กรุงเทพฯ--14 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่ประเทศสมาชิกยุโรป 12 ประเทศ ได้แก่ เยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี เบลเยี่ยม กรีซ สเปน ไอร์แลนด์ ลักเซมเบอร์ก เนเธอร์แลนด์ ออสเตรีย โปตุเกส และฟินแลนด์ ได้เข้าสู่ขั้นตอน สุดท้ายของการจัดตั้งสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน (Economic and Monetary Union:EMU) โดยได้เข้าร่วมระบบเงินยูโรตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 และกำหนดจะเริ่มใช้ธนบัตรและ เหรียญกษาปณ์ยูโร พร้อมทั้งยกเลิกการใช้เงินสกุลเดิมของประเทศตน (National Currency Unit:NCU) ในวันที่ 1 มกราคม 2545 นั้น เกี่ยวกับเรื่องนี้ กระทรวงการต่างประเทศ ขอเรียนว่า การใช้เงินดังกล่าวจะมีผล กระทบต่อระบบเศรษฐกิจของโลกและของประเทศไทย ตลอดจนประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ จึงได้จัดทำบทความเกี่ยวกับความเป็นมาของเงินยูโร ประเภทของเงินยูโร ผลกระทบของเงินยูโร ต่อประเทศที่เข้าร่วมระบบเงินยูโรและต่อประเทศไทย ดังรายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบมาพร้อมนี้
ตอนที่ 1
นับถอยหลัง 1 มกราคม 2545 ปรากฏการณ์การเงินครั้งใหญ่ของโลก : เงินยูโร
1. ทำไมต้องใช้เงินยูโร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม.2545 เป็นต้นไป จะเกิดปรากฏการณ์ด้านการเงินครั้งใหญ่ของโลก เงินประจำชาติของ 12 ประเทศในสหภาพยุโรปจะหายไปจากท้องตลาด เราจะไม่ได้เห็นเงินมาร์กเยอรมัน เงินฟรังก์ฝรั่งเศส เงินลีร์อิตาลี และเงินสกุลอื่นๆ ชื่อที่เราคุ้นบ้างไม่คุ้นบ้างของประเทศ อย่างเบลเยี่ยม (เงินฟรังก์) กรีซ (ดรักมา) สเปน (เปเซตา) ไอร์แลนด์ (ปอนด์) ลักเซมเบอร์ก (ฟรังก์) เนเธอร์แลนด์ (กิลเดอร์) ออสเตรีย (ชิลลิ่ง) โปรตุเกส (เอสคูโด) และฟินแลนด์ (มาร์กา) อีกแล้ว แล้วชาวยุโรปใน 12 ประเทศนี้จะใช้เงินอะไรกัน หรือจะกลับไปสู่ยุคของแลกของ ข้าวแลกวัว อะไรทำนองนั้น คำตอบคงไม่ใช่แน่นอน เพราะ 12 ประเทศนี้คิดกันไว้นานแล้วว่าจะใช้เงินสกุลใหม่ร่วมกันที่เรียกว่าเงิน “ยูโร” ที่ใช้สัญลักษณ์ สาเหตุก็ไม่ใช่เพราะว่า ชาวยุโรปเขาเบื่อหน่ายเงินสกุลเดิมของเขา แล้วหันไปหาของใหม่ แต่ว่าการใช้เงิน “ ยูโร “ เป็นแผนการหนึ่งในการรวมยุโรปให้เป็น สหภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน (Economic and Monetary Union : EMU) ว่ากันตามจริง เงินยูโรก็ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร เพราะถือกำเนิดมา 2 ปีแล้ว ตั้งแต่ 1 ม.