ข้อมูลประกอบการบรรยาย เรื่อง “สภาวะแวดล้อมด้านเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อการบริหาร” โดย ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ (นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช) ในการฝึกอบรมนักบริหารระดับสูง หลักสูตรที่ 1 (นบส.1) ประจำปี 2544 วันอังคารที่ 13 มีนาคม 2544 เวลา 13.00-16.00 น.ณ อาคารศูนย์สัมมนา สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ. จังหวัดนนทบุรี สภาวะเศรษฐกิจโลกและภูมิภาคต่าง ๆ
ภาวะการค้าจะเสรีและมีการแข่งขันรุนแรงมากขึ้นในตลาดโลก
- ปัจจุบันการค้าเสรีเป็นกระบวนการโลกาภิวัฒน์ที่แพร่หลายไปทั่วโลกเพราะข้อดีของการค้าเสรี ซึ่งเป็นเรื่องของการเปิดโอกาส คือ สร้างโอกาสให้เข้าไปทำการค้าหรือช่องทางทำมาหากินกว้างขวางขึ้น เนื่องจาก
- การค้าเสรีมีระบบ ระเบียบและกติกาที่ชัดเจน
- ประเทศเล็ก-ใหญ่มีสิทธิเท่าเทียมกันในการปฏิบัติเป็นระบบฉันทามติ
- มีกระบวนการยุติข้อพิพาท เมื่อเกิดปัญหาขึ้นทุกประเทศมีสิทธิฟ้องร้อง โดย
จะมีการตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาคดี เช่น กรณีที่สหรัฐอเมริกากีดกันการนำเข้ากุ้งโดยอ้างว่าการจับกุ้งเป็นการทำร้ายเต่าทะเล ดังนั้นไทย อินเดียและบราซิล จึงรวมตัวกันฟ้องสหรัฐฯ ซึ่งผลที่สุดสหรัฐฯ ก็เป็นฝ่ายแพ้
- ให้โอกาสของความแตกต่างและเป็นพิเศษ (S&D) ในฐานะที่ไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาจึงได้ประโยชน์ในเรื่องของการลดภาษีในอัตราที่น้อยกว่าและใช้เวลายาวนานกว่าประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สินค้าเกษตร ไทยลดภาษีลงร้อยละ 24 ภายใน 10 ปี ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้ว ลดภาษีลงร้อยละ 36 ภายใน 6 ปี
- มีคณะกรรมการพิจารณานโยบายการค้าของทุกประเทศสมาชิกเพื่อดูแลเรื่องการค้ามิให้มีการใช้มาตรการที่เป็นอุสรรคต่อการค้ามากขึ้นและก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมขึ้น
- หลักการค้าเสรีที่ยึดถืออยู่ในระบบการค้าของโลก มี 3 หลักที่สำคัญ คือ
1) Rule based system คือ การค้าที่มีระบบ เสรีและเป็นธรรม เป็นกฎระเบียบที่ชัดเจนขององค์การการค้าโลก
2) การค้าต้องไม่เลือกปฏิบัติ (Non-discrimination หรือ MFN) ซึ่งให้ประโยชน์กับทุกคนเท่าเทียมกัน แต่บางประเทศไม่ได้ประโยชน์ เช่น ลาว เพราะอยู่นอก WTO แต่จะไปลดสิทธิของผู้อื่นไม่ได้
3) หากอนุญาตให้ใครเข้ามาทำอะไรในประเทศเราแล้วต้องปฏิบัติแก่เขาเยี่ยงคนในชาติ (National treatment)
- ในทางตรงกันข้าม การค้าเสรีอาจส่งผลกระทบทางลบได้เช่นกัน เพราะประเทศ
สมาชิกทุกประเทศจำเป็นต้องปรับตัวในเรื่องต่าง ๆ ให้เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน เช่น การเปิดตลาด การยกเลิกภาษีศุลกากร และการยกเลิกมาตรการห้ามนำเข้า เป็นต้น
- ความจำเป็นของการเปิดเสรีทางการค้า
- ประเทศไทยเป็นประเทศเล็กที่ยึดมั่นในนโยบายการค้าเสรี มีระบบเศรษฐกิจเชื่อมโยงกับระบบเศรษฐกิจโลก โดยไทยมีสัดส่วนการส่งออกคิดเป็นประมาณร้อยละ 1.04 ของการส่งออกของโลกในปี 2542 และติดลำดับที่ 23 ของโลก ขณะที่ประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นได้แก่ สิงคโปร์และมาเลเซีย มีสัดส่วนการส่งออกและติดลำดับในตลาดโลกสูงกว่าไทย กล่าวคือสิงคโปร์มีสัดส่วนส่งออกร้อยละ 2.04 ติดลำดับที่ 15 และมาเลเซียมีสัดส่วนส่งออกร้อยละ 1.51 ติดลำดับที่ 17
ประเทศที่เป็นผู้นำด้านการส่งออกมีมูลค่ามากที่สุดในปี 2542 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา คิดเป็นร้อยละ 12.39 ของการส่งออกของโลก รองลงมา คือ เยอรมัน ร้อยละ 9.63 และญี่ปุ่น ร้อยละ 7.47
- ระบบเศรษฐกิจไทยต้องพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศมาก ดังจะเห็นได้จากการค้าระหว่างประเทศของไทยมีสัดส่วนร้อยละ 89.3 ของ GDP และเพิ่มเป็นร้อยละ 105.1 ในปี 2543 โดยภาคการส่งออกเป็นตัวสำคัญที่นำรายได้เข้าประเทศมากถึงร้อยละ 48.0 ในปี 2542 และเพิ่มเป็น 55.4 ในปี 2543
- จากการที่ประเทศไทยเป็นประเทศเล็กจึงมีอำนาจการเจรจาต่อรองที่จำกัดและระบบเศรษฐกิจต้องพึ่งพาการค้าต่างประเทศมาก ต้องเผชิญกับอุปสรรคต่าง ๆ ในตลาดหลักๆ หากระบบการค้าในโลกไม่มีระเบียบกฎเกณฑ์ที่เข้มแข็ง และปล่อยให้ประเทศที่มีพลังเศรษฐกิจมหาศาล ดำเนินมาตรการที่บิดเบือนการค้าไม่เป็นธรรม ก็จะทำให้ไทยมีความเสียเปรียบทางการค้า
- ระบบเศรษฐกิจการค้าโลกได้เกิดการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบบการค้าเสรีมาก
ขึ้น ประกอบกับความก้าวหน้าด้านสื่อสารที่สามารถติดต่อกันทั่วโลกได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ทำให้ระบบเศรษฐกิจไทยต้องเข้าไปเชื่อมโยงในตลาดโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงจำเป็นต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในเวทีการค้าโลกโดยเป็นสมาชิกองค์การ กลุ่มเศรษฐกิจ และความร่วมมือทั้งในภูมิภาค อนุภูมิภาค และอนุทวีปต่าง ๆ เช่น องค์การการค้าโลก (WTO) อาเซียน และเอเปค เป็นต้น และมีการรวมกลุ่มและเปิดเสรีภายในกลุ่มมากขึ้น เช่น ในกลุ่มอาเซียนก็มีเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) BIMST-EC เป็นต้น รวมทั้งจะมีการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศและในภูมิภาค (FTA/RTA) มากขึ้น ซึ่งจะเปิดเสรีเร็วกว่าใน WTO
