ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๔ หมวด ๓ การประชุมวุฒิสภา

ข่าวการเมือง Tuesday June 5, 2001 09:58 —รัฐสภา

                        ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา
พ.ศ. ๒๕๔๔
หมวด ๓
การประชุมวุฒิสภา
ส่วนที่ ๑
วิธีการประชุม
ข้อ ๑๓ การประชุมวุฒิสภาย่อมเป็นการเปิดเผย แต่ถ้าคณะรัฐมนตรีหรือ
สมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภาร้องขอ
ให้ประชุมลับ ก็ให้ประชุมลับ
ในการประชุมวุฒิสภาที่เป็นการเปิดเผย ให้บุคคลภายนอกเข้าฟังการประชุม
ได้ ตามระเบียบที่ประธานวุฒิสภากำหนดไว้ และให้ประธานวุฒิสภาจัดให้มีการถ่ายทอด
การประชุมทางวิทยุกระจายเสียง และหรือวิทยุโทรทัศน์ และจัดให้มีการถ่ายทอดการประชุม
ทางเครื่องขยายเสียงและหรือวิทยุโทรทัศน์วงจรปิดภายในบริเวณของรัฐสภา หากมีเหตุขัด
ข้องให้แจ้งที่ประชุมทราบ
ในการประชุมลับ ผู้ที่จะอยู่ในที่ประชุมวุฒิสภาหรือ ณ ที่ใดในระยะที่จะฟัง
การประชุมได้ก็แต่เฉพาะสมาชิก รัฐมนตรีและผู้ที่ได้รับอนุญาตจากประธานของที่ประชุม
และห้ามใช้เครื่องบันทึกเสียง หรือเครื่องมือสื่อสารใด ๆ ยกเว้นการบันทึกของวุฒิสภา
ข้อ ๑๔ ให้มีการประชุมวุฒิสภาครั้งแรกภายในสิบวันนับแต่วันเปิดสมัย
ประชุมสามัญหรือวิสามัญของรัฐสภา เว้นแต่ประธานวุฒิสภาเห็นว่าไม่มีวาระที่จะพิจารณา
ในกรณีเช่นนั้นให้ประธานวุฒิสภาแจ้งให้สมาชิกทราบล่วงหน้า
การประชุมครั้งต่อไปให้เป็นไปตามกำหนดที่วุฒิสภามีมติไว้ แต่ประธาน
วุฒิสภาจะสั่งงดการประชุมครั้งใดก็ได้เมื่อเห็นว่าไม่มีเรื่องที่สมควรจะบรรจุเข้าระเบียบวาระ
การประชุม
ในกรณีที่ประธานวุฒิสภาเห็นสมควร หรือสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งใน
สี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภาเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภา ให้เรียก
ประชุมเป็นพิเศษ ก็ให้เรียกประชุมได้
ข้อ ๑๕ การนัดประชุมต้องทำเป็นหนังสือ เว้นแต่เมื่อได้แจ้งนัดในที่ประชุมวุฒิ
สภาแล้ว จึงให้ทำหนังสือนัดเฉพาะสมาชิกที่ไม่ได้มาประชุม
การนัดประชุมให้นัดล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวัน แต่ประธานวุฒิสภาจะนัด
เร็วกว่านั้นหรือนัดประชุมโดยวิธีอื่นใดก็ได้เมื่อเห็นว่าเป็นเรื่องด่วน
ข้อ ๑๖ ภายใต้บังคับข้อ ๑๐๒ ให้ส่งระเบียบวาระการประชุมกับเอกสารที่
เกี่ยวข้องไปพร้อมกับหนังสือนัดประชุม แต่ประธานวุฒิสภาจะให้ส่งเพิ่มเติมอีกในเวลาใดก็
ได้ตามที่เห็นว่าจำเป็นหรือสมควร
ข้อ ๑๗ การจัดระเบียบวาระการประชุม ให้จัดลำดับดังต่อไปนี้
(๑) เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
(๒) รับรองรายงานการประชุม
(๓) กระทู้ถาม
(๔) เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
(๕) เรื่องที่ค้างพิจารณา
(๖) เรื่องที่เสนอใหม่
(๗) เรื่องอื่น ๆ
ในกรณีที่ประธานวุฒิสภาเห็นว่าเรื่องใดเป็นเรื่องด่วน จะจัดไว้ในลำดับใด
ของระเบียบวาระการประชุมก็ได้
