แท็ก
อุตสาหกรรม
บทคัดย่อ *
ในการรักษาคุณภาพอาหารไว้บริโภคในยามขาดแคลน หรือเพื่อการจำหน่ายเมื่อมีผลผลิตเหลือใช้ วิธีที่นิยมกันมากคือ การบรรจุภัณฑ์ ในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม (พ.ศ. 2312 - 2343) บรรจุภัณฑ์ทำหน้าที่เพียงป้องกันสินค้าไม่ให้เสียหายในช่วงเวลาสั้น ๆ และก่อให้เกิดความสะดวกในการขนส่งเท่านั้น บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในช่วงนี้มีลักษณะเป็น Bulk Pack เช่น กระสอบ ถังไม้ ลังไม้
ปัจจุบันการบรรจุภัณฑ์ (Packaging) เป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งในการจัดการทางการตลาดสมัยใหม่ นอกหนือจาก Price Place Promotion และ Product การบรรจุภัณฑ์ก็คือ การห่อหุ้มสินค้า ซึ่งช่วยส่งเสริมให้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์เป็นที่ดึงดูดใจของผู้บริโภคและรักษาคุณภาพสินค้าให้มีความสดใหม่ สวยงามและถูกสุขอนามัยอยู่เสมอทั้งนี้ เพื่อสร้างความประทับใจและก่อให้เกิดความต้องการแก่ผู้พบเห็น รวมทั้งมีการนำตราสินค้า (Branding) มาเป็นสื่อในการโฆษณาเพื่อสื่อถึงสรรพคุณ ข้อดีของสินค้าและผู้ผลิต บ่งบอกถึงชื่อเสียงของบริษัทผู้ผลิต และคุณสมบัติของสินค้า ณ จุดขาย นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากการผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรมาเป็นการผลิตและส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมมากขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ขยายตัวและมีบทบาทมากขึ้นในการเป็นอุตสาหกรรมสนับสนุนของอุตสาหกรรมอื่น ๆ และเป็นกิจกรรมที่ดำเนินควบคู่กับอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่ต้องใช้บรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าอาหารแช่เยือกแข็งและอาหารพร้อมรับประทาน
อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ในประเทศไทยสามารถจำแนกได้ 4 ประเภทใหญ่ คือ อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์แก้ว มีสัดส่วนการผลิตร้อยละ 15 เป็นบรรจุภัณฑ์ที่นิยมใช้กันมานานและแพร่หลายมากในปัจจุบัน เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยต่อสินค้าที่บรรจุโดยเฉพาะสินค้าอาหาร ป้องกันการซึมผ่านของก๊าซและไอน้ำได้ดี มีความคงรูปและทนความร้อนได้สูง สวยงาม สามารถใช้ซ้ำหรือหมุนเวียนได้ สำหรับข้อเสียคือ มีน้ำหนักมาก เสี่ยงต่อการแตกหักและราคาค่อนข้างสูง รูปแบบของบรรจุภัณฑ์ประเภทแก้ว กว่าร้อยละ 90 ของปริมาณการผลิตทั้งหมดเป็นขวดแก้ว ซึ่งแบ่งออกเป็นขวดบรรจุอาหาร เช่น ขวดน้ำปลา ขวดเต้าเจี้ยว ขวดซอส ขวดบรรจุเครื่องดื่ม ได้แก่ ขวดเบียร์ ขวดเหล้า ขวดเครื่องดื่มชูกำลัง ขวดน้ำอัดลม นอกจากนี้ยังมีขวดบรรจุยา และขวดบรรจุเครื่องสำอาง ลักษณะของขวดแต่ละชนิดจะแตกต่างกันตามสินค้าที่บรรจุอยู่ภายใน โดยขวดที่ใช้บรรจุอาหารและเครื่องดื่ม มักเป็นขวดที่มีปากแคบ (bottle) ขวดบรรจุยาและเครื่องสำอางมักเป็นขวดที่มีลักษณะปากกว้าง (jar) ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกในการใช้งาน โรงงานที่ทำการผลิตขวดแก้วมักเป็นโรงงานที่มีขนาดใหญ่และมีกำลังการผลิตมาก ใช้เงินลงทุนสูง ผลิตตามคำสั่งซื้อของลูกค้า โดยลูกค้าจะสั่งซื้อล่วงหน้าอย่างน้อย 6 เดือน ในช่วงที่เศรษฐกิจดีจะมีการสั่งซื้อข้ามปี ส่วนใหญ่จะอยู่ในอุตสาหกรรมประเภทเครื่องดื่ม โดยเฉพาะเครื่องดื่มชูกำลังจะใช้ขวดแก้วในการบรรจุทั้งหมด ขณะที่เครื่องดื่มประเภทอื่นหันไปใช้ขวดประเภทอื่นทดแทนขวดแก้วมากขึ้น ดังนั้น การแข่งขันกันในระหว่างผู้ผลิตขวดแก้วจึงมีน้อย ส่วนมากเป็นการแข่งขันด้านราคา ด้านการส่งมอบที่ตรงเวลาและความสามารถที่จะผลิตตอบสนองให้เพียงพอกับความต้องการของลูกค้า แนวโน้มการผลิตขวดแก้วจะผลิตเพื่อจำหน่ายแก่ผู้ใช้ภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่คาดว่าการผลิตขวดแก้วยังคงมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราประมาณร้อยละ 10 ต่อปี โดยเติบโตควบคู่ไปกับการขยายตัวของอุตสาหกรรมน้ำอัดลม เบียร์ สุรา และเครื่องสำอาง ประกอบกับการตื่นตัวในเรื่องสิ่งแวดล้อม ทำให้ผู้บริโภคหันมานิยมใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นขวดแก้วมากขึ้น คู่แข่งที่สำคัญของไทยสำหรับตลาดขวดแก้วคือ อินโดนีเซีย
อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์โลหะ มีสัดส่วนการผลิตร้อยละ 20 สามารถแบ่งได้เป็น กระป๋องทำจากเหล็กและอลูมิเนียม บรรจุภัณฑ์โลหะมีความแข็งแรง ป้องกันน้ำและก๊าซไม่ให้ซึมผ่านได้ดี แต่มีข้อเสียตรงที่มีรอยต่อและฝา บรรจุภัณฑ์โลหะมีหลายรูปแบบ ได้แก่ กระป๋องบรรจุอาหาร หลอดบีบแบบต่าง ๆ (Collapsible Tube) กระป๋องฉีดพ่น (Aerosol) ถัง (Drum) อลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil) กระป๋องโลหะที่ผลิตได้จะจำหน่ายให้แก่ ผู้ประกอบการในประเทศเกือบทั้งหมด โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหารมีความต้องการใช้กระป๋องโลหะมากที่สุด ประมาณร้อยละ 70 ของความต้องการใช้ทั้งหมด โดยนำไปบรรจุอาหารทะเลและผลิตภัณฑ์ และผักผลไม้ในสัดส่วนใกล้เคียงกันประมาณร้อยละ 40 ใช้บรรจุเครื่องดื่มและนมร้อยละ 15 และร้อยละ 5 ตามลำดับ ส่วนกระป๋องจากแผ่นเหล็กชุบโครเมียมนิยมใช้ในการบรรจุสี สำหรับกระป๋องบรรจุอาหารนั้นมีหลายประเภท เช่น กระป๋องเคลือบดีบุก กระป๋องเคลือบแลคเกอร์ กระป๋องอลูมิเนียม แม้ว่าบรรจุภัณฑ์ประเภทโลหะมีหลายประเภทดังกล่าว แต่กระป๋องโลหะเป็นบรรจุภัณฑ์ประเภทโลหะที่ได้รับความนิยมมากที่สุดมีสัดส่วนการผลิตถึงร้อยละ 75- 80 ของบรรจุภัณฑ์โลหะทั้งหมด และเนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำไปบรรจุสินค้าหลายชนิดโดยเฉพาะสินค้าด้านอาหาร ในขณะที่อุตสาหกรรมอาหารของไทยมีการขยายตัวมากขึ้นจนมีการส่งออกเพิ่มขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมนี้มีการขยายตัวตามไปด้วย ส่วนการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ทำด้วยอลูมิเนียม ในปัจจุบันนิยมใช้หลอดลามิเนตและหลอดพลาสติกแทนหลอดอลูมิเนียมเพิ่มขึ้นมาก ทำให้การผลิตกระป๋องโลหะมีแนวโน้มลดลง ตลาดส่งออกบรรจุภัณฑ์โลหะที่สำคัญของไทย คือ ญี่ปุ่น เวียดนาม หมู่เกาะโซโลมอน มาเลเซีย และออสเตรเลีย
อุตสาหรรมบรรจุภัณฑ์กระดาษ มีสัดส่วนการผลิตร้อยละ 40 สามารถแบ่งย่อยได้เป็นกล่องกระดาษลูกฟูก กล่องกระดาษแข็ง ถุงกระดาษหลายชั้น ถุงกระดาษชั้นเดียว วัตถุดิบสำคัญที่ใช้แตกต่างกันไปตามชนิดของผลิตภัณฑ์ เช่น กล่องกระดาษลูกฟูก ถุงกระดาษชั้นเดียว ถุงกระดาษหลายชั้นทำจากกระดาษคราฟท์ ส่วนกล่องกระดาษแข็งทำจากกระดาษแผ่น บรรจุภัณฑ์กระดาษเป็นบรรจุภัณฑ์ที่นิยมใช้กันมากและมีการขยายตัวค่อนข้างสูง เนื่องจากสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ง่าย มีราคาถูก มีหลากหลายขนาดตามความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท คือ กล่องกระดาษ และถุงกระดาษ โดยกล่องกระดาษที่นิยมใฃ้ในการขนส่งและอุปโภคบริโภค คื่อ กล่องกระดาษลูกฟูกและกล่องกระดาษแข็ง กล่องกระดาษลูกฟูกใช้เพื่อป้องกันสินค้าเสียหาย ในขณะที่กล่องกระดาษแข็งนิยมใช้เพื่อการบรรจุ ส่วนถุงกระดาษนั้นแบ่งเป็นถุงกระดาษหลายชั้น และถุงกระดาษชั้นเดียว ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั่วโลกมีการรณรงค์ให้อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น ทำให้บรรจุภัณฑ์กระดาษซึ่งผลิตจากพืชง่ายต่อการย่อยสลาย สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ มีมูลค่าการใช้ขยายตัวค่อนข้างสูง กระดาษที่นิยมนำมาผลิตบรรจุภัณฑ์กระดาษ ได้แก่ กระดาษคราฟท์และกระดาษแข็ง ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการนำไปใช้งาน ซึ่งถึงแม้ว่ากระดาษจะสามารถนำมาใช้งานได้อย่างแพร่หลายและสามารถนำกระดาษเก่ากลับมาใช้ได้อีก แต่ขณะเดียวกันบรรจุภัณฑ์กระดาษก็มีข้อเสียคือ สามารถตัด พับ และงอได้ง่าย อีกทั้งไม่สามารถป้องกันความชื้นได้ดีนัก นอกจากนี้ น้ำและก๊าซยังสามารถซึมผ่านได้ด้วย ยกเว้นกรณีที่มีการเคลือบด้วยฟิล์ม พลาสติก หรือสารเคมีต่าง ๆ ผู้ประกอบการผลิตส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายย่อยที่มีทุนจดทะเบียนต่ำกว่า 5 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 44.09 และมีประมาณ 23 รายเท่านั้นที่ผลิตหรือรับจ้างผลิตเพื่อส่งออก คิดเป็นร้อยละ 9.06 ของผู้ผลิตกล่องกระดาษทั้งหมด ตลาดส่งออกกล่องกระดาษที่สำคัญของไทย คือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน และจีน
อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์พลาสติก มีสัดส่วนการผลิตร้อยละ 25 สามารถแบ่งย่อยได้เป็นถุงและกระสอบพลาสติก ขวดพลาสติก ถาดพลาสติก ถาดโฟม บรรจุภัณฑ์พลาสติกเป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีสัดส่วนการตลาดสูงที่สุดเมื่อเทียบกับบรรจุภัณฑ์ประเภทอื่น ๆ โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 30-35 ของมูลค่ารวมของบรรจุภัณฑ์ และมีการเติบโตโดยรวมสูงกว่าบรรจุภัณฑ์ประเภทอื่น ๆ เนื่องจากสามารถนำไปใช้งานได้อย่างกว้างขวางและมีรูปทรงที่หลากหลาย เพราะสามารถดัดแปลงเป็นรูปทรงต่าง ๆ ตามความต้องการใช้ของผู้ใช้ได้ง่าย อีกทั้งยังมีการนำมาใช้ทดแทนบรรจุภัณฑ์ประเภทอื่น ๆ อาทิ ขวดแก้ว และกระป๋องโลหะ จึงทำให้มีผู้ผลิตเป็นจำนวนมากและส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตขนาดเล็กกระจัดกระจายอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เนื่องจากอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ยกเว้นผู้ผลิตรายใหญ่ที่จะกระจายการลงทุนไปยังเขตส่งเสริมการลงทุนในเขตต่างๆ แต่มีแนวโน้มว่าผู้ผลิตขนาดกลางจะกระจายการลงทุนไปยังนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในภูมิภาคมากขึ้น เพื่อขอรับสิทธิการส่งเสริมการลงทุน และเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในพื้นที่ต่าง ๆ บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่มีการผลิตมากที่สุด คือ ถุงพลาสติก มีสัดส่วนการผลิตประมาณร้อยละ 52 ของจำนวนผู้ผลิตทั้งหมด รองลงมาคือ กระสอบพลาสติก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ผลิตที่มีขนาดการลงทุนสูงและมีกำลังการผลิตมาก ตลาดของบรรจุภัณฑ์พลาสติกประเภทต่าง ๆ โดยภาพรวมแล้วมีลักษณะแบบตลาดผู้ขายมากราย มีการแข่งขันทั้งในด้านราคา ด้านคุณภาพและรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ โดยผู้ผลิตแต่ละรายพยายามนำเทคนิคการผลิตใหม่ๆ มาใช้ เพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบให้มีลักษณะเหมาะสมและสะดวกต่อการใช้งานในสถานการณ์ต่าง ๆ นอกจากนี้ ราคาจำหน่ายในประเทศยังขึ้นอยู่กับวัตถุดิบและกรรมวิธีที่ใช้ผลิต ผู้ผลิตรายใหญ่มุ่งอุตสาหกรรมการผลิตที่ต้องใช้บรรจุภัณฑ์ไปใช้บรรจุสินค้าของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออก ขณะที่ผู้ผลิตรายย่อยมุ่งตลาดผู้บริโภคในประเทศ โดยให้ความสำคัญกับการผลิตตามคำสั่งซื้อเพื่อป้อนอุตสาหกรรมการผลิตอื่น ๆ เป็นสำคัญ บรรจุภัณฑ์พลาสติกนอกจากจะผลิตเพื่อสนองความต้องการใช้ภายในประเทศ ซึ่งมีถึงร้อยละ 70 แล้ว ยังเป็นการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า ปัจจุบันยังสามารถส่งออกไปจำหน่ายในตลาดต่างประเทศ และนำรายได้เข้าประเทศเป็นมูลค่านับพันล้านบาทในแต่ละปี บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่มีแนวโน้มในการส่งออกที่ดี ได้แก่ ถุง กล่อง กระสอบ ตะกร้า และขวด ทั้งนี้ เนื่องจากได้รับการพัฒนาจนมีคุณภาพได้มาตรฐานและมีรูปแบบเป็นที่นิยมของตลาดต่างประเทศ ประกอบกับผู้ผลิตภายในประเทศมีความได้เปรียบด้านต้นทุนในหลายด้านที่ต่ำกว่าประเทศผู้ผลิตรายอื่น ๆ ที่เป็นคู่แข่ง รวมทั้งการที่ไทยได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรจากประเทศผู้นำเข้าบางประเทศ โดยเฉพาะญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ทำให้ผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์พลาสติกของไทยสามารถขยายตลาดส่งออกไปได้อย่างกว้างขวาง อุตสาหกรรมที่ใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกส่วนใหญ่ ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร รองลงมาได้แก่ อุตสาหกรรมเคมี เช่น เครื่องสำอาง ยาฆ่าแมลง ปุ๋ย และสารเคมีอื่นๆ แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายผลิตภัณฑ์แล้ว ตลาดบรรจุภัณฑ์พลาสติกแต่ละประเภทจะแตกต่างกัน กล่าวคือ ขวดพลาสติกส่วนมากจะจำหน่ายให้แก่โรงงานผลิตน้ำมันพืช โรงงานผลิตเครื่องสำอาง ส่วนโรงงานผลิตหลอดพลาสติก โฟม กระป๋อง เข่ง และลัง ส่วนใหญ่จะจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล่านี้ให้แก่โรงงานแปรรูปอาหาร สำหรับโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกจำพวกถุง ซอง กล่อง ถัง ส่วนใหญ่จะจำหน่ายให้แก่ผู้ใช้บรรจุภัณฑ์ทั่วไป แนวโน้มของการขยายตัวของอุตสาหกรรมอื่นที่ต้องใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกเพื่อห่อหุ้มสินค้ามีจำนวนมากขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์พลาสติกมีการขยายตัวตามไปด้วย ในอนาคตคาดว่าจะมีการหันมาใช้บรรจุภัณฑ์อ่อนตัว (Flexible Packaging) มากขึ้น เช่น ฟิล์มหด (Shrinked Film) และฟิล์มห่อหุ้ม (Wrapped Film) ตลาดหลักที่สำคัญของบรรจุภัณฑ์พลาสติก ได้แก่ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป สหรัฐอเมิรกา และตลาดที่มีศักยภาพของไทยคือ ฮ่องกง
