แท็ก
ผลไม้
บทสรุปสำหรับนักลงทุน
ผลิตภัณฑ์ผัก/ผลไม้แผ่นกรอบเป็นการแปรรูปผัก/ผลไม้ อีกวิธีการหนึ่งในฤดูกาลที่มีผลผลิตทางการเกษตรออกมาสู่ตลาดค่อนข้างมาก และผู้ประกอบการต้องการสร้างมูลค่า เพิ่มให้กับผลผลิตเหล่านั้น โดยผัก / ผลไม้แผ่นกรอบสามารถใช้เป็นของทานเล่น (Snack) แบบไทย ๆ นอกเหนือจากของทานเล่นชนิดอื่นๆ ที่มีในท้องตลาด เช่น มันฝรั่งทอดกรอบ ถั่วต่าง ๆ ฯลฯ ผัก / ผลไม้ที่นิยมนำมาผลิตเป็นแผ่นกรอบ เช่น กล้วย มันเทศ มันฝรั่ง แตงกวา แครอท ฟักทอง มะละกอ ขนุนและทุเรียน ฯลฯ ทั้งนี้การทำผลิตภัณฑ์ ผัก/ผลไม้ แผ่นกรอบ มีทั้งวิธีการ ทอด ฉาบ และอบได้ จึงมีกรรมวิธีแปรรูปผัก/ผลไม้ให้เป็นแผ่นกรอบอีกวิธีหนึ่งโดยใช้เครื่องจักร Drum Dryer โดยใช้ความร้อนเพื่อทำให้แห้ง ซึ่งจะสามารถใช้แปรรูปผัก/ผลไม้ได้หลายชนิดขึ้น
ตลาดสำหรับผัก/ผลไม้แผ่นกรอบมีอยู่อย่างกว้างขวางเช่นเดียวกับตลาดของทานเล่นทั่วไป แต่ผัก/ผลไม้แผ่นกรอบจะทำให้ภาพลักษณ์ของการเป็นของทานเล่นมีประโยชน์มากกว่า เนื่องจากผลิตจากผัก/ผลไม้ ที่ไม่ผ่านการผสมแป้งหรือของผสมอื่นๆ ที่เปลี่ยนรูปไป ทำให้ผู้บริโภคที่ใส่ใจในสุขภาพให้ความสำคัญกับการเลือกซื้อมากขึ้น โดยสามารถวางจำหน่ายได้ทั้งในซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อและขายของฝากทั่วไป ส่วนตลาดส่งออกนั้นพบว่าขนุนและทุเรียนอบกรอบเป็นสินค้าสำคัญที่ได้รับความนิยมสูงมากในตลาดผู้บริโภคในประเทศเอเชีย เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง และไต้หวัน ฯลฯ
ปัจจุบันมีผู้ผลิตผัก/ผลไม้กรอบในเชิงอุตสาหกรรมประมาณ 31 ราย โดยเป็นรายเล็ก 19 ราย รายกลาง 9 ราย และรายใหญ่ 3 ราย นอกจากนี้ยังมีการผลิตระดับครัวเรือนและกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอีกเป็นจำนวนมากกระจายอยู่ทั่วประเทศ ผู้ประกอบการที่ต้องการผลิตในระดับอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีการทำให้กรอบชนิดเทคโนโลยีสูงโดยใช้เครื่อง Drum Dryer ซึ่งสามารถใช้ได้กับผัก/ผลไม้ทุกประเภทก็จะใช้เงินทุนในกิจการสูงกว่าผู้ประกอบการรายเล็กที่ใช้วิธีการแปรรูปด้วยการทอด ฉาบหรืออบธรรมดาที่ใช้เงินทุนต่ำกว่า 1 ล้านบาท ขณะที่การผลิตโดยเครื่อง Drum Dryer จะต้องมีเงินทุนตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไปจึงจะสามารถลงทุนกิจการได้ โดยเงินจำนวนนี้เป็นการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ประมาณ 70-80 % และเงินลงทุนหมุนเวียนในกิจการประมาณ 20-30 % ซึ่งส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้า
ในกรณีที่ใช้เงินลงทุนขั้นต่ำ 1 ล้านบาท ทำการผลิตและจำหน่ายได้ทั้งหมดในปริมาณ 8 ตัน/เดือน ในราคา 100 บาท/กิโลกรัม จะคืนทุนภายในระยะเวลา 2-3 ปี โดยตลอดอายุโครงการ 5 ปี ได้รับผลตอบแทนสุทธิเท่ากันจากอัตรากำไรเฉลี่ยประมาณ 4% ของยอดขาย จะมีอัตราผลตอบแทนสุทธิจากการลงทุน 26.5%
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
