กรุงเทพฯ--8 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เวียดนามได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมกรอบความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-คงคาระดับ รัฐมนตรีครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2544 ณ กรุงฮานอย โดยมีนายเหวียน หมั่น เกิม (Mr. Nguyen Manh Cam) รองนายกรัฐมนตรีเวียดนามเป็นผู้กล่าวเปิดการประชุม และมีรัฐมนตรีจากประเทศสมาชิก 6 ประเทศเข้าร่วมด้วย คือ กัมพูชา เวียดนาม ลาว พม่า อินเดีย และไทย โดย ดร.ประชา คุณะเกษม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วมการประชุม ในฐานะผู้แทนพิเศษเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย และมีนายสมสะหวาด เล่งสะหวัด รองนายก รัฐมนตรีลาวและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลาวเป็นประธานการประชุม
หัวหน้าคณะผู้แทนประเทศสมาชิกกรอบความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-คงคาทั้ง 6 ประเทศได้ลงนามรับรองแผนปฏิบัติการฮานอยซึ่งเป็นแผนกำหนดแนวทางการดำเนินงานของกรอบความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-คงคา ใน 4 สาขา คือ สาขาท่องเที่ยว สาขาวัฒนธรรม สาขาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และสาขาคมนาคมขนส่ง โดยมีระยะเวลาการดำเนินการ 6 ปี
สาขาการท่องเที่ยวซึ่งมีประเทศไทยเป็นประธานคณะทำงาน ได้กำหนดกิจกรรม ต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างประเทศสมาชิกลุ่มแม่น้ำโขง-คงคาไว้ หลายด้าน เช่น การส่งเสริมการกำหนดกลยุทธ์การตลาดร่วมกัน จัดโครงการเยือนของสื่อมวลชนระหว่างประเทศสมาชิกและจากต่างประเทศ จัดโปรแกรมท่องเที่ยวเชื่อมโยงประเทศสมาชิกมากกว่าหนึ่งประเทศ จัดโปรแกรมท่องเที่ยวระหว่างชายแดนและตามเส้นทาง Asian Highway จัดโปรแกรม ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จัดนิทรรศการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและสถานที่ทาง ประวัติศาสตร์ การฝึกอบรมบุคลากรด้านการท่องเที่ยว และการอำนวยความสะดวกด้านการตรวจ ลงตราระหว่างประเทศสมาชิกโดยปรับปรุงรูปแบบการตรวจลงตราให้ง่ายและสะดวกรวดเร็วขึ้น และให้มีการเชื่อมเส้นทางบินระหว่างเมืองใหญ่ๆ ของประเทศสมาชิก
สำหรับสาขาวัฒนธรรม ซึ่งมีกัมพูชาเป็นประธาน ได้เน้นกิจกรรมที่เกี่ยวกับ การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และบูรณะสถานที่สำคัญทางมรดกด้านวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์และโบราณวัตถุรวมทั้งเอกสารโบราณ การจัดพิมพ์วรรณคดีประจำชาติของประเทศสมาชิก การจัดโปรแกรม ท่องเที่ยวราคาถูกตามสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม การขยายตลาดสินค้าทางวัฒนธรรม และการจัดงานแสดงสินค้าทางวัฒนธรรม
สำหรับสาขาคมนาคมขนส่ง ซึ่งมีลาวเป็นประธาน ความสำคัญลำดับแรกจะเน้น การสร้างถนนเชื่อมโยงเมืองหลวงของประเทศสมาชิกและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการคมนาคมขนส่งและสื่อสาร
สำหรับสาขาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งมีอินเดียเป็นประธาน ได้เน้นเรื่องการส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศระหว่างประเทศสมาชิก โดยได้รับความร่วมมือและช่วยเหลือจากอินเดีย เป็นสำคัญ
ทั้งนี้ ที่ประชุมกรอบความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-คงคาได้ตกลงให้ทบทวนผลการดำเนินงานความร่วมมือทั้ง 4 สาขาทุก ๆ 2 ปี และจะมีการประชุมระดับรัฐมนตรีและการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสระหว่างประเทศสมาชิกเป็นประจำทุกๆ ปี
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7--จบ--
