ฉบับที่ 15/2543
การเงินและการธนาคาร
ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2543 สาขาธนาคารพาณิชย์มียอดเงินฝากคงค้าง 270,614.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 2,874.7 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.1 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งจากผู้ถือตั๋วสัญญาใช้เงินและบัตรเงินฝากในโครงการแลกเปลี่ยนตั๋วของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯที่มีตั๋วเงินครบกำหนด นำเงินที่ได้รับส่วนหนึ่งมาฝากไว้ที่ระบบธนาคารพาณิชย์ อีกทั้งมีรายได้จากการจำหน่ายพืชผลที่สำคัญทางการเกษตร เช่น ลำไย และพืชไร่ เงินฝากเพิ่มขึ้นมากในจังหวัดลำพูน อุทัยธานี ลำปาง พะเยา และเชียงใหม่
ทางด้านสินเชื่อมียอดคงค้าง 202,563.0 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อน 860 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.4 และลดลงร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 11.6 ของเดือนเดียวกันปีก่อน เนื่องจากมีการชำระคืนหนี้ซึ่งเป็นผลจากความก้าวหน้าในการปรับโครงสร้างหนี้และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีการให้สินเชื่อในบางประเภทธุรกิจ เช่น สินเชื่อส่งออก สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อแก่ธุรกิจห้องเช่า สินเชื่อลดลงมากที่จังหวัดลำพูน เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ พิจิตร และลำปาง
อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 ธนาคาร ทรงตัวจากเดือนก่อน โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทประจำ 3 เดือน อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.25 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.75 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภท 24 เดือน อยู่ที่ระดับร้อยละ 4.00-4.75 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมแก่ลูกค้าชั้นดี (MLR) อยู่ที่ระดับร้อยละ 8.00-8.50 ต่อปี
ปริมาณการใช้เช็คในเดือนสิงหาคม 2543 มีปริมาณ 380,876 ฉบับ มูลค่า 24,904.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 10.0 และร้อยละ 10.1 ตามลำดับ ปริมาณและมูลค่าเช็คเรียกเก็บเพิ่มขึ้นเกือบทุกจังหวัดในภาคเหนือ ยกเว้นที่จังหวัดน่านและอุทัยธานี โดยเพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดอุตรดิตถ์ พะเยา ลำปาง แพร่ และแม่ฮ่องสอน ทางด้านปริมาณเช็คคืนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 2.1 เป็น 7,395 ฉบับ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.9 ของปริมาณเช็คเรียกเก็บ แต่มูลค่าเช็คคืนลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 11.8 เหลือ 334.6 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.3 ของมูลค่าเช็คเรียกเก็บ สัดส่วนทั้งปริมาณและมูลค่าเช็คคืนปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับร้อยละ 2.1 และร้อยละ 1.7 เดือนก่อน และร้อยละ 2.0 และร้อยละ 1.7 ระยะเดียวกันปีก่อน
ฐานะการคลัง
ฐานะการคลังรัฐบาลในภาคเหนือเดือนสิงหาคม 2543 มีเงินในงบประมาณขาดดุล 9,158.9 ล้านบาท เทียบกับที่ขาดดุล 8,346.4 ล้านบาท เดือนเดียวกันปีก่อน เนื่องจากรายจ่ายเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.4 เป็น 10,033.1 ล้านบาท ขณะที่รายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 เป็น 874.2 ล้านบาท
รายได้ที่รัฐบาลนำส่งคลังจังหวัดทั้ง 20 แห่งในภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 เป็น 874.2 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 20.0 เดือนเดียวกันปีก่อน จากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 71.8 เป็น 303.6 ล้านบาท เนื่องจากมีการชำระภาษีกำไรสุทธิรอบครึ่งปี 2543 ตามปกติ ขณะที่ปี 2542 มีการผ่อนผันให้เลื่อนชำระออกไป ส่วนการ จัดเก็บภาษีอื่นๆ ลดลงทุกประเภท โดยการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลดลงร้อยละ 7.1 เหลือ 262.4 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 43.9 เดือนเดียวกันปีก่อน ลดลงมากในส่วนที่จัดเก็บจากเงิน ได้ดอกเบี้ยร้อยละ 26.2 เหลือ 94.4 ล้านบาท จากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.9 เหลือ 242.8 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 เดือนเดียวกัน ปีก่อน จากการใช้จ่ายภาคเอกชนที่ชะลอตัวลง
