นายธีระ วิภูชนิน รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม — ตุลาคม 2543 มูลค่าการรับแจ้งประกันการส่งออกของ ธสน. สูงถึง 15,575 ล้านบาท มากกว่ามูลค่าการรับแจ้งประกันการส่งออกของปี 2542 ทั้งปีถึง 45.6% ทั้งนี้เป็นเพราะ ผู้ส่งออกเริ่มเห็นความสำคัญและประโยชน์ของบริการประกันการส่งออกมากขึ้น โดยประเภทของธุรกิจที่มาใช้บริการมาก 3 อันดับแรกได้แก่ อาหารทะเล สิ่งทอ และเครื่องประดับ
ปัจจุบันผู้ส่งออกสามารถใช้บริการได้ 3 แบบ คือ บริการประกันการส่งออกภายใต้การชำระเงินแบบ D/P, D/A และ O/A เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการขยายตลาดส่งออกภายใต้เงื่อนไขการชำระเงินที่ผ่อนปรน แบบที่ 2 คือ บริการประกันการส่งออกภายใต้การชำระเงินแบบ L/C มีจุดประสงค์เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงจากการไม่ได้รับชำระเงินตาม L/C ที่เปิดมาจากธนาคารที่มีความเสี่ยงสูง หรือธนาคารขนาดเล็ก และแบบสุดท้าย คือ บริการประกันการส่งออกรายย่อย (Small Export Bill Insurance) ซึ่ง ธสน. รับประกันตั๋วส่งออกให้โดยไม่ต้องรอการตรวจสอบข้อมูลของผู้ซื้อในต่างประเทศ เพื่อให้ผู้ส่งออกได้รับความสะดวกและส่งสินค้าออกได้รวดเร็วขึ้น
สำหรับแนวโน้มของบริการประกันการส่งออกในอนาคตนั้น รองกรรมการผู้จัดการ ธสน. คาดว่า จะมีผู้ส่งออกเห็นความสำคัญและให้ความสนใจมาใช้บริการเพิ่มขึ้นอีก นอกจากนี้เมื่อเดือนกรกฎาคม 2543 ที่ผ่านมา ธสน. ยังมีโครงการให้บริการประกันการส่งออกผ่านธนาคารกรุงไทย เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงในการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ลูกค้าของธนาคารกรุงไทย และในขณะนี้มีธนาคารพาณิชย์อีกหลายแห่งสนใจจะเป็นผู้ให้บริการนี้เช่นกัน ซึ่งนับเป็นผลดีเพราะจะช่วยให้ผู้ส่งออกมีความมั่นใจในการขยายตลาดเดิมและบุกตลาดใหม่ๆ ได้มากยิ่งขึ้น--จบ--
-อน-
ปัจจุบันผู้ส่งออกสามารถใช้บริการได้ 3 แบบ คือ บริการประกันการส่งออกภายใต้การชำระเงินแบบ D/P, D/A และ O/A เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการขยายตลาดส่งออกภายใต้เงื่อนไขการชำระเงินที่ผ่อนปรน แบบที่ 2 คือ บริการประกันการส่งออกภายใต้การชำระเงินแบบ L/C มีจุดประสงค์เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงจากการไม่ได้รับชำระเงินตาม L/C ที่เปิดมาจากธนาคารที่มีความเสี่ยงสูง หรือธนาคารขนาดเล็ก และแบบสุดท้าย คือ บริการประกันการส่งออกรายย่อย (Small Export Bill Insurance) ซึ่ง ธสน. รับประกันตั๋วส่งออกให้โดยไม่ต้องรอการตรวจสอบข้อมูลของผู้ซื้อในต่างประเทศ เพื่อให้ผู้ส่งออกได้รับความสะดวกและส่งสินค้าออกได้รวดเร็วขึ้น
สำหรับแนวโน้มของบริการประกันการส่งออกในอนาคตนั้น รองกรรมการผู้จัดการ ธสน. คาดว่า จะมีผู้ส่งออกเห็นความสำคัญและให้ความสนใจมาใช้บริการเพิ่มขึ้นอีก นอกจากนี้เมื่อเดือนกรกฎาคม 2543 ที่ผ่านมา ธสน. ยังมีโครงการให้บริการประกันการส่งออกผ่านธนาคารกรุงไทย เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงในการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ลูกค้าของธนาคารกรุงไทย และในขณะนี้มีธนาคารพาณิชย์อีกหลายแห่งสนใจจะเป็นผู้ให้บริการนี้เช่นกัน ซึ่งนับเป็นผลดีเพราะจะช่วยให้ผู้ส่งออกมีความมั่นใจในการขยายตลาดเดิมและบุกตลาดใหม่ๆ ได้มากยิ่งขึ้น--จบ--
-อน-