ดอลลาร์สรอ. ปรับตัวอ่อนลงเมื่อเทียบกับเยนญี่ปุ่น แต่ปรับตัวแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับยูโรและปอนด์สเตอร์ลิง
ดอลลาร์สรอ.
เศรษฐกิจโดยรวมของสหรัฐอเมริกายังคงชะลอตัว โดยพิจารณาจากตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายนลดลงร้อยละ 0.07 โดยเป็นการลดลงของสินค้าในหมวด hi-tech อุปกรณ์สื่อสารและโทรคมนาคม อัตราการว่างงานเดือนมิถุนายน เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4.5 หลังจากลดลงเป็นร้อยละ 4.4 ในเดือนพฤษภาคม โดยดัชนีการจ้างงานนอกภาคการเกษตรลดลง 114,000 คน ขณะเดียวกัน ความไม่แน่ใจในปัญหาของประเทศ ในแถบละตินอเมริกา ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่กดดันค่าเงินดอลลาร์ สรอ. อนึ่ง ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ลงจากร้อยละ 4.0 เหลือร้อยละ 3.75 และ อัตราดอกเบี้ย Discount จากร้อยละ 3.5 เหลือร้อยละ 3.25 ในวันที่ 27 มิถุนายน ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 6 ในรอบปี
ยูโร
ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในเดือนกรกฎาคม โดยมีปัจจัยบวกจากตัวเลขเศรษฐกิจบางตัวของกลุ่มยุโรปสะท้อนภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้น อาทิ ผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับเดือนเมษายนที่ลดลงร้อยละ 1.4 ตัวเลขขายปลีกของเยอรมันปรับตัวดีขึ้นกว่าที่ตลาดคาดไว้ รวมถึงการปรับตัวอ่อนลงของค่าเงินดอลลาร์สรอ. ซึ่งได้รับ แรงกดดันจากภาพเศรษฐกิจที่ยังคงชะลอตัว ในขณะที่การ คาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจของสถาบัน IFO เป็นไปในทางที่ดีขึ้นโดยอัตราการเจริญเติบโตของ Eurozone อยู่ที่ร้อยละ 2.1 จากเดิมร้อยละ 1.9 อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยลบจากตัวเลขการ ว่างงานของเยอรมนีที่เพิ่มขึ้น 22,000 ตำแหน่งในเดือนมิถุนายน รวมทั้งการที่ธนาคารกลางยุโรปยังคงไม่ลดอัตราดอกเบี้ย
เยน
ค่าเงินเยนเฉลี่ยเดือนกรกฎาคมปรับตัวอ่อนลง เนื่อง มาจากนักลงทุนยังคงกังวลกับภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่ยังคงอ่อนแอ โดยพิจารณาจากตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายนที่ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 โดยลดลงร้อยละ 0.7 ด้านดุลการค้าและบริการขาดดุล 197 พันล้านเยน ซึ่งเป็นการ ติดลบครั้งแรกตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา ตัวเลขการว่างงาน อยู่ที่ร้อยละ 4.9 เป็นระดับสูงสุดในประวัติการณ์ ในขณะที่รายงานประจำเดือนกรกฎาคมของธนาคารกลางญี่ปุ่นได้ประเมินว่าญี่ปุ่นยังคงมีการชะลอตัวต่อไปและมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น นักลงทุน จึงคาดการณ์ว่าจะมีการดำเนินนโยบายผ่อนปรนลงไปอีก เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ นอกจากนี้ การที่ทางการญี่ปุ่น ได้ออกมายอมรับการอ่อนตัวของค่าเงินเยน และปล่อยให้ค่าเงินเยนเป็นไปตามกลไกตลาด ก็นับเป็นปัจจัยลบต่อค่าเงินเยน
? ค่าเงินสกุลสำคัญในภูมิภาค ได้แก่ เปโซฟิลิปปินส์ ดอลลาร์สิงคโปร์ เงินวอนเกาหลีใต้ปรับตัวอ่อนลง ในขณะที่รูเปียอินโดนีเซียปรับตัวแข็งขึ้น
อินโดนีเซีย