- การเปิดเสรี จะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจและการค้าของไทย ทำให้ตลาดใหญ่ขึ้นมีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ มีการผลิตตามความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Advantage) มีการแข่งขัน และผู้บริโภคมีทางเลือกในการซื้อสินค้าและบริการหลากหลายและในราคาที่ถูกลง นอกจากนี้แล้วการเปิดเสรี จึงช่วยลดอุปสรรคทางการค้าและการลงทุน เพื่อนำไปสู่การจ้างงานและรายได้ที่เพิ่มขึ้น
- ผลกระทบที่ไทยได้รับจากการเปิดเสรี
ผลทางด้านบวก
- การส่งออกขยายตัวมากขึ้น จากการที่ประเทศสมาชิกในเวทีต่าง ๆ ต้องเปิดตลาดตามข้อตกลง ส่งผลให้การส่งออกของไทยขยายตัว รายได้จากการส่งออกในปี 2543 สูงถึง 2.7 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 25.4 หรือคิดเป็นร้อยละ 55.4 ของ GDP ของประเทศ ซึ่งมีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในเรื่องการเปิดตลาดสินค้าเกษตร คือ ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ต้องเปิดตลาดข้าว สหภาพยุโรปต้องเปิดตลาดน้ำตาล ทำให้ไทยมีโอกาสส่งข้าว และน้ำตาลไปตลาดดังกล่าวได้ ส่วนสิ่งทอเป็นสินค้าที่เปิดเสรีโดยขยายโควตาในแต่ละปีและจะยกเลิกทั้งหมดในปี 2548 ซึ่งเป็นโอกาสของไทยที่จะเข้าไปแข่งขันได้ สินค้าส่งออกของไทยในระยะที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2537 ถึงปัจจุบันมูลค่าส่งออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 17.3 ต่อปี
ตลาดส่งออกยังคงพึ่งพา 4 ตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา อาเซียน
สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น มีสัดส่วนรวมกันมากกว่าร้อยละ 70 ของมูลค่าส่งออกรวม แต่มีแนวโน้มขยายไปตลาดที่มีความร่วมมือในแถบเอเซีย-แปซิฟิก และตลาดใหม่ ๆ มากขึ้น เช่น การส่งออกช่วงปี 2537-2543 ไปออสเตรเลียมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.3 ต่อปี ฮ่องกง ร้อยละ 16.4 และแอฟริกา ร้อยละ 27.3
นอกจากนี้โอกาสเข้าสู่ตลาดจีน รัสเซีย และเวียดนามของสินค้าไทยจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากทั้งสามประเทศกำลังดำเนินการเข้าร่วมเป็นสมาชิก WTO สินค้าส่งออกที่คาดว่าจะได้รับผลดี คือ ข้าว น้ำตาลทราย ยางพารา เครื่องครัว เครื่องสุขภัณฑ์ ฯลฯ
- การปฏิบัติที่แตกต่างและพิเศษ ซึ่งไทยได้ประโยชน์ไปแล้วในการต่อรองเรื่อง
การลดภาษี กล่าวคือ ประเทศพัฒนาแล้วต้องลดภาษีจากร้อยละ 20 เหลือร้อยละ 5 ภายในเวลา 5 ปี ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทยได้สิทธิในการลดภาษีน้อยกว่า และใช้เวลายาวนานกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว คือ ลดภาษีจากร้อยละ 40 เหลือร้อยละ 25 ภายใน 10 ปี
- เมื่อมีปัญหาประเทศสมาชิกมีสิทธิ์เจรจาใหม่ได้แต่ต้องมีเหตุผล อย่างเช่น กรณีนมผง เมื่อไทยไม่สามารถดำเนินการตามข้อตกลงที่ต้องยกเลิก Local content ภายในปี 2543 ได้ เพราะภาคเกษตรมีปัญหาก็มีการเจรจาขอยืดไปอีก 5 ปี ซึ่งได้รับการผ่อนผันให้ยืดได้ 2 ปีก่อนและจะพิจารณากันใหม่ โดยไม่มีการลงโทษ หรือขอชดเชยใด ๆ
- มีเวทีในการร้องเรียนข้อพิพาททางการค้า และมีแนวร่วมในการต่อสู้กับประเทศใหญ่ จะสามารถเพิ่มอำนาจการต่อรองในการเจรจาการค้าเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในเวทีการค้าโลก อย่างเช่น กรณีกุ้งกับเต่าทะเลที่มีปัญหากับสหรัฐอเมริกา
- มีกฎระเบียบที่รัดกุม โปร่งใสและเป็นธรรม เนื่องจากทุกประเทศต้องใช้กฎระเบียบที่ WTO กำหนดเป็นมาตรฐานเดียวกัน เช่น กรณีมาเลเซียไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง ซึ่งต้องนำสินค้ารถยนต์มาลดภาษีในวันที่ 1 มกราคม 2543 เป็นต้นไป ไทยจึงเปิดเจรจาขอให้มาเลเซียชดเชยความเสียหายให้ไทย ถ้าตกลงกันไม่ได้ไทยก็สามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจา
- มาตรฐานการครองชีพของประชาชนสูงขึ้น เนื่องมาจากการเปิดเสรีมีส่วนกระตุ้น
ให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศขยายตัว ก่อให้เกิดการผลิตและการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น
- เพิ่มโอกาสด้านการลงทุนและพัฒนาเทคโนโลยีการลดภาษีศุลกากรและข้อกีดกันทางการค้า ทำให้ผู้ลงทุนสามารถเลือกใช้ทรัพยากรอย่างดีมีประสิทธิภาพ วัตถุดิบและเครื่องจักรที่มีราคาถูกลง ทำให้การวางแผนการผลิตและการตลาดในระยะยาวทำได้ง่ายขึ้น ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมการเปิดเสรีส่งผลให้มีการพัฒนาและเชื่อมโยงระบบการสื่อสารโทรคมนาคมส่งผลให้เพิ่มโอกาสในการร่วมลงทุนระหว่างประเทศมากขึ้น ก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายเทคโนโลยีง่ายขึ้น
- การแข่งขันรุนแรงขึ้นแต่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นการเปิดตลาด ทำให้เกิดการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการภายในประเทศและต่างประเทศมากขึ้น ดังนั้นเพื่อความอยู่รอด และเป็นผู้นำในตลาด ผู้ประกอบการภายในประเทศต้องมีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ทั้งด้านคุณภาพ ลดต้นทุนการผลิต และคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ส่งผลดีต่อผู้บริโภคในประเทศอีกด้วย
- ประชาชนมีโอกาสและทางเลือกในการบริโภค เมื่อสินค้าจากประเทศอื่น ๆ เข้ามาแข่งขันจะเป็นตัวกดดันให้สินค้าภายในประเทศราคาถูกลง มีการลดภาษี ก่อให้เกิดเสรีภาพในการเลือกใช้สินค้า เป็นเรื่องไม่ถูกจำกัดของมนุษย์
ผลทางด้านลบ
