1. ความเป็นมา
1.1 แนวความคิดในการขยายความร่วมมือระหว่างเขตการค้าเสรีอาเซียนและเขตการค้าเสรีออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (AFTA-CER) ริเริ่มโดยฝ่ายไทยเมื่อครั้งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายศุภชัย พานิชภักดิ์) ไปเยือนออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. 2536 ต่อมาในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 26 เดือนกันยายน 2537 ณ จังหวัดเชียงใหม่ ที่ประชุมมีมติให้อาเซียนมีการหารือกับกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ ซึ่งรวมไปถึงกลุ่ม CER ด้วย
1.2 ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน(AEM)กับรัฐมนตรีเขตการค้าเสรีออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (CER) ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2542 ณ ประเทศสิงคโปร์ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง AFTA- CER Free Trade Area ภายในปี 2010 โดยให้มีความยืดหยุ่นด้านเวลาแก่ประเทศสมาชิกใหม่ และให้จัดตั้งคณะทำงานด้านการเชื่อมโยงเขตการค้าเสรีอาเซียนกับเขตการค้าเสรีออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ( High Level Task Force on the AFTA-CER FTA) ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนระดับสูงจากประเทศอาเซียน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์โดยมอบหมายให้ นาย Cesar E.A. Virata อดีตนายกรัฐมนตรีฟิลิปปินส์ เป็นหัวหน้าคณะทำงานฯ และประเทศสมาชิกอาเซียนแต่งตั้งผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และวิสัยทัศน์ด้านการเปิดเสรีร่วมในคณะทำงานดังกล่าว ( ซึ่งในส่วนของประเทศไทยได้แต่งตั้ง ดร.วิศาล บุปผเวส คณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เป็นผู้แทน ) โดยให้เสนอผลการศึกษาดังกล่าวต่อที่ประชุม AEM ครั้งที่ 32 ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2543 ณ ประเทศไทย
2. การดำเนินการ
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ได้ศึกษาวิเคราะห์เรื่อง การจัดทำเขตการค้าเสรี AFTA-CER โดยใช้ข้อเสนอของคณะทำงานด้านการเชื่อมโยงเขตการค้าเสรีอาเซียนกับเขตการค้าเสรีออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ และข้อเสนอของออสเตรเลียเป็นฐานในการศึกษา รวมทั้งได้จัดประชุมหารือระหว่างภาคราชการและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2543 เพื่อพิจารณาผลประโยชน์และท่าทีไทยในการดำเนินการจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี AFTA-CER และกรมฯ ได้เพิ่มเติมความเห็นของที่ประชุมในรายงานการศึกษาด้วยแล้ว
ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
