1. ทิศทางเศรษฐกิจและการค้าโลก
ภาวะเศรษฐกิจการค้าโลกในปี 2000 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่าเศรษฐกิจโลกในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 3.5 เทียบกับปีที่แล้วซึ่งขยายตัวร้อยละ 3.0 โดยเป็นการขยายตัวในเกือบทุกภูมิภาค โดยเฉพาะการฟื้นตัวของประเทศในภูมิภาค เอเชีย และญี่ปุ่นที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.4 และ 1.5 ตามลำดับ ในขณะที่เศรษฐกิจของของสหภาพยุโรปยังคงขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 2.7 แต่เศรษฐกิจของสหรัฐฯ เริ่มจะชะลอตัวลงสู่ระดับที่มีเสถียรภาพ โดยยังคงขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 2.6 สำหรับการค้าโลกในปี 2000 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.2 เทียบกับร้อยละ 3.7 ในปีที่ผ่านมา ส่วนอัตราเงินเฟ้อของประเทศพัฒนาแล้วอยู่ในระดับร้อยละ 1.8 สูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาเล็กน้อย ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนากลับมีแนวโน้มลดลงอยู่ในระดับร้อยละ 5.8 เทียบกับร้อยละ 6.7 ในปีที่ผ่านมา
กระแสการเปิดเสรีทางการค้าจะเข้มข้นมากขึ้น การเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนในเวทีต่างๆ นอกจากจะได้เร่งรัดให้มีการเปิดเสรีเร็วขึ้นแล้ว ยังเห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะภายใต้กรอบของ ASEAN และ WTO
ภายใต้กรอบ ASEAN : เร่งลดภาษีจากปี 2003 (พ.ศ. 2546) เป็นปี 2002 (พ.ศ. 2545) จะมีการเปิดเสรีเร็วขึ้น ดังนี้ เร่งรัดการลดภาษีสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม จำนวน 9,103 รายการ ลงเหลือร้อยละ 0-5 ภายในปี 2002 โดยดำเนินการลดเป็นขั้นตอน ปี 2000 มีสัดส่วนรายการที่ลดภาษีลง 85% ของจำนวนรายการที่อยู่ในบัญชีลดภาษีทั้งหมด และจะเพิ่มเป็น 90% ในปี 2001 และ 100% ในปี 2002
เร่งรัดการเปิดเสรีการค้าบริการ 7 สาขา โดยเปิดเจรจารอบใหม่ตั้งแต่ปี 1999-2001 ซึ่งขณะนี้ไทยได้ตกลงเปิดเสรีการค้าบริการในระดับหนึ่งไปแล้ว 7 สาขา และจะเจราจาให้ครอบคลุมทุกสาขาในปี 2001
เร่งรัดการเปิดเสรีการลงทุนภายใต้กรอบ AIA ภายในปี 2020 เพื่อดึงดูดการ ลงทุนจากต่างชาติ
ภายใต้กรอบ WTO ลดภาษีนำเข้าสินค้าเกษตร 740 รายการ ลงร้อยละ 24 ภายในปี 2004 และขยายโควตาการนำเข้าสินค้าเกษตร 23 รายการ จนถึงปี 2004 รวมทั้งลดการอุดหนุนสินค้าเกษตรในประเทศ ซึ่งไทยได้ผูกพันที่จะลดวงเงินอุดหนุนจาก 21.8 พันล้านบาท เหลือ 19.0 พันล้านบาท ภายในปี 2004 ลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรมทั่วไป (รวมสินค้าประมง) ซึ่งไทยมีพันธกรณีที่จะ ลดลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 28 ภายในปี 1999 รวมทั้งจะต้องผูกพันอัตราภาษีที่ได้ลดแล้ว ยกเลิกการกำหนดสัดส่วนการใช้วัตถุดิบหรือชิ้นส่วนภายในประเทศที่ผู้ผลิตต้องใช้ในการผลิตสินค้า ซึ่งจะต้องสิ้นสุดในปี 1999 สำหรับสินค้าไทยที่มีการกำหนดสัดส่วนซึ่งจะต้องยกเลิก ได้แก่ นมและผลิตภัณฑ์ รถยนต์และรถจักรยานยนต์ เปิดเสรีสิ่งทอภายใน 10 ปี (ปี 1995-2004) ไทยจะได้รับประโยชน์ในการขยายการส่งออกสิ่งทอไปยังประเทศต่างๆ ได้อย่างเสรีโดยไม่มีโควตานำเข้า การค้าบริการ ไทยจะต้องเปิดเสรีด้านการค้าบริการ 10 สาขา ภายในปี 2006 สำหรับภายใต้กรอบ APEC จะมีการเปิดเขตการค้าเสรีภายในปี 2010 สำหรับประเทศพัฒนาแล้ว และ ปี 2020 สำหรับประเทศกำลังพัฒนา โดยจะได้มีการเร่งให้เปิดเสรีให้เร็วขึ้นรายสาขาตามความสมัครใจใน 9 สาขา ดังนี้ 1) ปลาและผลิตภัณฑ์ 2) ผลิตภัณฑ์ป่าไม้ 3) ของเด็กเล่น 4) เคมีภัณฑ์ 5) อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ 6) พลังงาน 7) สินค้าและอุปกรณ์สิ่งแวดล้อม 8) ความตกลงว่าด้วยการยอมรับร่วมในสินค้าโทรคมนาคม และ 9) อัญมณี อย่างไรก็ตามในขณะนี้ไทยยังไม่ผูกพันอย่างเป็นทางการเช่นเดียวกับประเทศสมาชิกอื่นๆ
