ที่ประชุมรัฐมนตรีการค้าไทย-สาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 11 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2542 ได้มีมติให้มีการศึกษาวิจัยความเป็นไปได้ในการจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ได้รับมอบหมายให้ทำการศึกษาเรื่องดังกล่าว โดยมีผู้แทนภาคเอกชน/นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเป็นที่ปรึกษาโครงการ และได้มีการประชุมหารือแลกเปลี่ยนข้อมูลและข้อคิดเห็นกับคณะผู้วิจัยของสาธารณรัฐเกาหลี (Korea Institute for Inter-national Economic Policy : KIEP) ไปแล้ว รวม 3 ครั้ง และจัดระดมสมอง 1 ครั้ง เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2543 การสัมมนาเรื่อง เขตการค้าเสรีไทยกับสาธารณรัฐเกาหลี : ผลประโยชน์หรือภัยคุกคาม เป็นการสัมมนาระดมสมองครั้งที่ 2 ของโครงการศึกษาวิจัยดังกล่าว โดยมีผู้ร่วมสัมมนาจากภาครัฐ เอกชน นักวิชาการ และสื่อมวลชน ประมาณ 120 คน ผลการสัมมนาสรุปได้ดังนี้
1. รศ.ดร. โสตถิธร มัลลิกะมาส รองคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ปรึกษาโครงการฯ ได้สรุปผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณของการจัดตั้งเขตการค้าเสรีไทย-สาธารณรัฐเกาหลี ดังนี้
1.1 ไทยและเกาหลีจะได้รับประโยชน์จากการจัดตั้งเขตการค้าเสรี โดยการลงทุน การบริโภค ผลผลิต และการค้าระหว่างประเทศจะขยายตัวมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ดุลการค้าของทั้งสองประเทศจะขาดดุล เพราะการลงทุนที่สูงขึ้นทำให้มีการนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบเพิ่มขึ้น แต่เนื่องจากการค้าระหว่างกันมีมูลค่าไม่มาก ทำให้ผลกระทบด้านต่างๆ ต่อเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศมีค่อนข้างน้อย ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณของนักวิจัยฝ่ายเกาหลี
1.2 ภาคการเกษตรของไทยจะได้รับประโยชน์จากการที่ราคาผลผลิตและมูลค่าการ ส่งออกสูงขึ้น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ข้าว อาหารแปรรูป ผัก ผลไม้ น้ำตาล และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ในขณะเดียวกันภาคอุตสาหกรรมจะได้รับประโยชน์จากวัตถุดิบนำเข้าที่ต่ำ อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมบางประเภทที่ไม่สามารถแข่งขันได้จะได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม รถยนต์และชิ้นส่วน เคมีภัณฑ์ และเหล็ก เป็นต้น
2. วิทยากรและผู้เข้าร่วมสัมมนา ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า การจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างไทย- สาธารณรัฐเกาหลี จะสร้างโอกาสให้มีการขยายการค้าการลงทุนระหว่างกัน และจะทำให้ไทยได้เปรียบคู่แข่งขันอื่น ๆ ในตลาดเกาหลี เนื่องจากสินค้าที่เกาหลีนำเข้าจากไทยจะมีราคาต่ำลงเพราะไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าและไม่มีการใช้มาตราการกีดกันที่ไม่ใช่ภาษี โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่นอาหาร ซึ่งในปัจจุบันเกาหลีเก็บภาษีนำเข้าและมีการกีดกันที่ไม่ใช่ภาษีในอัตราสูง เช่น ผัก ผลไม้ 81.67 % ข้าว 105 % อาหารแปรรูป 43 % (รวมอัตราการกีดกันที่ไม่ใช่ภาษี) อย่างไรก็ตาม การจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างไทย-สาธารณรัฐเกาหลี