บันทึกการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๓๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)

ข่าวการเมือง Monday November 5, 2001 13:18 —รัฐสภา

                                        บันทึกการประชุมวุฒิสภา
ครั้งที่ ๓๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันศุกร์ที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๓๕ นาฬิกา
เมื่อสมาชิกฯ มาครบองค์ประชุมแล้ว พลตรี มนูญกฤต รูปขจร ประธานวุฒิสภา
นายพิเชฐ พัฒนโชติ รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง และนายบุญทัน ดอกไธสง รองประธานวุฒิสภา
คนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
ประธานวุฒิสภาได้กล่าวเปิดประชุม แล้วแจ้งให้ที่ประชุมรับทราบว่าในคราวประชุม
สภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๔ ที่ประชุมได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับ
การแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ….
และร่างพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. …. ซึ่งวุฒิสภาได้แก้ไขเพิ่มเติม และกำหนด
จำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็นคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
จำนวนสภาละ ๑๒ คน ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๑๗๕ (๓)
ต่อมา ประธานวุฒิสภาได้เสนอให้ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุมวุฒิสภา
ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันศุกร์ที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๔๔
ครั้งที่ ๒ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๔
ครั้งที่ ๓ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันศุกร์ที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๔๔
ครั้งที่ ๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๔๔
ครั้งที่ ๖ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๔
ครั้งที่ ๗ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันศุกร์ที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๔๔
ครั้งที่ ๘ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๔
ครั้งที่ ๙ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันศุกร์ที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๔ และ
ครั้งที่ ๑๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันศุกร์ที่ ๗ กันยายน ๒๕๔๔
ซึ่งที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมทั้ง ๙ ครั้งดังกล่าว
จากนั้น ประธานวุฒิสภาได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องตามระเบียบวาระ
เรื่องด่วน ตามลำดับ ดังนี้
๑. ตั้งกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิก
สภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. …. ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ตั้งกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภา
จำนวน ๑๒ คน ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ประกอบด้วย
๑. นายเกษม รุ่งธนเกียรติ ๒. นายถาวร เกียรติไชยากร
๓. นายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ๔. นายปรีชา ปิตานนท์
๕. พลตำรวจเอก วิรุฬห์ พื้นแสน ๖. นายสงวน นันทชาติ
๗. นายสมศักดิ์ โล่สถาพรพิพิธ ๘. นายสันติภาพ อินทรพัฒน์
๙. นายสุพร สุภสร ๑๐. นายไสว พราหมณี
๑๑. นายอมร นิลเปรม ๑๒. นายอุดร ตันติสุนทร
๒. ตั้งกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน
พ.ศ. …. ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ตั้งกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภา จำนวน ๑๒ คน ประกอบเป็น
คณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ประกอบด้วย
๑. นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ๒. นายณรงค์ นุ่นทอง
๓. นายนิรัตน์ อยู่ภักดี ๔. นายมีชัย วีระไวทยะ
๕. นายวิชัย ครองยุติ ๖. นายวิเชียร เปาอินทร์
๗. นายวิโรจน์ อมตกุลชัย ๘. พลเอก ศิริ ทิวะพันธุ์
๙. นายสมเกียรติ อ่อนวิมล ๑๐. นายสัก กอแสงเรือง
๑๑. นายสุรใจ ศิรินุพงศ์ ๑๒. นางอรัญญา สุจนิล
ต่อมา ประธานวุฒิสภาได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอนำเรื่อง ตั้งกรรมาธิการสามัญ
และวิสามัญ แทนตำแหน่งที่ว่าง รวม ๒ คณะ ให้ที่ประชุมพิจารณา ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ
ประธานวุฒิสภาจึงเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องดังกล่าว ตามลำดับ ดังนี้
๑. ตั้งกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภาแทนตำแหน่งที่ว่าง ๑ ตำแหน่ง
ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ตั้ง นายจอน อึ๊งภากรณ์ เป็นกรรมาธิการแทน นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
ซึ่งขอลาออกจากตำแหน่ง
๒. ตั้งกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงานแทนตำแหน่งที่ว่าง
๑ ตำแหน่ง ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ตั้ง นายพา อักษรเสือ เป็นกรรมาธิการแทน นายทวี แก้วคง
ซึ่งขอลาออกจากตำแหน่ง
จากนั้น ประธานวุฒิสภาได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องตามระเบียบวาระ
เรื่องด่วน ตามลำดับ ดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว ที่ประชุมได้พิจารณาในวาระที่ ๒ เริ่มต้นด้วย
ชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง และลงมติในวาระที่ ๓ เห็นชอบด้วยกับ
สภาผู้แทนราษฎร
๒. ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีประจำ
สำนักนายกรัฐมนตรี (พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา) ตอบชี้แจงแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติ
ในวาระที่ ๑ รับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา
จำนวน ๒๕ คน ประกอบด้วย
๑. นายสันติภาพ อินทรพัฒน์ ๒. พลตำรวจตรี สนาม คงเมือง
๓. นายสหัส พินทุเสนีย์ ๔. นายพา อักษรเสือ
๕. พลตำรวจตรี อำพล งามจิตร ๖. นายอิมรอน มะลูลีม
๗. พลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย ๘. นายทวีป ขวัญบุรี
๙. พลตำรวจเอก มีชัย นุกูลกิจ ๑๐. นายมีชัย วีระไวทยะ
๑๑. นายวงศ์พันธ์ ณ ตะกั่วทุ่ง ๑๒. พันตำรวจเอก สุรพงศ์ ไผ่นวล
๑๓. นายสุรสิทธิ์ ฉัตรชัยเดช ๑๔. นายนพดล สมบูรณ์
๑๕. นายคำพันธ์ ป้องปาน ๑๖. นายพากเพียร วิริยะพันธุ์
๑๗. นายสวัสดิ์ ทรัพย์เจริญ ๑๘. นายมนตรี สินทวิชัย
๑๙. นายปราโมทย์ ไพชนม์ ๒๐. นางจิตรา อยู่ประเสริฐ
๒๑. นางเพ็ญศักดิ์ จักษุจินดา ๒๒. นายประเกียรติ นาสิมมา
๒๓. นายชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ ๒๔. นายกิตติ ลิ้มชัยกิจ
๒๕. พลตำรวจตรี สมชาย สุทธิไวยกิจ
โดยมีกำหนดการแปรญัตติตามข้อบังคับฯ
ต่อมา รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง และรองประธานวุฒิสภาคนที่สอง
ได้ผลัดเปลี่ยนกันเป็นประธานของที่ประชุม โดยประธานของที่ประชุมได้ปรึกษาที่ประชุม
เพื่อขอนำเรื่องตามระเบียบวาระ เรื่องด่วนลำดับที่ ๗ ขึ้นมาให้ที่ประชุมพิจารณาก่อน
ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ประธานของที่ประชุมจึงเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่อง
ตามระเบียบวาระเรื่องด่วน ตามลำดับ ดังนี้
๑. พิจารณาให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและ
ปราบปรามการฟอกเงิน เมื่อคณะกรรมาธิการแถลงรายงาน และมีสมาชิกฯ อภิปรายแล้ว
