บันทึกการประชุมวุฒิสภา
ครั้งที่ ๑๗ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันศุกร์ที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๓๕ นาฬิกา
เมื่อสมาชิกฯ มาครบองค์ประชุมแล้ว พลตรี มนูญกฤต รูปขจร ประธานวุฒิสภา
นายพิเชฐ พัฒนโชติ รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง และนายบุญทัน ดอกไธสง รองประธานวุฒิสภา
คนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
ประธานวุฒิสภาได้กล่าวเปิดประชุม แล้วแจ้งให้ที่ประชุมทราบเรื่อง ในคราวประชุมร่วมกัน
ของรัฐสภา เมื่อวันพุธที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๔๔ ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
ต่อไป ตามมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตามที่คณะรัฐมนตรีร้องขอ ซึ่งมี
ร่างพระราชบัญญัติที่อยู่ในชั้นการพิจารณาของวุฒิสภา รวม ๑๘ ฉบับ ดังนี้
๑. ค้างการพิจารณาในชั้นกรรมาธิการ จำนวน ๑ ฉบับ
- ร่างพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ. ….
๒. ค้างการพิจารณาในวาระที่ ๑ จำนวน ๑๗ ฉบับ
๑. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๓. ร่างพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๔. ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. ….
๕. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ….
๖. ร่างพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ….
๗. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๘. ร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ….
๙. ร่างพระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. ….
๑๐. ร่างพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๑๑. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ….
๑๒. ร่างพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลย
ในคดีอาญา พ.ศ. ….
๑๓. ร่างพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๑๔. ร่างพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ….
๑๕. ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๑๖. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๑๗. ร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ….
ต่อมา ประธานวุฒิสภาได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องตามระเบียบวาระเรื่องด่วน
ตามลำดับ ดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งสภาผู้แทนราษฎร
ลงมติเห็นชอบแล้วและเป็นร่างพระราชบัญญัติซึ่งรัฐสภามีมติเห็นชอบให้พิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ
มาตรา ๑๗๘ หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (ร้อยเอก สุชาติ
เชาว์วิศิษฐ) ตอบชี้แจงแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ เห็นชอบด้วยกับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ
ฉบับนี้ และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา จำนวน ๒๕ คน ประกอบด้วย
๑. นายวุฒิชัย พงษ์ประสิทธิ์ ๒. นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์
๓. นายพาเกียรติ สมานบุตร ๔. นางกฤติกา ปั้นประเสริฐ
๕. นางสาวพรทิพย์ จาละ ๖. นายสันติ์ เทพมณี
๗. นายนิเวศ พันธ์เจริญวรกุล ๘. นายสุรชัย ดนัยตั้งตระกูล ๙ ๙. นายภิญญา ช่วยปลอด ๑๐. นายสุรใจ ศิรินุพงศ์
๑๑. ร้อยตรี อำนวย ไทยานนท์ ๑๒. นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์
๑๓. นายนิรัตน์ อยู่ภักดี ๑๔. นายคำนวณ เหมาะประสิทธิ์
