1. พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด (ฉบับที่ 2) มีผลบังคับใช้ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2544 นี้ สาระสำคัญเป็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ การแปลงหนี้เป็นทุน การซื้อหุ้นคืน การ ออกเสียงในหุ้นบุริมสิทธิ การชดเชยผลขาดทุนสะสม และการไม่กำหนดมูลค่าหุ้นขั้นต่ำ (PAR VALUE) ซึ่งจะส่งผลดีต่อธุรกิจทั้งในและนอกตลาดหลักทรัพย์ สำหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์จะได้ประโยชน์จาก พ.ร.บ. ใหม่นี้ในการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของบริษัท และจะมีเครื่องมือใหม่ๆ ในการสร้างผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับการปรับลดมูลค่าที่ตราไว้ลงจะทำให้บริษัทมีจำนวนหุ้น จดทะเบียนเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นทางหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มสภาพคล่องในการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัท จดทะเบียนที่มีราคาสูง ทำให้ผู้ลงทุนที่สนใจซื้อขายหุ้นของบริษัทที่มีผลประกอบการดี และมีราคาหุ้นสูง สามารถเข้าซื้อขายได้มากขึ้น
2. การแก้ไขการรับหลักทรัพย์ การดำรงสถานะของบริษัทจดทะเบียนและการ ลดหย่อนภาษี ทั้งในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตลาดใหม่ (Market Alternative Investment - MAI) เมื่อ 16 ก.ค. 44 สาระสำคัญมี ดังนี้
1) คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์อนุมัติการปรับปรุงเกณฑ์การรับหลักทรัพย์ใหม่ และการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลแก่บริษัท ที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน โดย (1) ให้รับบริษัทมหาชนจำกัดที่เกิดจากการแปรรูป รัฐวิสาหกิจเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนไว้ก่อน โดยยัง ไม่ต้องยื่นขออนุญาตเสนอขายหุ้นจากสำนักงาน คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แต่ให้บริษัทเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปภายใน 1 ปีก่อนที่จะนำหุ้นมาซื้อขายในตลาด หลักทรัพย์ โดยก่อนการเสนอขายหุ้นต่อประชาชน
ต้องยื่นขออนุญาตต่อ ก.ล.ต. ตามขั้นตอนปกติ 2) การแก้ไขหลักเกณฑ์การรับหลักทรัพย์ให้เป็นบริษัท จดทะเบียนในตลาดใหม่ (MAI) โดยเฉพาะบริษัทที่มีทุนต่ำกว่า 200 ล้านบาท เพื่อไม่ให้บริษัทขนาดใหญ่เลือกเข้าจดทะเบียนในตลาดใหม่ (MAI) ซึ่งได้รับสิทธิลดหย่อนอัตราภาษีในอัตราที่สูงกว่า รวมทั้ง (3) ลดหย่อนภาษีให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตลาดใหม่ (MAI) มีอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือร้อยละ 25 และ 20 ตามลำดับจากเดิมที่กำหนดไว้ในอัตราร้อยละ 30 เท่ากันทั้ง 2 แห่ง
2) การกำหนดการกระจายการถือหุ้น รายย่อยของบริษัทจดทะเบียนและการดำรงสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียนใหม่ เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2544 คณะกรรมการตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้มีมติให้ปรับปรุงข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ ดังนี้ (1) เพื่อให้สัดส่วนการกระจายการถือหุ้นรายย่อยสะท้อนจำนวนหุ้นที่สามารถหมุนเวียนซื้อขาย โดยนิยามของผู้ถือหุ้นรายย่อยใหม่ ให้หมายถึงผู้ถือหุ้นที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อหมุนเวียนซื้อขายไปเท่านั้น มิได้เป็นผู้ที่มีอำนาจควบคุม หรือถือหุ้นเพื่อเข้ามา มีส่วนร่วมในการบริหารงาน (Strategic Shareholders) นอกจากนั้น (2) ยังได้ปรับปรุงเกณฑ์การรับหลักทรัพย์ของตลาดใหม่ (MAI) ซึ่งต้องมีการกระจายหุ้นรายย่อยมากขึ้นจากเดิม ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 เป็นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 ของทุนชำระแล้ว รวมทั้ง (3) ได้ปรับปรุงสถานะการเป็นบริษัทจดทะเบียนของการถือหุ้นรายย่อยต่อทุน ชำระแล้วจากเดิมร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 15