โดยภาพรวมแล้ว ในปี 2543 บรรจุภัณฑ์พลาสติกเป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีส่วนแบ่งตลาดในการส่งออกมากที่สุด ร้อยละ 63.8 รองลงมา ได้แก่ บรรจุภัณฑ์โลหะ ร้อยละ 18.3 บรรจุภัณฑ์กระดาษ ร้อยละ 13.6 และบรรจุภัณฑ์แก้ว ร้อยละ 4.3 ตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ ตลาดอาเซียน และสหภาพยุโรป แหล่งนำเข้าที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น
เนื่องจากปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมกำลังเป็นเรื่องที่ทุกประเทศให้ความสำคัญ ส่งผลให้ตลาดโลกหันมาใข้กลยุทธ์ตลาดสีเขียว (Green Marketing) เพิ่มขึ้น บรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าต่าง ๆ มีส่วนในการสร้างมลพิษแก่สิ่งแวดล้อมโดยตรง ในต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วต่างพยายามลดปริมาณบรรจุภัณฑ์ลงเพื่อลดของเสียจากบรรจุภัณฑ์ ดังที่สหภาพยุโรปได้กำหนดระเบียบเกี่ยวกับ Packaging and Packaging Waste โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการบรรจุภัณฑ์และของเสียจากบรรจุภัณฑ์ เพื่อป้องกันและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้การค้ามีเอกภาพ ลดปัญหาและอุปสรรคทางการค้าและลดปริมาณของเสียด้วยการนำบรรจุภัณฑ์มาใช้ซ้ำหรือนำกลับมาใช้ในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อลดการฝังกลบของเสียซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของสหภาพยุโรป เนื่องจากการขาดแคลนที่ดิน กฎหมายนี้ส่งผลต่อสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่ส่งจากประเทศนอกกลุ่มสหภาพยุโรปเข้าไปจำหน่ายในสหภาพยุโรป ซึ่งผู้นำเข้าของสหภาพยุโรปอาจเรียกร้องให้ผู้ส่งออกปรับเปลี่ยนการใช้วัสดุให้เหมาะสมกับการกำหนดมาตรการดังกล่าว ตลอดจนผู้นำเข้าจะต้องเพิ่มภาระและค่าใช้จ่ายในการแต่งตั้งตัวแทนเพื่อจัดเก็บวัสดุและส่งผลให้ผู้นำเข้าอาจผลักภาระส่วนหนึ่งให้ผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าของไทยและประเทศที่สามที่ผลิตเพื่อส่งออกไปจำหน่ายในสหภาพยุโรปมีราคาสูงขึ้นด้วย ขณะเดียวกันผู้ผลิตและผู้ส่งออกก็ยังต้องรักษาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าให้เป็นไปตามกฎระเบียบของสหภาพยุโรป ตลอดจนคำนึงถึงระดับราคาสินค้าที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้
ดังนั้น แนวทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ผลิตและผู้ส่งออก เพื่อรับมือกับความเข้มงวดจากกฎระเบียบของต่างประเทศที่มีเพิ่มมากขึ้นในเรื่องบรรจุภัณฑ์ ของเสียจากบรรจุภัณฑ์และการนำกลับมาใช้ใหม่นั้น การดำเนินการแบบ Eco-design คือทางออกในการกำจัดหรือลดของเสียจากบรรจุภัณฑ์ โดยพัฒนาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ ผู้ผลิตและผู้ส่งออกต้องเน้นการปรับปรุงให้เกิดปริมาณของเสียจากผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้เหลือน้อยลงในขั้นตอนของการใช้งาน โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับต้นทุนการผลิต การลดการใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ ตลอดจนสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำหรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้ สินค้าที่มีภาพพจน์ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมจะสามารถแข่งขันได้ ผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยจึงควรเลือกใช้วัสดุที่สามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ขณะเดียวกันในระดับประเทศก็ควรมีมาตรการลดและนำของเสียจากบรรจุภัณฑ์ไปใช้ประโยชน์สำหรับสินค้าที่จำหน่ายในประเทศ ไม่ว่าสินค้านั้นจะผลิตในประเทศหรือนำเข้าจากต่างประเทศ โดยต้องเร่งศึกษาและทำความเข้าใจในเรื่องกฎระเบียบและข้อกำหนดต่าง ๆ ของประเทศผู้นำเข้าโดยเฉพาะกฎระเบียบของสหภาพยุโรปว่าด้วยบรรจุภัณฑ์และของเสียจากบรรจุ ซึ่งเป็นที่แน่ชัดว่ากฎระเบียบของ สหภาพยุโรปมีความเข้มงวดมากขึ้นในเรื่องของการนำผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่ โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภค ดังนั้น ประเทศกำลังพัฒนาที่ส่งออกสินค้าไปจำน่ายในสหภาพยุโรปจึงควรเร่งปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมสอดคล้องกับข้อกำหนดของประเทศคู่ค้า เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวต่อไป
หมายเหตุ : รายละเอียดเอกสารฉบับเต็ม ติดต่อได้ที่ กลุ่มงานวิเคราะห์สินค้า 8
กองการค้าสินค้าทั่วไป กรมการค้าต่างประเทศ
44/100 ถนนสนามบินน้ำ-นนทบุรี
จ. นนทบุรี 11000
โทร . 547-4803--จบ--
