กรุงเทพฯ--2 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2544 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนภายหลังการประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้านว่า ที่ประชุมฯ ได้พิจารณาในประเด็นเรื่องการดำเนินการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ โดยมุ่งเน้นความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านที่สามารถสร้างประโยชน์ด้านการท่องเที่ยว ผลประโยชน์ทางการค้าจากการขยายการขนส่งสินค้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน และผลประโยชน์ในด้านการสร้างงานให้แก่บริษัทผู้รับเหมาของไทยในการก่อสร้างเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านในเส้นทางที่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นภายใน 2 ปีข้างหน้า โดยมีรายละเอียดเส้นทางคมนาคมการเชื่อมโยงดังนี้ การเชื่อมโยงการคมนาคมไทย-ลาว - เส้นทางเชื่อมโยงไทย-ลาว-จีน เพื่อประโยชน์ในการขยายการส่งออกไปทางตอน ใต้ของประเทศจีน โดยในขณะนี้ได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังและกรมทางหลวงพิจารณางบประมาณค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับโครงการดังกล่าว การเชื่อมโยงการคมนาคมไทย-กัมพูชา - เส้นทางเชื่อมโยงปอยเปต-เสียมราฐ ซึ่งเป็นที่ตั้งของนครวัด จะสามารถสร้างผลประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวให้ฝ่ายไทยได้มาก โดยทางภาคเอกชนไทยพร้อมที่จะยื่นข้อเสนอเพื่อก่อสร้างในเส้นทางดังกล่าว และ - เส้นทางเชื่อมศรีสะเกษ-เสียมราฐเพื่อเปิดประตูด้านการท่องเที่ยว และการส่งออก สินค้าในภาคอีสาน โดยที่ทางการไทยพร้อมที่จะเข้าไปให้ความช่วยเหลือในโครงการดังกล่าว การเชื่อมโยงการคมนาคมไทย-พม่า - การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำสายเชื่อมท่าขี้เหล็กและอำเภอแม่สายแห่งที่ 2 ขึ้น โดยการสร้างสะพานแห่งนี้จะเป็นประโยชน์ในการเชื่อมเส้นทางขนส่งสินค้าเข้าไปในพม่าและทางตอนใต้ของจีนเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเส้นทาง นอกจากนี้ได้มอบหมายให้กรมทางหลวงสำรวจและพิจารณาซ่อมแซมเส้นทางแม่สอด-เมียวดี ซึ่งจะเชื่อมถนนที่สามารถติดต่อถึงกรุงย่างกุ้งได้ จะเป็นช่องทางช่วยส่งเสริมการค้าการส่งออกของสินค้าไทยได้เป็นอย่างมาก ดร. สุรเกียรติ์ฯ กล่าวว่า ที่ประชุมฯ ได้ตกลงในหลักการที่จะเน้นการให้เงินกู้กับประเทศเพื่อนบ้านภายใต้เงื่อนไข ที่ใช้บริษัทของไทยทำการก่อสร้างรวมทั้งการใช้วัสดุก่อสร้างจาก ไทยด้วยอันจะเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยและสร้างผลประโยชน์ด้านการส่งออกสินค้าและการ ท่องเที่ยวให้แก่ฝ่ายไทย โครงการเชื่อมเส้นทางคมนาคมกับประเทศเพื่อนบ้านจะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจไทยและบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการที่สภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มหดตัวลงเนื่องจากเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะเป็นผู้พิจารณาการให้แหล่งเงินทุนในลักษณะ Soft Loan แก่ประเทศเพื่อนบ้าน ในขณะนี้ได้มีกองทุนพัฒนาเศรษฐกิจประเทศเพื่อนบ้านอยู่แล้ว และญี่ปุ่นได้แสดงความสนใจร่วมกับไทยในการปล่อยเงินกู้ผ่านประเทศไทยเพื่อช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้าน โดยไทยจะเป็นตัวกลางประสานงานในการนำแหล่งเงินทุนต่างประเทศผ่านต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน อนึ่ง ในการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศในกรอบอื่นๆ ที่ได้ดำเนินการไปแล้วหรืออยู่ในระหว่างการพิจารณา อาทิ การสร้างความร่วมมือการส่งออกข้าวเพื่อไม่ให้มีการตัดราคากันระหว่าง ไทย เวียดนาม อินเดีย และปากีสถาน การร่วมมือเศรษฐกิจการค้าเสรีสองฝ่ายในการลดภาษีระหว่างไทย-อินเดีย เพื่อเปิดโอกาสการส่งออกของไทยในตลาดอินเดีย และในส่วนของความร่วมมือไทย-จีนนั้น จะมีการพิจารณาจัดเขตการเสียภาษีพิเศษในสินค้าเกษตรระหว่างกันเพื่อเป็นการช่วยเหลือภาคการเกษตรของไทยด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 0-2643-5105 โทรสาร. 0-2643-5106-7--จบ--
