4. ภาวะการค้าชายแดนไทย-ลาวในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2532-2541)
ตั้งแต่ปี 2531 รัฐบาลไทยโดย ฯพณฯ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัน นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ประกาศนโยบายฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศ
เพื่อนบ้าน ทำให้มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับ สปป.ลาว สูงขึ้นเป็นลำดับ จากมูลค่า 2,872.2 ล้านบาทในปี 2532 เป็น 9,726.2 ล้านบาท ในปี
2539 10,365.6 ล้านบาท ในปี 2540 และในปี 2541 มีมูลค่าการค้า 12,301.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 18.7 เนื่องจากการส่งออก
ขยายตัวขึ้นร้อยละ 28.6 แม้ว่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 28.3
จากความพยายามที่จะฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของทั้ง 2 ฝ่าย หลังจากที่ สปป.ลาว ได้เข้าเป็นสมาชิกภาคีอาเซียนก็ได้มีการ
ผ่อนปรน ยกเลิกข้อจำกัดทางการค้า แต่ละฝ่ายพยายามปรับปรุงระเบียบวิธีปฏิบัติให้มีความสะดวกเพื่อเอื้ออำนวยทางการค้าระหว่างกัน คาดว่าใน
ปี 2542 การค้าระหว่างไทย-สปป.ลาว จะมีมูลค่าประมาณ 15,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.0
การค้าชายแดนไทย-ลาว
หน่วย : ล้านบาท
2532 2533 2534 2535 2536 2537 2538 2539 2540 2541 2542 E
มูลค่าการค้า 2872.20 2976.00 3496.30 3982.50 5791.50 8782.00 9984.20 9726.20 10365.60 12301.60 15500.00
-51.40 -3.60 -17.50 -13.90 -45.40 -51.60 -13.70 (-2.6) -6.60 -18.70 -26.00
ส่งออก 1673.10 1563.30 1902.90 2837.90 4130.80 6,87.1 7963.00 7811.50 8559.30 11006.50 13150.00
-30.00 (-6.6) -21.70 -49.10 -45.60 -66.50 -15.80 (-1.9) -9.60 -28.60 -19.50
นำเข้า 1199.10 1412.70 1593.40 1144.60 1660.70 1904.90 2021.20 1914.70 1806.30 1295.10 2350.00
-96.70 -17.80 -12.80 (-28.2) -45.10 -14.70 -6.10 -5.30 (-5.7) (-28.3) -81.50
ดุลการค้า 474.00 150.60 309.50 1693.30 2470.10 4972.20 5941.80 5896.80 6753.00 9711.40 10800.00
ที่มา : ด่านศุลกากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
หมายเหตุ : E = ตัวเลขประมาณการ
ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราเปลี่ยนแปลงจากปีก่อน
สินค้าออก
มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยตลอดจากมูลค่า 1,673.1 ล้านบาทในปี 2532 เป็น 7,811.5 ล้านบาท ในปี 2539 และเป็น 8,559.3 ล้าน
บาทในปี 2540 สำหรับปี 2541 การส่งออกมีมูลค่า 11,006.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 28.6 เฉลี่ยในช่วงปี 2532-2541 การส่งออก
เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.8 ต่อปี คาดว่าในปี 2542 การส่งออกจะมีมูลค่าประมาณ 12,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6
โครงสร้างสินค้าออกไป สปป.ลาว ส่วนใหญ่เป็นสินค้าในหมวดอุปโภคบริโภค มีสัดส่วนร้อยละ 38.0 ของสินค้าออกทั้งหมด สินค้าสำคัญ
ได้แก่ ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือน (ผงชูรส น้ำปลา บะหมี่สำเร็จรูป ฯลฯ) รองลงมาเป็นสินค้าในหมวดทุน
สัดส่วนร้อยละ 21.8 สินค้าสำคัญจะเป็นวัสดุก่อสร้างและเครื่องจักรอุปกรณ์ นอกจากนี้ ยังมีสินค้าอื่น ๆ อาทิ น้ำมันปิโตรเลียม และน้ำมันเชื่อเพลิง
อื่น เหล็กและเหล็กกล้า อุปกรณ์ตัดเย็บ ฯลฯ
สินค้าเข้า
ไทยนำเข้าสินค้าจาก สปป.ลาว มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยตลอด และในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2532-2541) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ
13.1 ต่อปี ในปี 2538 ทางการลาวมีนโยบายอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ห้ามส่งออกไม้ซุงและลดการให้สัมปทานป่าไม้ ประกอบกับภาวะการก่อสร้าง
ของไทยชะลอตัวลง ทำให้การนำเข้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ชะลอลง ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าโดยรวมจากลาวชะลอตัวลงตามไปด้วย โดยในปี 2539
มูลค่านำเข้า 1,914.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 5.3 ในปี 2540 มูลค่าการนำเข้า 1,806.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.7 ในปี 2541
ที่ผ่านมา การนำเข้าลดลงเห็นได้ชัดเจน มูลค่านำเข้าเพียง 1,295.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 28.3 เป็นไม้และผลิตภัณฑ์ไม้สัดส่วนร้อยละ 66.8
มูลค่า 864.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 38.7 จากปีก่อนซึ่งนำเข้า 1,411.7 ล้านบาท ส่วนสินค้านำเข้าอื่น ๆ อาทิ หนังโค หนังกระบือ เศษโลหะ
ของป่า ฯลฯ กลับมีการนำเข้าเพิ่มขึ้น มูลค่า 430.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 จากปีก่อนซึ่งนำเข้า 394.6 ล้านบาท
ดุลการค้า
ประเทศ สปป.ลาว มีความต้องการสินค้าทุนเพื่อพัฒนาประเทศ และยังมีความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคในเกณฑ์สูง ถึงแม้ว่าสปป.ลาว
พยายามที่จะผลิตสินค้าเพื่อทดแทนการนำเข้า แต่ปริมาณการผลิตยังไม่มากพอ ประกอบกับไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค ทางด้านการนำเข้ารวมในระยะ
หลังมีแนวโน้มลดลงจากนโยบายอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ สำหรับสินค้าอื่น ๆ อาทิ ของป่า เศษโลหะ โค-กระบือ และผลิตภัณฑ์ ฯลฯ ถึงแม้การนำเข้า
จะเพิ่มขึ้น แต่ยังมีมูลค่าน้อย ส่งผลให้ไทยได้เปรียบดุลการค้าลาวมาโดยตลอด ซึ่งในปี 2541 นี้ ไทยเกินดุลการค้า สปป.ลาว ทั้งสิ้น 9,711.4
ล้านบาท เทียบกับปีก่อน 6,753.0 ล้านบาท ไทยเกินดุล สปป.ลาว เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5
การค้าผ่านแดน
ประเทศ สปป.ลาว เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล ต้องอาศัยประเทศเพื่อนบ้านเป็นประตูการค้าสู่นานาประเทศ ส่วนหนึ่งส่งสินค้าออก
ผ่านประเทศเวียดนาม และอีกส่วนหนึ่งต้องอาศัยไทยเป็นทางผ่านส่งสินค้าออก ซึ่งประเทศคู่ค้าสำคัญของลาวผ่านแดนไทยที่สำคัญ คือ ประเทศใน
แถบยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์
สินค้าลาวผ่านแดนไทย มูลค่าขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากมูลค่า 2,170.5 ล้านบาท ในปี 2532 เป็น 14,388.0 ล้านบาทในปี 2540
และในปี 2541 นี้ การค้าของ สปป.ลาว ผ่านแดนไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 15,898.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 จากปีก่อน เฉลี่ยตั้งแต่ปี 2532-2541
มูลค่าการค้าลาวผ่านแดนไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.4 ต่อปี
การค้าผ่านแดนไทย-ลาว ปี 2534-2541
หน่วย : ล้านบาท
2532 2533 2534 2535 2536 2537 2538 2539 2540 2541
มูลค่าการค้าผ่านแดน 1670.50 2352.80 2888.10 3418.00 5271.50 7697.60 9873.20 10820.80 14388.00 15898.90
(-12.9) -40.80 -22.40 -18.30 -54.20 -46.00 -28.30 -9.60 -33.00 -10.50
จากลาวไปประเทศที่สาม 532.00 590.60 880.00 1153.30 1693.80 2286.70 3053.30 2752.20 4122.20 6125.10
(-35.5) -11.00 -49.00 -31.10 -46.90 -35.00 -33.50 (-9.9) -49.80 -48.60
จากประเทศที่สามไปลาว 1638.50 1762.20 2008.10 2264.10 3577.70 5410.90 6819.90 8070.60 10265.80 9773.80
-49.80 -7.50 -13.90 -12.80 -58.00 -51.20 -26.00 -18.50 -27.20 (-4.8)
สินค้าออกผ่านแดนไทย
ด้านการส่งสินค้าออกของ สปป.ลาว ผ่านแดนไทยไปประเทศที่ 3 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
(พ.ศ. 2532-2541) เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 25.9 โครงสร้างสินค้าออกประกอบด้วย สินค้าสำคัญ คือ เมล็ดกาแฟดิบ ซึ่งส่วนใหญ่ส่งออกไป
ประเทศในแถบยุโรปและอเมริกา ไม้แปรรูป ส่วนใหญ่ส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และสิงคโปร์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ซึ่งมีบทบาทมาก
ในระยะหลัง จากการย้ายฐานการผลิตมาจากประเทศอื่น เนื่องจาก สปป.ลาว มีต้นทุนถูกกว่า ในปี 2541 มูลค่าส่งออกผ่านแดนไทยมีมูลค่า
6,125.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 48.6
