บัญชีอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภา

ข่าวการเมือง Tuesday June 5, 2001 10:09 —รัฐสภา

บัญชีอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภา
๑. คณะกรรมาธิการการกีฬา
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ ดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาตามที่วุฒิสภา
มอบหมาย
(๒) พิจารณาเรื่องหรือกิจการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา
(๓) ติดตามนโยบายและแนวทางการส่งเสริมและพัฒนากีฬาของชาติ เพื่อความ
เป็นเลิศและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรทุกระดับอายุ
(๔) ติดตามการดำเนินการตามนโยบายในด้านความร่วมมือกับต่างประเทศ ใน
การพัฒนาการกีฬาของประเทศ
(๕) ติดตามการบังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ และสอบสวนการทุจริตและประพฤติมิ
ชอบที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา
๒. คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ ดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรและสหกรณ์ตามที่วุฒิ
สภามอบหมาย
(๒) พิจารณาเรื่องหรือกิจการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรและสหกรณ์
(๓) ให้ข้อคิดเห็น ข้อสังเกต และติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับกิจการส่ง
เสริมด้านการเกษตรและสหกรณ์ของประเทศ การเศรษฐกิจการเกษตร การปฏิรูปที่ดินเพื่อ
เกษตรกรรม การชลประทาน การประมง การปศุสัตว์ การป่าไม้ การพัฒนาที่ดิน การส่ง
เสริมสหกรณ์ การวิชาการเกษตร และการตรวจบัญชีสหกรณ์
(๔) ติดตามนโยบายด้านการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร ผลิตผลทางการเกษตรมี
ราคาตกต่ำ การพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรภายในประเทศและการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่ง
ขันของสินค้าเกษตรในตลาดโลก
(๕) ติดตามนโยบายด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเกษตรกร และการสร้าง
ความเข้มแข็งให้แก่กิจการสหกรณ์ สถาบันเกษตรกร ธุรกิจชุมชน และองค์กรชุมชน
(๖) ติดตามการบังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ และสอบสวนการทุจริตและประพฤติมิ
ชอบที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรและสหกรณ์
๓. คณะกรรมาธิการการคมนาคม
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ ดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคมตามที่วุฒิสภามอบหมาย
(๒) พิจารณาเรื่องหรือกิจการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคม
(๓) ให้ข้อคิดเห็น ข้อสังเกต และติดตามความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวกับการคมนาคม
ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ การสื่อสารและการอุตุนิยมวิทยา
(๔) ติดตามการดำเนินการตามนโยบายด้านการส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้าง
พื้นฐานเครือข่ายคมนาคม ขนส่ง โทรคมนาคม และสื่อสาร
(๕) ติดตามการบังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ และสอบสวนการทุจริตและประพฤติมิ
ชอบที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคม
๔. คณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ ดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการคลัง การธนาคารและ
สถาบันการเงินตามที่วุฒิสภามอบหมาย
(๒) พิจารณาเรื่องหรือกิจการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการคลัง การธนาคารและ
สถาบันการเงิน
(๓) ให้ข้อคิดเห็น ข้อสังเกต และติดตามความเคลื่อนไหวกิจการต่าง ๆ เกี่ยวกับ
การธนาคารและสถาบันการเงิน การเงินแผ่นดิน ภาษีอากร ภาษีรัษฎากร กิจการที่เกี่ยวข้องกับ
ที่ราชพัสดุ กิจการอันกฎหมายบัญญัติให้เป็นการผูกขาดของรัฐ กิจการหารายได้ และกิจการ
ซึ่งจะเป็นสัญญาผูกพันต่อเมื่อรัฐบาลได้ให้อำนาจหรือสัตยาบัน รวมทั้งการค้ำประกันหนี้ของ
ส่วนราชการ องค์การของรัฐ สถาบันการเงินและรัฐวิสาหกิจ
(๔) ติดตามนโยบายการเงินที่เอื้อต่อการปล่อยสินเชื่อเข้าสู่ภาคเศรษฐกิจ
การพัฒนาและฟื้นฟูระบบสถาบันการเงินของประเทศ ตลอดจนการพัฒนาตลาดเงิน ตลาดทุน
และตลาดตราสารหนี้
(๕) ติดตามนโยบายการคลัง ระบบภาษี เพื่อส่งเสริมการกระตุ้นเศรษฐกิจของ
