แท็ก
ภาคใต้
ข้อมูลพื้นฐาน
จังหวัดภูเก็ตประกอบด้วย 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองภูเก็ต ถลาง และกระทู้
พื้นที่รวม 543.1 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 336,700ไร่ มีขนาดเล็กที่สุดในภาคใต้คิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 1.4 ของพื้นที่ภาค มีชายฝั่งทะเลประมาณ 108 กิโลเมตรและมีเกาะต่าง ๆ 30 เกาะ
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มีจำนวนประชากร241,489 คนหรือร้อยละ 3.0 ของประชากรทั้งภาค
ผลิตภัณฑ์จังหวัดตามราคาคงที่ (Gross Provincial Product at constant price ) ปี2539 เท่ากับ 19,426.6 ล้านบาท โดยมีสาขาบริการเป็นสาขาหลัก มีสัดส่วนร้อยละ 23.9 ของผลิตภัณฑ์จังหวัดทั้งหมด รองลงมาได้แก่ สาขาอุตสาหกรรมร้อยละ 14.3 สาขาเกษตรกรรมร้อยละ 14.0 สาขาการคมนาคมและขนส่งร้อยละ 13.8 และสาขาการค้าปลีกค้าส่งร้อยละ 13.7 รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรเท่ากับ 156,675 บาท/ปี สูงเป็นอันดับ 1 ของภาคใต้
ศักยภาพและโอกาสในการลงทุน
จังหวัดภูเก็ตเป็นศูนย์กลางการค้า การท่องเที่ยวและบริการที่สำคัญที่สุดของภาคใต้ตอนบนทั้งยังเป็นเมืองท่าที่มีการประกอบการอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับดีบุก และค้าดีบุกกับต่างประเทศมานาน การพัฒนาในช่วงที่ผานมาทำให้โครงสร้างเศรษฐกิจเริ่มเปลี่ยนจากการผลิตขั้นปฐมในอุตสาหกรรม มาเป็นสาขาธุรกิจบริการและการค้ามากขึ้น โดยมีมูลค่าในการผลิตสาขาบริการและการค้าส่ง ค้าปลีกเป็นรายได้หลัก และมีแนวโน้นขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาก โดยเฉพาะในภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่องกันได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาส่งผลให้เศรษฐกิจส่วนรวมของภูเก็ตขยายตัวในระดับสูงมาก เฉลี่ยร้อยละ 17 ต่อปี
ปัจจุบันจังหวัดภูเก็ตมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรท่องเที่ยวทางทะเล ซึ่งเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวที่สำคัญของภูมิภาคนี้ นอกจากนี้ยังมีความพร้อมในด้านโครงข่ายคมนาคมขนส่ง ระดับนานาชาติ ทั้งทางทะเล รวมทั้งมีการปรับปรุงโครงข่ายคมนาคมขนส่งทางบกให้ได้มาตรฐาน และมีแผนงานจะขยายบริการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเพิ่มขึ้นประกอบกับความพร้อมของแหล่งเงินทุน และความชำนาญเดิมในด้านการค้าระหว่างประเทศ การผลิตในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับดีบุก และการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค จะช่วยชักจูงให้เกิดการลงทุนในด้านการท่องเที่ยว การค้าและการบริการ และอุตสาหกรรมให้กว้างขวางยิ่งขึ้น และสนับสนุนโอกาสในการพัฒนาจังหวัดภูเก็ตให้เป็นศูนย์กลางความเจริญของภาคใต้ตอนบนฝั่งตะวันตก ที่จะกระจายผลการพัฒนาและกระจายรายได้ไปสู่ภูมิภาคและชนบทต่อไป
จากผลการทบทวนสภาพแวดล้อมในการลงทุน ทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในของจังหวัดเอง ตลอดจนผลการจัดลำดับความสำคัญและความเป็นไปได้จากการลงทุนรายบุคคลที่ประมวลผลได้ พบว่าทิศทางการพัฒนาการลงทุนในจังหวัดที่มีความเป็นไปได้สูง คือ
1.การขยายการท่องเที่ยวสู่ระดับนานาชาติ เป็นศูนย์กลางโครงข่ายการท่องเที่ยวของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาศัยความได้เปรียบทางที่ตั้งและทรัพยากรการท่องเที่ยวทางทะเลดังนี้คือ