(1) การเปิดเสรีการค้าของ AFTA-CER ไทยและอาเซียนได้ประโยชน์ด้าน Static น้อย เนื่องจากการค้าระหว่าง CER กับไทยและอาเซียนอื่นๆ มีมูลค่าน้อย และอาเซียนอาจจะไม่ได้รับประโยชน์จากการลดภาษีของ CER มากนัก เพราะขณะนี้ภาษีที่ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เก็บจริงมีอัตราต่ำมาก (อัตราภาษีทั่วไปเฉลี่ยประมาณร้อยละ 5) ซึ่งแตกต่างจากอัตราภาษีเมื่อมีเขตการค้าเสรีแล้วไม่มากนัก แต่การทำเขตการค้าเสรีดังกล่าวจะมี Dynamic gains สูง ทั้งในด้านการลงทุน การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยและการสร้างอำนาจต่อรองในเวทีการค้าโลก (2) อาเซียนควรสนับสนุนข้อเสนอของคณะทำงานฯ ที่เสนอให้การจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่าง AFTA- CER คำนึงถึงความสมดุลของผลประโยชน์ระหว่างประเทศสมาชิก และระดับการพัฒนา รวมทั้ง เห็นด้วยในหลักการที่จะขยายสมาชิกภาพเพิ่มเติมในภายหลังนอกเหนือจาก AFTA — CER เพื่อขยายประโยชน์จากการเปิดเสรีทางการค้า
(3) ไทยจะได้ประโยชน์ในด้านการขยายตลาดสินค้าอุตสาหกรรมจากการจัดทำเขตการค้าเสรี AFTA-CER แต่ควรระมัดระวังในการเปิดเสรีสินค้าเกษตร เพราะ CER มีความสามารถในการผลิตและการส่งออกสูง ในขณะที่อาเซียนและไทยจะมีปัญหาประสิทธิภาพการผลิตต่ำและการขยายตลาดใน CER มีปัญหามาตรการที่ไม่ใช่ภาษี จึงอาจทำให้สินค้าเกษตรของไทยบางรายการได้รับผลกระทบ
(4) ปัญหามาตรการที่ไม่ใช่ภาษีของ CER ที่เข้มงวดกว่าปกติ หากไม่มีการแก้ไขก็อาจทำให้เขตการค้าเสรี AFTA-CER ไม่บรรลุวัตถุประสงค์เท่าที่ควร จึงควรมีการทบทวนมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีทั้งสองฝ่ายโดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่มีปัญหาคุณภาพและสุขอนามัยของสินค้า ซึ่งการแก้ไขปัญหาดังกล่าวสามารถทำได้ในกรอบการเจรจาเวทีอื่นๆ แต่หากมีการทำความตกลงเขตการค้าเสรี AFTA-CER การเจรจาแก้ไขปัญหามาตรการสุขอนามัยอาจจะทำได้ง่ายขึ้น ในขณะเดียวกันอาเซียน อาจใช้การจัดทำเขตการค้าเสรีเป็นเครื่องมือในการผลักดันให้ CER ผ่อนคลายมาตรการสุขอนามัยให้เข้มงวดน้อยลง
(5) การกำหนดระยะเวลาของการเปิดเสรีเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณา เพื่อให้อาเซียนและไทยได้ประโยชน์สูงสุด และเพื่อให้ Sector ที่แข่งขันไม่ได้ มีเวลาปรับตัว นอกจากนั้น ยังมีประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาคือ ข้อเสนอของออสเตรเลียซึ่งเสนอให้ทำเขตการค้าเสรี AFTA-CER ภายในปี 2010 ซึ่งทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์จะต้องลดภาษีของตนลงภายใต้กรอบเอเปค ประเทศไทยและอาเซียน จะได้ประโยชน์ในส่วนนี้อยู่แล้ว แม้ว่าจะไม่มีการจัดทำเขตการค้าเสรี AFTA-CER ในขณะที่ อาเซียน จะต้องลดภาษีลงภายใต้กรอบเอเปคภายในปี 2020 ดังนั้น กรอบเวลาที่ออสเตรเลียเสนออาเซียนอาจจะเสียเปรียบเพราะต้องเร่งลดภาษีให้ CER เร็วขึ้นถึง 10 ปี
ไทยจึงควรเห็นชอบกับข้อเสนอของคณะทำงานฯ ที่เสนอให้ CER ขยายสิทธิประโยชน์ของตนให้แก่อาเซียนในทันที และให้อาเซียน ให้สิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากรแก่ CER ภายในปี 2010 สำหรับสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ และ ปี 2015 สำหรับสมาชิกอาเซียนใหม่ 4 ประเทศ ซึ่งจะทำให้อาเซียนได้รับประโยชน์เร็วขึ้นกว่าข้อเสนอของออสเตรเลีย รวมทั้งมีความยืดหยุ่นในรายการสินค้าเกษตรบางรายการที่เป็นสินค้าอ่อนไหวภายใต้ CEPT ด้วย