การแข่งขันจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น การขยายอาณาเขตของการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจและการค้าของโลกภายใต้กรอบและกลุ่มต่างๆ ทำให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรง เพราะนอกจากจะต้องแข่งขันกันเองภายในประเทศเพื่อแย่งส่วนแบ่งตลาดแล้ว ยังต้องต่อสู้กับคู่แข่งจากต่างชาติด้วย โดยเฉพาะการแข่งขันกับประเทศสมาชิกในกลุ่มเศรษฐกิจนั้นๆ มีมาตรการการกีดกันการค้าใหม่ๆ ผลพวงจากการเปิดเสรีและการลดภาษี ทำให้ประเทศต่างๆหันมาใช้มาตรการกีดกันทางการค้าใหม่ๆที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการค้าโดยตรง ซึ่งประเทศพัฒนาแล้วได้พยายามผลักดันอย่างมากให้มีการกำหนดเป็นกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศ อาทิ ด้านสุขอนามัย สิ่งแวดล้อม แรงงาน และสิทธิมนุษยชน การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริโภค โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้วมีการตื่นตัวในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและสุขภาพมากขึ้น ความกังวลดังกล่าวส่งผลให้มีความสนใจในเรื่องขั้นตอนการหาวัตถุดิบ การผลิต ความปลอดภัย และสุขอนามัยในขั้นพื้นฐาน และการตัดแต่งทางพันธุกรรมทั้งในพืชและสัตว์ (Genetically Modified Organisms : GMOs) ทำให้การกำหนดมาตรฐานสากลและมาตรฐานความปลอดภัยของสินค้าต่างๆ มีความสำคัญต่อการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น กฎระเบียบโลกจะเข้ามามีบทบาทในการควบคุมกิจกรรมภายในประเทศอย่างกว้างขวาง จะส่งผลให้ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศขึ้นอยู่กับนโยบายการผลิตและการจำหน่ายของบริษัทระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น บทบาทของรัฐจะลดลง กระแสจากการดำเนินนโยบายแบบ Nationalization จะปรับเปลี่ยนไปสู่นโยบาย Privatization มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ภาครัฐโดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาหันมาให้ความสนใจกับการแปรรูปองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ให้เป็นรูปแบบของธุรกิจเอกชนมากขึ้น เทคโนโลยีมีบทบาทเพิ่มขึ้น เทคโนโลยีจะมีบทบาทนำในตลาดการค้า ซึ่งจะทำให้รูปแบบการค้าระหว่างประเทศในอนาคตเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากและรวดเร็ว อาทิ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) จะมีบทบาทสำคัญในยุคโลกการค้าขายที่ไร้พรมแดน รวมทั้งจะเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของคนในสังคมให้ก้าวหน้ามากขึ้น การค้าบริการจะมีลักษณะเป็นนานาชาติมากขึ้น บริษัทข้ามชาติจากประเทศพัฒนาแล้วจะขยายตลาดการให้บริการทั่วโลก กิจการที่สำคัญ คือ สถาบันการเงิน ประกันภัย โทรคมนาคม และธุรกิจค้าปลีก เป็นต้น จะทำให้การค้าบริการมีความเป็นสากลมากขึ้น 2. เศรษฐกิจการค้าไทย ปี 2000
ภาพรวมเศรษฐกิจไทย ในปี 2000 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 4.4 ตามภาคการผลิตที่มี ทิศทางการฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะจากภาคการส่งออกและการบริโภคของภาค เอกชนที่เพิ่มขึ้น ด้านเสถียรภาพ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ในขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลลดลง สำหรับสภาพคล่องทางการเงินจะยังคงอยู่ในระดับสูง ในขณะที่การปล่อยสินเชื่อจะปรับตัวดีขึ้น และอัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับต่ำต่อไปอีกระยะหนึ่ง ด้านการค้าระหว่างประเทศ คาดว่าการส่งออกในปี 2000 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-6 หรือมีมูลค่า 61-62 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (การส่งออก ปี 2542 มีมูลค่า 58.45 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 7.3) ในขณะที่การนำเข้าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นตามภาคการผลิตเพื่อส่งออกและอุปสงค์ภายในประเทศ ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัว แม้ว่าเศรษฐกิจโดยรวมจะมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังมีปัจจัยที่อ่อนแอทั้งจากปัญหาภายในและภายนอกประเทศ ที่สำคัญคือ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ยังอยู่ในระดับสูง ปัญหาการว่างงาน และปัจจัยภายนอกจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดคู่ค้าสำคัญ รวมทั้งราคา น้ำมันที่ยังคงอยู่ในระดับสูง แนวนโยบายที่จะมีความสำคัญในปี 2000 แม้ว่าในขณะนี้เศรษฐกิจจะมีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจนขึ้น แต่ก็ต้องยอมรับว่ายังอยู่ในระยะเริ่มต้น จึงต้องให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างทั้งภาคการผลิตและภาคการเงินเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันรวมทั้งการจัดการและการตลาด ในขณะที่ยังต้องดำเนินนโยบายการคลังอย่างระมัดระวังเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง 3. ผลกระทบของการเปิดเสรีภายใต้ WTO และกรอบต่างๆ
กติกาการค้าโลกที่เริ่มมีผลบังคับใช้ในปี 2000 จะส่งผลกระทบในระดับที่ต่างกันตามกรอบและระยะเวลาของการเปิดเสรี ดังนี้
ภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน การลดภาษีใน AFTA ตั้งแต่ 1 มกราคม 2543 จะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการและประชาชนของไทย จากต้นทุนและราคาสินค้าที่ถูกลง ดังนี้ ตลาดขยายกว้างขึ้น การลดภาษีทำให้สินค้าไทยมีราคาถูกลง ส่งผลให้ไทยมีตลาดส่งออกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มอาเซียน ดังเห็นได้จากส่วนแบ่งตลาดของไทยใน อาเซียนเพิ่มขึ้นจากลำดับที่ 9 (ร้อยละ 2.7) ในปี 2537 มาอยู่ในลำดับ 7 (ร้อยละ 3.5) ในปี 2541 และกลายเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทยอันดับที่ 1 ในช่วงปี 2538-2540 มีสัดส่วนกว่าร้อยละ 21 และลดลงมาเป็นตลาดส่งออกอันดับ 2 ในปี 2541-2542 เนื่องจากการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในหลายประเทศในอาเซียน ต้นทุนการผลิตลดลง การที่ไทยต้องลดภาษีสินค้าลง 7,737 รายการ ซึ่งในจำนวนนี้มีสินค้าวัตถุดิบที่เป็นปัจจัยสำคัญในการผลิต เช่น เคมีภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร มีราคาถูกลง ทำให้ความสามารถในการส่งออกของไทยเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าคุณภาพดี และราคาถูก การเปิดเสรีทำให้ผู้บริโภค สามารถเลือกซื้อสินค้า ซึ่งมีการแข่งขันทั้งในด้านราคาและคุณภาพได้หลากหลายมากขึ้น ในด้านการลงทุน การที่อาเซียนเป็นตลาดขนาดใหญ่มีประชากรเกือบ 500 ล้านคน เมื่อไม่มีกำแพงภาษีและข้อกีดกันทางการค้าอื่นๆ จึงเป็นแรงดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศได้อย่างมาก โดยเฉพาะไทยในฐานะที่ตั้งอยู่ในศูนย์กลางของภูมิภาค และมีความพร้อมในหลายๆ ด้าน ภายใต้กรอบ WTO กรอบกติกาภายใต้ WTO ในปี 2000 นี้ประเทศไทยยังคงไม่ได้รับผลกระทบที่ชัดเจน เพราะข้อผูกพันต่างๆ จะเห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนก็ต้องใช้เวลาอีกหลายปี อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรมทั่วไป แม้ว่าจะต้องลดภาษีภายในปี 1999 แต่ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในประเทศ เนื่องจากอัตราภาษีที่ผูกพันไว้ส่วนใหญ่จะสูงกว่าอัตราที่ไทยเก็บจริงในปัจจุบัน ในขณะที่การเปิดเสรีด้านการค้าบริการ ซึ่งไทยได้ผูกพันใน 10 สาขา ตั้งแต่ 1 มกราคม 1995 ยกเว้นด้านการเงินที่มีผลตั้งแต่ 1 มีนาคม 1999 และด้านโทรคมนาคมขั้นพื้นฐานจะเปิดเสรีในปี 2006 ก็เป็นการผูกพันเท่าที่กฎหมายบังคับใช้ในปัจจุบันเท่านั้น 4. ทางรอดของธุรกิจไทยในปี 2000