ทางด้านรายจ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 เป็น 10,033.1 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลง ร้อยละ 19.0 เดือนเดียวกันปีก่อน เนื่องจากส่วนราชการเร่งเบิกจ่ายในช่วงปลายปีงบประมาณ โดยราย จ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.2 เป็น 3,637.6 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 37.3 เดือนเดียวกัน ปีก่อน เพิ่มขึ้นในหมวดเงินอุดหนุนที่ให้กับสถาบันการศึกษาเพื่อใช้ในการก่อสร้างและจัดซื้อครุภัณฑ์ ร้อยละ 83.1 เป็น 1,373.8 ล้านบาท และหมวดครุภัณฑ์ฯร้อยละ 11.6 เป็น 2,123.0 ล้านบาท ตามลำดับ สำหรับรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 2.1 เป็น 6,395.5 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลง ร้อยละ 6.3 เดือนเดียวกันปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นในหมวดรายจ่ายอื่นร้อยละ 62.1 เป็น 149.0 ล้านบาท หมวดค่าจ้างชั่วคราวร้อยละ 12.1 เป็น 167.3 ล้านบาท และหมวดค่าตอบแทนร้อยละ 11.9 เป็น 1,286.3 ล้านบาท ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม เมื่อรวมกับรายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อ กระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ที่มีการเบิกจ่ายในเดือนนี้จำนวน 114.1 ล้านบาท ส่งผลให้รายจ่ายรัฐบาล ภาคเหนือโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 เป็น 10,147.2 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 12.7 เดือนเดียวกันปีก่อน
รายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ณ สิ้นเดือน สิงหาคม 2543 มีวงเงินที่ได้รับอนุมัติทั้งสิ้น 8,514.8 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 7,941.9 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 93.3 ของวงเงินอนุมัติ จังหวัดที่มีอัตราเบิกจ่ายสูงสุด 3 ลำดับคือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย และเชียงใหม่ ร้อยละ 97.6 ร้อยละ 97.3 และร้อยละ 97.0 ของวงเงินอนุมัติตามลำดับ
การค้าต่างประเทศ
การส่งออก ของภาคเหนือเดือนสิงหาคม 2543 มีมูลค่า 136.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 18.6 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 62.2 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 5,561.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.6 และร้อยละ 73.8 ตามลำดับ) จากการเพิ่มขึ้นทั้งการส่งออกผ่านท่าอากาศยานและผ่านชายแดน
การส่งออกผ่านท่าอากาศยาน มีมูลค่าส่งออก 116.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.8 และร้อยละ 57.4 ตามลำดับ (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 4,750.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 19.8 และร้อยละ 68.6 ตามลำดับ) จากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้าจากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือและการส่งออกผลผลิตลำไยเป็นสำคัญ โดยการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.3 และร้อยละ 36.8 เป็นผลจากความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกยังมีสูงโดยเฉพาะจากตลาดเอเชีย ทำให้อุตสาหกรรมบางแห่งเตรียมขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ส่วนมูลค่าการส่งออกนอกนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือมีมูลค่า 31.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 60.9 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนเกือบ 2 เท่าตัว (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 1,272.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 63.6 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนเกือบ 2 เท่าตัว) จากการส่งออกลำไยเป็นสำคัญ
การส่งออกผ่านชายแดน มีมูลค่า 19.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 23.8 และร้อยละ 98.0 ตามลำดับ (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 811.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 25.9 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนกว่าเท่าตัว) จากการเพิ่มขึ้นทั้งการส่งออกไปพม่า ลาว และจีน (ตอนใต้)
การส่งออกไปพม่า มีมูลค่า 15.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.1 และร้อยละ 85.7 ตามลำดับ (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 611.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นทั้งจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.1 และร้อยละ 98.9 ตามลำดับ) ความต้องการของสินค้าเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะชายแดนด้านจังหวัดตาก ส่วน การส่งออกไปลาว มีมูลค่า 1.1 ล้านดอลลาร์ เท่ากับเดือนก่อนแต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 39.9 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 43.3 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.2 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 49.8) และ การส่งออกไปจีน (ตอนใต้ ) มีมูลค่า 3.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 54.7 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนกว่า 2 เท่าตัว (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 156.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 57.3 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนกว่า 2 เท่าตัว) จากการส่งออกลำไยอบแห้งเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
