แท็ก
ปลาดุก
1. สถานการณ์การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (12-19 มิย. 2544) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูล จำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,461.31 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 602.52 ตัน สัตว์น้ำจืด 858.79 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 8.27 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 10.62 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 91.42 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 59.22 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 54.45 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
คาดการณ์ : การส่งออกปี 44
นายไพบูลย์ พลสุวรรณ นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย สรุปสถานณ์การส่งออกสินค้าแช่แข็งในปี 2543 และสถานการณ์การส่งออกในปีนี้ ดังนี้
ปี 2543 การส่งออกอาหารแช่แข็ง ซึ่งประกอบด้วย กุ้งแช่แข็ง ปลาหมึก แช่แข็ง และปลาแช่แข็ง มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 126,467 ล้านบาท โดยแยกเป็น :-
- กุ้งแช่แข็งและแปรรูปมูลค่าการส่งออก 100,542 ล้านบาท (กุ้งแปรรูป คือ กุ้งต้ม/กุ้งชุบแป้งและอื่น ๆ) ตลาดหลักของกุ้งแช่แข็งและแปรรูปคือ สหรัฐอเมริกา ซึ่งไทยมีการส่งออกถึง 48% ของปริมาณการส่งออกทั้งหมด
- ปลา หรือเนื้อปลาบด มูลค่าการส่งออก 14,463 ล้านบาท ตลาดหลักอยู่ที่ญี่ปุ่น สินค้าตัวนี้มีการนำไปแปรรูปเป็นอาหารต่าง ๆ เช่น เนื้อปูเทียม โดยมีส่วนแบ่งตลาดกว่า 60%
- ปลาหมึกแช่แข็งมูลค่าการส่งออก 11,462 ล้านบาท ตลาดหลักอยู่ที่ญี่ปุ่นและสหภาพยุโรปสถานการณ์การส่งออกในปี 2543 ซึ่งเป็นปีของอาหารแช่แข็ง โดยเฉพาะกุ้งกุลาดำ มีการส่งออกในรูป แช่แข็งและแปรรูปในปริมาณ 227,000 ตัน เนื่องจากประเทศคู่แข่ง อาทิ เอควาดอร์ จีน ประสบปัญหาเรื่องโรคหัวเหลืองและตัวแดงดวงขาว ทำให้ผู้นำเข้าต้องหันมานำเข้าจากประเทศไทย
สำหรับปลาและปลาหมึก การส่งออกชะลอตัวลง เพราะการขาดแคลนวัตถุดิบ เนื่องจากผลผลิตในประเทศมีไม่เพียงพอ และยังมีความจำเป็นต้องพึ่งพาการจับจากทะเล โดยส่วนหนึ่งมีการนำเข้าจากการทำประมงร่วม
การคาดการณ์ในปีนี้ คาดว่าไตรมาสที่ 1 และ 2 ปริมาณการส่งออกจะยังคงใกล้เคียงกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ส่วนมูลค่าคาดว่าจะลดลง เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจ ภายในของตลาดหลัก อาทิ สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกุ้ง คาดว่าราคาจะลดลง เนื่องจากในปีนี้การจับกุ้งขาวในประเทศอเมริกาได้ผลดีและประเทศที่มีปัญหาคือ จีนและเอควาเดอร์เริ่มฟื้นตัว ทำให้ผลผลิตเข้าสู่ตลาดมากขึ้น ส่งผลให้กุ้งขาวราคาลดลงอย่างต่อเนื่องและเป็นผลกระทบต่อราคากุ้งกุลาดำด้วย ส่วนปลาและปลาหมึกยังคงมีปัญหา ในเรื่องวัตถุดิบต่อไป
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.20 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 25.87 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.33 บาทสำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.77 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 51.28 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.49 บาทสำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 316.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 57.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ429.38 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 420.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 9.38 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ16.55 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 15.42 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.13 บาทสำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 60.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.50 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 76.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.32 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.13 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 3.14 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.01 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58% ขึ้นไป (ระหว่างวันที่ 18-22 มิย.44 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.40 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.10 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 23 ประจำวันที่ 18-24 มิ.ย. 2544--
