ข่าวในประเทศ
1. ธปท.ลงโทษ ธพ. กรณีไม่ปฏิบัติตามระเบียบการให้กู้ยืมเงินบาทแก่ผู้มีถิ่นฐานนอกประเทศ ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า จากการตรวจสอบสถาบันการเงินที่มีพฤติกรรมไม่ปฏิบัติตามระเบียบของ ธปท.ที่ให้จำกัดการให้กู้ยืมเงินบาทแก่ผู้มีถิ่นฐานนอกประเทศในวงเงินไม่เกิน 50 ล.บาท ในกรณีไม่มีธุรกรรมการค้าและการลงทุนรองรับนั้น ปรากฏว่ายังมี ธพ.หลายแห่งละเมิดข้อห้ามดังกล่าว ธปท.จึงจำเป็นต้องลงโทษ โดยให้งดการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) เป็นเวลา 10 วัน และหากไม่ปฏิบัติอีกก็จะมีมาตรการลงโทษที่หนักขึ้น ทั้งนี้ ปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ธปท.ได้ทำการวิเคราะห์ปัญหา และวางกระบวนการตรวจสอบการกระทำของสถาบันการเงินเพิ่มเติมจากเดิม ที่ ธปท.จะตรวจสอบเฉพาะรายงานของ ธพ. โดยเมื่อเจ้าหน้าที่ ธปท.พบความผิดและมีการลงโทษแล้ว ต้องมารายงานให้ผู้ว่าการฯ ทราบทุกระยะ ซึ่งมิได้เป็นการฝืนระบบ แต่หาก ธปท.ไม่มีความเด็ดขาด สถาบันการเงินก็จะไม่ปฏิบัติตาม (กรุงเทพธุรกิจ 25)
2. หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ของเอเอ็มซีสุขุมวิท นายเตชะพิทย์ แสงสิงแก้ว ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.เปิดเผยว่า ในวันที่ 28 ส.ค.43 คณะกรรมการบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด หรือเอเอ็มซีของ ธ.กรุงไทย จะประชุมเพื่อคัดเลือกบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัทฯ โดยมีหลักเกณฑ์การคัดเลือกตรงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะความสามารถทางด้านการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ความสามารถในการปรับลดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ความสามารถในการบริหารทั่วไป และความสามารถอื่นๆ สำหรับยอดเอ็นพีแอลของ ธ.กรุงไทย ณ วันที่ 31 ก.ค.43 มีทั้งสิ้น 506,151.82 ล.บาท คิดเป็นร้อยละ 50.46 ของสินเชื่อทั้งระบบ โดยก่อนหน้านี้ได้โอนหนี้เสียส่วนใหญ่ไปไว้ที่เอเอ็มซีสุขุมวิทจำนวน 537,000 ล.บาท ขณะที่เอ็นพีแอลของระบบ ธพ. มีจำนวน 1.491 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 34.95 ของสินเชื่อทั้งระบบ (วัฏจักร 25)
3. ธปท.เปิดเผยยอดการหักบัญชีเช็คในเดือน ก.ค.43 รายงานข่าวจาก ธปท.แจ้งสถิติการหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในเดือน ก.ค.43 ว่า มีปริมาณเช็คเรียกเก็บจำนวน 4.4 ล.ฉบับ มูลค่า 1,150.40 พัน ล.บาท ปริมาณและมูลค่าลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากปริมาณการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เบาบางลง และการปรับลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์อย่างต่อเนื่อง รวมถึงปัจจัยเศรษฐกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ขณะที่ปริมาณเช็คเรียกเก็บเฉลี่ยต่อวันทำการมีจำนวน 219,969 ล.ฉบับ สูงขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 7.70 (ไทยโพสต์ 25)
4. ญี่ปุ่นตัดสิทธิจีเอสพีสินค้าไทย 26 กลุ่มสินค้า อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเปิดเผยผลการใช้เพดานและโควตาจีเอสพีของญี่ปุ่นสำหรับสินค้าอุตสาหกรรมในระยะ 2 เดือนแรกของปีงบประมาณญี่ปุ่น 2543/2544 (1 เม.ย.43-31 มี.ค.44) สิ้นสุด ณ วันที่ 31 พ.ค.43 ปรากฏว่าประเทศไทยมีสินค้าที่ถูกระงับสิทธิจีเอสพีรวม 26 กลุ่มสินค้า เนื่องจากมีการใช้สิทธิเกินกว่าโควตารวมเกินกว่าเพดานที่กำหนด โดยสินค้าที่สำคัญได้แก่ พลาสติกบางรายการ เสื่อ ฝ้าย ถุงมือถัก เสื้อผ้าของสตรีและเด็ก รองเท้าหนัง และรองเท้ายาง (วัฏจักร 25)
ข่าวต่างประเทศ
1. คำสั่งซื้อสินค้าคงทนของ สรอ. ลดลงร้อยละ 12.4 ในเดือน ก.ค. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 24 ส.ค. 43 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ก.ค. 43 คำสั่งซื้อสินค้าคงทนโดยรวม ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล ลดลงอย่างมากถึงร้อยละ 12.4 อยู่ที่มูลค่า 212.4 พัน ล. ดอลลาร์ ตรงข้ามกับเดือน มิ.ย.43 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 ซึ่งลดลงมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์แถบวอลล์สตรีทคาดไว้ว่า จะลดลงร้อยละ 6.7 ทั้งนี้ คำสั่งซื้อฯ ส่วนใหญ่ที่ลดลง เนื่องจากคำสั่งซื้ออุปกรณ์ด้านการขนส่ง ลดลงร้อยละ 31.7 อยู่ที่มูลค่า 46.8 พัน ล. ดอลลาร์ เป็นเพราะความต้องการเครื่องบินและชิ้นส่วนลดลง หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.7 ในเดือน มิ.ย. 43 ขณะเดียวกัน ถ้าไม่รวมคำสั่งซื้อสินค้าด้านการขนส่ง คำสั่งซื้อสินค้าคงทนในเดือน ก.ค. 43 ลดลงร้อยละ 4.8 จากที่เพิ่มร้อยละ 0.5 ในเดือน มิ.ย. 43 (รอยเตอร์ 24)