ข้อ ๑๘ ให้สมาชิกผู้มาประชุมลงชื่อในสมุดที่จัดไว้ก่อนเข้าประชุมทุกคราว
และเมื่อมีสัญญาณให้เข้าประชุม ให้สมาชิกเข้านั่งในที่ที่จัดไว้
เมื่อมีสมาชิกลงชื่อมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่า
ที่มีอยู่จึงจะเป็นองค์ประชุม เว้นแต่ในกรณีพิจารณาระเบียบวาระกระทู้ถาม ถ้ามีสมาชิกลง
ชื่อมาประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ก็ให้ถือว่าเป็นองค์
ประชุมพิจารณาได้
เมื่อประธานของที่ประชุมขึ้นบัลลังก์ ให้ผู้ที่อยู่ในที่ประชุมวุฒิสภายืนขึ้น จน
กว่าประธานของที่ประชุมจะได้นั่งลง
ข้อ ๑๙ เมื่อพ้นกำหนดเวลาประชุมไปสามสิบนาทีแล้ว จำนวนสมาชิก
ยังไม่ครบองค์ประชุม ประธานของที่ประชุมจะสั่งให้เลื่อนการประชุมไปก็ได้
ข้อ ๒๐ เมื่อถึงกำหนดเวลาประชุมหรือพ้นกำหนดเวลาประชุมไปสามสิบนาที
แล้ว ประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภาไม่อาจมาประชุมได้ ให้เลขาธิการวุฒิสภาแจ้ง
ให้ที่ประชุมวุฒิสภาทราบ ในกรณีเช่นนี้ให้เลขาธิการวุฒิสภาขออนุมัติ
ที่ประชุมวุฒิสภา เพื่อเชิญสมาชิกผู้มีอายุสูงสุดซึ่งอยู่ในที่ประชุมวุฒิสภาเป็นประธานชั่ว
คราวของที่ประชุม เพื่อให้ที่ประชุมวุฒิสภาดำเนินการเลือกตั้งประธานเฉพาะคราว
สำหรับการประชุมครั้งนั้น โดยให้นำความในข้อ ๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ส่วนการ
ลงคะแนนเลือกตั้งประธานเฉพาะคราว ให้กระทำเป็นการเปิดเผยตามข้อ ๖๕
ข้อ ๒๑ ในการประชุมวุฒิสภา ให้ที่ประชุมวุฒิสภาพิจารณาเฉพาะเรื่องที่
มีอยู่ในระเบียบวาระการประชุม และต้องดำเนินการพิจารณาตามลำดับระเบียบวาระการ
ประชุมที่จัดไว้ เว้นแต่ที่ประชุมวุฒิสภาจะได้ลงมติเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๒๒ ผู้ใดประสงค์จะกล่าวถ้อยคำต่อที่ประชุมวุฒิสภา ให้ยกมือขึ้นพ้น
ศีรษะ เมื่อประธานของที่ประชุมอนุญาตแล้วจึงยืนขึ้นกล่าวได้ และต้องเป็นคำกล่าวกับ
ประธานของที่ประชุม
ข้อ ๒๓ ถ้ารัฐมนตรีขอแถลงหรือชี้แจงเรื่องใดต่อที่ประชุมวุฒิสภา ให้
ประธานของที่ประชุมพิจารณาอนุญาต
ข้อ ๒๔ ประธานของที่ประชุมมีอำนาจปรึกษาที่ประชุมวุฒิสภาในปัญหาใด ๆ
หรือสั่งพักการประชุม เลื่อนการประชุม หรือเลิกการประชุมได้ตามที่เห็นสมควร
ถ้าประธานวุฒิสภาลงจากบัลลังก์โดยมิได้มอบหมายให้รองประธานวุฒิสภา
ปฏิบัติหน้าที่แทน ให้เลิกการประชุม
ข้อ ๒๕ รายงานการประชุมวุฒิสภา เมื่อคณะกรรมาธิการตรวจรายงานการ
ประชุมและติดตามมติของวุฒิสภาตรวจแล้ว ก่อนที่จะเสนอให้วุฒิสภารับรอง ให้ทำสำเนา
วางไว้สามฉบับ ณ ที่ซึ่งสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้ประกาศกำหนดไว้ ไม่น้อยกว่าสาม
วัน เพื่อให้สมาชิกตรวจดูได้
รายงานการประชุมวุฒิสภาทุกครั้งจะต้องมีรายชื่อสมาชิกที่มาประชุม ที่ลา
ประชุม และที่ขาดประชุม
สมาชิกมีสิทธิขอแก้ไขเพิ่มเติมรายงานการประชุมวุฒิสภาดังกล่าวให้ตรงตาม
ที่เป็นจริง โดยยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมต่อประธานคณะกรรมาธิการ ถ้าคณะกรรมาธิการไม่
