ปาฐกถา เรื่อง
"วิกฤตโลก : ผลกระทบต่อการเมืองและเศรษฐกิจไทย"*
โดย นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ณ หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
22 พฤศจิกายน 2544
________________________
วันนี้ผมขออนุญาตพูดในฐานะศิษย์เก่าของธรรมศาสตร์คนหนึ่ง จะไม่ขอพูดในฐานะรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีแต่ประการใด เพราะถือว่าเป็นเกียรติสูงสุดที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีได้เรียนเชิญกระผมมาพูดในวันนี้ ผมจบไปแล้วผมจำคณาจารย์ที่นั่งอยู่ข้างหน้านี่ได้ จริง ๆ แล้วถ้าไม่มีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ผมก็คงไม่มีโอกาสได้เดินขึ้นมาในวงการของคณาจารย์ เป็นเพราะว่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีให้โอกาสผม และมีโอกาสมาสอนในโครงการ MBA โครงการ Mini MBA และโครงการ Executive MBA จนทำให้มีหลายคนเริ่มรู้จักชื่อผม ในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจารย์ท่านหนึ่งที่ผมไม่เคยลืม คือ อาจารย์สังเวียน อินทรวิชัย ซึ่งได้เปิดโอกาสให้ผมมีโอกาสได้แสดงความคิดอ่านและแนวความคิดทั้งหลาย ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ ฉะนั้นเลยถือโอกาสนี้พูดถึงทุกๆ เรื่องที่คิดว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
ผมเพิ่งกลับมาจากญี่ปุ่นเมื่อคืนนี้ และก็รู้สึกว่าเป็น Trip ที่ดีและมีประโยชน์มาก ถ้าหากมีการเดินทางอย่างนี้เรื่อยๆ ผมเชื่อว่า ประเทศไทยจะเริ่มเป็นที่รู้จักในเวทีโลกในอนาคตข้างหน้า 63 ปีที่คณะพาณิชยศาสตร์ การบัญชีได้มีการก่อตั้งขึ้นมา ผมเชื่อว่าไม่มีคณะพาณิชยศาสตร์การบัญชีอื่นใดที่สามารถสร้างลูกศิษย์ลูกหาที่อยู่เต็มบ้านเต็มเมือง และเป็นหลักของแผ่นดินทั้งในภาครัฐและในภาคของเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 20 ปีที่ผ่านมานี้ เมื่อภาวะเศรษฐกิจไทยได้ก้าวไปสู่ยุคของการก้าวกระโดด ผมจำได้ว่าหันไปทางไหนก็พบแต่ผู้บริหาร ซึ่งหลายๆ คนเลยที่จบไปจากคณะแห่งนี้ บทบาทที่โดดเด่นอันนี้เป็นที่ประจักษ์ชัด และผมก็เชื่อว่า อนาคตข้างหน้าบทบาทของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจะยิ่งมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เหตุผลเพราะว่าประเทศไทยในขณะนี้อยู่ในภาวะที่ค่อนข้างล่อแหลมและค่อนข้างสำคัญ ถ้าหากว่าเราปรับตัวได้ดีพอ เราจะไปได้ดีมากๆ แต่ถ้าเราไม่ปรับตัว วันหนึ่งๆ มัวแต่นั่งบ่น ประเทศไทยจะไม่มีอนาคต จะถดถอย และถอยหลัง จะไม่สามารถก้าวทันโลกเราได้ในอนาคตข้างหน้าผมเชื่อว่านักพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจะต้องสำรวจบทบาท ประเมินทิศทางในอนาคตข้างหน้า แล้วดูสิว่าจะสามารถ Design หลักสูตร Design วิธีการเพื่อให้สามารถผลิตบุคลากรที่สอดรับกับทิศทางในอนาคตให้ได้ดีที่สุด เพื่อเป็นการสอดรับกับทิศทาง ซึ่งรัฐบาลพยายามทำอยู่ขณะนี้ เพราะถ้าหากคณะแห่งนี้ไม่สามารถผลิตบัณฑิตหรือมหาบัณฑิตที่สอดรับทิศทางแห่งอนาคต แต่กลับสร้างบัณฑิตกับมหาบัณฑิตไปคนละทิศคนละทาง อนาคตข้างหน้าเราจะไม่สามารถหาบุคลากรใด ๆ มาได้เลย อย่าลืมว่า 20 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจในภาคเอกชนของไทยนั้นไปได้ดีมาก ๆ ก็เพราะว่าบัณฑิตกับมหาบัณฑิตที่เกิดจากคณะแห่งนี้ ไม่ว่าในเชิงของพาณิชยศาสตร์ ในเชิงของการบัญชี หรือสาขาที่แตกย่อยออกมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างมหาบัณฑิต MBA ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่ง และมีบทบาทโดดเด่นในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา แต่ว่า 63 ปีมาแล้ว และบัดนี้เวลาก็เปลี่ยนไปเยอะ โลกข้างหน้าก็จะแตกต่างจากโลกที่ผ่านมาในอดีต ผมเชื่ออย่างยิ่งว่า รัฐบาลชุดนี้เมื่ออยู่ครบ 4 ปีสถานภาพทางเศรษฐกิจและโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศนี้จะเริ่มแตกต่างไปจากที่ผ่านมาค่อนข้างมาก เหตุผลนั้นกระผมจะกราบเรียนคร่าวๆ ดังต่อไปนี้
ปี 2544 ทุกคนต่างก็ทราบว่าเศรษฐกิจโลกค่อนข้างถดถอยมาก และสถานการณ์โลกที่กำลังเกิดขึ้นนี้ ก็ส่งผลกระทบต่อทุกๆ ประเทศในโลก ไม่มีประเทศไหนที่ได้รับการยกเว้น แม้กระทั่งจีนก็ตาม จีนนั้น GDP อาจจะยังสูงอยู่ แต่ข้างในของเขานั้น ผมเชื่อว่าถูกกระทบไม่มากก็น้อย แต่ยังโชคดีที่ประเทศไทยในปีนี้เรายังมีความสามารถที่จะดำรงไว้ซึ่ง GDP ที่เป็นบวก จะบวก 1.3, 1.5, 1.8 ผมถือว่าอัตราเหล่านั้นล้วนแต่เป็นอัตราซึ่งน่าพอใจทั้งสิ้น เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ ในเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศเพื่อนบ้านของเรา วันนี้เรายังถือว่าโชคดีมาก ประเทศสิงคโปร์ปีที่แล้ว GDP Growth ประมาณ 9.9% ปีนี้ติดลบประมาณ 2% ไต้หวันปีที่แล้ว GDP Growth ถ้าผมจำไม่ผิดประมาณ 5.9 หรือ 6.6% ปีนี้ติดลบ 2.2% มาเลเซียปีที่แล้วเจริญเติบโตด้วยอัตราการเจริญเติบโตเกือบ 10% ปีนี้คาดว่าประมาณ 0.5% แต่สำหรับประเทศไทยถ้าอยู่ในช่วง 1-2% ผมถือว่าใช้ได้มากแล้วเมื่อคำนึงถึงข้อจำกัดและมรดกซึ่งรัฐบาลชุดนี้ได้มาจาก 3 ปีที่ผ่านมา ฉะนั้นการเติบโตในปีนี้มิใช่เป็นเรื่องใหญ่ แต่เรื่องใหญ่สำคัญก็คือว่า ในปีข้างหน้าต่อ ๆ ไป เราจะสามารถดำรงสถานภาพเศรษฐกิจของเราได้ดีเพียงใด ขณะนี้มีเสียงบ่นทยอยกันออกมา และมีเสียงที่ค่อนข้างแสดงความกังวลทยอยกันมาว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยจะซึมยาว อันนี้คือกระแสความคิดกระแสที่ 1 เราจะไม่คิดว่าถูกหรือผิด แต่ผมอยากจะกราบเรียนว่าเศรษฐกิจไทยจะซึมยาวหรือซึมสั้นในอนาคตข้างหน้า หรือจะก้าวกระโดดอย่างเข้มแข็ง ขึ้นอยู่กับการดูแลงานในขณะนี้ว่า ท่านให้ความสำคัญอย่างไรกับการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจในขณะนี้
ผมมีความเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า แนวความคิดที่ว่าถ้าเราต้องการให้ GDP เติบโต จะต้องมีการอัดฉีดเงินเข้าไปโดยเร่งด่วน เพื่อให้ GDP Growth เติบโตขึ้นมาในอนาคตข้างหน้า จะเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ก็แล้วแต่ สิ่งเหล่านั้นผมไม่เห็นด้วย การกู้หนี้ยืมสินเป็นจำนวนมาก ๆ แล้วอัดฉีดเข้าไปในเศรษฐกิจ แน่นอน GDP โตแน่นอน แต่ได้รอบเดียวหายอย่างที่เป็นมาในอดีต พอมันหายไป สิ่งที่เหลือก็คือหนี้สินมหาศาล ผมรับมาแล้ว 2.8 ล้านล้าน คิดไม่ถึงเหมือนกันว่าประเทศไทยจะมีวันนี้ ซึ่งมีหนี้สิน 2.8 ล้านล้าน ภาระดอกเบี้ยจะต้องจ่ายแต่ละปีงบประมาณปีละประมาณ 100,000 ล้าน หารด้วย 12 ตีเสียว่าเดือนละประมาณ 10,000 ล้าน หารด้วย 30 วัน วันละ 300 ล้านบาท คำถามก็คือว่าเป็นไปได้อย่างไร? ฉะนั้นการกู้หนี้ยืมสินมาอัดฉีดโดยไม่ลืมหูลืมตา โดยที่ไม่มีปฏิรูป ผมจะไม่ทำเด็ดขาด ถ้าจะทำก็ให้เปลี่ยนรัฐมนตรีคลัง อันไม่ถือว่าผิดแต่ประการใด อันนี้เป็นเรื่องของความเชื่อ ความมั่นใจในทิศทางที่แต่ละคนจะถือ เพราะผมเชื่อว่าโลกวันข้างหน้ากับโลกวันนี้ไม่เหมือนกัน ถ้าเรายังคิดว่าโครงสร้างของเศรษฐกิจของเมืองไทยในขณะนี้นั้น เหมือนกับในอดีตและจะยังคงอยู่ได้ในอนาคตข้างหน้า เรากำลังคิดผิด เพราะโครงสร้างหลาย ๆ อย่างในขณะนี้มันทั้งเปราะบางและล้าสมัย