๑๕. นายสงวน นันทชาติ ๑๖. นายกำพล ภู่มณี
๑๗. นายสมัย ฮมแสน ๑๘. นายบรรฑูรย์ เกริกพิทยา
๑๙. นายวิญญู อุฬารกุล ๒๐. นายเกษม มาลัยศรี
๒๑. นางพรหมจารี รัตนเศรษฐ์ ๒๒. นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์
๒๓. นายวิชิต พูลลาภ ๒๔. นายศิลป์ชัย เชษฐศิลป์
๒๕. นายอมร นิลเปรม
โดยมีกำหนดการแปรญัตติตามข้อบังคับฯ
๒. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้วและเป็นร่างพระราชบัญญัติซึ่งรัฐสภามีมติเห็นชอบให้พิจารณาต่อไป
ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๑๗๘ หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
(ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ) ตอบชี้แจงแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ เห็นชอบด้วยกับหลักการแห่ง
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา จำนวน ๒๕ คน ประกอบด้วย
๑. นายชาญยุทธ ปทุมารักษ์ ๒. นายวิชัย จึงรักเกียรติ
๓. นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ๔. นางสาวพรทิพย์ จาละ
๕. นางกฤติกา ปั้นประเสริฐ ๖. นายสุชน ชาลีเครือ
๗. นายสุรใจ ศิรินุพงศ์ ๘. นางพัฒนา ศิริวันสาณฑ์
๙. นายวิชิต พูลลาภ ๑๐. นายสวัสดิภาพ กันทาธรรม
๑๑. นายภิญญา ช่วยปลอด ๑๒. นายสุรใจ ดนัยตั้งตระกูล
๑๓. นายสันติ์ เทพมณี ๑๔. นายนิเวศ พันธ์เจริญวรกุล
๑๕. พลตำรวจโท ณรงค์ อมาตยกุล ๑๖. นายณรงค์ นุ่นทอง
๑๗. นายกำพล ภู่มณี ๑๘. นายสมัย ฮมแสน
๑๙. นายบรรฑูรย์ เกริกพิทยา ๒๐. นายวิญญู อุฬารกุล
๒๑. นายเกษม มาลัยศรี ๒๒. นางพรหมจารี รัตนเศรษฐ์
๒๓. นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ๒๔. นายศิลป์ชัย เชษฐศิลป์
๒๕. นายคำนวณ เหมาะประสิทธิ์
โดยมีกำหนดการแปรญัตติตามข้อบังคับฯ
๓. ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. …. ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติ
เห็นชอบแล้วและเป็นร่างพระราชบัญญัติซึ่งรัฐสภามีมติเห็นชอบให้พิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ
มาตรา ๑๗๘ หลังจากสมาชิกฯ อภิปรายแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ เห็นชอบด้วยกับหลักการ
แห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา จำนวน ๒๙ คน
ประกอบด้วย
๑. นายวราเทพ รัตนากร ๒. นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์
๓. นางสาวพรทิพย์ จาละ ๔. นางธาริษา วัฒนเกส
๕. นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ๖. นายอนันต์ ผลอำนวย
๗. นางสาวอุษณีย์ ชิดชอบ ๘. นายเกษม รุ่งธนเกียรติ
๙. นายรส มะลิผล ๑๐. พลตำรวจโท ชูชาติ ทัศนเสถียร
๑๑. นายเสรี สุวรรณภานนท์ ๑๒. นายมารุต โรจนาปิยาวงศ์
๑๓. นายนิตินัย นาครทรรพ ๑๔. หม่อมราชวงศ์กำลูนเทพ เทวกุล
๑๕. นายณรงค์สิทธิ์ เครือรัตน์ ๑๖. นางมลิวัลย์ เงินหมื่น
๑๗. นางอรัญญา สุจนิล ๑๘. นายพร เพ็ญพาส
๑๙. นายกำพล ภู่มณี ๒๐. นายสุชน ชาลีเครือ
๒๑. นายเกษม มาลัยศรี ๒๒. นายสวัสดิภาพ กันทาธรรม
๒๓. นายสันติ์ เทพมณี ๒๔. นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์
๒๕. นายสุรชัย ดนัยตั้งตระกูล ๒๖. นายนิเวศ พันธ์เจริญวรกุล
๒๗. นายวิโรจน์ อมตกุลชัย ๒๘. นายพากเพียร วิริยะพันธุ์
๒๙. นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
โดยมีกำหนดการแปรญัตติตามข้อบังคับฯ
๔. ร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. …. ซึ่งสภาผู้แทนราษฎร
ลงมติเห็นชอบแล้วและเป็นร่างพระราชบัญญัติซึ่งรัฐสภามีมติเห็นชอบให้พิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ
มาตรา ๑๗๘ หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ตอบชี้แจงแล้ว
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ เห็นชอบด้วยกับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ตั้ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา จำนวน ๒๙ คน ประกอบด้วย
๑. นายไกรสร พรสุธี ๒. นายวิวัฒน์ สุทธิภาค
๓. นายโอฬาร เพียรธรรม ๔. นายกิตติน อุดมเกียรติ
๕. นายอัชพร จารุจินดา ๖. นายโอภาส รองเงิน
๗. นายภิญญา ช่วยปลอด ๘. นายสมเกียรติ อ่อนวิมล
๙ . พลเอก วัฒนา สรรพานิช ๑๐. คุณหญิงชดช้อย โสภณพนิช
๑๑.. นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์ ๑๒. พลเอก ยุทธนา คำดี
๑๓. นายมนัส รุ่งเรือง ๑๔. นายสมพร คำชื่น
๑๕. นายปราโมทย์ ไพชนม์ ๑๖. นายสมพงษ์ สระกวี
๑๗. นายวีรพงศ์ สกลกิติวัฒน์ ๑๘. นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์
๑๙. นายโสภณ สุภาพงษ์ ๒๐. นายวิญญู อุฬารกุล
๒๑. นายศรีเมือง เจริญศิริ ๒๒. นายอดุลย์ วันไชยธนวงศ์
๒๓. นายเชิดพงษ์ อุทัยสาง ๒๔. นายวิสิษฐ์ เตชะธีราวัฒน์
๒๕. นายอารีย์ สวัสดี ๒๖. นายพนัส ทัศนียานนท์
๒๗. นายแก้วสรร อติโพธิ ๒๘. นายอนุภาพ ถิรลาภ
๒๙. นายประโภชฌ์ สภาวสุ
โดยมีกำหนดการแปรญัตติตามข้อบังคับฯ
๕. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้วและเป็นร่างพระราชบัญญัติซึ่งรัฐสภามีมติเห็นชอบให้พิจารณาต่อไป
ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๑๗๘ หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ)
และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายนที ขลิบทอง) ตอบชี้แจงแล้ว ที่ประชุม
ได้ลงมติในวาระที่ ๑ เห็นชอบด้วยกับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการ
วิสามัญพิจารณา จำนวน ๒๙ คน ประกอบด้วย
๑. นายธงไชย เพ็ชรรัตน์ ๒. นายธวัชชัย สำโรงวัฒนา
๓. นางสาววาสนา ถวัลยโพธิ ๔. นายอุทัย สอนหลักทรัพย์
๕. นายอโศก ประสานสอน ๖. นายนิพนธ์ สุทธิเดช
๗. นายวิชิต พูลลาภ ๘. นายเกษม มาลัยศรี
๙. นายวิทยา มะเสนา ๑๐. นายวีระพล วัชรประทีป
๑๑. นายวงศ์พันธ์ ณ ตะกั่วทุ่ง ๑๒. นายประเกียรติ นาสิมมา
๑๓. พลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย ๑๔. นางจิตรา อยู่ประเสริฐ
๑๕. นายสม ต๊ะยศ ๑๖. นายธวัชชัย เมืองนาง
๑๗. นายรส มะลิผล ๑๘. นายสุนทร จินดาอินทร์
๑๙. นางระเบียบรัตน์ พงษ์พานิช ๒๐. นายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ
๒๑. นายนิวัฒน์ พ้นชั่ว ๒๒. นางนันทนา สงฆ์ประชา
๒๓. นายนภินทร ศรีสรรพางค์ ๒๔. นายทวี แก้วคง
๒๕. นายอำนาจ เธียรประมุข ๒๖. นายจำเจน จิตรธร
๒๗. นายสมบูรณ์ ทองบุราณ ๒๘. นายอนันต์ ดาโลดม
๒๙. นายสมพร คำชื่น
โดยมีกำหนดการแปรญัตติภายใน ๑๔ วัน
อนึ่ง ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้งดใช้
ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๑ ข้อ ๑๐๘ วรรคสาม
จากนั้น รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่งและรองประธานวุฒิสภาคนที่สอง ได้ผลัดเปลี่ยนกัน
เป็นประธานของที่ประชุม โดยประธานของที่ประชุมได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระเรื่องด่วน
ต่อไป ดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. …. ซึ่งสภาผู้แทนราษฎร
ลงมติเห็นชอบแล้วและเป็นร่างพระราชบัญญัติซึ่งรัฐสภามีมติเห็นชอบให้พิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ
มาตรา ๑๗๘ หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (ร้อยเอก สุชาติ
