1. คำนำ
เงินตรา เป็นที่ยอมรับในฐานะสื่อกลางแห่งการแลกเปลี่ยนและตัววัดมูลค่าทางเศรษฐกิจ เงินตราเป็นสินทรัพย์ทางการเงินเนื่องจากคุณสมบัติในการเก็บรักษามูลค่า แต่เงินตราเป็นเพียงวัตถุสมมติเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยน ส่วนมูลค่าที่แท้จริงคือตัวสินค้าและบริการมิใช่เงินตรา
ประชาชนเชื่อถือในเงินตราเพราะผลิตและนำออกหมุนเวียนโดยรัฐบาล ผู้ถือเงินตรามีฐานะเป็นเจ้าหนี้รัฐบาล และประชาชนของทุกประเทศ ก็เชื่อถือในเครดิตรัฐบาลของตน
มนุษย์เริ่มรู้จักใช้เงินตราในยุคแห่งอารยธรรมนี่เอง ก่อนหน้านี้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจมิได้อาศัยเงินตรา ด้วยพัฒนาการทางสังคมและเศรษฐกิจ ทำให้เกิดวิวัฒนาการของสื่อการชำระมูลค่าด้วยวิวัฒนาการในสื่อชำระมูลค่าเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างประสิทธิภาพและความมั่นคงต่อระบบเศรษฐกิจ ปัจจัยสำคัญที่เอื้ออำนวยต่อวิวัฒนาการ คือ นวัตกรรมทางการเงินและเทคโนโลยี
2. วิวัฒนาการในการชำระเงิน
รูปแบบการชำระเงินเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมมาโดยตลอด วิวัฒนาการในการชำระเงินเป็นการเปลี่ยนแปลงในตัวสื่อการชำระมูลค่า ซึ่งแบ่งออกเป็นยุคต่าง ๆ ดังนี้
-การแลกเปลี่ยนด้วยสินค้ากับสินค้า (Barter system)
-การใช้ตัวเงินตรา (Physical money)
-การใช้บัญชีเงินฝาก (Deposit money)
-การใช้บัญชีเงินฝากผสมผสานกับเงินเครดิต (Deposit money combined with credit)
-การใช้เงินพลาสติกและวิธีการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Plastic money and electronic funds transfer)
การแลกเปลี่ยนสินค้ากับสินค้า (Barter system)
เป็นวิธีการชำระเงินแบบดั้งเดิมโดยการนำสินค้าที่มีมูลค่าใกล้เคียงกันมาแลกเปลี่ยนกันโดยตรงระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย การชำระเงินด้วยวิธีนี้จะไม่มีมาตรฐานเทียบค่าอย่างยุติธรรมเพื่อแลกเปลี่ยน อีกทั้งมีความยุ่งยากลำบากในการเก็บรักษา และไม่สะดวกในการขนย้าย ในที่สุดการแลกเปลี่ยนด้วยวิธีนี้จึงหมดไปและได้มีการพัฒนาวิธีการอื่นขึ้นมาใช้แทน
การใช้ตัวเงินตราเป็นสื่อในการชำระเงิน (Physical money)
เป็นการสมมติเอาวัตถุที่หายากให้มีมูลค่าตามที่กำหนดและเป็นที่ยอมรับกันในสังคมนั้น ๆ เท่าที่เคยพบในประวัติศาสตร์ เช่น เปลือกหอย ลูกปัด กำไลหิน ขวานหิน และเงินเบี้ยที่ทำจากกระเบื้องเป็นต้น ถัดมาก็เป็นการนำโลหะทั้งที่มีค่าและไม่มีค่ามาใช้ เช่น การใช้เงินพดด้วง การใช้ทองคำ อย่างไรก็ตาม ในยุคที่มีการนำโลหะมีค่าเข้ามาใช้ ภายหลังเกิดปัญหาขึ้นมาหลายประการ เช่น ต้นทุนการถลุงโลหะ การขาดแคลนโลหะมีค่าเพราะถูกนำไปหลอมเนื่องจากมูลค่าตัวโลหะสูงกว่ามูลค่าที่ตราไว้ นอกจากนี้ ยังไม่สะดวกต่อการขนย้าย ในเวลาต่อมาจึงได้มีการนำสื่อประเภทอื่นเข้ามาใช้แทน เช่น เงินกระดาษและเหรียญโลหะไม่มีค่า และได้มีการปรับปรุงคุณภาพการผลิตเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
การชำระเงินด้วยการโอนบัญชีเงินฝาก (Deposit money)
สื่อการชำระเงินที่ดี นอกจากจะต้องมีความคงทน ปลอมแปลงยาก มีต้นทุนการผลิตต่ำแล้ว จะต้องมีความสะดวกต่อการพกพาด้วย ปัญหาของการใช้เงินกระดาษคือการขนย้ายในปริมาณมาก ๆ นอกจากนี้ เงินกระดาษผู้ถือเงินคือผู้ทรงสิทธิเมื่อสูญหายหรือถูกลักขโมยก็ไม่สามารถจะพิสูจน์สิทธิได้ ด้วยความไม่สะดวกของเงินกระดาษ จึงทำให้มีการนำตราสารทางการเงินและการโอนบัญชีเงินฝากมาใช้เป็นสื่อการชำระเงิน ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
การใช้เงินเครดิต (Deposit money combined with credit)
จากพื้นฐานการใช้บัญชีเงินฝากเป็นสื่อการชำระเงิน และบางครั้งมูลค่าทางธุรกิจสูงกว่าปริมาณเงินที่มีอยู่ เพื่อให้ธุรกรรมทางเศรษฐกิจสามารถดำเนินไปได้ จึงได้พัฒนาขึ้นเป็นการให้เครดิตหรือสินเชื่อแก่ธุรกิจ โดยยังคงใช้สื่อเดิมคือการโอนบัญชีเงินฝากนั่นเอง แต่สามารถชำระเงินได้ในมูลค่าสูงกว่าเงินคงเหลือในบัญชี
การใช้เงินพลาสติกและวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (Plastic money and electronic funds transfer)
เป็นรูปแบบของสื่อการชำระเงินล่าสุดในขณะนี้ มีพื้นฐานมาจากแนวความคิดในการใช้บัญชีเงินฝากเพื่อการชำระเงิน
เงินพลาสติกถูกพัฒนาขึ้นมาตามเทคโนโลยีซึ่งเปลี่ยนเพื่อให้ทดแทนสื่อการชำระเงินด้วยตราสาร เนื่องจากเงินพลาสติกมีความสะดวกในการพกพา มีความปลอดภัยสูง และให้ผลในการชำระเงินทันที เงินพลาสติกที่มีใช้ในขณะนี้ได้แก่ บัตรเดบิต บัตรเครดิต และกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