ประเทศไทยในขณะนี้ถูกจัดลำดับความสามารถเชิงแข่งขันอยู่ในอันดับเกือบรั้งท้าย World Bank ออกมาให้ Report ว่าประเทศไทยมีคนจนเพิ่มสูงขึ้น มีคนเพิ่มถึง 10 ล้านคน ทั้งฐานะของความยากจน ทั้งความสามารถเชิงแข่งขัน มิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นมาเพียงชั่วข้ามคืน อย่าบอกว่ารัฐบาลทักษิณที่ทำให้เกิดเรื่องนี้ขึ้นมา สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมานั้นใช้เวลาเป็น 10 ปี ซึ่งเราไม่เคยรู้จักเปลี่ยนแปลงและถ้าเราต้องการความเปลี่ยนแปลงให้มันดีขึ้น เราต้องเริ่มเปลี่ยนแปลงเสียแต่วันนี้ ยกตัวอย่างง่ายๆ ในอดีตเราบอกว่าเราจะแก้ไขความยากจน ซึ่งมันต้องแก้ให้ได้ เพราะว่าอำนาจซื้อส่วนใหญ่นั้นมันอยู่ภายในประเทศ ยิ่งวันนี้การส่งออกของเราจะพึ่งตลาดโลกอย่างเดียวก็คงไม่ได้ ต้องพึ่งตลาดภายในประเทศ แต่ตลาดภายในประเทศนั้นคนส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่ยากจน ผมไปที่บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ผมต้องขอบคุณนายกรัฐมนตรีที่พาผมไป เพราะได้มีโอกาสได้ไปเจอกับชาวไร่ชาวนา เขาเข้ามาจับมือผม เขาเรียกชื่อ "สมคิด" ผมดีใจมากที่มีคุณลุงคุณตาอายุ 70 หลายๆ คนที่เรียก "สมคิดมานี้หน่อย" ผมเดินเข้าไปจับมือกับเขา มีหลายคนยัดกระดาษใส่มือผมบอกว่า ขอให้ข้าวมีราคา เมื่อหมดหน้าเพาะปลูกเก็บเกี่ยวแล้วไม่มีอาชีพอื่นทำ ไม่มีสินค้าอื่นที่จะขาย ยากจนมาก ชีวิตทั้งชีวิตขอขึ้นอยู่กับแค่ราคาข้าว เป็นไปได้อย่างไร? โครงสร้างเศรษฐกิจของเราปล่อยให้เป็นอย่างนี้ได้ เป็นไปได้อย่างไรที่แผนพัฒนาเศรษฐกิจที่ผ่านมาปล่อยให้เป็นอย่างนี้ได้? แปลว่ามีความผิดพลาดที่บางจุด ซึ่งเราทำไม่ถูกต้องพอไปที่ญี่ปุ่น ไปที่เมืองโออิตะ ผู้ว่าฯ โออิตะคนนี้ ผมจะเล่าประวัติสั้นๆ ให้ฟัง เมื่อก่อนเป็นผู้นำชั้นสูงของ MITI เป็นคนคิดนโยบายไอทีให้กับญี่ปุ่น ฟูมฟักจนกระทั่งผู้ประกอบการธุรกิจด้านไอทีและคอมพิวเตอร์ของญี่ปุ่น อาทิ ฟูจิตสึ สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ เป็นคนที่ต้นคิดนโยบาย SMEs ให้กับรัฐบาลญี่ปุ่น พอรีไทร์แล้วเขามาเป็นผู้ว่าฯ เมืองโออิตะ สิ่งที่เขาทำ ผมเข้าไปแล้วผมตกใจ เมืองทั้งเมืองมีสินค้าที่หลากหลาย สินค้าเกษตรก็ทำได้ดี เมืองทั้งเมืองเป็นแหล่งท่องเที่ยว มีนักท่องเที่ยวปีละหลายล้านคนที่ไปเมืองโออิตะ ผู้ว่าฯ คนนี้กระซิบบอกผมว่า ท่านทราบไหมที่ญี่ปุ่นมีเมืองแห่งหนึ่งชื่อโอยาม่า ในอดีตอาชีพหลักก็คือการปลูกข้าว แต่ยิ่งปลูกเท่าไหร่คนโอยาม่าก็ยิ่งจนเท่านั้น จนกระทั่งมีหนุ่มสาวบางกลุ่มจับกลุ่มกันขึ้นมา แล้วฉีกตัวออกมาไม่ปลูกข้าว โดยเน้นที่ NPC N คือ New P ก็คือ Plum (ลูกพลัม) C ก็คือ Chestnut (เกาลัด) กลุ่มนี้ไปปลูกสินค้าเหล่านี้ แรก ๆ ที่ปลูกทุกคนไม่เห็นด้วย แต่เขามีความอดทน มีความพยายาม 5 ปีให้หลังกลุ่มเหล่านี้รายได้สูงมากขึ้นทันที แล้วจะมีผลทำให้ชาวนาอื่น ๆ ค่อย ๆ ทยอยลดการปลูกข้าว มาปลูกสิ่งเหล่านี้แทนหวนกลับมาคิดถึงเมืองไทยบ้าง เป็นไปได้อย่างไรที่คนส่วนใหญ่ทั้งประเทศเพาะปลูกเฉพาะข้าวอย่างเดียว? ไม่มีอาชีพอื่นเสริม ฉะนั้นถ้าเรามาคิดถึงนโยบายของรัฐบาลชุดนี้ คำว่า "หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์" แปลว่าอะไร? แปลว่าให้แต่ละตำบลคัดเลือกสินค้าเป็นตัวแทนของตำบล ไม่ใช่หนึ่ง Tool หรือหนึ่งตำบล หมายถึงทั้งตำบลให้หาสินค้าซึ่งเป็นตัวแทนได้ ทำให้มันดี ที่โออิตะผมเห็นสินค้าอย่างหนึ่ง คือ ซีอิ้ว ซีอิ้วหนึ่งตัว แต่ใช้วิธีการพัฒนาสินค้าที่หลากหลาย ร้านทั้งร้านเต็มไปด้วยซีอิ้วที่หลากหลาย การพัฒนาสินค้ามีคุณภาพ Packaging น่าซื้อ น่าใช้และมี Value Added ตรงนี้ต่างหากที่นโยบายของรัฐบาลได้ประกาศออกไปแล้วคนไม่เข้าใจ พอบอก "หนึ่งผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล" หัวเราะขำ มีอินเตอร์เน็ตในตำบลยิ่งขำหนักเข้าไปอีก แต่หารู้ไหมว่าเรากำลังเริ่มความพยายามที่จะสร้างความแข็งแกร่งแก่ชุมชน ถ้าท่านมุ่งไปที่เป้าของเกษตรกรแต่ละราย เกษตรกรไม่มีทางแข็งแรงได้ เพราะเขาอ่อนแออยู่แล้ว แต่ถ้าท่านพยายามสร้างวิสาหกิจชุมชนให้แข็งแรง ตรงนั้นต่างหากที่เป็นหัวใจ แต่ถ้าหากหมู่บ้านใด ตำบลใด สามารถคัดเลือกสินค้าที่เป็น Champion ของเขาได้ หน่วยงานกระทรวงทุกๆ หน่วยงาน ไม่ว่า กรมส่งเสริมการส่งออก กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จะต้องรวมพลังกันเข้าไปช่วยเขาเหล่านั้นให้สามารถพัฒนาสินค้าเหล่านี้ขึ้นมาให้ได้ ไม่ใช่เป็นสินค้าท้องถิ่นซึ่งด้อยคุณภาพ แต่ต้องเป็นสินค้าซึ่งได้คุณภาพ และสามารถเตะตาต้องใจคนที่ไปซื้อได้ ธ.ก.ส. ออมสิน กองทุนหมู่บ้าน และสิ่งที่จะเข้าไป Financing โครงการเหล่านี้ ช่วยให้วิสากิจชุมชนเหล่านี้สามารถมีความเข้มแข็งขึ้นมาได้ เราไปหาตลาดให้เขา เชื่อไหมครับที่โออิตะ ในท้องถิ่นปลูกผักปลูกผลไม้เสร็จ ผู้ว่าฯ เจรจากับร้านค้า Retail stores จัดมุมพิเศษสินค้าเหล่านี้ไปวางขาย เป็นความเอื้อเฟื้อความอารี กินเปอร์เซ็นต์แค่ 8% เมืองไทยมีไหม?
แนวคิดเหล่านี้ คือว่าจะทำยังไงให้วิสาหกิจชุมชนเข้มแข็งขึ้นมา อินเตอร์เน็ตสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีการค้าขาย การเชื่อมโยงระหว่างจังหวัดกับจังหวัด ตำบลกับตำบล อนาคตข้างหน้าระหว่างตำบลกับตลาดโลก ไม่จำเป็นเลยที่สมัยหน้าต้องมาผ่านกรุงเทพฯ ค้าขายผ่านอินเตอร์เน็ตได้ทันที นี้เป็นตัวอย่างง่าย ๆ ถ้าท่านสร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาให้ได้ ชาวนาจะเริ่มลดการพึ่งพาแค่การปลูกข้าว ดีไม่ดีในอนาคตการปลูกข้าวจะก่อให้เกิดในการแปรรูปสินค้านานาประการ ที่ผ่านมา 40-50 ปี เราล้มเหลวในสิ่งเหล่านี้โดยตลอด การพัฒนามีน้อยมาก นี่หรือที่ว่าประสบความสำเร็จ? นี่หรือที่เราภูมิใจกันในอดีต? ที่บอกว่าเราจะเป็น Little dragon หรือมังกรตัวน้อยๆ แห่งอาเซียน เอเชีย สุดท้ายก็กลายเป็น Little monkey แห่งเอเชีย เพราะเราไม่รู้จักคิดใหม่ทำใหม่ ไม่กล้าที่จะทำใหม่ พอเริ่มคิดใหม่ทำใหม่ก็เริ่มมีการวิพากษ์วิจารณ์ อาจารย์ชัยอนันต์ฯ บอกว่านี่แหละคือสังคมทอนกำลัง ทอนกำลังกันเอง นี่คือข้อที่ 1 รัฐบาลนี้อยู่ 4 ปี ท่านเห็นภาพอันนี้แน่นอน วิสากิจชุมชน อันนี้เป็นความตั้งใจที่จะให้เกิดขึ้นมา ให้เกษตรกรสามารถรวมตัวกันเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง เมื่อชุมชนเข้มแข็งก็เหมือนมี Engine of growth หลาย ๆ จุด สร้างอำนาจซื้อขึ้นมาในประเทศ เมื่อมี Engine of growth ขึ้นมามากมาย สินค้ามีหลากหลาย การท่องเที่ยวก็เกิด ไม่ใช่มาเที่ยวแล้วนอนอยู่ในโรงแรม จะซื้อสินค้าอะไรก็ไม่มี เชื่อไหมว่าเมืองโออิตะเมืองเล็ก ๆ ผมเดินนิดเดียว มีแต่ร้านค้าที่มีสินค้าหลากหลายมหาศาลทีเดียว จนเราไม่เชื่อว่ามันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร แค่ซีอิ้ว เหล้าสาเก เครื่องปั้นดินเผา เครื่องจักสาน Variety เต็มไปหมดเลย หลากหลาย อันนี้สินักท่องเที่ยวไปแล้วจะมีความสุขอยู่กับการจับจ่าย รายได้จากการท่องเที่ยวมันถึงจะเกิดขึ้น มากันเป็นหมู่ ๆ