ยอมแก้ไขเพิ่มเติมให้ตามที่ขอ สมาชิกผู้นั้นมีสิทธิที่จะยืนยันคำขอแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อขอให้วุฒิ
สภาวินิจฉัย
ข้อ ๒๖ ในการตรวจรายงานการประชุมวุฒิสภาครั้งใด ถ้ามีผู้ใดกล่าวถ้อยคำ
หรือข้อความใด ๆ และได้มีการถอนหรือถูกสั่งให้ถอนถ้อยคำหรือข้อความนั้นแล้ว ให้คณะ
กรรมาธิการตรวจรายงานการประชุมและติดตามมติของวุฒิสภาพิจารณาว่าสมควรจะตัดถ้อย
คำหรือข้อความดังกล่าวออกหรือไม่ ถ้าเห็นสมควรให้ตัดออก ให้บันทึกว่า "มีการถอน
คำพูด" หรือ "ถูกสั่งให้ถอนคำพูด" แล้วแต่กรณี ไว้ในรายงานการประชุมวุฒิสภาครั้งนั้น
ส่วนถ้อยคำหรือข้อความที่ตัดออก ให้บันทึกไว้ในรายงานการประชุมของคณะกรรมาธิการ
ตรวจรายงานการประชุมและติดตามมติของวุฒิสภาด้วย
ข้อ ๒๗ รายงานการประชุมวุฒิสภาครั้งใด เมื่อได้วางสำเนาไว้เพื่อให้สมาชิก
ตรวจดูแล้ว ถ้ามีการแก้ไขเพิ่มเติมในภายหลังโดยคณะกรรมาธิการตรวจรายงานการประชุม
และติดตามมติของวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมเอง หรือโดยสมาชิกขอให้แก้ไขเพิ่มเติมก็ตาม ใน
คราวที่วุฒิสภาพิจารณารับรองรายงานการประชุมนั้น คณะกรรมาธิการจะต้องแถลงต่อที่
ประชุมวุฒิสภาถึงการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว
ข้อ ๒๘ เมื่อวุฒิสภาได้รับรองรายงานการประชุมวุฒิสภาครั้งใดแล้ว ให้
ประธานวุฒิสภาลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน
รายงานการประชุมวุฒิสภาที่ได้รับรองแล้ว แต่ประธานวุฒิสภายังมิได้ลงลาย
มือชื่อไว้เป็นหลักฐาน หรือรายงานการประชุมวุฒิสภาที่ยังมิได้มีการรับรอง เพราะเหตุที่อายุ
ของวุฒิสภาสิ้นสุดลง ให้เลขาธิการวุฒิสภาบันทึกเหตุนั้นไว้ และเป็นผู้รับรองความถูกต้อง
ของรายงานการประชุมนั้น
ข้อ ๒๙ วุฒิสภาอาจมีมติมิให้จดรายงานการประชุมลับครั้งใดทั้งหมด หรือแต่
เพียงบางส่วนก็ได้ แต่ให้มีบันทึกพฤติการณ์ไว้
ข้อ ๓๐ การเปิดเผยรายงานการประชุมลับ ให้เป็นไปตามมติของวุฒิสภา
ข้อ ๓๑ วุฒิสภาอาจมีมติห้ามโฆษณาข้อความอันเกี่ยวกับความปลอดภัย หรือ
ประโยชน์สำคัญของแผ่นดิน ที่มีการกล่าวหรือปรากฏในการประชุมได้
ข้อ ๓๒ ให้เลขาธิการวุฒิสภาเป็นผู้พิมพ์และผู้โฆษณารายงานการประชุมวุฒิสภา
ทั้งนี้ นอกจากรายงานการประชุมลับที่มิได้มีมติของวุฒิสภาให้เปิดเผย และข้อความที่
ห้ามโฆษณาตามข้อ ๓๑
ส่วนที่ ๒
การเสนอญัตติ
ข้อ ๓๓ ญัตติทั้งหลายต้องเสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือต่อประธานวุฒิสภา และ
ต้องมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่าห้าคน ทั้งนี้ เว้นแต่ข้อบังคับนี้ได้กำหนดไว้เป็น อย่างอื่น
ข้อ ๓๔ ญัตติตามมาตรา ๑๘๗ มาตรา ๑๘๘ และมาตรา ๓๐๔ วรรคสอง
ของรัฐธรรมนูญ และญัตติที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ ไม่ต้องมีผู้รับรอง
ข้อ ๓๕ ญัตติขอให้วุฒิสภามีมติให้รัฐมนตรีผู้ใดเข้าร่วมประชุมในเรื่องใดใน
ที่ประชุมวุฒิสภาตามมาตรา ๒๑๐ของรัฐธรรมนูญ ถ้าสมาชิกเป็นผู้เสนอต้องมีสมาชิกรับรอง
ไม่น้อยกว่าสิบคน