ปี 2000 เป็นปีที่ผู้ประกอบการต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์อย่างมากเพื่อรองรับการเปิดเสรี เพราะการลดภาษีสินค้าในกรอบต่างๆ ทั้ง WTO และ AFTA แม้ว่าจะส่งผลดีดังกล่าวข้างต้นแล้ว แต่ในทางตรงกันข้ามก็ต้องยอมรับว่าสินค้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะสินค้าสำเร็จรูปจะเข้ามาแข่งขันมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศที่ไม่มีศักยภาพในการผลิตและการแข่งขัน ขณะเดียวกันก็ต้องประสบกับการแข่งขันในตลาดต่างประเทศที่รุนแรง โดยจะมีการใช้มาตรการกีดกันทางการค้ารูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น ประกอบกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ธุรกิจจึงต้องมีการปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดและแข่งขันได้ทั้งในตลาดภายในและตลาดต่างประเทศ แนวทางการปรับตัวที่สำคัญ มีดังนี้
ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ด้วยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการผลิต การตลาด การบริหาร และการจัดการ รวมทั้งพัฒนาบุคลากร โดยเฉพาะด้านการค้าระหว่างประเทศเพื่อให้สามารถวางแผนและกำหนดกลยุทธ์ในระยะยาวได้ ปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของระบบมาตรฐานสากลของโลก การปรับตัวเข้าสู่ระบบการค้าสากล นักธุรกิจต้องยอมรับว่ามีความสำคัญยิ่ง เพราะการเปิดเสรีจะทำให้ความเป็น Local Company/Local Standard ลดลงไป และจะต้องมีความเป็นสากล (Global Standard) เข้ามาแทนที่ พัฒนารูปแบบของสินค้าให้ตรงความต้องการของตลาด โดยติดตามความเคลื่อนไหวของตลาดจาก พฤติกรรม และวัฒนธรรมของผู้บริโภค เพื่อให้รับรู้หรือคาดการณ์รสนิยมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงสินค้าได้ตามความต้องการของตลาด รวมทั้งการใช้ตราสัญลักษณ์ของตนเองแทนการรับจ้างการผลิต การเจาะหรือขยายตลาด โดยการเน้นเข้าหาผู้บริโภคให้มากที่สุดเพื่อเพิ่มมูลค่าให้ กับสินค้า ขณะเดียวกันก็ต้องปรับคุณภาพสินค้าในการเข้าสู่ตลาดระดับกลางและระดับบน ซึ่งถ้าทำเช่นนั้นได้ก็จะลดแรงกดดันทางด้านราคาลงได้เพราะเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีอำนาจซื้อสูง ขยายเครือข่ายทางการค้า โดยใช้ตัวแทนการค้าหรือหุ้นส่วนในต่างประเทศ เพื่อให้เป็นผู้ช่วยกระจายสินค้า เจาะตลาด และโฆษณาสินค้า รวมทั้งจัดตั้งองค์กรกลางเพื่อสร้างพันธมิตรกับบริษัทข้ามชาติเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและร่วมมือกันด้านการค้า เนื่องจากตลาดเหล่านี้มีเครือข่ายอยู่ทั่วโลก ซึ่งบริษัทของไทยก็ควรที่จะพัฒนาในลักษณะที่เป็นบริษัทข้ามชาติดังกล่าวเพื่อการเชื่อมโยงการค้ากับทั่วโลกทำได้ง่ายขึ้น ให้ความสำคัญกับการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) เนื่องจากเป็นกระแสที่มาเร็วและแรงในยุคนี้ โดย E-Commerce จะเป็นรูปแบบการค้าใหม่ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดต้นทุนแล้ว ยังสามารถติดต่อธุรกิจการค้าได้ทั่วโลกอย่างสะดวกและรวดเร็ว ธุรกิจที่จะอยู่รอดได้จึงต้องสามารถติดต่อ และสนองตอบตลาดได้อย่างมี ประสิทธิภาพและรวดเร็ว
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-