สำหรับการชำระเงินมูลค่าสูง หรือต้องการความรวดเร็วในการเรียกเก็บก็จะใช้วิธีชำระมูลค่าด้วยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นการผสมผสานทั้งสื่อการชำระเงิน และวิธีการส่งมอบด้วยการใช้เทคโนโลยีทางอิเล็กทรอนิกส์
3. ระบบการชำระเงิน
ระบบการชำระเงิน คือกระบวนการหรือกลไกการดำเนินงานให้สามารถส่งมอบสื่อการชำระเงินให้แก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง ในระบบที่มิใช่การเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้า การส่งมอบสื่อคือการโอนสิทธิในสื่อการชำระเงินนั้นให้แก่กัน กลไกที่กล่าวนี้จะประกอบด้วยสถาบันการเงิน ตัวสื่อทางการเงินและวิธีการที่ใช้
สถาบันการเงินจะเป็นผู้ให้บริการทางการเงิน และเชื่อมโยงการเงินของหน่วยเศรษฐกิจอื่น ๆ ไว้ด้วยกัน โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ธนาคารกลาง เครื่องมือทางการเงินประกอบด้วยสื่อทางการเงินประเภทต่าง ๆ ทั้งสื่อที่เป็นเงินสด เงินฝาก และตราสาร ส่วนกลไกการส่งมอบจะขึ้นอยู่กับสื่อ หากสื่อการชำระเงินเป็นวัตถุ วิธีการส่งมอบกระทำโดยการขนย้ายตัวสื่อ แต่หากมิใช่วัตถุการส่งมอบจะใช้วิธีการอื่น เช่น วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
องค์ประกอบทั้งหลายที่กล่าวถึงข้างต้นรวมเรียกว่า "ระบบการชำระเงิน"
4. ระบบการชำระเงินของไทย
เช่นเดียวกับประเทศอื่น ระบบการชำระเงินในประเทศไทยมีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ ตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปอันพอจะสรุปได้ดังนี้
4.1 การใช้เงินตรา
เท่าที่พบหลักฐานทางประวัติศาสตร์เงินตรา เช่น เหรียญเงินฟูนัน ทวาราวดี และศรีวิชัย ถูกนำมาใช้ก่อนการตั้งรัฐไทย เงินตราของไทยยุคแรกคือเงินพดด้วง ผลิตขึ้นใช้ในสมัยสุโขทัย และได้ใช้หมุนเวียนยาวนานที่สุดคือตั้งแต่ยุคสุโขทัย อยุธยา มาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ และได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบตลอดมาตามยุคสมัย
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดให้จัดตั้ง "โรงกษาปณ์สิทธิการ" ขึ้นที่หน้าพระคลังมหาสมบัติในพระบรมมหาราชวังขึ้นเพื่อใช้ผลิตเหรียญกษาปณ์ที่ทำจากนิเกิล หลังจากนั้นก็ได้ทรงยกเลิกหน่วยเงินจากชั่ง/ตำลึง/บาท แล้วเปลี่ยนมาเป็น บาท/สตางค์ แทนเหรียญกษาปณ์ก็เริ่มมีบทบาทในระบบการชำระเงินตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนปัจจุบัน
นอกจากนี้ พระองค์ ทรงนำเงินกระดาษเข้ามาใช้เป็นครั้งแรก ออกใช้เมื่อปี พ.ศ. 2396 เรียกว่า "หมาย" ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็มีการนำอัฐกระดาษมาใช้ เงินกระดาษได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นลำดับเนื่องจากความสะดวกในการพกพา ซึ่งต่างจากเงินเหรียญ แต่ปัญหาของเงินกระดาษคือไม่ทนทาน ดังนั้น จึงมีการปรับปรุงคุณภาพเรื่อยมา
ธนบัตรรัฐบาลไทยที่ถือว่ามีคุณภาพได้มาตรฐานเป็นธนบัตรที่จัดพิมพ์โดยบริษัทโทมัส เดอลารู ประเทศอังกฤษ นำออกใช้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2445 ต่อมาเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยจัดตั้งโรงพิมพ์ธนบัตรขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 ประเทศไทยก็พิมพ์ธนบัตรใช้เอง หลังจากนั้นเป็นต้นมา ธนบัตรไทยก็ได้รับการปรับปรุงคุณภาพขึ้นเป็นลำดับจนได้มาตรฐานธนบัตรสากลในปัจจุบัน
ในประเทศไทย การใช้เงินตราได้รับความนิยมสูงมาก ประมาณกันว่าไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าธุรกรรมทางเศรษฐกิจชำระด้วยเงินตราสาเหตุที่เงินตราครองความเป็นสื่อการชำระเงินที่สำคัญเพราะประชากรในประเทศมีรายได้เฉลี่ยไม่สูงนัก มูลค่าการซื้อสินค้าและบริการตามปกติแต่ละครั้งเป็นจำนวนเล็กน้อยประกอบกับพื้นที่ส่วนอื่นของประเทศที่มิใช่เมืองใหญ่ยังไม่มีวิธีการชำระเงินอื่นมาทดแทน เงินสดจึงเป็นเครื่องมือการชำระเงินที่สะดวกที่สุดในขณะนี้
4.2 สื่อการชำระเงินที่ไม่ใช่เงินสด (Cashless payment)