-อน-
ในการรักษาคุณภาพอาหารไว้บริโภคในยามขาดแคลน หรือเพื่อการจำหน่ายเมื่อมีผลผลิตเหลือใช้ วิธีที่นิยมกันมากคือ การบรรจุภัณฑ์ ในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม (พ.ศ. 2312 - 2343) บรรจุภัณฑ์ทำหน้าที่เพียงป้องกันสินค้าไม่ให้เสียหายในช่วงเวลาสั้น ๆ และก่อให้เกิดความสะดวกในการขนส่งเท่านั้น บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในช่วงนี้มีลักษณะเป็น Bulk Pack เช่น กระสอบ ถังไม้ ลังไม้
ปัจจุบันการบรรจุภัณฑ์ (Packaging) เป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งในการจัดการทางการตลาดสมัยใหม่ นอกหนือจาก Price Place Promotion และ Product การบรรจุภัณฑ์ก็คือ การห่อหุ้มสินค้า ซึ่งช่วยส่งเสริมให้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์เป็นที่ดึงดูดใจของผู้บริโภคและรักษาคุณภาพสินค้าให้มีความสดใหม่ สวยงามและถูกสุขอนามัยอยู่เสมอทั้งนี้ เพื่อสร้างความประทับใจและก่อให้เกิดความต้องการแก่ผู้พบเห็น รวมทั้งมีการนำตราสินค้า (Branding) มาเป็นสื่อในการโฆษณาเพื่อสื่อถึงสรรพคุณ ข้อดีของสินค้าและผู้ผลิต บ่งบอกถึงชื่อเสียงของบริษัทผู้ผลิต และคุณสมบัติของสินค้า ณ จุดขาย นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากการผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรมาเป็นการผลิตและส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมมากขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ขยายตัวและมีบทบาทมากขึ้นในการเป็นอุตสาหกรรมสนับสนุนของอุตสาหกรรมอื่น ๆ และเป็นกิจกรรมที่ดำเนินควบคู่กับอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่ต้องใช้บรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าอาหารแช่เยือกแข็งและอาหารพร้อมรับประทาน
อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ในประเทศไทยสามารถจำแนกได้ 4 ประเภทใหญ่ คือ อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์แก้ว มีสัดส่วนการผลิตร้อยละ 15 เป็นบรรจุภัณฑ์ที่นิยมใช้กันมานานและแพร่หลายมากในปัจจุบัน เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยต่อสินค้าที่บรรจุโดยเฉพาะสินค้าอาหาร ป้องกันการซึมผ่านของก๊าซและไอน้ำได้ดี มีความคงรูปและทนความร้อนได้สูง สวยงาม สามารถใช้ซ้ำหรือหมุนเวียนได้ สำหรับข้อเสียคือ มีน้ำหนักมาก เสี่ยงต่อการแตกหักและราคาค่อนข้างสูง รูปแบบของบรรจุภัณฑ์ประเภทแก้ว กว่าร้อยละ 90 ของปริมาณการผลิตทั้งหมดเป็นขวดแก้ว ซึ่งแบ่งออกเป็นขวดบรรจุอาหาร เช่น ขวดน้ำปลา ขวดเต้าเจี้ยว ขวดซอส ขวดบรรจุเครื่องดื่ม ได้แก่ ขวดเบียร์ ขวดเหล้า ขวดเครื่องดื่มชูกำลัง ขวดน้ำอัดลม นอกจากนี้ยังมีขวดบรรจุยา และขวดบรรจุเครื่องสำอาง ลักษณะของขวดแต่ละชนิดจะแตกต่างกันตามสินค้าที่บรรจุอยู่ภายใน โดยขวดที่ใช้บรรจุอาหารและเครื่องดื่ม มักเป็นขวดที่มีปากแคบ (bottle) ขวดบรรจุยาและเครื่องสำอางมักเป็นขวดที่มีลักษณะปากกว้าง (jar) ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกในการใช้งาน โรงงานที่ทำการผลิตขวดแก้วมักเป็นโรงงานที่มีขนาดใหญ่และมีกำลังการผลิตมาก ใช้เงินลงทุนสูง ผลิตตามคำสั่งซื้อของลูกค้า โดยลูกค้าจะสั่งซื้อล่วงหน้าอย่างน้อย 6 เดือน ในช่วงที่เศรษฐกิจดีจะมีการสั่งซื้อข้ามปี ส่วนใหญ่จะอยู่ในอุตสาหกรรมประเภทเครื่องดื่ม โดยเฉพาะเครื่องดื่มชูกำลังจะใช้ขวดแก้วในการบรรจุทั้งหมด ขณะที่เครื่องดื่มประเภทอื่นหันไปใช้ขวดประเภทอื่นทดแทนขวดแก้วมากขึ้น ดังนั้น การแข่งขันกันในระหว่างผู้ผลิตขวดแก้วจึงมีน้อย ส่วนมากเป็นการแข่งขันด้านราคา ด้านการส่งมอบที่ตรงเวลาและความสามารถที่จะผลิตตอบสนองให้เพียงพอกับความต้องการของลูกค้า แนวโน้มการผลิตขวดแก้วจะผลิตเพื่อจำหน่ายแก่ผู้ใช้ภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่คาดว่าการผลิตขวดแก้วยังคงมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราประมาณร้อยละ 10 ต่อปี โดยเติบโตควบคู่ไปกับการขยายตัวของอุตสาหกรรมน้ำอัดลม เบียร์ สุรา และเครื่องสำอาง ประกอบกับการตื่นตัวในเรื่องสิ่งแวดล้อม ทำให้ผู้บริโภคหันมานิยมใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นขวดแก้วมากขึ้น คู่แข่งที่สำคัญของไทยสำหรับตลาดขวดแก้วคือ อินโดนีเซีย
อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์โลหะ มีสัดส่วนการผลิตร้อยละ 20 สามารถแบ่งได้เป็น กระป๋องทำจากเหล็กและอลูมิเนียม บรรจุภัณฑ์โลหะมีความแข็งแรง ป้องกันน้ำและก๊าซไม่ให้ซึมผ่านได้ดี แต่มีข้อเสียตรงที่มีรอยต่อและฝา บรรจุภัณฑ์โลหะมีหลายรูปแบบ ได้แก่ กระป๋องบรรจุอาหาร หลอดบีบแบบต่าง ๆ (Collapsible Tube) กระป๋องฉีดพ่น (Aerosol) ถัง (Drum) อลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil) กระป๋องโลหะที่ผลิตได้จะจำหน่ายให้แก่ ผู้ประกอบการในประเทศเกือบทั้งหมด โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหารมีความต้องการใช้กระป๋องโลหะมากที่สุด ประมาณร้อยละ 70 ของความต้องการใช้ทั้งหมด โดยนำไปบรรจุอาหารทะเลและผลิตภัณฑ์ และผักผลไม้ในสัดส่วนใกล้เคียงกันประมาณร้อยละ 40 ใช้บรรจุเครื่องดื่มและนมร้อยละ 15 และร้อยละ 5 ตามลำดับ ส่วนกระป๋องจากแผ่นเหล็กชุบโครเมียมนิยมใช้ในการบรรจุสี สำหรับกระป๋องบรรจุอาหารนั้นมีหลายประเภท เช่น กระป๋องเคลือบดีบุก กระป๋องเคลือบแลคเกอร์ กระป๋องอลูมิเนียม แม้ว่าบรรจุภัณฑ์ประเภทโลหะมีหลายประเภทดังกล่าว แต่กระป๋องโลหะเป็นบรรจุภัณฑ์ประเภทโลหะที่ได้รับความนิยมมากที่สุดมีสัดส่วนการผลิตถึงร้อยละ 75- 80 ของบรรจุภัณฑ์โลหะทั้งหมด และเนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำไปบรรจุสินค้าหลายชนิดโดยเฉพาะสินค้าด้านอาหาร ในขณะที่อุตสาหกรรมอาหารของไทยมีการขยายตัวมากขึ้นจนมีการส่งออกเพิ่มขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมนี้มีการขยายตัวตามไปด้วย ส่วนการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ทำด้วยอลูมิเนียม ในปัจจุบันนิยมใช้หลอดลามิเนตและหลอดพลาสติกแทนหลอดอลูมิเนียมเพิ่มขึ้นมาก ทำให้การผลิตกระป๋องโลหะมีแนวโน้มลดลง ตลาดส่งออกบรรจุภัณฑ์โลหะที่สำคัญของไทย คือ ญี่ปุ่น เวียดนาม หมู่เกาะโซโลมอน มาเลเซีย และออสเตรเลีย
อุตสาหรรมบรรจุภัณฑ์กระดาษ มีสัดส่วนการผลิตร้อยละ 40 สามารถแบ่งย่อยได้เป็นกล่องกระดาษลูกฟูก กล่องกระดาษแข็ง ถุงกระดาษหลายชั้น ถุงกระดาษชั้นเดียว วัตถุดิบสำคัญที่ใช้แตกต่างกันไปตามชนิดของผลิตภัณฑ์ เช่น กล่องกระดาษลูกฟูก ถุงกระดาษชั้นเดียว ถุงกระดาษหลายชั้นทำจากกระดาษคราฟท์ ส่วนกล่องกระดาษแข็งทำจากกระดาษแผ่น บรรจุภัณฑ์กระดาษเป็นบรรจุภัณฑ์ที่นิยมใช้กันมากและมีการขยายตัวค่อนข้างสูง เนื่องจากสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ง่าย มีราคาถูก มีหลากหลายขนาดตามความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท คือ กล่องกระดาษ และถุงกระดาษ โดยกล่องกระดาษที่นิยมใฃ้ในการขนส่งและอุปโภคบริโภค คื่อ กล่องกระดาษลูกฟูกและกล่องกระดาษแข็ง กล่องกระดาษลูกฟูกใช้เพื่อป้องกันสินค้าเสียหาย ในขณะที่กล่องกระดาษแข็งนิยมใช้เพื่อการบรรจุ ส่วนถุงกระดาษนั้นแบ่งเป็นถุงกระดาษหลายชั้น และถุงกระดาษชั้นเดียว ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั่วโลกมีการรณรงค์ให้อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น ทำให้บรรจุภัณฑ์กระดาษซึ่งผลิตจากพืชง่ายต่อการย่อยสลาย สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ มีมูลค่าการใช้ขยายตัวค่อนข้างสูง กระดาษที่นิยมนำมาผลิตบรรจุภัณฑ์กระดาษ ได้แก่ กระดาษคราฟท์และกระดาษแข็ง ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการนำไปใช้งาน ซึ่งถึงแม้ว่ากระดาษจะสามารถนำมาใช้งานได้อย่างแพร่หลายและสามารถนำกระดาษเก่ากลับมาใช้ได้อีก แต่ขณะเดียวกันบรรจุภัณฑ์กระดาษก็มีข้อเสียคือ สามารถตัด พับ และงอได้ง่าย อีกทั้งไม่สามารถป้องกันความชื้นได้ดีนัก นอกจากนี้ น้ำและก๊าซยังสามารถซึมผ่านได้ด้วย ยกเว้นกรณีที่มีการเคลือบด้วยฟิล์ม พลาสติก หรือสารเคมีต่าง ๆ ผู้ประกอบการผลิตส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายย่อยที่มีทุนจดทะเบียนต่ำกว่า 5 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 44.09 และมีประมาณ 23 รายเท่านั้นที่ผลิตหรือรับจ้างผลิตเพื่อส่งออก คิดเป็นร้อยละ 9.06 ของผู้ผลิตกล่องกระดาษทั้งหมด ตลาดส่งออกกล่องกระดาษที่สำคัญของไทย คือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน และจีน
อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์พลาสติก มีสัดส่วนการผลิตร้อยละ 25 สามารถแบ่งย่อยได้เป็นถุงและกระสอบพลาสติก ขวดพลาสติก ถาดพลาสติก ถาดโฟม บรรจุภัณฑ์พลาสติกเป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีสัดส่วนการตลาดสูงที่สุดเมื่อเทียบกับบรรจุภัณฑ์ประเภทอื่น ๆ โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 30-35 ของมูลค่ารวมของบรรจุภัณฑ์ และมีการเติบโตโดยรวมสูงกว่าบรรจุภัณฑ์ประเภทอื่น ๆ เนื่องจากสามารถนำไปใช้งานได้อย่างกว้างขวางและมีรูปทรงที่หลากหลาย เพราะสามารถดัดแปลงเป็นรูปทรงต่าง ๆ ตามความต้องการใช้ของผู้ใช้ได้ง่าย อีกทั้งยังมีการนำมาใช้ทดแทนบรรจุภัณฑ์ประเภทอื่น ๆ อาทิ ขวดแก้ว และกระป๋องโลหะ จึงทำให้มีผู้ผลิตเป็นจำนวนมากและส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตขนาดเล็กกระจัดกระจายอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เนื่องจากอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ยกเว้นผู้ผลิตรายใหญ่ที่จะกระจายการลงทุนไปยังเขตส่งเสริมการลงทุนในเขตต่างๆ แต่มีแนวโน้มว่าผู้ผลิตขนาดกลางจะกระจายการลงทุนไปยังนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในภูมิภาคมากขึ้น เพื่อขอรับสิทธิการส่งเสริมการลงทุน และเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในพื้นที่ต่าง ๆ บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่มีการผลิตมากที่สุด คือ ถุงพลาสติก มีสัดส่วนการผลิตประมาณร้อยละ 52 ของจำนวนผู้ผลิตทั้งหมด รองลงมาคือ กระสอบพลาสติก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ผลิตที่มีขนาดการลงทุนสูงและมีกำลังการผลิตมาก ตลาดของบรรจุภัณฑ์พลาสติกประเภทต่าง ๆ โดยภาพรวมแล้วมีลักษณะแบบตลาดผู้ขายมากราย มีการแข่งขันทั้งในด้านราคา ด้านคุณภาพและรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ โดยผู้ผลิตแต่ละรายพยายามนำเทคนิคการผลิตใหม่ๆ มาใช้ เพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบให้มีลักษณะเหมาะสมและสะดวกต่อการใช้งานในสถานการณ์ต่าง ๆ นอกจากนี้ ราคาจำหน่ายในประเทศยังขึ้นอยู่กับวัตถุดิบและกรรมวิธีที่ใช้ผลิต ผู้ผลิตรายใหญ่มุ่งอุตสาหกรรมการผลิตที่ต้องใช้บรรจุภัณฑ์ไปใช้บรรจุสินค้าของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออก ขณะที่ผู้ผลิตรายย่อยมุ่งตลาดผู้บริโภคในประเทศ โดยให้ความสำคัญกับการผลิตตามคำสั่งซื้อเพื่อป้อนอุตสาหกรรมการผลิตอื่น ๆ เป็นสำคัญ บรรจุภัณฑ์พลาสติกนอกจากจะผลิตเพื่อสนองความต้องการใช้ภายในประเทศ ซึ่งมีถึงร้อยละ 70 แล้ว ยังเป็นการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า ปัจจุบันยังสามารถส่งออกไปจำหน่ายในตลาดต่างประเทศ และนำรายได้เข้าประเทศเป็นมูลค่านับพันล้านบาทในแต่ละปี บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่มีแนวโน้มในการส่งออกที่ดี ได้แก่ ถุง กล่อง กระสอบ ตะกร้า และขวด ทั้งนี้ เนื่องจากได้รับการพัฒนาจนมีคุณภาพได้มาตรฐานและมีรูปแบบเป็นที่นิยมของตลาดต่างประเทศ ประกอบกับผู้ผลิตภายในประเทศมีความได้เปรียบด้านต้นทุนในหลายด้านที่ต่ำกว่าประเทศผู้ผลิตรายอื่น ๆ ที่เป็นคู่แข่ง รวมทั้งการที่ไทยได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรจากประเทศผู้นำเข้าบางประเทศ โดยเฉพาะญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ทำให้ผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์พลาสติกของไทยสามารถขยายตลาดส่งออกไปได้อย่างกว้างขวาง อุตสาหกรรมที่ใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกส่วนใหญ่ ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร รองลงมาได้แก่ อุตสาหกรรมเคมี เช่น เครื่องสำอาง ยาฆ่าแมลง ปุ๋ย และสารเคมีอื่นๆ แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายผลิตภัณฑ์แล้ว ตลาดบรรจุภัณฑ์พลาสติกแต่ละประเภทจะแตกต่างกัน กล่าวคือ ขวดพลาสติกส่วนมากจะจำหน่ายให้แก่โรงงานผลิตน้ำมันพืช โรงงานผลิตเครื่องสำอาง ส่วนโรงงานผลิตหลอดพลาสติก โฟม กระป๋อง เข่ง และลัง ส่วนใหญ่จะจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล่านี้ให้แก่โรงงานแปรรูปอาหาร สำหรับโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกจำพวกถุง ซอง กล่อง ถัง ส่วนใหญ่จะจำหน่ายให้แก่ผู้ใช้บรรจุภัณฑ์ทั่วไป แนวโน้มของการขยายตัวของอุตสาหกรรมอื่นที่ต้องใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกเพื่อห่อหุ้มสินค้ามีจำนวนมากขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์พลาสติกมีการขยายตัวตามไปด้วย ในอนาคตคาดว่าจะมีการหันมาใช้บรรจุภัณฑ์อ่อนตัว (Flexible Packaging) มากขึ้น เช่น ฟิล์มหด (Shrinked Film) และฟิล์มห่อหุ้ม (Wrapped Film) ตลาดหลักที่สำคัญของบรรจุภัณฑ์พลาสติก ได้แก่ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป สหรัฐอเมิรกา และตลาดที่มีศักยภาพของไทยคือ ฮ่องกง