ภาวะเศรษฐกิจการค้าโลกในปี 2000 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่าเศรษฐกิจโลกในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 3.5 เทียบกับปีที่แล้วซึ่งขยายตัวร้อยละ 3.0 โดยเป็นการขยายตัวในเกือบทุกภูมิภาค โดยเฉพาะการฟื้นตัวของประเทศในภูมิภาค เอเชีย และญี่ปุ่นที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.4 และ 1.5 ตามลำดับ ในขณะที่เศรษฐกิจของของสหภาพยุโรปยังคงขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 2.7 แต่เศรษฐกิจของสหรัฐฯ เริ่มจะชะลอตัวลงสู่ระดับที่มีเสถียรภาพ โดยยังคงขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 2.6 สำหรับการค้าโลกในปี 2000 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.2 เทียบกับร้อยละ 3.7 ในปีที่ผ่านมา ส่วนอัตราเงินเฟ้อของประเทศพัฒนาแล้วอยู่ในระดับร้อยละ 1.8 สูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาเล็กน้อย ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนากลับมีแนวโน้มลดลงอยู่ในระดับร้อยละ 5.8 เทียบกับร้อยละ 6.7 ในปีที่ผ่านมา
กระแสการเปิดเสรีทางการค้าจะเข้มข้นมากขึ้น การเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนในเวทีต่างๆ นอกจากจะได้เร่งรัดให้มีการเปิดเสรีเร็วขึ้นแล้ว ยังเห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะภายใต้กรอบของ ASEAN และ WTO
ภายใต้กรอบ ASEAN : เร่งลดภาษีจากปี 2003 (พ.ศ. 2546) เป็นปี 2002 (พ.ศ. 2545) จะมีการเปิดเสรีเร็วขึ้น ดังนี้ เร่งรัดการลดภาษีสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม จำนวน 9,103 รายการ ลงเหลือร้อยละ 0-5 ภายในปี 2002 โดยดำเนินการลดเป็นขั้นตอน ปี 2000 มีสัดส่วนรายการที่ลดภาษีลง 85% ของจำนวนรายการที่อยู่ในบัญชีลดภาษีทั้งหมด และจะเพิ่มเป็น 90% ในปี 2001 และ 100% ในปี 2002
เร่งรัดการเปิดเสรีการค้าบริการ 7 สาขา โดยเปิดเจรจารอบใหม่ตั้งแต่ปี 1999-2001 ซึ่งขณะนี้ไทยได้ตกลงเปิดเสรีการค้าบริการในระดับหนึ่งไปแล้ว 7 สาขา และจะเจราจาให้ครอบคลุมทุกสาขาในปี 2001
เร่งรัดการเปิดเสรีการลงทุนภายใต้กรอบ AIA ภายในปี 2020 เพื่อดึงดูดการ ลงทุนจากต่างชาติ
ภายใต้กรอบ WTO ลดภาษีนำเข้าสินค้าเกษตร 740 รายการ ลงร้อยละ 24 ภายในปี 2004 และขยายโควตาการนำเข้าสินค้าเกษตร 23 รายการ จนถึงปี 2004 รวมทั้งลดการอุดหนุนสินค้าเกษตรในประเทศ ซึ่งไทยได้ผูกพันที่จะลดวงเงินอุดหนุนจาก 21.8 พันล้านบาท เหลือ 19.0 พันล้านบาท ภายในปี 2004 ลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรมทั่วไป (รวมสินค้าประมง) ซึ่งไทยมีพันธกรณีที่จะ ลดลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 28 ภายในปี 1999 รวมทั้งจะต้องผูกพันอัตราภาษีที่ได้ลดแล้ว ยกเลิกการกำหนดสัดส่วนการใช้วัตถุดิบหรือชิ้นส่วนภายในประเทศที่ผู้ผลิตต้องใช้ในการผลิตสินค้า ซึ่งจะต้องสิ้นสุดในปี 1999 สำหรับสินค้าไทยที่มีการกำหนดสัดส่วนซึ่งจะต้องยกเลิก ได้แก่ นมและผลิตภัณฑ์ รถยนต์และรถจักรยานยนต์ เปิดเสรีสิ่งทอภายใน 10 ปี (ปี 1995-2004) ไทยจะได้รับประโยชน์ในการขยายการส่งออกสิ่งทอไปยังประเทศต่างๆ ได้อย่างเสรีโดยไม่มีโควตานำเข้า การค้าบริการ ไทยจะต้องเปิดเสรีด้านการค้าบริการ 10 สาขา ภายในปี 2006 สำหรับภายใต้กรอบ APEC จะมีการเปิดเขตการค้าเสรีภายในปี 2010 สำหรับประเทศพัฒนาแล้ว และ ปี 2020 สำหรับประเทศกำลังพัฒนา โดยจะได้มีการเร่งให้เปิดเสรีให้เร็วขึ้นรายสาขาตามความสมัครใจใน 9 สาขา ดังนี้ 1) ปลาและผลิตภัณฑ์ 2) ผลิตภัณฑ์ป่าไม้ 3) ของเด็กเล่น 4) เคมีภัณฑ์ 5) อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ 6) พลังงาน 7) สินค้าและอุปกรณ์สิ่งแวดล้อม 8) ความตกลงว่าด้วยการยอมรับร่วมในสินค้าโทรคมนาคม และ 9) อัญมณี อย่างไรก็ตามในขณะนี้ไทยยังไม่ผูกพันอย่างเป็นทางการเช่นเดียวกับประเทศสมาชิกอื่นๆ