- ต้องเปิดตลาดภายในประเทศตามพันธกรณี แต่ภาระภาษีที่เราผูกพันไว้นั้นสูงกว่าที่เราเก็บจริงและเปิดเฉพาะเท่าที่จำเป็น ฉะนั้นจึงเกิดผลกระทบไม่มากนัก เช่น สินค้าอุตสาหกรรมก็มีเวลาปรับตัว สินค้าเกษตรที่ต้องเปิดตลาด 23 รายการ มีผลน้อยมาก เช่น กากถั่วเหลืองเราขาดแคลน กรณีนมผงซึ่งมีผลกระทบต่อเกษตรกรเราก็ขอผ่อนผัน สำหรับสินค้าบริการที่ไทยตกลงเปิดเสรีไว้แล้ว 10 สาขา เราได้เปิดเพียงเท่าที่กฎหมายกำหนด
- มีการนำมาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษีมาใช้มากขึ้น ซึ่งสร้างความไม่เป็นธรรมต่อการค้าระหว่างประเทศ เช่น มาตรการต่อต้านการทุ่มตลาด (Anti — dumping : AD) ทำให้การส่งออกของไทยได้รับผลกระทบ เช่น กรณีมาเลเซียเรียกเก็บ AD จากสินค้าเสื่อน้ำมัน และยิบซั่มบอร์ด จากประเทศไทย เป็นต้น มาตรการตอบโต้การอุดหนุน (Countervailing Duty : CVD) ใช้ตอบโต้การอุดหนุนทุกรูปแบบที่ทำให้ผู้ส่งออกได้เปรียบในการแข่งขันมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phytosanitary Measures : SPS) เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานด้านคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร และครอบคลุมถึงกฎเกณฑ์ กำหนดผลิตภัณฑ์ กระบวนการและวิธีการผลิต การทดสอบตรวจสอบ และวิธีรับรอง ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพและอนามัยของคน สัตว์และพืช เช่นสหภาพยุโรปกำหนดมาตรฐานด้านสุขอนามัยไว้ว่าสารรักษาและถนอมอาหารทะเลต้มสุก (Benzoic Acid) ควรมีความเข้มข้นร้อยละ 0.2 ถ้าสินค้าที่ส่งเข้าไปจำหน่ายในสหภาพยุโรปไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้จะทำให้เสียโอกาสในการแข่งขันด้านคุณภาพสินค้ามาตรการอุปสรรคเทคนิคการค้า (Technical Barrier To Trade : TBT) โดยประเทศผู้นำเข้าเป็นผู้กำหนดมาตรฐานทางด้านเทคนิคของสินค้า รวมถึงกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานขึ้นมาเอง ทั้งนี้เพื่อควบคุมมาตรฐานสินค้าของตนเองเพื่อคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยของชีวิตมนุษย์ สัตว์ พืช และสภาพแวดล้อม มาตรฐานทางด้านเทคนิคที่มักจะเป็นอุปสรรคทางการค้าต่อไทย คือ มาตรฐานด้านฉลากและการหีบห่อ ประเทศผู้นำเข้าจะกำหนดให้ผู้ผลิตสินค้าติดฉลากบนภาชนะ หรือหีบห่อ เพื่อให้ข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ แก่ผู้บริโภค เช่น ส่วนประกอบอาหาร สารเคมีที่ผสม ฯลฯ ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกเพราะเป็นการเพิ่มต้นทุนผลิต เช่น สหภาพยุโรป กำหนดว่าผลิตภัณฑ์ต้องติดฉลากระบุข้อมูลดังกล่าวแล้ว ยังต้องมีความชัดเจนเกี่ยวกับการใช้วัตถุดิบที่มีการตกแต่งพันธุกรรม (GMOs) ในกรณีของสิ่งทอมีการกำหนดให้มีการติดฉลาก eco-labelling เพื่อแสดงว่ากระบวนการผลิตไม่ส่งผลเสียต่อสภาวะแวดล้อมมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อต้องการให้ผู้ผลิตสำนึกและมีความรับผิดชอบผลกระทบที่เกิดจากการผลิตสินค้าที่มีต่อสภาพแวดล้อมแต่บางครั้งต้องการกีดกันการนำเข้า เช่น กรณีสหรัฐอเมริกา กล่าวหาไทยว่าการจับกุ้งเป็นการทำร้ายเต่าทะเล กรณีสหภาพยุโรปกำหนดว่าสินค้าอุตสาหกรรมที่ส่งไปสหภาพยุโรปต้องได้ ISO 14000 (กำหนดมาตรฐานในระบบจัดการสิ่งแวดล้อม) สำหรับผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประเทศผู้ผลิตจะต้องรับภาระในการเก็บรวบรวมเศษเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปทำลายมาตรการด้านแรงงาน โดยประเทศพัฒนาแล้วมักจะนำมาตรฐานแรงงานไปเชื่อมโยงกับระเบียบการค้าโลก ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นมาตรการหนึ่งของการกีดกันทางการค้า เช่น กรณีสหรัฐฯ กล่าวหาว่าไทยละเมิดเสรีภาพของแรงงาน สิทธิในการต่อรองการใช้แรงงานเด็ก ความปลอดภัยและสุขอนามัยแรงงาน นอกจากนี้แล้วสหภาพแรงงานและองค์กรเอกชนได้ร่วมกันต่อต้านสิ่งทอจากเอเซียภายใต้โครงการ “Clean Clothes ” โดยกล่าวหาว่ามีการใช้แรงงานเด็ก มีการใช้แรงงานแบบเลือกปฏิบัติ แรงงานไม่ได้รับการดูแลเรื่องความปลอดภัย สุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม
- ต้องมีการปรับตัวตลอดเวลา เช่น ไทยจะต้องปรับปรุงมาตรฐานการผลิตในประเทศเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน พร้อมกับลดมาตรการกีดกันทางการค้า เพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลง ในบางกรณีผู้ผลิตในประเทศจำเป็นต้องปรับปรุงคุณภาพผลผลิตให้ได้มาตรฐานตามที่ประเทศกำหนดอีกด้วย
- การแข่งขันทางการค้าจะรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะตลาดภายในประเทศจะมีสินค้าและบริการจากต่างประเทศเข้ามาขายแข่งขันมากขึ้น รวมทั้งการแข่งขันในตลาดต่างประเทศก็จะทวีความรุนแรง
การรวมตัวทางเศรษฐกิจแยกเป็นกลุ่มสำคัญ ๆ
อาเซียน
- อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South East Asian Nation : ASEAN) ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2510 ปัจจุบันมีสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ไทย บรูไนดารุสซาลาม เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา ทำให้อาเซียนมีประชากร 500 ล้านคน เป็นตลาดขนาดใหญ
วัตถุประสงค์
1) เร่งรัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
2) ส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค
3) ส่งเสริมความร่วมมือกันอย่างจริงจังในด้านต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจ สังคมวิชาการและคมนาคม เป็นต้น
- การเปิดเสรีของไทยในอาเซียน
1) เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) เป็นความร่วมมือทางการค้า เกิดขึ้นในปี 2535 มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยมีหลักการสำคัญ คือ
- การลดภาษีศุลกากรระหว่างกันในสินค้าทุกประเภทลงเหลือร้อยละ 0-5 ภายใน 10 ปี (2536-2546) สำหรับสมาชิกใหม่ ได้แก่ เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา สิ้นสุดภายในปี พ.ศ. 2549-2551 ยกเว้นสินค้าเกษตรไม่แปรรูปที่อ่อนไหวภายใน 1 มกราคม 2553 และสินค้าเกษตรไม่แปรรูปที่อ่อนไหวสูง (ข้าว) ให้ใช้มาตรการพิเศษได้ โดยอนุญาตให้มีอัตราภาษีสุดท้ายมากกว่าร้อยละ 0-5 ได้
- ยกเลิกมาตรการจำกัดปริมาณทันทีที่สินค้าหนึ่ง ๆ ได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดภาษี และยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากรอื่น ๆ ภายใน 5 ปีต่อมา
2) เขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Area : AIA) จัดตั้งเมื่อปี 2541 มีหลักการสำคัญ ดังนี้
- การเปิดเสรีการลงทุนในอุตสาหกรรม และให้การปฏิบัติเยี่ยงคนชาติแก่นักลงทุนอาเซียนโดยสามารถมีข้อยกเว้นชั่วคราวได้ แต่ข้อยกเว้นดังกล่าวจะต้องเลิกไปภายในปี 2546 สำหรับอาเซียนเดิม 6 ประเทศ และปี 2553 สำหรับ เวียดนาม ลาว และพม่า และต้องเปิดให้นักลงทุนทั่วไปภายในปี 2563
- คณะกรรมาธิการว่าด้วยเขตการลงทุนอาเซียน (AIA Council) ปี 2542 ได้ขยายกรอบความตกลงฯ ให้ครอบคลุมสาขาต่าง ๆ ได้แก่ การเกษตร การประมง ป่าไม้และเหมืองแร่ รวมทั้งกิจการบริการที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การเกษตร การประมง ป่าไม้ และเหมืองแร่
3) โครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม (ASEAN Industrial Cooperation Scheme : AICO) เป็นโครงการเพื่อส่งเสริมการขยายความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมระหว่างภาคเอกชนของอาเซียน และเพิ่มศักยภาพในการผลิตสินค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียน ดังนี้
- สินค้าและวัตถุดิบที่อยู่ภายในโครงการ AICO จะได้รับการลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0-5 และไม่ถูกนำมาตรการที่มิใช่ภาษีมาใช้
- สินค้าได้รับอนุมัติให้อยู่ในโครงการ AICO แล้วมีจำนวนมาก เช่นยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องยนต์การเกษตร เป็นต้น
4) การเปิดเสรีการบริการ (ASEAN Framework Agreement on Services : AFAS)
- สมาชิกอาเซียน ได้ตกลงเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการ 7 สาขา ได้แก่ สาขาบริการด้านการเงิน โทรคมนาคม การท่องเที่ยว การขนส่งทางทะเล การขนส่งทางอากาศ การก่อสร้าง และบริการธุรกิจ เมื่อปลายปี 2538 และแล้วเสร็จปลายปี 2541
- ปี 2542-2544 อาเซียนเปิดเจรจาขยายขอบเขตให้ครอบคลุมทุกสาขาบริการและทุกรูปแบบของการให้บริการ
5) การอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดนของอาเซียน (Goods in Transit) เริ่มดำเนินการในปี 2543 มีหลักการสำคัญของความตกลงฯ คือ ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศสมาชิกจะไม่มีการเสียภาษีนำเข้า ไม่มีการตรวจค้นระหว่างทาง และไม่ต้องมีการเปลี่ยนพาหนะ เพื่อให้การติดต่อค้าขายภายในหรือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นไปอย่างเสรีและสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
6) ความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (e-ASEAN Framework Agreement) ได้จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2543 เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) โดยจะดำเนินมาตรการสำคัญ 5 ด้าน ดังนี้
- การอำนวยความสะดวกในการจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลของอาเซียน
- การอำนวยความสะดวกในการขยายตัวของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในอาเซียน
- การส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการเปิดเสรีด้านการค้า บริการและการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับ ICT รวมทั้งส่งเสริมให้มีการลงทุนในการผลิตสินค้าและการให้บริการด้าน ICT
- พัฒนาสังคม ICT ในอาเซียน และลดช่องว่างแห่งความก้าวหน้าด้าน
ICT ภายในประเทศ และระหว่างประเทศสมาชิก
- ส่งเสริมการใช้ ICT ในการให้บริการต่าง ๆ ของรัฐบาล
7) วิสัยทัศน์อาเซียนปี 2020 (พ.ศ. 2563)
- อาเซียนปี 2020 เป็นหุ้นส่วนร่วมกันในการพัฒนาอย่างมีพลวัตร(ASEAN 2020 : Partnership in Dynamic Development)” มีหลักการสำคัญ คือ จะจัดตั้งภูมิภาคเศรษฐกิจอาเซียนที่มีความมั่นคง รุ่งเรือง และมีความสามารถในการแข่งขันสูง โดยให้มีการเปิดเสรีทางการค้า การบริการและการลงทุน มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรี มีการพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นธรรม รวมทั้งลดความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม
- ปี 2541 ประกาศ “แผนปฏิบัติการฮานอย” เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและวิสัยทัศน์อาเซียนปี 2020
8) การเชื่อมโยงความร่วมมือกับกลุ่มเศรษฐกิจในภูมิภาคอื่น ๆ เพื่อขยายการค้าในระดับภูมิภาคและระดับโลกให้สูงขึ้น
- อาเซียนเชื่อมโยงกับเขตการค้าเสรีออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (CER) เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านมาตรฐานและศุลกากร และการพัฒนาบุคลากร นอกจากนี้ได้สนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอแนวทางลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างสองภูมิภาคด้วย