Engine of growth ตัวต่อไป ที่เราจะเปลี่ยนมัน ในอดีตเราภูมิใจกับยักษ์ใหญ่แต่หารู้ไม่ว่าประเทศที่พัฒนาแล้วนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทเล็กๆ ประเทศจะมีเศรษฐกิจที่เข้มแข็งได้ ต้องมีความสมดุลระหว่างบริษัทใหญ่ กลาง เล็ก ไปญี่ปุ่นเที่ยวนี้ผมได้พบกับประธานมิตซู เขาบอกว่าท่านรู้ไหมว่า 99.7% ของการผลิตและการจำหน่ายสินค้าของญี่ปุ่นมาจาก SMEs ไม่ใช่มาจากฮอนด้า โตโยต้า โซนี่ ที่เรารู้จักกัน ในอเมริกา ยุโรป ฮ่องกง ไต้หวัน ก็เหมือนกัน ประเทศจะมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งได้ต้องมีทั้งบริษัทใหญ่ กลาง เล็กที่หลากหลาย คำถามที่ว่าทำไมญี่ปุ่นต้องมีบริษัท Trading Company ขนาดใหญ่ ไม่ว่ามิตซุย มิตซูบิชิ มารูบินี่ ทำไมต้องเป็นกลุ่มเหล่านี้? เพราะว่าฐานเศรษฐกิจของเขาส่วนใหญ่คือ SMEs เมื่อ SMEs ผลิตแล้วไม่มีความสามารถในการรุกตลาดโลกได้ ก็ต้องอาศัยการขายสินค้าเหล่านี้ผ่าน Trading company กระจายส่งขายทั่วโลก นั่นคือที่มาที่ไป แต่เมืองไทยของเราคนละอย่าง 10 กว่าปีที่แล้วพูดถึง Trading company ก่อนกำหนด ยังไม่ทันพัฒนา SMEs เลยไปตั้ง Trading company ก่อน แล้วจะแข่งขันเอาสินค้าที่ไหนไปขาย? รัฐบาลชุดนี้ ต้องการให้เวลาช่วงนี้สร้าง SMEs ขึ้นมา โดยไม่ละทิ้งบริษัทขนาดใหญ่
นโยบายที่ผ่านมาทั้งหมด 8 เดือน ไม่ว่าการตั้ง บอย. ขยายบทบาท บอย. การตั้ง SMEs Bank การให้ความสำคัญกับ Venture capital สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่สร้าง SMEs ให้เข้มแข็ง ก่อนที่ท่านอาจารย์สังเวียนฯ จะเสียไป ท่านบอกว่าอาจารย์สมคิด SMEs นี้ต้องสร้างขึ้นมาให้ได้ ทำให้ได้ นโยบายภาษีต้องปรับเปลี่ยน ให้บริษัทเล็กๆ ได้เกิดขึ้นมาก่อน แล้วค่อยไปเก็บภาษีทีหลัง มันต้องเป็นอย่างนั้น เป็นความตั้งใจอย่างสูงสุดที่รัฐบาลชุดนี้ต้องการสร้าง SMEs ขึ้นมา ต้องการสร้างผู้ประกอบการใหม่ขึ้นมา ไม่ใช่สักแต่ว่าพูดนะ แต่เราจะสร้างขึ้นมาจริงๆ ประเทศไม่มีทางเจริญ ถ้าคนส่วนใหญ่ของประเทศ นักศึกษาธรรมศาสตร์ทั้งมหาวิทยาลัยจบแล้วต้องการเป็นเพียงลูกจ้าง ถ้าคนส่วนใหญ่ต้องการเป็นเพียงลูกจ้าง จะไปทำธุรกิจได้อย่างไร? จะมีคนสร้างงานได้อย่างไร? จะมีแต่คนคอยหางานทำ สหรัฐอเมริกาจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา เป็นโอกาสของเขาที่สร้าง SMEs ขึ้นมา สร้างผู้ประกอบการใหม่ขึ้นมา เมืองไทยเราต้องใช้จังหวะนี้ให้เป็นโอกาส
เมื่อก่อนนี้ทำมาค้าขายเอง ทุกคนจะหัวเราะ จบปั๊บ อย่าว่าแต่ใครเลย ผมก็เหมือนกัน เรียนไม่ทันจบเลย อยากไปอยู่กสิกรไทย อยากไปอยู่ปูนซีเมนต์ไทย เชลล์ ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมไม่คิดว่าจะทำธุรกิจของตัวเอง? จะรวมกลุ่มเพื่อนๆ ขึ้นมากู้ยืมเงินแบงก์ทำธุรกิจขึ้นมา ล้มแล้วไม่เป็นไร ลุกขึ้นมาใหม่ สร้างตัวเองขึ้นมา นี่ต่างหากที่เราเรียกว่า "Entrepreneurial spirit" จิตวิญญาณแห่งการเป็นเจ้านายของตัวเอง ตรงนี้เราไม่มีเลย 20 ปีที่ผ่านมาหายเกลี้ยง เพราะเราไม่กล้าเสี่ยง ไปเจอหนังสือเล่มหนึ่งที่สิงคโปร์เมื่อปีที่แล้ว ชื่อหนังสือ "Dare to Fail" กล้าที่จะล้มเหลว แม้แต่สิงคโปร์ก็เป็นโรคอย่างนี้เหมือนกัน คือโรคเกียซู ก็คือกลัวแพ้ กลัวทำแล้วล้มเหลว ไม่กล้าทำ ขอความมั่นใจรับจ้างไปก่อน อันนี้คือแนวคิดที่ต้องเปลี่ยน นี่คือจุดที่ 2 ที่ผมต้องการย้ำในวันนี้ว่า เราต้องมีการปรับโครงสร้าง Player หรือผู้เล่นทางเศรษฐกิจที่มีแต่ยักษ์ใหญ่ ให้มีแต่ SMEs เต็มไปหมด แล้วเกื้อกูลกัน นี่คือข้อที่ 2
ข้อที่ 3 ภาคเอกชนในขณะนี้อยู่ในภาวะที่อ่อนแอสุดขีด กลุ่มใหญ่ทีเดียวเป็น NPL กลุ่มเหล่านี้จะต้องได้รับการปรับโครงสร้างอย่างจริงจัง เมื่อเราเริ่มคิดถึง บสท. ก็มีการวิพากษ์วิจารณ์ทุกๆ อย่าง ทั้งๆ ที่รู้ว่าถ้าไม่จัดตั้ง บสท. หนี้เสียมหาศาลจะไม่มีการแก้ไขได้เลย เมื่อตั้ง บสท. ก็ต้องเผชิญกับอุปสรรคนานาประการ บอกว่าให้อำนาจล้นฟ้า บอกว่าจะไม่โปร่งใส บอกว่าทุกสิ่งทุกอย่างว่าทำไม่ได้ และถ้าผมถามกลับไปว่า ถ้าผมทำไม่ได้มีทางอื่นที่ดีกว่านี้ไหม? คำตอบคือไม่มี เมื่อไม่มีก็ต้องให้กำลังใจคณะกรรมการ บสท. ปรับโครงสร้างหนี้อย่างจริงจัง ให้ NPL กลายเป็นบริษัทที่มีความเข้มแข็งขึ้นมา และก็จุดนั้นนั่นเองที่เราต้องพยายามเดินทางไปต่างประเทศ เชิญชวนให้คนมาลงทุนในบริษัทเหล่านี้ เอา Equity มาใส่เข้าไป ทำบริษัทเหล่านั้นให้เข้มแข็ง อนาคตข้างหน้าไม่เพียงแต่ว่าบริษัทต้องเข้มแข็ง แต่ Good governance หรือธรรมาภิบาลที่ดีต้องเกิดขึ้น ไม่อย่างนั้นอนาคตข้างหน้าจะไม่มีใครมาลงทุนในประเทศไทย เพราะขณะนี้เขาถือเอาความโปร่งใส (Good governance) เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะมาลงทุน เราต้องไปหาเขามาลงทุน แต่มาลงทุนในอุตสาหกรรมที่เราต้องการจะส่งเสริม
ผมไปพูดปาฐกถาที่ญี่ปุ่น ผมบอกว่า เป้าหมายอุตสาหกรรมมีอะไรบ้าง เราต้องการ Quality investment ไม่ใช่ Quantity investment ฉะนั้น เป้าหมายทางอุตสาหกรรมของเราเป็นอย่างนี้ เชิญท่านเข้ามาลงทุน นั้นคือสิ่งที่เราต้องการ นี่คือความพยายามทำให้ภาคประชาชน ภาคเอกชน เข้มแข็งขึ้นมา ตัว C consumption สมัยที่เราเรียนอยู่ เราจะได้เติบโตขยายตัวได้ ไม่ใช่อำนาจซื้อไปกระจุกตัวอยู่แค่ในเมืองใหญ่ แต่คนส่วนใหญ่ในประเทศไม่มีอำนาจซื้อ แล้วจะไปสร้างตลาดซื้อจากที่ไหน? จะเอา Demand มาจากไหน? เมื่อตัว C เข้มแข็ง การลงทุน ตัว I ก็เข้มแข็ง ตัว G รัฐบาลก็มีการคิดอย่างดีว่าจะเอาไปใช้ทำอะไร ไม่ใช่เพียงแค่การอัดฉีดและที่สำคัญที่สุด ภาครัฐบาลเองต้องปรับปรุง ผ่านมา 40-50 ปี เคยเห็นรัฐบาลชุดไหนบ้างไหม ที่ต้องการปรับโครงสร้างกระทรวงทบวงกรม? มีใครอยากไปแตะไหม? คนเรานั้นไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ผมก็ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ยิ่งมีลูก 2 คนแล้ว อายุใกล้ ๆ 50 ยิ่งจะมีคนที่ 3 โผล่มาอีก ยิ่งไม่ต้องการเปลี่ยนแปลง ถามว่าระบบราชการไม่เปลี่ยนได้ไหม? ไม่เปลี่ยนไม่ได้แล้ว เพราะเรา Design โครงสร้างราชการเป็นแบบอันนี้ขาย อันนี้ผลิต อันนี้งี้ ๆ ๆ ๆ ไม่มีการเชื่อมโยงกัน และโลกทุกวันนี้มันเป็น Agenda ว่าต้องทำอย่างนี้ หน่วยงานต้องเชื่อมโยงกัน งานมันถึงไม่เดิน ฉะนั้นเมื่องานไม่เดิน เพราะโครงสร้างไม่สามารถสอดคล้องกับ Strategy ได้ การปรับโครงสร้างจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น 1 ตุลาคม 2545 แน่นอน ปรับโครงสร้างกระทรวงรัฐวิสาหกิจมีทรัพย์สิน 4 ล้านล้าน มีหนี้สินใกล้เคียงกัน แต่คนไม่สนใจ Asset และ Liability สูงขนาดนี้ เป็นดาบสองคม ถ้าทำได้ดีมีพลังมหาศาล แต่ถ้าทำไม่ดีน่ากลัวมาก เพราะไม่มีใครไปสนใจเอาใจใส่ อำนาจสิทธิขาดอยู่ที่ในรัฐวิสาหกิจ ที่รัฐมนตรีที่ดูแลรัฐวิสาหกิจนั้นๆ ถ้าหนี้สิน 4 ล้านล้านไม่ได้มีการดูแลเอาใจใส่ อะไรเกิดขึ้น? ทุกคนไปสนใจอยู่เฉพาะงบประมาณ จุดที่ต้องสนใจคือจุดที่อยู่ข้างนอกงบประมาณ ผมตั้งธงว่าปีนี้อย่างน้อยต้องเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ 2 ตัว คือ อินเตอร์เน็ตไทยแลนด์ กับ ปตท.