การแข่งขันจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น การขยายอาณาเขตของการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจและการค้าของโลกภายใต้กรอบและกลุ่มต่างๆ ทำให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรง เพราะนอกจากจะต้องแข่งขันกันเองภายในประเทศเพื่อแย่งส่วนแบ่งตลาดแล้ว ยังต้องต่อสู้กับคู่แข่งจากต่างชาติด้วย โดยเฉพาะการแข่งขันกับประเทศสมาชิกในกลุ่มเศรษฐกิจนั้นๆ มีมาตรการการกีดกันการค้าใหม่ๆ ผลพวงจากการเปิดเสรีและการลดภาษี ทำให้ประเทศต่างๆหันมาใช้มาตรการกีดกันทางการค้าใหม่ๆที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการค้าโดยตรง ซึ่งประเทศพัฒนาแล้วได้พยายามผลักดันอย่างมากให้มีการกำหนดเป็นกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศ อาทิ ด้านสุขอนามัย สิ่งแวดล้อม แรงงาน และสิทธิมนุษยชน การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริโภค โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้วมีการตื่นตัวในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและสุขภาพมากขึ้น ความกังวลดังกล่าวส่งผลให้มีความสนใจในเรื่องขั้นตอนการหาวัตถุดิบ การผลิต ความปลอดภัย และสุขอนามัยในขั้นพื้นฐาน และการตัดแต่งทางพันธุกรรมทั้งในพืชและสัตว์ (Genetically Modified Organisms : GMOs) ทำให้การกำหนดมาตรฐานสากลและมาตรฐานความปลอดภัยของสินค้าต่างๆ มีความสำคัญต่อการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น กฎระเบียบโลกจะเข้ามามีบทบาทในการควบคุมกิจกรรมภายในประเทศอย่างกว้างขวาง จะส่งผลให้ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศขึ้นอยู่กับนโยบายการผลิตและการจำหน่ายของบริษัทระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น บทบาทของรัฐจะลดลง กระแสจากการดำเนินนโยบายแบบ Nationalization จะปรับเปลี่ยนไปสู่นโยบาย Privatization มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ภาครัฐโดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาหันมาให้ความสนใจกับการแปรรูปองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ให้เป็นรูปแบบของธุรกิจเอกชนมากขึ้น เทคโนโลยีมีบทบาทเพิ่มขึ้น เทคโนโลยีจะมีบทบาทนำในตลาดการค้า ซึ่งจะทำให้รูปแบบการค้าระหว่างประเทศในอนาคตเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากและรวดเร็ว อาทิ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) จะมีบทบาทสำคัญในยุคโลกการค้าขายที่ไร้พรมแดน รวมทั้งจะเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของคนในสังคมให้ก้าวหน้ามากขึ้น การค้าบริการจะมีลักษณะเป็นนานาชาติมากขึ้น บริษัทข้ามชาติจากประเทศพัฒนาแล้วจะขยายตลาดการให้บริการทั่วโลก กิจการที่สำคัญ คือ สถาบันการเงิน ประกันภัย โทรคมนาคม และธุรกิจค้าปลีก เป็นต้น จะทำให้การค้าบริการมีความเป็นสากลมากขึ้น 2. เศรษฐกิจการค้าไทย ปี 2000
ภาพรวมเศรษฐกิจไทย ในปี 2000 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 4.4 ตามภาคการผลิตที่มี ทิศทางการฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะจากภาคการส่งออกและการบริโภคของภาค เอกชนที่เพิ่มขึ้น ด้านเสถียรภาพ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ในขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลลดลง สำหรับสภาพคล่องทางการเงินจะยังคงอยู่ในระดับสูง ในขณะที่การปล่อยสินเชื่อจะปรับตัวดีขึ้น และอัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับต่ำต่อไปอีกระยะหนึ่ง