(6) อาเซียนและไทยควรศึกษาผลดีผลเสียของการเปิดเสรีอย่างชัดเจน ไม่ควรรีบร้อนทำเขตการค้าเสรีหากยังไม่พร้อม โดยเฉพาะสาขาที่แข่งขันไม่ได้และจะได้รับผลกระทบ ทั้งนี้อาจมีบางสาขาที่ไทยได้ประโยชน์เพราะวัตถุดิบที่นำเข้าจาก CER จะมีต้นทุนต่ำลง ทำให้แข่งขันในตลาดโลกได้มากขึ้น
(7) อาเซียนควรมีการทบทวน (review) รายการสินค้าใน CEPT ก่อนที่จะทำเขตการค้าเสรี AFTA-CER และควรมีการรวบรวมข้อจำกัด ปัญหาและอุปสรรคทางการค้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน
(8) การจัดทำเขตการค้าเสรี AFTA-CER หน่วยงานในทางปฏิบัติ เช่น กรมศุลกากร อาจมีปัญหาในการดำเนินงาน โดยเฉพาะ Rules of Origin ที่จะต้องปรับให้มีความสอดคล้องกันระหว่าง AFTA และ CER
(9) การเปิดเสรีด้านการลงทุนและการค้าบริการ ซึ่งเป็นส่วนที่อาเซียนและไทยเสียเปรียบเมื่อเทียบกับ CER จึงควรจะมีความตกลงแยกต่างหาก โดยอาจใช้วิธีเดียวกับการเปิดเสรีการลงทุนและการค้าบริการภายใต้กรอบ WTO สำหรับหลักเกณฑ์การเปิดเสรีการลงทุนควรกำหนดเป็นกรอบอย่างกว้างๆ และเป็นกลาง ส่วนการค้าบริการควรเปิดเสรีเฉพาะสาขาที่พร้อมโดยใช้วิธีการ Positive List Approach เช่นเดียวกับการเปิดเสรีการค้าบริการในอาเซียน
(10) การดำเนินการ ( Modality ) จัดทำเขตการค้าเสรี AFTA — CER ต่อ WTO ภายใต้ Enabling Clause จะเป็นประโยชน์กับอาเซียนและสะดวกในการดำเนินการ แต่คาดว่า CER รวมทั้งสมาชิก WTO อื่นๆ คงไม่เห็นด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าขณะนี้ AFTA ยังไม่ได้แจ้งการเปิดเสรีภายใต้มาตรา 24 (แต่มีการแจ้งภายใต้ Enabling Clause) แต่หากจำเป็นต้องแจ้งภายใต้ GATT มาตรา 24 อาเซียนก็สามารถดำเนินการได้เพราะการดำเนินการภายใต้ CEPT สอดคล้องกับมาตรา 24 เนื่องจากหลักการของการจัดทำเขตการค้าเสรี AFTA- CER ไม่ได้เพิ่มอุปสรรคทางการค้ากับประเทศนอกกลุ่ม มีการลดเลิกภาษีและข้อจำกัดทางการค้ามากกว่าร้อยละ 90 และมีกรอบเวลาในการดำเนินการ 10 ปี เพียงแต่การแจ้งภายใต้มาตรา 24 มีความยุ่งยากในการดำเนินการมากกว่าภายใต้ Enabling Clause
ทั้งนี้ หากมีการเปิดเสรี AFTA-CER ภายใต้มาตรา 24 วรรค 8 (b) อาจไม่สามารถเปิดเสรีแบบ Sectoral Approach เนื่องจากไม่มี Substantial Trade จึงควรเปิดเสรีแบบ Comprehensive Approach โดยให้มีความยืดหยุ่นด้านเวลาสำหรับ Sector ที่ไม่พร้อม
(11) ควรมีการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ เกี่ยวกับการจัดทำเขตการค้าเสรี AFTA-CER ให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องทราบ รวมถึงการทำประชาพิจารณ์เพื่อทราบข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยทั่วไป
3. ความเห็นของคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ( กนศ.)
