3/12/44 นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยภายหลังการเปิดศูนย์ปฏิบัติการมาตรการรับจำนำข้าวเปลือกนาปีที่จัดตั้งขึ้น ณ กรมการค้าภายในว่า ศูนย์ปฏิบัติการดังกล่าวจะเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลการรับจำนำข้าวของทุกจังหวัด ตลอดจนการรับฟังความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหาการรับจำนำข้าว โดยตั้งแต่เปิดรับจำนำข้าวในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ฤดูการผลิตปี 2544/45 ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายนเป็นต้นมา มีโรงสีเข้าร่วมโครงการ 703 โรง ซึ่งกระทรวงพาณิชย์กำหนดจำนวนโรงสีที่จะเข้าร่วมโครงการไว้ 800 โรง รวมทั้งจะมีการจัดตั้งจุดรับจำนำที่ไม่ใช่โรงสี แต่เป็นคลังสินค้าและโกดังเพิ่มอีกประมาณ 200-300 จุด
ทั้งนี้ การขยายจุดรับจำนำดังกล่าวนั้นจะขยายตามความจำเป็น โดยจะพิจารณาจากข้อมูลและแผนที่แหล่งเพาะปลูกข้าวจากศูนย์ปฏิบัติการมาตรการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ซึ่งหากพื้นที่ใดมีความจำเป็นก็จะทำการจัดตั้งจุดรับจำนำเพิ่มขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มทางเลือกให้เกษตรกร และหากเกษตรกรพบเห็นความไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้นก็ให้แจ้งข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ซึ่งประจำอยู่ตามโรงสีทุกแห่งๆ ละ 3 คน หรือแจ้งกับ สส. สว. องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร(อ.ต.ก.) องค์การคลังสินค้า(อคส.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) พาณิชย์จังหวัด หรือผู้ว่าราชการจังหวัดก็ได้
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีโรงสีที่เปิดรับจำนำข้าวแล้ว 314 โรง ในพื้นที่ดำเนินการ 39 จังหวัด โดยมีการออกใบประทวนแล้วจำนวน 32,747 ฉบับ และมีปริมาณข้าวที่รับจำนำทั้งสิ้น 301,843 ตัน โดยเป็นข้าวหอมมะลิ 46,872 ตัน และข้าวเจ้า 254,971 ตัน
นายอดิศัยกล่าวเพิ่มเติมว่า นับตั้งแต่เปิดดำเนินการโครงการรับจำนำข้าวได้ส่งผลให้ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉลี่ยประมาณ 400-500 บาทต่อตัน โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิที่ปัจจุบันมีราคาประมาณ 5,500 — 5,700 บาทต่อตัน จากเดิมที่มีราคาประมาณ 5,000 บาทต่อตันเท่านั้น
“ขณะนี้ปัญหาสำคัญของเกษตรกร คือ เรื่องของความชื้นข้าว และเรื่องที่เกษตรกรไม่ทราบว่าข้าวที่นำมาจำนำนั้นเป็นข้าวประเภทใด ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ได้รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรเก็บข้าวไว้ก่อนเพื่อให้ความชื้นลดลง รวมทั้งในการรับจำนำนั้นทางภาครัฐได้มีการปัดเศษความชื้นข้าวลงเพื่อช่วยให้เกษตรกรได้รับราคาข้าวที่สูงขึ้นด้วย
โครงการรับจำนำในปีนี้มีความแตกต่างจากโครงการที่ผ่านมามาก กล่าวคือ ไม่มีการเก็บสต็อกข้าว โดยจะมีการระบายข้าวออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีจุดรับจำนำกระจายอยู่ทั่วทุกพื้นที่ และมีบุคลากรลงปฏิบัติงานในพื้นที่ประมาณ 2,000-3,000 คน มีการตรวจสอบหลายขั้นตอนซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาโรงสีและเจ้าหน้าที่ฮั้วราคากับพ่อค้า รวมทั้งจะไม่มีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ข้าราชการจะไม่มีผลประโยชน์ โดยเฉพาะข้าราชการในระดับสูง ซึ่งก็คาดว่าในระดับล่างก็จะไม่มีผลประโยชน์ด้วย และที่สำคัญคือเป็นที่พึ่งของเกษตรกร โดยเกษตรกรสามารถร้องเรียนได้ทันที”
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ธันวาคม 2544--
-ปส-
ทั้งนี้ การขยายจุดรับจำนำดังกล่าวนั้นจะขยายตามความจำเป็น โดยจะพิจารณาจากข้อมูลและแผนที่แหล่งเพาะปลูกข้าวจากศูนย์ปฏิบัติการมาตรการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ซึ่งหากพื้นที่ใดมีความจำเป็นก็จะทำการจัดตั้งจุดรับจำนำเพิ่มขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มทางเลือกให้เกษตรกร และหากเกษตรกรพบเห็นความไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้นก็ให้แจ้งข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ซึ่งประจำอยู่ตามโรงสีทุกแห่งๆ ละ 3 คน หรือแจ้งกับ สส. สว. องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร(อ.ต.ก.) องค์การคลังสินค้า(อคส.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) พาณิชย์จังหวัด หรือผู้ว่าราชการจังหวัดก็ได้
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีโรงสีที่เปิดรับจำนำข้าวแล้ว 314 โรง ในพื้นที่ดำเนินการ 39 จังหวัด โดยมีการออกใบประทวนแล้วจำนวน 32,747 ฉบับ และมีปริมาณข้าวที่รับจำนำทั้งสิ้น 301,843 ตัน โดยเป็นข้าวหอมมะลิ 46,872 ตัน และข้าวเจ้า 254,971 ตัน
นายอดิศัยกล่าวเพิ่มเติมว่า นับตั้งแต่เปิดดำเนินการโครงการรับจำนำข้าวได้ส่งผลให้ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉลี่ยประมาณ 400-500 บาทต่อตัน โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิที่ปัจจุบันมีราคาประมาณ 5,500 — 5,700 บาทต่อตัน จากเดิมที่มีราคาประมาณ 5,000 บาทต่อตันเท่านั้น
“ขณะนี้ปัญหาสำคัญของเกษตรกร คือ เรื่องของความชื้นข้าว และเรื่องที่เกษตรกรไม่ทราบว่าข้าวที่นำมาจำนำนั้นเป็นข้าวประเภทใด ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ได้รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรเก็บข้าวไว้ก่อนเพื่อให้ความชื้นลดลง รวมทั้งในการรับจำนำนั้นทางภาครัฐได้มีการปัดเศษความชื้นข้าวลงเพื่อช่วยให้เกษตรกรได้รับราคาข้าวที่สูงขึ้นด้วย
โครงการรับจำนำในปีนี้มีความแตกต่างจากโครงการที่ผ่านมามาก กล่าวคือ ไม่มีการเก็บสต็อกข้าว โดยจะมีการระบายข้าวออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีจุดรับจำนำกระจายอยู่ทั่วทุกพื้นที่ และมีบุคลากรลงปฏิบัติงานในพื้นที่ประมาณ 2,000-3,000 คน มีการตรวจสอบหลายขั้นตอนซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาโรงสีและเจ้าหน้าที่ฮั้วราคากับพ่อค้า รวมทั้งจะไม่มีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ข้าราชการจะไม่มีผลประโยชน์ โดยเฉพาะข้าราชการในระดับสูง ซึ่งก็คาดว่าในระดับล่างก็จะไม่มีผลประโยชน์ด้วย และที่สำคัญคือเป็นที่พึ่งของเกษตรกร โดยเกษตรกรสามารถร้องเรียนได้ทันที”
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ธันวาคม 2544--
-ปส-