ประเทศ ตลอดจนติดตามการบริหารการคลังให้มีเสถียรภาพและยั่งยืน
(๖) พิจารณาศึกษานโยบายหนี้สาธารณะในประเทศและต่างประเทศ
(๗) ติดตามการบังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ และสอบสวนการทุจริตและประพฤติมิ
ชอบที่เกี่ยวข้องกับการคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน
๕. คณะกรรมาธิการการงบประมาณ
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ ดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณาศึกษานโยบายการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี โครงสร้าง
งบประมาณ ประมาณการรายรับ งบประมาณรายจ่าย การผูกพันงบประมาณข้ามปี และฐานะ
การคลังของรัฐ
(๒) ติดตามการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปี รวมทั้งเงินนอกงบประมาณของ
ภาครัฐบาลและองค์กรอิสระ และสอบสวนการทุจริตและประพฤติมิชอบที่เกี่ยวข้องกับการ
งบประมาณ
(๓) ศึกษาการปรับปรุงระบบการจัดทำงบประมาณที่มุ่งเน้นผลงาน และการกระจาย
อำนาจด้านงบประมาณแก่ส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(๔) ศึกษาการจัดสรรกำลังคนให้สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ในการ
พัฒนาประเทศ
(๕) พิจารณารายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตาม
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน
(๖) ศึกษาการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูประบบกระบวนการจัดสรร
และระบบการเบิกจ่ายงบประมาณใหม่ รวมทั้งระบบการเงินและการพัสดุ
(๗) พิจารณาเรื่องหรือกิจการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการงบประมาณ
๖. คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ ดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับด้านการต่างประเทศตามที่วุฒิสภา
มอบหมาย
(๒) พิจารณาเรื่องหรือกิจการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับด้านการต่างประเทศ
(๓) ติดตามการดำเนินการตามนโยบายด้านการส่งเสริมความสัมพันธ์และความ
ร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับนานาชาติ ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
(๔) พิจารณาศึกษาปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยกับประเทศ
เพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกับประเทศไทย รวมทั้งปัญหาการรุกล้ำอำนาจอธิปไตยของไทยในบริเวณ
พื้นที่ชายแดน
(๕) พิจารณาศึกษาบทบาทของประเทศไทยในเชิงเศรษฐกิจการค้าและการทูตใน
เวทีระหว่างประเทศทั้งระดับภูมิภาคและระดับสากล
(๖) ติดตามผลการรักษาและคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ของประเทศ รวมทั้ง
ของภาคเอกชนไทย และคนไทยในต่างประเทศ
(๗) ติดตามการบังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ และสอบสวนการทุจริตและประพฤติมิ
ชอบที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศ
๗. คณะกรรมาธิการการทหาร
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ ดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการทหารและความมั่นคงของ
ประเทศตามที่วุฒิสภามอบหมาย
(๒) พิจารณาเรื่องหรือกิจการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการทหารและความมั่นคงของ
ประเทศ
(๓) พิจารณาศึกษานโยบายด้านความมั่นคง และการป้องกันประเทศ
(๔) ติดตามการดำเนินการตามนโยบายด้านการส่งเสริมการพัฒนาความพร้อมของ
กองทัพ และบทบาทของกองทัพในกิจการซึ่งมิใช่สงคราม
(๕) ติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและมีผลที่ต้องใช้หรืออาจใช้กำลังทหารปฏิบัติ
การ
(๖) ติดตามสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบกระเทือนต่อกิจการของทหาร
ประชาชน รวมทั้งความมั่นคงของประเทศ
(๗) ติดตามการบังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ และสอบสวนการทุจริตและประพฤติมิ
ชอบที่เกี่ยวข้องกับการทหารและความมั่นคงของประเทศ
๘. คณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ ดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวตามที่วุฒิสภามอบ
หมาย
(๒) พิจารณาเรื่องหรือกิจการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
(๓) ให้ข้อคิดเห็น ข้อสังเกต และติดตามความเคลื่อนไหวกิจการต่าง ๆ เกี่ยวกับ