เชาว์วิศิษฐ) ตอบชี้แจงแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ เห็นชอบด้วยกับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ
ฉบับนี้ และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา จำนวน ๒๓ คน ประกอบด้วย
๑. นายประกิต วาทีสาธกกิจ ๒. นายพาเกียรติ สมานบุตร
๓. นางพรพันธุ์ บุณยรัตนพันธ์ ๔. นายสงขลา วิชัยขัทคะ
๕. นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ๖. นายประสิทธิ์ พิทูรกิจจา
๗. นางมาลินี สุขเวชชวรกิจ ๘. นายวีรพงศ์ สกลกิติวัฒน์
๙. นางมลิวัลย์ เงินหมื่น ๑๐. นายจอน อึ๊งภากรณ์
๑๑. นางจิตรา อยู่ประเสริฐ ๑๒. นายถาวร เกียรติไชยากร
๑๓. พลโท โกวิท พัฑฒฆายน ๑๔. นายจำเจน จิตรธร
๑๕. นายเด่น โต๊ะมีนา ๑๖. นายประศักดิ์ ณ กาฬสินธุ์
๑๗. พลโท ปัญญา อยู่ประเสริฐ ๑๘. นางระเบียบรัตน์ พงษ์พานิช
๑๙. นายวิจิตร มโนสิทธิศักดิ์ ๒๐. นายสวัสดิ์ ทรัพย์เจริญ
๒๑. นายสุนทร จินดาอินทร์ ๒๒. นายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ
๒๓. นายวิกรม อัยศิริ
โดยมีกำหนดการแปรญัตติตามข้อบังคับฯ
๒. ร่างพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดี
อาญา พ.ศ. …. ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้วและเป็นร่างพระราชบัญญัติซึ่งรัฐสภามีมติเห็นชอบ
ให้พิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๑๗๘ หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย และรองนายกรัฐมนตรี
(นายสุวิทย์ คุณกิตติ) ตอบชี้แจงแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ เห็นชอบด้วยกับหลักการแห่ง
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา จำนวน ๒๓ คน ประกอบด้วย
๑. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ๒. นายบัณฑิต รชตะนันทน์
๓. นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ๔. นายจุมพล ภิญโญสินวัฒน์
๕. นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ ๖. นายคำนวณ ชโลปถัมภ์
๗. นายถวิล จันทร์ประสงค์ ๘. นายระวี กิ่งคำวงศ์
๙. พันตำรวจเอก สุรพงศ์ ไผ่นวล ๑๐. นายแคล้ว นรปติ
๑๑. พลตำรวจเอก วิรุฬห์ พื้นแสน ๑๒. นายเสรี สุวรรณภานนท์
๑๓. นางสาวบุษรินทร์ ติยะไพรัช ๑๔. นายจอน อึ๊งภากรณ์
๑๕. นายณรงค์ นุ่นทอง ๑๖. พลตำรวจโท ทวี ทิพย์รัตน์
๑๗. นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์ ๑๘. พลตำรวจโท ปรีชา ปฏิบัติสรกิจ
๑๙. นายพิชัย ขำเพชร ๒๐. นายสัก กอแสงเรือง
๒๑. พลตำรวจตรี สนาม คงเมือง ๒๒. นายสุนทร จินดาอินทร์
๒๓. นายพนัส ทัศนียานนท์
โดยมีกำหนดการแปรญัตติภายใน ๑๔ วัน
อนึ่ง ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้งดใช้
ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๑ ข้อ ๑๐๘ วรรคสาม
๓. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งสภาผู้แทนราษฎร
ลงมติเห็นชอบแล้วและเป็นร่างพระราชบัญญัติซึ่งรัฐสภามีมติเห็นชอบให้พิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ
มาตรา ๑๗๘ หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายสุวรรณ
วลัยเสถียร) ตอบชี้แจงแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ เห็นชอบด้วยกับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ
ฉบับนี้ และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา จำนวน ๒๙ คน ประกอบด้วย
๑. นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ๒.. นายโสฬส งามวงศ์วาน
๓. นายโกมล จิรชัยสุทธิกุล ๔. นายเขมทัต สุคนธสิงห์