ค.42 เพียงแต่ยังไม่มีรูปร่างหน้าตาให้เห็นกันจริง ๆ ไม่มีการพิมพ์ธนบัตร หรือผลิตเหรียญออกมาใช้ ที่ผ่านมา เงินยูโรมีมูลค่าจริง แต่ใช้ในเชิงสัญลักษณ์ เช่น การโอนเงิน ตราสาร และทางบัญชี แต่เริ่มตั้งแต่ วันปีใหม่ปีหน้า เงินยูโรจะมาปรากฏโฉมให้เห็นกันจริง ๆ และใช้ได้จริง ๆ ในชีวิตประจำวัน แถมยังใช้ได้ใน 12 ประเทศในยุโรปด้วย ใครจะเดินทางไป 12 ประเทศนี้ในยุโรป ก็ไม่ต้องไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินประเทศโน้นประเทศนี้ให้เสียเวลา เสียค่าธรรมเนียม
ตอนที่ 2
2. โฉมหน้าเงินยูโร เงินยูโร มีทั้งธนบัตรและเหรียญ ที่เป็นธนบัตรมี 7 แบบ ได้แก่ แบงก์ 5 แบงก์ 10 แบงก์ 20 50 100 200 และสูงสุด คือ 500 และแน่นอนว่าธนบัตร 7 แบบนี้มีรูปร่างหน้าตาเหมือนกันในทั้ง 12 ประเทศ เปรียบได้เป็นฝาแฝดเหมือน ส่วนเหรียญมี 8 แบบ 1 เซนต์ 2 เซนต์ 5 เซนต์ 10 เซนต์ 20 เซนต์ 50 เซนต์ 1 ยูโร และ 2 ยูโร แต่เหรียญยูโร 8 แบบนี้ไม่เหมือนกันใน 12 ประเทศเสียทีเดียว หน้าหนึ่งของเหรียญจะเหมือนกันทั้ง 12 ประเทศ ส่วนอีกหน้าหนึ่งจะต่างกัน แต่ละประเทศออกแบบกันเองให้เป็นเอกลักษณ์ของประเทศตน เปรียบไปแล้วก็ฝาแฝดคล้าย ไม่ใช้ฝาแฝดเหมือนอย่างธนบัตรยูโร แต่ไม่ว่าจะคล้าย จะเหมือนอย่างไร ก็ใช้ใด้ในทั้ง 12 ประเทศ เงินเหรียญ 2 ยูโรที่ผลิตใน เบลเยี่ยม ก็ซื้อของได้ในมูลค่า 2 ยูโรที่สเปนเหมือนกัน ดูจากรูปแล้ว คงเห็นว่า เงินยูโรสีสันสวยงามน่าใช้ขนาดไหน และมูลค่าเทียบกับเงินบาทแล้ว ไม่น้อยทีเดียว 1 ยูโรเท่ากับประมาณ 39-40 บาท แล้วถ้าเงินยูโรเข้าสู่ท้องตลาดในวันที่ 1 ม.ค.45 แล้ว เงินประจำชาติของทั้ง 12 ประเทศ เช่น ฟรังก์ฝรั่งเศส มาร์กเยอรมัน ลีร์อิตาลี ก็ยังไม่หมดค่ากลายเป็นเพียงกระดาษในทันที เพราะว่าการที่จะเปลี่ยนแปลงอะไร ก็ต้องให้เวลาประชาชนปรับตัวกันก่อน แต่ละประเทศให้เวลาปรับตัวไม่เท่ากัน แต่พูดรวม ๆ แล้ว คนของ 12 ประเทศนี้จะมีเวลาปรับตัวจนถึงวันที่ 28 ก.พ.45 จะได้มีเวลาทำความรู้จักและสร้างความคุ้นเคยกับเงินใหม่ ธนบัตรใหม่ และเหรียญใหม่ จะได้ใช้จ่ายกันได้สะดวก และถูกต้อง ไม่ทอนเงินผิด ไม่จ่ายเงินขาดหรือเกิน แล้วหลังจากวันที่ 28 ก.