ด้านการค้าระหว่างประเทศ คาดว่าการส่งออกในปี 2000 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-6 หรือมีมูลค่า 61-62 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (การส่งออก ปี 2542 มีมูลค่า 58.45 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 7.3) ในขณะที่การนำเข้าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นตามภาคการผลิตเพื่อส่งออกและอุปสงค์ภายในประเทศ ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัว แม้ว่าเศรษฐกิจโดยรวมจะมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังมีปัจจัยที่อ่อนแอทั้งจากปัญหาภายในและภายนอกประเทศ ที่สำคัญคือ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ยังอยู่ในระดับสูง ปัญหาการว่างงาน และปัจจัยภายนอกจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดคู่ค้าสำคัญ รวมทั้งราคา น้ำมันที่ยังคงอยู่ในระดับสูง แนวนโยบายที่จะมีความสำคัญในปี 2000 แม้ว่าในขณะนี้เศรษฐกิจจะมีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจนขึ้น แต่ก็ต้องยอมรับว่ายังอยู่ในระยะเริ่มต้น จึงต้องให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างทั้งภาคการผลิตและภาคการเงินเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันรวมทั้งการจัดการและการตลาด ในขณะที่ยังต้องดำเนินนโยบายการคลังอย่างระมัดระวังเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง 3. ผลกระทบของการเปิดเสรีภายใต้ WTO และกรอบต่างๆ
กติกาการค้าโลกที่เริ่มมีผลบังคับใช้ในปี 2000 จะส่งผลกระทบในระดับที่ต่างกันตามกรอบและระยะเวลาของการเปิดเสรี ดังนี้
ภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน การลดภาษีใน AFTA ตั้งแต่ 1 มกราคม 2543 จะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการและประชาชนของไทย จากต้นทุนและราคาสินค้าที่ถูกลง ดังนี้ ตลาดขยายกว้างขึ้น การลดภาษีทำให้สินค้าไทยมีราคาถูกลง ส่งผลให้ไทยมีตลาดส่งออกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มอาเซียน ดังเห็นได้จากส่วนแบ่งตลาดของไทยใน อาเซียนเพิ่มขึ้นจากลำดับที่ 9 (ร้อยละ 2.7) ในปี 2537 มาอยู่ในลำดับ 7 (ร้อยละ 3.5) ในปี 2541 และกลายเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทยอันดับที่ 1 ในช่วงปี 2538-2540 มีสัดส่วนกว่าร้อยละ 21 และลดลงมาเป็นตลาดส่งออกอันดับ 2 ในปี 2541-2542 เนื่องจากการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในหลายประเทศในอาเซียน ต้นทุนการผลิตลดลง การที่ไทยต้องลดภาษีสินค้าลง 7,737 รายการ ซึ่งในจำนวนนี้มีสินค้าวัตถุดิบที่เป็นปัจจัยสำคัญในการผลิต เช่น เคมีภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร มีราคาถูกลง ทำให้ความสามารถในการส่งออกของไทยเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าคุณภาพดี และราคาถูก การเปิดเสรีทำให้ผู้บริโภค สามารถเลือกซื้อสินค้า ซึ่งมีการแข่งขันทั้งในด้านราคาและคุณภาพได้หลากหลายมากขึ้น ในด้านการลงทุน การที่อาเซียนเป็นตลาดขนาดใหญ่มีประชากรเกือบ 500 ล้านคน เมื่อไม่มีกำแพงภาษีและข้อกีดกันทางการค้าอื่นๆ จึงเป็นแรงดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศได้อย่างมาก โดยเฉพาะไทยในฐานะที่ตั้งอยู่ในศูนย์กลางของภูมิภาค และมีความพร้อมในหลายๆ ด้าน ภายใต้กรอบ WTO กรอบกติกาภายใต้ WTO ในปี 2000 นี้ประเทศไทยยังคงไม่ได้รับผลกระทบที่ชัดเจน เพราะข้อผูกพันต่างๆ จะเห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนก็ต้องใช้เวลาอีกหลายปี อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรมทั่วไป แม้ว่าจะต้องลดภาษีภายในปี 1999 แต่ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในประเทศ เนื่องจากอัตราภาษีที่ผูกพันไว้ส่วนใหญ่จะสูงกว่าอัตราที่ไทยเก็บจริงในปัจจุบัน ในขณะที่การเปิดเสรีด้านการค้าบริการ ซึ่งไทยได้ผูกพันใน 10 สาขา ตั้งแต่ 1 มกราคม 1995 ยกเว้นด้านการเงินที่มีผลตั้งแต่ 1 มีนาคม 1999 และด้านโทรคมนาคมขั้นพื้นฐานจะเปิดเสรีในปี 2006 ก็เป็นการผูกพันเท่าที่กฎหมายบังคับใช้ในปัจจุบันเท่านั้น 4. ทางรอดของธุรกิจไทยในปี 2000