ค่าเงินรูเปียเฉลี่ยเดือนกรกฎาคมมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น หลังจากปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองได้ยุติลง โดย รองประธานาธิบดี Megawati เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีแทน ส่งผลให้ค่าเงินรูเปียแข็งสุดที่ระดับ 9,800 รูเปียต่อดอลลาร์สรอ. นับเป็นระดับที่แข็งสุดในรอบ 4 เดือน อย่างไรก็ตาม ตลาดยังคงให้ความสำคัญต่อการประกาศรายชื่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ นอกจากนี้ ค่าเงินรูเปียยังได้รับแรงสนับสนุนจากข่าวบริษัท จัดอันดับความน่าเชื่อถือ Moody อยู่ในช่วงการพิจารณาปรับเพิ่ม Rating ให้กับอินโดนีเซีย
ฟิลิปปินส์
เงินเปโซปรับตัวอ่อนลงในเดือนกรกฎาคม ทั้งนี้ เป็นผลมาจากความต้องการซื้อเงินดอลลาร์สรอ. ของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะภาคพลังงานและน้ำมัน ในขณะที่มีข่าวว่ารัฐบาลอาจประสบปัญหาการใช้จ่ายงบประมาณเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้จำนวน 145 พันล้านบาท รวมถึงความกังวลของนักลงทุน เกี่ยวกับปัญหาทางการเงินในอาร์เจนตินาประกอบกับความกังวลว่าธนาคารกลางของฟิลิปปินส์จะเข้าแทรกแซงค่าเงินเปโซ
ไต้หวัน
เงินดอลลาร์ไต้หวันเฉลี่ยเดือนกรกฎาคมอ่อนค่าลง โดยมีปัจจัยลบจากการอ่อนค่าลงของค่าเงินเยน ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไต้หวันปรับตัวลดลง ในขณะที่ตัวเลขการส่งออก ในเดือนมิถุนายนลดลงร้อยละ 16.6 จากระยะเดียวกันปีก่อนหน้า รวมถึงการที่ S&P ประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือสำหรับ long-term issuer จากระดับ AA+ เป็น AA และยังคงให้ outlook เป็น negative อีกด้วย
สิงคโปร์
เงินดอลลาร์สิงคโปร์อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ เป็นผลมาเศรษฐกิจที่มีสัญญาณการชะลอตัว โดยตัวเลข Advanced GDP ในไตรมาสที่ 2 หดตัวร้อยละ 0.8 เทียบกับไตรมาสแรกที่ขยายตัวร้อยละ 4.5 ขณะเดียวกันได้มีการประกาศลดการคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจจากร้อยละ 3.5-5.5 เป็นร้อยละ 0.5-1.5 ส่งผลกดดันค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์ นอกจากนี้ ธนาคารกลางสิงคโปร์ได้ประกาศเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินจากระดับเข้มงวดมาเป็นระดับปกติเพื่อกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจอีกด้วย
ความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในตลาด onshore และราคาทองคำ
ในเดือนกรกฎาคม อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทในตลาดระหว่างธนาคาร (interbank) มีค่าเฉลี่ย 45.62 บาทต่อดอลลาร์สรอ. และอัตราเฉลี่ยซื้อ-ขายระหว่างธนาคารพาณิชย์กับลูกค้า (retail rate) มีค่าเฉลี่ย 45.57 บาทต่อดอลลาร์สรอ. อ่อนลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.82 และ 0.81 ตามลำดับ ค่าเงินบาทเทียบเงินสกุลสำคัญในเดือนกรกฎาคมมีค่าเฉลี่ยอ่อนลง เมื่อเทียบกับดอลลาร์สรอ. (ร้อยละ 0.82) ยูโร (1.71) ปอนด์สเตอร์ลิง (1.66) แต่มีค่าเฉลี่ยแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับ เยนญี่ปุ่น (1.13) ค่าเงินบาทเทียบกับเงินสกุลต่างๆ ในภูมิภาคมีค่าเฉลี่ยอ่อนลงเทียบกับ ดอลลาร์ฮ่องกง (0.80) ริงกิตมาเลเซีย (0.80) ดอลลาร์สิงคโปร์ (ร้อยละ 0.37) และรูเปียอินโดนีเซีย (4.08) แต่แข็งขึ้นเทียบกับ เปโซฟิลิปปินส์ (2.51)
ปัจจัยลบที่มีผลต่อค่าเงินบาท
การปรับตัวอ่อนลงของค่าเงินเยน ซึ่งปรับตัวอ่อนสุดใกล้ระดับ 126 เยนต่อดอลลาร์สรอ. ทั้งนี้ เนื่องจากตลาดมองว่าค่าเงินเยนยังคงปรับตัวอ่อนลงได้อีก การปรับตัวอ่อนลงของค่าเงินในภูมิภาคอย่าง ต่อเนื่อง โดยเฉพาะดอลลาร์สิงคโปร์ ดอลลาร์ไต้หวัน เปโซฟิลิปปินส์ ตลาดมองว่ามีความเป็นไปได้ที่ธนาคาร แห่งประเทศไทยจะผ่อนคลายกฎเกณฑ์การ รายงานตารางแนบ ธต. 40 สำหรับบัญชีเงินบาทของ Non-resident ความกังวลเกี่ยวกับคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องการปกปิดการแสดงบัญชีทรัพย์สินของนายกรัฐมนตรี ปัจจัยบวกที่มีผลต่อค่าเงินบาท
การอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์สรอ. เนื่องจากตลาดมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกายังคงมี แนวโน้มชะลอลง อาจต้องมีการลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอีก จึงเป็นแรงกดดันต่อค่าเงินดอลลาร์สรอ. ส่งผลให้ค่าเงินเยนและค่าเงิน ภูมิภาคแข็งค่าขึ้น การปรับตัวแข็งขึ้นของค่าเงินรูเปียอินโดนีเซีย หลังจากสถานการณ์ทางการเมืองเข้าสู่ภาวะปกติ การที่ตลาดมองว่า ธปท. เข้าแทรกแซงค่าเงินบาท และการปรับตัวสูงขึ้นของดอกเบี้ยเงินบาทในตลาดต่างประเทศ
ความเคลื่อนไหวในตลาดเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า
อัตรา swap premium ระยะ T/N มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 2.80 โดยเคลื่อนไหวในช่วงค่อนข้างแคบสะท้อน ดอกเบี้ยระหว่างร้อยละ 2.48 ถึงร้อยละ 3.14 โดยได้ลดความผันผวนลงเมื่อเทียบกับการเคลื่อนไหว ในเดือนที่ผ่านมา อัตรา swap premium ระยะ 1 เดือน และ 3 เดือน ค่อนข้างทรงตัว โดยค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.19 และ ร้อยละ 3.35 ตามลำดับ ส่วนต่างดอกเบี้ยบาท (อัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร) และอัตราดอกเบี้ยดอลลาร์สรอ. (Fed Funds Rate) ในเดือนกรกฎาคม มีค่าเฉลี่ยติดลบร้อยละ 1.39 ต่อปี (ดอกเบี้ย Fed Funds Rate สูงกว่าดอกเบี้ยบาท) ราคาทองคำ
ในเดือนกรกฎาคม 2544 ราคาทองคำในตลาด ต่างประเทศมีค่าเฉลี่ยลดลงเป็น 267.61 ดอลลาร์สรอ. ต่อทรอยเอานซ์ จากค่าเฉลี่ย 270.48 ดอลลาร์สรอ. ในเดือนก่อนหน้า
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ดอลลาร์สรอ.
เศรษฐกิจโดยรวมของสหรัฐอเมริกายังคงชะลอตัว โดยพิจารณาจากตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายนลดลงร้อยละ 0.07 โดยเป็นการลดลงของสินค้าในหมวด hi-tech อุปกรณ์สื่อสารและโทรคมนาคม อัตราการว่างงานเดือนมิถุนายน เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4.5 หลังจากลดลงเป็นร้อยละ 4.4 ในเดือนพฤษภาคม โดยดัชนีการจ้างงานนอกภาคการเกษตรลดลง 114,000 คน ขณะเดียวกัน ความไม่แน่ใจในปัญหาของประเทศ ในแถบละตินอเมริกา ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่กดดันค่าเงินดอลลาร์ สรอ. อนึ่ง ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ลงจากร้อยละ 4.0 เหลือร้อยละ 3.75 และ อัตราดอกเบี้ย Discount จากร้อยละ 3.5 เหลือร้อยละ 3.25 ในวันที่ 27 มิถุนายน ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 6 ในรอบปี
ยูโร
ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในเดือนกรกฎาคม โดยมีปัจจัยบวกจากตัวเลขเศรษฐกิจบางตัวของกลุ่มยุโรปสะท้อนภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้น อาทิ ผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับเดือนเมษายนที่ลดลงร้อยละ 1.4 ตัวเลขขายปลีกของเยอรมันปรับตัวดีขึ้นกว่าที่ตลาดคาดไว้ รวมถึงการปรับตัวอ่อนลงของค่าเงินดอลลาร์สรอ. ซึ่งได้รับ แรงกดดันจากภาพเศรษฐกิจที่ยังคงชะลอตัว ในขณะที่การ คาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจของสถาบัน IFO เป็นไปในทางที่ดีขึ้นโดยอัตราการเจริญเติบโตของ Eurozone อยู่ที่ร้อยละ 2.1 จากเดิมร้อยละ 1.9 อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยลบจากตัวเลขการ ว่างงานของเยอรมนีที่เพิ่มขึ้น 22,000 ตำแหน่งในเดือนมิถุนายน รวมทั้งการที่ธนาคารกลางยุโรปยังคงไม่ลดอัตราดอกเบี้ย