การนำเข้า มูลค่าสินค้านำเข้ามีมูลค่า 110.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 28.1 และร้อยละ 74.6 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 4,481.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นทั้งจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 30.2 และร้อยละ 87.0 ตามลำดับ) จากการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าผ่านท่าอากาศยานเป็นสำคัญ
การนำเข้าผ่านด่านท่าอากาศยาน มีมูลค่า 107.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 28.5 และร้อยละ 77.6 ตามลำดับ (ในรูปเงินบาท มีมูลค่า 4,354.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 30.6 และร้อยละ 90.2 ตามลำดับ) เป็นการนำเข้าในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ 106.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 28.8 และร้อยละ 77.6 ตามลำดับ จากการส่งออกที่เร่งตัวขึ้นทำให้ต้องนำเข้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้น อีกทั้งโรงงานบางแห่งยังมีการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต ส่วนการนำเข้าสินค้าผ่านท่าอากาศยาน (นอกนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ) มีมูลค่า 0.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 10.8 แต่ก็เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 76.9 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 28.5 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 9.3 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 89.4)
การนำเข้าสินค้าจากชายแดน มีมูลค่า 3.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.6 และร้อยละ 10.9 ตามลำดับ (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 126.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.5 และร้อยละ 18.7 ตามลำดับ) จากการนำเข้าสินค้าจากพม่าและลาวเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
การนำเข้าสินค้าจากพม่า มีมูลค่า 1.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เท่ากับเดือนก่อนแต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.4 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 75.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.4 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.4) เนื่องจากมีการนำเข้าโค-กระบือมากขึ้นหลังจากชะลอการนำเข้าในช่วงก่อนหน้า ส่วน การนำเข้าจากลาว มีมูลค่า 0.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.9 และร้อยละ 59.4 ตามลำดับ (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 33.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.7 และร้อยละ 70.7 ตามลำดับ) จากการนำเข้ากระบือมีชีวิตและไม้แปรรูปเพิ่มขึ้น ส่วน การนำเข้าจากจีน (ตอนใต้) มีมูลค่า 0.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเกือบ 4 เท่า แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 32.8 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 17.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเกือบ 4 เท่าตัว แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 28.0) จากการนำเข้าแอ๊ปเปิลลดลง
ดัชนีราคาผู้บริโภค
ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนสิงหาคม 2543 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.5 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าทั้งในหมวดอาหารและเครื่องดื่มและหมวดอื่นๆที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.7 และร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อนตามลำดับ