โดยภาพรวมแล้ว ในปี 2543 บรรจุภัณฑ์พลาสติกเป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีส่วนแบ่งตลาดในการส่งออกมากที่สุด ร้อยละ 63.8 รองลงมา ได้แก่ บรรจุภัณฑ์โลหะ ร้อยละ 18.3 บรรจุภัณฑ์กระดาษ ร้อยละ 13.6 และบรรจุภัณฑ์แก้ว ร้อยละ 4.3 ตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ ตลาดอาเซียน และสหภาพยุโรป แหล่งนำเข้าที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น
เนื่องจากปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมกำลังเป็นเรื่องที่ทุกประเทศให้ความสำคัญ ส่งผลให้ตลาดโลกหันมาใข้กลยุทธ์ตลาดสีเขียว (Green Marketing) เพิ่มขึ้น บรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าต่าง ๆ มีส่วนในการสร้างมลพิษแก่สิ่งแวดล้อมโดยตรง ในต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วต่างพยายามลดปริมาณบรรจุภัณฑ์ลงเพื่อลดของเสียจากบรรจุภัณฑ์ ดังที่สหภาพยุโรปได้กำหนดระเบียบเกี่ยวกับ Packaging and Packaging Waste โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการบรรจุภัณฑ์และของเสียจากบรรจุภัณฑ์ เพื่อป้องกันและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้การค้ามีเอกภาพ ลดปัญหาและอุปสรรคทางการค้าและลดปริมาณของเสียด้วยการนำบรรจุภัณฑ์มาใช้ซ้ำหรือนำกลับมาใช้ในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อลดการฝังกลบของเสียซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของสหภาพยุโรป เนื่องจากการขาดแคลนที่ดิน กฎหมายนี้ส่งผลต่อสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่ส่งจากประเทศนอกกลุ่มสหภาพยุโรปเข้าไปจำหน่ายในสหภาพยุโรป ซึ่งผู้นำเข้าของสหภาพยุโรปอาจเรียกร้องให้ผู้ส่งออกปรับเปลี่ยนการใช้วัสดุให้เหมาะสมกับการกำหนดมาตรการดังกล่าว ตลอดจนผู้นำเข้าจะต้องเพิ่มภาระและค่าใช้จ่ายในการแต่งตั้งตัวแทนเพื่อจัดเก็บวัสดุและส่งผลให้ผู้นำเข้าอาจผลักภาระส่วนหนึ่งให้ผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าของไทยและประเทศที่สามที่ผลิตเพื่อส่งออกไปจำหน่ายในสหภาพยุโรปมีราคาสูงขึ้นด้วย ขณะเดียวกันผู้ผลิตและผู้ส่งออกก็ยังต้องรักษาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าให้เป็นไปตามกฎระเบียบของสหภาพยุโรป ตลอดจนคำนึงถึงระดับราคาสินค้าที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้
ดังนั้น แนวทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ผลิตและผู้ส่งออก เพื่อรับมือกับความเข้มงวดจากกฎระเบียบของต่างประเทศที่มีเพิ่มมากขึ้นในเรื่องบรรจุภัณฑ์ ของเสียจากบรรจุภัณฑ์และการนำกลับมาใช้ใหม่นั้น การดำเนินการแบบ Eco-design คือทางออกในการกำจัดหรือลดของเสียจากบรรจุภัณฑ์ โดยพัฒนาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ ผู้ผลิตและผู้ส่งออกต้องเน้นการปรับปรุงให้เกิดปริมาณของเสียจากผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้เหลือน้อยลงในขั้นตอนของการใช้งาน โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับต้นทุนการผลิต การลดการใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ ตลอดจนสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำหรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้ สินค้าที่มีภาพพจน์ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมจะสามารถแข่งขันได้ ผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยจึงควรเลือกใช้วัสดุที่สามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ขณะเดียวกันในระดับประเทศก็ควรมีมาตรการลดและนำของเสียจากบรรจุภัณฑ์ไปใช้ประโยชน์สำหรับสินค้าที่จำหน่ายในประเทศ ไม่ว่าสินค้านั้นจะผลิตในประเทศหรือนำเข้าจากต่างประเทศ โดยต้องเร่งศึกษาและทำความเข้าใจในเรื่องกฎระเบียบและข้อกำหนดต่าง ๆ ของประเทศผู้นำเข้าโดยเฉพาะกฎระเบียบของสหภาพยุโรปว่าด้วยบรรจุภัณฑ์และของเสียจากบรรจุ ซึ่งเป็นที่แน่ชัดว่ากฎระเบียบของ สหภาพยุโรปมีความเข้มงวดมากขึ้นในเรื่องของการนำผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่ โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภค ดังนั้น ประเทศกำลังพัฒนาที่ส่งออกสินค้าไปจำน่ายในสหภาพยุโรปจึงควรเร่งปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมสอดคล้องกับข้อกำหนดของประเทศคู่ค้า เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวต่อไป
หมายเหตุ : รายละเอียดเอกสารฉบับเต็ม ติดต่อได้ที่ กลุ่มงานวิเคราะห์สินค้า 8
กองการค้าสินค้าทั่วไป กรมการค้าต่างประเทศ
44/100 ถนนสนามบินน้ำ-นนทบุรี
จ. นนทบุรี 11000
โทร . 547-4803--จบ--
-อน-