๕. นายวัชระ พรรณเชษฐ์ ๖. นายสมบัติ วรามิตร
๗. นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ๘. ร้อยตรี อำนวย ไทยานนท์
๙. พลเอก ยุทธนา คำดี ๑๐. พลตำรวจโท ปรีชา ปฏิบัติสรกิจ
๑๑. พลตำรวจเอก มีชัย นุกูลกิจ ๑๒. พลโท ปัญญา อยู่ประเสริฐ
๑๓. นายอนุชาต บรรจงศุภมิตร ๑๔. นางวิลาวัณย์ ตันวัฒนะพงษ์
๑๕. นางมาลินี สุขเวชชวรกิจ ๑๖. นายกมล มั่นภักดี
๑๗. นายอมร นิลเปรม ๑๘. นายบรรฑูรย์ เกริกพิทยา
๑๙. นายนิรัตน์ อยู่ภักดี ๒๐. นายนิเวศ พันธ์เจริญวรกุล
๒๑. นายผาสุก เทพมณี ๒๒. นายประสงค์ โฆษิตานนท์
๒๓. นายพากเพียร วิริะพันธุ์ ๒๔. นายรส มะลิผล
๒๕. นางพรหมจารี รัตนเศรษฐ์ ๒๖. นายวิเชียร เปาอินทร์
๒๗. นายวิโรจน์ อมตกุลชัย ๒๘. นายอนันต์ ดาโลดม
๒๙. นายทวี แก้วคง
โดยมีกำหนดการแปรญัตติตามข้อบังคับฯ
อนึ่ง ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้งดใช้
ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๑ ข้อ ๑๐๘ วรรคสาม
๔. ร่างพระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. …. ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติ
เห็นชอบแล้วและเป็นร่างพระราชบัญญัติซึ่งรัฐสภามีมติเห็นชอบให้พิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ
มาตรา ๑๗๘ หลังจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายสุวรรณ วลัยเสถียร) ชี้แจงแล้ว
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ เห็นชอบด้วยกับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ตั้ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา จำนวน ๒๑ คน ประกอบด้วย
๑. นายสุนัย จุลพงศธร ๒. นางผ่องศรี ยุทธสารประสิทธิ์
๓. นายรองพล เจริญพันธุ์ ๔. นายสันติ รัตนสุวรรณ
๕. นายอนันต์ จันทรโอภากร ๖. นายวิโรจน์ อมตกุลชัย
๗. นายบุญยืน ศุภสารสาทร ๘. นายประสงค์ โฆษิตานนท์
๙. นายสม ต๊ะยศ ๑๐. นางพรหมจารี รัตนเศรษฐ์
๑๑. นายอมร นิลเปรม ๑๒. นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
๑๓. นายประเกียรติ นาสิมมา ๑๔. นายประศักดิ์ ณ กาฬสินธุ์
๑๕. นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์ ๑๖. นายพากเพียร วิริยะพันธุ์
๑๗. นายรส มะลิผล ๑๘. นายวิเชียร เปาอินทร์
๑๙. นายสมพงษ์ สระกวี ๒๐. นายอุดร ตันติสุนทร
๒๑. นายสัก กอแสงเรือง
โดยมีกำหนดการแปรญัตติภายใน ๑๔ วัน
๕. ร่างพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. …. โดยประธานของที่ประชุมได้ขอปรึกษา
ที่ประชุมเพื่อขอนำเรื่องตามระเบียบวาระเรื่องด่วนลำดับที่ ๑๑ ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง
กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และเรื่องด่วนลำดับที่ ๑๒ ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้วและเป็นร่างพระราชบัญญัติซึ่งรัฐสภามีมติ
เห็นชอบให้พิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๑๗๘ ทั้งสามฉบับ และเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกัน
มารวมพิจารณา ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ประธานของที่ประชุมจึงเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาร่าง
พระราชบัญญัติ ทั้งสามฉบับดังกล่าว หลังจากสมาชิกฯ อภิปรายแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑
เห็นชอบด้วยกับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ ทั้งสามฉบับ ทีละฉบับ ตามลำดับ และมีมติให้ส่ง
คณะกรรมาธิการการศึกษาและวัฒนธรรมพิจารณา โดยมีกำหนดการแปรญัตติ ภายใน ๑๔ วัน