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นมากในเดือนนี้จากที่โน้มต่ำลงมาตลอดในช่วงก่อนหน้า โดยเฉพาะหมวดผักและผลไม้ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนถึงร้อยละ 4.3 เนื่องจากผลผลิตหลายชนิดเป็นช่วงปลายฤดูกาล ทำให้ผลผลิตเข้าสู่ตลาดลดลง รองลงมาได้แก่ สินค้ากลุ่มข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 โดยเฉพาะข้าวสารเจ้าหอมมะลิ ปลา ไข่ไก่ และสัตว์น้ำ ซึ่งเพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้ากลุ่มอาหารที่ซื้อจากตลาดและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ราคาลดลงร้อยละ 0.5 เท่ากัน
สำหรับ หมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม ราคายังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเดือนก่อนตามราคาน้ำมันในประเทศสูงขึ้นเป็นสำคัญ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยราคาสินค้าหมวดยานพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.0 รองลงมาได้แก่ หมวดเคหสถานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากการเพิ่มขึ้นของค่ากระแสไฟฟ้า เนื่องจากต้นทุนราคา เชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตสูงขึ้น
การใช้จ่ายภาคเอกชน
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนเริ่มมีสัญญาณบางด้านปรับตัวลดลง ทั้งนี้เครื่องชี้ในส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่ม (คำนวณจากฐานภาษีร้อยละ 7) ที่จัดเก็บได้ในเดือนสิงหาคม 2543 ลดลงจากเดือน เดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.9 ต่อเนื่องจากที่ลดลงร้อยละ 0.9 เดือนก่อน ทั้งนี้เป็นผลจากผู้บริโภคปรับลด การใช้จ่ายจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และภาวะเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ อย่างไรก็ตาม ปริมาณรถยนต์ และรถจักรยานยนต์จดทะเบียนและการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนเดือนกรกฎาคม 2543 ยังอยู่ในเกณฑ์ ขยายตัว โดยปริมาณรถยนต์จดทะเบียนเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 34.8 ชะลอตัวจากที่ ขยายตัวในเกณฑ์สูงช่วง 5 เดือนแรกปี 2543 แต่สำหรับปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนและการใช้ ไฟฟ้าของครัวเรือนยังขยายตัวในเกณฑ์สูง โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.4 และร้อยละ 6.3 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 18.0 และ 0.2 เดือนเดียวกันปีก่อน
--ส่วนวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคเหนือ 28 กันยายน 2543--
-ยก-
การเงินและการธนาคาร
ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2543 สาขาธนาคารพาณิชย์มียอดเงินฝากคงค้าง 270,614.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 2,874.7 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.1 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งจากผู้ถือตั๋วสัญญาใช้เงินและบัตรเงินฝากในโครงการแลกเปลี่ยนตั๋วของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯที่มีตั๋วเงินครบกำหนด นำเงินที่ได้รับส่วนหนึ่งมาฝากไว้ที่ระบบธนาคารพาณิชย์ อีกทั้งมีรายได้จากการจำหน่ายพืชผลที่สำคัญทางการเกษตร เช่น ลำไย และพืชไร่ เงินฝากเพิ่มขึ้นมากในจังหวัดลำพูน อุทัยธานี ลำปาง พะเยา และเชียงใหม่
ทางด้านสินเชื่อมียอดคงค้าง 202,563.0 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อน 860 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.4 และลดลงร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 11.6 ของเดือนเดียวกันปีก่อน เนื่องจากมีการชำระคืนหนี้ซึ่งเป็นผลจากความก้าวหน้าในการปรับโครงสร้างหนี้และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีการให้สินเชื่อในบางประเภทธุรกิจ เช่น สินเชื่อส่งออก สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อแก่ธุรกิจห้องเช่า สินเชื่อลดลงมากที่จังหวัดลำพูน เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ พิจิตร และลำปาง
อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 ธนาคาร ทรงตัวจากเดือนก่อน โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทประจำ 3 เดือน อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.25 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.75 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภท 24 เดือน อยู่ที่ระดับร้อยละ 4.00-4.75 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมแก่ลูกค้าชั้นดี (MLR) อยู่ที่ระดับร้อยละ 8.00-8.50 ต่อปี