สินค้าจาก สปป.ลาว ส่งออกผ่านแดนไทยไปประเทศที่ 3 ที่สำคัญในปี 2541 ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป มูลค่า 3,162.3 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6 ส่วนใหญ่ส่งออกไปประเทศเยอรมันนี ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฯลฯ เมล็ดกาแฟดิบมูลค่า 862.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 53.0 ส่วนใหญ่ส่งออกไปฝรั่งเศส เยอรมันนี และสหรัฐอเมริกา ไม้แปรรูป ส่งไปญี่ปุ่น ไต้หวัน และฮ่องกง มูลค่า 520.0 ล้านบาท
ลดลงร้อยละ 2.3
สินค้าเข้าผ่านแดนไทย
ด้านสินค้านำเข้าลาวแผ่นแดนไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.1 โครงสร้างการ
นำเข้าที่สำคัญประกอบด้วย บุหรี่ต่างประเทศจากสิงคโปร์ สิ่งทอจากญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และฮ่องกง เครื่องจักรและอุปกรณ์จากญี่ปุ่น เยอรมัน
เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ ยานพาหนะจากญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ในปี 2541 การนำเข้าผ่านแดนไทยมีมูลค่า 9,773.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.8
จากปีก่อนซึ่งนำเข้า 10,265.8 ล้านบาท เนื่องจากการชะลอตัวลงของการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์เป็นสำคัญ
สำหรับสินค้าที่ลาวนำเข้าจากประเทศที่ 3 ผ่านแดนไทยในปี 2541 ส่วนใหญ่เป็นบุหรี่จากสิงคโปร์มูลค่า 3,280.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 29.4 รองลงมาเป็นเครื่องจักรและอุปกรณ์จากไต้หวัน ฮ่องกง เกาหลีใต้ และเยอรมันมูลค่า 1,773.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 26.8
สิ่งทอจากเกาหลีใต้ ฮ่องกง ญี่ปุ่น สิงคโปร์มูลค่า 1,469.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.1 รถยนต์ รถจักรยานยนต์และอะไหล่จากญี่ปุ่น เกาหลี
ใต้มูลค่า 875.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 เครื่องใช้ไฟฟ้ามูลค่า 216.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 53.5
5. ภาวะการค้าชายแดนไทย-ลาว 9 เดือนแรก ปี 2542 และแนวโน้มตลอดปี
5.1 การส่งออก มีมูลค่า 9,523.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.9 จากระยะเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออก 7,874.7 ล้านบาท
เนื่องจากการส่งออกเพิ่มขึ้นทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะสินค้าในหมวดอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว หมวดสินค้าทุน สินค้าวัตถุดิบขยายตัวตาม
การขยายตัวของการลงทุนในประเทศลาว สรุปการส่งออกในแต่ละหมวด ดังนี้
สินค้าอุปโภคบริโภค มูลค่าการส่งออก 5,516.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว จากระยะเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออก 2,716.7
ล้านบาท เนื่องจากมีการส่งออกยานพาหนะและส่วนประกอบเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ มูลค่า 3,041.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่าตัว เครื่องใช้ไฟฟ้า
960.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 69.8 สินค้าบริโภคในครัวเรือน (สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก ผงชูรส บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ฯลฯ) 1,225.3 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.4
ส่วนสินค้าส่งออกสำคัญในหมวดนี้ที่ส่งออกได้ลดลง ได้แก่ ยารักษาโรคส่งออก 69.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 33.8 เครื่องแต่งกาย
65.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 76.6 อาหารสัตว์ 60.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 14.8
สินค้าอุปโภคบริโภค
หน่วย : ล้านบาท
2541 (ม.ค.-ก.ย.) 2542 (ม.ค.-ก.ย.) อัตราเพิ่ม (%)
สินค้าอุปโภคบริโภค 2716.70 5516.90 103.10
ยานพาหนะและส่วนประกอบ 604.80 3041.30 402.90
สินค้าบริโภคในครัวเรือน 898.30 1225.30 36.40
เครื่องใช้ไฟฟ้า 565.70 960.40 69.80
ยารักษาโรค 105.20 69.60 -33.80
เครื่องแต่งกาย 281.20 65.80 -76.60
อาหารสัตว์ 71.40 60.80 -14.80
อื่น ๆ 190.10 93.70 -50.70
ที่มา : ด่านศุลกากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สินค้าทุน มูลค่าส่งออก 1,801.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 จากระยะเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออก 1,774.5 ล้านบาท เนื่องจาก
ลาวยังมีความต้องการสินค้าทุนค่อนข้างสูงเพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศ เช่น สร้างถนน เขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า สนามบิน ฯลฯ ส่วนใหญ่เป็นวัสดุ
ก่อสร้าง มูลค่า 1,134.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ปีก่อนซึ่งส่งออก 1,125.0 ล้านบาท (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63 ของสินค้าทุนทั้งหมด)
รองลงมาเป็นเครื่องจักรและอุปกรณ์มูลค่า 386.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 20.0 สินค้าทุนอื่น ๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องมือวิทยาศาสตร์
ปุ๋ย แก้วและเครื่องแก้ว ฯลฯ 280.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.2
สินค้าทุน
หน่วย : ล้านบาท
2541 (ม.ค. ก.ย.) 2542 (ม.ค.-ก.ย.) อัตราเพิ่ม (%)
สินค้าทุน 1774.50 1801.70 1.50
วัสดุก่อสร้าง 1125.00 1134.60 0.80
เครื่องจักรและอุปกรณ์ 482.60 386.30 -20.00
สินค้าทุนอื่น ๆ 166.90 280.80 68.20
ที่มา : ด่านศุลกากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ การส่งออกสินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบไปลาว ในช่วง 9 เดือนแรกปี 2542 มีมูลค่า 942.1 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 89.6 จากระยะเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีมูลค่า 305.6 ล้านบาท เนื่องจากมีการขยายการลงทุนในลาวค่อนข้างมาก และวัตถุดิบ
ส่วนหนึ่งลาวยังไม่สามารถผลิตเองได้ วัตถุดิบที่ส่งออกไปลาวส่วนใหญ่เป็นผ้าผืนและอุปกรณ์ตัดเย็บ สำหรับอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป
มูลค่า 603.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนกว่าเท่าตัว เหล็กและเหล็กกล้า 55.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 65.3 กระดาษและ
กระดาษแข็ง 44.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.4 สินค้าวัตถุดิบอื่น เช่น พืชไร่ เคมีภัณฑ์ สินแร่ เม็ดพลาสติก ฯลฯ 238.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
กว่าเท่าตัว
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ
หน่วย : ล้านบาท
2541 (ม.ค.-ก.ย.) 2541 (ม.ค.-ก.ย.) อัตราเพิ่ม (%)
วัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ 497.00 942.10 89.60
ผ้าและอุปกรณ์ตัดเย็บ 281.20 603.20 114.50
เหล็กและเหล็กกล้า 160.50 55.60 -65.30
กระดาษและกระดาษแข็ง 29.40 44.50 51.40
ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ส่งออกมูลค่า 999.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.5 จากระยะเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่า 816.1 ล้านบาท
เป็นการเพิ่มขึ้นของการใช้ยานพาหนะในลาว
5.2 การนำเข้า
มูลค่า 1,868.9 ล้านบาท เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนมูลค่า 1,010 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 85.0 เนื่องจากทางการลาวให้
สัมปทานการทำไม้เพิ่ม การนำเข้าไม้จากลาวเพิ่มขึ้น มูลค่า 1,361.8 ล้านบาท เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนนำเข้า 673.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
กว่าเท่าตัว เศษโลหะนำเข้ามูลค่า 69.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.6 โค-กระบือและผลิตภัณฑ์ 34.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.9 ของป่า
(ชันดิบ น้ำมันยางดิบ ลูกเร่ว เปลือกบง ฯลฯ) 37.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 82.4 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 188.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ
22.2 เกือบทั้งหมดเป็นเครื่องจักรใช้แล้วของนักลงทุนไทยในลาว
สินค้าเข้า
หน่วย : ล้านบาท
2541 (ม.ค.-ก.ย.) 2542 (ม.ค.-ก.ย.) อัตราเพิ่ม (%)
สินค้าขาเข้า 1010.30 1868.90 85.00
ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 673.40 1361.80 102.20
เครื่องจักรและอุปกรณ์ 153.90 188.00 22.20
เศษโลหะ 43.00 69.50 61.60
ของป่า 20.40 37.20 82.40
โค-กระบือ และผลิตภัณฑ์ 24.80 34.70 102.20
สินค้าเข้าอื่น ๆ 94.70 247.20 161.00
ที่มา : ด่านศุลกากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
5.3 การค้าชายแดนรายด่านศุลกากร 9 เดือนแรกปี 2542
1. ด่านศุลกากรหนองคาย มูลค่าการค้า 4,286.5 ล้านบาท เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มูลค่า 5,477.0 ล้านบาท
แล้วลดลงร้อยละ 21.86 ล้านบาท มูลค่าการค้าผ่านจุดนี้มีมูลค่าสูงสุดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 37.2 ของการค้าชายแดนไทย-ลาวในภาคทั้งหมด
แยกเป็นการส่งออก 4,031.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 23.2 สินค้าหมวดอุปโภคบริโภคส่งออก 1,265.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.7 จาก
ปีก่อน ส่งออก 999.0 ล้านบาท สินค้าสำคัญ ได้แก่ รถยนต์ รถจักรยานยนต์และอะไหล่ 343.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 เครื่องใช้ไฟฟ้า
270.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ยารักษาโรค 33.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.3 หมวดสินค้าทุนส่งออก 919.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.2
จากปีก่อนส่งออก 980.2 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกวัสดุก่อสร้าง 589.0 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.2 รองลงมาเป็นเครื่องจักร
และอุปกรณ์ 196.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 34.6 สินค้าในหมวดวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบส่งออก 882.5 ล้านบาท เทียบกับเดือนก่อนส่งออก 511.9
ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 72.4 สินค้าสำคัญ ได้แก่ ผ้าและอุปกรณ์ตัดเย็บสำหรับอุตสาหกรรมตัดเย็บ ซึ่งกำลังขยายตัวอย่างมากในลาว มูลค่า 590.0
ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว กระดาษและกระดาษแข็ง 43.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.1 เหล็กและเหล็กกล้า 31.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ
68.3 ทางด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม 702.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.9 ตามการเพิ่มขึ้นของการใช้รถยนต์และรถจักรยานยนต์
สำหรับการนำเข้ามูลค่า 255.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 จาก 9 เดือนแรกของปีก่อนซึ่งนำเข้า 228.0 ล้านบาท เนื่องจาก
การนำเข้าไม้แปรรูปซึ่งเป็นสินค้านำเข้าหลักเพิ่มขึ้นจากที่ทางการลาวขยายการให้สัมปทานเพิ่มมูลค่านำเข้า 153.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.8
ด้านการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์มูลค่า 42.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 37.1 ทั้งหมดเป็นเครื่องจักรและอุปกรณ์ใช้แล้วของนักลงทุนไทยในลาว
นำกลับ สินค้าอื่น ๆ เช่น ลูกหยี เศษโลหะ ผ้าพื้นเมือง เศษกระดาษ ฯลฯ 59.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.6
2. ด่านมุกดาหาร มูลค่าการค้า 3,470.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าตัว จากปีก่อนซึ่งมูลค่า 1,177.0 ล้านบาท เนื่องจากมีการ
ส่งออกเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ มูลค่า 3,006.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าตัวจากปีก่อนซึ่งส่งออก 1,058.1 ล้านบาท สินค้าในหมวดอุปโภคบริโภค
ส่งออก 2,666.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว ทั้งนี้ เนื่องจากการส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์และอะไหล่ เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ มูลค่า
1,899.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบ 20 เท่าตัว (ปีก่อนส่งออกเพียง 93.4) ซึ่งส่วนใหญ่ถูกส่งต่อไปประเทศเวียดนาม เครื่องใช้ไฟฟ้า 268.2
ล้านบาท ลดลงร้อยละ 18.5 ส่วนใหญ่เป็นหม้อหุงข้าวและโทรทัศน์สี น้ำมันปิโตรเลียมและน้ำมันเชื้อเพลิงอื่น 70.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.7
ด้านการนำเข้ามูลค่า 464.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าตัวจากปีก่อนนำเข้า 118.9 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าไม้และ
ผลิตภัณฑ์ไม้เป็นสำคัญ มูลค่า 380.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว เครื่องจักรและอุปกรณ์ 64.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับปีก่อน
ซึ่งนำเข้าเพียง 4.2 ล้านบาท ทั้งหมดเป็นเครื่องจักรและอุปกรณ์ใช้แล้วของนักลงทุนไทยในลาว สินค้าอื่น ๆ เช่น พืชไร่ เศษโลหะ ของป่า ฯลฯ
18.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 12.9
3. ด่านนครพนม มูลค่าการค้า 1,297.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.7 จากระยะเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีมูลค่า 849.4 ล้านบาท
เป็นการส่งออก 541.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.4 สินค้าส่งออกที่สำคัญได้แก่ รถยนต์ รถจักรยานยนต์และอะไหล่ 255.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
กว่า 3 เท่าตัว รองลงมาเป็น วัสดุก่อสร้าง 65.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 31.7 น้ำมันปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ 56.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ
25.5 เครื่องใช้ไฟฟ้า 37.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 29.4 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 20.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.1
การนำเข้ามูลค่า 755.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 82.5 จากระยะเดียวกันของปีก่อนซึ่งนำเข้า 414.2 ล้านบาท สินค้าสำคัญ ได้แก่
ไม้แปรรูป 639.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว สินค้านำเข้าอื่น ๆ เช่น แร่ดีบุก ของป่า เศษโลหะ ฯลฯ 116.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2
4. ด่านพิบูลมังสาหาร 9 เดือนแรกปี 2542 มูลค่าการค้า 838.9 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 จากระยะเดียวกันของปีก่อน เป็น
การส่งออก 634.8 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.9 สินค้าที่สำคัญ ได้แก่ วัสดุก่อสร้าง 184.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.8 น้ำมันปิโตรเลียม
และผลิตภัณฑ์ 166.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 สินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือน (สบู่ ยาสีฟัน ผงชูรส บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนม ฯลฯ) 72.6
ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.2 รถยนต์ รถจักรยานยนต์และอะไหล่ 58.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว
การนำเข้า 204.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.2 จากปีก่อนมูลค่า 167.0 ล้านบาท แม้ว่ามีการนำไม้แปรรูปลดลง นำเข้า 93.1
ล้านบาท ลดลงร้อยละ 17.2 แต่มีการนำเข้าเศษโลหะเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก มูลค่า 55.4 ล้านบาท ในขณะที่ปีก่อนนำเข้าเพียง 0.1 ล้านบาท
เครื่องจักรและอุปกรณ์ 41.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.2
5. ด่านเชียงคาน มูลค่าการค้า 51.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 16.7 ปีก่อน แยกเป็นสินค้าออก 5.5
ล้านบาท ลดลงร้อยละ 30.4 สินค้าสำคัญ ได้แก่ วัสดุก่อสร้าง 2.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 93.3 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 1.1 ล้านบาท ลดลง
ร้อยละ 59.3 ด้านการนำเข้ามูลค่า 45.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.9 จากปีก่อนซึ่งนำเข้า 35.9 ล้านบาท สินค้านำเข้าส่วนใหญ่เป็นไม้และ
ผลิตภัณฑ์ไม้ 35.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 83.3 สินค้าอื่น ๆ เช่น แร่แบไรต์ หนังโค-กระบือ ของป่า พืชไร่ ฯลฯ 10.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ
37.4