เมื่อระบบเศรษฐกิจขยายตัวขึ้นความต้องการชำระเงินก็เพิ่มขึ้นด้วย ธนาคารพาณิชย์จึงเกิดขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลางทางการเงินและให้บริการทางการเงิน เช่น การรับฝากเงิน และการโอนเงิน เมื่อรับฝากเงิน ธนาคารพาณิชย์จะออกเอกสารการรับฝากเงินให้ผู้ฝากเงินมีสิทธิเรียกคืนเงินตราที่ฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์เมื่อต้องการส่วนการโอนเงินนั้น ธนาคารพาณิชย์จะรับเงินตราจากผู้โอนโดยออกเอกสารแสดงสิทธิเรียกร้องให้ผู้ถือตราสารหรือผู้รับเงิน นำไปแสดงสิทธิรับเงินตราที่สำนักงานธนาคารพาณิชย์ตามที่กำหนด เมื่อการค้าขยายตัวขึ้น การชำระมูลค่าทางการค้าด้วยเงินตราขาดความสะดวกในการส่งมอบ เป็นภาระในการเก็บรวบรวม การขนย้ายและการเก็บรักษาเสี่ยงต่อการสูญหายและได้รับเงินปลอม จึงได้มีการพัฒนาสื่ออื่นที่เป็นตัวแทนของเงินตรามาชำระมูลค่าทางการค้า สื่อนี้ก็คือตราสาร ซึ่งเป็นเอกสารแสดงสิทธิเรียกร้องเอาเงินตราจากผู้จ่าย ที่สำคัญ ๆ และแพร่หลายได้แก่
- ดร๊าฟท์ เป็นตราสารที่ธนาคารพาณิชย์สั่งให้อีกสำนักงานหนึ่งของตนจ่ายเงินตราให้แก่ผู้ถือเมื่อนำดร๊าฟท์นั้นไปยื่นขอขึ้นเงิน การสั่งจ่ายเงินด้วย ดร๊าฟท์นี้ สำนักงานธนาคารผู้สั่งจ่ายกับสำนักงานธนาคารผู้จ่ายอาจจะอยู่ในพื้นที่เดียวกันหรือเป็นการสั่งโอนกันข้ามจังหวัดก็ได้
- ตั๋วแลกเงิน เป็นตราสารซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่าผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้จ่าย ให้จ่ายเงินตราจำนวนหนึ่งแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าผู้รับเงิน ตั๋วแลกเงินมักจะต้องให้สถาบันการเงินเป็นผู้รับรองหรืออาวัลด้วยเพื่อความน่าเชื่อถือของตั๋ว
- ตั๋วสัญญาใช้เงิน เป็นตราสารซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่าผู้ออก ให้คำมั่นสัญญาว่าจะจ่ายเงินตราจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือใช้ให้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับเงิน เมื่อครบกำหนดชำระ ตั๋วสัญญาใช้เงินจะเป็นที่น่าเชื่อถือเพียงใดขึ้นอยู่กับเครดิตของผู้ออก ในปัจจุบันตั๋วสัญญาใช้เงินที่ยอมรับมักเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยสถาบันการเงินหรือไม่ก็มีสถาบันการเงินเป็นผู้รับรองหรืออาวัล
- เช็ค เป็นตราสารซึ่งบุคคลผู้หนึ่งเรียกว่าผู้สั่งจ่าย สั่งธนาคารให้จ่ายเงินตราจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่าผู้รับเงิน เมื่อผู้ทรงเช็คนำเช็คไปขึ้นเงินที่ธนาคารผู้ออกเช็ค ธนาคารก็จะจ่ายเงินสดให้ผู้ทรงเช็คนั้น แต่หากนำไปเข้าบัญชีต่างธนาคาร ธนาคารผู้รับก็จะส่งไปเรียกเก็บเงินโดยผ่านสำนักหักบัญชี เช็คเป็นตราสารที่มีความคล่องตัวกว่าตราสารสามประเภทแรกที่กล่าวถึง เนื่องจากสามารถเขียนเช็คสั่งจ่ายจำนวนเงินเท่าใดก็ได้ตามที่ต้องการแล้วส่งมอบให้แก่ผู้รับโดยไม่ต้องผ่านการรับรองหรือค้ำประกันโดยสถาบันการเงินอีก
การชำระเงินด้วยเช็ค เป็นการโอนมูลค่าในบัญชีเงินฝากของตนที่มีต่อธนาคารพาณิชย์ ให้แก่บุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้ทรงเช็ค เพราะเช็คเป็นเอกสารคำสั่งซึ่งเจ้าของบัญชีเงินฝากสั่งให้ธนาคารพาณิชย์จ่ายเงินตราจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของตนให้แก่ผู้ทรงเช็คเมื่อนำไปยื่นต่อธนาคาร เช็คจึงมีมูลค่าในฐานะสื่อกลางแห่งการแลกเปลี่ยนทัดเทียมกับเงินตราาเพราะเช็คสามารถนำไปแลกเป็นเงินตราได้เสมอ การยอมรับเช็คว่าเป็นการสื่อการชำระเงินเกิดจากความเชื่อถือในเครดิตของผู้จ่ายว่าบัญชีเงินฝากของผู้จ่ายมีเงินตราเพียงพอจริง
โดยทั่วไปแล้วมักจะไม่นิยมนำเช็คไปแลกเป็นเงินตราเพราะไม่สะดวกต่อการนำไปชำระต่อให้บุคคลอื่น แต่มักจะนำเช็คไปฝากธนาคารพาณิชย์ของตนเรียกเก็บเงินเมื่อเรียกเก็บได้ ก็จะฝากเงินนั้นไว้กับธนาคารพาณิชย์ต่อไป ในขณะเดียวกันเมื่อต้องชำระให้แก่บุคคลอื่นก็จะออกเช็คชำระแทนเงินสด
เมื่อวงการค้าต่างก็ยินดีรับชำระด้วยเช็ค ทำให้เช็คเป็นสื่อกลางในการชำระเงินที่นิยมกันทั่วไปในวงการค้า อย่างไรก็ตาม เนื่องจากธนาคารผู้ออกเช็คกับธนาคารผู้เรียกเก็บมิใช่ธนาคารเดียวกัน ความยุ่งยากจึงเกิดขึ้นในกระบวนการเรียกเก็บเงินแม้ว่าการเรียกเก็บเงิน จะเป็นเพียงการโอนตัวเลขทางบัญชีโดยไม่เกี่ยวข้องกับตัวเงินตราก็ตาม
ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เช็คเรียกเก็บระหว่างธนาคารจะนำมาแลกกันที่สำนักหักบัญชีกรุงเทพ และชำระบัญชีระหว่างกัน โดยธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนที่จะนำไปตัดยอดเงินฝากจากเจ้าของบัญชีซึ่งจะรู้ผลในวันถัดไปหลังจากวันที่ส่งเช็คไปเรียกเก็บ ทำให้การรับชำระด้วยเช็คไม่มีผลการชำระเงินอย่างแท้จริงทันที แต่จะต้องใช้เวลาเรียกเก็บ 1 วัน และหากเป็นเช็คเรียกเก็บข้ามจังหวัดบางครั้งใช้เวลาในการเรียกเก็บถึง 15 วัน