ปริมาณการใช้เช็คในเดือนสิงหาคม 2543 มีปริมาณ 380,876 ฉบับ มูลค่า 24,904.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 10.0 และร้อยละ 10.1 ตามลำดับ ปริมาณและมูลค่าเช็คเรียกเก็บเพิ่มขึ้นเกือบทุกจังหวัดในภาคเหนือ ยกเว้นที่จังหวัดน่านและอุทัยธานี โดยเพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดอุตรดิตถ์ พะเยา ลำปาง แพร่ และแม่ฮ่องสอน ทางด้านปริมาณเช็คคืนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 2.1 เป็น 7,395 ฉบับ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.9 ของปริมาณเช็คเรียกเก็บ แต่มูลค่าเช็คคืนลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 11.8 เหลือ 334.6 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.3 ของมูลค่าเช็คเรียกเก็บ สัดส่วนทั้งปริมาณและมูลค่าเช็คคืนปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับร้อยละ 2.1 และร้อยละ 1.7 เดือนก่อน และร้อยละ 2.0 และร้อยละ 1.7 ระยะเดียวกันปีก่อน
ฐานะการคลัง
ฐานะการคลังรัฐบาลในภาคเหนือเดือนสิงหาคม 2543 มีเงินในงบประมาณขาดดุล 9,158.9 ล้านบาท เทียบกับที่ขาดดุล 8,346.4 ล้านบาท เดือนเดียวกันปีก่อน เนื่องจากรายจ่ายเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.4 เป็น 10,033.1 ล้านบาท ขณะที่รายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 เป็น 874.2 ล้านบาท
รายได้ที่รัฐบาลนำส่งคลังจังหวัดทั้ง 20 แห่งในภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 เป็น 874.2 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 20.0 เดือนเดียวกันปีก่อน จากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 71.8 เป็น 303.6 ล้านบาท เนื่องจากมีการชำระภาษีกำไรสุทธิรอบครึ่งปี 2543 ตามปกติ ขณะที่ปี 2542 มีการผ่อนผันให้เลื่อนชำระออกไป ส่วนการ จัดเก็บภาษีอื่นๆ ลดลงทุกประเภท โดยการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลดลงร้อยละ 7.1 เหลือ 262.4 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 43.9 เดือนเดียวกันปีก่อน ลดลงมากในส่วนที่จัดเก็บจากเงิน ได้ดอกเบี้ยร้อยละ 26.2 เหลือ 94.4 ล้านบาท จากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.9 เหลือ 242.8 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 เดือนเดียวกัน ปีก่อน จากการใช้จ่ายภาคเอกชนที่ชะลอตัวลง
ทางด้านรายจ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 เป็น 10,033.1 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลง ร้อยละ 19.0 เดือนเดียวกันปีก่อน เนื่องจากส่วนราชการเร่งเบิกจ่ายในช่วงปลายปีงบประมาณ โดยราย จ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.2 เป็น 3,637.6 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 37.3 เดือนเดียวกัน ปีก่อน เพิ่มขึ้นในหมวดเงินอุดหนุนที่ให้กับสถาบันการศึกษาเพื่อใช้ในการก่อสร้างและจัดซื้อครุภัณฑ์ ร้อยละ 83.1 เป็น 1,373.8 ล้านบาท และหมวดครุภัณฑ์ฯร้อยละ 11.6 เป็น 2,123.0 ล้านบาท ตามลำดับ สำหรับรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 2.1 เป็น 6,395.5 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลง ร้อยละ 6.3 เดือนเดียวกันปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นในหมวดรายจ่ายอื่นร้อยละ 62.1 เป็น 149.0 ล้านบาท หมวดค่าจ้างชั่วคราวร้อยละ 12.1 เป็น 167.3 ล้านบาท และหมวดค่าตอบแทนร้อยละ 11.9 เป็น 1,286.3 ล้านบาท ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม เมื่อรวมกับรายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อ กระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ที่มีการเบิกจ่ายในเดือนนี้จำนวน 114.1 ล้านบาท ส่งผลให้รายจ่ายรัฐบาล ภาคเหนือโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 เป็น 10,147.2 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 12.7 เดือนเดียวกันปีก่อน
รายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ณ สิ้นเดือน สิงหาคม 2543 มีวงเงินที่ได้รับอนุมัติทั้งสิ้น 8,514.8 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 7,941.9 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 93.3 ของวงเงินอนุมัติ จังหวัดที่มีอัตราเบิกจ่ายสูงสุด 3 ลำดับคือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย และเชียงใหม่ ร้อยละ 97.6 ร้อยละ 97.3 และร้อยละ 97.0 ของวงเงินอนุมัติตามลำดับ
การค้าต่างประเทศ
การส่งออก ของภาคเหนือเดือนสิงหาคม 2543 มีมูลค่า 136.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 18.6 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 62.2 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 5,561.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.6 และร้อยละ 73.8 ตามลำดับ) จากการเพิ่มขึ้นทั้งการส่งออกผ่านท่าอากาศยานและผ่านชายแดน