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการ
(๔) พิจารณาศึกษานโยบายด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว และการส่งเสริมให้ประเทศ
ไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภูมิภาค
(๕) ติดตามการบังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ และสอบสวนการทุจริตและประพฤติมิ
ชอบที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศ
๙. คณะกรรมาธิการการปกครอง
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ ดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการปกครองและการบริหารราช
การตามที่วุฒิสภามอบหมาย
(๒) พิจารณาเรื่องหรือกิจการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการปกครองและการบริหาร
ราชการ
(๓) ติดตามผลการปฏิรูประบบราชการเพื่อปรับปรุงบทบาทภาครัฐ และเพิ่ม
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
(๔) พิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารราชการแผ่นดิน รวมทั้งการกระจาย
อำนาจจากส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่นให้เกิดประสิทธิผลตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
(๕) พิจารณาศึกษานโยบายในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข รักษาความสงบเรียบร้อย
ของประชาชน
(๖) พิจารณาศึกษาแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารราชการ
(๗) ติดตามการบังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ และสอบสวนการทุจริตและประพฤติมิ
ชอบที่เกี่ยวข้องกับการปกครองและการบริหารราชการ
๑๐. คณะกรรมาธิการการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ ดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจตามที่วุฒิ
สภามอบหมาย
(๒) พิจารณาเรื่องหรือกิจการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
(๓) ติดตามนโยบายและแนวทางในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจตามนโยบายของ
คณะรัฐมนตรีที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา
(๔) พิจารณาศึกษาเกี่ยวกับการกำหนดขอบเขต ทิศทาง ผลกระทบ ข้อดี ข้อ
เสียของการแปรรูปและการปรับโครงสร้างรัฐวิสาหกิจในแต่ละสาขา เพื่อช่วยให้การมีส่วน
ร่วมในลักษณะต่าง ๆ ของภาคเอกชนในการพัฒนารัฐวิสาหกิจสาขาต่างๆ ให้เป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพ มีประสิทธิผล และเป็นธรรมต่อประชาชนผู้บริโภค
(๕) พิจารณาการบังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ และสอบสวนการทุจริตและประพฤติ
มิชอบที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งกฎหมายที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการแปร
รูปรัฐวิสาหกิจ
๑๑. คณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชน
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ ดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชนตาม
ที่วุฒิสภามอบหมาย
(๒) พิจารณาเรื่องหรือกิจการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชน
(๓) ติดตามการดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐในด้านการส่งเสริม
และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจทางการเมือง
การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
ทุกระดับ
(๔) พิจารณาศึกษารูปแบบ และกลไกที่จะส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจ
การภาครัฐ
(๕) ติดตามการดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐในด้านการส่งเสริม
และสนับสนุนการรวมตัวของชุมชน เพื่อปกป้องประโยชน์สาธารณะของชุมชนของตน รวม
ทั้งการแสดงประชามติ เวทีสาธารณะ และการประชาพิจารณ์
(๖) พิจารณาศึกษาการสร้างเครือข่ายการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้ประชาชน
ได้รับบริการข้อมูลข่าวสารอย่างกว้างขวาง รวดเร็วและเท่าเทียมกัน
(๗) ติดตามการบังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ และสอบสวนการทุจริตและประพฤติมิ
ชอบที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชน
๑๒. คณะกรรมาธิการการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ ดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับด้านการยุติธรรมและสิทธิมนุษย
