ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สรุปผลการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำเดือนกรกฎาคม 2544 จากแบบสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 71 ตัวอย่าง ดังนี้ :-
1. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ก.ค. 44 ลดลงจากเดือนก่อน และมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นในระยะ 4 เดือนข้างหน้า โดยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพ
ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ก.ค. 44 อยู่ที่ระดับร้อยละ 43.7 ลดลงจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 45.8 โดยอยู่ต่ำกว่าระดับที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพ ทั้งนี้เป็นผลจากปัจจัยความเชื่อมั่นด้านสถานะเศรษฐกิจ ด้านการลงทุนโดยรวม ด้านการจ้างงาน และด้านแนวโน้มการส่งออกลดลงจากเดือนก่อน ขณะที่ปัจจัยด้านอำนาจซื้อของประชาชน และด้านต้นทุนการประกอบการดีขึ้นจากเดือนก่อน สำหรับแนวโน้มความเชื่อมั่นทางธุรกิจในช่วง 4 เดือนข้างหน้าคาดว่าจะดีขึ้น โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 46.5 ในเดือนหน้า และร้อยละ 49.9 ในช่วง ก.ย.-พ.ย. 44
2. ตัวแปรอื่น ๆ ที่มีผลต่อการปรับตัวของธุรกิจแต่ไม่รวมอยู่ในองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่น่าสังเกต ได้แก่
2.1 ปริมาณสินค้าคงคลัง ในเดือนนี้ปริมาณสินค้าคงคลังทั้งสินค้าวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปลดลงจากเดือนก่อน โดยดัชนีอยู่ที่ระดับร้อยละ 56.5 และร้อยละ 55.8 ตามลำดับ ผู้ประกอบการมีความเข้มงวดในการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านสต๊อกสินค้า โดยมีการผลิตและการส่งออกตามคำสั่งซื้อ ทั้งนี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 40.0 มีความเห็นว่ามีปริมาณสินค้าคงคลังเท่าเดิม
2.2 การแข่งขันทางธุรกิจ การแข่งขันทางธุรกิจสูงขึ้นจากเดือนก่อน โดยดัชนีการแข่งขันทางธุรกิจในประเทศอยู่ที่ระดับร้อยละ 33.6 และดัชนีการแข่งขันทางธุรกิจส่งออกอยู่ที่ระดับร้อยละ 37.5 อย่างไรก็ตามภาวะการแข่งขันยังคงรุนแรง
2.3 ภาวะการเงินเดือน ก.ค. 44 ผู้ประกอบการมีสภาพคล่องทางธุรกิจและสามารถให้เครดิตแก่ลูกค้าได้เพิ่มขึ้น แม้ว่าภาระดอกเบี้ยเงินกู้ยังคงเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
2.4 ตลาดเงินช่วงเดือน ก.ย.-พ.ย. 44 คาดว่าสภาพคล่องจะทรงตัวจากเดือน ก.ค. 44 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้มีแนวโน้มสูงขึ้น สำหรับค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น
3. ความเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการต่อภาครัฐ
3.1 ผู้ประกอบการยังรอดูสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ-การเมืองอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในโครงการต่าง ๆ ที่สำคัญคือ กองทุนหมู่บ้านและธนาคารประชาชน ก่อนการตัดสินใจลงทุน
3.2 ภาครัฐควรดูแลให้สถาบันการเงินลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อกระตุ้นการลงทุน
3.3 ภาครัฐควรปรับลดภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 7% เป็น 5% และเร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ส่งออก เนื่องจากทำให้ต้นทุนของผู้ส่งออกสูงกว่าคู่แข่งขัน (ได้แก่ จีน และเวียดนาม)
3.4 ภาครัฐไม่ควรตัดงบประมาณด้านการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ เนื่องจากเป็นช่องทางกระตุ้นเศรษฐกิจที่สำคัญในปัจจุบัน
3.5 ภาครัฐควรดูแลราคาข้าวให้สูงขึ้น โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ 105 (ซึ่งเป็นข้าวมีชื่อและติดตลาดอยู่แล้ว) เนื่องจากไม่คุ้มกับต้นทุนการผลิต ประกอบกับมีข้าวหอมพันธุ์ปทุมธานีมาแข่งขันทำให้ราคาตกต่ำ