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ได้นำเรื่อง การจัดทำเขตการค้าเสรี AFTA — CER เสนอที่ประชุม กนศ. ครั้งที่ 6/2543 เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2543 เพื่อขอความเห็นชอบให้ประเทศไทยเข้าร่วมเจรจาในการจัดทำเขตการค้าเสรี AFTA — CER ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ
4. สถานะล่าสุด
ในการประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2543 มีมติเห็นชอบให้ประเทศไทยเข้าร่วมเจรจาการจัดทำเขตการค้าเสรี AFTA — CER ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-
1.1 แนวความคิดในการขยายความร่วมมือระหว่างเขตการค้าเสรีอาเซียนและเขตการค้าเสรีออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (AFTA-CER) ริเริ่มโดยฝ่ายไทยเมื่อครั้งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายศุภชัย พานิชภักดิ์) ไปเยือนออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. 2536 ต่อมาในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 26 เดือนกันยายน 2537 ณ จังหวัดเชียงใหม่ ที่ประชุมมีมติให้อาเซียนมีการหารือกับกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ ซึ่งรวมไปถึงกลุ่ม CER ด้วย
1.2 ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน(AEM)กับรัฐมนตรีเขตการค้าเสรีออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (CER) ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2542 ณ ประเทศสิงคโปร์ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง AFTA- CER Free Trade Area ภายในปี 2010 โดยให้มีความยืดหยุ่นด้านเวลาแก่ประเทศสมาชิกใหม่ และให้จัดตั้งคณะทำงานด้านการเชื่อมโยงเขตการค้าเสรีอาเซียนกับเขตการค้าเสรีออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ( High Level Task Force on the AFTA-CER FTA) ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนระดับสูงจากประเทศอาเซียน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์โดยมอบหมายให้ นาย Cesar E.A. Virata อดีตนายกรัฐมนตรีฟิลิปปินส์ เป็นหัวหน้าคณะทำงานฯ และประเทศสมาชิกอาเซียนแต่งตั้งผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และวิสัยทัศน์ด้านการเปิดเสรีร่วมในคณะทำงานดังกล่าว ( ซึ่งในส่วนของประเทศไทยได้แต่งตั้ง ดร.วิศาล บุปผเวส คณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เป็นผู้แทน ) โดยให้เสนอผลการศึกษาดังกล่าวต่อที่ประชุม AEM ครั้งที่ 32 ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2543 ณ ประเทศไทย
2. การดำเนินการ
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ได้ศึกษาวิเคราะห์เรื่อง การจัดทำเขตการค้าเสรี AFTA-CER โดยใช้ข้อเสนอของคณะทำงานด้านการเชื่อมโยงเขตการค้าเสรีอาเซียนกับเขตการค้าเสรีออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ และข้อเสนอของออสเตรเลียเป็นฐานในการศึกษา รวมทั้งได้จัดประชุมหารือระหว่างภาคราชการและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2543 เพื่อพิจารณาผลประโยชน์และท่าทีไทยในการดำเนินการจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี AFTA-CER และกรมฯ ได้เพิ่มเติมความเห็นของที่ประชุมในรายงานการศึกษาด้วยแล้ว
ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