6. ด่านบึงกาฬ มูลค่าการค้า 1,261.3 ล้านบาท เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มูลค่า 455.0 ล้านบาท แล้วเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว
เนื่องจากมีการพัฒนาการขนส่งในลาว ส่งผลต่อเนื่องให้ความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น รวมถึงความต้องการสินค้าจากเวียดนาม ซึ่งสั่งซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น
ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ทำให้มูลค่าการส่งออกโดยรวมพุ่งสูงขึ้น 1,147.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว
เป็นการส่งออกรถจักรยานยนต์ 472.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว เครื่องใช้ไฟฟ้า 361.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว วัสดุก่อสร้าง
139.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เครื่องจักรและอุปกรณ์ 40.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.2
ด้านการนำเข้ามูลค่า 113.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว จากปีก่อนซึ่งนำเข้า 34.6 ล้านบาท สินค้านำเข้าส่วนใหญ่ยังคงเป็นไม้
และผลิตภัณฑ์ไม้ 44.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เครื่องจักรและอุปกรณ์ 39.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว ของป่า 3.5 ล้านบาท ลดลง
ร้อยละ 56.3 เป็นที่น่าสังเกตว่ามีการนำเข้าพริกไทยดำจากประเทศเวียดนามผ่านลาวมูลค่าถึง 22.2 ล้านบาท ในขณะที่ปีก่อนไม่มีการนำเข้า
7. ด่านเขมราฐ มูลค่าการค้า 28.3 ล้านบาท ใกล้เคียงกับระยะเดียวกันของปีก่อน เป็นการส่งออก 18.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ
25.3 สินค้าสำคัญ ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือน 6.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.7 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 6.2 ล้านบาท ลดลง
ร้อยละ 35.4 วัสดุก่อสร้าง 3.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.0 การนำเข้า 10.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เป็นโค-กระบือมีชีวิต 6.8
ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว ชันดิบและน้ำมันยางดิบ 3.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว
8. ด่านท่าลี่ มูลค่าการค้า 142.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว จากระยะเดียวกันของปีก่อน เป็นการส่งออก 123.2 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว จากปีก่อน เนื่องจากมีการพัฒนาเส้นทางขนส่งในลาว ส่งผลให้มีความต้องการสินค้ามากขึ้น สินค้าส่วนหนึ่งถูกส่งต่อไปถึง
หลวงพระบางทางภาคเหนือของลาว สินค้าส่งออกสำคัญประกอบด้วย สินค้าอุปโภคในครัวเรือน (เช่น ผงชูรส บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป สบู่ ยาสีฟัน
ขนม ฯลฯ) 55.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว วัสดุก่อสร้าง 49.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว น้ำมันเบนซิน/ดีเซล 3.0 ล้านบาท
ลดลงร้อยละ 49.1 ด้านการนำเข้ามูลค่า 19.1 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนนำเข้า 6.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เป็นการนำเข้าไม้และ
ผลิตภัณฑ์ไม้ 15.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าตัว สินค้าเข้าอื่น ๆ เช่น ถั่วลิสง ปอกระสา ลูกต๋าว ฯลฯ 3.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว
6. การชำระเงินค่าสินค้าและบริการระหว่างผู้ประกอบการค้าไทย-ลาว
การชำระเงินค่าสินค้าและบริการระหว่างผู้ประกอบการค้าไทย-ลาว ส่วนใหญ่ชำระเป็นเงินสดสกุลบาท อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์
มีบทบาทในการชำระเงินเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ตามนโยบายของทางการทั้ง 2 ประเทศ ที่จะพยายามผลักดันให้การค้าระหว่างกันผ่านสถาบันการเงิน
มากขึ้น เพื่อความสะดวกทางการค้าและจะนำไปสู่การพัฒนาการค้าในอนาคต
การชำระเงินค่าสินค้าและบริการตามแนวชายแดนไทย-ลาวผ่านธนาคารพาณิชย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี 2541 จำนวน
1,430.5 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 59.0 ส่วนใหญ่เป็นการโอนเงินทางโทรเลข 859.7 ล้านบาท สัดส่วนประมาณ 60 รองลงมาเป็น
การชำระเงินด้วยเช็ค 343.4 ล้านบาท สัดส่วนประมาณร้อยละ 24 และชำระเงินด้วยดราฟต์ 227.4 ล้านบาท สัดส่วนประมาณร้อยละ 16
จังหวัดหนองคายใช้บริการธนาคารพาณิชย์ชำระเงินค่าสินค้ามากที่สุด 636.4 ล้านบาท สัดส่วนประมาณร้อยละ 44.5 ของการชำระ
เงินผ่านธนาคารพาณิชย์ในภาคฯ ตามปริมาณธุรกรรมทางการค้าซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าจุดผ่านแดนอื่น ๆ รองลงมาเป็นจังหวัดมุกดาหาร 297.7 ล้านบาท
จังหวัดอุบลราชธานี 263.8 ล้านบาท และจังหวัดนครพนม 93.1 ล้านบาท
ทางด้านการใช้บริการธนาคารพาณิชย์ไทยในกำแพงนครเวียงจันทน์ ชำระค่าสินค้าและบริการ การค้าระหว่างไทยลาวในปี 2541
จำนวน 497.6 ล้านบาท เทียบกับปี 2540 ลดลงร้อยละ 5.3 ส่วนใหญ่เป็นการชำระเงินโดยการโอนทางโทรเลข 311.8 ล้านบาท สัดส่วน
ร้อยละ 62.7 ของการใช้บริการธนาคารพาณิชย์ไทยในลาว รองลงมาเป็นการชำระเงินโดยการเปิด L/C 175.8 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ
35.3 การชำระเงินโดยดราฟต์ 9.9 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 2.0
7. ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ สปป.ลาว ที่เป็นผลกระทบต่อการค้าระหว่างไทย-ลาว
ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทย-ลาว เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ทั้ง 2 ประเทศ ต้องพึ่งพาอาศัยกัน บนพื้นฐานของการมีประโยชน์ร่วมกัน
โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ตามแนวชายแดนที่ผ่านมาไทยได้รับประโยชน์ทางด้านการไฟฟ้าพลังน้ำและสินค้าประเภทไม้จากลาวในขณะที่ลาวเองก็ได้
รับประโยชน์จากสินค้าประเภทอาหาร น้ำมัน วัสดุก่อสร้างจากไทยและอาศัยประเทศไทยเป็นประตูสู่นานาประเทศ
การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ ตลอดจนนโยบายเศรษฐกิจ การเมือง และอื่น ๆ จะส่งผลกระทบต่อการค้าระหว่าง
ประเทศ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับขนาดของการพึ่งพากัน
จากการที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่ใหญ่กว่าและมีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจมากกว่าประเทศลาว การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจใน
ประเทศไทยและนโยบายของทางการไทยจะมีอิทธิพลต่อการค้าระหว่างไทย-ลาว และต่อเนื่องถึงภาวะเศรษฐกิจในลาวค่อนข้างมาก เช่น การ
เปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนของไทยจะมีผลกระทบต่อปริมาณการค้าไทยลาว ตลอดจนกระทบต่อระดับราคาสินค้าของลาว ในขณะเดียวกันการ
เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและนโยบายของลาวจะส่งผลกระทบต่อไทยเช่นเดียวกัน ถ้าคิดถึงผลกระทบโดยรวมแล้วอาจจะมีไม่มากแต่ถ้ามองถึงภาวะ
เศรษฐกิจตามแนวชายแดนแล้วได้รับผลกระทบมากพอควร
7.1 ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทย-สปป.ลาว
ปริมาณการค้าระหว่างประเทศของลาวปี พ.ศ. 2541 มูลค่า 895 ล้านดอลลาร์ สรอ. คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 73.0 ของผลิต
ภัณฑ์มวลรวมประเทศลาว จัดได้ว่าเศรษฐกิจประเทศลาวพึ่งพิงการค้าระหว่างประเทศค่อนข้างสูง การส่งออก 342.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วน
ใหญ่เป็นสินค้าขั้นปฐม เช่น ไม้แปรรูป แร่ดีบุก แร่แบไรต์ หินปูน ของป่า เมล็ดกาแฟ แต่ในระยะหลังสินค้าอุตสาหกรรมเริ่มมีบทบาทสูงขึ้น โดย
เฉพาะอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป ซึ่งกำลังขยายตัวอย่างสูงในลาว การนำเข้ามูลค่า 553.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภค
บริโภค เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์และอะไหล่ เครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งประเทศลาวยังไม่สามารถผลิตได้เองในประเทศและสินค้าทุน ซึ่งทางการ
ลาวมีความจำเป็นต้องนำเข้าเพื่อพัฒนาประเทศ
เปรียบเทียบการนำเข้า การส่งออก กับ GDP ของลาว
หน่วย : ล้านดอลลาร์ สรอ.