3.6 ราคาสินค้าหลายตัวราคาเริ่มสูงขึ้น เนื่องจากการปรับขึ้นราคาน้ำมัน ค่าไฟฟ้า และข่าวการขึ้นเงินเดือนข้าราชการ เป็นต้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-
1. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ก.ค. 44 ลดลงจากเดือนก่อน และมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นในระยะ 4 เดือนข้างหน้า โดยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพ
ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ก.ค. 44 อยู่ที่ระดับร้อยละ 43.7 ลดลงจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 45.8 โดยอยู่ต่ำกว่าระดับที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพ ทั้งนี้เป็นผลจากปัจจัยความเชื่อมั่นด้านสถานะเศรษฐกิจ ด้านการลงทุนโดยรวม ด้านการจ้างงาน และด้านแนวโน้มการส่งออกลดลงจากเดือนก่อน ขณะที่ปัจจัยด้านอำนาจซื้อของประชาชน และด้านต้นทุนการประกอบการดีขึ้นจากเดือนก่อน สำหรับแนวโน้มความเชื่อมั่นทางธุรกิจในช่วง 4 เดือนข้างหน้าคาดว่าจะดีขึ้น โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 46.5 ในเดือนหน้า และร้อยละ 49.9 ในช่วง ก.ย.-พ.ย. 44
2. ตัวแปรอื่น ๆ ที่มีผลต่อการปรับตัวของธุรกิจแต่ไม่รวมอยู่ในองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่น่าสังเกต ได้แก่
2.1 ปริมาณสินค้าคงคลัง ในเดือนนี้ปริมาณสินค้าคงคลังทั้งสินค้าวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปลดลงจากเดือนก่อน โดยดัชนีอยู่ที่ระดับร้อยละ 56.5 และร้อยละ 55.8 ตามลำดับ ผู้ประกอบการมีความเข้มงวดในการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านสต๊อกสินค้า โดยมีการผลิตและการส่งออกตามคำสั่งซื้อ ทั้งนี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 40.0 มีความเห็นว่ามีปริมาณสินค้าคงคลังเท่าเดิม
2.2 การแข่งขันทางธุรกิจ การแข่งขันทางธุรกิจสูงขึ้นจากเดือนก่อน โดยดัชนีการแข่งขันทางธุรกิจในประเทศอยู่ที่ระดับร้อยละ 33.6 และดัชนีการแข่งขันทางธุรกิจส่งออกอยู่ที่ระดับร้อยละ 37.5 อย่างไรก็ตามภาวะการแข่งขันยังคงรุนแรง
2.3 ภาวะการเงินเดือน ก.ค. 44 ผู้ประกอบการมีสภาพคล่องทางธุรกิจและสามารถให้เครดิตแก่ลูกค้าได้เพิ่มขึ้น แม้ว่าภาระดอกเบี้ยเงินกู้ยังคงเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
2.4 ตลาดเงินช่วงเดือน ก.ย.-พ.ย. 44 คาดว่าสภาพคล่องจะทรงตัวจากเดือน ก.ค. 44 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้มีแนวโน้มสูงขึ้น สำหรับค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น
3. ความเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการต่อภาครัฐ
3.1 ผู้ประกอบการยังรอดูสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ-การเมืองอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในโครงการต่าง ๆ ที่สำคัญคือ กองทุนหมู่บ้านและธนาคารประชาชน ก่อนการตัดสินใจลงทุน
3.2 ภาครัฐควรดูแลให้สถาบันการเงินลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อกระตุ้นการลงทุน
3.3 ภาครัฐควรปรับลดภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 7% เป็น 5% และเร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ส่งออก เนื่องจากทำให้ต้นทุนของผู้ส่งออกสูงกว่าคู่แข่งขัน (ได้แก่ จีน และเวียดนาม)
3.4 ภาครัฐไม่ควรตัดงบประมาณด้านการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ เนื่องจากเป็นช่องทางกระตุ้นเศรษฐกิจที่สำคัญในปัจจุบัน
3.5 ภาครัฐควรดูแลราคาข้าวให้สูงขึ้น โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ 105 (ซึ่งเป็นข้าวมีชื่อและติดตลาดอยู่แล้ว) เนื่องจากไม่คุ้มกับต้นทุนการผลิต ประกอบกับมีข้าวหอมพันธุ์ปทุมธานีมาแข่งขันทำให้ราคาตกต่ำ
3.6 ราคาสินค้าหลายตัวราคาเริ่มสูงขึ้น เนื่องจากการปรับขึ้นราคาน้ำมัน ค่าไฟฟ้า และข่าวการขึ้นเงินเดือนข้าราชการ เป็นต้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-