4.3 การชำระเงินโดยไม่ใช้เอกสาร (Paperless payment)
พื้นฐานการใช้บัญชีเงินฝากเป็นสื่อกลางการชำระเงิน ทำให้ความสำคัญของการชำระเงินมิได้ขึ้นอยู่กับตัวสื่อ แต่เน้นวิธีการส่งมอบสื่อให้มีความสะดวกรวดเร็ว ปราศจากความเสี่ยง เมื่อเทคโนโลยีทางการสื่อสารพัฒนาขึ้น จึงได้มีการนำเทคโนโลยีนี้เข้ามาประยุกต์ใช้ในระบบการชำระเงิน ในรอบสองทศวรรษที่ผ่านมา เป็นช่วงแห่งการปฏิวัติทางเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสาร เทคโนโลยีดังกล่าวจึงถูกนำมาใช้ในระบบการชำระเงินทั้งในรูปของการเป็นสื่อกลางในการชำระเงินและในวิธีการส่งมอบมูลค่าทางการเงิน
4.4 เงินพลาสติกและระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
จากความยุ่งยากของการใช้เช็คและกระบวนการเรียกเก็บที่ต้องใช้เวลา เช็คจึงแพร่หลายเฉพาะในแวดวงการค้ามิได้ไปถึงการจับจ่ายใช้สอยระดับบุคคลทั่วไป ธนาคารพาณิชย์ ในฐานะผู้ให้บริการทางการเงิน จึงได้นำวิธีการอื่นที่สะดวกกว่าเก่ามาใช้เป็นสื่อการชำระเงินโดยในรูปของบัตรพลาสติก เช่น บัตรเดบิต บัตรเครดิต และการใช้กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
บัตรเดบิตคือการใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์สั่งจ่ายเงินตรา หรือโอนมูลค่าจากบัญชีเงินฝากของตนให้แก่ผู้อื่น ส่วนบัตรเครดิต ก็คือการอาศัยแนวทางของเงินเบิกเกินบัญชีในระบบเช็คมาใช้ในรูปของบัตรพลาสติก คือใช้บัตรพลาสติกเป็นเครื่องมือแทนเช็ค สำหรับกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ก็คือการบรรจุข้อมูลบัญชีเงินฝากไว้ในแถบแม่เหล็กของบัตรพลาสติก เมื่อจะชำระเงินก็จะใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ตัดมูลค่าในบัญชีเงินฝากจากบัตรนั้นแล้วนำไปเข้าบัญชีให้แก่ผู้รับ
การใช้บัตรพลาสติกจึงมีค่าเท่ากับการถือเงินตราที่มีมูลค่าเท่ากับบัญชีเงินฝากหรือสิทธิเรียกร้องในเงินตราที่ตนมีอยู่โดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์บันทึกมูลค่าและส่งมอบมูลค่า ดังนั้น ในบางครั้งจึงเรียกวิธีการดังกล่าวนี้ว่าเป็นการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มีขึ้นในประเทศไทยมากกว่าสองทศวรรษแล้ว ตั้งแต่มีการนำเอาเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในระบบการธนาคาร เช่น บริการ online ระบบเงินฝากซึ่งสามารถรับฝากถอนหรือโอนเงินต่างสาขาธนาคารได้ แต่ที่ได้รับความนิยมสูงมากคือการใช้บัตรเดบิตกับเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ (ATM) นอกจากนี้ ยังมีการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การโอนเงิน ณ จุดขาย (EFT POS) และการชำระค่าสินค่าด้วยบัตรเดบิต เป็นต้น
วิวัฒนาการเหล่านี้เป็นวงจรของการชำระเงินที่เกิดขึ้นทั่วโลก ในปัจจุบันการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ถือเป็นสื่อการชำระเงินปกติ แต่เนื่องจากในประเทศไทยยังขาดโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จึงอยู่ในวงแคบ เช่น เป็นการให้บริการรายย่อย และเป็นการโอนเงินภายในธนาคารเดียวกัน เป็นต้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ตระหนักถึงปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินดังกล่าว จึงได้พัฒนาระบบการโอนเงินรายใหญ่ระหว่างธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมาตอบสนองความต้องการโครงสร้างพื้นฐานในระบบการเงิน อีกทั้งช่วยลดความเสี่ยงในระบบการโอนเงินปัจจุบันซึ่งเป็นระบบเอกสารลงด้วย ระบบการโอนเงินรายใหญ่ระหว่างธนาคารดังกล่าวเรียกว่า BAHTNET ซึ่งเปิดใช้งานแล้วตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2538
5. สรุป
ระบบการชำระเงินตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อมั่นจากประชาชนในตัวสื่อกลางที่ใช้ชำระมูลค่าทางการเงิน สื่อกลางในการชำระมูลค่านั้นไม่จำเป็นต้องเป็นรูปธรรม เช่น เงินตรา หรือตราสาร หากสื่อนั้นสามารถสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้อยู่ในระบบการเงินได้ จึงทำให้เกิดมีวิวัฒนาการของสื่อการชำระเงินจากรูปธรรมเข้าสู่นามธรรมที่เรียกว่าเงินอิเล็กทรอนิกส์ ดังที่กล่าวมาแล้ว
ทุกสถาบันที่ร่วมอยู่ในระบบการชำระเงิน ต่างมีหน้าที่เสริมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ระบบ วันใดที่ความเชื่อมั่นเหล่านี้เสื่อมถอยลง วันนั้นระบบการเงินก็ตั้งอยู่ไม่ได้เช่นกัน
Source : Bank of Thailand
--สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง--