ข้อ ๓๖ ญัตติขอให้คณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาคณะใดคณะหนึ่ง
หรือญัตติขอให้วุฒิสภาตั้งคณะกรรมาธิการสามัญหรือคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อกระทำกิจ
การ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา ถ้าสมาชิก
เป็นผู้เสนอต้องมีผู้รับรองไม่น้อยกว่าสิบคน
ญัตติตามวรรคหนึ่ง กรณีขอให้วุฒิสภาตั้งคณะกรรมาธิการสามัญหรือคณะ
กรรมาธิการวิสามัญแล้วแต่กรณีนั้น จะต้องระบุกิจการหรือเรื่องให้ชัดเจนและไม่ซ้ำหรือ
ซ้อนกัน และจะต้องไม่ซ้ำหรือซ้อนกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิ
สภาคณะต่าง ๆ ตามบัญชีท้ายข้อบังคับนี้
ข้อ ๓๗ ญัตติขอให้วุฒิสภามีมติว่ากรณีมีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของวุฒิ
สภาตามมาตรา ๒๖๖ ของรัฐธรรมนูญ ต้องมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคน
ข้อ ๓๘ ญัตติต่อไปนี้ไม่ต้องเสนอล่วงหน้าหรือเป็นหนังสือ
(๑) ขอให้ปรึกษาเป็นเรื่องด่วน
(๒) ขอให้เปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
(๓) ขอให้ลงมติตามข้อ ๒๙ หรือข้อ ๓๑
(๔) ญัตติตามข้อ ๓๙ ข้อ ๖๔ ข้อ ๖๕ ข้อ ๖๖ ข้อ ๗๒ ข้อ ๑๑๒ หรือข้อ ๑๕๒
(๕) ญัตติที่ประธานของที่ประชุมอนุญาตตามที่เห็นสมควร
ข้อ ๓๙ เมื่อที่ประชุมวุฒิสภากำลังปรึกษาญัตติใดอยู่ ห้ามมิให้เสนอญัตติอื่น
นอกจากญัตติดังต่อไปนี้Š
(๑) ขอแปรญัตติเฉพาะในเรื่องที่มิใช่ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราช
บัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
(๒) ขอให้รวมระเบียบวาระการประชุมที่เป็นเรื่องเดียวกัน ทำนองเดียวกัน
หรือเกี่ยวเนื่องกันเพื่อพิจารณาพร้อมกัน
(๓) ขอให้ส่งปัญหาไปยังคณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณา หรือขอให้บุคคลใด
ส่งเอกสารหรือมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็น
(๔) ขอให้รวมหรือแยกประเด็นพิจารณาหรือลงมติ
(๕) ขอให้เลื่อนการปรึกษา
(๖) ขอให้ปิดอภิปราย
(๗) ขอให้ยกเรื่องอื่นขึ้นปรึกษา
ญัตติตาม (๓) (๕) (๖) หรือ (๗) เมื่อที่ประชุมวุฒิสภาลงมติเห็นชอบตาม
ที่เสนอแล้ว ห้ามมิให้เสนอญัตติอื่นในข้อนี้อีก
ข้อ ๔๐ ญัตติตามข้อ ๓๙ (๖) และ (๗) ห้ามมิให้ผู้ใดเสนอในคราวเดียวกับ
การอภิปรายของตน
ข้อ ๔๑ ญัตติตามข้อ ๓๙ (๗) ห้ามมิให้เสนอ
(๑) ในการพิจารณาญัตติที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
(๒) ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญ
(๓) ในการพิจารณาเลือก แต่งตั้ง ให้คำแนะนำ หรือให้ความเห็นชอบ
ให้บุคคลดำรงตำแหน่งใดตามมาตรา ๑๓๘ มาตรา ๑๔๓ มาตรา ๑๙๖ มาตรา ๑๙๙
มาตรา ๒๕๗ มาตรา ๒๖๑ มาตรา ๒๗๔ (๓) มาตรา ๒๗๗ มาตรา ๒๗๘ มาตรา ๒๗๙
(๓) มาตรา ๒๙๗ มาตรา ๓๐๒ และมาตรา ๓๑๒ ของรัฐธรรมนูญ
(๔) ในการพิจารณาและมีมติให้ถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง
ข้อ ๔๒ ในกรณีที่ที่ประชุมวุฒิสภาลงมติให้ยกเรื่องอื่นขึ้นปรึกษา ญัตติ
เดิมเป็นอันตกไป