ทั้งสามฉบับ
ต่อมา ประธานของที่ประชุมได้ขอปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอนำเรื่องตามระเบียบวาระ
เรื่องด่วนลำดับที่ ๑๖ ร่างพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ขึ้นมาพิจารณาก่อน
ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) ร้องขอ ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ประธานของที่ประชุม
จึงเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องตามระเบียบวาระเรื่องด่วน ต่อไป ตามลำดับ ดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติ
เห็นชอบแล้วและเป็นร่างพระราชบัญญัติซึ่งรัฐสภามีมติเห็นชอบให้พิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ
มาตรา ๑๗๘ หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายสุวรรณ
วลัยเสถียร) ตอบชี้แจงแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ เห็นชอบด้วยกับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ
ฉบับนี้ และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา จำนวน ๒๙ คน ประกอบด้วย
๑. นายสุวรรณ วลัยเสถียร ๒. นายสกล หาญสุทธิวารินทร์
๓. นายวสันต์ เทียนหอม ๔. นายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ
๕. นายสุทธิชัย จิตรวาณิช ๖. นายประเกียรติ นาสิมมา
๗. นายสหัส พินทุเสนีย์ ๘. นายวิบูลย์ แช่มชื่น
๙. นายสมบูรณ์ ทองบุราณ ๑๐. พันตำรวจเอก ไพจิตร ศรีคงคา
๑๑. นายสุนทร จินดาอินทร์ ๑๒. นายพิชิต ชัยวิรัตนะ
๑๓. นายนิรัตน์ อยู่ภักดี ๑๔. นายมุขตาร์ มะทา
๑๕. นายชัชวาลย์ คงอุดม ๑๖. นายถาวร เกียรติไชยากร
๑๗. นายสวัสดิ์ ทรัพย์เจริญ ๑๘. พลเอก พนม จีนะวิจารณะ
๑๙. นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ๒๐. นายสุชน ชาลีเครือ
๒๑. ร้อยตรี อำนวย ไทยานนท์ ๒๒. นายภิญญา ช่วยปลอด
๒๓. นายสม ต๊ะยศ ๒๔. นายรส มะลิผล
๒๕. นายบุญยืน ศุภสารสาทร ๒๖. นายอมร นิลเปรม
๒๗. นายประศักดิ์ ณ กาฬสินธุ์ ๒๘. นายสมพงษ์ สระกวี
๒๙. นายวรวิทย์ เชื้อเพ็ชร์
โดยมีกำหนดการแปรญัตติภายใน ๔ วัน
๒. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. …. ซึ่งสภาผู้แทนราษฎร
ลงมติเห็นชอบแล้วและเป็นร่างพระราชบัญญัติซึ่งรัฐสภามีมติเห็นชอบให้พิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ
มาตรา ๑๗๘ หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ
สิ่งแวดล้อม ตอบชี้แจงแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ เห็นชอบด้วยกับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ
ฉบับนี้ และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา จำนวน ๒๙ คน ประกอบด้วย
๑. นายสนธยา คุณปลื้ม ๒. นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล
๓. นายประสพสุข บุญเดช ๔. นายวิสิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
๕. นายชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ ๖. นายประเกียรติ นาสิมมา
๗. นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ ๘. นายนิคม เชาว์กิตติโสภณ
๙. พลโท โกวิท พัฑฒฆายน ๑๐. นายสันติภาพ อินทรพัฒน์
๑๑. นายเสรี สุวรรณภานนท์ ๑๒. นายสุรสิทธิ์ ฉัตรชัยเดช
๑๓. นางประทีป อึ้งทรงธรรม ๑๔. พลตำรวจตรี อำพล งามจิตร
๑๕. นายเด่น โต๊ะมีนา ๑๖. นายมนตรี สินทวิชัย
๑๗. นายพนัส ทัศนียานนท์ ๑๘. นายวิญญู อุฬารกุล
๑๙. นายวิสิษฐ์ เตชะธีราวัฒน์ ๒๐. นายอนุภาพ ถิรลาภ
๒๑. นายศรีเมือง เจริญศิริ ๒๒. พลเอก วิชา ศิริธรรม
๒๓. นายอุบล เอื้อศรี ๒๔. นายบุญยืน ศุภสารสาทร