(1) การเปิดเสรีการค้าของ AFTA-CER ไทยและอาเซียนได้ประโยชน์ด้าน Static น้อย เนื่องจากการค้าระหว่าง CER กับไทยและอาเซียนอื่นๆ มีมูลค่าน้อย และอาเซียนอาจจะไม่ได้รับประโยชน์จากการลดภาษีของ CER มากนัก เพราะขณะนี้ภาษีที่ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เก็บจริงมีอัตราต่ำมาก (อัตราภาษีทั่วไปเฉลี่ยประมาณร้อยละ 5) ซึ่งแตกต่างจากอัตราภาษีเมื่อมีเขตการค้าเสรีแล้วไม่มากนัก แต่การทำเขตการค้าเสรีดังกล่าวจะมี Dynamic gains สูง ทั้งในด้านการลงทุน การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยและการสร้างอำนาจต่อรองในเวทีการค้าโลก (2) อาเซียนควรสนับสนุนข้อเสนอของคณะทำงานฯ ที่เสนอให้การจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่าง AFTA- CER คำนึงถึงความสมดุลของผลประโยชน์ระหว่างประเทศสมาชิก และระดับการพัฒนา รวมทั้ง เห็นด้วยในหลักการที่จะขยายสมาชิกภาพเพิ่มเติมในภายหลังนอกเหนือจาก AFTA — CER เพื่อขยายประโยชน์จากการเปิดเสรีทางการค้า
(3) ไทยจะได้ประโยชน์ในด้านการขยายตลาดสินค้าอุตสาหกรรมจากการจัดทำเขตการค้าเสรี AFTA-CER แต่ควรระมัดระวังในการเปิดเสรีสินค้าเกษตร เพราะ CER มีความสามารถในการผลิตและการส่งออกสูง ในขณะที่อาเซียนและไทยจะมีปัญหาประสิทธิภาพการผลิตต่ำและการขยายตลาดใน CER มีปัญหามาตรการที่ไม่ใช่ภาษี จึงอาจทำให้สินค้าเกษตรของไทยบางรายการได้รับผลกระทบ
(4) ปัญหามาตรการที่ไม่ใช่ภาษีของ CER ที่เข้มงวดกว่าปกติ หากไม่มีการแก้ไขก็อาจทำให้เขตการค้าเสรี AFTA-CER ไม่บรรลุวัตถุประสงค์เท่าที่ควร จึงควรมีการทบทวนมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีทั้งสองฝ่ายโดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่มีปัญหาคุณภาพและสุขอนามัยของสินค้า ซึ่งการแก้ไขปัญหาดังกล่าวสามารถทำได้ในกรอบการเจรจาเวทีอื่นๆ แต่หากมีการทำความตกลงเขตการค้าเสรี AFTA-CER การเจรจาแก้ไขปัญหามาตรการสุขอนามัยอาจจะทำได้ง่ายขึ้น ในขณะเดียวกันอาเซียน อาจใช้การจัดทำเขตการค้าเสรีเป็นเครื่องมือในการผลักดันให้ CER ผ่อนคลายมาตรการสุขอนามัยให้เข้มงวดน้อยลง
(5) การกำหนดระยะเวลาของการเปิดเสรีเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณา เพื่อให้อาเซียนและไทยได้ประโยชน์สูงสุด และเพื่อให้ Sector ที่แข่งขันไม่ได้ มีเวลาปรับตัว นอกจากนั้น ยังมีประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาคือ ข้อเสนอของออสเตรเลียซึ่งเสนอให้ทำเขตการค้าเสรี AFTA-CER ภายในปี 2010 ซึ่งทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์จะต้องลดภาษีของตนลงภายใต้กรอบเอเปค ประเทศไทยและอาเซียน จะได้ประโยชน์ในส่วนนี้อยู่แล้ว แม้ว่าจะไม่มีการจัดทำเขตการค้าเสรี AFTA-CER ในขณะที่ อาเซียน จะต้องลดภาษีลงภายใต้กรอบเอเปคภายในปี 2020 ดังนั้น กรอบเวลาที่ออสเตรเลียเสนออาเซียนอาจจะเสียเปรียบเพราะต้องเร่งลดภาษีให้ CER เร็วขึ้นถึง 10 ปี
ไทยจึงควรเห็นชอบกับข้อเสนอของคณะทำงานฯ ที่เสนอให้ CER ขยายสิทธิประโยชน์ของตนให้แก่อาเซียนในทันที และให้อาเซียน ให้สิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากรแก่ CER ภายในปี 2010 สำหรับสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ และ ปี 2015 สำหรับสมาชิกอาเซียนใหม่ 4 ประเทศ ซึ่งจะทำให้อาเซียนได้รับประโยชน์เร็วขึ้นกว่าข้อเสนอของออสเตรเลีย รวมทั้งมีความยืดหยุ่นในรายการสินค้าเกษตรบางรายการที่เป็นสินค้าอ่อนไหวภายใต้ CEPT ด้วย