2539 2541 2542
การส่งออก 332.00 317.00 342.00
การนำเข้า 690.00 648.00 553.00
ดุลการค้า -367.00 -331.00 -210.00
GDP 1845.70 1092.20 1225.50
ปริมาณการค้า/GDP 0.55 88.30 0.73
-ยังมีต่อ-
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ตั้งแต่ปี 2531 รัฐบาลไทยโดย ฯพณฯ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัน นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ประกาศนโยบายฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศ
เพื่อนบ้าน ทำให้มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับ สปป.ลาว สูงขึ้นเป็นลำดับ จากมูลค่า 2,872.2 ล้านบาทในปี 2532 เป็น 9,726.2 ล้านบาท ในปี
2539 10,365.6 ล้านบาท ในปี 2540 และในปี 2541 มีมูลค่าการค้า 12,301.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 18.7 เนื่องจากการส่งออก
ขยายตัวขึ้นร้อยละ 28.6 แม้ว่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 28.3
จากความพยายามที่จะฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของทั้ง 2 ฝ่าย หลังจากที่ สปป.ลาว ได้เข้าเป็นสมาชิกภาคีอาเซียนก็ได้มีการ
ผ่อนปรน ยกเลิกข้อจำกัดทางการค้า แต่ละฝ่ายพยายามปรับปรุงระเบียบวิธีปฏิบัติให้มีความสะดวกเพื่อเอื้ออำนวยทางการค้าระหว่างกัน คาดว่าใน
ปี 2542 การค้าระหว่างไทย-สปป.ลาว จะมีมูลค่าประมาณ 15,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.0
การค้าชายแดนไทย-ลาว
หน่วย : ล้านบาท
2532 2533 2534 2535 2536 2537 2538 2539 2540 2541 2542 E
มูลค่าการค้า 2872.20 2976.00 3496.30 3982.50 5791.50 8782.00 9984.20 9726.20 10365.60 12301.60 15500.00
-51.40 -3.60 -17.50 -13.90 -45.40 -51.60 -13.70 (-2.6) -6.60 -18.70 -26.00
ส่งออก 1673.10 1563.30 1902.90 2837.90 4130.80 6,87.1 7963.00 7811.50 8559.30 11006.50 13150.00
-30.00 (-6.6) -21.70 -49.10 -45.60 -66.50 -15.80 (-1.9) -9.60 -28.60 -19.50
นำเข้า 1199.10 1412.70 1593.40 1144.60 1660.70 1904.90 2021.20 1914.70 1806.30 1295.10 2350.00
-96.70 -17.80 -12.80 (-28.2) -45.10 -14.70 -6.10 -5.30 (-5.7) (-28.3) -81.50
ดุลการค้า 474.00 150.60 309.50 1693.30 2470.10 4972.20 5941.80 5896.80 6753.00 9711.40 10800.00
ที่มา : ด่านศุลกากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
หมายเหตุ : E = ตัวเลขประมาณการ
ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราเปลี่ยนแปลงจากปีก่อน
สินค้าออก
มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยตลอดจากมูลค่า 1,673.1 ล้านบาทในปี 2532 เป็น 7,811.5 ล้านบาท ในปี 2539 และเป็น 8,559.3 ล้าน
บาทในปี 2540 สำหรับปี 2541 การส่งออกมีมูลค่า 11,006.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 28.6 เฉลี่ยในช่วงปี 2532-2541 การส่งออก
เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.8 ต่อปี คาดว่าในปี 2542 การส่งออกจะมีมูลค่าประมาณ 12,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6
โครงสร้างสินค้าออกไป สปป.ลาว ส่วนใหญ่เป็นสินค้าในหมวดอุปโภคบริโภค มีสัดส่วนร้อยละ 38.0 ของสินค้าออกทั้งหมด สินค้าสำคัญ
ได้แก่ ยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือน (ผงชูรส น้ำปลา บะหมี่สำเร็จรูป ฯลฯ) รองลงมาเป็นสินค้าในหมวดทุน
สัดส่วนร้อยละ 21.8 สินค้าสำคัญจะเป็นวัสดุก่อสร้างและเครื่องจักรอุปกรณ์ นอกจากนี้ ยังมีสินค้าอื่น ๆ อาทิ น้ำมันปิโตรเลียม และน้ำมันเชื่อเพลิง
อื่น เหล็กและเหล็กกล้า อุปกรณ์ตัดเย็บ ฯลฯ
สินค้าเข้า
ไทยนำเข้าสินค้าจาก สปป.ลาว มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยตลอด และในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2532-2541) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ
13.1 ต่อปี ในปี 2538 ทางการลาวมีนโยบายอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ห้ามส่งออกไม้ซุงและลดการให้สัมปทานป่าไม้ ประกอบกับภาวะการก่อสร้าง
ของไทยชะลอตัวลง ทำให้การนำเข้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ชะลอลง ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าโดยรวมจากลาวชะลอตัวลงตามไปด้วย โดยในปี 2539
มูลค่านำเข้า 1,914.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 5.3 ในปี 2540 มูลค่าการนำเข้า 1,806.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.7 ในปี 2541
ที่ผ่านมา การนำเข้าลดลงเห็นได้ชัดเจน มูลค่านำเข้าเพียง 1,295.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 28.3 เป็นไม้และผลิตภัณฑ์ไม้สัดส่วนร้อยละ 66.8
มูลค่า 864.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 38.7 จากปีก่อนซึ่งนำเข้า 1,411.7 ล้านบาท ส่วนสินค้านำเข้าอื่น ๆ อาทิ หนังโค หนังกระบือ เศษโลหะ
ของป่า ฯลฯ กลับมีการนำเข้าเพิ่มขึ้น มูลค่า 430.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 จากปีก่อนซึ่งนำเข้า 394.6 ล้านบาท
ดุลการค้า
ประเทศ สปป.ลาว มีความต้องการสินค้าทุนเพื่อพัฒนาประเทศ และยังมีความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคในเกณฑ์สูง ถึงแม้ว่าสปป.ลาว
พยายามที่จะผลิตสินค้าเพื่อทดแทนการนำเข้า แต่ปริมาณการผลิตยังไม่มากพอ ประกอบกับไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค ทางด้านการนำเข้ารวมในระยะ
หลังมีแนวโน้มลดลงจากนโยบายอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ สำหรับสินค้าอื่น ๆ อาทิ ของป่า เศษโลหะ โค-กระบือ และผลิตภัณฑ์ ฯลฯ ถึงแม้การนำเข้า
จะเพิ่มขึ้น แต่ยังมีมูลค่าน้อย ส่งผลให้ไทยได้เปรียบดุลการค้าลาวมาโดยตลอด ซึ่งในปี 2541 นี้ ไทยเกินดุลการค้า สปป.ลาว ทั้งสิ้น 9,711.4
ล้านบาท เทียบกับปีก่อน 6,753.0 ล้านบาท ไทยเกินดุล สปป.ลาว เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5
การค้าผ่านแดน
ประเทศ สปป.ลาว เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล ต้องอาศัยประเทศเพื่อนบ้านเป็นประตูการค้าสู่นานาประเทศ ส่วนหนึ่งส่งสินค้าออก
ผ่านประเทศเวียดนาม และอีกส่วนหนึ่งต้องอาศัยไทยเป็นทางผ่านส่งสินค้าออก ซึ่งประเทศคู่ค้าสำคัญของลาวผ่านแดนไทยที่สำคัญ คือ ประเทศใน
แถบยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์
สินค้าลาวผ่านแดนไทย มูลค่าขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากมูลค่า 2,170.5 ล้านบาท ในปี 2532 เป็น 14,388.0 ล้านบาทในปี 2540
และในปี 2541 นี้ การค้าของ สปป.ลาว ผ่านแดนไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 15,898.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 จากปีก่อน เฉลี่ยตั้งแต่ปี 2532-2541
มูลค่าการค้าลาวผ่านแดนไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.4 ต่อปี
การค้าผ่านแดนไทย-ลาว ปี 2534-2541
หน่วย : ล้านบาท
2532 2533 2534 2535 2536 2537 2538 2539 2540 2541
มูลค่าการค้าผ่านแดน 1670.50 2352.80 2888.10 3418.00 5271.50 7697.60 9873.20 10820.80 14388.00 15898.90
(-12.9) -40.80 -22.40 -18.30 -54.20 -46.00 -28.30 -9.60 -33.00 -10.50
จากลาวไปประเทศที่สาม 532.00 590.60 880.00 1153.30 1693.80 2286.70 3053.30 2752.20 4122.20 6125.10
(-35.5) -11.00 -49.00 -31.10 -46.90 -35.00 -33.50 (-9.9) -49.80 -48.60
จากประเทศที่สามไปลาว 1638.50 1762.20 2008.10 2264.10 3577.70 5410.90 6819.90 8070.60 10265.80 9773.80
-49.80 -7.50 -13.90 -12.80 -58.00 -51.20 -26.00 -18.50 -27.20 (-4.8)
สินค้าออกผ่านแดนไทย
ด้านการส่งสินค้าออกของ สปป.ลาว ผ่านแดนไทยไปประเทศที่ 3 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
(พ.ศ. 2532-2541) เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 25.9 โครงสร้างสินค้าออกประกอบด้วย สินค้าสำคัญ คือ เมล็ดกาแฟดิบ ซึ่งส่วนใหญ่ส่งออกไป
ประเทศในแถบยุโรปและอเมริกา ไม้แปรรูป ส่วนใหญ่ส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และสิงคโปร์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ซึ่งมีบทบาทมาก
ในระยะหลัง จากการย้ายฐานการผลิตมาจากประเทศอื่น เนื่องจาก สปป.ลาว มีต้นทุนถูกกว่า ในปี 2541 มูลค่าส่งออกผ่านแดนไทยมีมูลค่า
6,125.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 48.6