3) การปรับปรุงเกณฑ์การอนุญาตเสนอขายหุ้นและการเปิดเผยข้อมูล เพื่อสนับสนุนการระดมทุนของบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก (SME) และลดภาระแก่บริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการเพื่อการ ฟื้นฟูและพัฒนาตลาดทุนไทย (ตามมาตรการวันที่ 31 มีนาคม 2544) โดยได้ยกเลิกการกำหนดให้ SME ที่ต้องการระดมทุน ไม่จำเป็นต้องมีที่ปรึกษาทางการเงิน ผ่อนคลายข้อกำหนดเกี่ยวกับการ ถือหุ้นของกรรมการอิสระ รวมทั้ง ยกเลิกเกณฑ์การกำหนดให้มีระบบควบคุมภายใน การเปิดเผยรายชื่อลูกค้าหรือผู้จัดจำหน่ายรายใหญ่ และการประเมินราคาทรัพย์สิน ทั้งนี้ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2544 เป็นต้นไป
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
2. การแก้ไขการรับหลักทรัพย์ การดำรงสถานะของบริษัทจดทะเบียนและการ ลดหย่อนภาษี ทั้งในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตลาดใหม่ (Market Alternative Investment - MAI) เมื่อ 16 ก.ค. 44 สาระสำคัญมี ดังนี้
1) คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์อนุมัติการปรับปรุงเกณฑ์การรับหลักทรัพย์ใหม่ และการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลแก่บริษัท ที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน โดย (1) ให้รับบริษัทมหาชนจำกัดที่เกิดจากการแปรรูป รัฐวิสาหกิจเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนไว้ก่อน โดยยัง ไม่ต้องยื่นขออนุญาตเสนอขายหุ้นจากสำนักงาน คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แต่ให้บริษัทเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปภายใน 1 ปีก่อนที่จะนำหุ้นมาซื้อขายในตลาด หลักทรัพย์ โดยก่อนการเสนอขายหุ้นต่อประชาชน
ต้องยื่นขออนุญาตต่อ ก.ล.ต. ตามขั้นตอนปกติ 2) การแก้ไขหลักเกณฑ์การรับหลักทรัพย์ให้เป็นบริษัท จดทะเบียนในตลาดใหม่ (MAI) โดยเฉพาะบริษัทที่มีทุนต่ำกว่า 200 ล้านบาท เพื่อไม่ให้บริษัทขนาดใหญ่เลือกเข้าจดทะเบียนในตลาดใหม่ (MAI) ซึ่งได้รับสิทธิลดหย่อนอัตราภาษีในอัตราที่สูงกว่า รวมทั้ง (3) ลดหย่อนภาษีให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตลาดใหม่ (MAI) มีอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือร้อยละ 25 และ 20 ตามลำดับจากเดิมที่กำหนดไว้ในอัตราร้อยละ 30 เท่ากันทั้ง 2 แห่ง
2) การกำหนดการกระจายการถือหุ้น รายย่อยของบริษัทจดทะเบียนและการดำรงสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียนใหม่ เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2544 คณะกรรมการตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้มีมติให้ปรับปรุงข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ ดังนี้ (1) เพื่อให้สัดส่วนการกระจายการถือหุ้นรายย่อยสะท้อนจำนวนหุ้นที่สามารถหมุนเวียนซื้อขาย โดยนิยามของผู้ถือหุ้นรายย่อยใหม่ ให้หมายถึงผู้ถือหุ้นที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อหมุนเวียนซื้อขายไปเท่านั้น มิได้เป็นผู้ที่มีอำนาจควบคุม หรือถือหุ้นเพื่อเข้ามา มีส่วนร่วมในการบริหารงาน (Strategic Shareholders) นอกจากนั้น (2) ยังได้ปรับปรุงเกณฑ์การรับหลักทรัพย์ของตลาดใหม่ (MAI) ซึ่งต้องมีการกระจายหุ้นรายย่อยมากขึ้นจากเดิม ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 เป็นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 ของทุนชำระแล้ว รวมทั้ง (3) ได้ปรับปรุงสถานะการเป็นบริษัทจดทะเบียนของการถือหุ้นรายย่อยต่อทุน ชำระแล้วจากเดิมร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 15
3) การปรับปรุงเกณฑ์การอนุญาตเสนอขายหุ้นและการเปิดเผยข้อมูล เพื่อสนับสนุนการระดมทุนของบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก (SME) และลดภาระแก่บริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการเพื่อการ ฟื้นฟูและพัฒนาตลาดทุนไทย (ตามมาตรการวันที่ 31 มีนาคม 2544) โดยได้ยกเลิกการกำหนดให้ SME ที่ต้องการระดมทุน ไม่จำเป็นต้องมีที่ปรึกษาทางการเงิน ผ่อนคลายข้อกำหนดเกี่ยวกับการ ถือหุ้นของกรรมการอิสระ รวมทั้ง ยกเลิกเกณฑ์การกำหนดให้มีระบบควบคุมภายใน การเปิดเผยรายชื่อลูกค้าหรือผู้จัดจำหน่ายรายใหญ่ และการประเมินราคาทรัพย์สิน ทั้งนี้ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2544 เป็นต้นไป
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-