นายธีระ วิภูชนิน รองกรรมการผู้จัดการ รักษาการกรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) เปิด
เผยถึงผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 ว่า ธสน. มีกำไรสุทธิจำนวน 187 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นผลจากการควบคุมคุณภาพของสินทรัพย์
ทำให้ภาระการกันสำรองลดน้อยลง ในขณะที่ปริมาณธุรกิจยังทรงตัวตามภาวะการส่งออกโดยรวมของประเทศ
รักษาการกรรมการผู้จัดการ ธสน. ชี้แจงผลการดำเนินงานในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ว่า สินทรัพย์รวมของ ธสน. ณ สิ้นงวดครึ่งแรกของ
ปี 2544 ลดลงราว 3% จากสิ้นงวดครึ่งแรกของปี 2543 แม้ว่า ธสน. จะขยายวงเงินสินเชื่อเพิ่มขึ้นจากปีก่อนราว 4% แต่ปริมาณการใช้สินเชื่อของผู้ส่ง
ออกไม่เพิ่มขึ้นตามวงเงิน อันเป็นผลมาจากภาวะตลาดส่งออกหลักในต่างประเทศชะลอตัวลงเป็นส่วนใหญ่
สินทรัพย์รวมของ ธสน. ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 มีมูลค่ารวม 55,757 ล้านบาท แยกเป็นสินเชื่อที่ ธสน. ปล่อยกู้โดยตรงจำนวน
38,201 ล้านบาท และสินเชื่อที่ปล่อย ผ่านธนาคารพาณิชย์มีจำนวน 4,386 ล้านบาท
สำหรับวงเงินสินเชื่อรวมที่ ธสน. ปล่อยกู้แก่ผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยในต่างประเทศมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 79,901 ล้านบาท ณ สิ้นเดือน
มิถุนายน 2544 ส่วนปริมาณการใช้สินเชื่อหมุนเวียนทั้งหมดที่ ธสน. ให้บริการโดยตรงแก่ผู้ส่งออกมีมูลค่ารวม 43,360 ล้านบาทในช่วงครึ่งแรกของปี
2544
รักษาการกรรมการผู้จัดการ ธสน. ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่าในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ธสน. ให้ความสำคัญกับการติดตามและควบคุมหนี้ที่ไม่ก่อให้
เกิดรายได้ (NPL) อย่างจริงจัง ทำให้ NPL ของ ธสน. ลดลงอย่างต่อเนื่องจาก 2,355 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2543 เหลือ 1,870 ล้านบาท ณ สิ้น
เดือนมิถุนายน 2544 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับโครงสร้างหนี้และได้รับชำระหนี้คืน อีกส่วนหนึ่งเป็นผลจากการตัดจำหน่ายหนี้ NPL ที่สำรองครบ
100% แล้วออกจากบัญชีตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับอัตราส่วน NPL ต่อเงินให้สินเชื่อรวมของ ธสน. ณ สิ้นเดือนมิถุนายน
2544 อยู่ที่ระดับ 4.3%
หน่วย : ล้านบาท
รายการ ณ สิ้น มิ.ย. ณ สิ้น ธ.ค. ณ สิ้น มิ.ย.
2543 2543 2544
สินทรัพย์รวม
- สินทรัพย์ที่เกิดจากการให้สินเชื่อผ่านธนาคารพาณิชย์ 57,485.4 58,128.8 55,756.6
3,142.5 3,396.9 4,385.8
- สินทรัพย์ที่เกิดจากการให้สินเชื่อ โดยตรงแก่ผู้ส่งออกในประเทศ 30,306.3 34,937.4 28,505.4
- สินทรัยพ์ที่เกิดจากการให้สินเชื่อ แก่นักลงทุนไทยที่ไปทำธุรกิจใน 8,186.5 9,344.8 9,695.1
ต่างประเทศ
รายการ ปี 2543 ปี 2543 ปี 2544
ม.ค.-มิ.ย. ก.ค.-ธ.ค. ม.ค.-มิ.ย.