ชนตามที่วุฒิสภามอบหมาย
(๒) พิจารณาเรื่องหรือกิจการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน
(๓) ให้ข้อคิดเห็น ข้อสังเกต และติดตามความเคลื่อนไหวกิจการต่าง ๆ เกี่ยวกับ
กระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน
(๔) ติดตามการดำเนินการตามนโยบายด้านการบริหารงานยุติธรรม และ
กระบวนการยุติธรรม เพื่อรักษาความเป็นธรรมในสังคม และป้องกันการละเมิดศักดิ์ศรีความ
เป็นมนุษย์และสิทธิมนุษยชน
(๕) ติดตามนโยบายด้านการส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่าง
หน่วยราชการ องค์การเอกชน และองค์การอื่นในด้านสิทธิมนุษยชน
(๖) ติดตามตรวจสอบการกระทำ หรือละเลยการกระทำ อันเป็นการละเมิดสิทธิ
มนุษยชนหรือไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทย
เป็นภาคี
(๗) ติดตามการดำเนินการตามนโยบายด้านการส่งเสริมการคุ้มครองสิทธิและ
เสรีภาพของชนชาวไทย การสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนทราบถึงหน้าที่ของชนชาวไทย
ตลอดจนการสร้างแนวนโยบายพื้นฐานของรัฐ
(๘) ติดตามการบังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ และสอบสวนการทุจริตและประพฤติมิ
ชอบที่เกี่ยวข้องกับการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน
๑๓. คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ ดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับด้านการแรงงานและสวัสดิการ
สังคมตามที่วุฒิสภามอบหมาย
(๒) พิจารณาเรื่องหรือกิจการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการแรงงานและสวัสดิการสังคม
(๓) ให้ข้อคิดเห็น ข้อสังเกต และติดตามความเคลื่อนไหวกิจการต่าง ๆ เกี่ยวกับการ
บริหารแรงงานและแรงงานสัมพันธ์ การจัดหางาน สวัสดิการแรงงาน การพัฒนาฝีมือแรงงาน
การคุ้มครองแรงงาน การประกันสังคม และการสวัสดิการสังคมต่าง ๆ
(๔) พิจารณาศึกษาปัญหาแรงงานไทยในประเทศและต่างประเทศ แรงงาน
ต่างชาติ การนำแรงงานภาคการเกษตรเข้าสู่ระบบประกันสังคม รวมทั้งการคุ้มครองแรงงาน
ในส่วนผู้รับงานไปทำที่บ้าน
(๕) ติดตามการดำเนินการตามนโยบายด้านการส่งเสริมการพัฒนาทักษะและฝีมือ
แรงงาน เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของวิสาหกิจในแต่ละชุมชนได้อย่าง
เหมาะสม
(๖) พิจารณาการส่งเสริมมาตรการด้านการประกันสังคม และการขยายขอบข่าย
การให้สวัสดิการแรงงาน
(๗) พิจารณาศึกษาเกี่ยวกับการสวัสดิการสังคม ดูแลฟื้นฟูและพัฒนาผู้ด้อย
โอกาสในสังคม กลุ่มบุคคลผู้มีปัญหาพิเศษ การคุ้มครองผู้บริโภค การให้การสงเคราะห์แก่ผู้
ยากไร้และผู้สูงอายุ
(๘) ติดตามการบังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ และสอบสวนการทุจริตและประพฤติมิ
ชอบ ที่เกี่ยวข้องกับการแรงงานและสวัสดิการสังคม
๑๔. คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ ดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ
การพลังงานตามที่วุฒิสภามอบหมาย
(๒) พิจารณาเรื่องหรือกิจการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
และการพลังงาน
(๓) ให้ข้อคิดเห็น ข้อสังเกต และติดตามความเคลื่อนไหวกิจการต่าง ๆ เกี่ยวกับ
การวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน
(๔) ติดตามนโยบายและการส่งเสริมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใน
ด้านการวิจัยและพัฒนา เพื่อสนับสนุนการผลิตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก
ตลอดจนแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
(๕) พิจารณาส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสำหรับการบริหารสมัยใหม่และจัดการ
(๖) พิจารณาส่งเสริมการใช้พลังงานแบบผสมผสาน การจัดหาและการใช้พลัง
งานทดแทนอย่างมีประสิทธิภาพ
(๗) ติดตามการบังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ และสอบสวนการทุจริตและประพฤติมิ
ชอบที่เกี่ยวข้องกับการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน
๑๕. คณะกรรมาธิการการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ ดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒน
ธรรม ตามที่วุฒิสภามอบหมาย
(๒) พิจารณาเรื่องหรือกิจการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ศาสนา ศิลปะและ
วัฒนธรรม
