กรุงเทพฯ--22 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ในการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 4 ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 24-25 พฤศจิกายน 2543 ที่ประเทศสิงคโปร์ นี้ ผู้นำของอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ คือ บรูไน ดารุสซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา จะร่วมกันลงนามใน กรอบความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (e-ASEAN Framework Agreement) ซึ่งจะกำหนด แนวทางเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารเพื่อให้ภูมิภาคอาเซียนเชื่อมโยงกันด้านอิเล็กทรอนิกส์อย่างสมบูรณ์แบบ
กรอบความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียนดังกล่าว เป็นผลมาจากการที่อาเซียนได้ ตระหนักถึงความสำคัญของพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร (Information Technology and Communication-ICT) ในภูมิภาคให้สอดคล้องกันและเป็นไปในทิศทางเดียวกันในฐานะที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจะรวมตัวทางเศรษฐกิจเป็นตลาดเดียวกันในอีกไม่นานข้างหน้านี้ และโดยคำนึงว่าอาเซียนจะต้องเตรียมรับกับวิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการเปิดเสรีด้านสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศภายใต้กรอบองค์การการค้าโลก
กรอบความตกลงฯ มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและเสริมสร้างขีดความ สามารถในการแข่งขันด้าน ICT ตลอดจนลดความเหลื่อมล้ำด้าน IT ภายในแต่ละประเทศและระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกัน รวมทั้งส่งเสริมการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า บริการและการลงทุนด้าน ICT ภายในอาเซียน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการลงทุนในด้านนี้ รวมทั้งการนำเทคโนโลยีด้าน IT เข้ามาสู่ภูมิภาค โดยมีมาตรการที่ครอบคลุมด้านต่างๆ 5 ด้าน คือ
(1) การวางระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลข่าวสาร (ASEAN Information Infrastructure) ภายในอาเซียนที่สามารถติดต่อเชื่อมโยงถึงกันอย่างทั่วถึงและด้วยความเร็วสูง และพัฒนาความร่วมมือไปสู่การจัดตั้งห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (digital libraries) และแหล่งรวมข้อมูลท่องเที่ยวอิเล็กทรอนิกส์ (tourism portals) รวมทั้งการจัดตั้งศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูล (Internet exchanges) และการให้บริการเชื่อมสัญญาณเครือข่ายข้อมูลอินเตอร์เน็ต (Internet gateways)
(2) การอำนวยความสะดวกให้เกิดความเจริญเติบโตทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยการ ออกกฏหมายและระเบียบด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ อันจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคและพัฒนาวัฒนธรรมในการทำธุรกิจโดยใช้อิเล็กทรอนิกส์ เช่น การยอมรับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งกันและกัน การชำระเงินโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น
(3) การเปิดเสรีการค้าสินค้า บริการ และการลงทุนด้าน ICT ภายในอาเซียน โดยประเทศสมาชิกอาเซียนจะยกเลิกภาษีและอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษีสำหรับสินค้า ICT (เช่น เครื่องประมวลผลอัตโนมัติ เครื่องโทรสาร เครื่องบันทึกเสียงสำหรับโทรศัพท์ ไดโอดและทรานซิสเตอร์ แผงวงจรไฟฟ้า) เป็นต้น ภายในปี 2548 สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนดั้งเดิม 6 ประเทศ และภายในปี 2553 สำหรับประเทศสมาชิกใหม่ คือกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม รวมทั้งให้เร่งเปิดเสรีการค้าบริการ และการลงทุนด้าน ICT ภายใต้กรอบความตกลงด้านบริการของอาเซียนและความตกลงว่าด้วยเขต การลงทุนอาเซียน รวมทั้งให้มีการยอมรับร่วมด้านมาตรฐานสินค้า และการประสานพิกัดศุลกากรสินค้า ICT เป็นต้น
(4) การเสริมสร้างความสามารถและพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์เพื่อประโยชน์ต่อสังคม (e-Society) โดยให้มีการพัฒนาและจัดทำโครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ความสามารถด้าน IT ของบุคลากรในอาเซียน ลดความเหลื่อมล้ำด้าน IT ภายในประเทศและระหว่างประเทศสมาชิก อำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายแรงงานด้าน IT อย่างเสรี และส่งเสริมการใช้ IT
(5) ส่งเสริมให้มีการใช้ ICT ในภาครัฐ เช่น การให้บริการ การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ การอำนวยความสะดวกในเรื่องข้อมูลข่าวสาร เป็นต้น
ทั้งนี้ ในการลงนามความตกลง e-ASEAN Framework Agreement ในโอกาสประชุม สุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 4 นี้ นอกจากที่จะมีการลงนามในเอกสารความตกลงตาม รูปแบบปกติแล้ว ผู้นำอาเซียนจะได้ลงนามโดยการใช้วิธีการอิเล็กทรอนิกส์พร้อมกันเพื่อเป็นสัญญลักษณ์ของการเริ่มต้นความร่วมมือด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียนด้วย
สำหรับประเทศไทยนั้น ได้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อการพัฒนา e-Thailand เพื่อประสานงานการปฏิบัติตาม e-ASEAN และเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของ ประเทศไทยให้มีความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาในระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยมีรัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม เป็นประธานและประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ และผู้แทนจากภาคเอกชนร่วมอยู่ด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
ในการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 4 ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 24-25 พฤศจิกายน 2543 ที่ประเทศสิงคโปร์ นี้ ผู้นำของอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ คือ บรูไน ดารุสซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา จะร่วมกันลงนามใน กรอบความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (e-ASEAN Framework Agreement) ซึ่งจะกำหนด แนวทางเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารเพื่อให้ภูมิภาคอาเซียนเชื่อมโยงกันด้านอิเล็กทรอนิกส์อย่างสมบูรณ์แบบ
กรอบความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียนดังกล่าว เป็นผลมาจากการที่อาเซียนได้ ตระหนักถึงความสำคัญของพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร (Information Technology and Communication-ICT) ในภูมิภาคให้สอดคล้องกันและเป็นไปในทิศทางเดียวกันในฐานะที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจะรวมตัวทางเศรษฐกิจเป็นตลาดเดียวกันในอีกไม่นานข้างหน้านี้ และโดยคำนึงว่าอาเซียนจะต้องเตรียมรับกับวิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการเปิดเสรีด้านสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศภายใต้กรอบองค์การการค้าโลก
กรอบความตกลงฯ มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและเสริมสร้างขีดความ สามารถในการแข่งขันด้าน ICT ตลอดจนลดความเหลื่อมล้ำด้าน IT ภายในแต่ละประเทศและระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกัน รวมทั้งส่งเสริมการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า บริการและการลงทุนด้าน ICT ภายในอาเซียน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการลงทุนในด้านนี้ รวมทั้งการนำเทคโนโลยีด้าน IT เข้ามาสู่ภูมิภาค โดยมีมาตรการที่ครอบคลุมด้านต่างๆ 5 ด้าน คือ
(1) การวางระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลข่าวสาร (ASEAN Information Infrastructure) ภายในอาเซียนที่สามารถติดต่อเชื่อมโยงถึงกันอย่างทั่วถึงและด้วยความเร็วสูง และพัฒนาความร่วมมือไปสู่การจัดตั้งห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (digital libraries) และแหล่งรวมข้อมูลท่องเที่ยวอิเล็กทรอนิกส์ (tourism portals) รวมทั้งการจัดตั้งศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูล (Internet exchanges) และการให้บริการเชื่อมสัญญาณเครือข่ายข้อมูลอินเตอร์เน็ต (Internet gateways)
(2) การอำนวยความสะดวกให้เกิดความเจริญเติบโตทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยการ ออกกฏหมายและระเบียบด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ อันจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคและพัฒนาวัฒนธรรมในการทำธุรกิจโดยใช้อิเล็กทรอนิกส์ เช่น การยอมรับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งกันและกัน การชำระเงินโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น
(3) การเปิดเสรีการค้าสินค้า บริการ และการลงทุนด้าน ICT ภายในอาเซียน โดยประเทศสมาชิกอาเซียนจะยกเลิกภาษีและอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษีสำหรับสินค้า ICT (เช่น เครื่องประมวลผลอัตโนมัติ เครื่องโทรสาร เครื่องบันทึกเสียงสำหรับโทรศัพท์ ไดโอดและทรานซิสเตอร์ แผงวงจรไฟฟ้า) เป็นต้น ภายในปี 2548 สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนดั้งเดิม 6 ประเทศ และภายในปี 2553 สำหรับประเทศสมาชิกใหม่ คือกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม รวมทั้งให้เร่งเปิดเสรีการค้าบริการ และการลงทุนด้าน ICT ภายใต้กรอบความตกลงด้านบริการของอาเซียนและความตกลงว่าด้วยเขต การลงทุนอาเซียน รวมทั้งให้มีการยอมรับร่วมด้านมาตรฐานสินค้า และการประสานพิกัดศุลกากรสินค้า ICT เป็นต้น
(4) การเสริมสร้างความสามารถและพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์เพื่อประโยชน์ต่อสังคม (e-Society) โดยให้มีการพัฒนาและจัดทำโครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ความสามารถด้าน IT ของบุคลากรในอาเซียน ลดความเหลื่อมล้ำด้าน IT ภายในประเทศและระหว่างประเทศสมาชิก อำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายแรงงานด้าน IT อย่างเสรี และส่งเสริมการใช้ IT
(5) ส่งเสริมให้มีการใช้ ICT ในภาครัฐ เช่น การให้บริการ การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ การอำนวยความสะดวกในเรื่องข้อมูลข่าวสาร เป็นต้น
ทั้งนี้ ในการลงนามความตกลง e-ASEAN Framework Agreement ในโอกาสประชุม สุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 4 นี้ นอกจากที่จะมีการลงนามในเอกสารความตกลงตาม รูปแบบปกติแล้ว ผู้นำอาเซียนจะได้ลงนามโดยการใช้วิธีการอิเล็กทรอนิกส์พร้อมกันเพื่อเป็นสัญญลักษณ์ของการเริ่มต้นความร่วมมือด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียนด้วย
สำหรับประเทศไทยนั้น ได้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อการพัฒนา e-Thailand เพื่อประสานงานการปฏิบัติตาม e-ASEAN และเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของ ประเทศไทยให้มีความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาในระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยมีรัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม เป็นประธานและประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ และผู้แทนจากภาคเอกชนร่วมอยู่ด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-