-อน-
เวียดนามได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมกรอบความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-คงคาระดับ รัฐมนตรีครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2544 ณ กรุงฮานอย โดยมีนายเหวียน หมั่น เกิม (Mr. Nguyen Manh Cam) รองนายกรัฐมนตรีเวียดนามเป็นผู้กล่าวเปิดการประชุม และมีรัฐมนตรีจากประเทศสมาชิก 6 ประเทศเข้าร่วมด้วย คือ กัมพูชา เวียดนาม ลาว พม่า อินเดีย และไทย โดย ดร.ประชา คุณะเกษม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วมการประชุม ในฐานะผู้แทนพิเศษเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย และมีนายสมสะหวาด เล่งสะหวัด รองนายก รัฐมนตรีลาวและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลาวเป็นประธานการประชุม
หัวหน้าคณะผู้แทนประเทศสมาชิกกรอบความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-คงคาทั้ง 6 ประเทศได้ลงนามรับรองแผนปฏิบัติการฮานอยซึ่งเป็นแผนกำหนดแนวทางการดำเนินงานของกรอบความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-คงคา ใน 4 สาขา คือ สาขาท่องเที่ยว สาขาวัฒนธรรม สาขาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และสาขาคมนาคมขนส่ง โดยมีระยะเวลาการดำเนินการ 6 ปี
สาขาการท่องเที่ยวซึ่งมีประเทศไทยเป็นประธานคณะทำงาน ได้กำหนดกิจกรรม ต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างประเทศสมาชิกลุ่มแม่น้ำโขง-คงคาไว้ หลายด้าน เช่น การส่งเสริมการกำหนดกลยุทธ์การตลาดร่วมกัน จัดโครงการเยือนของสื่อมวลชนระหว่างประเทศสมาชิกและจากต่างประเทศ จัดโปรแกรมท่องเที่ยวเชื่อมโยงประเทศสมาชิกมากกว่าหนึ่งประเทศ จัดโปรแกรมท่องเที่ยวระหว่างชายแดนและตามเส้นทาง Asian Highway จัดโปรแกรม ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จัดนิทรรศการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและสถานที่ทาง ประวัติศาสตร์ การฝึกอบรมบุคลากรด้านการท่องเที่ยว และการอำนวยความสะดวกด้านการตรวจ ลงตราระหว่างประเทศสมาชิกโดยปรับปรุงรูปแบบการตรวจลงตราให้ง่ายและสะดวกรวดเร็วขึ้น และให้มีการเชื่อมเส้นทางบินระหว่างเมืองใหญ่ๆ ของประเทศสมาชิก
สำหรับสาขาวัฒนธรรม ซึ่งมีกัมพูชาเป็นประธาน ได้เน้นกิจกรรมที่เกี่ยวกับ การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และบูรณะสถานที่สำคัญทางมรดกด้านวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์และโบราณวัตถุรวมทั้งเอกสารโบราณ การจัดพิมพ์วรรณคดีประจำชาติของประเทศสมาชิก การจัดโปรแกรม ท่องเที่ยวราคาถูกตามสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม การขยายตลาดสินค้าทางวัฒนธรรม และการจัดงานแสดงสินค้าทางวัฒนธรรม
สำหรับสาขาคมนาคมขนส่ง ซึ่งมีลาวเป็นประธาน ความสำคัญลำดับแรกจะเน้น การสร้างถนนเชื่อมโยงเมืองหลวงของประเทศสมาชิกและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการคมนาคมขนส่งและสื่อสาร
สำหรับสาขาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งมีอินเดียเป็นประธาน ได้เน้นเรื่องการส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศระหว่างประเทศสมาชิก โดยได้รับความร่วมมือและช่วยเหลือจากอินเดีย เป็นสำคัญ
ทั้งนี้ ที่ประชุมกรอบความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-คงคาได้ตกลงให้ทบทวนผลการดำเนินงานความร่วมมือทั้ง 4 สาขาทุก ๆ 2 ปี และจะมีการประชุมระดับรัฐมนตรีและการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสระหว่างประเทศสมาชิกเป็นประจำทุกๆ ปี
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7--จบ--
-อน-