(๓) ให้ข้อคิดเห็น ข้อสังเกต และติดตามความเคลื่อนไหวกิจการต่างๆ เกี่ยวกับ
การจัดการดำเนินการ และให้บริการทางการศึกษาสำหรับประชาชน ทั้งการศึกษาในระบบ
การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
(๔) พิจารณาศึกษาและติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายการปฏิรูประบบ
และโครงสร้างทางการศึกษา การเป็นอิสระของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ การมีส่วนร่วมของ
เอกชน ตลอดจนการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้แก่องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น
(๕) พิจารณาศึกษาและติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายด้านการสนับสนุน
การค้นคว้าวิจัยในศิลปวิทยาการต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาประเทศ การพัฒนาวิชาชีพครู ตลอดจน
การส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและศิลปวัฒนธรรมของชาติ
(๖) พิจารณาศึกษาการทำนุบำรุง ส่งเสริมพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ๆ การ
เชิดชูรักษา และส่งเสริมวัฒนธรรมอันดีงามของไทย ตลอดจนศิลปวิทยาการอันเป็นสมบัติ
วัฒนธรรมของชาติ รวมทั้งการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย
(๗) พิจารณาศึกษาการปฏิรูประบบและโครงสร้างทางการศึกษา การเป็นอิสระ
ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ตลอดจนการกระจายอำนาจการบริหารการศึกษา
(๘) ติดตามการบังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ และสอบสวนการทุจริตและประพฤติมิ
ชอบที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
๑๖. คณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรม
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ ดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการเศรษฐกิจ การพาณิชย์ และการ
อุตสาหกรรมตามที่วุฒิสภามอบหมาย
(๒) พิจารณาเรื่องหรือกิจการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการเศรษฐกิจ การพาณิชย์และ
การอุตสาหกรรม
(๓) ให้ข้อคิดเห็น ข้อสังเกต และติดตามความเคลื่อนไหวกิจการต่าง ๆ เกี่ยวกับ
การเศรษฐกิจ การพาณิชย์และการอุตสาหกรรม
(๔) พิจารณาศึกษานโยบายด้านการค้าต่างประเทศ การพัฒนาและส่งเสริมให้
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการค้าสินค้าและบริการในภูมิภาค และเป็นศูนย์กลางการ
แสดงสินค้าระหว่างประเทศ
(๕) ติดตามการดำเนินการตามนโยบายด้านการส่งเสริมให้ภาคเอกชน
ยกระดับความพร้อมในการเผชิญกับการแข่งขันเสรีในเวทีการค้าระหว่างประเทศ
(๖) ติดตามการดำเนินการตามนโยบายด้านการส่งเสริมธุรกิจค้าปลีกขนาดกลาง
และขนาดเล็กให้สามารถดำรงอยู่และปรับตัวรองรับการแข่งขันการเปิดเสรีด้านการค้าบริการ
ได้
(๗) ติดตามการดำเนินการตามนโยบายด้านการปรับโครงสร้างการผลิตในภาคอุต
สาหกรรมและการส่งเสริมการลงทุนให้สอดคล้องกับเป้าหมายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนา
ประเทศ การพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก การพัฒนาอุตสาหกรรมภาคการเกษตร
ให้มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมของประเทศ รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรและ
แรงงานภาคอุตสาหกรรม
(๘) ติดตามการบังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ และสอบสวนการทุจริตและประพฤติมิ
ชอบที่เกี่ยวข้องกับการเศรษฐกิจ การพาณิชย์และการอุตสาหกรรม
๑๗. คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ ดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับด้านการสาธารณสุขตามที่วุฒิสภา
มอบหมาย
(๒) พิจารณาเรื่องหรือกิจการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับด้านการสาธารณสุข
(๓) ให้ข้อคิดเห็น ข้อสังเกต และติดตามความเคลื่อนไหวกิจการต่าง ๆ เกี่ยวกับ
การแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนไทย การสาธารณสุข การส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพ
อนามัย การควบคุมอาหารและยา รวมทั้งสิ่งที่อาจเป็นพิษหรือเป็นภัยแก่สุขภาพอนามัย
(๔) ติดตามการดำเนินการตามนโยบายด้านการปฏิรูประบบสุขภาพ การส่งเสริมสุข
ภาพ การคุ้มครองสุขภาพและการบำบัดรักษาโรค