-อน-
เงินตรา เป็นที่ยอมรับในฐานะสื่อกลางแห่งการแลกเปลี่ยนและตัววัดมูลค่าทางเศรษฐกิจ เงินตราเป็นสินทรัพย์ทางการเงินเนื่องจากคุณสมบัติในการเก็บรักษามูลค่า แต่เงินตราเป็นเพียงวัตถุสมมติเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยน ส่วนมูลค่าที่แท้จริงคือตัวสินค้าและบริการมิใช่เงินตรา
ประชาชนเชื่อถือในเงินตราเพราะผลิตและนำออกหมุนเวียนโดยรัฐบาล ผู้ถือเงินตรามีฐานะเป็นเจ้าหนี้รัฐบาล และประชาชนของทุกประเทศ ก็เชื่อถือในเครดิตรัฐบาลของตน
มนุษย์เริ่มรู้จักใช้เงินตราในยุคแห่งอารยธรรมนี่เอง ก่อนหน้านี้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจมิได้อาศัยเงินตรา ด้วยพัฒนาการทางสังคมและเศรษฐกิจ ทำให้เกิดวิวัฒนาการของสื่อการชำระมูลค่าด้วยวิวัฒนาการในสื่อชำระมูลค่าเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างประสิทธิภาพและความมั่นคงต่อระบบเศรษฐกิจ ปัจจัยสำคัญที่เอื้ออำนวยต่อวิวัฒนาการ คือ นวัตกรรมทางการเงินและเทคโนโลยี
2. วิวัฒนาการในการชำระเงิน
รูปแบบการชำระเงินเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมมาโดยตลอด วิวัฒนาการในการชำระเงินเป็นการเปลี่ยนแปลงในตัวสื่อการชำระมูลค่า ซึ่งแบ่งออกเป็นยุคต่าง ๆ ดังนี้
-การแลกเปลี่ยนด้วยสินค้ากับสินค้า (Barter system)
-การใช้ตัวเงินตรา (Physical money)
-การใช้บัญชีเงินฝาก (Deposit money)
-การใช้บัญชีเงินฝากผสมผสานกับเงินเครดิต (Deposit money combined with credit)
-การใช้เงินพลาสติกและวิธีการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Plastic money and electronic funds transfer)
การแลกเปลี่ยนสินค้ากับสินค้า (Barter system)
เป็นวิธีการชำระเงินแบบดั้งเดิมโดยการนำสินค้าที่มีมูลค่าใกล้เคียงกันมาแลกเปลี่ยนกันโดยตรงระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย การชำระเงินด้วยวิธีนี้จะไม่มีมาตรฐานเทียบค่าอย่างยุติธรรมเพื่อแลกเปลี่ยน อีกทั้งมีความยุ่งยากลำบากในการเก็บรักษา และไม่สะดวกในการขนย้าย ในที่สุดการแลกเปลี่ยนด้วยวิธีนี้จึงหมดไปและได้มีการพัฒนาวิธีการอื่นขึ้นมาใช้แทน
การใช้ตัวเงินตราเป็นสื่อในการชำระเงิน (Physical money)
เป็นการสมมติเอาวัตถุที่หายากให้มีมูลค่าตามที่กำหนดและเป็นที่ยอมรับกันในสังคมนั้น ๆ เท่าที่เคยพบในประวัติศาสตร์ เช่น เปลือกหอย ลูกปัด กำไลหิน ขวานหิน และเงินเบี้ยที่ทำจากกระเบื้องเป็นต้น ถัดมาก็เป็นการนำโลหะทั้งที่มีค่าและไม่มีค่ามาใช้ เช่น การใช้เงินพดด้วง การใช้ทองคำ อย่างไรก็ตาม ในยุคที่มีการนำโลหะมีค่าเข้ามาใช้ ภายหลังเกิดปัญหาขึ้นมาหลายประการ เช่น ต้นทุนการถลุงโลหะ การขาดแคลนโลหะมีค่าเพราะถูกนำไปหลอมเนื่องจากมูลค่าตัวโลหะสูงกว่ามูลค่าที่ตราไว้ นอกจากนี้ ยังไม่สะดวกต่อการขนย้าย ในเวลาต่อมาจึงได้มีการนำสื่อประเภทอื่นเข้ามาใช้แทน เช่น เงินกระดาษและเหรียญโลหะไม่มีค่า และได้มีการปรับปรุงคุณภาพการผลิตเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
การชำระเงินด้วยการโอนบัญชีเงินฝาก (Deposit money)
สื่อการชำระเงินที่ดี นอกจากจะต้องมีความคงทน ปลอมแปลงยาก มีต้นทุนการผลิตต่ำแล้ว จะต้องมีความสะดวกต่อการพกพาด้วย ปัญหาของการใช้เงินกระดาษคือการขนย้ายในปริมาณมาก ๆ นอกจากนี้ เงินกระดาษผู้ถือเงินคือผู้ทรงสิทธิเมื่อสูญหายหรือถูกลักขโมยก็ไม่สามารถจะพิสูจน์สิทธิได้ ด้วยความไม่สะดวกของเงินกระดาษ จึงทำให้มีการนำตราสารทางการเงินและการโอนบัญชีเงินฝากมาใช้เป็นสื่อการชำระเงิน ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
การใช้เงินเครดิต (Deposit money combined with credit)
จากพื้นฐานการใช้บัญชีเงินฝากเป็นสื่อการชำระเงิน และบางครั้งมูลค่าทางธุรกิจสูงกว่าปริมาณเงินที่มีอยู่ เพื่อให้ธุรกรรมทางเศรษฐกิจสามารถดำเนินไปได้ จึงได้พัฒนาขึ้นเป็นการให้เครดิตหรือสินเชื่อแก่ธุรกิจ โดยยังคงใช้สื่อเดิมคือการโอนบัญชีเงินฝากนั่นเอง แต่สามารถชำระเงินได้ในมูลค่าสูงกว่าเงินคงเหลือในบัญชี
การใช้เงินพลาสติกและวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (Plastic money and electronic funds transfer)
เป็นรูปแบบของสื่อการชำระเงินล่าสุดในขณะนี้ มีพื้นฐานมาจากแนวความคิดในการใช้บัญชีเงินฝากเพื่อการชำระเงิน
เงินพลาสติกถูกพัฒนาขึ้นมาตามเทคโนโลยีซึ่งเปลี่ยนเพื่อให้ทดแทนสื่อการชำระเงินด้วยตราสาร เนื่องจากเงินพลาสติกมีความสะดวกในการพกพา มีความปลอดภัยสูง และให้ผลในการชำระเงินทันที เงินพลาสติกที่มีใช้ในขณะนี้ได้แก่ บัตรเดบิต บัตรเครดิต และกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