ข้อ ๔๓ ญัตติที่ต้องเสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือ ผู้เสนอและผู้รับรองต้องลง
ลายมือชื่อท้ายญัตติที่เสนอ
ข้อ ๔๔ ญัตติที่ไม่ต้องเสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือ ให้ผู้รับรองแสดงการรับ
รองโดยวิธียกมือขึ้นพ้นศีรษะ
ข้อ ๔๕ การแก้ไขเพิ่มเติมญัตติหรือการถอนญัตติที่ประธานวุฒิสภาสั่ง
บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมและได้ส่งให้สมาชิกแล้ว จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับความ
ยินยอมของที่ประชุมวุฒิสภา
ข้อ ๔๖ การถอนคำแปรญัตติจะกระทำเมื่อใดก็ได้ แต่การขอแก้ไขเพิ่มเติม
คำแปรญัตติจะกระทำได้เฉพาะภายในกำหนดเวลาแปรญัตติตามข้อ ๑๑๔
ข้อ ๔๗ การถอนชื่อจากการเป็นผู้ร่วมกันเสนอญัตติใด หรือจากการเป็นผู้
รับรอง จะกระทำได้เฉพาะก่อนที่ประธานวุฒิสภาสั่งบรรจุญัตตินั้นเข้าระเบียบวาระการ
ประชุม ในกรณีที่ประธานวุฒิสภาสั่งบรรจุญัตตินั้นเข้าระเบียบวาระการประชุมแล้ว
จะถอนชื่อได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของที่ประชุมวุฒิสภา
ข้อ ๔๘ ญัตติใดถึงวาระพิจารณาในที่ประชุมวุฒิสภาแล้ว ถ้าผู้เสนอญัตติไม่ชี้
แจงในที่ประชุมวุฒิสภา หรือผู้เสนอญัตติไม่อยู่ในที่ประชุมวุฒิสภาโดยไม่มีผู้ชี้แจงแทนใน
ฐานะผู้รับมอบหมาย ญัตตินั้นเป็นอันตกไป เว้นแต่ที่ประชุมวุฒิสภาจะพิจารณาเห็นเป็นอย่าง
อื่น
คำแปรญัตติใดถึงวาระพิจารณาในที่ประชุมวุฒิสภาแล้ว ถ้าผู้แปรญัตติไม่ชี้
แจงในที่ประชุมวุฒิสภา หรือผู้แปรญัตติไม่อยู่ในที่ประชุมวุฒิสภาโดยไม่มีผู้ชี้แจงแทนใน
ฐานะผู้รับมอบหมาย คำแปรญัตตินั้นเป็นอันตกไป
การมอบหมายให้ชี้แจงแทนในกรณีตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองนั้น ต้องมอบ
แก่สมาชิกและทำเป็นหนังสือยื่นต่อประธานของที่ประชุม
ข้อ ๔๙ ญัตติใดตกไปแล้ว ห้ามมิให้นำญัตติซึ่งมีหลักการเช่นเดียวกันขึ้น
เสนออีกในสมัยประชุมเดียวกัน เว้นแต่ประธานวุฒิสภาจะอนุญาตในเมื่อพิจารณาเห็นว่า
พฤติการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป
ส่วนที่ ๓
การอภิปราย
ข้อ ๕๐ ผู้มีสิทธิอภิปรายก่อนคือผู้เสนอญัตติ แต่ถ้าผู้เสนอญัตติมีหลายคน
ให้ประธานของที่ประชุมอนุญาตให้ใช้สิทธิอภิปรายก่อนได้เพียงคนเดียว
กรรมาธิการซึ่งได้สงวนความเห็น กรรมาธิการผู้รับมอบหมายจากกรรมาธิ
การซึ่งได้สงวนความเห็น ผู้แปรญัตติซึ่งได้สงวนคำแปรญัตติ หรือสมาชิกผู้รับมอบหมาย
จากผู้แปรญัตติซึ่งได้สงวนคำแปรญัตติไว้ในขั้นคณะกรรมาธิการ ให้มีฐานะเสมือนเป็นผู้
เสนอญัตติด้วย
ข้อ ๕๑ เมื่อผู้อภิปรายก่อนตามข้อ ๕๐ ได้อภิปรายแล้ว การอภิปรายในลำดับ
ต่อไปจะต้องเป็นการอภิปรายสลับกันระหว่างฝ่ายคัดค้านและฝ่ายสนับสนุน เว้นแต่ในวาระ
ของฝ่ายใดไม่มีผู้อภิปราย อีกฝ่ายหนึ่งจึงอภิปรายซ้อนได้
การอภิปรายไม่สนับสนุนและไม่คัดค้านย่อมกระทำได้โดยไม่ต้องสลับ และมิ
ให้นับเป็นวาระอภิปรายของฝ่ายใด
ข้อ ๕๒ ถ้ามีผู้ขออภิปรายหลายคน ประธานของที่ประชุมจะให้คนใด
อภิปรายก็ได้ แต่ให้คำนึงถึงผู้เสนอญัตติ ผู้แปรญัตติ ผู้รับรองญัตติหรือผู้รับรองคำแปรญัตติ