- พิจารณาความเป็นไปได้ในการเชื่อมโยงกับกลุ่มเศรษฐกิจอื่น ๆ เช่น MERCOSUR EFTA SADC และ NAFTA ต่อไป
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--
-สส-
ภาวะการค้าจะเสรีและมีการแข่งขันรุนแรงมากขึ้นในตลาดโลก
- ปัจจุบันการค้าเสรีเป็นกระบวนการโลกาภิวัฒน์ที่แพร่หลายไปทั่วโลกเพราะข้อดีของการค้าเสรี ซึ่งเป็นเรื่องของการเปิดโอกาส คือ สร้างโอกาสให้เข้าไปทำการค้าหรือช่องทางทำมาหากินกว้างขวางขึ้น เนื่องจาก
- การค้าเสรีมีระบบ ระเบียบและกติกาที่ชัดเจน
- ประเทศเล็ก-ใหญ่มีสิทธิเท่าเทียมกันในการปฏิบัติเป็นระบบฉันทามติ
- มีกระบวนการยุติข้อพิพาท เมื่อเกิดปัญหาขึ้นทุกประเทศมีสิทธิฟ้องร้อง โดย
จะมีการตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาคดี เช่น กรณีที่สหรัฐอเมริกากีดกันการนำเข้ากุ้งโดยอ้างว่าการจับกุ้งเป็นการทำร้ายเต่าทะเล ดังนั้นไทย อินเดียและบราซิล จึงรวมตัวกันฟ้องสหรัฐฯ ซึ่งผลที่สุดสหรัฐฯ ก็เป็นฝ่ายแพ้
- ให้โอกาสของความแตกต่างและเป็นพิเศษ (S&D) ในฐานะที่ไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาจึงได้ประโยชน์ในเรื่องของการลดภาษีในอัตราที่น้อยกว่าและใช้เวลายาวนานกว่าประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สินค้าเกษตร ไทยลดภาษีลงร้อยละ 24 ภายใน 10 ปี ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้ว ลดภาษีลงร้อยละ 36 ภายใน 6 ปี
- มีคณะกรรมการพิจารณานโยบายการค้าของทุกประเทศสมาชิกเพื่อดูแลเรื่องการค้ามิให้มีการใช้มาตรการที่เป็นอุสรรคต่อการค้ามากขึ้นและก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมขึ้น
- หลักการค้าเสรีที่ยึดถืออยู่ในระบบการค้าของโลก มี 3 หลักที่สำคัญ คือ
1) Rule based system คือ การค้าที่มีระบบ เสรีและเป็นธรรม เป็นกฎระเบียบที่ชัดเจนขององค์การการค้าโลก
2) การค้าต้องไม่เลือกปฏิบัติ (Non-discrimination หรือ MFN) ซึ่งให้ประโยชน์กับทุกคนเท่าเทียมกัน แต่บางประเทศไม่ได้ประโยชน์ เช่น ลาว เพราะอยู่นอก WTO แต่จะไปลดสิทธิของผู้อื่นไม่ได้
3) หากอนุญาตให้ใครเข้ามาทำอะไรในประเทศเราแล้วต้องปฏิบัติแก่เขาเยี่ยงคนในชาติ (National treatment)
- ในทางตรงกันข้าม การค้าเสรีอาจส่งผลกระทบทางลบได้เช่นกัน เพราะประเทศ
สมาชิกทุกประเทศจำเป็นต้องปรับตัวในเรื่องต่าง ๆ ให้เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน เช่น การเปิดตลาด การยกเลิกภาษีศุลกากร และการยกเลิกมาตรการห้ามนำเข้า เป็นต้น
- ความจำเป็นของการเปิดเสรีทางการค้า
- ประเทศไทยเป็นประเทศเล็กที่ยึดมั่นในนโยบายการค้าเสรี มีระบบเศรษฐกิจเชื่อมโยงกับระบบเศรษฐกิจโลก โดยไทยมีสัดส่วนการส่งออกคิดเป็นประมาณร้อยละ 1.04 ของการส่งออกของโลกในปี 2542 และติดลำดับที่ 23 ของโลก ขณะที่ประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นได้แก่ สิงคโปร์และมาเลเซีย มีสัดส่วนการส่งออกและติดลำดับในตลาดโลกสูงกว่าไทย กล่าวคือสิงคโปร์มีสัดส่วนส่งออกร้อยละ 2.04 ติดลำดับที่ 15 และมาเลเซียมีสัดส่วนส่งออกร้อยละ 1.51 ติดลำดับที่ 17
ประเทศที่เป็นผู้นำด้านการส่งออกมีมูลค่ามากที่สุดในปี 2542 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา คิดเป็นร้อยละ 12.39 ของการส่งออกของโลก รองลงมา คือ เยอรมัน ร้อยละ 9.63 และญี่ปุ่น ร้อยละ 7.47
- ระบบเศรษฐกิจไทยต้องพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศมาก ดังจะเห็นได้จากการค้าระหว่างประเทศของไทยมีสัดส่วนร้อยละ 89.3 ของ GDP และเพิ่มเป็นร้อยละ 105.1 ในปี 2543 โดยภาคการส่งออกเป็นตัวสำคัญที่นำรายได้เข้าประเทศมากถึงร้อยละ 48.0 ในปี 2542 และเพิ่มเป็น 55.4 ในปี 2543
- จากการที่ประเทศไทยเป็นประเทศเล็กจึงมีอำนาจการเจรจาต่อรองที่จำกัดและระบบเศรษฐกิจต้องพึ่งพาการค้าต่างประเทศมาก ต้องเผชิญกับอุปสรรคต่าง ๆ ในตลาดหลักๆ หากระบบการค้าในโลกไม่มีระเบียบกฎเกณฑ์ที่เข้มแข็ง และปล่อยให้ประเทศที่มีพลังเศรษฐกิจมหาศาล ดำเนินมาตรการที่บิดเบือนการค้าไม่เป็นธรรม ก็จะทำให้ไทยมีความเสียเปรียบทางการค้า
- ระบบเศรษฐกิจการค้าโลกได้เกิดการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบบการค้าเสรีมาก
ขึ้น ประกอบกับความก้าวหน้าด้านสื่อสารที่สามารถติดต่อกันทั่วโลกได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ทำให้ระบบเศรษฐกิจไทยต้องเข้าไปเชื่อมโยงในตลาดโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงจำเป็นต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในเวทีการค้าโลกโดยเป็นสมาชิกองค์การ กลุ่มเศรษฐกิจ และความร่วมมือทั้งในภูมิภาค อนุภูมิภาค และอนุทวีปต่าง ๆ เช่น องค์การการค้าโลก (WTO) อาเซียน และเอเปค เป็นต้น และมีการรวมกลุ่มและเปิดเสรีภายในกลุ่มมากขึ้น เช่น ในกลุ่มอาเซียนก็มีเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) BIMST-EC เป็นต้น รวมทั้งจะมีการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศและในภูมิภาค (FTA/RTA) มากขึ้น ซึ่งจะเปิดเสรีเร็วกว่าใน WTO
- การเปิดเสรี จะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจและการค้าของไทย ทำให้ตลาดใหญ่ขึ้นมีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ มีการผลิตตามความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Advantage) มีการแข่งขัน และผู้บริโภคมีทางเลือกในการซื้อสินค้าและบริการหลากหลายและในราคาที่ถูกลง นอกจากนี้แล้วการเปิดเสรี จึงช่วยลดอุปสรรคทางการค้าและการลงทุน เพื่อนำไปสู่การจ้างงานและรายได้ที่เพิ่มขึ้น