การส่งออกผ่านท่าอากาศยาน มีมูลค่าส่งออก 116.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.8 และร้อยละ 57.4 ตามลำดับ (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 4,750.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 19.8 และร้อยละ 68.6 ตามลำดับ) จากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้าจากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือและการส่งออกผลผลิตลำไยเป็นสำคัญ โดยการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.3 และร้อยละ 36.8 เป็นผลจากความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกยังมีสูงโดยเฉพาะจากตลาดเอเชีย ทำให้อุตสาหกรรมบางแห่งเตรียมขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ส่วนมูลค่าการส่งออกนอกนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือมีมูลค่า 31.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 60.9 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนเกือบ 2 เท่าตัว (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 1,272.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 63.6 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนเกือบ 2 เท่าตัว) จากการส่งออกลำไยเป็นสำคัญ
การส่งออกผ่านชายแดน มีมูลค่า 19.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 23.8 และร้อยละ 98.0 ตามลำดับ (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 811.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 25.9 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนกว่าเท่าตัว) จากการเพิ่มขึ้นทั้งการส่งออกไปพม่า ลาว และจีน (ตอนใต้)
การส่งออกไปพม่า มีมูลค่า 15.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.1 และร้อยละ 85.7 ตามลำดับ (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 611.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นทั้งจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.1 และร้อยละ 98.9 ตามลำดับ) ความต้องการของสินค้าเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะชายแดนด้านจังหวัดตาก ส่วน การส่งออกไปลาว มีมูลค่า 1.1 ล้านดอลลาร์ เท่ากับเดือนก่อนแต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 39.9 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 43.3 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.2 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 49.8) และ การส่งออกไปจีน (ตอนใต้ ) มีมูลค่า 3.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 54.7 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนกว่า 2 เท่าตัว (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 156.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 57.3 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนกว่า 2 เท่าตัว) จากการส่งออกลำไยอบแห้งเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
การนำเข้า มูลค่าสินค้านำเข้ามีมูลค่า 110.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 28.1 และร้อยละ 74.6 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 4,481.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นทั้งจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 30.2 และร้อยละ 87.0 ตามลำดับ) จากการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าผ่านท่าอากาศยานเป็นสำคัญ
การนำเข้าผ่านด่านท่าอากาศยาน มีมูลค่า 107.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 28.5 และร้อยละ 77.6 ตามลำดับ (ในรูปเงินบาท มีมูลค่า 4,354.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 30.6 และร้อยละ 90.2 ตามลำดับ) เป็นการนำเข้าในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ 106.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 28.8 และร้อยละ 77.6 ตามลำดับ จากการส่งออกที่เร่งตัวขึ้นทำให้ต้องนำเข้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้น อีกทั้งโรงงานบางแห่งยังมีการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต ส่วนการนำเข้าสินค้าผ่านท่าอากาศยาน (นอกนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ) มีมูลค่า 0.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 10.8 แต่ก็เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 76.9 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 28.5 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 9.3 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 89.4)