ที่ประชุมได้มีมติให้ความเห็นชอบการแต่งตั้ง พันตำรวจเอก พีรพันธุ์ เปรมภูติ เป็นเลขาธิการ
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
๒. ร่างพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. …. ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติ
เห็นชอบแล้ว หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมตอบชี้แจงแล้ว
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการ
วิสามัญพิจารณา จำนวน ๒๕ คน ประกอบด้วย
๑. นายวิชัย ครองยุติ ๒. นายปราโมทย์ ไม้กลัด
๓. นายเชิดพงษ์ อุทัยสาง ๔. นายนิเวศ พันธ์เจริญวรกุล
๕. นายสุรสิทธิ์ ฉัตรชัยเดช ๖. นายอูมาร์ ตอยิบ
๗. พลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย ๘. พลเอก วิชา ศิริธรรม
๙. นายชัชวาลย์ คงอุดม ๑๐. พลเอก ยุทธนา คำดี
๑๑. นายการุณ ใสงาม ๑๒. นายสัก กอแสงเรือง
๑๓. พลตำรวจโท ชูชาติ ทัศนเสถียร ๑๔. นายอุบล เอื้อศรี
๑๕. นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ ๑๖. นายวิสิษฐ์ เตชะธีราวัฒน์
๑๗. นายเด่น โต๊ะมีนา ๑๘. นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์
๑๙. นายสมเกียรติ อ่อนวิมล ๒๐. นางพรหมจารี รัตนเศรษฐ์
๒๑. นายมนัส รุ่งเรือง ๒๒. นายคำนวณ ชโลปถัมภ์
๒๓. นายธงทอง จันทรางศุ ๒๔. นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
๒๕. นางสาวอำพา วาณิชชัชวาลย์
โดยมีกำหนดการแปรญัตติตามข้อบังคับฯ
๓. ร่างพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. …. ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว
หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา และมีมติ
ให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา จำนวน ๒๕ คน ประกอบด้วย
๑. พลเอก ยุทธนา คำดี ๒. นายปราโมทย์ ไม้กลัด
๓. นายนิพนธ์ สุทธิเดช ๔. นายโกเมศ ฑีฆธนานนท์
๕. นายณรงค์สิทธิ์ เครือรัตน์ ๖. นายวิบูลย์ แช่มชื่น
๗. นายรส มะลิผล ๘. นายเพิ่มพูน ทองศรี
๙. นายจิโรจน์ โชติพันธุ์ ๑๐. นายพร เพ็ญพาส
๑๑. นายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ๑๒. พลตำรวจโท ปรีชา ปฏิบัติสรกิจ
๑๓. นายบุญญา หลีเหลด ๑๔. พลอากาศเอก กานต์ สุระกุล
๑๕. นายผ่อง เล่งอี้ ๑๖. นายประศักดิ์ ณ กาฬสินธุ์
๑๗. นางมาลินี สุขเวชชวรกิจ ๑๘. นางระเบียบรัตน์ พงษ์พานิช
๑๙. นายกำพล ภู่มณี ๒๐. นายถาวร เกียรติไชยากร
๒๑. พลตำรวจโท ชูชาติ ทัศนเสถียร ๒๒. นายอาคม ตุลาดิลก
๒๓. นายสมชัย เพียรสถาพร ๒๔. นายวิสูตร สมนึก
๒๕. นางสาววาสนา ถวัลยโพธิ
โดยมีกำหนดการแปรญัตติตามข้อบังคับฯ
ต่อมา ประธานของที่ประชุมได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอนำเรื่อง ตั้งกรรมาธิการ
วิสามัญพิจารณาร่างข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกวุฒิสภาและกรรมาธิการ
พ.ศ. …. แทนตำแหน่งที่ว่าง ๒ ตำแหน่ง ให้ที่ประชุมพิจารณา ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบและ
มีมติให้ตั้ง นายอาคม ตุลาดิลก และ พลเอก หาญ ลีนานนท์ เป็นกรรมาธิการแทน
นายสามารถ รัตนประทีปพร และนายพนัส ทัศนียานนท์ ซึ่งขอลาออกจากตำแหน่ง
เลิกประชุมเวลา ๑๖.๐๕ นาฬิกา
(ลายเซ็น)
(นายจำนงค์ สวมประคำ)
เลขาธิการวุฒิสภา
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
รับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา จำนวน ๓ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ….
๓. ร่างพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. ….
กลุ่มงานรายงานการประชุม
สำนักการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๑๕๖๘
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๑๕๖๖

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