ข่าวในประเทศ
1. ไอเอฟซีที-สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกล่าวถึงภาวะเศรษฐกิจไทยปี 43 และแนวโน้มปี 44 ที่ปรึกษาเศรษฐกิจบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ไอเอฟซีที) กล่าวถึงแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 44 ว่า อาจขยายตัวในระดับร้อยละ 5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากเรื่องการส่งออก ราคาสินค้าเกษตร การบริโภคในประเทศ การลงทุน และราคาน้ำมัน ซึ่งมีแนวโน้มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น สำหรับเศรษฐกิจไทยปี 43 ไอเอฟซีทีประเมินการเติบโตไว้ที่ร้อยละ 4.5 โดยในช่วงไตรมาสที่ 3 และ 4 เศรษฐกิจอาจชะลอลงบ้าง แต่จะเป็นสถานการณ์ชั่วคราวตามวัฏจักรเศรษฐกิจ นอกจากนี้ เลขาธิการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวถึงภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันว่า ปัญหาที่น่าเป็นห่วงคือเรื่องสภาพคล่อง เนื่องจาก ธปท.บังคับใช้มาตรการที่เข้มงวดในการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) ทำให้สถาบันการเงินเข้มงวดในเรื่องการให้สินเชื่อกับผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ และส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจ สำหรับการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลชุดใหม่ซึ่งกำลังจะมีการเลือกตั้งนั้น ควรเร่งออกมาตรการแก้ไขปัญหาในเรื่องการทุจริต ราคาน้ำมันแพง ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ โครงสร้างภาษี และการอ่อนตัวของค่าเงินบาท (วัฏจักร 21)
2. คปน.หารือร่วมกับเอเอ็มซีเกี่ยวกับกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ ผู้อำนวยการอาวุโส สายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ธปท.เปิดเผยว่า คณะกรรมการส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.) ได้หารือร่วมกับผู้บริหารบริษัทบริหารสินทรัพย์ (เอเอ็มซี) เกี่ยวกับการดำเนินงานของ คปน.ในส่วนที่เกี่ยวกับเอเอ็มซี โดยจะให้กระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ที่อยู่ในเอเอ็มซีดำเนินไปเช่นเดียวกับการปรับโครงสร้างหนี้ด้อยคุณภาพ (เอ็นพีแอล) ของสถาบันการเงิน โดย ธปท.ขอให้เอเอ็มซีแต่ละแห่งจัดทำรายงานสถานะของลูกหนี้ทั้งหมดส่งให้ ธปท. เหมือนกับการรายงานของสถาบันการเงิน เพื่อให้ ธปท.รู้สถานะของลูกหนี้ทั้งในส่วนของสถาบันการเงินและเอเอ็มซีให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดย ธปท.จะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบการดำเนินงานของเอเอ็มซีตามระยะเวลาที่กำหนด การปรับโครงสร้างหนี้โดยวิธีดังกล่าวจะทำให้เอเอ็มซีได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ตาม พ.ร.บ.บริษัทบริหารสินทรัพย์ ขณะนี้มีเอเอ็มซีที่ลงนามในสัญญาเข้ากระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามเกณฑ์ของ ธปท.แล้ว 10 ราย จากทั้งหมด 14 ราย และจะลงนามกับเอเอ็มซีเพิ่มอีก 3-4 แห่งในเร็วๆ นี้ (ไทยโพสต์ 21)
3. อดีตผู้ว่าการ ธปท.วิเคราะห์นโยบายเศรษฐกิจของบางพรรคการเมือง ประธานคณะกรรมการบริหาร ธ. เอเชีย จำกัด (มหาชน) ให้ความเห็นถึงนโยบายเศรษฐกิจของบางพรรคการเมือง โดยเฉพาะนโยบายที่เน้นการพักชำระหนี้เกษตรกร จ่ายงบประมาณสนับสนุนหมู่บ้านละ 1 ล.บาท และการจัดตั้งเอเอ็มซีแห่งชาติว่า เป็นมาตรการที่ต้องใช้เงินจำนวนมาก ทำให้ขาดดุลงบประมาณและก่อให้เกิดหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นอีก ขณะเดียวกันก็เห็นว่านโยบายเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ดำเนินการมานั้นถูกต้องแล้ว โดยต้องยอมรับว่าปัญหาเศรษฐกิจของประเทศรุนแรงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ดังนั้น คงต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควรที่จะทำให้เห็นว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวดีขึ้นอย่างชัดเจน (กรุงเทพธุรกิจ 21)
ข่าวต่างประเทศ
1. ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าลดลงร้อยละ 40 ในเดือน ต.ค. 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 20 พ.ย. 43 ก.คลัง ญี่ปุ่นเปิดเผยว่า เดือน ต.ค. 43 ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัด อยู่ที่มูลค่า 692.6 พัน ล. เยน ลดลงร้อยละ 40.8 จากเดือน ต.ค. 42 นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 เนื่องจากมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงเป็นประวัติการณ์และสูงกว่าการส่งออกอย่างมาก โดยในเดือน ต.ค. 43 การนำเข้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 27.6 อยู่ที่มูลค่า 3.783 ล้านล้านเยน เนื่องจากราคาน้ำมันสูงขึ้น โดยมูลค่าการนำเข้าน้ำมัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.4 อยู่ที่มูลค่า 449.4 พัน ล. เยน ขณะที่ปริมาณการนำเข้าน้ำมัน เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 7.4 ขณะเดียวกัน ในเดือน ต.ค. 43 การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 อยู่ที่มูลค่า 4.475 ล้านล้านเยน โดยได้รับแรงเกื้อหนุนจากการส่งออกชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับราคาน้ำมันดิบในเดือน ต.ค. 43 อยู่ที่บาร์เรลละ 31.6 ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 42 ที่บาร์เรลละ 22.6 ดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ ในเดือน ต.ค. 43 ญี่ปุ่นเกินดุลการค้ากับ สรอ. ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 อยู่ที่มูลค่า 645.9 พัน ล. เยน (รอยเตอร์ 20)
2. OECD ประมาณการว่า เศรษฐกิจ สรอ. จะเติบโตร้อยละ 3.5 ในปี 44 รายงานจากปารีสเมื่อวันที่ 20 พ.ย. 43 องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา(OECD) ประมาณการว่า ปี 44 และ 45 สรอ. จะมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ที่ร้อยละ 3.5 และ 3.3 ตามลำดับ ขณะเดียวกัน เงินเฟ้อจะอยู่ที่อัตราร้อยละ 2.1 ในปี 44 และร้อยละ 2.3 ในปี 45 สำหรับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น จะอยู่ที่ร้อยละ 2.3 และร้อยละ 2 ในปี 44 และ 45 ตามลำดับ หลังจากที่เติบโตร้อยละ 1.9 ในปี 43 (รอยเตอร์ 20)
3. OECD ประมาณการเศรษฐกิจเยอรมนีขยายตัวร้อยละ 3.0 ในปี 43 และจะขยายตัวชะลอลงในปี 44 และปี 45 รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 20 พ.ย.43 องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ระบุในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจว่า ปี 43 เศรษฐกิจเยอรมนีจะขยายตัวร้อยละ 3.0 และจะขยายตัวชะลอลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.7 และร้อยละ 2.5 ในปี 44 และปี 45 ตามลำดับ โดยในครึ่งหลังของปี 43 เศรษฐกิจเยอรมนีขยายตัวชะลอลงเนื่องจากได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น แต่การขายสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ในปีนี้จะส่งผลให้รัฐบาลเกินดุล งปม. อย่างไรก็ตาม ในปี 44 รัฐบาลจะกลับมาขาดดุล งปม. อันเป็นผลจากการใช้นโยบายปฏิรูปภาษี ซึ่งการลดภาษีเงินได้จะมีมูลค่าคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 1 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) และผลกระทบดังกล่าวจะต่อเนื่องไปจนถึงปี 45 แต่ผลกระทบจะไม่มากเหมือนในปี 44 นอกจากนั้น รายงานของ OECD ยังเรียกร้องให้เยอรมนีเข้มงวดกับการใช้จ่ายของภาครัฐ และระบุว่า การใช้นโยบายการคลังผ่านมาตรการลดภาษีและการช่วยเหลือด้านสวัสดิการสังคมจะช่วยกระตุ้นความต้องการภายในประเทศ (รอยเตอร์ 20)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 20 พ.ย. 43 44.286 (44.046)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 20 พ.ย. 43
ซื้อ 44.0679 (43.8256) ขาย 44.3754 (44.1379) ทองคำแท่ง(บาทละ)
ซื้อ 5,600 (5,550) ขาย 5,650 (5,600)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 29.26 (29.79)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79)
