นายเกริกไกร จีระแพทย์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2543 สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ได้ประกาศเปิดไต่สวนการทุ่มตลาดสินค้าพีวีซีชนิดอ่อนที่นำเข้าจากไทย เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ และอินเดีย โดยกล่าวหาว่า การนำเข้าสินค้าดังกล่าวทำให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้
กรมการค้าต่างประเทศได้ดำเนินการโต้แย้งข้อกล่าวหาไปยังสาธารณรัฐแอฟริกาใต้โดยแจ้งว่า กระบวนการเปิดไต่สวนของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ไม่เป็นไปตามความตกลงการทุ่มตลาดขององค์การการค้าโลก และในการเปิดไต่สวนดังกล่าวก็ไม่สามารถแสดงให้เห็นได้ว่าสินค้าที่นำเข้าจากประเทศไทยทำให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในอย่างไร ในที่สุดสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ได้ยุติการไต่สวนสินค้าพีวีซีของไทยเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2543
นอกจากนี้ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา การส่งออกสินค้าพีวีซีชนิดอ่อนของไทยมีการขยายตัวมากขึ้นหลายตลาดในต่างประเทศ เนื่องจากการพัฒนาคุณภาพคุณภาพและรูปแบบของสินค้าจนเป็นที่ยอมรับของต่างประเทศ โดยในปี 2541 มีปริมาณการส่งออก 48,000 ตัน และเพิ่มเป็น 56,000 ตัน ในปี 2542 เมื่อเทียบกับช่วง 5 เดือนแรกของปี 2543 การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.58 ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไนจีเรีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสหภาพพม่า
อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกควรระมัดระวังในเรื่องการเสนอขายสินค้าโดยเฉพาะราคาส่งออก และราคาภายในประเทศ เพื่อมิให้เกิดปัญหาการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดแต่หากถูกเปิดไต่สวนผู้ผลิต/ผู้ส่งออกควรร่วมมือกับภาครัฐในการเตรียมข้อมูลตอบแบบสอบถามและประเด็นโต้แย้งในการต่อสู้คดีด้วย ซึ่งจะทำให้การดำเนินการเป็นประโยชน์กับฝ่ายไทยมากที่สุด--จบ--
--กรมการค้าต่างประเทศ สิงหาคม 2543--
-อน-
กรมการค้าต่างประเทศได้ดำเนินการโต้แย้งข้อกล่าวหาไปยังสาธารณรัฐแอฟริกาใต้โดยแจ้งว่า กระบวนการเปิดไต่สวนของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ไม่เป็นไปตามความตกลงการทุ่มตลาดขององค์การการค้าโลก และในการเปิดไต่สวนดังกล่าวก็ไม่สามารถแสดงให้เห็นได้ว่าสินค้าที่นำเข้าจากประเทศไทยทำให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในอย่างไร ในที่สุดสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ได้ยุติการไต่สวนสินค้าพีวีซีของไทยเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2543
นอกจากนี้ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา การส่งออกสินค้าพีวีซีชนิดอ่อนของไทยมีการขยายตัวมากขึ้นหลายตลาดในต่างประเทศ เนื่องจากการพัฒนาคุณภาพคุณภาพและรูปแบบของสินค้าจนเป็นที่ยอมรับของต่างประเทศ โดยในปี 2541 มีปริมาณการส่งออก 48,000 ตัน และเพิ่มเป็น 56,000 ตัน ในปี 2542 เมื่อเทียบกับช่วง 5 เดือนแรกของปี 2543 การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.58 ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไนจีเรีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสหภาพพม่า
อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกควรระมัดระวังในเรื่องการเสนอขายสินค้าโดยเฉพาะราคาส่งออก และราคาภายในประเทศ เพื่อมิให้เกิดปัญหาการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดแต่หากถูกเปิดไต่สวนผู้ผลิต/ผู้ส่งออกควรร่วมมือกับภาครัฐในการเตรียมข้อมูลตอบแบบสอบถามและประเด็นโต้แย้งในการต่อสู้คดีด้วย ซึ่งจะทำให้การดำเนินการเป็นประโยชน์กับฝ่ายไทยมากที่สุด--จบ--
--กรมการค้าต่างประเทศ สิงหาคม 2543--
-อน-