และผู้ซึ่งยังไม่ได้อภิปรายด้วย
ข้อ ๕๓ การอภิปรายต้องอยู่ในประเด็นหรือเกี่ยวกับประเด็นที่กำลังปรึกษากัน
อยู่ ต้องไม่ฟุ่มเฟือย วนเวียน ซ้ำซาก หรือซ้ำกับผู้อื่น หรือใช้ภาษาต่างประเทศโดยไม่จำ
เป็น และห้ามมิให้นำเอกสารใดๆ มาอ่าน หรือนำวัตถุใดๆ เข้ามาแสดงในที่ประชุมวุฒิสภา
เว้นแต่ประธานของที่ประชุมจะอนุญาต แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการตัดสิทธิสมาชิกที่จะเขียนคำ
อภิปรายของตนและอ่านคำอภิปรายนั้นในที่ประชุมวุฒิสภา
ห้ามมิให้ผู้อภิปรายแสดงกิริยาหรือใช้วาจาอันไม่สุภาพ ใส่ร้ายหรือเสียดสี
บุคคลใด และห้ามมิให้กล่าวถึงพระมหากษัตริย์ หรือออกชื่อสมาชิกหรือบุคคลใดโดยไม่จำ
เป็น
ข้อ ๕๔ ถ้าประธานของที่ประชุมเห็นว่าผู้ใดได้อภิปรายพอสมควรแล้ว
ประธานของที่ประชุมจะให้ผู้นั้นยุติการอภิปรายก็ได้ แม้จะมิได้ฝ่าฝืนข้อ ๕๓ ก็ตาม
ข้อ ๕๕ สมาชิกผู้ใดเห็นว่ามีการฝ่าฝืนข้อบังคับและประสงค์จะประท้วง ให้
ยืนและยกมือขึ้นพ้นศีรษะ ประธานของที่ประชุมจะต้องให้โอกาสผู้นั้นชี้แจง แล้วให้
ประธานของที่ประชุมวินิจฉัยว่าได้มีการฝ่าฝืนข้อบังคับตามที่ประท้วงนั้นหรือไม่ คำวินิจฉัย
ของประธานของที่ประชุมดังกล่าวให้ถือเป็นเด็ดขาด
ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่ผู้ถูกอภิปรายพาดพิงถึง
เรื่องส่วนตัวหรือเรื่องอื่นใดอันเป็นที่เสียหายแก่ผู้นั้น และเมื่อประธานของที่ประชุมวินิจฉัย
ว่าการอภิปรายนั้นเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับ ผู้อภิปรายต้องถอนคำพูดตามคำสั่งของประธาน
ของที่ประชุม
ข้อ ๕๖ ผู้อภิปรายอาจถอนคำพูดของตนได้เอง หรือเมื่อมีผู้ประท้วง หรือ
ตามคำสั่งของประธานของที่ประชุมตามข้อ ๕๕
ข้อ ๕๗ การอภิปรายเป็นอันยุติ เมื่อ
(๑) ไม่มีผู้ใดอภิปราย
(๒) ที่ประชุมวุฒิสภาลงมติให้ปิดอภิปราย
(๓) ที่ประชุมวุฒิสภาลงมติให้ยกเรื่องอื่นขึ้นปรึกษา
ข้อ ๕๘ ในกรณีที่ประธานของที่ประชุมพิจารณาเห็นว่าได้อภิปรายกันพอสม
ควรแล้ว จะขอให้ที่ประชุมวุฒิสภาวินิจฉัยว่าจะปิดอภิปรายหรือไม่ก็ได้
ข้อ ๕๙ เมื่อการอภิปรายได้ยุติแล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดอภิปรายอีก นอกจากใน
กรณีที่ที่ประชุมวุฒิสภาจะต้องลงมติในเรื่องที่กำลังปรึกษากันอยู่ จึงให้ผู้มีสิทธิอภิปราย
ก่อนอภิปรายสรุปได้อีกครั้งหนึ่งเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่ที่ประชุมวุฒิสภาจะลงมติ เมื่อการอภิปราย
ได้สิ้นสุดแล้ว ให้ประธานของที่ประชุมให้สัญญาณแจ้งสมาชิกที่มาประชุมทราบก่อนลงมติ
ข้อ ๖๐ ประธานของที่ประชุมอาจอนุญาตให้บุคคลใด ๆ ชี้แจงข้อเท็จจริงต่อ
ที่ประชุมวุฒิสภาก็ได้
ข้อ ๖๑ ถ้าประธานของที่ประชุมให้สัญญาณด้วยการเคาะค้อนหรือยืนขึ้น ให้ผู้
ที่กำลังพูดอยู่หยุดพูดและนั่งลงทันที และให้ทุกคนนั่งฟังประธานของที่ประชุม
ในกรณีอ่านพระบรมราชโองการ หรือกระแสพระราชดำรัส ให้ผู้อยู่ในที่
ประชุมวุฒิสภายืนฟังด้วยอาการสำรวมตลอดเวลาที่อ่าน
ส่วนที่ ๔