1) ภูเก็ตเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว บริเวณภูเก็ต กระบี่ พังงา ทางฝั่งทะเลอันดามันของภาคใต้ตอนบน มีแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่มีคุณภาพ ทั้งชายหาด หมู่เกาะ และแนวปะการังที่สวยงาม พร้อมบริการที่พักแรมและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่ได้มาตรฐานนอกจากนี้ วงจรการท่องเที่ยวยังเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวทางฝั่งอ่าวไทย คือ สุราษฎร์ธานี เกาะสมุย จึงเป็นจุดท่องเที่ยวนานาชาติ ที่สำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่คาดว่าจะดึงดูดนักท่องเที่ยวจากนานาชาติมากขึ้น
2)ภาคใต้ตอนบนมีความได้เปรียบด้านที่ตั้ง เป็นจุดกึ่งกลางของโครงข่ายการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวหลักบริเวณภูเก็ต กระบี่ พังงา เป็นจุดศูนย์กลางระหว่าง กรุงเทพ สิงคโปร์ และกัวลาลัมเปอร์ ประกอบกับภูเก็ตมีท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต เป็นประตูการค้าและการท่องเที่ยวที่สำคัญของภาคใต้ตอนบน รวมทั้งมีโครงข่ายคมนาคมขนส่งทางบกที่ได้มาตรฐาน เชื่อมโยงภายในประเทศระหว่างภาคซึ่งจะเพิ่มโอกาสการขยายฐานการท่องเที่ยวของภูเก็ต และภาคใต้ตอนบนให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวหลักเชื่อมโยงโครงข่ายการท่องเที่ยวในภูมิภาคนี้
2.การพัฒนาเป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้า และบริการระหว่างประเทศ เนื่องจากมีความพร้อมของโครงข่ายธุรกิจภาคเอกชนสูง ซึ่งได้แก่
1)ภูเก็ตมีโครงข่ายธุรกิจที่ติดต่อกับต่างประเทศสูงมาก โดยมีนักธุรกิจชั้นนำที่ประกอบการด้านเหมืองแร่ดีบุกและยางอยู่กับต่างประเทศจำนวนมาก ทั้งเป็นแหล่งรวมของธุรกิจ และสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานของเมืองที่ได้มาตรฐาน ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และการขยายธุรกิจการค้าสู่นานาชาติได้มากขึ้น โดยเฉพะการค้ากับประเทศตะวันตกและประเทศในกลุ่มอาเซียน
2)โดยที่ภูเก็ตเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งระดับนานาชาติ ทางด้านฝั่งทะเลอันดามันของประเทศ ทำให้สามารถนำเข้าวัตถุดิบจากจังหวัดอื่นๆ มาใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อใช้ในการส่งออกที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงแต่มลพิษน้อย อาทิ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอทรอนิกส์ โดยใช้ปะโยชน์จากบริการขนส่งทางอากาศที่สนามบินภูเก็ตได้ จึงมีโอกาสที่จะพัฒนาภูเก็ตให้เป็นแหล่งอุตสาหกรรมส่งออกและศูนย์กลางการวิจัยทางเทคโนโลยีในอนาคต
ข้อเสนอการลงทุน
โครงการศึกษาศักยภาพ โอกาส และข้อจำกัดของการลงทุนในจังหวัดภูเก็ต ตลอดจนข้อพิจารณาโครงการที่สนใจลงทุนและได้เปรียบ โดยเปรียบเทียบในแต่ละโครงการในพื้นที่ 3 จังหวัด คณะผู้ทำการศึกษาได้ทำการคัดเลือกโครงการมาจำนวน 17 โครงการที่สามารถสนองตอบต่อกลยุทธ์ การพัฒนาการลงทุนจังหวัดภูเก็ตในอนาคตได้ และทำการศึกษารายละเอียดโครงการเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นตัวอย่างสู่การลงทุนจังหวัดภูเก็ต เพื่อบรรจุไว้ในแผนลงทุนจังหวัดตามลำดับความสำคัญได้ดังนี้ คือ
-การพัฒนาท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต เพื่อรองรับการท่องเที่ยว - ศูนย์ประชุมนานาชาติ -ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเขตเมืองเก่า -สถาบันเทคโนโลยีอันดามัน -มหาวิทยาลัยนานาชาติ -สถาบันฝึกอบรมการจัดการ การท่องเที่ยวและการโรงแรม -บริการเรือโดยสารภูเก็ต-กระบี่ -ระบบขนส่งในจังหวัดภูเก็ต -การประปาเอกชน -บ้านจัดสรรผู้มีรายได้น้อย -อู่ซ่อมเรือ -ศูนย์อาหารท้องถิ่น -บริการข้อมูลและข่าวสาร -ธุรกิจให้เช่าต้นไม้ -ร้านขายของที่ระลึกตามราศีและปีเกิด -ศูนย์สุขภาพ -โรงแรม / ที่พัก
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