ดีเซลหมุนเร็ว 14.74 (14.74)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ไอเอฟซีที-สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกล่าวถึงภาวะเศรษฐกิจไทยปี 43 และแนวโน้มปี 44 ที่ปรึกษาเศรษฐกิจบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ไอเอฟซีที) กล่าวถึงแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 44 ว่า อาจขยายตัวในระดับร้อยละ 5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากเรื่องการส่งออก ราคาสินค้าเกษตร การบริโภคในประเทศ การลงทุน และราคาน้ำมัน ซึ่งมีแนวโน้มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น สำหรับเศรษฐกิจไทยปี 43 ไอเอฟซีทีประเมินการเติบโตไว้ที่ร้อยละ 4.5 โดยในช่วงไตรมาสที่ 3 และ 4 เศรษฐกิจอาจชะลอลงบ้าง แต่จะเป็นสถานการณ์ชั่วคราวตามวัฏจักรเศรษฐกิจ นอกจากนี้ เลขาธิการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวถึงภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันว่า ปัญหาที่น่าเป็นห่วงคือเรื่องสภาพคล่อง เนื่องจาก ธปท.บังคับใช้มาตรการที่เข้มงวดในการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) ทำให้สถาบันการเงินเข้มงวดในเรื่องการให้สินเชื่อกับผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ และส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจ สำหรับการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลชุดใหม่ซึ่งกำลังจะมีการเลือกตั้งนั้น ควรเร่งออกมาตรการแก้ไขปัญหาในเรื่องการทุจริต ราคาน้ำมันแพง ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ โครงสร้างภาษี และการอ่อนตัวของค่าเงินบาท (วัฏจักร 21)
2. คปน.หารือร่วมกับเอเอ็มซีเกี่ยวกับกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ ผู้อำนวยการอาวุโส สายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ธปท.เปิดเผยว่า คณะกรรมการส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.) ได้หารือร่วมกับผู้บริหารบริษัทบริหารสินทรัพย์ (เอเอ็มซี) เกี่ยวกับการดำเนินงานของ คปน.ในส่วนที่เกี่ยวกับเอเอ็มซี โดยจะให้กระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ที่อยู่ในเอเอ็มซีดำเนินไปเช่นเดียวกับการปรับโครงสร้างหนี้ด้อยคุณภาพ (เอ็นพีแอล) ของสถาบันการเงิน โดย ธปท.ขอให้เอเอ็มซีแต่ละแห่งจัดทำรายงานสถานะของลูกหนี้ทั้งหมดส่งให้ ธปท. เหมือนกับการรายงานของสถาบันการเงิน เพื่อให้ ธปท.รู้สถานะของลูกหนี้ทั้งในส่วนของสถาบันการเงินและเอเอ็มซีให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดย ธปท.จะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบการดำเนินงานของเอเอ็มซีตามระยะเวลาที่กำหนด การปรับโครงสร้างหนี้โดยวิธีดังกล่าวจะทำให้เอเอ็มซีได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ตาม พ.ร.บ.บริษัทบริหารสินทรัพย์ ขณะนี้มีเอเอ็มซีที่ลงนามในสัญญาเข้ากระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามเกณฑ์ของ ธปท.แล้ว 10 ราย จากทั้งหมด 14 ราย และจะลงนามกับเอเอ็มซีเพิ่มอีก 3-4 แห่งในเร็วๆ นี้ (ไทยโพสต์ 21)
3. อดีตผู้ว่าการ ธปท.วิเคราะห์นโยบายเศรษฐกิจของบางพรรคการเมือง ประธานคณะกรรมการบริหาร ธ. เอเชีย จำกัด (มหาชน) ให้ความเห็นถึงนโยบายเศรษฐกิจของบางพรรคการเมือง โดยเฉพาะนโยบายที่เน้นการพักชำระหนี้เกษตรกร จ่ายงบประมาณสนับสนุนหมู่บ้านละ 1 ล.บาท และการจัดตั้งเอเอ็มซีแห่งชาติว่า เป็นมาตรการที่ต้องใช้เงินจำนวนมาก ทำให้ขาดดุลงบประมาณและก่อให้เกิดหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นอีก ขณะเดียวกันก็เห็นว่านโยบายเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ดำเนินการมานั้นถูกต้องแล้ว โดยต้องยอมรับว่าปัญหาเศรษฐกิจของประเทศรุนแรงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ดังนั้น คงต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควรที่จะทำให้เห็นว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวดีขึ้นอย่างชัดเจน (กรุงเทพธุรกิจ 21)
ข่าวต่างประเทศ
1. ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าลดลงร้อยละ 40 ในเดือน ต.ค. 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 20 พ.ย. 43 ก.คลัง ญี่ปุ่นเปิดเผยว่า เดือน ต.ค. 43 ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัด อยู่ที่มูลค่า 692.6 พัน ล. เยน ลดลงร้อยละ 40.8 จากเดือน ต.ค. 42 นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 เนื่องจากมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงเป็นประวัติการณ์และสูงกว่าการส่งออกอย่างมาก โดยในเดือน ต.ค. 43 การนำเข้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 27.6 อยู่ที่มูลค่า 3.783 ล้านล้านเยน เนื่องจากราคาน้ำมันสูงขึ้น โดยมูลค่าการนำเข้าน้ำมัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.4 อยู่ที่มูลค่า 449.4 พัน ล. เยน ขณะที่ปริมาณการนำเข้าน้ำมัน เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 7.4 ขณะเดียวกัน ในเดือน ต.ค. 43 การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 อยู่ที่มูลค่า 4.475 ล้านล้านเยน โดยได้รับแรงเกื้อหนุนจากการส่งออกชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับราคาน้ำมันดิบในเดือน ต.ค. 43 อยู่ที่บาร์เรลละ 31.6 ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 42 ที่บาร์เรลละ 22.6 ดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ ในเดือน ต.ค. 43 ญี่ปุ่นเกินดุลการค้ากับ สรอ. ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 อยู่ที่มูลค่า 645.9 พัน ล. เยน (รอยเตอร์ 20)
2. OECD ประมาณการว่า เศรษฐกิจ สรอ. จะเติบโตร้อยละ 3.5 ในปี 44 รายงานจากปารีสเมื่อวันที่ 20 พ.ย. 43 องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา(OECD) ประมาณการว่า ปี 44 และ 45 สรอ. จะมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ที่ร้อยละ 3.5 และ 3.3 ตามลำดับ ขณะเดียวกัน เงินเฟ้อจะอยู่ที่อัตราร้อยละ 2.1 ในปี 44 และร้อยละ 2.3 ในปี 45 สำหรับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น จะอยู่ที่ร้อยละ 2.3 และร้อยละ 2 ในปี 44 และ 45 ตามลำดับ หลังจากที่เติบโตร้อยละ 1.9 ในปี 43 (รอยเตอร์ 20)
3. OECD ประมาณการเศรษฐกิจเยอรมนีขยายตัวร้อยละ 3.0 ในปี 43 และจะขยายตัวชะลอลงในปี 44 และปี 45 รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 20 พ.ย.43 องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ระบุในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจว่า ปี 43 เศรษฐกิจเยอรมนีจะขยายตัวร้อยละ 3.0 และจะขยายตัวชะลอลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.7 และร้อยละ 2.5 ในปี 44 และปี 45 ตามลำดับ โดยในครึ่งหลังของปี 43 เศรษฐกิจเยอรมนีขยายตัวชะลอลงเนื่องจากได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น แต่การขายสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ในปีนี้จะส่งผลให้รัฐบาลเกินดุล งปม. อย่างไรก็ตาม ในปี 44 รัฐบาลจะกลับมาขาดดุล งปม. อันเป็นผลจากการใช้นโยบายปฏิรูปภาษี ซึ่งการลดภาษีเงินได้จะมีมูลค่าคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 1 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) และผลกระทบดังกล่าวจะต่อเนื่องไปจนถึงปี 45 แต่ผลกระทบจะไม่มากเหมือนในปี 44 นอกจากนั้น รายงานของ OECD ยังเรียกร้องให้เยอรมนีเข้มงวดกับการใช้จ่ายของภาครัฐ และระบุว่า การใช้นโยบายการคลังผ่านมาตรการลดภาษีและการช่วยเหลือด้านสวัสดิการสังคมจะช่วยกระตุ้นความต้องการภายในประเทศ (รอยเตอร์ 20)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 20 พ.ย. 43 44.286 (44.046)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 20 พ.ย. 43
ซื้อ 44.0679 (43.8256) ขาย 44.3754 (44.1379) ทองคำแท่ง(บาทละ)
ซื้อ 5,600 (5,550) ขาย 5,650 (5,600)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 29.26 (29.79)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79)
ดีเซลหมุนเร็ว 14.74 (14.74)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-