ทีแรกมีข้อแม้บอกว่าเลื่อนไปเถิด ทำไม่ได้ อย่าทำเลย น้องๆ นักข่าวพยายามถามผมว่า จะเลื่อนหรือเปล่า? สถานการณ์โลกไม่ดี ผมรู้อยู่ในใจแต่พูดไม่ได้ว่าเลื่อนไม่ได้ เลิกไม่ได้ ล้มไม่ได้ เพราะ ปตท. คือหลัก ถ้าทำสำเร็จประชาชน พนักงานรัฐวิสาหกิจ และนักลงทุนต่างประเทศ จะมีความมั่นใจในเมืองไทยทันที ฉะนั้นอย่างไรก็เลื่อนไม่ได้ วันนี้ล่าสุด จำนวนหุ้นซึ่งกระจายให้กับต่างประเทศมีความต้องการสูงถึงประมาณ 6 เท่า ทั้งที่ภาวะเศรษฐกิจเป็นอย่างนี้ ตลาดโลกเป็นอย่างนี้ แล้วคนที่เข้ามาจองซื้อนั้น ไม่ใช่นักลงทุนที่กิ๊กก๊อก แต่เป็นนักลงทุนขนาดใหญ่ แปลว่าอะไร? เขามั่นใจใน ปตท. เขาเชื่อมั่นในศักยภาพของประเทศ แต่คนไทยกันเองต่างหาก ที่วันนี้ความมั่นใจหายไปแล้ว ตื่นเช้าขึ้นมา World Bank บอกว่าคนจนเพิ่ม 10 ล้าน แย่แล้ว! ตื่นตระหนก โดยจะไม่ตั้งสติคิดว่า คนจนที่เพิ่มขึ้นมานั้นมันมาจากความล้มเหลวเป็นสิบๆ ปี ที่สั่งสมกันมา ตื่นเช้าขึ้นมาบอกไอ้นี่แย่อีกแล้ว ทำไมเราไม่คิดว่าภาวะที่เป็นอย่างนี้ โอกาสของเราอยู่ตรงไหน? ถ้าคิดในเชิงร้ายหนึ่งคนไม่เป็นไร แต่ถ้าคนส่วนใหญ่คิดในแง่ร้ายทั้งหมด เมืองไทยจะไม่มีอนาคต ฉะนั้นการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การปรับโครงสร้างระบบราชการกำลังเกิดขึ้น
ผมขอเรียนว่า ทั้งหมดนี้คือกระบวนการที่บอกว่าจะประคองเศรษฐกิจอย่างไรให้ผ่านพ้นในช่วง 1-2 ปี และปฏิรูปพร้อมๆ กันไป ไปญี่ปุ่นครั้งนี้ชัดเจนที่สุด ท่านนายกฯ ญี่ปุ่น บอกเรามาคำหนึ่งว่าญี่ปุ่นที่ผ่านมานั้นเพราะว่าไม่เน้นการ Reform ที่แท้จริงถึงเป็นอย่างนั้น คิดว่าข้างล่างไม่มีอะไรเลย Engine ทุกตัวยังทำงานดีอยู่ แค่ปรับทิศทางแค่นั้นพอแล้ว มันมิใช่ มันจะต้องดูว่าอะไรที่จะปรับเปลี่ยน เพื่อให้มันเกิดพลังของการปรับเปลี่ยนโลกข้างหน้ามันเป็น Non-linear มันไม่ใช่ว่าอดีตเป็นอย่างนี้ อนาคตเป็นอย่างนั้น แน่นอนตายตัว ท่านลองนึกภาพดูว่าถ้าเราสามารถทำให้วิสาหกิจชุมชนเข้มแข็งขึ้นมาได้ ชุมชนมีงานทำขึ้นมาได้ บสท. เริ่มทำงานได้ Asset ที่ไม่มีคุณภาพเริ่มทำงานได้ รัฐบาลเริ่มมีประสิทธิภาพมากขึ้น รัฐวิสาหกิจมี Efficiency มากขึ้น พลังที่มันเกื้อกูลกันนั้นมันไม่ใช่ Linear มันจะสามารถทำให้ก้าวกระโดดได้ และเมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น โลกดีขึ้น เราก็สามารถเกาะกระแสการดีขึ้นของโลกได้ที่รัฐบาลพยายามทำ และพยายามสื่อ ไม่มีใครผิดไม่มีใครถูก แต่ถ้าท่านเลือกไทยรักไทย แปลว่าท่านเลือกวิธีการคิดใหม่ทำใหม่ ถ้าคิดนโยบายเก่าๆ ท่านอย่าไปเลือก แต่ถ้ารัฐบาลทำไม่สำเร็จคราวหน้าท่านไม่ต้องเลือก นี่คือประชาธิปไตย แต่ถ้าเราทำสำเร็จ คราวหน้าพรรคที่คอยคอยไปก่อน ท่านไม่ต้องเลือก นี่คือ Fair game ตรงไปตรงมา ฉะนั้น นี่คือทิศทางที่เราจะทำ และเราประกาศให้รู้ว่าเราจะทำ จุดอ่อนมีอยู่มาก อันนี้ยอมรับ ของใหม่นั้นไม่มีใครเชี่ยวชาญมาก่อนมันก็ต้องเจอปัญหา ค่อยๆ แก้กันไป แต่อย่างน้อยเราแก้แล้ว เราเริ่มเดินเครื่องแล้ว
กลับมาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ถ้า 4 ปีครบเทอม แปลว่าทิศทางการสร้างบุคลากร ต้องมีการปรับเปลี่ยนหรือไม่ ถ้าโครงสร้างเศรษฐกิจจะมี SMEs เพิ่มเติมขึ้นมา แนวทางในการที่ไปพัฒนา SMEs นั้นจะทำอย่างไร ยกตัวอย่างง่ายๆ ที่โออิตะนั้นแหละ เนื่องจาก SMEs เขาเยอะ เขามีมหาวิทยาลัยหนึ่งชื่อ Asia Pacific University ชื่อหน้าเป็นญี่ปุ่น เขาคัดเลือกนักศึกษามาแต่ละประเทศ ปีที่ 1 มาอยู่ที่ Campus ปี 2 ปี 3 เริ่มให้ไปอยู่ในเมือง ไปคลุกคลีกับท้องถิ่น ไปดูชาวบ้านว่าเขาทำสินค้าอะไร สนใจสินค้าอะไร ไปซึมลึกอยู่ในท้องถิ่น เพื่อเอาความรู้กลับมาประกอบอาชีพภายหลัง เช่นเดียวกัน ถ้าท่านต้องการ Gear ทิศทางสู่การพัฒนา SMEs ท่านต้องไม่พัฒนา SMEs แบบว่าเอา Mini MBA ไปสอน SMEs มันคนละเรื่อง ท่านจะต้องรู้ว่า SMEs นั้นต้องการอะไร? ความคิดสร้างสรรค์เขามีอยู่แล้ว เปลี่ยนจากความคิดสร้างสรรค์เหล่านั้นมาเป็นสินค้าได้อย่างไร? ท่านจะช่วยเขาตรงนี้ได้อย่างไร? ทำสินค้าให้มีความหลากหลาย น่าสนใจ มีคุณภาพ ท่านจะช่วยเขาได้อย่างไร? SMEs นั้นเงินน้อย เป็นธุรกิจของครอบครัว ท่านจะช่วยเขาได้อย่างไร? รู้จักวิธีการบริหารเฉพาะวิชาสาขาที่จำเป็น เขาไม่ได้ต้องการ Quantitative approach เขาต้องการบอกว่า จะหมุนได้กี่รอบ บัญชีทำอย่างไร กู้แบงก์ทำอย่างไร Cash flow ทำอย่างไร ท่าน Design Concept เหล่านี้ ให้นักศึกษามีโอกาสไปคลุกคลีอยู่กับธุรกิจจริงๆ ว่าเขาทำอย่างไร เป็นนโยบายที่สร้างหลักสูตรที่เกี่ยวกับ New entrepreneur ผู้ประกอบการใหม่ ถ้าท่านรู้ว่าในอนาคตข้างหน้าแนวคิดในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเป็นอย่างนี้ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แตกลูกแตกหลานหลากหลายเป็นสินค้าหลายๆ ประเภท มหาวิทยาลัย Research ของมหาวิทยาลัย งานวิจัยของการบัญชีควรจะแตกอย่างไร? เพื่อที่จะไปเกื้อกูลกับการผลิตในท้องถิ่น การ Design สิ่งเหล่านี้สำคัญมาก
สมัยผมเป็นอาจารย์ อยากทำ Policy research ไม่มีสตางค์ให้ทำ วัน ๆ มีแต่ว่ามีโครงการมาบอกว่า จะสร้างศูนย์การค้า สำรวจสิว่า Fit ไม่ Fit คุ้มค่าลงทุนหรือไม่? มหาวิทยาลัยไม่ใช่มีไว้เพื่อทำวิจัยสิ่งเหล่านี้ มหาวิทยาลัยจะต้องพยายามสร้างการวิจัยที่สามารถเชื่อมต่อกับโลกแห่งความเป็นจริง สร้างความสามารถเชิงวิชาการ และก็ไม่ใช่วิชาการที่หลุดโลก เมื่อมีงานวิชาการที่ดี อาจารย์ต้องรู้จริง ออกมา Comment ก็รู้จริงมีพลัง นี่คือสิ่งที่น่าจะลองไปคิดดู หากรู้ว่ารัฐบาลจะเพิ่มศักยภาพของ Privatization การจูงใจนักลงทุนต่างประเทศจะทำอย่างไรให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมา Good governance เป็นหัวใจที่ผมกล่าวมาแล้ว ท่านในฐานะของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจะทำอย่างไรให้ Inject สิ่งเหล่านี้ในวงการธุรกิจ? จะโปรโมตเขาได้อย่างไร? เท่าที่ผมกล่าวมาก็คือว่าผมพยายามฉายภาพที่ว่าอีก 4 ปีข้างหน้า จากการทำงานรัฐบาลมันจะเกิดอะไรขึ้น เราไม่ต้องมาพูดถึงเรื่อง Globalization โลกาภิวัตน์ อันนั้นผมกับอาจารย์สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ สอน 15 ปีมาแล้ว เรากำลังดูว่าอะไรจะเกิดขึ้น และเราก็ Design ขึ้นมา เมื่อ Design ได้ เชื่อมโยงได้ เชื่อมโยงกับต่างประเทศด้วยเพื่อการอันนี้ เมื่อรู้ว่า SMEs สำคัญท่านต้องไปติดต่อสถาบันการศึกษา ซึ่งเชี่ยวชาญ SMEs ในต่างประเทศ ในญี่ปุ่น ในเยอรมนี ในยุโรป มาเชื่อมโยงเพื่อสร้างหลักสูตรสิ่งเหล่านี้โดยเฉพาะ แล้วผมเชื่อว่าอีก 63 ปีจะไม่มีใครตามท่านได้เลยแม้แต่คนเดียว
ในวันนี้ผมมาที่นี่ ส่วนหนึ่งก็เพื่อที่จะแสดงความยินดีกับท่าน ที่ได้มีการก่อตั้งมาครบรอบ 63 ปี ชื่นชมกับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีที่สามารถสร้างบุคลากรที่ดีเด่น และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าอนาคตข้างหน้าท่านจะเป็นกำลังสำคัญของรัฐบาลในการสร้างบุคลากกรที่มีคุณภาพ และสอดคล้องกับทิศทางในการพัฒนาที่ถูกต้อง วันนี้ผมใช้เวลาของท่านมากเกินไปแล้ว ก็กราบขอบพระคุณที่ให้เกียรติเชิญผมมา ขอบคุณครับ