(6) อาเซียนและไทยควรศึกษาผลดีผลเสียของการเปิดเสรีอย่างชัดเจน ไม่ควรรีบร้อนทำเขตการค้าเสรีหากยังไม่พร้อม โดยเฉพาะสาขาที่แข่งขันไม่ได้และจะได้รับผลกระทบ ทั้งนี้อาจมีบางสาขาที่ไทยได้ประโยชน์เพราะวัตถุดิบที่นำเข้าจาก CER จะมีต้นทุนต่ำลง ทำให้แข่งขันในตลาดโลกได้มากขึ้น
(7) อาเซียนควรมีการทบทวน (review) รายการสินค้าใน CEPT ก่อนที่จะทำเขตการค้าเสรี AFTA-CER และควรมีการรวบรวมข้อจำกัด ปัญหาและอุปสรรคทางการค้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน
(8) การจัดทำเขตการค้าเสรี AFTA-CER หน่วยงานในทางปฏิบัติ เช่น กรมศุลกากร อาจมีปัญหาในการดำเนินงาน โดยเฉพาะ Rules of Origin ที่จะต้องปรับให้มีความสอดคล้องกันระหว่าง AFTA และ CER
(9) การเปิดเสรีด้านการลงทุนและการค้าบริการ ซึ่งเป็นส่วนที่อาเซียนและไทยเสียเปรียบเมื่อเทียบกับ CER จึงควรจะมีความตกลงแยกต่างหาก โดยอาจใช้วิธีเดียวกับการเปิดเสรีการลงทุนและการค้าบริการภายใต้กรอบ WTO สำหรับหลักเกณฑ์การเปิดเสรีการลงทุนควรกำหนดเป็นกรอบอย่างกว้างๆ และเป็นกลาง ส่วนการค้าบริการควรเปิดเสรีเฉพาะสาขาที่พร้อมโดยใช้วิธีการ Positive List Approach เช่นเดียวกับการเปิดเสรีการค้าบริการในอาเซียน
(10) การดำเนินการ ( Modality ) จัดทำเขตการค้าเสรี AFTA — CER ต่อ WTO ภายใต้ Enabling Clause จะเป็นประโยชน์กับอาเซียนและสะดวกในการดำเนินการ แต่คาดว่า CER รวมทั้งสมาชิก WTO อื่นๆ คงไม่เห็นด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าขณะนี้ AFTA ยังไม่ได้แจ้งการเปิดเสรีภายใต้มาตรา 24 (แต่มีการแจ้งภายใต้ Enabling Clause) แต่หากจำเป็นต้องแจ้งภายใต้ GATT มาตรา 24 อาเซียนก็สามารถดำเนินการได้เพราะการดำเนินการภายใต้ CEPT สอดคล้องกับมาตรา 24 เนื่องจากหลักการของการจัดทำเขตการค้าเสรี AFTA- CER ไม่ได้เพิ่มอุปสรรคทางการค้ากับประเทศนอกกลุ่ม มีการลดเลิกภาษีและข้อจำกัดทางการค้ามากกว่าร้อยละ 90 และมีกรอบเวลาในการดำเนินการ 10 ปี เพียงแต่การแจ้งภายใต้มาตรา 24 มีความยุ่งยากในการดำเนินการมากกว่าภายใต้ Enabling Clause
ทั้งนี้ หากมีการเปิดเสรี AFTA-CER ภายใต้มาตรา 24 วรรค 8 (b) อาจไม่สามารถเปิดเสรีแบบ Sectoral Approach เนื่องจากไม่มี Substantial Trade จึงควรเปิดเสรีแบบ Comprehensive Approach โดยให้มีความยืดหยุ่นด้านเวลาสำหรับ Sector ที่ไม่พร้อม
(11) ควรมีการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ เกี่ยวกับการจัดทำเขตการค้าเสรี AFTA-CER ให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องทราบ รวมถึงการทำประชาพิจารณ์เพื่อทราบข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยทั่วไป
3. ความเห็นของคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ( กนศ.)
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ได้นำเรื่อง การจัดทำเขตการค้าเสรี AFTA — CER เสนอที่ประชุม กนศ. ครั้งที่ 6/2543 เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2543 เพื่อขอความเห็นชอบให้ประเทศไทยเข้าร่วมเจรจาในการจัดทำเขตการค้าเสรี AFTA — CER ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ
4. สถานะล่าสุด
ในการประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2543 มีมติเห็นชอบให้ประเทศไทยเข้าร่วมเจรจาการจัดทำเขตการค้าเสรี AFTA — CER ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-