แท็ก
อัตราดอกเบี้ย
1. สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องโดยรวมยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง แม้จะตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงครึ่งหลังของเดือน อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.15 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ย Overnight Interbank เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.16 ต่อปี สภาพคล่องของระบบการเงินโดยรวม เดือนสิงหาคม ยังคงอยู่ในระดับสูง โดยสภาพคล่องเงินบาทได้ปรับตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงครึ่งหลังของเดือน จากการที่ธนาคารออมสินมีการโอนเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ ให้รัฐบาล ประกอบกับภาครัฐมีการจำหน่ายตราสารหนี้ มากกว่าที่กำหนด และสถาบันการเงินสำรองสภาพคล่องไว้เพื่อการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลงวดครึ่งปี ซึ่งจะจ่ายในช่วงปลายเดือน
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำ ตามภาวะสภาพคล่องที่มีอยู่สูง ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน และอัตราดอกเบี้ย Overnight Interbank เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.15 และ 2.16 ต่อปีตามลำดับ
การลงทุนของสถาบันการเงินในตลาดซื้อคืน พันธบัตร ธนาคารพาณิชย์มีการลงทุนในตลาดซื้อคืนลดลง จากเดือนก่อน โดยฐานะการลงทุนสุทธิลดลงจาก 125 พันล้านบาทเมื่อสิ้นเดือนกรกฎาคม เป็น 113 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2544 ส่วนการลงทุนในตลาดซื้อคืนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจและสถาบันการเงินอื่นๆ ค่อนข้างทรงตัว
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่ง ยังคงอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 2.50 และ 7.375 ต่อปีตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดกลาง และเล็ก และสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศบางแห่ง มีการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืม เพื่อปรับต้นทุนและโครงสร้างการระดมทุนให้เหมาะสม
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ที่แท้จริง เดือนสิงหาคม อัตราเงินเฟ้อลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.4 ต่อปี ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ที่แท้จริงของธนาคารพาณิชย์ไทย ขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่งปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 1.1 และ 5.975 ต่อปี ตามลำดับ
2. เงินฝากและสินเชื่อภาคเอกชนของระบบธนาคารพาณิชย์
เงินฝากและสินเชื่อภาคเอกชนปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม มียอดคงค้าง 4,944.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.5 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 ต่อปี ชะลอลงจากช่วงต้นปี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะในเดือนสิงหาคม ประชาชนมีการถอนเงินฝาก เพื่อนำไปซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ของภาครัฐ ประกอบกับ ภาคธุรกิจเอกชนมีการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลงวดครึ่งปี
สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสินเชื่อ กิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) มียอดคงค้าง 4,585.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 37.2 พันล้านบาทจากเดือนก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการปล่อยสินเชื่อ Non-BIBF ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่และสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อ BIBF ในรูปดอลลาร์ สรอ. ทรงตัวอยู่ที่ประมาณ 7.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
สำหรับ สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณ สินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม มียอด คงค้าง 5,164.9 พันล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน (ข้อมูลเบื้องต้น)
3. ฐานเงินและปริมาณเงิน
ฐานเงินและปริมาณเงินปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนสิงหาคม มียอดคงค้าง 505.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 500.7 พันล้านบาท เมื่อสิ้นเดือนกรกฎาคม โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของเงินสดในมือประชาชน
สำหรับปัจจัยด้านอุปทานที่สำคัญที่ทำให้ฐานเงินเปลี่ยนแปลง ได้แก่ 1) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับภาครัฐ ลดลง เนื่องจากการเกินดุลเงินสดของภาครัฐ จากการชำระภาษี เงินได้นิติบุคคลงวดครึ่งปีของธุรกิจเอกชน 2) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับสถาบันการเงิน เพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เนื่องจาก ธปท. เพิ่มการให้กู้ยืมในตลาดซื้อคืนพันธบัตร เพื่อเสริมสภาพคล่องในระบบในช่วงสิ้นเดือน
ปริมาณเงิน M2A และ M3 ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของเงินฝาก ที่ระบบสถาบันการเงิน
ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม ปริมาณเงิน M2A มียอดคงค้าง 5,413.3 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการ ขยายตัวร้อยละ 4.4 ต่อปี ขณะที่ยอดคงค้างของปริมาณเงิน M3 เท่ากับ 6,136.9 พันล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 ต่อปี
4. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรอง
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับเพิ่มขึ้นในช่วงปลายเดือน
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรอง ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงต้นเดือนสิงหาคม โดยเฉพาะช่วงอายุ 3-7 ปี เนื่องจากตลาดคาดว่าจะมีการออกพันธบัตรเพื่อชดเชยความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จำนวน 320 พันล้านบาท
ในช่วงครึ่งหลังของเดือน อัตราผลตอบแทน พันธบัตรรัฐบาลปรับลดลง โดยมีปัจจัยจากการปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
เทียบกับสิ้นเดือนก่อน อัตราผลตอบแทนระยะ 1-3 ปี ปรับลดลง 5-15 bps. ขณะที่อัตราผลตอบแทนระยะ 5-18 ปี ปรับเพิ่มขึ้น 6-25 bps