ปี 2000 เป็นปีที่ผู้ประกอบการต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์อย่างมากเพื่อรองรับการเปิดเสรี เพราะการลดภาษีสินค้าในกรอบต่างๆ ทั้ง WTO และ AFTA แม้ว่าจะส่งผลดีดังกล่าวข้างต้นแล้ว แต่ในทางตรงกันข้ามก็ต้องยอมรับว่าสินค้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะสินค้าสำเร็จรูปจะเข้ามาแข่งขันมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศที่ไม่มีศักยภาพในการผลิตและการแข่งขัน ขณะเดียวกันก็ต้องประสบกับการแข่งขันในตลาดต่างประเทศที่รุนแรง โดยจะมีการใช้มาตรการกีดกันทางการค้ารูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น ประกอบกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ธุรกิจจึงต้องมีการปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดและแข่งขันได้ทั้งในตลาดภายในและตลาดต่างประเทศ แนวทางการปรับตัวที่สำคัญ มีดังนี้
ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ด้วยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการผลิต การตลาด การบริหาร และการจัดการ รวมทั้งพัฒนาบุคลากร โดยเฉพาะด้านการค้าระหว่างประเทศเพื่อให้สามารถวางแผนและกำหนดกลยุทธ์ในระยะยาวได้ ปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของระบบมาตรฐานสากลของโลก การปรับตัวเข้าสู่ระบบการค้าสากล นักธุรกิจต้องยอมรับว่ามีความสำคัญยิ่ง เพราะการเปิดเสรีจะทำให้ความเป็น Local Company/Local Standard ลดลงไป และจะต้องมีความเป็นสากล (Global Standard) เข้ามาแทนที่ พัฒนารูปแบบของสินค้าให้ตรงความต้องการของตลาด โดยติดตามความเคลื่อนไหวของตลาดจาก พฤติกรรม และวัฒนธรรมของผู้บริโภค เพื่อให้รับรู้หรือคาดการณ์รสนิยมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงสินค้าได้ตามความต้องการของตลาด รวมทั้งการใช้ตราสัญลักษณ์ของตนเองแทนการรับจ้างการผลิต การเจาะหรือขยายตลาด โดยการเน้นเข้าหาผู้บริโภคให้มากที่สุดเพื่อเพิ่มมูลค่าให้ กับสินค้า ขณะเดียวกันก็ต้องปรับคุณภาพสินค้าในการเข้าสู่ตลาดระดับกลางและระดับบน ซึ่งถ้าทำเช่นนั้นได้ก็จะลดแรงกดดันทางด้านราคาลงได้เพราะเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีอำนาจซื้อสูง ขยายเครือข่ายทางการค้า โดยใช้ตัวแทนการค้าหรือหุ้นส่วนในต่างประเทศ เพื่อให้เป็นผู้ช่วยกระจายสินค้า เจาะตลาด และโฆษณาสินค้า รวมทั้งจัดตั้งองค์กรกลางเพื่อสร้างพันธมิตรกับบริษัทข้ามชาติเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและร่วมมือกันด้านการค้า เนื่องจากตลาดเหล่านี้มีเครือข่ายอยู่ทั่วโลก ซึ่งบริษัทของไทยก็ควรที่จะพัฒนาในลักษณะที่เป็นบริษัทข้ามชาติดังกล่าวเพื่อการเชื่อมโยงการค้ากับทั่วโลกทำได้ง่ายขึ้น ให้ความสำคัญกับการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) เนื่องจากเป็นกระแสที่มาเร็วและแรงในยุคนี้ โดย E-Commerce จะเป็นรูปแบบการค้าใหม่ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดต้นทุนแล้ว ยังสามารถติดต่อธุรกิจการค้าได้ทั่วโลกอย่างสะดวกและรวดเร็ว ธุรกิจที่จะอยู่รอดได้จึงต้องสามารถติดต่อ และสนองตอบตลาดได้อย่างมี ประสิทธิภาพและรวดเร็ว
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-