สำหรับการชำระเงินมูลค่าสูง หรือต้องการความรวดเร็วในการเรียกเก็บก็จะใช้วิธีชำระมูลค่าด้วยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นการผสมผสานทั้งสื่อการชำระเงิน และวิธีการส่งมอบด้วยการใช้เทคโนโลยีทางอิเล็กทรอนิกส์
3. ระบบการชำระเงิน
ระบบการชำระเงิน คือกระบวนการหรือกลไกการดำเนินงานให้สามารถส่งมอบสื่อการชำระเงินให้แก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง ในระบบที่มิใช่การเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้า การส่งมอบสื่อคือการโอนสิทธิในสื่อการชำระเงินนั้นให้แก่กัน กลไกที่กล่าวนี้จะประกอบด้วยสถาบันการเงิน ตัวสื่อทางการเงินและวิธีการที่ใช้
สถาบันการเงินจะเป็นผู้ให้บริการทางการเงิน และเชื่อมโยงการเงินของหน่วยเศรษฐกิจอื่น ๆ ไว้ด้วยกัน โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ธนาคารกลาง เครื่องมือทางการเงินประกอบด้วยสื่อทางการเงินประเภทต่าง ๆ ทั้งสื่อที่เป็นเงินสด เงินฝาก และตราสาร ส่วนกลไกการส่งมอบจะขึ้นอยู่กับสื่อ หากสื่อการชำระเงินเป็นวัตถุ วิธีการส่งมอบกระทำโดยการขนย้ายตัวสื่อ แต่หากมิใช่วัตถุการส่งมอบจะใช้วิธีการอื่น เช่น วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
องค์ประกอบทั้งหลายที่กล่าวถึงข้างต้นรวมเรียกว่า "ระบบการชำระเงิน"
4. ระบบการชำระเงินของไทย
เช่นเดียวกับประเทศอื่น ระบบการชำระเงินในประเทศไทยมีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ ตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปอันพอจะสรุปได้ดังนี้
4.1 การใช้เงินตรา
เท่าที่พบหลักฐานทางประวัติศาสตร์เงินตรา เช่น เหรียญเงินฟูนัน ทวาราวดี และศรีวิชัย ถูกนำมาใช้ก่อนการตั้งรัฐไทย เงินตราของไทยยุคแรกคือเงินพดด้วง ผลิตขึ้นใช้ในสมัยสุโขทัย และได้ใช้หมุนเวียนยาวนานที่สุดคือตั้งแต่ยุคสุโขทัย อยุธยา มาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ และได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบตลอดมาตามยุคสมัย
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดให้จัดตั้ง "โรงกษาปณ์สิทธิการ" ขึ้นที่หน้าพระคลังมหาสมบัติในพระบรมมหาราชวังขึ้นเพื่อใช้ผลิตเหรียญกษาปณ์ที่ทำจากนิเกิล หลังจากนั้นก็ได้ทรงยกเลิกหน่วยเงินจากชั่ง/ตำลึง/บาท แล้วเปลี่ยนมาเป็น บาท/สตางค์ แทนเหรียญกษาปณ์ก็เริ่มมีบทบาทในระบบการชำระเงินตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนปัจจุบัน
นอกจากนี้ พระองค์ ทรงนำเงินกระดาษเข้ามาใช้เป็นครั้งแรก ออกใช้เมื่อปี พ.ศ. 2396 เรียกว่า "หมาย" ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็มีการนำอัฐกระดาษมาใช้ เงินกระดาษได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นลำดับเนื่องจากความสะดวกในการพกพา ซึ่งต่างจากเงินเหรียญ แต่ปัญหาของเงินกระดาษคือไม่ทนทาน ดังนั้น จึงมีการปรับปรุงคุณภาพเรื่อยมา
ธนบัตรรัฐบาลไทยที่ถือว่ามีคุณภาพได้มาตรฐานเป็นธนบัตรที่จัดพิมพ์โดยบริษัทโทมัส เดอลารู ประเทศอังกฤษ นำออกใช้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2445 ต่อมาเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยจัดตั้งโรงพิมพ์ธนบัตรขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 ประเทศไทยก็พิมพ์ธนบัตรใช้เอง หลังจากนั้นเป็นต้นมา ธนบัตรไทยก็ได้รับการปรับปรุงคุณภาพขึ้นเป็นลำดับจนได้มาตรฐานธนบัตรสากลในปัจจุบัน
ในประเทศไทย การใช้เงินตราได้รับความนิยมสูงมาก ประมาณกันว่าไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าธุรกรรมทางเศรษฐกิจชำระด้วยเงินตราสาเหตุที่เงินตราครองความเป็นสื่อการชำระเงินที่สำคัญเพราะประชากรในประเทศมีรายได้เฉลี่ยไม่สูงนัก มูลค่าการซื้อสินค้าและบริการตามปกติแต่ละครั้งเป็นจำนวนเล็กน้อยประกอบกับพื้นที่ส่วนอื่นของประเทศที่มิใช่เมืองใหญ่ยังไม่มีวิธีการชำระเงินอื่นมาทดแทน เงินสดจึงเป็นเครื่องมือการชำระเงินที่สะดวกที่สุดในขณะนี้
4.2 สื่อการชำระเงินที่ไม่ใช่เงินสด (Cashless payment)