______________________
* เนื่องในโอกาสคล้ายวันสถาปนาคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครบ 63 ปี
กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
ธีรพล ตอลีบี : ถอดเทป
กรองจิตร สุขเกื้อ : พิมพ์
เชาวลิตร์ บุณยภูษิต : ตรวจ/ทาน--จบ--
-ศน-
"วิกฤตโลก : ผลกระทบต่อการเมืองและเศรษฐกิจไทย"*
โดย นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ณ หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
22 พฤศจิกายน 2544
________________________
วันนี้ผมขออนุญาตพูดในฐานะศิษย์เก่าของธรรมศาสตร์คนหนึ่ง จะไม่ขอพูดในฐานะรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีแต่ประการใด เพราะถือว่าเป็นเกียรติสูงสุดที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีได้เรียนเชิญกระผมมาพูดในวันนี้ ผมจบไปแล้วผมจำคณาจารย์ที่นั่งอยู่ข้างหน้านี่ได้ จริง ๆ แล้วถ้าไม่มีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ผมก็คงไม่มีโอกาสได้เดินขึ้นมาในวงการของคณาจารย์ เป็นเพราะว่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีให้โอกาสผม และมีโอกาสมาสอนในโครงการ MBA โครงการ Mini MBA และโครงการ Executive MBA จนทำให้มีหลายคนเริ่มรู้จักชื่อผม ในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจารย์ท่านหนึ่งที่ผมไม่เคยลืม คือ อาจารย์สังเวียน อินทรวิชัย ซึ่งได้เปิดโอกาสให้ผมมีโอกาสได้แสดงความคิดอ่านและแนวความคิดทั้งหลาย ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ ฉะนั้นเลยถือโอกาสนี้พูดถึงทุกๆ เรื่องที่คิดว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
ผมเพิ่งกลับมาจากญี่ปุ่นเมื่อคืนนี้ และก็รู้สึกว่าเป็น Trip ที่ดีและมีประโยชน์มาก ถ้าหากมีการเดินทางอย่างนี้เรื่อยๆ ผมเชื่อว่า ประเทศไทยจะเริ่มเป็นที่รู้จักในเวทีโลกในอนาคตข้างหน้า 63 ปีที่คณะพาณิชยศาสตร์ การบัญชีได้มีการก่อตั้งขึ้นมา ผมเชื่อว่าไม่มีคณะพาณิชยศาสตร์การบัญชีอื่นใดที่สามารถสร้างลูกศิษย์ลูกหาที่อยู่เต็มบ้านเต็มเมือง และเป็นหลักของแผ่นดินทั้งในภาครัฐและในภาคของเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 20 ปีที่ผ่านมานี้ เมื่อภาวะเศรษฐกิจไทยได้ก้าวไปสู่ยุคของการก้าวกระโดด ผมจำได้ว่าหันไปทางไหนก็พบแต่ผู้บริหาร ซึ่งหลายๆ คนเลยที่จบไปจากคณะแห่งนี้ บทบาทที่โดดเด่นอันนี้เป็นที่ประจักษ์ชัด และผมก็เชื่อว่า อนาคตข้างหน้าบทบาทของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจะยิ่งมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เหตุผลเพราะว่าประเทศไทยในขณะนี้อยู่ในภาวะที่ค่อนข้างล่อแหลมและค่อนข้างสำคัญ ถ้าหากว่าเราปรับตัวได้ดีพอ เราจะไปได้ดีมากๆ แต่ถ้าเราไม่ปรับตัว วันหนึ่งๆ มัวแต่นั่งบ่น ประเทศไทยจะไม่มีอนาคต จะถดถอย และถอยหลัง จะไม่สามารถก้าวทันโลกเราได้ในอนาคตข้างหน้าผมเชื่อว่านักพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจะต้องสำรวจบทบาท ประเมินทิศทางในอนาคตข้างหน้า แล้วดูสิว่าจะสามารถ Design หลักสูตร Design วิธีการเพื่อให้สามารถผลิตบุคลากรที่สอดรับกับทิศทางในอนาคตให้ได้ดีที่สุด เพื่อเป็นการสอดรับกับทิศทาง ซึ่งรัฐบาลพยายามทำอยู่ขณะนี้ เพราะถ้าหากคณะแห่งนี้ไม่สามารถผลิตบัณฑิตหรือมหาบัณฑิตที่สอดรับทิศทางแห่งอนาคต แต่กลับสร้างบัณฑิตกับมหาบัณฑิตไปคนละทิศคนละทาง อนาคตข้างหน้าเราจะไม่สามารถหาบุคลากรใด ๆ มาได้เลย อย่าลืมว่า 20 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจในภาคเอกชนของไทยนั้นไปได้ดีมาก ๆ ก็เพราะว่าบัณฑิตกับมหาบัณฑิตที่เกิดจากคณะแห่งนี้ ไม่ว่าในเชิงของพาณิชยศาสตร์ ในเชิงของการบัญชี หรือสาขาที่แตกย่อยออกมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างมหาบัณฑิต MBA ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่ง และมีบทบาทโดดเด่นในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา แต่ว่า 63 ปีมาแล้ว และบัดนี้เวลาก็เปลี่ยนไปเยอะ โลกข้างหน้าก็จะแตกต่างจากโลกที่ผ่านมาในอดีต ผมเชื่ออย่างยิ่งว่า รัฐบาลชุดนี้เมื่ออยู่ครบ 4 ปีสถานภาพทางเศรษฐกิจและโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศนี้จะเริ่มแตกต่างไปจากที่ผ่านมาค่อนข้างมาก เหตุผลนั้นกระผมจะกราบเรียนคร่าวๆ ดังต่อไปนี้
ปี 2544 ทุกคนต่างก็ทราบว่าเศรษฐกิจโลกค่อนข้างถดถอยมาก และสถานการณ์โลกที่กำลังเกิดขึ้นนี้ ก็ส่งผลกระทบต่อทุกๆ ประเทศในโลก ไม่มีประเทศไหนที่ได้รับการยกเว้น แม้กระทั่งจีนก็ตาม จีนนั้น GDP อาจจะยังสูงอยู่ แต่ข้างในของเขานั้น ผมเชื่อว่าถูกกระทบไม่มากก็น้อย แต่ยังโชคดีที่ประเทศไทยในปีนี้เรายังมีความสามารถที่จะดำรงไว้ซึ่ง GDP ที่เป็นบวก จะบวก 1.3, 1.5, 1.8 ผมถือว่าอัตราเหล่านั้นล้วนแต่เป็นอัตราซึ่งน่าพอใจทั้งสิ้น เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ ในเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศเพื่อนบ้านของเรา วันนี้เรายังถือว่าโชคดีมาก ประเทศสิงคโปร์ปีที่แล้ว GDP Growth ประมาณ 9.9% ปีนี้ติดลบประมาณ 2% ไต้หวันปีที่แล้ว GDP Growth ถ้าผมจำไม่ผิดประมาณ 5.9 หรือ 6.6% ปีนี้ติดลบ 2.2% มาเลเซียปีที่แล้วเจริญเติบโตด้วยอัตราการเจริญเติบโตเกือบ 10% ปีนี้คาดว่าประมาณ 0.5% แต่สำหรับประเทศไทยถ้าอยู่ในช่วง 1-2% ผมถือว่าใช้ได้มากแล้วเมื่อคำนึงถึงข้อจำกัดและมรดกซึ่งรัฐบาลชุดนี้ได้มาจาก 3 ปีที่ผ่านมา ฉะนั้นการเติบโตในปีนี้มิใช่เป็นเรื่องใหญ่ แต่เรื่องใหญ่สำคัญก็คือว่า ในปีข้างหน้าต่อ ๆ ไป เราจะสามารถดำรงสถานภาพเศรษฐกิจของเราได้ดีเพียงใด ขณะนี้มีเสียงบ่นทยอยกันออกมา และมีเสียงที่ค่อนข้างแสดงความกังวลทยอยกันมาว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยจะซึมยาว อันนี้คือกระแสความคิดกระแสที่ 1 เราจะไม่คิดว่าถูกหรือผิด แต่ผมอยากจะกราบเรียนว่าเศรษฐกิจไทยจะซึมยาวหรือซึมสั้นในอนาคตข้างหน้า หรือจะก้าวกระโดดอย่างเข้มแข็ง ขึ้นอยู่กับการดูแลงานในขณะนี้ว่า ท่านให้ความสำคัญอย่างไรกับการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจในขณะนี้
ผมมีความเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า แนวความคิดที่ว่าถ้าเราต้องการให้ GDP เติบโต จะต้องมีการอัดฉีดเงินเข้าไปโดยเร่งด่วน เพื่อให้ GDP Growth เติบโตขึ้นมาในอนาคตข้างหน้า จะเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ก็แล้วแต่ สิ่งเหล่านั้นผมไม่เห็นด้วย การกู้หนี้ยืมสินเป็นจำนวนมาก ๆ แล้วอัดฉีดเข้าไปในเศรษฐกิจ แน่นอน GDP โตแน่นอน แต่ได้รอบเดียวหายอย่างที่เป็นมาในอดีต พอมันหายไป สิ่งที่เหลือก็คือหนี้สินมหาศาล ผมรับมาแล้ว 2.8 ล้านล้าน คิดไม่ถึงเหมือนกันว่าประเทศไทยจะมีวันนี้ ซึ่งมีหนี้สิน 2.8 ล้านล้าน ภาระดอกเบี้ยจะต้องจ่ายแต่ละปีงบประมาณปีละประมาณ 100,000 ล้าน หารด้วย 12 ตีเสียว่าเดือนละประมาณ 10,000 ล้าน หารด้วย 30 วัน วันละ 300 ล้านบาท คำถามก็คือว่าเป็นไปได้อย่างไร? ฉะนั้นการกู้หนี้ยืมสินมาอัดฉีดโดยไม่ลืมหูลืมตา โดยที่ไม่มีปฏิรูป ผมจะไม่ทำเด็ดขาด ถ้าจะทำก็ให้เปลี่ยนรัฐมนตรีคลัง อันไม่ถือว่าผิดแต่ประการใด อันนี้เป็นเรื่องของความเชื่อ ความมั่นใจในทิศทางที่แต่ละคนจะถือ เพราะผมเชื่อว่าโลกวันข้างหน้ากับโลกวันนี้ไม่เหมือนกัน ถ้าเรายังคิดว่าโครงสร้างของเศรษฐกิจของเมืองไทยในขณะนี้นั้น เหมือนกับในอดีตและจะยังคงอยู่ได้ในอนาคตข้างหน้า เรากำลังคิดผิด เพราะโครงสร้างหลาย ๆ อย่างในขณะนี้มันทั้งเปราะบางและล้าสมัย