พ.45 ถ้าคนของ 12 ประเทศนี้ ยังมีเงินประจำชาติของตัวเก็บไว้ดูต่างหน้า แล้ววันหลังเกิดอาการเบื่อ และอยากแลกเงินพวกนี้เป็นเงินยูโรแทน ก็ยังทำได้อยู่ โดยจะต้องไปแลกที่ธนาคาร แต่ในแต่ละประเทศจะมีกำหนดเวลาว่าจะปิดรับแลกเมื่อใด ซึ่งส่วนใหญ่ ถ้าเป็นธนาคารพาณิชย์ จะปิดรับแลกภายในปี 2545 ส่วนธนาคารชาติจะมีเวลารับแลกยาวนานเป็นสิบ ๆ ปี หรือบางประเทศไม่กำหนดไว้เลย คือ แลกได้จนกว่าจะประกาศว่าไม่รับแลกแล้ว
ตอนที่ 3
3. ผลกระทบต่อคนไทยและประเทศไทย ตอนนี้ ถ้าใครมีเงินประจำชาติของ 12 ประเทศ ที่จะเรียกว่าเป็น “เงินเก่า” เพราะจะกลายไปของเก่าในอีกไม่กี่วันนี้แล้วนั้น ก็อาจจะเกิดอาการไม่มั่นใจว่า จะทำอย่างไรกับเงินเก่าพวกนี้ดี ที่นี่ เรามีคำตอบให้ทั้งในระดับใกล้ตัว และไกลตัว ในระดับใกล้ตัว เงินเก่าพวกนี้ สามารถไปแลกได้ที่ธนาคารพาณิชย์ไทยใหญ่ ๆ แต่ต้องจดจำกำหนดเวลาให้ดีว่า จะปิดรับแลกเมื่อใด เช่น บางแห่งรับซื้อเงินสกุลเดิมจนถึงวันสิ้นปีนี้ บางแห่งก็รับซื้อจนถึงวันที่ 1 ก.พ. 45 ถ้าจะให้ดี ควรจะสอบถามกับธนาคารที่ใช้บริการอยู่เป็นประจำ นอกจากเรื่องแลกเงินแล้ว ก็เรื่องการเดินทางท่องเที่ยว ต่อไปนี้ ใครจะไปฝรั่งเศส เบลเยี่ยม เยอรมนี ต่อด้วยอิตาลี กรีซ ก็สบายใจหายห่วง เพราะแลกเงินยูโรครั้งเดียว ใช้ได้ 12 ประเทศ ประหยัดเวลา ประหยัดค่าธรรมเนียม แต่เราคนไทยก็ต้องระวังอย่าใช้จ่ายกันเพลินจนเงินไหลออกนอกประเทศไทยมากเกินไปด้วย สำหรับนักธุรกิจที่ติดต่อค้าขายกับประเทศยุโรปที่ใช้เงินยูโรนี้ ก็จะลดต้นทุน ลดความผันผวนในด้านอัตราแลกเปลี่ยนไปได้ ทำให้การส่งออก การนำเข้าระหว่างไทยกับ 12 ประเทศนี้ ง่ายขึ้น และยังเทียบราคาสินค้าและบริการใน 12 ประเทศได้ง่ายขึ้น ว่าเราควรจะซื้ออะไรจากประเทศไหนดี ถึงจะได้ของถูกที่สุด เป็นต้น ในระดับไกลตัว แต่จะมีผลต่อเรา ๆ ท่าน ๆ ก็คือ ถ้าเงินยูโรสามารถพัฒนาตัวเองไปได้มาก ก็อาจจะเป็นคู่แข่งเงินดอลลาร์สหรัฐได้เหมือนกัน ทีนี้ ประเทศไทยก็สามารถเลือกได้ว่า จะเก็บเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ จ่ายหนี้ หรือลงทุนโดยใช้เงินสกุลอื่น นอกจากเงินดอลลาร์ได้ ทั้งนี้ ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับว่า เงินยูโรจะมีเสถียรภาพมากน้อยแค่ไหน มีคนรักคนชอบแค่ไหน ให้ความไว้วางใจแค่ไหน ก็ต้องรอดูกันต่อไปในอนาคตที่ไม่ไกลเกินไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