๒๕. นายวิโรจน์ อมตกุลชัย ๒๖. นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
๒๗. นายสนิท จันทรวงศ์ ๒๘. นายชงค์ วงษ์ขันธ์
๒๙. นายสุทัศน์ จันทร์แสงศรี
โดยมีกำหนดการแปรญัตติภายใน ๑๔ วัน
๓. ร่างพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว
และเป็นร่างพระราชบัญญัติซึ่งรัฐสภามีมติเห็นชอบให้พิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๑๗๘
หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (นายพิเชษฐ สถิรชวาล)
ตอบชี้แจงแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ เห็นชอบด้วยกับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา จำนวน ๒๙ คน ประกอบด้วย
๑. นายพิเชษฐ สถิรชวาล ๒. นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์
๓. นายคัมภีร์ แก้วเจริญ ๔. นางสาวพวงเพชร สารคุณ
๕. นายนภดล มัณฑะจิตร ๖. นายเพิ่มพูน ทองศรี
๗. นางพัฒนา ศิริวันสาณฑ์ ๘. นายฟัครุดดีน บอตอ
๙. พลโท โอภาส รัตนบุรี ๑๐. นายทวีป ขวัญบุรี
๑๑. นายณรงค์ นุ่นทอง ๑๒. นายปรีชา ปิตานนท์
๑๓. พลตำรวจเอก สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ ๑๔. นายอูมาร์ ตอยิบ
๑๕. นายจอน อึ๊งภากรณ์ ๑๖. นางเตือนใจ ดีเทศน์
๑๗. นายศิลป์ชัย เชษฐศิลป์ ๑๘. นายผ่อง เล่งอี้
๑๙. พลตำรวจตรี สนาม คงเมือง ๒๐. นายอนันต์ ผลอำนวย
๒๑. พลตำรวจตรี อำพล งามจิตร ๒๒. พลอากาศเอก กานต์ สุระกุล
๒๓. หม่อมราชวงศ์กำลูนเทพ เทวกุล ๒๔. นายประสงค์ โฆษิตานนท์
๒๕. นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์ ๒๖. นายประศักดิ์ ณ กาฬสินธุ์
๒๗. นายสนิท จันทรวงศ์ ๒๘. นายประยุทธ ศรีมีชัย
๒๙. นายลำพอง พิลาสมบัติ
โดยมีกำหนดการแปรญัตติภายใน ๑๔ วัน
๔. ร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ….
ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้วและเป็นร่างพระราชบัญญัติซึ่งรัฐสภามีมติเห็นชอบให้พิจารณา
ต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๑๗๘ หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
มหาดไทย (นายสมบัติ อุทัยสาง) ตอบชี้แจงแล้ว ประธานของที่ประชุมจึงให้เลื่อนการพิจารณาเรื่องนี้ไป
พิจารณาในการประชุมวุฒิสภาครั้งต่อไป
เลิกประชุมเวลา ๑๗.๔๕ นาฬิกา
(นายพินิต อารยะศิริ)
เลขาธิการวุฒิสภา
สรุปผลการพิจารณาร่าางพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑๕ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๓. ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. ….
๔. ร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ….
๕. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๖. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ….
๗. ร่างพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลย
ในคดีอาญา พ.ศ. ….
๘. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๙. ร่างพระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. ….
๑๐. ร่างพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ….
๑๑. ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๑๒. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๑๓. ร่างพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๑๔. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ….
๑๕. ร่างพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ฝ่ายระเบียบวาระและรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๒๔๔๑๕๖๘
โทรสาร ๒๔๔๑๕๖๖