กรุงเทพฯ--15 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
การประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 12 ระหว่างวันที่ 12-13 พฤศจิกายน 2543 ณ บันดาร์ เสรีเมกาวัน ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม มีประเด็นหลักของการประชุมฯ คือ การดำเนินการร่วมกันระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชนในการเสริมสร้างและเผยแพร่กิจกรรมเอเปคให้เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนมากที่สุด กล่าวคือ
1. การเปิดเสรีและอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน
เอเปคเห็นชอบให้มีการเผยแพร่แผนการดำเนินการเปิดเสรีรายสมาชิก (Individual Action Plan LAP) ทางอินเตอร์เน็ต หรือ c-LAP เพื่อความสะดวกของภาคเอกชนและสาธารณชนในการเข้าถึงข้อมูลด้านการเปิดเสรีทางการค้าและการบริการของสมาชิกเอเปคตามเป้าหมายโบกอร์ และเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการปรับปรุงข้อมูล LAP ของสมาชิก
สำหรับประเด็นการเปิดเสรีล่วงหน้ารายสาขาตามความสมัครใจ (Early Voluntary Sectoral Libcralizarion-EVSL) ที่ประชุมฯ รับทราบความคืบหน้าเกี่ยวกับการดำเนินงานสาขายานยนต์ของเอเปค และการที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม APEC Auromotive Dialogue
ด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า ที่ประชุมรัฐมนตรีได้เปิดเว็บไซต์ BIZAPEC.com อย่างเป็นทางการ ซึ่งจะอำนวยความสะดวกด้านข้อมูลให้แก่ภาคธุรกิจและประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับโอกาสในการลงทุนและด้านการค้าของสมาชิกเอเปค
2. การเสริมความแข็งแกร่งของระบบการค้าพหุภาคี
รัฐมนตรีย้ำนโยบายสนับสนุนระบบการเปิดเสรีในภูมิภาคและสนับสนุนระบบการค้าพหุภาคี โดยการดำเนินการเปิดเสรีภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) มีความสำคัญยิ่งต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนา และเห็นชอบกันแผนยุทธวิธีของเอเปคในการดำเนินการร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการปฏิบัติตามความตกลง WTO และสนับสนุนให้เปิดการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบใหม่เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยเรียกร้องให้ผู้แทนสมาชิกเอเปคที่นครเจนิวาสามารถตกลงกันได้ในเรื่องของระเบียบวาระการเจรจา (agenda) ภายใน ศ.ศ.2001
นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ยังสนับสนุนการดำเนินการอย่างต่อเนื่องของ WTO ในการเจรจาด้านการเกษตรและการบริการ และสนับสนุนการเตรียมการด้านการเจรจาสาขาอุตสาหกรรมและสาขาอื่นๆ และย้ำการลงสถานะการไม่เก็บภาษีศุลกากรการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์
3. การเสริมความแข็งแกร่งของการตลาด
รัฐมนตรีเห็นชอบกับรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับแผนการดำเนินงานของเอเปคด้านการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของตลาด (APEC Road Map on Strengthening Markets) เพื่อรวบรวมการดำเนินการร่วมและการดำเนินการของแต่ละสมาชิกเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของตลาด ตามที่เห็นชอบร่วมกันในการประชุมผู้นำเอเปคที่นิวซีแลนด์ ในปี ค.ศ.1999
4. ผลการดำเนินงานของรัฐมนตรีพลังงานเอเปค
รัฐมนตรีเห็นชอบกับแถลงการณ์ของรัฐมนตรีพลังงานเอเปคเกี่ยวกับความสำคัญของพลังงานต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และรับทราบผลกระทบของความผันผวนของตลาดน้ำมันต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และเรียกร้องมาตรการที่เหมาะสมในการส่งเสริมความสามารถในระยะยาวของตลาดที่จะตอบสนองความต้องการของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค และขอให้สมาชิกเอเปคดำเนินการตามความเหมาะสมเพื่อให้เกิดความสมดุลของตลาดน้ำมัน
ที่ประชุมรับทราบความสำคัญของการเสริมความมั่นคงด้านพลังงานของสมาชิกเอเปคโดยให้มีความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ซึ่งคณะทำงานด้านพลังงานเอเปคได้ให้แนวทางไว้ได้แก่ การมีประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงาน การแสวงหาแหล่งพลังงานที่มีความหลากหลายพัฒนาวิธีการใช้พลังงาน และสำรวจพลังงานทดแทน
5. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ (ECOTECH)
รัฐมนตรีเห็นชอบกับโครงการ ECOTECH Clearing House (www.APEC ECOTECH.org) ซึ่งเป็นสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ให้สาธารณชนสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมด้าน ECOTECH ของเอเปค และอำนวยความสะดวกแก่สมาชิกเอเปคในการประสานงานและลดความซ้ำซ้อนของการดำเนินงาน
รัฐมนตรีเน้นการเผยแพร่กิจกรรม คุณประโยชน์ และความสำคัญของเอเปค สู่สาธารณชนโดยใช้เอกสาร "Making APEC Matter More to Pcople Through ECOTECH" ของไทยเป็นตัวอย่างเผยแพร่ในการประชุมครั้งนี้
6. คณะกรรมการทางเศรษฐกิจของเอเปค (Economic Committee-EC)
รัฐมนตรีรับรองรายงานของ EC เรื่องผลกระทบของราคาน้ำมันที่สูงขึ้นต่อเศรษฐกิจเอเปค และแผนการดำเนินงานสู่การเป็นเศรษฐกิจที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ของเอเปค
7. เศรษฐกิจภาคใหม่ (New Econorny)
รัฐมนตรีรับทราบความสำคัญของการสร้างสรรค์ใหม่ๆ ของอุตสาหกรรมละมุนภัณฑ์ (ซอฟท์แวร์) ต่อเศรษฐกิจภาคใหม่ และเห็นพ้องว่าเอเปคควรส่งเสริมกฎหมายและการจัดการที่เหมาะสมในการใช้ซอฟแวร์ ผลิตภัณฑ์และทรัพย์สินทางปัญญาของผู้ใช้
รัฐมนตรีรับทราบช่องว่างความแตกต่างของสมาชิกในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ (digital divide) และเห็นพ้องให้ภาครัฐร่วมกับภาคเอกชนในการสร้างโอกาสและการขยายประโยชน์ของเศรษฐกิจภาคใหม่สู่ทุกส่วนของสังคม โดยการเน้นความสำคัญของการศึกษา และย้ำความสำคัญของการเข้าถึงการศึกษาพื้นฐานของเยาวชน
8. การหารือกับสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค (APEC Business Advisory Council-ABAC)
รัฐมนตรีรับทราบรายงานและข้อเสนอแนะของ ABAC ในการสนับสนุนการดำเนินการเปิดเสรีและอำนวยความสะดวกทางการค้าและบริการอย่างต่อเนื่องเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายโบกอร์ การเสริมสร้างความสามารถ และการมีระบบการคลังที่แข็งแกร่งเพื่อเตรียมความพร้อมของสมาชิกเอเปคในการเข้าสู่เศรษฐกิจยุคโลกาภิวัฒน์
9. ผลกระทบทางสังคมจากวิกฤตเศรษฐกิจ
รัฐมนตรีเห็นชอบกับข้อเสนอ Rcviragsation of Social Safety Nct Activities in APEC เสนอโดยเกาหลีใต้ และไทย และรับรองการจัดตั้งกลุ่มทำงานเพื่อเสริมสร้างโครงข่ายรองรับทางสังคมของเอเปค และรับทราบกิจกรรม the Third Regional Form on Pension Fund Reform ซึ่งไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม ปี ค.ศ.2000
10.เยาวชน
รัฐมนตรีรับรองแถลงการณ์ Bangkok Youth Statement ซึ่งเป็นผลจากการจัดกิจกรรม APEC Youth Networking:Youth Preparation for the APEC Sociery on the Next Millennium ซึ่งไทยจัดขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ.2000 เพื่อส่งเสริมบทบาทของเยาวชนต่อกิจกรรมและการดำเนินงานต่างๆของเอเปค
11.APEC Food System-AFS
รัฐมนตรีย้ำความสำคัญของ 3 ประเด็นหลักด้าน AFS ได้แก่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในชนบท การส่งเสริมการค้าอาหาร และการเผยแพร่เทคโนโลยีด้านการผลิตและแปรรูปอาหาร โดยสนับสนุนให้สมาชิกดำเนินการตามข้อเสนอแนะด้าน AFS และรายงานความคืบหน้าเป็นรายปี
12.เทคโนโลยีชีวภาพ
รัฐมนตรีมอบหมายให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการการเกษตรของเอเปคดำเนินการต่อไปในการเสริมสร้างความสามารถและแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อให้ผู้บริโภคมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับประโยชน์และโทษของผลผลิตเทคโนโลยีชีวภาพ
13.การประชุมรัฐมนตรีเอเปคในอนาคต
ที่ประชุมรับทราบการรายงานความคืบหน้าในการเตรียมการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม APEC 2001-2003 ของสาธารณรัฐประชาชนจีน เม็กซิโก และประเทศไทยตามลำดับ ทั้งนี้ประเทศไทยได้แจ้งที่ประชุมทราบเกี่ยวกับตราสัญลักษณ์ วัน เวลา และสถานที่จัดการประชุมต่างๆ สำหรับ APEC 2003 (พ.ศ.2546) ตลอดจนได้แจกจ่ายปากกา APEC 2003 เป็นที่ระลึกแก่รัฐมนตรีเอเปคด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
การประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 12 ระหว่างวันที่ 12-13 พฤศจิกายน 2543 ณ บันดาร์ เสรีเมกาวัน ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม มีประเด็นหลักของการประชุมฯ คือ การดำเนินการร่วมกันระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชนในการเสริมสร้างและเผยแพร่กิจกรรมเอเปคให้เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนมากที่สุด กล่าวคือ
1. การเปิดเสรีและอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน
เอเปคเห็นชอบให้มีการเผยแพร่แผนการดำเนินการเปิดเสรีรายสมาชิก (Individual Action Plan LAP) ทางอินเตอร์เน็ต หรือ c-LAP เพื่อความสะดวกของภาคเอกชนและสาธารณชนในการเข้าถึงข้อมูลด้านการเปิดเสรีทางการค้าและการบริการของสมาชิกเอเปคตามเป้าหมายโบกอร์ และเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการปรับปรุงข้อมูล LAP ของสมาชิก
สำหรับประเด็นการเปิดเสรีล่วงหน้ารายสาขาตามความสมัครใจ (Early Voluntary Sectoral Libcralizarion-EVSL) ที่ประชุมฯ รับทราบความคืบหน้าเกี่ยวกับการดำเนินงานสาขายานยนต์ของเอเปค และการที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม APEC Auromotive Dialogue
ด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า ที่ประชุมรัฐมนตรีได้เปิดเว็บไซต์ BIZAPEC.com อย่างเป็นทางการ ซึ่งจะอำนวยความสะดวกด้านข้อมูลให้แก่ภาคธุรกิจและประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับโอกาสในการลงทุนและด้านการค้าของสมาชิกเอเปค
2. การเสริมความแข็งแกร่งของระบบการค้าพหุภาคี
รัฐมนตรีย้ำนโยบายสนับสนุนระบบการเปิดเสรีในภูมิภาคและสนับสนุนระบบการค้าพหุภาคี โดยการดำเนินการเปิดเสรีภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) มีความสำคัญยิ่งต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนา และเห็นชอบกันแผนยุทธวิธีของเอเปคในการดำเนินการร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการปฏิบัติตามความตกลง WTO และสนับสนุนให้เปิดการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบใหม่เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยเรียกร้องให้ผู้แทนสมาชิกเอเปคที่นครเจนิวาสามารถตกลงกันได้ในเรื่องของระเบียบวาระการเจรจา (agenda) ภายใน ศ.ศ.2001
นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ยังสนับสนุนการดำเนินการอย่างต่อเนื่องของ WTO ในการเจรจาด้านการเกษตรและการบริการ และสนับสนุนการเตรียมการด้านการเจรจาสาขาอุตสาหกรรมและสาขาอื่นๆ และย้ำการลงสถานะการไม่เก็บภาษีศุลกากรการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์
3. การเสริมความแข็งแกร่งของการตลาด
รัฐมนตรีเห็นชอบกับรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับแผนการดำเนินงานของเอเปคด้านการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของตลาด (APEC Road Map on Strengthening Markets) เพื่อรวบรวมการดำเนินการร่วมและการดำเนินการของแต่ละสมาชิกเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของตลาด ตามที่เห็นชอบร่วมกันในการประชุมผู้นำเอเปคที่นิวซีแลนด์ ในปี ค.ศ.1999
4. ผลการดำเนินงานของรัฐมนตรีพลังงานเอเปค
รัฐมนตรีเห็นชอบกับแถลงการณ์ของรัฐมนตรีพลังงานเอเปคเกี่ยวกับความสำคัญของพลังงานต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และรับทราบผลกระทบของความผันผวนของตลาดน้ำมันต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และเรียกร้องมาตรการที่เหมาะสมในการส่งเสริมความสามารถในระยะยาวของตลาดที่จะตอบสนองความต้องการของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค และขอให้สมาชิกเอเปคดำเนินการตามความเหมาะสมเพื่อให้เกิดความสมดุลของตลาดน้ำมัน
ที่ประชุมรับทราบความสำคัญของการเสริมความมั่นคงด้านพลังงานของสมาชิกเอเปคโดยให้มีความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ซึ่งคณะทำงานด้านพลังงานเอเปคได้ให้แนวทางไว้ได้แก่ การมีประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงาน การแสวงหาแหล่งพลังงานที่มีความหลากหลายพัฒนาวิธีการใช้พลังงาน และสำรวจพลังงานทดแทน
5. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ (ECOTECH)
รัฐมนตรีเห็นชอบกับโครงการ ECOTECH Clearing House (www.APEC ECOTECH.org) ซึ่งเป็นสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ให้สาธารณชนสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมด้าน ECOTECH ของเอเปค และอำนวยความสะดวกแก่สมาชิกเอเปคในการประสานงานและลดความซ้ำซ้อนของการดำเนินงาน
รัฐมนตรีเน้นการเผยแพร่กิจกรรม คุณประโยชน์ และความสำคัญของเอเปค สู่สาธารณชนโดยใช้เอกสาร "Making APEC Matter More to Pcople Through ECOTECH" ของไทยเป็นตัวอย่างเผยแพร่ในการประชุมครั้งนี้
6. คณะกรรมการทางเศรษฐกิจของเอเปค (Economic Committee-EC)
รัฐมนตรีรับรองรายงานของ EC เรื่องผลกระทบของราคาน้ำมันที่สูงขึ้นต่อเศรษฐกิจเอเปค และแผนการดำเนินงานสู่การเป็นเศรษฐกิจที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ของเอเปค
7. เศรษฐกิจภาคใหม่ (New Econorny)
รัฐมนตรีรับทราบความสำคัญของการสร้างสรรค์ใหม่ๆ ของอุตสาหกรรมละมุนภัณฑ์ (ซอฟท์แวร์) ต่อเศรษฐกิจภาคใหม่ และเห็นพ้องว่าเอเปคควรส่งเสริมกฎหมายและการจัดการที่เหมาะสมในการใช้ซอฟแวร์ ผลิตภัณฑ์และทรัพย์สินทางปัญญาของผู้ใช้
รัฐมนตรีรับทราบช่องว่างความแตกต่างของสมาชิกในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ (digital divide) และเห็นพ้องให้ภาครัฐร่วมกับภาคเอกชนในการสร้างโอกาสและการขยายประโยชน์ของเศรษฐกิจภาคใหม่สู่ทุกส่วนของสังคม โดยการเน้นความสำคัญของการศึกษา และย้ำความสำคัญของการเข้าถึงการศึกษาพื้นฐานของเยาวชน
8. การหารือกับสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค (APEC Business Advisory Council-ABAC)
รัฐมนตรีรับทราบรายงานและข้อเสนอแนะของ ABAC ในการสนับสนุนการดำเนินการเปิดเสรีและอำนวยความสะดวกทางการค้าและบริการอย่างต่อเนื่องเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายโบกอร์ การเสริมสร้างความสามารถ และการมีระบบการคลังที่แข็งแกร่งเพื่อเตรียมความพร้อมของสมาชิกเอเปคในการเข้าสู่เศรษฐกิจยุคโลกาภิวัฒน์
9. ผลกระทบทางสังคมจากวิกฤตเศรษฐกิจ
รัฐมนตรีเห็นชอบกับข้อเสนอ Rcviragsation of Social Safety Nct Activities in APEC เสนอโดยเกาหลีใต้ และไทย และรับรองการจัดตั้งกลุ่มทำงานเพื่อเสริมสร้างโครงข่ายรองรับทางสังคมของเอเปค และรับทราบกิจกรรม the Third Regional Form on Pension Fund Reform ซึ่งไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม ปี ค.ศ.2000
10.เยาวชน
รัฐมนตรีรับรองแถลงการณ์ Bangkok Youth Statement ซึ่งเป็นผลจากการจัดกิจกรรม APEC Youth Networking:Youth Preparation for the APEC Sociery on the Next Millennium ซึ่งไทยจัดขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ.2000 เพื่อส่งเสริมบทบาทของเยาวชนต่อกิจกรรมและการดำเนินงานต่างๆของเอเปค
11.APEC Food System-AFS
รัฐมนตรีย้ำความสำคัญของ 3 ประเด็นหลักด้าน AFS ได้แก่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในชนบท การส่งเสริมการค้าอาหาร และการเผยแพร่เทคโนโลยีด้านการผลิตและแปรรูปอาหาร โดยสนับสนุนให้สมาชิกดำเนินการตามข้อเสนอแนะด้าน AFS และรายงานความคืบหน้าเป็นรายปี
12.เทคโนโลยีชีวภาพ
รัฐมนตรีมอบหมายให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการการเกษตรของเอเปคดำเนินการต่อไปในการเสริมสร้างความสามารถและแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อให้ผู้บริโภคมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับประโยชน์และโทษของผลผลิตเทคโนโลยีชีวภาพ
13.การประชุมรัฐมนตรีเอเปคในอนาคต
ที่ประชุมรับทราบการรายงานความคืบหน้าในการเตรียมการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม APEC 2001-2003 ของสาธารณรัฐประชาชนจีน เม็กซิโก และประเทศไทยตามลำดับ ทั้งนี้ประเทศไทยได้แจ้งที่ประชุมทราบเกี่ยวกับตราสัญลักษณ์ วัน เวลา และสถานที่จัดการประชุมต่างๆ สำหรับ APEC 2003 (พ.ศ.2546) ตลอดจนได้แจกจ่ายปากกา APEC 2003 เป็นที่ระลึกแก่รัฐมนตรีเอเปคด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-