ตามที่ประเทศสมาชิกยุโรป 12 ประเทศ ได้แก่ เยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี เบลเยี่ยม กรีซ สเปน ไอร์แลนด์ ลักเซมเบอร์ก เนเธอร์แลนด์ ออสเตรีย โปตุเกส และฟินแลนด์ ได้เข้าสู่ขั้นตอน สุดท้ายของการจัดตั้งสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน (Economic and Monetary Union:EMU) โดยได้เข้าร่วมระบบเงินยูโรตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 และกำหนดจะเริ่มใช้ธนบัตรและ เหรียญกษาปณ์ยูโร พร้อมทั้งยกเลิกการใช้เงินสกุลเดิมของประเทศตน (National Currency Unit:NCU) ในวันที่ 1 มกราคม 2545 นั้น เกี่ยวกับเรื่องนี้ กระทรวงการต่างประเทศ ขอเรียนว่า การใช้เงินดังกล่าวจะมีผล กระทบต่อระบบเศรษฐกิจของโลกและของประเทศไทย ตลอดจนประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ จึงได้จัดทำบทความเกี่ยวกับความเป็นมาของเงินยูโร ประเภทของเงินยูโร ผลกระทบของเงินยูโร ต่อประเทศที่เข้าร่วมระบบเงินยูโรและต่อประเทศไทย ดังรายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบมาพร้อมนี้
ตอนที่ 1
นับถอยหลัง 1 มกราคม 2545 ปรากฏการณ์การเงินครั้งใหญ่ของโลก : เงินยูโร
1. ทำไมต้องใช้เงินยูโร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม.2545 เป็นต้นไป จะเกิดปรากฏการณ์ด้านการเงินครั้งใหญ่ของโลก เงินประจำชาติของ 12 ประเทศในสหภาพยุโรปจะหายไปจากท้องตลาด เราจะไม่ได้เห็นเงินมาร์กเยอรมัน เงินฟรังก์ฝรั่งเศส เงินลีร์อิตาลี และเงินสกุลอื่นๆ ชื่อที่เราคุ้นบ้างไม่คุ้นบ้างของประเทศ อย่างเบลเยี่ยม (เงินฟรังก์) กรีซ (ดรักมา) สเปน (เปเซตา) ไอร์แลนด์ (ปอนด์) ลักเซมเบอร์ก (ฟรังก์) เนเธอร์แลนด์ (กิลเดอร์) ออสเตรีย (ชิลลิ่ง) โปรตุเกส (เอสคูโด) และฟินแลนด์ (มาร์กา) อีกแล้ว แล้วชาวยุโรปใน 12 ประเทศนี้จะใช้เงินอะไรกัน หรือจะกลับไปสู่ยุคของแลกของ ข้าวแลกวัว อะไรทำนองนั้น คำตอบคงไม่ใช่แน่นอน เพราะ 12 ประเทศนี้คิดกันไว้นานแล้วว่าจะใช้เงินสกุลใหม่ร่วมกันที่เรียกว่าเงิน “ยูโร” ที่ใช้สัญลักษณ์ สาเหตุก็ไม่ใช่เพราะว่า ชาวยุโรปเขาเบื่อหน่ายเงินสกุลเดิมของเขา แล้วหันไปหาของใหม่ แต่ว่าการใช้เงิน “ ยูโร “ เป็นแผนการหนึ่งในการรวมยุโรปให้เป็น สหภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน (Economic and Monetary Union : EMU) ว่ากันตามจริง เงินยูโรก็ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร เพราะถือกำเนิดมา 2 ปีแล้ว ตั้งแต่ 1 ม.