กำไร
กำไรก่อนสำรองและค่าใช้จ่ายพิเศษ 638.7 885.9 698.3
หัก - สำรองหนี้สงสัยจะสูญและสำรองประกันการส่งออก 482.3 768.3 413.8
- ขาดทุนอื่น ๆ เกี่ยวกับลูกหนี้มีปัญหา 56.9 - 97.9
บวก - กำไรอื่น ๆ เกี่ยวกับลูกหนี้ปัญหา - 7.4 -
หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loan : NPL)
หนี้ NPL ณ สิ้นปี 43 2,355.3 ล้านบาท
บวก หนี้ NPL ที่เพิ่มขึ้นระหว่าง ม.ค. - มิ.ย. 44 749.5 ล้านบาท
หัก หนี้ NPL ที่ลดลงระหว่าง ม.ค. - มิ.ย. 44 1,234.9 ล้านบาท
หนี้ NPL ณ สิ้น มิ.ย. 44 1,869.9 ล้านบาท
ทางด้านกำไรก่อนสำรองหนี้สงสัยจะสูญและสำรองประกันการส่งออก และก่อนหักค่าใช้จ่ายอื่นๆ เกี่ยวกับลูกหนี้มีปัญหาเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก
639 ล้านบาทในช่วงครึ่งแรกปี 2543 เป็น 698 ล้านบาทในช่วงครึ่งแรกปี 2544 ในขณะที่สำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญและสำรองประกันการส่งออก
และขาดทุนอื่นๆ เกี่ยวกับลูกค้าหนี้มีปัญหา ลดลงจาก 539 ล้านบาทในช่วงครึ่งแรกปี 2543 เหลือ 512 ล้านบาท ทำให้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจาก 100
ล้านบาทในงวดครึ่งแรกของปี 2543 เป็น 187 ล้านบาท
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 นี้ ธสน. ได้เปิดให้บริการ "สินเชื่อส่งออกทันใจ" (Express Export Credit) ซึ่งเป็นบริการภายใต้
บริการสินเชื่อเพื่อเตรียมการส่งออก โดยมุ่งเน้นสนับสนุนผู้ส่งออกรายย่อยรายใหม่ สามารถทราบผลการอนุมัติสินเชื่อได้ภายใน 3 วันทำการนับจาก
วันที่ยื่นเอกสารครบถ้วน ผู้ส่งออกที่มี Letter of Credit สามารถมาขอสินเชื่อได้รายละ 2 ล้านบาท โดยใช้เพียงกรรมการบริษัทเป็นผู้ค้ำประกัน
การขอสินเชื่อ นับตั้งแต่เริ่มให้บริการเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมามีผู้ส่งออกมาใช้บริการเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ ธสน. ต้องจัดสรรเพิ่มวงเงินสำหรับ
สินเชื่อส่งออกทันใจทั้งหมดจาก 100 ล้านบาท เป็น 200 ล้านบาท ในปัจจุบัน
สำหรับในช่วงครึ่งหลังของปี 2544 ธสน. จะเปิดสาขาเพิ่ม 1 แห่ง คือ สาขาสาทร เพื่อเพิ่มจุดให้บริการและรองรับธุรกิจในบริเวณย่าน
ธุรกิจกลางเมือง และนอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมผู้ส่งออกในกลุ่ม SMEs ตามนโยบายรัฐบาลอีกด้วย
หน่วย : ล้านบาท
รายการ ณ สิ้น มิ.ย. ณ สิ้น ธ.ค. ณ สิ้น มิ.ย.
2543 2543 2544
วงเงิน
วงเงินสินเชื่อเพื่อเตรียมการส่งออก 33,736.0 29,507.5 31,688.6
วงเงินสินเชื่อแพ็คกิ้งเครดิตแบบกู้ตรง 14,457.0 18,641.2 19,174.9
วงเงินสินเชื่อเพื่อขยายกำลังผลิต 4,506.3 4,373.9 3,772.7
- วงเงินสินเชื่อเพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักร 694.1 739.8 798.9
วงเงินสินเชื่อพาณิชย์นาวี 3,568.1 3,374.7 2,984.6
วงเงินสินเชื่อโครงการระหว่างประเทศ 10,530.0 11,660.0 12,300.9
วงเงินหนี้ปรับโครงสร้าง 1,408.4 - -
วงเงินประกันการส่งออก 8,566.5 9,204.5 9,979.0
รวมวงเงิน 76,772.3 76,761.8 79,900.7
รายการ ปี 2543 ปี 2543 ปี 2544
ม.ค.- มิ.ย. ก.ค.-ธ.ค. ม.ค.-มิ.ย.