การนำเข้าสินค้าจากชายแดน มีมูลค่า 3.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.6 และร้อยละ 10.9 ตามลำดับ (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 126.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.5 และร้อยละ 18.7 ตามลำดับ) จากการนำเข้าสินค้าจากพม่าและลาวเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
การนำเข้าสินค้าจากพม่า มีมูลค่า 1.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เท่ากับเดือนก่อนแต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.4 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 75.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.4 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.4) เนื่องจากมีการนำเข้าโค-กระบือมากขึ้นหลังจากชะลอการนำเข้าในช่วงก่อนหน้า ส่วน การนำเข้าจากลาว มีมูลค่า 0.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.9 และร้อยละ 59.4 ตามลำดับ (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 33.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.7 และร้อยละ 70.7 ตามลำดับ) จากการนำเข้ากระบือมีชีวิตและไม้แปรรูปเพิ่มขึ้น ส่วน การนำเข้าจากจีน (ตอนใต้) มีมูลค่า 0.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเกือบ 4 เท่า แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 32.8 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 17.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเกือบ 4 เท่าตัว แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 28.0) จากการนำเข้าแอ๊ปเปิลลดลง
ดัชนีราคาผู้บริโภค
ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนสิงหาคม 2543 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.5 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าทั้งในหมวดอาหารและเครื่องดื่มและหมวดอื่นๆที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.7 และร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อนตามลำดับ
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นมากในเดือนนี้จากที่โน้มต่ำลงมาตลอดในช่วงก่อนหน้า โดยเฉพาะหมวดผักและผลไม้ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนถึงร้อยละ 4.3 เนื่องจากผลผลิตหลายชนิดเป็นช่วงปลายฤดูกาล ทำให้ผลผลิตเข้าสู่ตลาดลดลง รองลงมาได้แก่ สินค้ากลุ่มข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 โดยเฉพาะข้าวสารเจ้าหอมมะลิ ปลา ไข่ไก่ และสัตว์น้ำ ซึ่งเพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้ากลุ่มอาหารที่ซื้อจากตลาดและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ราคาลดลงร้อยละ 0.5 เท่ากัน
สำหรับ หมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม ราคายังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเดือนก่อนตามราคาน้ำมันในประเทศสูงขึ้นเป็นสำคัญ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยราคาสินค้าหมวดยานพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.0 รองลงมาได้แก่ หมวดเคหสถานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากการเพิ่มขึ้นของค่ากระแสไฟฟ้า เนื่องจากต้นทุนราคา เชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตสูงขึ้น
การใช้จ่ายภาคเอกชน
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนเริ่มมีสัญญาณบางด้านปรับตัวลดลง ทั้งนี้เครื่องชี้ในส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่ม (คำนวณจากฐานภาษีร้อยละ 7) ที่จัดเก็บได้ในเดือนสิงหาคม 2543 ลดลงจากเดือน เดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.9 ต่อเนื่องจากที่ลดลงร้อยละ 0.9 เดือนก่อน ทั้งนี้เป็นผลจากผู้บริโภคปรับลด การใช้จ่ายจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และภาวะเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ อย่างไรก็ตาม ปริมาณรถยนต์ และรถจักรยานยนต์จดทะเบียนและการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนเดือนกรกฎาคม 2543 ยังอยู่ในเกณฑ์ ขยายตัว โดยปริมาณรถยนต์จดทะเบียนเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 34.8 ชะลอตัวจากที่ ขยายตัวในเกณฑ์สูงช่วง 5 เดือนแรกปี 2543 แต่สำหรับปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนและการใช้ ไฟฟ้าของครัวเรือนยังขยายตัวในเกณฑ์สูง โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.4 และร้อยละ 6.3 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 18.0 และ 0.2 เดือนเดียวกันปีก่อน
--ส่วนวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคเหนือ 28 กันยายน 2543--
-ยก-