้เกิดเสถียรภาพ นอกจากนั้นยังมีประเด็น human security และที่สำคัญที่ไทยผลักดันอยู่ตลอดเวลาคือ ปัญหายาเสพย์ติดซึ่งจะเป็นการต่อเนื่องจากการประชุมระหว่างประเทศเกี่ยวกับยาเสพติดที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 11-13 ตุลาคม ศกนี้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (11 ตุลาคม) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับการประชุมเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 3 ซึ่งสาธารณรัฐเกาหลีจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นที่กรุงโซล ระหว่างวันที่ 18-21 ตุลาคม 2543 ดังนี้
ความสำคัญของการประชุมเอเชีย-ยุโรป
การประชุมเอเชีย-ยุโรป (Asia-Europe Meeting — ASEM) เป็นเวทีการหารือเพื่อสร้างความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคม ระหว่างภูมิภาคเอเชียและยุโรปให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ซึ่งจะนำผลประโยชน์มาสู่ภูมิภาคทั้งสอง เพราะต่างก็มีผลประโยชน์ที่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน การส่งเสริมความร่วมมือในกรอบอาเซมจะสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเอเชียกับยุโรปเพื่อให้เกิดความสมดุลย์ในความสัมพันธ์ระหว่างศูนย์กลางการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจระหว่างภูมิภาคเอเชียกับยุโรป ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างเอเชียกับภูมิภาคอเมริกาเหนือมีกรอบความร่วมมือ เอเปค อยู่แล้ว
อาเซมมีสมาชิกในปัจจุบัน 26 ประเทศ ประกอบด้วยประเทศจากภูมิภาคเอเชีย 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน ดารุสซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี ประเทศสมาชิกจากภูมิภาคยุโรป 15 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ อิตาลี ไอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน สวีเดน และสหราชอาณาจักร รวมทั้งคณะกรรมาธิการยุโรป
ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพการประชุมอาเซม ครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 1-2 มีนาคม 2539 ส่วนการประชุมอาเซม ครั้งที่ 2 มีขึ้นที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 3-4 เมษายน 2541 และสาธารณรัฐเกาหลีจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมอาเซม ครั้งที่ 3 ณ กรุงโซล ระหว่างวันที่ 19-21 ตุลาคม 2543
ความร่วมมือใน 3 เสาหลักในกรอบการประชุมเอเชีย-ยุโรป
อาเซมได้ตกลงที่จะให้มีความร่วมมือกันใน 3 ด้าน ได้แก่ การหารือด้านการเมือง ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ และความร่วมมือด้านอื่น ๆ ซึ่งครอบคลุมด้านสังคม วัฒนธรรม ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ปัญหาสำคัญ ๆ ของโลก รวมทั้งประเด็นปัญหาข้ามชาติหรือประเด็นที่เกี่ยวกับความ มั่นคงในความหมายใหม่ต่าง ๆ เช่น สิ่งแวดล้อม ยาเสพติด สวัสดิการเด็กและสตรี และการฟอกเงิน เป็นต้น
กำหนดการการประชุมเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 3
ประเด็นสำคัญในการประชุมเอเชีย-ยุโรป ระดับผู้นำ ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 20-21 ตุลาคม 2543 จะแบ่งการประชุมออกเป็น 3 ช่วง ช่วงแรก จะเป็นการหารือระหว่างผู้นำเกี่ยวกับประเด็นด้านการเมืองซึ่งเรื่องที่จะหารืออาจจะได้แก่ การทบทวนและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับ สถานการณ์ด้านการเมืองและความมั่นคงของแต่ละภูมิภาค บทบาทของสหประชาชาติในศตวรรษใหม่ ประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวกับความมั่นคงต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการควบคุมและลดอาวุธ การไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ และการสร้างระเบียบด้านการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศในศตวรรษที่ 21 การประชุม
ช่วงที่สอง จะเป็นการหารือเกี่ยวกับประเด็นด้านเศรษฐกิจซึ่งเรื่องที่หารืออาจจะได้แก่ ความร่วมมือเพื่อป้องกันการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจรอบใหม่ การเสริมสร้างระบบการค้า พหุภาคี การส่งเสริมความร่วมมือเพื่อให้เกิดระเบียบระหว่างประเทศทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจขึ้นใหม่ในท่ามกลางกระแสโลกา ภิวัฒน์และในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ การเพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างภาคธุรกิจและเอกชนระหว่างสอง ภูมิภาค และการประชุม
ช่วงที่ 3 จะหารือเกี่ยวกับประเด็นด้านสังคม วัฒนธรรม และอื่น ๆ ได้แก่ การขยายการแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมวิชาการ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างสองภูมิภาค การส่งเสริมความร่วมมือด้านสังคม การขจัดความไม่เท่าเทียมกันด้านสังคม และการส่งเสริมเครือข่ายรองรับทางสังคม ตลอดจนความร่วมมือเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ของโลก อาทิ สิ่งแวดล้อม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ สวัสดิภาพของสตรีและเด็ก เป็นต้น
การประชุมครั้งนี้ จะมีการออกเอกสารสำคัญ ได้แก่ 1) Chairman ’s Statement 2) Comprehensive Asia-Europe Cooperation Framework และ 3) Seoul Declaration for Peace on the Korean Peninsula.
การแถลงข่าวเกี่ยวกับผลการประชุมจะมีขึ้นในวันที่ 21 ตุลาคม 2543 โดยมีผู้นำจากประเทศผู้ประสานงาน 4 ประเทศ ได้แก่ เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส ไทย และคณะกรรมาธิการยุโรป เข้าร่วมการแถลงข่าวด้วย
ต่อคำถามของผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับประเด็นที่ประเทศไทยจะหยิบยกขึ้นหารือนั้น นายดอนฯ ตอบว่า ไทยพร้อมจะหารือในทุกประเด็นข้างต้น แต่ประเด็นหลักคือการร่วมกับประเทศในเอเชียและ ยุโรปหาหลักประกันป้องกันมิให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจเช่นที่เคยเกิดขึ้นพร้อมกับมุ่งเน้นสานเรื่องการ พัฒนาทรัพยกรมนุษย์และโครงข่ายรองรับทางสังคมซึ่งเป็นเรื่องที่ไทยผลักดันมาตลอดในการประชุม AMM และ PMC ครั้งก่อน รวมทั้งจะยกประเด็นเรื่องราคาน้ำมันในตลาดโลกซึ่งไทยพยายามเรียกร้องให้เกิดเสถียรภาพ นอกจากนั้นยังมีประเด็น human security และที่สำคัญที่ไทยผลักดันอยู่ตลอดเวลาคือ ปัญหายาเสพย์ติดซึ่งจะเป็นการต่อเนื่องจากการประชุมระหว่างประเทศเกี่ยวกับยาเสพติดที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 11-13 ตุลาคม ศกนี้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-