ปริมาณธุรกิจที่ให้บริการโดยตรง
- มูลค่าตั๋วส่งออกที่ผู้ส่งออกมาขายและฝากเรียกเก็บ 30,305.2 39,599.7 33,414.5
- มูลค่ารับแจ้งประกันการส่งออก 6,658.1 14,057.3 9,945.2
รวมปริมาณธุรกิจโดยตรง 36,963.3 53,657.0 43,359.7
--Exim News ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนกันยายน 2544--
-อน-
เผยถึงผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 ว่า ธสน. มีกำไรสุทธิจำนวน 187 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นผลจากการควบคุมคุณภาพของสินทรัพย์
ทำให้ภาระการกันสำรองลดน้อยลง ในขณะที่ปริมาณธุรกิจยังทรงตัวตามภาวะการส่งออกโดยรวมของประเทศ
รักษาการกรรมการผู้จัดการ ธสน. ชี้แจงผลการดำเนินงานในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ว่า สินทรัพย์รวมของ ธสน. ณ สิ้นงวดครึ่งแรกของ
ปี 2544 ลดลงราว 3% จากสิ้นงวดครึ่งแรกของปี 2543 แม้ว่า ธสน. จะขยายวงเงินสินเชื่อเพิ่มขึ้นจากปีก่อนราว 4% แต่ปริมาณการใช้สินเชื่อของผู้ส่ง
ออกไม่เพิ่มขึ้นตามวงเงิน อันเป็นผลมาจากภาวะตลาดส่งออกหลักในต่างประเทศชะลอตัวลงเป็นส่วนใหญ่
สินทรัพย์รวมของ ธสน. ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 มีมูลค่ารวม 55,757 ล้านบาท แยกเป็นสินเชื่อที่ ธสน. ปล่อยกู้โดยตรงจำนวน
38,201 ล้านบาท และสินเชื่อที่ปล่อย ผ่านธนาคารพาณิชย์มีจำนวน 4,386 ล้านบาท
สำหรับวงเงินสินเชื่อรวมที่ ธสน. ปล่อยกู้แก่ผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยในต่างประเทศมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 79,901 ล้านบาท ณ สิ้นเดือน
มิถุนายน 2544 ส่วนปริมาณการใช้สินเชื่อหมุนเวียนทั้งหมดที่ ธสน. ให้บริการโดยตรงแก่ผู้ส่งออกมีมูลค่ารวม 43,360 ล้านบาทในช่วงครึ่งแรกของปี
2544
รักษาการกรรมการผู้จัดการ ธสน. ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่าในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ธสน. ให้ความสำคัญกับการติดตามและควบคุมหนี้ที่ไม่ก่อให้
เกิดรายได้ (NPL) อย่างจริงจัง ทำให้ NPL ของ ธสน. ลดลงอย่างต่อเนื่องจาก 2,355 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2543 เหลือ 1,870 ล้านบาท ณ สิ้น
เดือนมิถุนายน 2544 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับโครงสร้างหนี้และได้รับชำระหนี้คืน อีกส่วนหนึ่งเป็นผลจากการตัดจำหน่ายหนี้ NPL ที่สำรองครบ
100% แล้วออกจากบัญชีตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับอัตราส่วน NPL ต่อเงินให้สินเชื่อรวมของ ธสน. ณ สิ้นเดือนมิถุนายน
2544 อยู่ที่ระดับ 4.3%
หน่วย : ล้านบาท
รายการ ณ สิ้น มิ.ย. ณ สิ้น ธ.ค. ณ สิ้น มิ.ย.
2543 2543 2544
สินทรัพย์รวม
- สินทรัพย์ที่เกิดจากการให้สินเชื่อผ่านธนาคารพาณิชย์ 57,485.4 58,128.8 55,756.6
3,142.5 3,396.9 4,385.8
- สินทรัพย์ที่เกิดจากการให้สินเชื่อ โดยตรงแก่ผู้ส่งออกในประเทศ 30,306.3 34,937.4 28,505.4
- สินทรัยพ์ที่เกิดจากการให้สินเชื่อ แก่นักลงทุนไทยที่ไปทำธุรกิจใน 8,186.5 9,344.8 9,695.1
ต่างประเทศ
รายการ ปี 2543 ปี 2543 ปี 2544
ม.ค.-มิ.ย. ก.ค.-ธ.ค. ม.ค.-มิ.ย.