อาจต้องใช้เวลาให้ทั้งฝ่ายไทยและเกาหลีปรับตัว เนื่องจากปัญหาการเปิดตลาดสินค้าเกษตรของสาธารณรัฐเกาหลี ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมของไทยบางสาขาอาจต้องการเวลาในการปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ทั้งนี้ หากไทยจะดำเนินการเขตการค้าเสรีกับสาธารณรัฐเกาหลีก็ควรเจรจาให้มีการเปิดตลาดสินค้าเกษตร โดยเฉพาะการผ่อนคลายมาตรการที่มิใช่ภาษี ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญ เพื่อให้การส่งออกของไทยไปเกาหลีขยายตัวมากขึ้น กลุ่มสินค้าเกษตรที่ไทยจะขยายตลาดได้ ได้แก่ อาหารสำเร็จรูป/แช่แข็ง กล้วยหอม ทุเรียน และดอกกล้วยไม้ นอกจากนี้ ควรผลักดันให้เกาหลีเปิดตลาดสินค้าข้าว ประเภท table rice เข้าไปขายในภัตตาคาร/โรงแรมของเกาหลี ซึ่งไทยจะเจรจาได้ง่ายกว่าและได้รับประโยชน์มากกว่าการเปิดตลาดให้มีการนำเข้าข้าวโดยทั่วไป สินค้าอุตสาหกรรมที่มีโอกาสจะขยายตลาดในเกาหลีได้มาก ได้แก่ สินค้าที่ผลิตโดยแรงงานที่มีฝีมือ เช่น เสื้อผ้าคุณภาพดี และผลิตภัณฑ์หัตถกรรม ที่ถูกกับรสนิยมของตลาดเป็นหลัก และควรใช้การท่องเที่ยวเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์/ส่งออก สินค้าไทย โดยเฉพาะอาหารไทย ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวจากเกาหลีเข้ามาในไทยปีละกว่า 5 แสนคน ซึ่งสินค้าที่นักท่องเที่ยวนิยมซื้อ คือ อัญมณีและเครื่องประดับ ในส่วนของการบริการการก่อสร้าง เป็นสาขาบริการที่ไทยมีความสามารถในการแข่งขัน แต่หากมีการจัดทำเขตการค้าเสรี ควรมีปรับระบบการจัดการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และมีองค์กรดูแลสนับสนุน
3. ผลการศึกษาและการสัมมนาระดมสมองทั้งสองครั้งที่ผ่านมาของฝ่ายไทยจะนำไปสรุปเป็นแถลงการณ์ร่วม (Joint Statement) ปลายเดือนมีนาคมนี้ และใช้เป็นประเด็นสำหรับการหารือของรัฐมนตรีการค้าของไทยและสาธารณรัฐเกาหลีที่จะจัดขึ้นปลายปี 2544 ที่สาธารณรัฐเกาหลี เพื่อพิจารณาว่าควรมีการเจรจาจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างกันหรือไม่ และควรจะมีแนวทางในการขยายความร่วมมือทางการค้าระหว่างกันอย่างไร
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
1. รศ.ดร. โสตถิธร มัลลิกะมาส รองคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ปรึกษาโครงการฯ ได้สรุปผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณของการจัดตั้งเขตการค้าเสรีไทย-สาธารณรัฐเกาหลี ดังนี้
1.1 ไทยและเกาหลีจะได้รับประโยชน์จากการจัดตั้งเขตการค้าเสรี โดยการลงทุน การบริโภค ผลผลิต และการค้าระหว่างประเทศจะขยายตัวมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ดุลการค้าของทั้งสองประเทศจะขาดดุล เพราะการลงทุนที่สูงขึ้นทำให้มีการนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบเพิ่มขึ้น แต่เนื่องจากการค้าระหว่างกันมีมูลค่าไม่มาก ทำให้ผลกระทบด้านต่างๆ ต่อเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศมีค่อนข้างน้อย ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณของนักวิจัยฝ่ายเกาหลี
1.2 ภาคการเกษตรของไทยจะได้รับประโยชน์จากการที่ราคาผลผลิตและมูลค่าการ ส่งออกสูงขึ้น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ข้าว อาหารแปรรูป ผัก ผลไม้ น้ำตาล และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ในขณะเดียวกันภาคอุตสาหกรรมจะได้รับประโยชน์จากวัตถุดิบนำเข้าที่ต่ำ อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมบางประเภทที่ไม่สามารถแข่งขันได้จะได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม รถยนต์และชิ้นส่วน เคมีภัณฑ์ และเหล็ก เป็นต้น