สินค้าจาก สปป.ลาว ส่งออกผ่านแดนไทยไปประเทศที่ 3 ที่สำคัญในปี 2541 ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป มูลค่า 3,162.3 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6 ส่วนใหญ่ส่งออกไปประเทศเยอรมันนี ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฯลฯ เมล็ดกาแฟดิบมูลค่า 862.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 53.0 ส่วนใหญ่ส่งออกไปฝรั่งเศส เยอรมันนี และสหรัฐอเมริกา ไม้แปรรูป ส่งไปญี่ปุ่น ไต้หวัน และฮ่องกง มูลค่า 520.0 ล้านบาท
ลดลงร้อยละ 2.3
สินค้าเข้าผ่านแดนไทย
ด้านสินค้านำเข้าลาวแผ่นแดนไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.1 โครงสร้างการ
นำเข้าที่สำคัญประกอบด้วย บุหรี่ต่างประเทศจากสิงคโปร์ สิ่งทอจากญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และฮ่องกง เครื่องจักรและอุปกรณ์จากญี่ปุ่น เยอรมัน
เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ ยานพาหนะจากญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ในปี 2541 การนำเข้าผ่านแดนไทยมีมูลค่า 9,773.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.8
จากปีก่อนซึ่งนำเข้า 10,265.8 ล้านบาท เนื่องจากการชะลอตัวลงของการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์เป็นสำคัญ
สำหรับสินค้าที่ลาวนำเข้าจากประเทศที่ 3 ผ่านแดนไทยในปี 2541 ส่วนใหญ่เป็นบุหรี่จากสิงคโปร์มูลค่า 3,280.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 29.4 รองลงมาเป็นเครื่องจักรและอุปกรณ์จากไต้หวัน ฮ่องกง เกาหลีใต้ และเยอรมันมูลค่า 1,773.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 26.8
สิ่งทอจากเกาหลีใต้ ฮ่องกง ญี่ปุ่น สิงคโปร์มูลค่า 1,469.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.1 รถยนต์ รถจักรยานยนต์และอะไหล่จากญี่ปุ่น เกาหลี
ใต้มูลค่า 875.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 เครื่องใช้ไฟฟ้ามูลค่า 216.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 53.5
5. ภาวะการค้าชายแดนไทย-ลาว 9 เดือนแรก ปี 2542 และแนวโน้มตลอดปี
5.1 การส่งออก มีมูลค่า 9,523.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.9 จากระยะเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออก 7,874.7 ล้านบาท
เนื่องจากการส่งออกเพิ่มขึ้นทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะสินค้าในหมวดอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว หมวดสินค้าทุน สินค้าวัตถุดิบขยายตัวตาม
การขยายตัวของการลงทุนในประเทศลาว สรุปการส่งออกในแต่ละหมวด ดังนี้
สินค้าอุปโภคบริโภค มูลค่าการส่งออก 5,516.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว จากระยะเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออก 2,716.7
ล้านบาท เนื่องจากมีการส่งออกยานพาหนะและส่วนประกอบเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ มูลค่า 3,041.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่าตัว เครื่องใช้ไฟฟ้า
960.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 69.8 สินค้าบริโภคในครัวเรือน (สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก ผงชูรส บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ฯลฯ) 1,225.3 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.4
ส่วนสินค้าส่งออกสำคัญในหมวดนี้ที่ส่งออกได้ลดลง ได้แก่ ยารักษาโรคส่งออก 69.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 33.8 เครื่องแต่งกาย
65.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 76.6 อาหารสัตว์ 60.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 14.8
สินค้าอุปโภคบริโภค
หน่วย : ล้านบาท
2541 (ม.ค.-ก.ย.) 2542 (ม.ค.-ก.ย.) อัตราเพิ่ม (%)
สินค้าอุปโภคบริโภค 2716.70 5516.90 103.10
ยานพาหนะและส่วนประกอบ 604.80 3041.30 402.90
สินค้าบริโภคในครัวเรือน 898.30 1225.30 36.40
เครื่องใช้ไฟฟ้า 565.70 960.40 69.80
ยารักษาโรค 105.20 69.60 -33.80
เครื่องแต่งกาย 281.20 65.80 -76.60
อาหารสัตว์ 71.40 60.80 -14.80
อื่น ๆ 190.10 93.70 -50.70
ที่มา : ด่านศุลกากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สินค้าทุน มูลค่าส่งออก 1,801.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 จากระยะเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออก 1,774.5 ล้านบาท เนื่องจาก
ลาวยังมีความต้องการสินค้าทุนค่อนข้างสูงเพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศ เช่น สร้างถนน เขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า สนามบิน ฯลฯ ส่วนใหญ่เป็นวัสดุ
ก่อสร้าง มูลค่า 1,134.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ปีก่อนซึ่งส่งออก 1,125.0 ล้านบาท (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63 ของสินค้าทุนทั้งหมด)
รองลงมาเป็นเครื่องจักรและอุปกรณ์มูลค่า 386.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 20.0 สินค้าทุนอื่น ๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องมือวิทยาศาสตร์
ปุ๋ย แก้วและเครื่องแก้ว ฯลฯ 280.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.2
สินค้าทุน
หน่วย : ล้านบาท
2541 (ม.ค. ก.ย.) 2542 (ม.ค.-ก.ย.) อัตราเพิ่ม (%)
สินค้าทุน 1774.50 1801.70 1.50
วัสดุก่อสร้าง 1125.00 1134.60 0.80
เครื่องจักรและอุปกรณ์ 482.60 386.30 -20.00
สินค้าทุนอื่น ๆ 166.90 280.80 68.20
ที่มา : ด่านศุลกากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ การส่งออกสินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบไปลาว ในช่วง 9 เดือนแรกปี 2542 มีมูลค่า 942.1 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 89.6 จากระยะเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีมูลค่า 305.6 ล้านบาท เนื่องจากมีการขยายการลงทุนในลาวค่อนข้างมาก และวัตถุดิบ
ส่วนหนึ่งลาวยังไม่สามารถผลิตเองได้ วัตถุดิบที่ส่งออกไปลาวส่วนใหญ่เป็นผ้าผืนและอุปกรณ์ตัดเย็บ สำหรับอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป
มูลค่า 603.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนกว่าเท่าตัว เหล็กและเหล็กกล้า 55.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 65.3 กระดาษและ
กระดาษแข็ง 44.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.4 สินค้าวัตถุดิบอื่น เช่น พืชไร่ เคมีภัณฑ์ สินแร่ เม็ดพลาสติก ฯลฯ 238.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
กว่าเท่าตัว
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ
หน่วย : ล้านบาท
2541 (ม.ค.-ก.ย.) 2541 (ม.ค.-ก.ย.) อัตราเพิ่ม (%)
วัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ 497.00 942.10 89.60
ผ้าและอุปกรณ์ตัดเย็บ 281.20 603.20 114.50
เหล็กและเหล็กกล้า 160.50 55.60 -65.30
กระดาษและกระดาษแข็ง 29.40 44.50 51.40
ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ส่งออกมูลค่า 999.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.5 จากระยะเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่า 816.1 ล้านบาท
เป็นการเพิ่มขึ้นของการใช้ยานพาหนะในลาว
5.2 การนำเข้า
มูลค่า 1,868.9 ล้านบาท เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนมูลค่า 1,010 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 85.0 เนื่องจากทางการลาวให้
สัมปทานการทำไม้เพิ่ม การนำเข้าไม้จากลาวเพิ่มขึ้น มูลค่า 1,361.8 ล้านบาท เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนนำเข้า 673.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
กว่าเท่าตัว เศษโลหะนำเข้ามูลค่า 69.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.6 โค-กระบือและผลิตภัณฑ์ 34.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.9 ของป่า
(ชันดิบ น้ำมันยางดิบ ลูกเร่ว เปลือกบง ฯลฯ) 37.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 82.4 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 188.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ
22.2 เกือบทั้งหมดเป็นเครื่องจักรใช้แล้วของนักลงทุนไทยในลาว
สินค้าเข้า
หน่วย : ล้านบาท
2541 (ม.ค.-ก.ย.) 2542 (ม.ค.-ก.ย.) อัตราเพิ่ม (%)
สินค้าขาเข้า 1010.30 1868.90 85.00
ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 673.40 1361.80 102.20