- ผลกระทบที่ไทยได้รับจากการเปิดเสรี
ผลทางด้านบวก
- การส่งออกขยายตัวมากขึ้น จากการที่ประเทศสมาชิกในเวทีต่าง ๆ ต้องเปิดตลาดตามข้อตกลง ส่งผลให้การส่งออกของไทยขยายตัว รายได้จากการส่งออกในปี 2543 สูงถึง 2.7 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 25.4 หรือคิดเป็นร้อยละ 55.4 ของ GDP ของประเทศ ซึ่งมีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในเรื่องการเปิดตลาดสินค้าเกษตร คือ ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ต้องเปิดตลาดข้าว สหภาพยุโรปต้องเปิดตลาดน้ำตาล ทำให้ไทยมีโอกาสส่งข้าว และน้ำตาลไปตลาดดังกล่าวได้ ส่วนสิ่งทอเป็นสินค้าที่เปิดเสรีโดยขยายโควตาในแต่ละปีและจะยกเลิกทั้งหมดในปี 2548 ซึ่งเป็นโอกาสของไทยที่จะเข้าไปแข่งขันได้ สินค้าส่งออกของไทยในระยะที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2537 ถึงปัจจุบันมูลค่าส่งออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 17.3 ต่อปี
ตลาดส่งออกยังคงพึ่งพา 4 ตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา อาเซียน
สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น มีสัดส่วนรวมกันมากกว่าร้อยละ 70 ของมูลค่าส่งออกรวม แต่มีแนวโน้มขยายไปตลาดที่มีความร่วมมือในแถบเอเซีย-แปซิฟิก และตลาดใหม่ ๆ มากขึ้น เช่น การส่งออกช่วงปี 2537-2543 ไปออสเตรเลียมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.3 ต่อปี ฮ่องกง ร้อยละ 16.4 และแอฟริกา ร้อยละ 27.3
นอกจากนี้โอกาสเข้าสู่ตลาดจีน รัสเซีย และเวียดนามของสินค้าไทยจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากทั้งสามประเทศกำลังดำเนินการเข้าร่วมเป็นสมาชิก WTO สินค้าส่งออกที่คาดว่าจะได้รับผลดี คือ ข้าว น้ำตาลทราย ยางพารา เครื่องครัว เครื่องสุขภัณฑ์ ฯลฯ
- การปฏิบัติที่แตกต่างและพิเศษ ซึ่งไทยได้ประโยชน์ไปแล้วในการต่อรองเรื่อง
การลดภาษี กล่าวคือ ประเทศพัฒนาแล้วต้องลดภาษีจากร้อยละ 20 เหลือร้อยละ 5 ภายในเวลา 5 ปี ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทยได้สิทธิในการลดภาษีน้อยกว่า และใช้เวลายาวนานกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว คือ ลดภาษีจากร้อยละ 40 เหลือร้อยละ 25 ภายใน 10 ปี
- เมื่อมีปัญหาประเทศสมาชิกมีสิทธิ์เจรจาใหม่ได้แต่ต้องมีเหตุผล อย่างเช่น กรณีนมผง เมื่อไทยไม่สามารถดำเนินการตามข้อตกลงที่ต้องยกเลิก Local content ภายในปี 2543 ได้ เพราะภาคเกษตรมีปัญหาก็มีการเจรจาขอยืดไปอีก 5 ปี ซึ่งได้รับการผ่อนผันให้ยืดได้ 2 ปีก่อนและจะพิจารณากันใหม่ โดยไม่มีการลงโทษ หรือขอชดเชยใด ๆ
- มีเวทีในการร้องเรียนข้อพิพาททางการค้า และมีแนวร่วมในการต่อสู้กับประเทศใหญ่ จะสามารถเพิ่มอำนาจการต่อรองในการเจรจาการค้าเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในเวทีการค้าโลก อย่างเช่น กรณีกุ้งกับเต่าทะเลที่มีปัญหากับสหรัฐอเมริกา
- มีกฎระเบียบที่รัดกุม โปร่งใสและเป็นธรรม เนื่องจากทุกประเทศต้องใช้กฎระเบียบที่ WTO กำหนดเป็นมาตรฐานเดียวกัน เช่น กรณีมาเลเซียไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง ซึ่งต้องนำสินค้ารถยนต์มาลดภาษีในวันที่ 1 มกราคม 2543 เป็นต้นไป ไทยจึงเปิดเจรจาขอให้มาเลเซียชดเชยความเสียหายให้ไทย ถ้าตกลงกันไม่ได้ไทยก็สามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจา
- มาตรฐานการครองชีพของประชาชนสูงขึ้น เนื่องมาจากการเปิดเสรีมีส่วนกระตุ้น
ให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศขยายตัว ก่อให้เกิดการผลิตและการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น
- เพิ่มโอกาสด้านการลงทุนและพัฒนาเทคโนโลยีการลดภาษีศุลกากรและข้อกีดกันทางการค้า ทำให้ผู้ลงทุนสามารถเลือกใช้ทรัพยากรอย่างดีมีประสิทธิภาพ วัตถุดิบและเครื่องจักรที่มีราคาถูกลง ทำให้การวางแผนการผลิตและการตลาดในระยะยาวทำได้ง่ายขึ้น ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมการเปิดเสรีส่งผลให้มีการพัฒนาและเชื่อมโยงระบบการสื่อสารโทรคมนาคมส่งผลให้เพิ่มโอกาสในการร่วมลงทุนระหว่างประเทศมากขึ้น ก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายเทคโนโลยีง่ายขึ้น
- การแข่งขันรุนแรงขึ้นแต่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นการเปิดตลาด ทำให้เกิดการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการภายในประเทศและต่างประเทศมากขึ้น ดังนั้นเพื่อความอยู่รอด และเป็นผู้นำในตลาด ผู้ประกอบการภายในประเทศต้องมีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ทั้งด้านคุณภาพ ลดต้นทุนการผลิต และคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ส่งผลดีต่อผู้บริโภคในประเทศอีกด้วย
- ประชาชนมีโอกาสและทางเลือกในการบริโภค เมื่อสินค้าจากประเทศอื่น ๆ เข้ามาแข่งขันจะเป็นตัวกดดันให้สินค้าภายในประเทศราคาถูกลง มีการลดภาษี ก่อให้เกิดเสรีภาพในการเลือกใช้สินค้า เป็นเรื่องไม่ถูกจำกัดของมนุษย์
ผลทางด้านลบ
- ต้องเปิดตลาดภายในประเทศตามพันธกรณี แต่ภาระภาษีที่เราผูกพันไว้นั้นสูงกว่าที่เราเก็บจริงและเปิดเฉพาะเท่าที่จำเป็น ฉะนั้นจึงเกิดผลกระทบไม่มากนัก เช่น สินค้าอุตสาหกรรมก็มีเวลาปรับตัว สินค้าเกษตรที่ต้องเปิดตลาด 23 รายการ มีผลน้อยมาก เช่น กากถั่วเหลืองเราขาดแคลน กรณีนมผงซึ่งมีผลกระทบต่อเกษตรกรเราก็ขอผ่อนผัน สำหรับสินค้าบริการที่ไทยตกลงเปิดเสรีไว้แล้ว 10 สาขา เราได้เปิดเพียงเท่าที่กฎหมายกำหนด
- มีการนำมาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษีมาใช้มากขึ้น ซึ่งสร้างความไม่เป็นธรรมต่อการค้าระหว่างประเทศ เช่น มาตรการต่อต้านการทุ่มตลาด (Anti — dumping : AD) ทำให้การส่งออกของไทยได้รับผลกระทบ เช่น กรณีมาเลเซียเรียกเก็บ AD จากสินค้าเสื่อน้ำมัน และยิบซั่มบอร์ด จากประเทศไทย เป็นต้น มาตรการตอบโต้การอุดหนุน (Countervailing Duty : CVD) ใช้ตอบโต้การอุดหนุนทุกรูปแบบที่ทำให้ผู้ส่งออกได้เปรียบในการแข่งขันมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phytosanitary Measures : SPS) เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานด้านคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร และครอบคลุมถึงกฎเกณฑ์ กำหนดผลิตภัณฑ์ กระบวนการและวิธีการผลิต การทดสอบตรวจสอบ และวิธีรับรอง ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพและอนามัยของคน สัตว์และพืช เช่นสหภาพยุโรปกำหนดมาตรฐานด้านสุขอนามัยไว้ว่าสารรักษาและถนอมอาหารทะเลต้มสุก (Benzoic Acid) ควรมีความเข้มข้นร้อยละ 0.2 ถ้าสินค้าที่ส่งเข้าไปจำหน่ายในสหภาพยุโรปไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้จะทำให้เสียโอกาสในการแข่งขันด้านคุณภาพสินค้ามาตรการอุปสรรคเทคนิคการค้า (Technical Barrier To Trade : TBT) โดยประเทศผู้นำเข้าเป็นผู้กำหนดมาตรฐานทางด้านเทคนิคของสินค้า รวมถึงกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานขึ้นมาเอง ทั้งนี้เพื่อควบคุมมาตรฐานสินค้าของตนเองเพื่อคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยของชีวิตมนุษย์ สัตว์ พืช และสภาพแวดล้อม มาตรฐานทางด้านเทคนิคที่มักจะเป็นอุปสรรคทางการค้าต่อไทย คือ มาตรฐานด้านฉลากและการหีบห่อ ประเทศผู้นำเข้าจะกำหนดให้ผู้ผลิตสินค้าติดฉลากบนภาชนะ หรือหีบห่อ เพื่อให้ข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ แก่ผู้บริโภค เช่น ส่วนประกอบอาหาร สารเคมีที่ผสม ฯลฯ ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกเพราะเป็นการเพิ่มต้นทุนผลิต เช่น สหภาพยุโรป กำหนดว่าผลิตภัณฑ์ต้องติดฉลากระบุข้อมูลดังกล่าวแล้ว ยังต้องมีความชัดเจนเกี่ยวกับการใช้วัตถุดิบที่มีการตกแต่งพันธุกรรม (GMOs) ในกรณีของสิ่งทอมีการกำหนดให้มีการติดฉลาก eco-labelling เพื่อแสดงว่ากระบวนการผลิตไม่ส่งผลเสียต่อสภาวะแวดล้อมมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อต้องการให้ผู้ผลิตสำนึกและมีความรับผิดชอบผลกระทบที่เกิดจากการผลิตสินค้าที่มีต่อสภาพแวดล้อมแต่บางครั้งต้องการกีดกันการนำเข้า เช่น กรณีสหรัฐอเมริกา กล่าวหาไทยว่าการจับกุ้งเป็นการทำร้ายเต่าทะเล กรณีสหภาพยุโรปกำหนดว่าสินค้าอุตสาหกรรมที่ส่งไปสหภาพยุโรปต้องได้ ISO 14000 (กำหนดมาตรฐานในระบบจัดการสิ่งแวดล้อม) สำหรับผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประเทศผู้ผลิตจะต้องรับภาระในการเก็บรวบรวมเศษเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปทำลายมาตรการด้านแรงงาน โดยประเทศพัฒนาแล้วมักจะนำมาตรฐานแรงงานไปเชื่อมโยงกับระเบียบการค้าโลก ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นมาตรการหนึ่งของการกีดกันทางการค้า เช่น กรณีสหรัฐฯ กล่าวหาว่าไทยละเมิดเสรีภาพของแรงงาน สิทธิในการต่อรองการใช้แรงงานเด็ก ความปลอดภัยและสุขอนามัยแรงงาน นอกจากนี้แล้วสหภาพแรงงานและองค์กรเอกชนได้ร่วมกันต่อต้านสิ่งทอจากเอเซียภายใต้โครงการ “Clean Clothes ” โดยกล่าวหาว่ามีการใช้แรงงานเด็ก มีการใช้แรงงานแบบเลือกปฏิบัติ แรงงานไม่ได้รับการดูแลเรื่องความปลอดภัย สุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม
- ต้องมีการปรับตัวตลอดเวลา เช่น ไทยจะต้องปรับปรุงมาตรฐานการผลิตในประเทศเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน พร้อมกับลดมาตรการกีดกันทางการค้า เพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลง ในบางกรณีผู้ผลิตในประเทศจำเป็นต้องปรับปรุงคุณภาพผลผลิตให้ได้มาตรฐานตามที่ประเทศกำหนดอีกด้วย
- การแข่งขันทางการค้าจะรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะตลาดภายในประเทศจะมีสินค้าและบริการจากต่างประเทศเข้ามาขายแข่งขันมากขึ้น รวมทั้งการแข่งขันในตลาดต่างประเทศก็จะทวีความรุนแรง
การรวมตัวทางเศรษฐกิจแยกเป็นกลุ่มสำคัญ ๆ
อาเซียน
- อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South East Asian Nation : ASEAN) ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2510 ปัจจุบันมีสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ไทย บรูไนดารุสซาลาม เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา ทำให้อาเซียนมีประชากร 500 ล้านคน เป็นตลาดขนาดใหญ
วัตถุประสงค์
1) เร่งรัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
2) ส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค
3) ส่งเสริมความร่วมมือกันอย่างจริงจังในด้านต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจ สังคมวิชาการและคมนาคม เป็นต้น
- การเปิดเสรีของไทยในอาเซียน
1) เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) เป็นความร่วมมือทางการค้า เกิดขึ้นในปี 2535 มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยมีหลักการสำคัญ คือ
- การลดภาษีศุลกากรระหว่างกันในสินค้าทุกประเภทลงเหลือร้อยละ 0-5 ภายใน 10 ปี (2536-2546) สำหรับสมาชิกใหม่ ได้แก่ เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา สิ้นสุดภายในปี พ.ศ. 2549-2551 ยกเว้นสินค้าเกษตรไม่แปรรูปที่อ่อนไหวภายใน 1 มกราคม 2553 และสินค้าเกษตรไม่แปรรูปที่อ่อนไหวสูง (ข้าว) ให้ใช้มาตรการพิเศษได้ โดยอนุญาตให้มีอัตราภาษีสุดท้ายมากกว่าร้อยละ 0-5 ได้
- ยกเลิกมาตรการจำกัดปริมาณทันทีที่สินค้าหนึ่ง ๆ ได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดภาษี และยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากรอื่น ๆ ภายใน 5 ปีต่อมา
2) เขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Area : AIA) จัดตั้งเมื่อปี 2541 มีหลักการสำคัญ ดังนี้
- การเปิดเสรีการลงทุนในอุตสาหกรรม และให้การปฏิบัติเยี่ยงคนชาติแก่นักลงทุนอาเซียนโดยสามารถมีข้อยกเว้นชั่วคราวได้ แต่ข้อยกเว้นดังกล่าวจะต้องเลิกไปภายในปี 2546 สำหรับอาเซียนเดิม 6 ประเทศ และปี 2553 สำหรับ เวียดนาม ลาว และพม่า และต้องเปิดให้นักลงทุนทั่วไปภายในปี 2563
- คณะกรรมาธิการว่าด้วยเขตการลงทุนอาเซียน (AIA Council) ปี 2542 ได้ขยายกรอบความตกลงฯ ให้ครอบคลุมสาขาต่าง ๆ ได้แก่ การเกษตร การประมง ป่าไม้และเหมืองแร่ รวมทั้งกิจการบริการที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การเกษตร การประมง ป่าไม้ และเหมืองแร่
3) โครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม (ASEAN Industrial Cooperation Scheme : AICO) เป็นโครงการเพื่อส่งเสริมการขยายความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมระหว่างภาคเอกชนของอาเซียน และเพิ่มศักยภาพในการผลิตสินค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียน ดังนี้
- สินค้าและวัตถุดิบที่อยู่ภายในโครงการ AICO จะได้รับการลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0-5 และไม่ถูกนำมาตรการที่มิใช่ภาษีมาใช้
- สินค้าได้รับอนุมัติให้อยู่ในโครงการ AICO แล้วมีจำนวนมาก เช่นยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องยนต์การเกษตร เป็นต้น
4) การเปิดเสรีการบริการ (ASEAN Framework Agreement on Services : AFAS)
- สมาชิกอาเซียน ได้ตกลงเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการ 7 สาขา ได้แก่ สาขาบริการด้านการเงิน โทรคมนาคม การท่องเที่ยว การขนส่งทางทะเล การขนส่งทางอากาศ การก่อสร้าง และบริการธุรกิจ เมื่อปลายปี 2538 และแล้วเสร็จปลายปี 2541
- ปี 2542-2544 อาเซียนเปิดเจรจาขยายขอบเขตให้ครอบคลุมทุกสาขาบริการและทุกรูปแบบของการให้บริการ
5) การอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดนของอาเซียน (Goods in Transit) เริ่มดำเนินการในปี 2543 มีหลักการสำคัญของความตกลงฯ คือ ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศสมาชิกจะไม่มีการเสียภาษีนำเข้า ไม่มีการตรวจค้นระหว่างทาง และไม่ต้องมีการเปลี่ยนพาหนะ เพื่อให้การติดต่อค้าขายภายในหรือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นไปอย่างเสรีและสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
6) ความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (e-ASEAN Framework Agreement) ได้จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2543 เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) โดยจะดำเนินมาตรการสำคัญ 5 ด้าน ดังนี้
- การอำนวยความสะดวกในการจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลของอาเซียน
- การอำนวยความสะดวกในการขยายตัวของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในอาเซียน
- การส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการเปิดเสรีด้านการค้า บริการและการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับ ICT รวมทั้งส่งเสริมให้มีการลงทุนในการผลิตสินค้าและการให้บริการด้าน ICT
- พัฒนาสังคม ICT ในอาเซียน และลดช่องว่างแห่งความก้าวหน้าด้าน
ICT ภายในประเทศ และระหว่างประเทศสมาชิก
- ส่งเสริมการใช้ ICT ในการให้บริการต่าง ๆ ของรัฐบาล
7) วิสัยทัศน์อาเซียนปี 2020 (พ.ศ. 2563)
- อาเซียนปี 2020 เป็นหุ้นส่วนร่วมกันในการพัฒนาอย่างมีพลวัตร(ASEAN 2020 : Partnership in Dynamic Development)” มีหลักการสำคัญ คือ จะจัดตั้งภูมิภาคเศรษฐกิจอาเซียนที่มีความมั่นคง รุ่งเรือง และมีความสามารถในการแข่งขันสูง โดยให้มีการเปิดเสรีทางการค้า การบริการและการลงทุน มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรี มีการพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นธรรม รวมทั้งลดความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม
- ปี 2541 ประกาศ “แผนปฏิบัติการฮานอย” เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและวิสัยทัศน์อาเซียนปี 2020
8) การเชื่อมโยงความร่วมมือกับกลุ่มเศรษฐกิจในภูมิภาคอื่น ๆ เพื่อขยายการค้าในระดับภูมิภาคและระดับโลกให้สูงขึ้น
- อาเซียนเชื่อมโยงกับเขตการค้าเสรีออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (CER) เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านมาตรฐานและศุลกากร และการพัฒนาบุคลากร นอกจากนี้ได้สนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอแนวทางลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างสองภูมิภาคด้วย
- พิจารณาความเป็นไปได้ในการเชื่อมโยงกับกลุ่มเศรษฐกิจอื่น ๆ เช่น MERCOSUR EFTA SADC และ NAFTA ต่อไป
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--
-สส-