2. วิทยากรและผู้เข้าร่วมสัมมนา ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า การจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างไทย- สาธารณรัฐเกาหลี จะสร้างโอกาสให้มีการขยายการค้าการลงทุนระหว่างกัน และจะทำให้ไทยได้เปรียบคู่แข่งขันอื่น ๆ ในตลาดเกาหลี เนื่องจากสินค้าที่เกาหลีนำเข้าจากไทยจะมีราคาต่ำลงเพราะไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าและไม่มีการใช้มาตราการกีดกันที่ไม่ใช่ภาษี โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่นอาหาร ซึ่งในปัจจุบันเกาหลีเก็บภาษีนำเข้าและมีการกีดกันที่ไม่ใช่ภาษีในอัตราสูง เช่น ผัก ผลไม้ 81.67 % ข้าว 105 % อาหารแปรรูป 43 % (รวมอัตราการกีดกันที่ไม่ใช่ภาษี) อย่างไรก็ตาม การจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างไทย-สาธารณรัฐเกาหลี อาจต้องใช้เวลาให้ทั้งฝ่ายไทยและเกาหลีปรับตัว เนื่องจากปัญหาการเปิดตลาดสินค้าเกษตรของสาธารณรัฐเกาหลี ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมของไทยบางสาขาอาจต้องการเวลาในการปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ทั้งนี้ หากไทยจะดำเนินการเขตการค้าเสรีกับสาธารณรัฐเกาหลีก็ควรเจรจาให้มีการเปิดตลาดสินค้าเกษตร โดยเฉพาะการผ่อนคลายมาตรการที่มิใช่ภาษี ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญ เพื่อให้การส่งออกของไทยไปเกาหลีขยายตัวมากขึ้น กลุ่มสินค้าเกษตรที่ไทยจะขยายตลาดได้ ได้แก่ อาหารสำเร็จรูป/แช่แข็ง กล้วยหอม ทุเรียน และดอกกล้วยไม้ นอกจากนี้ ควรผลักดันให้เกาหลีเปิดตลาดสินค้าข้าว ประเภท table rice เข้าไปขายในภัตตาคาร/โรงแรมของเกาหลี ซึ่งไทยจะเจรจาได้ง่ายกว่าและได้รับประโยชน์มากกว่าการเปิดตลาดให้มีการนำเข้าข้าวโดยทั่วไป สินค้าอุตสาหกรรมที่มีโอกาสจะขยายตลาดในเกาหลีได้มาก ได้แก่ สินค้าที่ผลิตโดยแรงงานที่มีฝีมือ เช่น เสื้อผ้าคุณภาพดี และผลิตภัณฑ์หัตถกรรม ที่ถูกกับรสนิยมของตลาดเป็นหลัก และควรใช้การท่องเที่ยวเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์/ส่งออก สินค้าไทย โดยเฉพาะอาหารไทย ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวจากเกาหลีเข้ามาในไทยปีละกว่า 5 แสนคน ซึ่งสินค้าที่นักท่องเที่ยวนิยมซื้อ คือ อัญมณีและเครื่องประดับ ในส่วนของการบริการการก่อสร้าง เป็นสาขาบริการที่ไทยมีความสามารถในการแข่งขัน แต่หากมีการจัดทำเขตการค้าเสรี ควรมีปรับระบบการจัดการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และมีองค์กรดูแลสนับสนุน
3. ผลการศึกษาและการสัมมนาระดมสมองทั้งสองครั้งที่ผ่านมาของฝ่ายไทยจะนำไปสรุปเป็นแถลงการณ์ร่วม (Joint Statement) ปลายเดือนมีนาคมนี้ และใช้เป็นประเด็นสำหรับการหารือของรัฐมนตรีการค้าของไทยและสาธารณรัฐเกาหลีที่จะจัดขึ้นปลายปี 2544 ที่สาธารณรัฐเกาหลี เพื่อพิจารณาว่าควรมีการเจรจาจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างกันหรือไม่ และควรจะมีแนวทางในการขยายความร่วมมือทางการค้าระหว่างกันอย่างไร
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-