-สส-
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (12-19 มิย. 2544) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูล จำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,461.31 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 602.52 ตัน สัตว์น้ำจืด 858.79 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 8.27 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 10.62 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 91.42 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 59.22 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 54.45 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
คาดการณ์ : การส่งออกปี 44
นายไพบูลย์ พลสุวรรณ นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย สรุปสถานณ์การส่งออกสินค้าแช่แข็งในปี 2543 และสถานการณ์การส่งออกในปีนี้ ดังนี้
ปี 2543 การส่งออกอาหารแช่แข็ง ซึ่งประกอบด้วย กุ้งแช่แข็ง ปลาหมึก แช่แข็ง และปลาแช่แข็ง มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 126,467 ล้านบาท โดยแยกเป็น :-
- กุ้งแช่แข็งและแปรรูปมูลค่าการส่งออก 100,542 ล้านบาท (กุ้งแปรรูป คือ กุ้งต้ม/กุ้งชุบแป้งและอื่น ๆ) ตลาดหลักของกุ้งแช่แข็งและแปรรูปคือ สหรัฐอเมริกา ซึ่งไทยมีการส่งออกถึง 48% ของปริมาณการส่งออกทั้งหมด
- ปลา หรือเนื้อปลาบด มูลค่าการส่งออก 14,463 ล้านบาท ตลาดหลักอยู่ที่ญี่ปุ่น สินค้าตัวนี้มีการนำไปแปรรูปเป็นอาหารต่าง ๆ เช่น เนื้อปูเทียม โดยมีส่วนแบ่งตลาดกว่า 60%
- ปลาหมึกแช่แข็งมูลค่าการส่งออก 11,462 ล้านบาท ตลาดหลักอยู่ที่ญี่ปุ่นและสหภาพยุโรปสถานการณ์การส่งออกในปี 2543 ซึ่งเป็นปีของอาหารแช่แข็ง โดยเฉพาะกุ้งกุลาดำ มีการส่งออกในรูป แช่แข็งและแปรรูปในปริมาณ 227,000 ตัน เนื่องจากประเทศคู่แข่ง อาทิ เอควาดอร์ จีน ประสบปัญหาเรื่องโรคหัวเหลืองและตัวแดงดวงขาว ทำให้ผู้นำเข้าต้องหันมานำเข้าจากประเทศไทย
สำหรับปลาและปลาหมึก การส่งออกชะลอตัวลง เพราะการขาดแคลนวัตถุดิบ เนื่องจากผลผลิตในประเทศมีไม่เพียงพอ และยังมีความจำเป็นต้องพึ่งพาการจับจากทะเล โดยส่วนหนึ่งมีการนำเข้าจากการทำประมงร่วม
การคาดการณ์ในปีนี้ คาดว่าไตรมาสที่ 1 และ 2 ปริมาณการส่งออกจะยังคงใกล้เคียงกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ส่วนมูลค่าคาดว่าจะลดลง เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจ ภายในของตลาดหลัก อาทิ สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกุ้ง คาดว่าราคาจะลดลง เนื่องจากในปีนี้การจับกุ้งขาวในประเทศอเมริกาได้ผลดีและประเทศที่มีปัญหาคือ จีนและเอควาเดอร์เริ่มฟื้นตัว ทำให้ผลผลิตเข้าสู่ตลาดมากขึ้น ส่งผลให้กุ้งขาวราคาลดลงอย่างต่อเนื่องและเป็นผลกระทบต่อราคากุ้งกุลาดำด้วย ส่วนปลาและปลาหมึกยังคงมีปัญหา ในเรื่องวัตถุดิบต่อไป
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.20 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 25.87 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.33 บาทสำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.77 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 51.28 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.49 บาทสำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 316.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 57.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ429.38 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 420.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 9.38 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ16.55 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 15.42 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.13 บาทสำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 60.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.50 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 76.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.32 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.13 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 3.14 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.01 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58% ขึ้นไป (ระหว่างวันที่ 18-22 มิย.44 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.40 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.10 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 23 ประจำวันที่ 18-24 มิ.ย. 2544--
-สส-