1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ของผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 1.70 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ
1.67 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.80
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 13.51 บาท ราคาลดลงจาก กก.ละ 13.88 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.67
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ปี 2543 คาดว่าอินโดนีเซียจะผลิตน้ำมันปาล์มดิบได้ 6.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาซึ่งผลิตได้ 5.9 ล้านตัน
และจากภาวะค่าเงินรูเปียและราคาน้ำมันปาล์มที่ลดลง สมาคมผู้ผลิตน้ำมันปาล์มอินโดนีเซียได้แสดงความเห็นว่ารัฐควรลดภาษีส่งออกให้ต่ำลง
เพื่อกระตุ้นการส่งออก โดยขณะนี้ภาษีส่งออกน้ำมันดิบเท่ากับร้อยละ 10 น้ำมันปาล์มโอเลอีนร้อยละ 6 น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ร้อยละ 9 และน้ำมันปาล์ม
โอเลอีนดิบร้อยละ 6 อัตราที่ทางสมาคมเสนอให้รัฐลดลงคือ ภาษีส่งออกน้ำมันดิบควรอยู่ที่ระดับ 0-5 เปอร์เซนต์ ส่วนผลิตภัณฑ์อื่นๆ ส่งออกโดยเสรี
การลดภาษีส่งออกครั้งนี้หลายฝ่ายต่างให้ความเห็นว่า การ ยกเลิกภาษีส่งออกจะทำให้รัฐขาดรายได้จากภาษีส่งออก แต่หากยังคงภาษีไว้
รัฐก็จะสูญเสียรายได้จากการ ส่งออก
การประกาศขึ้นภาษีนำเข้าของอินเดียเพื่อช่วยเหลือผู้ผลิตภายในนั้น การลดการนำเข้าคงเป็นไปในระยะสั้นๆ
เท่านั้น เพราะประเทศผู้ผลิตทั้งมาเลเซียและอินโดนีเซียต่างประกาศจะลดภาษีส่งออก ดังนั้นอัตราที่คาดว่าจะสกัดกั้นการนำเข้าของอินเดียคือ
ที่อัตราร้อยละ 44 สำหรับผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์ม และร้อยละ 27.5 สำหรับน้ำมันปาล์มดิบ อนึ่ง การนำเข้าในช่วงนี้ของอินเดียเป็นผลจากผู้นำเข้า
ต่างชลอการนำเข้าเพื่อดูท่าทีในเรื่องการลดภาษีส่งออกของมาเลเซียและอินโดนีเซีย และหากราคายังคงอยู่ในระดับปัจจุบันและภาษีส่งออกของ
ประเทศทั้ง 2 ลดลง ประมาณการว่า อินเดียจะมีการนำเข้าถึงร้อยละ 35 ส่วนสถานการณ์ อุปสงค์/อุปทานของมาเลเซียล่าสุดเป็นดังนี้
รายการ กค. สค. กย. ตค.
สต๊อกยกมา 1,036 1,074 1,195-1,205 1,280-1,290
นำเข้า 16 - - -
ผลผลิต 847 936-941 1,035-1,040 1,060-1,065
อุปทานรวม 1,899 2,010-2,015 2,230-2,245 2,340-2,355
ส่งออก 688 670-675 800-805 860-865
ใช้ภายใน 137 135-140 140-145 145-150
สต๊อกคงเหลือ 1,074 1,195-1,205 1,280-1,290 1,325-1,335
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 964.62 ดอลลาร์มาเลเซีย
(10.45 บาท/กก.) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 963.22 ดอลลาร์มาเลเซีย (10.42 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 300.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ
(12.27 บาท/กก.) ราคาลดลงจากตันละ 302.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.36 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.83
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 33 ประจำวันที่ 21 - 27 ส.ค. 2543--
-สส-
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ของผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 1.70 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ
1.67 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.80
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 13.51 บาท ราคาลดลงจาก กก.ละ 13.88 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.67
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ปี 2543 คาดว่าอินโดนีเซียจะผลิตน้ำมันปาล์มดิบได้ 6.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาซึ่งผลิตได้ 5.9 ล้านตัน
และจากภาวะค่าเงินรูเปียและราคาน้ำมันปาล์มที่ลดลง สมาคมผู้ผลิตน้ำมันปาล์มอินโดนีเซียได้แสดงความเห็นว่ารัฐควรลดภาษีส่งออกให้ต่ำลง
เพื่อกระตุ้นการส่งออก โดยขณะนี้ภาษีส่งออกน้ำมันดิบเท่ากับร้อยละ 10 น้ำมันปาล์มโอเลอีนร้อยละ 6 น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ร้อยละ 9 และน้ำมันปาล์ม
โอเลอีนดิบร้อยละ 6 อัตราที่ทางสมาคมเสนอให้รัฐลดลงคือ ภาษีส่งออกน้ำมันดิบควรอยู่ที่ระดับ 0-5 เปอร์เซนต์ ส่วนผลิตภัณฑ์อื่นๆ ส่งออกโดยเสรี
การลดภาษีส่งออกครั้งนี้หลายฝ่ายต่างให้ความเห็นว่า การ ยกเลิกภาษีส่งออกจะทำให้รัฐขาดรายได้จากภาษีส่งออก แต่หากยังคงภาษีไว้
รัฐก็จะสูญเสียรายได้จากการ ส่งออก
การประกาศขึ้นภาษีนำเข้าของอินเดียเพื่อช่วยเหลือผู้ผลิตภายในนั้น การลดการนำเข้าคงเป็นไปในระยะสั้นๆ
เท่านั้น เพราะประเทศผู้ผลิตทั้งมาเลเซียและอินโดนีเซียต่างประกาศจะลดภาษีส่งออก ดังนั้นอัตราที่คาดว่าจะสกัดกั้นการนำเข้าของอินเดียคือ
ที่อัตราร้อยละ 44 สำหรับผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์ม และร้อยละ 27.5 สำหรับน้ำมันปาล์มดิบ อนึ่ง การนำเข้าในช่วงนี้ของอินเดียเป็นผลจากผู้นำเข้า
ต่างชลอการนำเข้าเพื่อดูท่าทีในเรื่องการลดภาษีส่งออกของมาเลเซียและอินโดนีเซีย และหากราคายังคงอยู่ในระดับปัจจุบันและภาษีส่งออกของ
ประเทศทั้ง 2 ลดลง ประมาณการว่า อินเดียจะมีการนำเข้าถึงร้อยละ 35 ส่วนสถานการณ์ อุปสงค์/อุปทานของมาเลเซียล่าสุดเป็นดังนี้
รายการ กค. สค. กย. ตค.
สต๊อกยกมา 1,036 1,074 1,195-1,205 1,280-1,290
นำเข้า 16 - - -
ผลผลิต 847 936-941 1,035-1,040 1,060-1,065
อุปทานรวม 1,899 2,010-2,015 2,230-2,245 2,340-2,355
ส่งออก 688 670-675 800-805 860-865
ใช้ภายใน 137 135-140 140-145 145-150
สต๊อกคงเหลือ 1,074 1,195-1,205 1,280-1,290 1,325-1,335
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 964.62 ดอลลาร์มาเลเซีย
(10.45 บาท/กก.) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 963.22 ดอลลาร์มาเลเซีย (10.42 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 300.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ
(12.27 บาท/กก.) ราคาลดลงจากตันละ 302.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.36 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.83
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 33 ประจำวันที่ 21 - 27 ส.ค. 2543--
-สส-