ประเทศไทยในขณะนี้ถูกจัดลำดับความสามารถเชิงแข่งขันอยู่ในอันดับเกือบรั้งท้าย World Bank ออกมาให้ Report ว่าประเทศไทยมีคนจนเพิ่มสูงขึ้น มีคนเพิ่มถึง 10 ล้านคน ทั้งฐานะของความยากจน ทั้งความสามารถเชิงแข่งขัน มิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นมาเพียงชั่วข้ามคืน อย่าบอกว่ารัฐบาลทักษิณที่ทำให้เกิดเรื่องนี้ขึ้นมา สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมานั้นใช้เวลาเป็น 10 ปี ซึ่งเราไม่เคยรู้จักเปลี่ยนแปลงและถ้าเราต้องการความเปลี่ยนแปลงให้มันดีขึ้น เราต้องเริ่มเปลี่ยนแปลงเสียแต่วันนี้ ยกตัวอย่างง่ายๆ ในอดีตเราบอกว่าเราจะแก้ไขความยากจน ซึ่งมันต้องแก้ให้ได้ เพราะว่าอำนาจซื้อส่วนใหญ่นั้นมันอยู่ภายในประเทศ ยิ่งวันนี้การส่งออกของเราจะพึ่งตลาดโลกอย่างเดียวก็คงไม่ได้ ต้องพึ่งตลาดภายในประเทศ แต่ตลาดภายในประเทศนั้นคนส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่ยากจน ผมไปที่บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ผมต้องขอบคุณนายกรัฐมนตรีที่พาผมไป เพราะได้มีโอกาสได้ไปเจอกับชาวไร่ชาวนา เขาเข้ามาจับมือผม เขาเรียกชื่อ "สมคิด" ผมดีใจมากที่มีคุณลุงคุณตาอายุ 70 หลายๆ คนที่เรียก "สมคิดมานี้หน่อย" ผมเดินเข้าไปจับมือกับเขา มีหลายคนยัดกระดาษใส่มือผมบอกว่า ขอให้ข้าวมีราคา เมื่อหมดหน้าเพาะปลูกเก็บเกี่ยวแล้วไม่มีอาชีพอื่นทำ ไม่มีสินค้าอื่นที่จะขาย ยากจนมาก ชีวิตทั้งชีวิตขอขึ้นอยู่กับแค่ราคาข้าว เป็นไปได้อย่างไร? โครงสร้างเศรษฐกิจของเราปล่อยให้เป็นอย่างนี้ได้ เป็นไปได้อย่างไรที่แผนพัฒนาเศรษฐกิจที่ผ่านมาปล่อยให้เป็นอย่างนี้ได้? แปลว่ามีความผิดพลาดที่บางจุด ซึ่งเราทำไม่ถูกต้องพอไปที่ญี่ปุ่น ไปที่เมืองโออิตะ ผู้ว่าฯ โออิตะคนนี้ ผมจะเล่าประวัติสั้นๆ ให้ฟัง เมื่อก่อนเป็นผู้นำชั้นสูงของ MITI เป็นคนคิดนโยบายไอทีให้กับญี่ปุ่น ฟูมฟักจนกระทั่งผู้ประกอบการธุรกิจด้านไอทีและคอมพิวเตอร์ของญี่ปุ่น อาทิ ฟูจิตสึ สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ เป็นคนที่ต้นคิดนโยบาย SMEs ให้กับรัฐบาลญี่ปุ่น พอรีไทร์แล้วเขามาเป็นผู้ว่าฯ เมืองโออิตะ สิ่งที่เขาทำ ผมเข้าไปแล้วผมตกใจ เมืองทั้งเมืองมีสินค้าที่หลากหลาย สินค้าเกษตรก็ทำได้ดี เมืองทั้งเมืองเป็นแหล่งท่องเที่ยว มีนักท่องเที่ยวปีละหลายล้านคนที่ไปเมืองโออิตะ ผู้ว่าฯ คนนี้กระซิบบอกผมว่า ท่านทราบไหมที่ญี่ปุ่นมีเมืองแห่งหนึ่งชื่อโอยาม่า ในอดีตอาชีพหลักก็คือการปลูกข้าว แต่ยิ่งปลูกเท่าไหร่คนโอยาม่าก็ยิ่งจนเท่านั้น จนกระทั่งมีหนุ่มสาวบางกลุ่มจับกลุ่มกันขึ้นมา แล้วฉีกตัวออกมาไม่ปลูกข้าว โดยเน้นที่ NPC N คือ New P ก็คือ Plum (ลูกพลัม) C ก็คือ Chestnut (เกาลัด) กลุ่มนี้ไปปลูกสินค้าเหล่านี้ แรก ๆ ที่ปลูกทุกคนไม่เห็นด้วย แต่เขามีความอดทน มีความพยายาม 5 ปีให้หลังกลุ่มเหล่านี้รายได้สูงมากขึ้นทันที แล้วจะมีผลทำให้ชาวนาอื่น ๆ ค่อย ๆ ทยอยลดการปลูกข้าว มาปลูกสิ่งเหล่านี้แทนหวนกลับมาคิดถึงเมืองไทยบ้าง เป็นไปได้อย่างไรที่คนส่วนใหญ่ทั้งประเทศเพาะปลูกเฉพาะข้าวอย่างเดียว? ไม่มีอาชีพอื่นเสริม ฉะนั้นถ้าเรามาคิดถึงนโยบายของรัฐบาลชุดนี้ คำว่า "หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์" แปลว่าอะไร? แปลว่าให้แต่ละตำบลคัดเลือกสินค้าเป็นตัวแทนของตำบล ไม่ใช่หนึ่ง Tool หรือหนึ่งตำบล หมายถึงทั้งตำบลให้หาสินค้าซึ่งเป็นตัวแทนได้ ทำให้มันดี ที่โออิตะผมเห็นสินค้าอย่างหนึ่ง คือ ซีอิ้ว ซีอิ้วหนึ่งตัว แต่ใช้วิธีการพัฒนาสินค้าที่หลากหลาย ร้านทั้งร้านเต็มไปด้วยซีอิ้วที่หลากหลาย การพัฒนาสินค้ามีคุณภาพ Packaging น่าซื้อ น่าใช้และมี Value Added ตรงนี้ต่างหากที่นโยบายของรัฐบาลได้ประกาศออกไปแล้วคนไม่เข้าใจ พอบอก "หนึ่งผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล" หัวเราะขำ มีอินเตอร์เน็ตในตำบลยิ่งขำหนักเข้าไปอีก แต่หารู้ไหมว่าเรากำลังเริ่มความพยายามที่จะสร้างความแข็งแกร่งแก่ชุมชน ถ้าท่านมุ่งไปที่เป้าของเกษตรกรแต่ละราย เกษตรกรไม่มีทางแข็งแรงได้ เพราะเขาอ่อนแออยู่แล้ว แต่ถ้าท่านพยายามสร้างวิสาหกิจชุมชนให้แข็งแรง ตรงนั้นต่างหากที่เป็นหัวใจ แต่ถ้าหากหมู่บ้านใด ตำบลใด สามารถคัดเลือกสินค้าที่เป็น Champion ของเขาได้ หน่วยงานกระทรวงทุกๆ หน่วยงาน ไม่ว่า กรมส่งเสริมการส่งออก กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จะต้องรวมพลังกันเข้าไปช่วยเขาเหล่านั้นให้สามารถพัฒนาสินค้าเหล่านี้ขึ้นมาให้ได้ ไม่ใช่เป็นสินค้าท้องถิ่นซึ่งด้อยคุณภาพ แต่ต้องเป็นสินค้าซึ่งได้คุณภาพ และสามารถเตะตาต้องใจคนที่ไปซื้อได้ ธ.ก.ส. ออมสิน กองทุนหมู่บ้าน และสิ่งที่จะเข้าไป Financing โครงการเหล่านี้ ช่วยให้วิสากิจชุมชนเหล่านี้สามารถมีความเข้มแข็งขึ้นมาได้ เราไปหาตลาดให้เขา เชื่อไหมครับที่โออิตะ ในท้องถิ่นปลูกผักปลูกผลไม้เสร็จ ผู้ว่าฯ เจรจากับร้านค้า Retail stores จัดมุมพิเศษสินค้าเหล่านี้ไปวางขาย เป็นความเอื้อเฟื้อความอารี กินเปอร์เซ็นต์แค่ 8% เมืองไทยมีไหม?
แนวคิดเหล่านี้ คือว่าจะทำยังไงให้วิสาหกิจชุมชนเข้มแข็งขึ้นมา อินเตอร์เน็ตสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีการค้าขาย การเชื่อมโยงระหว่างจังหวัดกับจังหวัด ตำบลกับตำบล อนาคตข้างหน้าระหว่างตำบลกับตลาดโลก ไม่จำเป็นเลยที่สมัยหน้าต้องมาผ่านกรุงเทพฯ ค้าขายผ่านอินเตอร์เน็ตได้ทันที นี้เป็นตัวอย่างง่าย ๆ ถ้าท่านสร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาให้ได้ ชาวนาจะเริ่มลดการพึ่งพาแค่การปลูกข้าว ดีไม่ดีในอนาคตการปลูกข้าวจะก่อให้เกิดในการแปรรูปสินค้านานาประการ ที่ผ่านมา 40-50 ปี เราล้มเหลวในสิ่งเหล่านี้โดยตลอด การพัฒนามีน้อยมาก นี่หรือที่ว่าประสบความสำเร็จ? นี่หรือที่เราภูมิใจกันในอดีต? ที่บอกว่าเราจะเป็น Little dragon หรือมังกรตัวน้อยๆ แห่งอาเซียน เอเชีย สุดท้ายก็กลายเป็น Little monkey แห่งเอเชีย เพราะเราไม่รู้จักคิดใหม่ทำใหม่ ไม่กล้าที่จะทำใหม่ พอเริ่มคิดใหม่ทำใหม่ก็เริ่มมีการวิพากษ์วิจารณ์ อาจารย์ชัยอนันต์ฯ บอกว่านี่แหละคือสังคมทอนกำลัง ทอนกำลังกันเอง นี่คือข้อที่ 1 รัฐบาลนี้อยู่ 4 ปี ท่านเห็นภาพอันนี้แน่นอน วิสากิจชุมชน อันนี้เป็นความตั้งใจที่จะให้เกิดขึ้นมา ให้เกษตรกรสามารถรวมตัวกันเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง เมื่อชุมชนเข้มแข็งก็เหมือนมี Engine of growth หลาย ๆ จุด สร้างอำนาจซื้อขึ้นมาในประเทศ เมื่อมี Engine of growth ขึ้นมามากมาย สินค้ามีหลากหลาย การท่องเที่ยวก็เกิด ไม่ใช่มาเที่ยวแล้วนอนอยู่ในโรงแรม จะซื้อสินค้าอะไรก็ไม่มี เชื่อไหมว่าเมืองโออิตะเมืองเล็ก ๆ ผมเดินนิดเดียว มีแต่ร้านค้าที่มีสินค้าหลากหลายมหาศาลทีเดียว จนเราไม่เชื่อว่ามันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร แค่ซีอิ้ว เหล้าสาเก เครื่องปั้นดินเผา เครื่องจักสาน Variety เต็มไปหมดเลย หลากหลาย อันนี้สินักท่องเที่ยวไปแล้วจะมีความสุขอยู่กับการจับจ่าย รายได้จากการท่องเที่ยวมันถึงจะเกิดขึ้น มากันเป็นหมู่ ๆ