จังหวัดภูเก็ตประกอบด้วย 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองภูเก็ต ถลาง และกระทู้
พื้นที่รวม 543.1 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 336,700ไร่ มีขนาดเล็กที่สุดในภาคใต้คิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 1.4 ของพื้นที่ภาค มีชายฝั่งทะเลประมาณ 108 กิโลเมตรและมีเกาะต่าง ๆ 30 เกาะ
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มีจำนวนประชากร241,489 คนหรือร้อยละ 3.0 ของประชากรทั้งภาค
ผลิตภัณฑ์จังหวัดตามราคาคงที่ (Gross Provincial Product at constant price ) ปี2539 เท่ากับ 19,426.6 ล้านบาท โดยมีสาขาบริการเป็นสาขาหลัก มีสัดส่วนร้อยละ 23.9 ของผลิตภัณฑ์จังหวัดทั้งหมด รองลงมาได้แก่ สาขาอุตสาหกรรมร้อยละ 14.3 สาขาเกษตรกรรมร้อยละ 14.0 สาขาการคมนาคมและขนส่งร้อยละ 13.8 และสาขาการค้าปลีกค้าส่งร้อยละ 13.7 รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรเท่ากับ 156,675 บาท/ปี สูงเป็นอันดับ 1 ของภาคใต้
ศักยภาพและโอกาสในการลงทุน
จังหวัดภูเก็ตเป็นศูนย์กลางการค้า การท่องเที่ยวและบริการที่สำคัญที่สุดของภาคใต้ตอนบนทั้งยังเป็นเมืองท่าที่มีการประกอบการอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับดีบุก และค้าดีบุกกับต่างประเทศมานาน การพัฒนาในช่วงที่ผานมาทำให้โครงสร้างเศรษฐกิจเริ่มเปลี่ยนจากการผลิตขั้นปฐมในอุตสาหกรรม มาเป็นสาขาธุรกิจบริการและการค้ามากขึ้น โดยมีมูลค่าในการผลิตสาขาบริการและการค้าส่ง ค้าปลีกเป็นรายได้หลัก และมีแนวโน้นขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาก โดยเฉพาะในภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่องกันได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาส่งผลให้เศรษฐกิจส่วนรวมของภูเก็ตขยายตัวในระดับสูงมาก เฉลี่ยร้อยละ 17 ต่อปี
ปัจจุบันจังหวัดภูเก็ตมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรท่องเที่ยวทางทะเล ซึ่งเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวที่สำคัญของภูมิภาคนี้ นอกจากนี้ยังมีความพร้อมในด้านโครงข่ายคมนาคมขนส่ง ระดับนานาชาติ ทั้งทางทะเล รวมทั้งมีการปรับปรุงโครงข่ายคมนาคมขนส่งทางบกให้ได้มาตรฐาน และมีแผนงานจะขยายบริการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเพิ่มขึ้นประกอบกับความพร้อมของแหล่งเงินทุน และความชำนาญเดิมในด้านการค้าระหว่างประเทศ การผลิตในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับดีบุก และการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค จะช่วยชักจูงให้เกิดการลงทุนในด้านการท่องเที่ยว การค้าและการบริการ และอุตสาหกรรมให้กว้างขวางยิ่งขึ้น และสนับสนุนโอกาสในการพัฒนาจังหวัดภูเก็ตให้เป็นศูนย์กลางความเจริญของภาคใต้ตอนบนฝั่งตะวันตก ที่จะกระจายผลการพัฒนาและกระจายรายได้ไปสู่ภูมิภาคและชนบทต่อไป
จากผลการทบทวนสภาพแวดล้อมในการลงทุน ทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในของจังหวัดเอง ตลอดจนผลการจัดลำดับความสำคัญและความเป็นไปได้จากการลงทุนรายบุคคลที่ประมวลผลได้ พบว่าทิศทางการพัฒนาการลงทุนในจังหวัดที่มีความเป็นไปได้สูง คือ
1.การขยายการท่องเที่ยวสู่ระดับนานาชาติ เป็นศูนย์กลางโครงข่ายการท่องเที่ยวของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาศัยความได้เปรียบทางที่ตั้งและทรัพยากรการท่องเที่ยวทางทะเลดังนี้คือ