เมื่อระบบเศรษฐกิจขยายตัวขึ้นความต้องการชำระเงินก็เพิ่มขึ้นด้วย ธนาคารพาณิชย์จึงเกิดขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลางทางการเงินและให้บริการทางการเงิน เช่น การรับฝากเงิน และการโอนเงิน เมื่อรับฝากเงิน ธนาคารพาณิชย์จะออกเอกสารการรับฝากเงินให้ผู้ฝากเงินมีสิทธิเรียกคืนเงินตราที่ฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์เมื่อต้องการส่วนการโอนเงินนั้น ธนาคารพาณิชย์จะรับเงินตราจากผู้โอนโดยออกเอกสารแสดงสิทธิเรียกร้องให้ผู้ถือตราสารหรือผู้รับเงิน นำไปแสดงสิทธิรับเงินตราที่สำนักงานธนาคารพาณิชย์ตามที่กำหนด เมื่อการค้าขยายตัวขึ้น การชำระมูลค่าทางการค้าด้วยเงินตราขาดความสะดวกในการส่งมอบ เป็นภาระในการเก็บรวบรวม การขนย้ายและการเก็บรักษาเสี่ยงต่อการสูญหายและได้รับเงินปลอม จึงได้มีการพัฒนาสื่ออื่นที่เป็นตัวแทนของเงินตรามาชำระมูลค่าทางการค้า สื่อนี้ก็คือตราสาร ซึ่งเป็นเอกสารแสดงสิทธิเรียกร้องเอาเงินตราจากผู้จ่าย ที่สำคัญ ๆ และแพร่หลายได้แก่
- ดร๊าฟท์ เป็นตราสารที่ธนาคารพาณิชย์สั่งให้อีกสำนักงานหนึ่งของตนจ่ายเงินตราให้แก่ผู้ถือเมื่อนำดร๊าฟท์นั้นไปยื่นขอขึ้นเงิน การสั่งจ่ายเงินด้วย ดร๊าฟท์นี้ สำนักงานธนาคารผู้สั่งจ่ายกับสำนักงานธนาคารผู้จ่ายอาจจะอยู่ในพื้นที่เดียวกันหรือเป็นการสั่งโอนกันข้ามจังหวัดก็ได้
- ตั๋วแลกเงิน เป็นตราสารซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่าผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้จ่าย ให้จ่ายเงินตราจำนวนหนึ่งแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าผู้รับเงิน ตั๋วแลกเงินมักจะต้องให้สถาบันการเงินเป็นผู้รับรองหรืออาวัลด้วยเพื่อความน่าเชื่อถือของตั๋ว
- ตั๋วสัญญาใช้เงิน เป็นตราสารซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่าผู้ออก ให้คำมั่นสัญญาว่าจะจ่ายเงินตราจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือใช้ให้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับเงิน เมื่อครบกำหนดชำระ ตั๋วสัญญาใช้เงินจะเป็นที่น่าเชื่อถือเพียงใดขึ้นอยู่กับเครดิตของผู้ออก ในปัจจุบันตั๋วสัญญาใช้เงินที่ยอมรับมักเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยสถาบันการเงินหรือไม่ก็มีสถาบันการเงินเป็นผู้รับรองหรืออาวัล
- เช็ค เป็นตราสารซึ่งบุคคลผู้หนึ่งเรียกว่าผู้สั่งจ่าย สั่งธนาคารให้จ่ายเงินตราจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่าผู้รับเงิน เมื่อผู้ทรงเช็คนำเช็คไปขึ้นเงินที่ธนาคารผู้ออกเช็ค ธนาคารก็จะจ่ายเงินสดให้ผู้ทรงเช็คนั้น แต่หากนำไปเข้าบัญชีต่างธนาคาร ธนาคารผู้รับก็จะส่งไปเรียกเก็บเงินโดยผ่านสำนักหักบัญชี เช็คเป็นตราสารที่มีความคล่องตัวกว่าตราสารสามประเภทแรกที่กล่าวถึง เนื่องจากสามารถเขียนเช็คสั่งจ่ายจำนวนเงินเท่าใดก็ได้ตามที่ต้องการแล้วส่งมอบให้แก่ผู้รับโดยไม่ต้องผ่านการรับรองหรือค้ำประกันโดยสถาบันการเงินอีก
การชำระเงินด้วยเช็ค เป็นการโอนมูลค่าในบัญชีเงินฝากของตนที่มีต่อธนาคารพาณิชย์ ให้แก่บุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้ทรงเช็ค เพราะเช็คเป็นเอกสารคำสั่งซึ่งเจ้าของบัญชีเงินฝากสั่งให้ธนาคารพาณิชย์จ่ายเงินตราจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของตนให้แก่ผู้ทรงเช็คเมื่อนำไปยื่นต่อธนาคาร เช็คจึงมีมูลค่าในฐานะสื่อกลางแห่งการแลกเปลี่ยนทัดเทียมกับเงินตราาเพราะเช็คสามารถนำไปแลกเป็นเงินตราได้เสมอ การยอมรับเช็คว่าเป็นการสื่อการชำระเงินเกิดจากความเชื่อถือในเครดิตของผู้จ่ายว่าบัญชีเงินฝากของผู้จ่ายมีเงินตราเพียงพอจริง
โดยทั่วไปแล้วมักจะไม่นิยมนำเช็คไปแลกเป็นเงินตราเพราะไม่สะดวกต่อการนำไปชำระต่อให้บุคคลอื่น แต่มักจะนำเช็คไปฝากธนาคารพาณิชย์ของตนเรียกเก็บเงินเมื่อเรียกเก็บได้ ก็จะฝากเงินนั้นไว้กับธนาคารพาณิชย์ต่อไป ในขณะเดียวกันเมื่อต้องชำระให้แก่บุคคลอื่นก็จะออกเช็คชำระแทนเงินสด
เมื่อวงการค้าต่างก็ยินดีรับชำระด้วยเช็ค ทำให้เช็คเป็นสื่อกลางในการชำระเงินที่นิยมกันทั่วไปในวงการค้า อย่างไรก็ตาม เนื่องจากธนาคารผู้ออกเช็คกับธนาคารผู้เรียกเก็บมิใช่ธนาคารเดียวกัน ความยุ่งยากจึงเกิดขึ้นในกระบวนการเรียกเก็บเงินแม้ว่าการเรียกเก็บเงิน จะเป็นเพียงการโอนตัวเลขทางบัญชีโดยไม่เกี่ยวข้องกับตัวเงินตราก็ตาม
ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เช็คเรียกเก็บระหว่างธนาคารจะนำมาแลกกันที่สำนักหักบัญชีกรุงเทพ และชำระบัญชีระหว่างกัน โดยธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนที่จะนำไปตัดยอดเงินฝากจากเจ้าของบัญชีซึ่งจะรู้ผลในวันถัดไปหลังจากวันที่ส่งเช็คไปเรียกเก็บ ทำให้การรับชำระด้วยเช็คไม่มีผลการชำระเงินอย่างแท้จริงทันที แต่จะต้องใช้เวลาเรียกเก็บ 1 วัน และหากเป็นเช็คเรียกเก็บข้ามจังหวัดบางครั้งใช้เวลาในการเรียกเก็บถึง 15 วัน