เครื่องจักรและอุปกรณ์ 153.90 188.00 22.20
เศษโลหะ 43.00 69.50 61.60
ของป่า 20.40 37.20 82.40
โค-กระบือ และผลิตภัณฑ์ 24.80 34.70 102.20
สินค้าเข้าอื่น ๆ 94.70 247.20 161.00
ที่มา : ด่านศุลกากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
5.3 การค้าชายแดนรายด่านศุลกากร 9 เดือนแรกปี 2542
1. ด่านศุลกากรหนองคาย มูลค่าการค้า 4,286.5 ล้านบาท เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มูลค่า 5,477.0 ล้านบาท
แล้วลดลงร้อยละ 21.86 ล้านบาท มูลค่าการค้าผ่านจุดนี้มีมูลค่าสูงสุดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 37.2 ของการค้าชายแดนไทย-ลาวในภาคทั้งหมด
แยกเป็นการส่งออก 4,031.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 23.2 สินค้าหมวดอุปโภคบริโภคส่งออก 1,265.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.7 จาก
ปีก่อน ส่งออก 999.0 ล้านบาท สินค้าสำคัญ ได้แก่ รถยนต์ รถจักรยานยนต์และอะไหล่ 343.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 เครื่องใช้ไฟฟ้า
270.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ยารักษาโรค 33.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.3 หมวดสินค้าทุนส่งออก 919.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.2
จากปีก่อนส่งออก 980.2 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกวัสดุก่อสร้าง 589.0 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.2 รองลงมาเป็นเครื่องจักร
และอุปกรณ์ 196.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 34.6 สินค้าในหมวดวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบส่งออก 882.5 ล้านบาท เทียบกับเดือนก่อนส่งออก 511.9
ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 72.4 สินค้าสำคัญ ได้แก่ ผ้าและอุปกรณ์ตัดเย็บสำหรับอุตสาหกรรมตัดเย็บ ซึ่งกำลังขยายตัวอย่างมากในลาว มูลค่า 590.0
ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว กระดาษและกระดาษแข็ง 43.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.1 เหล็กและเหล็กกล้า 31.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ
68.3 ทางด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม 702.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.9 ตามการเพิ่มขึ้นของการใช้รถยนต์และรถจักรยานยนต์
สำหรับการนำเข้ามูลค่า 255.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 จาก 9 เดือนแรกของปีก่อนซึ่งนำเข้า 228.0 ล้านบาท เนื่องจาก
การนำเข้าไม้แปรรูปซึ่งเป็นสินค้านำเข้าหลักเพิ่มขึ้นจากที่ทางการลาวขยายการให้สัมปทานเพิ่มมูลค่านำเข้า 153.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.8
ด้านการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์มูลค่า 42.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 37.1 ทั้งหมดเป็นเครื่องจักรและอุปกรณ์ใช้แล้วของนักลงทุนไทยในลาว
นำกลับ สินค้าอื่น ๆ เช่น ลูกหยี เศษโลหะ ผ้าพื้นเมือง เศษกระดาษ ฯลฯ 59.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.6
2. ด่านมุกดาหาร มูลค่าการค้า 3,470.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าตัว จากปีก่อนซึ่งมูลค่า 1,177.0 ล้านบาท เนื่องจากมีการ
ส่งออกเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ มูลค่า 3,006.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าตัวจากปีก่อนซึ่งส่งออก 1,058.1 ล้านบาท สินค้าในหมวดอุปโภคบริโภค
ส่งออก 2,666.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว ทั้งนี้ เนื่องจากการส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์และอะไหล่ เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ มูลค่า
1,899.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบ 20 เท่าตัว (ปีก่อนส่งออกเพียง 93.4) ซึ่งส่วนใหญ่ถูกส่งต่อไปประเทศเวียดนาม เครื่องใช้ไฟฟ้า 268.2
ล้านบาท ลดลงร้อยละ 18.5 ส่วนใหญ่เป็นหม้อหุงข้าวและโทรทัศน์สี น้ำมันปิโตรเลียมและน้ำมันเชื้อเพลิงอื่น 70.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.7
ด้านการนำเข้ามูลค่า 464.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าตัวจากปีก่อนนำเข้า 118.9 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าไม้และ
ผลิตภัณฑ์ไม้เป็นสำคัญ มูลค่า 380.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว เครื่องจักรและอุปกรณ์ 64.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับปีก่อน
ซึ่งนำเข้าเพียง 4.2 ล้านบาท ทั้งหมดเป็นเครื่องจักรและอุปกรณ์ใช้แล้วของนักลงทุนไทยในลาว สินค้าอื่น ๆ เช่น พืชไร่ เศษโลหะ ของป่า ฯลฯ
18.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 12.9
3. ด่านนครพนม มูลค่าการค้า 1,297.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.7 จากระยะเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีมูลค่า 849.4 ล้านบาท
เป็นการส่งออก 541.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.4 สินค้าส่งออกที่สำคัญได้แก่ รถยนต์ รถจักรยานยนต์และอะไหล่ 255.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
กว่า 3 เท่าตัว รองลงมาเป็น วัสดุก่อสร้าง 65.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 31.7 น้ำมันปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ 56.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ
25.5 เครื่องใช้ไฟฟ้า 37.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 29.4 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 20.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.1
การนำเข้ามูลค่า 755.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 82.5 จากระยะเดียวกันของปีก่อนซึ่งนำเข้า 414.2 ล้านบาท สินค้าสำคัญ ได้แก่
ไม้แปรรูป 639.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว สินค้านำเข้าอื่น ๆ เช่น แร่ดีบุก ของป่า เศษโลหะ ฯลฯ 116.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2
4. ด่านพิบูลมังสาหาร 9 เดือนแรกปี 2542 มูลค่าการค้า 838.9 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 จากระยะเดียวกันของปีก่อน เป็น
การส่งออก 634.8 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.9 สินค้าที่สำคัญ ได้แก่ วัสดุก่อสร้าง 184.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.8 น้ำมันปิโตรเลียม
และผลิตภัณฑ์ 166.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 สินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือน (สบู่ ยาสีฟัน ผงชูรส บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนม ฯลฯ) 72.6
ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.2 รถยนต์ รถจักรยานยนต์และอะไหล่ 58.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว
การนำเข้า 204.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.2 จากปีก่อนมูลค่า 167.0 ล้านบาท แม้ว่ามีการนำไม้แปรรูปลดลง นำเข้า 93.1
ล้านบาท ลดลงร้อยละ 17.2 แต่มีการนำเข้าเศษโลหะเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก มูลค่า 55.4 ล้านบาท ในขณะที่ปีก่อนนำเข้าเพียง 0.1 ล้านบาท
เครื่องจักรและอุปกรณ์ 41.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.2
5. ด่านเชียงคาน มูลค่าการค้า 51.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 16.7 ปีก่อน แยกเป็นสินค้าออก 5.5
ล้านบาท ลดลงร้อยละ 30.4 สินค้าสำคัญ ได้แก่ วัสดุก่อสร้าง 2.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 93.3 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 1.1 ล้านบาท ลดลง
ร้อยละ 59.3 ด้านการนำเข้ามูลค่า 45.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.9 จากปีก่อนซึ่งนำเข้า 35.9 ล้านบาท สินค้านำเข้าส่วนใหญ่เป็นไม้และ
ผลิตภัณฑ์ไม้ 35.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 83.3 สินค้าอื่น ๆ เช่น แร่แบไรต์ หนังโค-กระบือ ของป่า พืชไร่ ฯลฯ 10.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ
37.4
6. ด่านบึงกาฬ มูลค่าการค้า 1,261.3 ล้านบาท เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มูลค่า 455.0 ล้านบาท แล้วเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว
เนื่องจากมีการพัฒนาการขนส่งในลาว ส่งผลต่อเนื่องให้ความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น รวมถึงความต้องการสินค้าจากเวียดนาม ซึ่งสั่งซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น
ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ทำให้มูลค่าการส่งออกโดยรวมพุ่งสูงขึ้น 1,147.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว
เป็นการส่งออกรถจักรยานยนต์ 472.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว เครื่องใช้ไฟฟ้า 361.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว วัสดุก่อสร้าง
139.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เครื่องจักรและอุปกรณ์ 40.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.2
ด้านการนำเข้ามูลค่า 113.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว จากปีก่อนซึ่งนำเข้า 34.6 ล้านบาท สินค้านำเข้าส่วนใหญ่ยังคงเป็นไม้
และผลิตภัณฑ์ไม้ 44.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เครื่องจักรและอุปกรณ์ 39.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว ของป่า 3.5 ล้านบาท ลดลง
ร้อยละ 56.3 เป็นที่น่าสังเกตว่ามีการนำเข้าพริกไทยดำจากประเทศเวียดนามผ่านลาวมูลค่าถึง 22.2 ล้านบาท ในขณะที่ปีก่อนไม่มีการนำเข้า
7. ด่านเขมราฐ มูลค่าการค้า 28.3 ล้านบาท ใกล้เคียงกับระยะเดียวกันของปีก่อน เป็นการส่งออก 18.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ
25.3 สินค้าสำคัญ ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือน 6.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.7 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 6.2 ล้านบาท ลดลง
ร้อยละ 35.4 วัสดุก่อสร้าง 3.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.0 การนำเข้า 10.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เป็นโค-กระบือมีชีวิต 6.8
ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว ชันดิบและน้ำมันยางดิบ 3.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว
8. ด่านท่าลี่ มูลค่าการค้า 142.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว จากระยะเดียวกันของปีก่อน เป็นการส่งออก 123.2 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว จากปีก่อน เนื่องจากมีการพัฒนาเส้นทางขนส่งในลาว ส่งผลให้มีความต้องการสินค้ามากขึ้น สินค้าส่วนหนึ่งถูกส่งต่อไปถึง
หลวงพระบางทางภาคเหนือของลาว สินค้าส่งออกสำคัญประกอบด้วย สินค้าอุปโภคในครัวเรือน (เช่น ผงชูรส บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป สบู่ ยาสีฟัน
ขนม ฯลฯ) 55.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว วัสดุก่อสร้าง 49.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว น้ำมันเบนซิน/ดีเซล 3.0 ล้านบาท
ลดลงร้อยละ 49.1 ด้านการนำเข้ามูลค่า 19.1 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนนำเข้า 6.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เป็นการนำเข้าไม้และ
ผลิตภัณฑ์ไม้ 15.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าตัว สินค้าเข้าอื่น ๆ เช่น ถั่วลิสง ปอกระสา ลูกต๋าว ฯลฯ 3.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว
6. การชำระเงินค่าสินค้าและบริการระหว่างผู้ประกอบการค้าไทย-ลาว
การชำระเงินค่าสินค้าและบริการระหว่างผู้ประกอบการค้าไทย-ลาว ส่วนใหญ่ชำระเป็นเงินสดสกุลบาท อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์
มีบทบาทในการชำระเงินเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ตามนโยบายของทางการทั้ง 2 ประเทศ ที่จะพยายามผลักดันให้การค้าระหว่างกันผ่านสถาบันการเงิน
มากขึ้น เพื่อความสะดวกทางการค้าและจะนำไปสู่การพัฒนาการค้าในอนาคต
การชำระเงินค่าสินค้าและบริการตามแนวชายแดนไทย-ลาวผ่านธนาคารพาณิชย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี 2541 จำนวน
1,430.5 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 59.0 ส่วนใหญ่เป็นการโอนเงินทางโทรเลข 859.7 ล้านบาท สัดส่วนประมาณ 60 รองลงมาเป็น
การชำระเงินด้วยเช็ค 343.4 ล้านบาท สัดส่วนประมาณร้อยละ 24 และชำระเงินด้วยดราฟต์ 227.4 ล้านบาท สัดส่วนประมาณร้อยละ 16
จังหวัดหนองคายใช้บริการธนาคารพาณิชย์ชำระเงินค่าสินค้ามากที่สุด 636.4 ล้านบาท สัดส่วนประมาณร้อยละ 44.5 ของการชำระ
เงินผ่านธนาคารพาณิชย์ในภาคฯ ตามปริมาณธุรกรรมทางการค้าซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าจุดผ่านแดนอื่น ๆ รองลงมาเป็นจังหวัดมุกดาหาร 297.7 ล้านบาท
จังหวัดอุบลราชธานี 263.8 ล้านบาท และจังหวัดนครพนม 93.1 ล้านบาท
ทางด้านการใช้บริการธนาคารพาณิชย์ไทยในกำแพงนครเวียงจันทน์ ชำระค่าสินค้าและบริการ การค้าระหว่างไทยลาวในปี 2541
จำนวน 497.6 ล้านบาท เทียบกับปี 2540 ลดลงร้อยละ 5.3 ส่วนใหญ่เป็นการชำระเงินโดยการโอนทางโทรเลข 311.8 ล้านบาท สัดส่วน
ร้อยละ 62.7 ของการใช้บริการธนาคารพาณิชย์ไทยในลาว รองลงมาเป็นการชำระเงินโดยการเปิด L/C 175.8 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ
35.3 การชำระเงินโดยดราฟต์ 9.9 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 2.0
7. ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ สปป.ลาว ที่เป็นผลกระทบต่อการค้าระหว่างไทย-ลาว
ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทย-ลาว เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ทั้ง 2 ประเทศ ต้องพึ่งพาอาศัยกัน บนพื้นฐานของการมีประโยชน์ร่วมกัน
โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ตามแนวชายแดนที่ผ่านมาไทยได้รับประโยชน์ทางด้านการไฟฟ้าพลังน้ำและสินค้าประเภทไม้จากลาวในขณะที่ลาวเองก็ได้
รับประโยชน์จากสินค้าประเภทอาหาร น้ำมัน วัสดุก่อสร้างจากไทยและอาศัยประเทศไทยเป็นประตูสู่นานาประเทศ
การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ ตลอดจนนโยบายเศรษฐกิจ การเมือง และอื่น ๆ จะส่งผลกระทบต่อการค้าระหว่าง
ประเทศ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับขนาดของการพึ่งพากัน
จากการที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่ใหญ่กว่าและมีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจมากกว่าประเทศลาว การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจใน
ประเทศไทยและนโยบายของทางการไทยจะมีอิทธิพลต่อการค้าระหว่างไทย-ลาว และต่อเนื่องถึงภาวะเศรษฐกิจในลาวค่อนข้างมาก เช่น การ
เปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนของไทยจะมีผลกระทบต่อปริมาณการค้าไทยลาว ตลอดจนกระทบต่อระดับราคาสินค้าของลาว ในขณะเดียวกันการ
เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและนโยบายของลาวจะส่งผลกระทบต่อไทยเช่นเดียวกัน ถ้าคิดถึงผลกระทบโดยรวมแล้วอาจจะมีไม่มากแต่ถ้ามองถึงภาวะ
เศรษฐกิจตามแนวชายแดนแล้วได้รับผลกระทบมากพอควร
7.1 ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทย-สปป.ลาว
ปริมาณการค้าระหว่างประเทศของลาวปี พ.ศ. 2541 มูลค่า 895 ล้านดอลลาร์ สรอ. คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 73.0 ของผลิต
ภัณฑ์มวลรวมประเทศลาว จัดได้ว่าเศรษฐกิจประเทศลาวพึ่งพิงการค้าระหว่างประเทศค่อนข้างสูง การส่งออก 342.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วน
ใหญ่เป็นสินค้าขั้นปฐม เช่น ไม้แปรรูป แร่ดีบุก แร่แบไรต์ หินปูน ของป่า เมล็ดกาแฟ แต่ในระยะหลังสินค้าอุตสาหกรรมเริ่มมีบทบาทสูงขึ้น โดย
เฉพาะอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป ซึ่งกำลังขยายตัวอย่างสูงในลาว การนำเข้ามูลค่า 553.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภค
บริโภค เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์และอะไหล่ เครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งประเทศลาวยังไม่สามารถผลิตได้เองในประเทศและสินค้าทุน ซึ่งทางการ
ลาวมีความจำเป็นต้องนำเข้าเพื่อพัฒนาประเทศ
เปรียบเทียบการนำเข้า การส่งออก กับ GDP ของลาว
หน่วย : ล้านดอลลาร์ สรอ.
2539 2541 2542
การส่งออก 332.00 317.00 342.00
การนำเข้า 690.00 648.00 553.00
ดุลการค้า -367.00 -331.00 -210.00
GDP 1845.70 1092.20 1225.50
ปริมาณการค้า/GDP 0.55 88.30 0.73
-ยังมีต่อ-
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-