เยน
ค่าเงินเยนเฉลี่ยเดือนกรกฎาคมปรับตัวอ่อนลง เนื่อง มาจากนักลงทุนยังคงกังวลกับภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่ยังคงอ่อนแอ โดยพิจารณาจากตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายนที่ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 โดยลดลงร้อยละ 0.7 ด้านดุลการค้าและบริการขาดดุล 197 พันล้านเยน ซึ่งเป็นการ ติดลบครั้งแรกตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา ตัวเลขการว่างงาน อยู่ที่ร้อยละ 4.9 เป็นระดับสูงสุดในประวัติการณ์ ในขณะที่รายงานประจำเดือนกรกฎาคมของธนาคารกลางญี่ปุ่นได้ประเมินว่าญี่ปุ่นยังคงมีการชะลอตัวต่อไปและมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น นักลงทุน จึงคาดการณ์ว่าจะมีการดำเนินนโยบายผ่อนปรนลงไปอีก เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ นอกจากนี้ การที่ทางการญี่ปุ่น ได้ออกมายอมรับการอ่อนตัวของค่าเงินเยน และปล่อยให้ค่าเงินเยนเป็นไปตามกลไกตลาด ก็นับเป็นปัจจัยลบต่อค่าเงินเยน
? ค่าเงินสกุลสำคัญในภูมิภาค ได้แก่ เปโซฟิลิปปินส์ ดอลลาร์สิงคโปร์ เงินวอนเกาหลีใต้ปรับตัวอ่อนลง ในขณะที่รูเปียอินโดนีเซียปรับตัวแข็งขึ้น
อินโดนีเซีย
ค่าเงินรูเปียเฉลี่ยเดือนกรกฎาคมมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น หลังจากปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองได้ยุติลง โดย รองประธานาธิบดี Megawati เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีแทน ส่งผลให้ค่าเงินรูเปียแข็งสุดที่ระดับ 9,800 รูเปียต่อดอลลาร์สรอ. นับเป็นระดับที่แข็งสุดในรอบ 4 เดือน อย่างไรก็ตาม ตลาดยังคงให้ความสำคัญต่อการประกาศรายชื่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ นอกจากนี้ ค่าเงินรูเปียยังได้รับแรงสนับสนุนจากข่าวบริษัท จัดอันดับความน่าเชื่อถือ Moody อยู่ในช่วงการพิจารณาปรับเพิ่ม Rating ให้กับอินโดนีเซีย
ฟิลิปปินส์
เงินเปโซปรับตัวอ่อนลงในเดือนกรกฎาคม ทั้งนี้ เป็นผลมาจากความต้องการซื้อเงินดอลลาร์สรอ. ของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะภาคพลังงานและน้ำมัน ในขณะที่มีข่าวว่ารัฐบาลอาจประสบปัญหาการใช้จ่ายงบประมาณเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้จำนวน 145 พันล้านบาท รวมถึงความกังวลของนักลงทุน เกี่ยวกับปัญหาทางการเงินในอาร์เจนตินาประกอบกับความกังวลว่าธนาคารกลางของฟิลิปปินส์จะเข้าแทรกแซงค่าเงินเปโซ
ไต้หวัน
เงินดอลลาร์ไต้หวันเฉลี่ยเดือนกรกฎาคมอ่อนค่าลง โดยมีปัจจัยลบจากการอ่อนค่าลงของค่าเงินเยน ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไต้หวันปรับตัวลดลง ในขณะที่ตัวเลขการส่งออก ในเดือนมิถุนายนลดลงร้อยละ 16.6 จากระยะเดียวกันปีก่อนหน้า รวมถึงการที่ S&P ประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือสำหรับ long-term issuer จากระดับ AA+ เป็น AA และยังคงให้ outlook เป็น negative อีกด้วย
สิงคโปร์
เงินดอลลาร์สิงคโปร์อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ เป็นผลมาเศรษฐกิจที่มีสัญญาณการชะลอตัว โดยตัวเลข Advanced GDP ในไตรมาสที่ 2 หดตัวร้อยละ 0.8 เทียบกับไตรมาสแรกที่ขยายตัวร้อยละ 4.5 ขณะเดียวกันได้มีการประกาศลดการคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจจากร้อยละ 3.5-5.5 เป็นร้อยละ 0.5-1.5 ส่งผลกดดันค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์ นอกจากนี้ ธนาคารกลางสิงคโปร์ได้ประกาศเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินจากระดับเข้มงวดมาเป็นระดับปกติเพื่อกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจอีกด้วย
ความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในตลาด onshore และราคาทองคำ
ในเดือนกรกฎาคม อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทในตลาดระหว่างธนาคาร (interbank) มีค่าเฉลี่ย 45.62 บาทต่อดอลลาร์สรอ. และอัตราเฉลี่ยซื้อ-ขายระหว่างธนาคารพาณิชย์กับลูกค้า (retail rate) มีค่าเฉลี่ย 45.57 บาทต่อดอลลาร์สรอ. อ่อนลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.82 และ 0.81 ตามลำดับ ค่าเงินบาทเทียบเงินสกุลสำคัญในเดือนกรกฎาคมมีค่าเฉลี่ยอ่อนลง เมื่อเทียบกับดอลลาร์สรอ. (ร้อยละ 0.82) ยูโร (1.71) ปอนด์สเตอร์ลิง (1.66) แต่มีค่าเฉลี่ยแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับ เยนญี่ปุ่น (1.13) ค่าเงินบาทเทียบกับเงินสกุลต่างๆ ในภูมิภาคมีค่าเฉลี่ยอ่อนลงเทียบกับ ดอลลาร์ฮ่องกง (0.80) ริงกิตมาเลเซีย (0.80) ดอลลาร์สิงคโปร์ (ร้อยละ 0.37) และรูเปียอินโดนีเซีย (4.08) แต่แข็งขึ้นเทียบกับ เปโซฟิลิปปินส์ (2.51)
ปัจจัยลบที่มีผลต่อค่าเงินบาท
การปรับตัวอ่อนลงของค่าเงินเยน ซึ่งปรับตัวอ่อนสุดใกล้ระดับ 126 เยนต่อดอลลาร์สรอ. ทั้งนี้ เนื่องจากตลาดมองว่าค่าเงินเยนยังคงปรับตัวอ่อนลงได้อีก การปรับตัวอ่อนลงของค่าเงินในภูมิภาคอย่าง ต่อเนื่อง โดยเฉพาะดอลลาร์สิงคโปร์ ดอลลาร์ไต้หวัน เปโซฟิลิปปินส์ ตลาดมองว่ามีความเป็นไปได้ที่ธนาคาร แห่งประเทศไทยจะผ่อนคลายกฎเกณฑ์การ รายงานตารางแนบ ธต. 40 สำหรับบัญชีเงินบาทของ Non-resident ความกังวลเกี่ยวกับคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องการปกปิดการแสดงบัญชีทรัพย์สินของนายกรัฐมนตรี ปัจจัยบวกที่มีผลต่อค่าเงินบาท
การอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์สรอ. เนื่องจากตลาดมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกายังคงมี แนวโน้มชะลอลง อาจต้องมีการลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอีก จึงเป็นแรงกดดันต่อค่าเงินดอลลาร์สรอ. ส่งผลให้ค่าเงินเยนและค่าเงิน ภูมิภาคแข็งค่าขึ้น การปรับตัวแข็งขึ้นของค่าเงินรูเปียอินโดนีเซีย หลังจากสถานการณ์ทางการเมืองเข้าสู่ภาวะปกติ การที่ตลาดมองว่า ธปท. เข้าแทรกแซงค่าเงินบาท และการปรับตัวสูงขึ้นของดอกเบี้ยเงินบาทในตลาดต่างประเทศ
ความเคลื่อนไหวในตลาดเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า
อัตรา swap premium ระยะ T/N มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 2.80 โดยเคลื่อนไหวในช่วงค่อนข้างแคบสะท้อน ดอกเบี้ยระหว่างร้อยละ 2.48 ถึงร้อยละ 3.14 โดยได้ลดความผันผวนลงเมื่อเทียบกับการเคลื่อนไหว ในเดือนที่ผ่านมา อัตรา swap premium ระยะ 1 เดือน และ 3 เดือน ค่อนข้างทรงตัว โดยค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.19 และ ร้อยละ 3.35 ตามลำดับ ส่วนต่างดอกเบี้ยบาท (อัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร) และอัตราดอกเบี้ยดอลลาร์สรอ. (Fed Funds Rate) ในเดือนกรกฎาคม มีค่าเฉลี่ยติดลบร้อยละ 1.39 ต่อปี (ดอกเบี้ย Fed Funds Rate สูงกว่าดอกเบี้ยบาท) ราคาทองคำ
ในเดือนกรกฎาคม 2544 ราคาทองคำในตลาด ต่างประเทศมีค่าเฉลี่ยลดลงเป็น 267.61 ดอลลาร์สรอ. ต่อทรอยเอานซ์ จากค่าเฉลี่ย 270.48 ดอลลาร์สรอ. ในเดือนก่อนหน้า
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-