ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ขยายหลักเกณฑ์การขอชดเชยค่าดอกเบี้ยแก่ผู้ส่งออกที่ส่งสินค้าไปยังตลาดใหม่ โดยเพิ่มให้ผู้ส่งออกที่ใช้บริการสินเชื่อเพื่อเตรียมการส่งออกกับ ธสน. สามารถชดเชยค่าดอกเบี้ยไปยังตลาดใหม่ได้ นอกเหนือจากผู้ที่ใช้บริการแพ็คกิ้งเครดิตและแพ็คกิ้งเครดิตแบบกู้ตรง
นางสุปรียา แสงอุดมเลิศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธสน. เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธสน. ได้ขยายหลักเกณฑ์การขอรับชดเชยค่าดอกเบี้ยสำหรับผู้ส่งออกที่ส่งสินค้าไปยังตลาดใหม่จำนวน 141 ประเทศ จากเดิมที่จำกัดเฉพาะผู้ส่งออกที่ใช้วงเงินแพ็คกิ้งเครดิตและแพ็คกิ้งเครดิตแบบกู้ตรงขยายเป็นให้ผู้ส่งออกที่ใช้บริการสินเชื่อเพื่อเตรียมการส่งออก (Pre-Shipment Financing (PSF)) กับ ธสน.ด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ผู้ส่งออกขยายตลาดไปยังตลาดสินค้าใหม่ๆ มากขึ้น ตามโครงการผลักดันการส่งออกเพื่อเพิ่มสัดส่วนการส่งออกไปยังตลาดใหม่ของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งจะเป็นหนทางหนึ่งในการเพิ่มมูลค่าการส่งออกให้มากขึ้น และนำมาซึ่งรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธสน.กล่าวต่ออีกว่า กฎเกณฑ์ในการขอชดเชยดอกเบี้ยไปยังตลาดใหม่สำหรับบริการ PSF เหมือนกับบริการแพ็คกิ้งเครดิตและบริการแพ็คกิ้งเครดิตแบบกู้ตรงทุกประการ คือผู้ส่งออกที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการจะต้องขอรับและยื่นหนังสือแสดงเจตจำนงขอชดเชยค่าดอกเบี้ยจากการส่งสินค้าออกไปตลาดใหม่เพียงครั้งเดียวที่ฝ่ายธุรกิจธนาคาร ธสน.สำนักงานใหญ่ หรือสาขาทุกแห่ง ก่อนทำการส่งสินค้าออก หลังจากที่ผู้ส่งออกทำการส่งออกและได้รับการชำระเงินค่าสินค้าแล้ว จะต้องจัดส่งหนังสือขอชดเชยค่าดอกเบี้ยจากการส่งสินค้าออกไปตลาดใหม่ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับสุดท้ายที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้านั้นถึงกำหนดใช้เงิน พร้อมสำเนาหลักฐานแสดงการนำเข้าซึ่งเงินตราต่างประเทศค่าสินค้า ใบตราส่งสินค้า ใบขนสินค้า ขาออก และใบกำกับสินค้าฉบับที่ส่งไปเรียกเก็บเงิน เมื่อ ธสน. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลการส่งออกแล้วจะจ่ายชดเชยค่าดอกเบี้ยให้แก่ผู้ส่งออกที่ทำการส่งสินค้าออกเพิ่มขึ้นจากการส่งออกในปีที่ผ่านมา
--Exim News ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2544--
-อน-
นางสุปรียา แสงอุดมเลิศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธสน. เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธสน. ได้ขยายหลักเกณฑ์การขอรับชดเชยค่าดอกเบี้ยสำหรับผู้ส่งออกที่ส่งสินค้าไปยังตลาดใหม่จำนวน 141 ประเทศ จากเดิมที่จำกัดเฉพาะผู้ส่งออกที่ใช้วงเงินแพ็คกิ้งเครดิตและแพ็คกิ้งเครดิตแบบกู้ตรงขยายเป็นให้ผู้ส่งออกที่ใช้บริการสินเชื่อเพื่อเตรียมการส่งออก (Pre-Shipment Financing (PSF)) กับ ธสน.ด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ผู้ส่งออกขยายตลาดไปยังตลาดสินค้าใหม่ๆ มากขึ้น ตามโครงการผลักดันการส่งออกเพื่อเพิ่มสัดส่วนการส่งออกไปยังตลาดใหม่ของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งจะเป็นหนทางหนึ่งในการเพิ่มมูลค่าการส่งออกให้มากขึ้น และนำมาซึ่งรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธสน.กล่าวต่ออีกว่า กฎเกณฑ์ในการขอชดเชยดอกเบี้ยไปยังตลาดใหม่สำหรับบริการ PSF เหมือนกับบริการแพ็คกิ้งเครดิตและบริการแพ็คกิ้งเครดิตแบบกู้ตรงทุกประการ คือผู้ส่งออกที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการจะต้องขอรับและยื่นหนังสือแสดงเจตจำนงขอชดเชยค่าดอกเบี้ยจากการส่งสินค้าออกไปตลาดใหม่เพียงครั้งเดียวที่ฝ่ายธุรกิจธนาคาร ธสน.สำนักงานใหญ่ หรือสาขาทุกแห่ง ก่อนทำการส่งสินค้าออก หลังจากที่ผู้ส่งออกทำการส่งออกและได้รับการชำระเงินค่าสินค้าแล้ว จะต้องจัดส่งหนังสือขอชดเชยค่าดอกเบี้ยจากการส่งสินค้าออกไปตลาดใหม่ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับสุดท้ายที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้านั้นถึงกำหนดใช้เงิน พร้อมสำเนาหลักฐานแสดงการนำเข้าซึ่งเงินตราต่างประเทศค่าสินค้า ใบตราส่งสินค้า ใบขนสินค้า ขาออก และใบกำกับสินค้าฉบับที่ส่งไปเรียกเก็บเงิน เมื่อ ธสน. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลการส่งออกแล้วจะจ่ายชดเชยค่าดอกเบี้ยให้แก่ผู้ส่งออกที่ทำการส่งสินค้าออกเพิ่มขึ้นจากการส่งออกในปีที่ผ่านมา
--Exim News ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2544--
-อน-