ค.42 เพียงแต่ยังไม่มีรูปร่างหน้าตาให้เห็นกันจริง ๆ ไม่มีการพิมพ์ธนบัตร หรือผลิตเหรียญออกมาใช้ ที่ผ่านมา เงินยูโรมีมูลค่าจริง แต่ใช้ในเชิงสัญลักษณ์ เช่น การโอนเงิน ตราสาร และทางบัญชี แต่เริ่มตั้งแต่ วันปีใหม่ปีหน้า เงินยูโรจะมาปรากฏโฉมให้เห็นกันจริง ๆ และใช้ได้จริง ๆ ในชีวิตประจำวัน แถมยังใช้ได้ใน 12 ประเทศในยุโรปด้วย ใครจะเดินทางไป 12 ประเทศนี้ในยุโรป ก็ไม่ต้องไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินประเทศโน้นประเทศนี้ให้เสียเวลา เสียค่าธรรมเนียม
ตอนที่ 2
2. โฉมหน้าเงินยูโร เงินยูโร มีทั้งธนบัตรและเหรียญ ที่เป็นธนบัตรมี 7 แบบ ได้แก่ แบงก์ 5 แบงก์ 10 แบงก์ 20 50 100 200 และสูงสุด คือ 500 และแน่นอนว่าธนบัตร 7 แบบนี้มีรูปร่างหน้าตาเหมือนกันในทั้ง 12 ประเทศ เปรียบได้เป็นฝาแฝดเหมือน ส่วนเหรียญมี 8 แบบ 1 เซนต์ 2 เซนต์ 5 เซนต์ 10 เซนต์ 20 เซนต์ 50 เซนต์ 1 ยูโร และ 2 ยูโร แต่เหรียญยูโร 8 แบบนี้ไม่เหมือนกันใน 12 ประเทศเสียทีเดียว หน้าหนึ่งของเหรียญจะเหมือนกันทั้ง 12 ประเทศ ส่วนอีกหน้าหนึ่งจะต่างกัน แต่ละประเทศออกแบบกันเองให้เป็นเอกลักษณ์ของประเทศตน เปรียบไปแล้วก็ฝาแฝดคล้าย ไม่ใช้ฝาแฝดเหมือนอย่างธนบัตรยูโร แต่ไม่ว่าจะคล้าย จะเหมือนอย่างไร ก็ใช้ใด้ในทั้ง 12 ประเทศ เงินเหรียญ 2 ยูโรที่ผลิตใน เบลเยี่ยม ก็ซื้อของได้ในมูลค่า 2 ยูโรที่สเปนเหมือนกัน ดูจากรูปแล้ว คงเห็นว่า เงินยูโรสีสันสวยงามน่าใช้ขนาดไหน และมูลค่าเทียบกับเงินบาทแล้ว ไม่น้อยทีเดียว 1 ยูโรเท่ากับประมาณ 39-40 บาท แล้วถ้าเงินยูโรเข้าสู่ท้องตลาดในวันที่ 1 ม.ค.45 แล้ว เงินประจำชาติของทั้ง 12 ประเทศ เช่น ฟรังก์ฝรั่งเศส มาร์กเยอรมัน ลีร์อิตาลี ก็ยังไม่หมดค่ากลายเป็นเพียงกระดาษในทันที เพราะว่าการที่จะเปลี่ยนแปลงอะไร ก็ต้องให้เวลาประชาชนปรับตัวกันก่อน แต่ละประเทศให้เวลาปรับตัวไม่เท่ากัน แต่พูดรวม ๆ แล้ว คนของ 12 ประเทศนี้จะมีเวลาปรับตัวจนถึงวันที่ 28 ก.พ.45 จะได้มีเวลาทำความรู้จักและสร้างความคุ้นเคยกับเงินใหม่ ธนบัตรใหม่ และเหรียญใหม่ จะได้ใช้จ่ายกันได้สะดวก และถูกต้อง ไม่ทอนเงินผิด ไม่จ่ายเงินขาดหรือเกิน แล้วหลังจากวันที่ 28 ก.