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
สภาพคล่องโดยรวมยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง แม้จะตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงครึ่งหลังของเดือน อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.15 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ย Overnight Interbank เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.16 ต่อปี สภาพคล่องของระบบการเงินโดยรวม เดือนสิงหาคม ยังคงอยู่ในระดับสูง โดยสภาพคล่องเงินบาทได้ปรับตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงครึ่งหลังของเดือน จากการที่ธนาคารออมสินมีการโอนเงินจากการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ ให้รัฐบาล ประกอบกับภาครัฐมีการจำหน่ายตราสารหนี้ มากกว่าที่กำหนด และสถาบันการเงินสำรองสภาพคล่องไว้เพื่อการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลงวดครึ่งปี ซึ่งจะจ่ายในช่วงปลายเดือน
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำ ตามภาวะสภาพคล่องที่มีอยู่สูง ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน และอัตราดอกเบี้ย Overnight Interbank เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.15 และ 2.16 ต่อปีตามลำดับ
การลงทุนของสถาบันการเงินในตลาดซื้อคืน พันธบัตร ธนาคารพาณิชย์มีการลงทุนในตลาดซื้อคืนลดลง จากเดือนก่อน โดยฐานะการลงทุนสุทธิลดลงจาก 125 พันล้านบาทเมื่อสิ้นเดือนกรกฎาคม เป็น 113 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2544 ส่วนการลงทุนในตลาดซื้อคืนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจและสถาบันการเงินอื่นๆ ค่อนข้างทรงตัว
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่ง ยังคงอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 2.50 และ 7.375 ต่อปีตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดกลาง และเล็ก และสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศบางแห่ง มีการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืม เพื่อปรับต้นทุนและโครงสร้างการระดมทุนให้เหมาะสม
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ที่แท้จริง เดือนสิงหาคม อัตราเงินเฟ้อลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.4 ต่อปี ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ที่แท้จริงของธนาคารพาณิชย์ไทย ขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่งปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 1.1 และ 5.975 ต่อปี ตามลำดับ
2. เงินฝากและสินเชื่อภาคเอกชนของระบบธนาคารพาณิชย์
เงินฝากและสินเชื่อภาคเอกชนปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม มียอดคงค้าง 4,944.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.5 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 ต่อปี ชะลอลงจากช่วงต้นปี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะในเดือนสิงหาคม ประชาชนมีการถอนเงินฝาก เพื่อนำไปซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ของภาครัฐ ประกอบกับ ภาคธุรกิจเอกชนมีการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลงวดครึ่งปี
สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสินเชื่อ กิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) มียอดคงค้าง 4,585.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 37.2 พันล้านบาทจากเดือนก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการปล่อยสินเชื่อ Non-BIBF ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่และสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อ BIBF ในรูปดอลลาร์ สรอ. ทรงตัวอยู่ที่ประมาณ 7.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
สำหรับ สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณ สินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม มียอด คงค้าง 5,164.9 พันล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน (ข้อมูลเบื้องต้น)
3. ฐานเงินและปริมาณเงิน
ฐานเงินและปริมาณเงินปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนสิงหาคม มียอดคงค้าง 505.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 500.7 พันล้านบาท เมื่อสิ้นเดือนกรกฎาคม โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของเงินสดในมือประชาชน
สำหรับปัจจัยด้านอุปทานที่สำคัญที่ทำให้ฐานเงินเปลี่ยนแปลง ได้แก่ 1) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับภาครัฐ ลดลง เนื่องจากการเกินดุลเงินสดของภาครัฐ จากการชำระภาษี เงินได้นิติบุคคลงวดครึ่งปีของธุรกิจเอกชน 2) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับสถาบันการเงิน เพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เนื่องจาก ธปท. เพิ่มการให้กู้ยืมในตลาดซื้อคืนพันธบัตร เพื่อเสริมสภาพคล่องในระบบในช่วงสิ้นเดือน
ปริมาณเงิน M2A และ M3 ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของเงินฝาก ที่ระบบสถาบันการเงิน
ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม ปริมาณเงิน M2A มียอดคงค้าง 5,413.3 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการ ขยายตัวร้อยละ 4.4 ต่อปี ขณะที่ยอดคงค้างของปริมาณเงิน M3 เท่ากับ 6,136.9 พันล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 ต่อปี
4. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรอง
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับเพิ่มขึ้นในช่วงปลายเดือน
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรอง ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงต้นเดือนสิงหาคม โดยเฉพาะช่วงอายุ 3-7 ปี เนื่องจากตลาดคาดว่าจะมีการออกพันธบัตรเพื่อชดเชยความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จำนวน 320 พันล้านบาท
ในช่วงครึ่งหลังของเดือน อัตราผลตอบแทน พันธบัตรรัฐบาลปรับลดลง โดยมีปัจจัยจากการปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
เทียบกับสิ้นเดือนก่อน อัตราผลตอบแทนระยะ 1-3 ปี ปรับลดลง 5-15 bps. ขณะที่อัตราผลตอบแทนระยะ 5-18 ปี ปรับเพิ่มขึ้น 6-25 bps
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-