1) ภูเก็ตเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว บริเวณภูเก็ต กระบี่ พังงา ทางฝั่งทะเลอันดามันของภาคใต้ตอนบน มีแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่มีคุณภาพ ทั้งชายหาด หมู่เกาะ และแนวปะการังที่สวยงาม พร้อมบริการที่พักแรมและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่ได้มาตรฐานนอกจากนี้ วงจรการท่องเที่ยวยังเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวทางฝั่งอ่าวไทย คือ สุราษฎร์ธานี เกาะสมุย จึงเป็นจุดท่องเที่ยวนานาชาติ ที่สำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่คาดว่าจะดึงดูดนักท่องเที่ยวจากนานาชาติมากขึ้น
2)ภาคใต้ตอนบนมีความได้เปรียบด้านที่ตั้ง เป็นจุดกึ่งกลางของโครงข่ายการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวหลักบริเวณภูเก็ต กระบี่ พังงา เป็นจุดศูนย์กลางระหว่าง กรุงเทพ สิงคโปร์ และกัวลาลัมเปอร์ ประกอบกับภูเก็ตมีท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต เป็นประตูการค้าและการท่องเที่ยวที่สำคัญของภาคใต้ตอนบน รวมทั้งมีโครงข่ายคมนาคมขนส่งทางบกที่ได้มาตรฐาน เชื่อมโยงภายในประเทศระหว่างภาคซึ่งจะเพิ่มโอกาสการขยายฐานการท่องเที่ยวของภูเก็ต และภาคใต้ตอนบนให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวหลักเชื่อมโยงโครงข่ายการท่องเที่ยวในภูมิภาคนี้
2.การพัฒนาเป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้า และบริการระหว่างประเทศ เนื่องจากมีความพร้อมของโครงข่ายธุรกิจภาคเอกชนสูง ซึ่งได้แก่
1)ภูเก็ตมีโครงข่ายธุรกิจที่ติดต่อกับต่างประเทศสูงมาก โดยมีนักธุรกิจชั้นนำที่ประกอบการด้านเหมืองแร่ดีบุกและยางอยู่กับต่างประเทศจำนวนมาก ทั้งเป็นแหล่งรวมของธุรกิจ และสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานของเมืองที่ได้มาตรฐาน ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และการขยายธุรกิจการค้าสู่นานาชาติได้มากขึ้น โดยเฉพะการค้ากับประเทศตะวันตกและประเทศในกลุ่มอาเซียน
2)โดยที่ภูเก็ตเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งระดับนานาชาติ ทางด้านฝั่งทะเลอันดามันของประเทศ ทำให้สามารถนำเข้าวัตถุดิบจากจังหวัดอื่นๆ มาใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อใช้ในการส่งออกที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงแต่มลพิษน้อย อาทิ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอทรอนิกส์ โดยใช้ปะโยชน์จากบริการขนส่งทางอากาศที่สนามบินภูเก็ตได้ จึงมีโอกาสที่จะพัฒนาภูเก็ตให้เป็นแหล่งอุตสาหกรรมส่งออกและศูนย์กลางการวิจัยทางเทคโนโลยีในอนาคต
ข้อเสนอการลงทุน
โครงการศึกษาศักยภาพ โอกาส และข้อจำกัดของการลงทุนในจังหวัดภูเก็ต ตลอดจนข้อพิจารณาโครงการที่สนใจลงทุนและได้เปรียบ โดยเปรียบเทียบในแต่ละโครงการในพื้นที่ 3 จังหวัด คณะผู้ทำการศึกษาได้ทำการคัดเลือกโครงการมาจำนวน 17 โครงการที่สามารถสนองตอบต่อกลยุทธ์ การพัฒนาการลงทุนจังหวัดภูเก็ตในอนาคตได้ และทำการศึกษารายละเอียดโครงการเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นตัวอย่างสู่การลงทุนจังหวัดภูเก็ต เพื่อบรรจุไว้ในแผนลงทุนจังหวัดตามลำดับความสำคัญได้ดังนี้ คือ
-การพัฒนาท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต เพื่อรองรับการท่องเที่ยว - ศูนย์ประชุมนานาชาติ -ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเขตเมืองเก่า -สถาบันเทคโนโลยีอันดามัน -มหาวิทยาลัยนานาชาติ -สถาบันฝึกอบรมการจัดการ การท่องเที่ยวและการโรงแรม -บริการเรือโดยสารภูเก็ต-กระบี่ -ระบบขนส่งในจังหวัดภูเก็ต -การประปาเอกชน -บ้านจัดสรรผู้มีรายได้น้อย -อู่ซ่อมเรือ -ศูนย์อาหารท้องถิ่น -บริการข้อมูลและข่าวสาร -ธุรกิจให้เช่าต้นไม้ -ร้านขายของที่ระลึกตามราศีและปีเกิด -ศูนย์สุขภาพ -โรงแรม / ที่พัก
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-