Engine of growth ตัวต่อไป ที่เราจะเปลี่ยนมัน ในอดีตเราภูมิใจกับยักษ์ใหญ่แต่หารู้ไม่ว่าประเทศที่พัฒนาแล้วนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทเล็กๆ ประเทศจะมีเศรษฐกิจที่เข้มแข็งได้ ต้องมีความสมดุลระหว่างบริษัทใหญ่ กลาง เล็ก ไปญี่ปุ่นเที่ยวนี้ผมได้พบกับประธานมิตซู เขาบอกว่าท่านรู้ไหมว่า 99.7% ของการผลิตและการจำหน่ายสินค้าของญี่ปุ่นมาจาก SMEs ไม่ใช่มาจากฮอนด้า โตโยต้า โซนี่ ที่เรารู้จักกัน ในอเมริกา ยุโรป ฮ่องกง ไต้หวัน ก็เหมือนกัน ประเทศจะมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งได้ต้องมีทั้งบริษัทใหญ่ กลาง เล็กที่หลากหลาย คำถามที่ว่าทำไมญี่ปุ่นต้องมีบริษัท Trading Company ขนาดใหญ่ ไม่ว่ามิตซุย มิตซูบิชิ มารูบินี่ ทำไมต้องเป็นกลุ่มเหล่านี้? เพราะว่าฐานเศรษฐกิจของเขาส่วนใหญ่คือ SMEs เมื่อ SMEs ผลิตแล้วไม่มีความสามารถในการรุกตลาดโลกได้ ก็ต้องอาศัยการขายสินค้าเหล่านี้ผ่าน Trading company กระจายส่งขายทั่วโลก นั่นคือที่มาที่ไป แต่เมืองไทยของเราคนละอย่าง 10 กว่าปีที่แล้วพูดถึง Trading company ก่อนกำหนด ยังไม่ทันพัฒนา SMEs เลยไปตั้ง Trading company ก่อน แล้วจะแข่งขันเอาสินค้าที่ไหนไปขาย? รัฐบาลชุดนี้ ต้องการให้เวลาช่วงนี้สร้าง SMEs ขึ้นมา โดยไม่ละทิ้งบริษัทขนาดใหญ่
นโยบายที่ผ่านมาทั้งหมด 8 เดือน ไม่ว่าการตั้ง บอย. ขยายบทบาท บอย. การตั้ง SMEs Bank การให้ความสำคัญกับ Venture capital สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่สร้าง SMEs ให้เข้มแข็ง ก่อนที่ท่านอาจารย์สังเวียนฯ จะเสียไป ท่านบอกว่าอาจารย์สมคิด SMEs นี้ต้องสร้างขึ้นมาให้ได้ ทำให้ได้ นโยบายภาษีต้องปรับเปลี่ยน ให้บริษัทเล็กๆ ได้เกิดขึ้นมาก่อน แล้วค่อยไปเก็บภาษีทีหลัง มันต้องเป็นอย่างนั้น เป็นความตั้งใจอย่างสูงสุดที่รัฐบาลชุดนี้ต้องการสร้าง SMEs ขึ้นมา ต้องการสร้างผู้ประกอบการใหม่ขึ้นมา ไม่ใช่สักแต่ว่าพูดนะ แต่เราจะสร้างขึ้นมาจริงๆ ประเทศไม่มีทางเจริญ ถ้าคนส่วนใหญ่ของประเทศ นักศึกษาธรรมศาสตร์ทั้งมหาวิทยาลัยจบแล้วต้องการเป็นเพียงลูกจ้าง ถ้าคนส่วนใหญ่ต้องการเป็นเพียงลูกจ้าง จะไปทำธุรกิจได้อย่างไร? จะมีคนสร้างงานได้อย่างไร? จะมีแต่คนคอยหางานทำ สหรัฐอเมริกาจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา เป็นโอกาสของเขาที่สร้าง SMEs ขึ้นมา สร้างผู้ประกอบการใหม่ขึ้นมา เมืองไทยเราต้องใช้จังหวะนี้ให้เป็นโอกาส
เมื่อก่อนนี้ทำมาค้าขายเอง ทุกคนจะหัวเราะ จบปั๊บ อย่าว่าแต่ใครเลย ผมก็เหมือนกัน เรียนไม่ทันจบเลย อยากไปอยู่กสิกรไทย อยากไปอยู่ปูนซีเมนต์ไทย เชลล์ ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมไม่คิดว่าจะทำธุรกิจของตัวเอง? จะรวมกลุ่มเพื่อนๆ ขึ้นมากู้ยืมเงินแบงก์ทำธุรกิจขึ้นมา ล้มแล้วไม่เป็นไร ลุกขึ้นมาใหม่ สร้างตัวเองขึ้นมา นี่ต่างหากที่เราเรียกว่า "Entrepreneurial spirit" จิตวิญญาณแห่งการเป็นเจ้านายของตัวเอง ตรงนี้เราไม่มีเลย 20 ปีที่ผ่านมาหายเกลี้ยง เพราะเราไม่กล้าเสี่ยง ไปเจอหนังสือเล่มหนึ่งที่สิงคโปร์เมื่อปีที่แล้ว ชื่อหนังสือ "Dare to Fail" กล้าที่จะล้มเหลว แม้แต่สิงคโปร์ก็เป็นโรคอย่างนี้เหมือนกัน คือโรคเกียซู ก็คือกลัวแพ้ กลัวทำแล้วล้มเหลว ไม่กล้าทำ ขอความมั่นใจรับจ้างไปก่อน อันนี้คือแนวคิดที่ต้องเปลี่ยน นี่คือจุดที่ 2 ที่ผมต้องการย้ำในวันนี้ว่า เราต้องมีการปรับโครงสร้าง Player หรือผู้เล่นทางเศรษฐกิจที่มีแต่ยักษ์ใหญ่ ให้มีแต่ SMEs เต็มไปหมด แล้วเกื้อกูลกัน นี่คือข้อที่ 2
ข้อที่ 3 ภาคเอกชนในขณะนี้อยู่ในภาวะที่อ่อนแอสุดขีด กลุ่มใหญ่ทีเดียวเป็น NPL กลุ่มเหล่านี้จะต้องได้รับการปรับโครงสร้างอย่างจริงจัง เมื่อเราเริ่มคิดถึง บสท. ก็มีการวิพากษ์วิจารณ์ทุกๆ อย่าง ทั้งๆ ที่รู้ว่าถ้าไม่จัดตั้ง บสท. หนี้เสียมหาศาลจะไม่มีการแก้ไขได้เลย เมื่อตั้ง บสท. ก็ต้องเผชิญกับอุปสรรคนานาประการ บอกว่าให้อำนาจล้นฟ้า บอกว่าจะไม่โปร่งใส บอกว่าทุกสิ่งทุกอย่างว่าทำไม่ได้ และถ้าผมถามกลับไปว่า ถ้าผมทำไม่ได้มีทางอื่นที่ดีกว่านี้ไหม? คำตอบคือไม่มี เมื่อไม่มีก็ต้องให้กำลังใจคณะกรรมการ บสท. ปรับโครงสร้างหนี้อย่างจริงจัง ให้ NPL กลายเป็นบริษัทที่มีความเข้มแข็งขึ้นมา และก็จุดนั้นนั่นเองที่เราต้องพยายามเดินทางไปต่างประเทศ เชิญชวนให้คนมาลงทุนในบริษัทเหล่านี้ เอา Equity มาใส่เข้าไป ทำบริษัทเหล่านั้นให้เข้มแข็ง อนาคตข้างหน้าไม่เพียงแต่ว่าบริษัทต้องเข้มแข็ง แต่ Good governance หรือธรรมาภิบาลที่ดีต้องเกิดขึ้น ไม่อย่างนั้นอนาคตข้างหน้าจะไม่มีใครมาลงทุนในประเทศไทย เพราะขณะนี้เขาถือเอาความโปร่งใส (Good governance) เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะมาลงทุน เราต้องไปหาเขามาลงทุน แต่มาลงทุนในอุตสาหกรรมที่เราต้องการจะส่งเสริม
ผมไปพูดปาฐกถาที่ญี่ปุ่น ผมบอกว่า เป้าหมายอุตสาหกรรมมีอะไรบ้าง เราต้องการ Quality investment ไม่ใช่ Quantity investment ฉะนั้น เป้าหมายทางอุตสาหกรรมของเราเป็นอย่างนี้ เชิญท่านเข้ามาลงทุน นั้นคือสิ่งที่เราต้องการ นี่คือความพยายามทำให้ภาคประชาชน ภาคเอกชน เข้มแข็งขึ้นมา ตัว C consumption สมัยที่เราเรียนอยู่ เราจะได้เติบโตขยายตัวได้ ไม่ใช่อำนาจซื้อไปกระจุกตัวอยู่แค่ในเมืองใหญ่ แต่คนส่วนใหญ่ในประเทศไม่มีอำนาจซื้อ แล้วจะไปสร้างตลาดซื้อจากที่ไหน? จะเอา Demand มาจากไหน? เมื่อตัว C เข้มแข็ง การลงทุน ตัว I ก็เข้มแข็ง ตัว G รัฐบาลก็มีการคิดอย่างดีว่าจะเอาไปใช้ทำอะไร ไม่ใช่เพียงแค่การอัดฉีดและที่สำคัญที่สุด ภาครัฐบาลเองต้องปรับปรุง ผ่านมา 40-50 ปี เคยเห็นรัฐบาลชุดไหนบ้างไหม ที่ต้องการปรับโครงสร้างกระทรวงทบวงกรม? มีใครอยากไปแตะไหม? คนเรานั้นไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ผมก็ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ยิ่งมีลูก 2 คนแล้ว อายุใกล้ ๆ 50 ยิ่งจะมีคนที่ 3 โผล่มาอีก ยิ่งไม่ต้องการเปลี่ยนแปลง ถามว่าระบบราชการไม่เปลี่ยนได้ไหม? ไม่เปลี่ยนไม่ได้แล้ว เพราะเรา Design โครงสร้างราชการเป็นแบบอันนี้ขาย อันนี้ผลิต อันนี้งี้ ๆ ๆ ๆ ไม่มีการเชื่อมโยงกัน และโลกทุกวันนี้มันเป็น Agenda ว่าต้องทำอย่างนี้ หน่วยงานต้องเชื่อมโยงกัน งานมันถึงไม่เดิน ฉะนั้นเมื่องานไม่เดิน เพราะโครงสร้างไม่สามารถสอดคล้องกับ Strategy ได้ การปรับโครงสร้างจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น 1 ตุลาคม 2545 แน่นอน ปรับโครงสร้างกระทรวงรัฐวิสาหกิจมีทรัพย์สิน 4 ล้านล้าน มีหนี้สินใกล้เคียงกัน แต่คนไม่สนใจ Asset และ Liability สูงขนาดนี้ เป็นดาบสองคม ถ้าทำได้ดีมีพลังมหาศาล แต่ถ้าทำไม่ดีน่ากลัวมาก เพราะไม่มีใครไปสนใจเอาใจใส่ อำนาจสิทธิขาดอยู่ที่ในรัฐวิสาหกิจ ที่รัฐมนตรีที่ดูแลรัฐวิสาหกิจนั้นๆ ถ้าหนี้สิน 4 ล้านล้านไม่ได้มีการดูแลเอาใจใส่ อะไรเกิดขึ้น? ทุกคนไปสนใจอยู่เฉพาะงบประมาณ จุดที่ต้องสนใจคือจุดที่อยู่ข้างนอกงบประมาณ ผมตั้งธงว่าปีนี้อย่างน้อยต้องเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ 2 ตัว คือ อินเตอร์เน็ตไทยแลนด์ กับ ปตท.