การลงมติ
ข้อ ๖๒ ในกรณีที่จะต้องมีมติของวุฒิสภา ให้ประธานของที่ประชุมขอให้ ที่
ประชุมวุฒิสภาลงมติ
ข้อ ๖๓ เสียงข้างมากตามมาตรา ๑๕๖ ของรัฐธรรมนูญ ในกรณีความเห็นของ
ที่ประชุมวุฒิสภามีสองฝ่าย ให้ถือเอาจำนวนคะแนนเสียงฝ่ายที่มากกว่า และในกรณีความ
เห็นของที่ประชุมวุฒิสภามีเกินสองฝ่าย ให้ถือเอาจำนวนคะแนนเสียงฝ่ายที่มากที่สุด
การออกเสียงชี้ขาดของประธานของที่ประชุม ให้กระทำเป็นการเปิดเผยโดย
จะให้เหตุผลหรือไม่ก็ได้
ข้อ ๖๔ ภายใต้บังคับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ การออกเสียงลงคะแนนให้
กระทำเป็นการเปิดเผย เว้นแต่เมื่อสมาชิกเสนอญัตติโดยมีผู้รับรองไม่น้อยกว่าสิบคนขอให้
กระทำเป็นการลับจึงให้ลงคะแนนลับ แต่ถ้ามีสมาชิกคัดค้านและมีผู้รับรองมากกว่าหนึ่งใน
สามของจำนวนสมาชิกในที่ประชุมวุฒิสภาก็ให้ลงคะแนนโดยเปิดเผย
ข้อ ๖๕ การออกเสียงลงคะแนนเปิดเผยมีวิธีปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑) ใช้เครื่องออกเสียงลงคะแนนตามที่ประธานวุฒิสภากำหนด
(๒) ยกมือขึ้นพ้นศีรษะพร้อมกับแสดงบัตรลงคะแนน ผู้เห็นด้วยให้แสดง
บัตรลงคะแนนสีน้ำเงิน ผู้ไม่เห็นด้วยให้แสดงบัตรลงคะแนนสีแดง ส่วนผู้ไม่ออกเสียงให้
แสดงบัตรลงคะแนนสีขาว โดยบัตรลงคะแนนดังกล่าวให้สมาชิกลงลายมือชื่อและหมายเลข
ประจำตัวสมาชิกกำกับไว้ด้วย
(๓) เรียกชื่อสมาชิกตามลำดับอักษรให้ออกเสียงลงคะแนนเป็นรายคนตามวิธี
ที่ประธานของที่ประชุมกำหนด
(๔) วิธีอื่นใดซึ่งที่ประชุมวุฒิสภาเห็นสมควรเฉพาะกรณี
การออกเสียงลงคะแนนเปิดเผยนั้นให้ใช้วิธีตาม (๑) จะใช้วิธีตาม (๒) (๓)
หรือ (๔) ได้ ต่อเมื่อสมาชิกเสนอญัตติและที่ประชุมวุฒิสภาอนุมัติ หรือเมื่อมีการนับ
คะแนนเสียงใหม่ตามข้อ ๗๒
การออกเสียงลงคะแนนเปิดเผยตาม (๑) ให้ใช้เครื่องออกเสียงลงคะแนนได้
จนกว่าประธานของที่ประชุมจะได้สั่งปิดการออกเสียงลงคะแนน
การออกเสียงลงคะแนนเปิดเผยตาม (๒) ให้ประธานของที่ประชุมสั่งให้เจ้า
หน้าที่ไปรับบัตรลงคะแนนจากสมาชิกมาเพื่อดำเนินการตรวจนับคะแนนต่อไป
ข้อ ๖๖ การออกเสียงลงคะแนนลับมีวิธีปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑) ใช้เครื่องออกเสียงลงคะแนนตามที่ประธานวุฒิสภากำหนด
(๒) เขียนเครื่องหมายบนแผ่นกระดาษใส่ซองที่เจ้าหน้าที่จัดให้ ผู้เห็นด้วยให้
เขียนเครื่องหมายถูก (?) ผู้ไม่เห็นด้วยให้เขียนเครื่องหมายกากบาท ( X ) ส่วนผู้ไม่
ออกเสียงให้เขียนเครื่องหมายวงกลม ( O )
(๓) วิธีอื่นใดซึ่งที่ประชุมวุฒิสภาเห็นสมควรเฉพาะกรณี
การออกเสียงลงคะแนนลับตาม (๑) ให้ใช้เครื่องออกเสียงลงคะแนนได้จน
กว่าประธานของที่ประชุมจะได้สั่งปิดการออกเสียงลงคะแนน
เมื่อจะมีการออกเสียงลงคะแนนลับตาม (๒) ให้สมาชิกนั่งลงในที่ที่จัดไว้
และให้ประธานของที่ประชุมสั่งให้เจ้าหน้าที่แจกกระดาษและซองให้แก่สมาชิกทุกคน และ
เมื่อสมาชิกเขียนเครื่องหมายบนแผ่นกระดาษใส่ซองแล้ว ให้ประธานของที่ประชุมสั่งให้เจ้า
หน้าที่ไปรับมาเพื่อส่งให้แก่กรรมการตรวจนับคะแนนดำเนินการต่อไป และในการตรวจนับ