กำไร
กำไรก่อนสำรองและค่าใช้จ่ายพิเศษ 638.7 885.9 698.3
หัก - สำรองหนี้สงสัยจะสูญและสำรองประกันการส่งออก 482.3 768.3 413.8
- ขาดทุนอื่น ๆ เกี่ยวกับลูกหนี้มีปัญหา 56.9 - 97.9
บวก - กำไรอื่น ๆ เกี่ยวกับลูกหนี้ปัญหา - 7.4 -
หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loan : NPL)
หนี้ NPL ณ สิ้นปี 43 2,355.3 ล้านบาท
บวก หนี้ NPL ที่เพิ่มขึ้นระหว่าง ม.ค. - มิ.ย. 44 749.5 ล้านบาท
หัก หนี้ NPL ที่ลดลงระหว่าง ม.ค. - มิ.ย. 44 1,234.9 ล้านบาท
หนี้ NPL ณ สิ้น มิ.ย. 44 1,869.9 ล้านบาท
ทางด้านกำไรก่อนสำรองหนี้สงสัยจะสูญและสำรองประกันการส่งออก และก่อนหักค่าใช้จ่ายอื่นๆ เกี่ยวกับลูกหนี้มีปัญหาเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก
639 ล้านบาทในช่วงครึ่งแรกปี 2543 เป็น 698 ล้านบาทในช่วงครึ่งแรกปี 2544 ในขณะที่สำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญและสำรองประกันการส่งออก
และขาดทุนอื่นๆ เกี่ยวกับลูกค้าหนี้มีปัญหา ลดลงจาก 539 ล้านบาทในช่วงครึ่งแรกปี 2543 เหลือ 512 ล้านบาท ทำให้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจาก 100
ล้านบาทในงวดครึ่งแรกของปี 2543 เป็น 187 ล้านบาท
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 นี้ ธสน. ได้เปิดให้บริการ "สินเชื่อส่งออกทันใจ" (Express Export Credit) ซึ่งเป็นบริการภายใต้
บริการสินเชื่อเพื่อเตรียมการส่งออก โดยมุ่งเน้นสนับสนุนผู้ส่งออกรายย่อยรายใหม่ สามารถทราบผลการอนุมัติสินเชื่อได้ภายใน 3 วันทำการนับจาก
วันที่ยื่นเอกสารครบถ้วน ผู้ส่งออกที่มี Letter of Credit สามารถมาขอสินเชื่อได้รายละ 2 ล้านบาท โดยใช้เพียงกรรมการบริษัทเป็นผู้ค้ำประกัน
การขอสินเชื่อ นับตั้งแต่เริ่มให้บริการเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมามีผู้ส่งออกมาใช้บริการเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ ธสน. ต้องจัดสรรเพิ่มวงเงินสำหรับ
สินเชื่อส่งออกทันใจทั้งหมดจาก 100 ล้านบาท เป็น 200 ล้านบาท ในปัจจุบัน
สำหรับในช่วงครึ่งหลังของปี 2544 ธสน. จะเปิดสาขาเพิ่ม 1 แห่ง คือ สาขาสาทร เพื่อเพิ่มจุดให้บริการและรองรับธุรกิจในบริเวณย่าน
ธุรกิจกลางเมือง และนอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมผู้ส่งออกในกลุ่ม SMEs ตามนโยบายรัฐบาลอีกด้วย
หน่วย : ล้านบาท
รายการ ณ สิ้น มิ.ย. ณ สิ้น ธ.ค. ณ สิ้น มิ.ย.
2543 2543 2544
วงเงิน
วงเงินสินเชื่อเพื่อเตรียมการส่งออก 33,736.0 29,507.5 31,688.6
วงเงินสินเชื่อแพ็คกิ้งเครดิตแบบกู้ตรง 14,457.0 18,641.2 19,174.9
วงเงินสินเชื่อเพื่อขยายกำลังผลิต 4,506.3 4,373.9 3,772.7
- วงเงินสินเชื่อเพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักร 694.1 739.8 798.9
วงเงินสินเชื่อพาณิชย์นาวี 3,568.1 3,374.7 2,984.6
วงเงินสินเชื่อโครงการระหว่างประเทศ 10,530.0 11,660.0 12,300.9
วงเงินหนี้ปรับโครงสร้าง 1,408.4 - -
วงเงินประกันการส่งออก 8,566.5 9,204.5 9,979.0
รวมวงเงิน 76,772.3 76,761.8 79,900.7
รายการ ปี 2543 ปี 2543 ปี 2544
ม.ค.- มิ.ย. ก.ค.-ธ.ค. ม.ค.-มิ.ย.
ปริมาณธุรกิจที่ให้บริการโดยตรง
- มูลค่าตั๋วส่งออกที่ผู้ส่งออกมาขายและฝากเรียกเก็บ 30,305.2 39,599.7 33,414.5
- มูลค่ารับแจ้งประกันการส่งออก 6,658.1 14,057.3 9,945.2
รวมปริมาณธุรกิจโดยตรง 36,963.3 53,657.0 43,359.7
--Exim News ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนกันยายน 2544--
-อน-