4.3 การชำระเงินโดยไม่ใช้เอกสาร (Paperless payment)
พื้นฐานการใช้บัญชีเงินฝากเป็นสื่อกลางการชำระเงิน ทำให้ความสำคัญของการชำระเงินมิได้ขึ้นอยู่กับตัวสื่อ แต่เน้นวิธีการส่งมอบสื่อให้มีความสะดวกรวดเร็ว ปราศจากความเสี่ยง เมื่อเทคโนโลยีทางการสื่อสารพัฒนาขึ้น จึงได้มีการนำเทคโนโลยีนี้เข้ามาประยุกต์ใช้ในระบบการชำระเงิน ในรอบสองทศวรรษที่ผ่านมา เป็นช่วงแห่งการปฏิวัติทางเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสาร เทคโนโลยีดังกล่าวจึงถูกนำมาใช้ในระบบการชำระเงินทั้งในรูปของการเป็นสื่อกลางในการชำระเงินและในวิธีการส่งมอบมูลค่าทางการเงิน
4.4 เงินพลาสติกและระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
จากความยุ่งยากของการใช้เช็คและกระบวนการเรียกเก็บที่ต้องใช้เวลา เช็คจึงแพร่หลายเฉพาะในแวดวงการค้ามิได้ไปถึงการจับจ่ายใช้สอยระดับบุคคลทั่วไป ธนาคารพาณิชย์ ในฐานะผู้ให้บริการทางการเงิน จึงได้นำวิธีการอื่นที่สะดวกกว่าเก่ามาใช้เป็นสื่อการชำระเงินโดยในรูปของบัตรพลาสติก เช่น บัตรเดบิต บัตรเครดิต และการใช้กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
บัตรเดบิตคือการใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์สั่งจ่ายเงินตรา หรือโอนมูลค่าจากบัญชีเงินฝากของตนให้แก่ผู้อื่น ส่วนบัตรเครดิต ก็คือการอาศัยแนวทางของเงินเบิกเกินบัญชีในระบบเช็คมาใช้ในรูปของบัตรพลาสติก คือใช้บัตรพลาสติกเป็นเครื่องมือแทนเช็ค สำหรับกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ก็คือการบรรจุข้อมูลบัญชีเงินฝากไว้ในแถบแม่เหล็กของบัตรพลาสติก เมื่อจะชำระเงินก็จะใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ตัดมูลค่าในบัญชีเงินฝากจากบัตรนั้นแล้วนำไปเข้าบัญชีให้แก่ผู้รับ
การใช้บัตรพลาสติกจึงมีค่าเท่ากับการถือเงินตราที่มีมูลค่าเท่ากับบัญชีเงินฝากหรือสิทธิเรียกร้องในเงินตราที่ตนมีอยู่โดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์บันทึกมูลค่าและส่งมอบมูลค่า ดังนั้น ในบางครั้งจึงเรียกวิธีการดังกล่าวนี้ว่าเป็นการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มีขึ้นในประเทศไทยมากกว่าสองทศวรรษแล้ว ตั้งแต่มีการนำเอาเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในระบบการธนาคาร เช่น บริการ online ระบบเงินฝากซึ่งสามารถรับฝากถอนหรือโอนเงินต่างสาขาธนาคารได้ แต่ที่ได้รับความนิยมสูงมากคือการใช้บัตรเดบิตกับเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ (ATM) นอกจากนี้ ยังมีการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การโอนเงิน ณ จุดขาย (EFT POS) และการชำระค่าสินค่าด้วยบัตรเดบิต เป็นต้น
วิวัฒนาการเหล่านี้เป็นวงจรของการชำระเงินที่เกิดขึ้นทั่วโลก ในปัจจุบันการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ถือเป็นสื่อการชำระเงินปกติ แต่เนื่องจากในประเทศไทยยังขาดโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จึงอยู่ในวงแคบ เช่น เป็นการให้บริการรายย่อย และเป็นการโอนเงินภายในธนาคารเดียวกัน เป็นต้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ตระหนักถึงปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินดังกล่าว จึงได้พัฒนาระบบการโอนเงินรายใหญ่ระหว่างธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมาตอบสนองความต้องการโครงสร้างพื้นฐานในระบบการเงิน อีกทั้งช่วยลดความเสี่ยงในระบบการโอนเงินปัจจุบันซึ่งเป็นระบบเอกสารลงด้วย ระบบการโอนเงินรายใหญ่ระหว่างธนาคารดังกล่าวเรียกว่า BAHTNET ซึ่งเปิดใช้งานแล้วตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2538
5. สรุป
ระบบการชำระเงินตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อมั่นจากประชาชนในตัวสื่อกลางที่ใช้ชำระมูลค่าทางการเงิน สื่อกลางในการชำระมูลค่านั้นไม่จำเป็นต้องเป็นรูปธรรม เช่น เงินตรา หรือตราสาร หากสื่อนั้นสามารถสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้อยู่ในระบบการเงินได้ จึงทำให้เกิดมีวิวัฒนาการของสื่อการชำระเงินจากรูปธรรมเข้าสู่นามธรรมที่เรียกว่าเงินอิเล็กทรอนิกส์ ดังที่กล่าวมาแล้ว
ทุกสถาบันที่ร่วมอยู่ในระบบการชำระเงิน ต่างมีหน้าที่เสริมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ระบบ วันใดที่ความเชื่อมั่นเหล่านี้เสื่อมถอยลง วันนั้นระบบการเงินก็ตั้งอยู่ไม่ได้เช่นกัน
Source : Bank of Thailand
--สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง--
-อน-