คะแนน ให้ประธานของที่ประชุมเชิญสมาชิกไม่น้อยกว่าห้าคนเป็นกรรมการตรวจนับ
คะแนน
ข้อ ๖๗ ก่อนออกเสียงลงคะแนนลับ ให้ประธานของที่ประชุมให้สัญญาณ
แจ้งสมาชิกทราบเพื่อพร้อมที่จะออกเสียงลงคะแนนลับ
ข้อ ๖๘ ลำดับการลงมตินั้น ให้ลงมติในญัตติสุดท้ายก่อนแล้วย้อนเป็นลำดับ
ไปหาญัตติต้น แต่มิให้ถือว่าความผิดพลาดในการเรียงลำดับดังกล่าวมานี้เป็นเหตุให้มติที่ได้
ลงคะแนนและนับคะแนนเสร็จแล้วเป็นอันเสียไป
ข้อ ๖๙ ประธานของที่ประชุมมีอำนาจสั่งให้รวมหรือแยกประเด็นพิจารณา
หรือลงมติ เว้นแต่ที่ประชุมวุฒิสภาจะมีมติเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๗๐ สมาชิกซึ่งเข้ามาในที่ประชุมวุฒิสภาระหว่างการออกเสียงลงคะแนน
ในกรณีออกเสียงลงคะแนนเปิดเผยตามข้อ ๖๕ (๑) หรือออกเสียงลงคะแนนลับตามข้อ ๖๖
(๑) อาจลงคะแนนได้ก่อนประธานของที่ประชุมสั่งปิดการออกเสียงลงคะแนน ในกรณีออก
เสียงลงคะแนนเปิดเผยโดยวิธีอื่น อาจลงคะแนนทางฝ่ายที่ยังนับคะแนนเสียงไม่เสร็จได้
หรือในกรณีออกเสียงลงคะแนนลับโดยวิธีอื่น อาจลงคะแนนได้ก่อนประธานของที่ประชุม
สั่งให้นับคะแนนเสียง
ข้อ ๗๑ เมื่อได้นับคะแนนเสียงเสร็จแล้ว ให้ประธานของที่ประชุมประกาศ
มติต่อที่ประชุมวุฒิสภาทันที ในกรณีเรื่องใดรัฐธรรมนูญหรือข้อบังคับนี้กำหนดไว้ว่ามติจะ
ต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงถึงจำนวนเท่าใด ก็ให้ประกาศด้วยว่าคะแนนเสียงถึงจำนวนที่
กำหนดไว้นั้นหรือไม่
ข้อ ๗๒ ในการนับคะแนนเสียงครั้งใด ถ้าสมาชิกเสนอญัตติโดยมีผู้รับรอง
ไม่น้อยกว่าสิบคนให้มีการนับคะแนนเสียงใหม่ ก็ให้มีการนับใหม่ เว้นแต่คะแนนเสียงมี
ความต่างกันเกินกว่าสิบคะแนนจะขอให้มีการนับคะแนนเสียงใหม่มิได้
การนับคะแนนเสียงใหม่ดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง ให้เปลี่ยนวิธีลงคะแนนเป็น
วิธีดังกล่าวตามข้อ ๖๕ หรือข้อ ๖๖ ซึ่งอยู่ในลำดับถัดไป แล้วแต่กรณี เว้นแต่รัฐธรรม
นูญหรือข้อบังคับนี้กำหนดวิธีลงคะแนนไว้โดยเฉพาะเป็นอย่างอื่น
เมื่อได้มีการนับคะแนนเสียงโดยวิธีดังกล่าวในข้อ ๖๕ (๓) แล้ว จะขอให้มี
การนับคะแนนเสียงใหม่อีกมิได้
ข้อ ๗๓ ญัตติใดไม่มีผู้คัดค้านให้ประธานของที่ประชุมถามที่ประชุมวุฒิสภา
ว่ามีผู้เห็นเป็นอย่างอื่นหรือไม่ เมื่อไม่มีผู้เห็นเป็นอย่างอื่น ให้ถือว่าที่ประชุมวุฒิสภาลงมติ
เห็นชอบด้วยกับญัตตินั้น
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ญัตติที่เป็นร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระ
ราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือเรื่องอื่นใดที่รัฐธรรมนูญหรือข้อบังคับนี้กำหนดให้ที่
ประชุมวุฒิสภาวินิจฉัยโดยการออกเสียงลงคะแนน
ข้อ ๗๔ ให้เลขาธิการวุฒิสภาจัดทำบันทึกการลงมติการออกเสียงลงคะแนน
ของสมาชิกแต่ละคน และเปิดเผยบันทึกการลงมติดังกล่าวไว้ ณ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
เพื่อให้ประชาชนเข้าไปตรวจสอบได้ เว้นแต่กรณีการออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