พ.45 ถ้าคนของ 12 ประเทศนี้ ยังมีเงินประจำชาติของตัวเก็บไว้ดูต่างหน้า แล้ววันหลังเกิดอาการเบื่อ และอยากแลกเงินพวกนี้เป็นเงินยูโรแทน ก็ยังทำได้อยู่ โดยจะต้องไปแลกที่ธนาคาร แต่ในแต่ละประเทศจะมีกำหนดเวลาว่าจะปิดรับแลกเมื่อใด ซึ่งส่วนใหญ่ ถ้าเป็นธนาคารพาณิชย์ จะปิดรับแลกภายในปี 2545 ส่วนธนาคารชาติจะมีเวลารับแลกยาวนานเป็นสิบ ๆ ปี หรือบางประเทศไม่กำหนดไว้เลย คือ แลกได้จนกว่าจะประกาศว่าไม่รับแลกแล้ว
ตอนที่ 3
3. ผลกระทบต่อคนไทยและประเทศไทย ตอนนี้ ถ้าใครมีเงินประจำชาติของ 12 ประเทศ ที่จะเรียกว่าเป็น “เงินเก่า” เพราะจะกลายไปของเก่าในอีกไม่กี่วันนี้แล้วนั้น ก็อาจจะเกิดอาการไม่มั่นใจว่า จะทำอย่างไรกับเงินเก่าพวกนี้ดี ที่นี่ เรามีคำตอบให้ทั้งในระดับใกล้ตัว และไกลตัว ในระดับใกล้ตัว เงินเก่าพวกนี้ สามารถไปแลกได้ที่ธนาคารพาณิชย์ไทยใหญ่ ๆ แต่ต้องจดจำกำหนดเวลาให้ดีว่า จะปิดรับแลกเมื่อใด เช่น บางแห่งรับซื้อเงินสกุลเดิมจนถึงวันสิ้นปีนี้ บางแห่งก็รับซื้อจนถึงวันที่ 1 ก.พ. 45 ถ้าจะให้ดี ควรจะสอบถามกับธนาคารที่ใช้บริการอยู่เป็นประจำ นอกจากเรื่องแลกเงินแล้ว ก็เรื่องการเดินทางท่องเที่ยว ต่อไปนี้ ใครจะไปฝรั่งเศส เบลเยี่ยม เยอรมนี ต่อด้วยอิตาลี กรีซ ก็สบายใจหายห่วง เพราะแลกเงินยูโรครั้งเดียว ใช้ได้ 12 ประเทศ ประหยัดเวลา ประหยัดค่าธรรมเนียม แต่เราคนไทยก็ต้องระวังอย่าใช้จ่ายกันเพลินจนเงินไหลออกนอกประเทศไทยมากเกินไปด้วย สำหรับนักธุรกิจที่ติดต่อค้าขายกับประเทศยุโรปที่ใช้เงินยูโรนี้ ก็จะลดต้นทุน ลดความผันผวนในด้านอัตราแลกเปลี่ยนไปได้ ทำให้การส่งออก การนำเข้าระหว่างไทยกับ 12 ประเทศนี้ ง่ายขึ้น และยังเทียบราคาสินค้าและบริการใน 12 ประเทศได้ง่ายขึ้น ว่าเราควรจะซื้ออะไรจากประเทศไหนดี ถึงจะได้ของถูกที่สุด เป็นต้น ในระดับไกลตัว แต่จะมีผลต่อเรา ๆ ท่าน ๆ ก็คือ ถ้าเงินยูโรสามารถพัฒนาตัวเองไปได้มาก ก็อาจจะเป็นคู่แข่งเงินดอลลาร์สหรัฐได้เหมือนกัน ทีนี้ ประเทศไทยก็สามารถเลือกได้ว่า จะเก็บเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ จ่ายหนี้ หรือลงทุนโดยใช้เงินสกุลอื่น นอกจากเงินดอลลาร์ได้ ทั้งนี้ ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับว่า เงินยูโรจะมีเสถียรภาพมากน้อยแค่ไหน มีคนรักคนชอบแค่ไหน ให้ความไว้วางใจแค่ไหน ก็ต้องรอดูกันต่อไปในอนาคตที่ไม่ไกลเกินไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-