-สส-
เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2544 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนภายหลังการประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้านว่า ที่ประชุมฯ ได้พิจารณาในประเด็นเรื่องการดำเนินการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ โดยมุ่งเน้นความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านที่สามารถสร้างประโยชน์ด้านการท่องเที่ยว ผลประโยชน์ทางการค้าจากการขยายการขนส่งสินค้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน และผลประโยชน์ในด้านการสร้างงานให้แก่บริษัทผู้รับเหมาของไทยในการก่อสร้างเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านในเส้นทางที่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นภายใน 2 ปีข้างหน้า โดยมีรายละเอียดเส้นทางคมนาคมการเชื่อมโยงดังนี้ การเชื่อมโยงการคมนาคมไทย-ลาว - เส้นทางเชื่อมโยงไทย-ลาว-จีน เพื่อประโยชน์ในการขยายการส่งออกไปทางตอน ใต้ของประเทศจีน โดยในขณะนี้ได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังและกรมทางหลวงพิจารณางบประมาณค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับโครงการดังกล่าว การเชื่อมโยงการคมนาคมไทย-กัมพูชา - เส้นทางเชื่อมโยงปอยเปต-เสียมราฐ ซึ่งเป็นที่ตั้งของนครวัด จะสามารถสร้างผลประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวให้ฝ่ายไทยได้มาก โดยทางภาคเอกชนไทยพร้อมที่จะยื่นข้อเสนอเพื่อก่อสร้างในเส้นทางดังกล่าว และ - เส้นทางเชื่อมศรีสะเกษ-เสียมราฐเพื่อเปิดประตูด้านการท่องเที่ยว และการส่งออก สินค้าในภาคอีสาน โดยที่ทางการไทยพร้อมที่จะเข้าไปให้ความช่วยเหลือในโครงการดังกล่าว การเชื่อมโยงการคมนาคมไทย-พม่า - การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำสายเชื่อมท่าขี้เหล็กและอำเภอแม่สายแห่งที่ 2 ขึ้น โดยการสร้างสะพานแห่งนี้จะเป็นประโยชน์ในการเชื่อมเส้นทางขนส่งสินค้าเข้าไปในพม่าและทางตอนใต้ของจีนเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเส้นทาง นอกจากนี้ได้มอบหมายให้กรมทางหลวงสำรวจและพิจารณาซ่อมแซมเส้นทางแม่สอด-เมียวดี ซึ่งจะเชื่อมถนนที่สามารถติดต่อถึงกรุงย่างกุ้งได้ จะเป็นช่องทางช่วยส่งเสริมการค้าการส่งออกของสินค้าไทยได้เป็นอย่างมาก ดร. สุรเกียรติ์ฯ กล่าวว่า ที่ประชุมฯ ได้ตกลงในหลักการที่จะเน้นการให้เงินกู้กับประเทศเพื่อนบ้านภายใต้เงื่อนไข ที่ใช้บริษัทของไทยทำการก่อสร้างรวมทั้งการใช้วัสดุก่อสร้างจาก ไทยด้วยอันจะเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยและสร้างผลประโยชน์ด้านการส่งออกสินค้าและการ ท่องเที่ยวให้แก่ฝ่ายไทย โครงการเชื่อมเส้นทางคมนาคมกับประเทศเพื่อนบ้านจะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจไทยและบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการที่สภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มหดตัวลงเนื่องจากเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะเป็นผู้พิจารณาการให้แหล่งเงินทุนในลักษณะ Soft Loan แก่ประเทศเพื่อนบ้าน ในขณะนี้ได้มีกองทุนพัฒนาเศรษฐกิจประเทศเพื่อนบ้านอยู่แล้ว และญี่ปุ่นได้แสดงความสนใจร่วมกับไทยในการปล่อยเงินกู้ผ่านประเทศไทยเพื่อช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้าน โดยไทยจะเป็นตัวกลางประสานงานในการนำแหล่งเงินทุนต่างประเทศผ่านต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน อนึ่ง ในการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศในกรอบอื่นๆ ที่ได้ดำเนินการไปแล้วหรืออยู่ในระหว่างการพิจารณา อาทิ การสร้างความร่วมมือการส่งออกข้าวเพื่อไม่ให้มีการตัดราคากันระหว่าง ไทย เวียดนาม อินเดีย และปากีสถาน การร่วมมือเศรษฐกิจการค้าเสรีสองฝ่ายในการลดภาษีระหว่างไทย-อินเดีย เพื่อเปิดโอกาสการส่งออกของไทยในตลาดอินเดีย และในส่วนของความร่วมมือไทย-จีนนั้น จะมีการพิจารณาจัดเขตการเสียภาษีพิเศษในสินค้าเกษตรระหว่างกันเพื่อเป็นการช่วยเหลือภาคการเกษตรของไทยด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 0-2643-5105 โทรสาร. 0-2643-5106-7--จบ--
-สส-