ทีแรกมีข้อแม้บอกว่าเลื่อนไปเถิด ทำไม่ได้ อย่าทำเลย น้องๆ นักข่าวพยายามถามผมว่า จะเลื่อนหรือเปล่า? สถานการณ์โลกไม่ดี ผมรู้อยู่ในใจแต่พูดไม่ได้ว่าเลื่อนไม่ได้ เลิกไม่ได้ ล้มไม่ได้ เพราะ ปตท. คือหลัก ถ้าทำสำเร็จประชาชน พนักงานรัฐวิสาหกิจ และนักลงทุนต่างประเทศ จะมีความมั่นใจในเมืองไทยทันที ฉะนั้นอย่างไรก็เลื่อนไม่ได้ วันนี้ล่าสุด จำนวนหุ้นซึ่งกระจายให้กับต่างประเทศมีความต้องการสูงถึงประมาณ 6 เท่า ทั้งที่ภาวะเศรษฐกิจเป็นอย่างนี้ ตลาดโลกเป็นอย่างนี้ แล้วคนที่เข้ามาจองซื้อนั้น ไม่ใช่นักลงทุนที่กิ๊กก๊อก แต่เป็นนักลงทุนขนาดใหญ่ แปลว่าอะไร? เขามั่นใจใน ปตท. เขาเชื่อมั่นในศักยภาพของประเทศ แต่คนไทยกันเองต่างหาก ที่วันนี้ความมั่นใจหายไปแล้ว ตื่นเช้าขึ้นมา World Bank บอกว่าคนจนเพิ่ม 10 ล้าน แย่แล้ว! ตื่นตระหนก โดยจะไม่ตั้งสติคิดว่า คนจนที่เพิ่มขึ้นมานั้นมันมาจากความล้มเหลวเป็นสิบๆ ปี ที่สั่งสมกันมา ตื่นเช้าขึ้นมาบอกไอ้นี่แย่อีกแล้ว ทำไมเราไม่คิดว่าภาวะที่เป็นอย่างนี้ โอกาสของเราอยู่ตรงไหน? ถ้าคิดในเชิงร้ายหนึ่งคนไม่เป็นไร แต่ถ้าคนส่วนใหญ่คิดในแง่ร้ายทั้งหมด เมืองไทยจะไม่มีอนาคต ฉะนั้นการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การปรับโครงสร้างระบบราชการกำลังเกิดขึ้น
ผมขอเรียนว่า ทั้งหมดนี้คือกระบวนการที่บอกว่าจะประคองเศรษฐกิจอย่างไรให้ผ่านพ้นในช่วง 1-2 ปี และปฏิรูปพร้อมๆ กันไป ไปญี่ปุ่นครั้งนี้ชัดเจนที่สุด ท่านนายกฯ ญี่ปุ่น บอกเรามาคำหนึ่งว่าญี่ปุ่นที่ผ่านมานั้นเพราะว่าไม่เน้นการ Reform ที่แท้จริงถึงเป็นอย่างนั้น คิดว่าข้างล่างไม่มีอะไรเลย Engine ทุกตัวยังทำงานดีอยู่ แค่ปรับทิศทางแค่นั้นพอแล้ว มันมิใช่ มันจะต้องดูว่าอะไรที่จะปรับเปลี่ยน เพื่อให้มันเกิดพลังของการปรับเปลี่ยนโลกข้างหน้ามันเป็น Non-linear มันไม่ใช่ว่าอดีตเป็นอย่างนี้ อนาคตเป็นอย่างนั้น แน่นอนตายตัว ท่านลองนึกภาพดูว่าถ้าเราสามารถทำให้วิสาหกิจชุมชนเข้มแข็งขึ้นมาได้ ชุมชนมีงานทำขึ้นมาได้ บสท. เริ่มทำงานได้ Asset ที่ไม่มีคุณภาพเริ่มทำงานได้ รัฐบาลเริ่มมีประสิทธิภาพมากขึ้น รัฐวิสาหกิจมี Efficiency มากขึ้น พลังที่มันเกื้อกูลกันนั้นมันไม่ใช่ Linear มันจะสามารถทำให้ก้าวกระโดดได้ และเมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น โลกดีขึ้น เราก็สามารถเกาะกระแสการดีขึ้นของโลกได้ที่รัฐบาลพยายามทำ และพยายามสื่อ ไม่มีใครผิดไม่มีใครถูก แต่ถ้าท่านเลือกไทยรักไทย แปลว่าท่านเลือกวิธีการคิดใหม่ทำใหม่ ถ้าคิดนโยบายเก่าๆ ท่านอย่าไปเลือก แต่ถ้ารัฐบาลทำไม่สำเร็จคราวหน้าท่านไม่ต้องเลือก นี่คือประชาธิปไตย แต่ถ้าเราทำสำเร็จ คราวหน้าพรรคที่คอยคอยไปก่อน ท่านไม่ต้องเลือก นี่คือ Fair game ตรงไปตรงมา ฉะนั้น นี่คือทิศทางที่เราจะทำ และเราประกาศให้รู้ว่าเราจะทำ จุดอ่อนมีอยู่มาก อันนี้ยอมรับ ของใหม่นั้นไม่มีใครเชี่ยวชาญมาก่อนมันก็ต้องเจอปัญหา ค่อยๆ แก้กันไป แต่อย่างน้อยเราแก้แล้ว เราเริ่มเดินเครื่องแล้ว
กลับมาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ถ้า 4 ปีครบเทอม แปลว่าทิศทางการสร้างบุคลากร ต้องมีการปรับเปลี่ยนหรือไม่ ถ้าโครงสร้างเศรษฐกิจจะมี SMEs เพิ่มเติมขึ้นมา แนวทางในการที่ไปพัฒนา SMEs นั้นจะทำอย่างไร ยกตัวอย่างง่ายๆ ที่โออิตะนั้นแหละ เนื่องจาก SMEs เขาเยอะ เขามีมหาวิทยาลัยหนึ่งชื่อ Asia Pacific University ชื่อหน้าเป็นญี่ปุ่น เขาคัดเลือกนักศึกษามาแต่ละประเทศ ปีที่ 1 มาอยู่ที่ Campus ปี 2 ปี 3 เริ่มให้ไปอยู่ในเมือง ไปคลุกคลีกับท้องถิ่น ไปดูชาวบ้านว่าเขาทำสินค้าอะไร สนใจสินค้าอะไร ไปซึมลึกอยู่ในท้องถิ่น เพื่อเอาความรู้กลับมาประกอบอาชีพภายหลัง เช่นเดียวกัน ถ้าท่านต้องการ Gear ทิศทางสู่การพัฒนา SMEs ท่านต้องไม่พัฒนา SMEs แบบว่าเอา Mini MBA ไปสอน SMEs มันคนละเรื่อง ท่านจะต้องรู้ว่า SMEs นั้นต้องการอะไร? ความคิดสร้างสรรค์เขามีอยู่แล้ว เปลี่ยนจากความคิดสร้างสรรค์เหล่านั้นมาเป็นสินค้าได้อย่างไร? ท่านจะช่วยเขาตรงนี้ได้อย่างไร? ทำสินค้าให้มีความหลากหลาย น่าสนใจ มีคุณภาพ ท่านจะช่วยเขาได้อย่างไร? SMEs นั้นเงินน้อย เป็นธุรกิจของครอบครัว ท่านจะช่วยเขาได้อย่างไร? รู้จักวิธีการบริหารเฉพาะวิชาสาขาที่จำเป็น เขาไม่ได้ต้องการ Quantitative approach เขาต้องการบอกว่า จะหมุนได้กี่รอบ บัญชีทำอย่างไร กู้แบงก์ทำอย่างไร Cash flow ทำอย่างไร ท่าน Design Concept เหล่านี้ ให้นักศึกษามีโอกาสไปคลุกคลีอยู่กับธุรกิจจริงๆ ว่าเขาทำอย่างไร เป็นนโยบายที่สร้างหลักสูตรที่เกี่ยวกับ New entrepreneur ผู้ประกอบการใหม่ ถ้าท่านรู้ว่าในอนาคตข้างหน้าแนวคิดในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเป็นอย่างนี้ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แตกลูกแตกหลานหลากหลายเป็นสินค้าหลายๆ ประเภท มหาวิทยาลัย Research ของมหาวิทยาลัย งานวิจัยของการบัญชีควรจะแตกอย่างไร? เพื่อที่จะไปเกื้อกูลกับการผลิตในท้องถิ่น การ Design สิ่งเหล่านี้สำคัญมาก
สมัยผมเป็นอาจารย์ อยากทำ Policy research ไม่มีสตางค์ให้ทำ วัน ๆ มีแต่ว่ามีโครงการมาบอกว่า จะสร้างศูนย์การค้า สำรวจสิว่า Fit ไม่ Fit คุ้มค่าลงทุนหรือไม่? มหาวิทยาลัยไม่ใช่มีไว้เพื่อทำวิจัยสิ่งเหล่านี้ มหาวิทยาลัยจะต้องพยายามสร้างการวิจัยที่สามารถเชื่อมต่อกับโลกแห่งความเป็นจริง สร้างความสามารถเชิงวิชาการ และก็ไม่ใช่วิชาการที่หลุดโลก เมื่อมีงานวิชาการที่ดี อาจารย์ต้องรู้จริง ออกมา Comment ก็รู้จริงมีพลัง นี่คือสิ่งที่น่าจะลองไปคิดดู หากรู้ว่ารัฐบาลจะเพิ่มศักยภาพของ Privatization การจูงใจนักลงทุนต่างประเทศจะทำอย่างไรให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมา Good governance เป็นหัวใจที่ผมกล่าวมาแล้ว ท่านในฐานะของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจะทำอย่างไรให้ Inject สิ่งเหล่านี้ในวงการธุรกิจ? จะโปรโมตเขาได้อย่างไร? เท่าที่ผมกล่าวมาก็คือว่าผมพยายามฉายภาพที่ว่าอีก 4 ปีข้างหน้า จากการทำงานรัฐบาลมันจะเกิดอะไรขึ้น เราไม่ต้องมาพูดถึงเรื่อง Globalization โลกาภิวัตน์ อันนั้นผมกับอาจารย์สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ สอน 15 ปีมาแล้ว เรากำลังดูว่าอะไรจะเกิดขึ้น และเราก็ Design ขึ้นมา เมื่อ Design ได้ เชื่อมโยงได้ เชื่อมโยงกับต่างประเทศด้วยเพื่อการอันนี้ เมื่อรู้ว่า SMEs สำคัญท่านต้องไปติดต่อสถาบันการศึกษา ซึ่งเชี่ยวชาญ SMEs ในต่างประเทศ ในญี่ปุ่น ในเยอรมนี ในยุโรป มาเชื่อมโยงเพื่อสร้างหลักสูตรสิ่งเหล่านี้โดยเฉพาะ แล้วผมเชื่อว่าอีก 63 ปีจะไม่มีใครตามท่านได้เลยแม้แต่คนเดียว
ในวันนี้ผมมาที่นี่ ส่วนหนึ่งก็เพื่อที่จะแสดงความยินดีกับท่าน ที่ได้มีการก่อตั้งมาครบรอบ 63 ปี ชื่นชมกับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีที่สามารถสร้างบุคลากรที่ดีเด่น และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าอนาคตข้างหน้าท่านจะเป็นกำลังสำคัญของรัฐบาลในการสร้างบุคลากกรที่มีคุณภาพ และสอดคล้องกับทิศทางในการพัฒนาที่ถูกต้อง วันนี้ผมใช้เวลาของท่านมากเกินไปแล้ว ก็กราบขอบพระคุณที่ให้เกียรติเชิญผมมา ขอบคุณครับ
______________________
* เนื่องในโอกาสคล้ายวันสถาปนาคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครบ 63 ปี
กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
ธีรพล ตอลีบี : ถอดเทป
กรองจิตร สุขเกื้อ : พิมพ์
เชาวลิตร์ บุณยภูษิต : ตรวจ/ทาน--จบ--
-ศน-