ผลิตภัณฑ์ผัก/ผลไม้แผ่นกรอบเป็นการแปรรูปผัก/ผลไม้ อีกวิธีการหนึ่งในฤดูกาลที่มีผลผลิตทางการเกษตรออกมาสู่ตลาดค่อนข้างมาก และผู้ประกอบการต้องการสร้างมูลค่า เพิ่มให้กับผลผลิตเหล่านั้น โดยผัก / ผลไม้แผ่นกรอบสามารถใช้เป็นของทานเล่น (Snack) แบบไทย ๆ นอกเหนือจากของทานเล่นชนิดอื่นๆ ที่มีในท้องตลาด เช่น มันฝรั่งทอดกรอบ ถั่วต่าง ๆ ฯลฯ ผัก / ผลไม้ที่นิยมนำมาผลิตเป็นแผ่นกรอบ เช่น กล้วย มันเทศ มันฝรั่ง แตงกวา แครอท ฟักทอง มะละกอ ขนุนและทุเรียน ฯลฯ ทั้งนี้การทำผลิตภัณฑ์ ผัก/ผลไม้ แผ่นกรอบ มีทั้งวิธีการ ทอด ฉาบ และอบได้ จึงมีกรรมวิธีแปรรูปผัก/ผลไม้ให้เป็นแผ่นกรอบอีกวิธีหนึ่งโดยใช้เครื่องจักร Drum Dryer โดยใช้ความร้อนเพื่อทำให้แห้ง ซึ่งจะสามารถใช้แปรรูปผัก/ผลไม้ได้หลายชนิดขึ้น
ตลาดสำหรับผัก/ผลไม้แผ่นกรอบมีอยู่อย่างกว้างขวางเช่นเดียวกับตลาดของทานเล่นทั่วไป แต่ผัก/ผลไม้แผ่นกรอบจะทำให้ภาพลักษณ์ของการเป็นของทานเล่นมีประโยชน์มากกว่า เนื่องจากผลิตจากผัก/ผลไม้ ที่ไม่ผ่านการผสมแป้งหรือของผสมอื่นๆ ที่เปลี่ยนรูปไป ทำให้ผู้บริโภคที่ใส่ใจในสุขภาพให้ความสำคัญกับการเลือกซื้อมากขึ้น โดยสามารถวางจำหน่ายได้ทั้งในซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อและขายของฝากทั่วไป ส่วนตลาดส่งออกนั้นพบว่าขนุนและทุเรียนอบกรอบเป็นสินค้าสำคัญที่ได้รับความนิยมสูงมากในตลาดผู้บริโภคในประเทศเอเชีย เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง และไต้หวัน ฯลฯ
ปัจจุบันมีผู้ผลิตผัก/ผลไม้กรอบในเชิงอุตสาหกรรมประมาณ 31 ราย โดยเป็นรายเล็ก 19 ราย รายกลาง 9 ราย และรายใหญ่ 3 ราย นอกจากนี้ยังมีการผลิตระดับครัวเรือนและกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอีกเป็นจำนวนมากกระจายอยู่ทั่วประเทศ ผู้ประกอบการที่ต้องการผลิตในระดับอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีการทำให้กรอบชนิดเทคโนโลยีสูงโดยใช้เครื่อง Drum Dryer ซึ่งสามารถใช้ได้กับผัก/ผลไม้ทุกประเภทก็จะใช้เงินทุนในกิจการสูงกว่าผู้ประกอบการรายเล็กที่ใช้วิธีการแปรรูปด้วยการทอด ฉาบหรืออบธรรมดาที่ใช้เงินทุนต่ำกว่า 1 ล้านบาท ขณะที่การผลิตโดยเครื่อง Drum Dryer จะต้องมีเงินทุนตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไปจึงจะสามารถลงทุนกิจการได้ โดยเงินจำนวนนี้เป็นการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ประมาณ 70-80 % และเงินลงทุนหมุนเวียนในกิจการประมาณ 20-30 % ซึ่งส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้า
ในกรณีที่ใช้เงินลงทุนขั้นต่ำ 1 ล้านบาท ทำการผลิตและจำหน่ายได้ทั้งหมดในปริมาณ 8 ตัน/เดือน ในราคา 100 บาท/กิโลกรัม จะคืนทุนภายในระยะเวลา 2-3 ปี โดยตลอดอายุโครงการ 5 ปี ได้รับผลตอบแทนสุทธิเท่ากันจากอัตรากำไรเฉลี่ยประมาณ 4% ของยอดขาย จะมีอัตราผลตอบแทนสุทธิจากการลงทุน 26.5%
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--