(๕) พิจารณาศึกษาการจัดระบบการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตราย รวมทั้ง
การแพร่ระบาดของยาเสพติด
(๖) ติดตามการบังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ และสอบสวนการทุจริตและประพฤติมิ
ชอบที่เกี่ยวข้องกับการสาธารณสุข
๑๘. คณะกรรมาธิการกิจการสตรี เยาวชนและผู้สูงอายุ
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ ดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับกิจการสตรี เยาวชนและ ผู้สูง
อายุ ตามที่วุฒิสภามอบหมาย
(๒) พิจารณาเรื่องหรือกิจการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับกิจการสตรี เยาวชนและ ผู้
สูงอายุ
(๓) ให้ข้อคิดเห็น ข้อสังเกต และติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับกิจการสตรี
เยาวชนและผู้สูงอายุ
(๔) ติดตามการดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐในด้านการส่งเสริม
และพัฒนากิจการทางด้านสตรี เยาวชนและผู้สูงอายุ การคุ้มครองเด็ก เยาวชน และบุคคล ใน
ครอบครัวที่พึงจะได้รับการคุ้มครองโดยรัฐ
(๕) ติดตามการบังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ และสอบสวนการทุจริตและประพฤติมิ
ชอบที่เกี่ยวข้องกับกิจการสตรี เยาวชนและผู้สูงอายุ
๑๙. คณะกรรมาธิการกิจการองค์กรอิสระ
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ ดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับกิจการองค์กรอิสระตามที่วุฒิสภา
มอบหมาย
(๒) พิจารณาเรื่องหรือกิจการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับกิจการองค์กรอิสระ
(๓) ให้ข้อคิดเห็น ข้อสังเกต และติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการดำเนินการ
บริหารจัดการขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น
(๔) พิจารณารายงานผลการปฏิบัติงานขององค์กรอิสระที่เสนอต่อวุฒิสภา ทั้งนี้
เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับประกอบการพิจารณาของวุฒิสภา
(๕) ติดตามแนวทางการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุ โทรทัศน์และโทรคมนาคม รวม
ทั้งการกระจายคลื่นความถี่เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและประชาชน
(๖) ติดตามการบังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ และสอบสวนการทุจริตและประพฤติมิ
ชอบที่เกี่ยวข้องกับองค์กรอิสระ
๒๐. คณะกรรมาธิการตรวจรายงานการประชุมและติดตามมติของวุฒิสภา
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ ดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณาตรวจรายงานการประชุมของวุฒิสภา
(๒) พิจารณาเปิดเผยรายงานการประชุมลับของวุฒิสภา
(๓) ติดตามผลการปฏิบัติตามมติของวุฒิสภา
(๔) พิจารณาเรื่องอื่นใดที่เกี่ยวข้องตามที่วุฒิสภามอบหมาย
๒๑. คณะกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม
มีอำนาจหน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ ดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมตามที่วุฒิสภามอบหมาย
(๒) พิจารณาเรื่องหรือกิจการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม
(๓) ให้ข้อคิดเห็น ข้อสังเกต และติดตามความเคลื่อนไหวกิจการต่าง ๆ เกี่ยวกับ
การบริหารจัดการ การอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการ
(๔) พิจารณาศึกษานโยบายและการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อ
เพิ่มขีดความสามารถในการแสวงหา บริหารจัดการ การอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม การใช้
ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ
(๕) พิจารณาศึกษาการกำหนดมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศและมาตร
การอย่างอื่นเพื่อการควบคุม ลด และขจัดมลพิษตามหลัก "ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย"
(๖) พิจารณาศึกษามาตรการในการจัดการของเสีย อันตรายที่เกิดจากการใช้สาร
เคมี สารพิษและวัตถุอันตราย อย่างมีประสิทธิภาพ
(๗) พิจารณาศึกษาอนุสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการ
อนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม
(๘) ติดตามการบังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ และสอบสวนการทุจริตและประพฤติมิ
ชอบที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