2. ราคาผู้ผลิตของเยอรมนีในเดือน ก.ค. 43 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 9 ปี รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ต เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 43 สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี เปิดเผยว่า เดือน ก.ค. 43 ราคาผู้ผลิต ที่ใช้วัดเงินเฟ้อในอนาคต เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เทียบต่อปี นับว่าเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 9 ปี และสูงกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เทียบต่อปี และร้อยละ 2.9 เทียบต่อเดือน ขณะเดียวกัน หากไม่รวมราคาน้ำมัน ราคาผู้ผลิตในเดือน ก.ค. 43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 และร้อยละ 2.2 เทียบต่อเดือนและต่อปี ตามลำดับ อนึ่ง ราคาผู้ผลิตที่เพิ่มสูงกว่าการคาดการณ์ในครั้งนี้ ได้รับแรงผลักดันจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและเงินยูโรที่อ่อนค่าลง ซึ่งตลาดเงินคาดว่าจะส่งผลให้ ธ. กลางยุโรปขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสัปดาห์หน้า (รอยเตอร์ 24)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคในเขตโตเกียวของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 1.3 ในเดือน ส.ค.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 25 ส.ค.43 สำนักบริหารและประสานงานของญี่ปุ่นรายงานว่า เดือน ส.ค.43 ดัชนีราคาผู้บริโภคในเขตโตเกียวเทียบปีต่อปีลดลงร้อยละ 1.3 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.9 ในเดือน ก.ค.43 เป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 12 หากเทียบเดือนต่อเดือนดัชนีฯ ลดลงร้อยละ 0.1 จากที่ลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือน ก.ค.43 สำหรับดัชนีฯ ที่เป็นแกนลดลงร้อยละ 0.1 จากเดือน ก.ค.43 และเทียบปีต่อปีลดลงร้อยละ 0.8 ซึ่งลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11 ทางด้านดัชนีฯ ของญี่ปุ่นโดยรวม ลดลงร้อยละ 0.5 จากระยะเดียวกันของปี 42 และลดลงร้อยละ 0.2 จากเดือน ก.ค.43 ส่วนดัชนีฯ ที่เป็นแกนลดลงร้อยละ 0.3 เท่ากันทั้งในอัตราเทียบปีต่อปีและเดือนต่อเดือน สำนักวางแผนเศรษฐกิจของญี่ปุ่น (EPA) ให้ความเห็นว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของญี่ปุ่นกำลังมีเสถียรภาพอย่างต่อเนื่อง โดยดูจากการที่ดัชนีฯ ที่เป็นแกนซึ่งไม่รวมราคาอาหารสด และราคาค่าเช่าบ้านในเขตโตเกียวลดลงน้อยมาก (รอยเตอร์ 25)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 24ส.ค. 43 40.966(40.601)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ 24ส.ค.43 ซื้อ 40.7183 (40.4257) ขาย 41.0166 (40.7239)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,350 (5,300) ขาย 5,450 (5,400)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 28.44 (29.46)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 13.89 (13.89)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.ลงโทษ ธพ. กรณีไม่ปฏิบัติตามระเบียบการให้กู้ยืมเงินบาทแก่ผู้มีถิ่นฐานนอกประเทศ ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า จากการตรวจสอบสถาบันการเงินที่มีพฤติกรรมไม่ปฏิบัติตามระเบียบของ ธปท.ที่ให้จำกัดการให้กู้ยืมเงินบาทแก่ผู้มีถิ่นฐานนอกประเทศในวงเงินไม่เกิน 50 ล.บาท ในกรณีไม่มีธุรกรรมการค้าและการลงทุนรองรับนั้น ปรากฏว่ายังมี ธพ.หลายแห่งละเมิดข้อห้ามดังกล่าว ธปท.จึงจำเป็นต้องลงโทษ โดยให้งดการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) เป็นเวลา 10 วัน และหากไม่ปฏิบัติอีกก็จะมีมาตรการลงโทษที่หนักขึ้น ทั้งนี้ ปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ธปท.ได้ทำการวิเคราะห์ปัญหา และวางกระบวนการตรวจสอบการกระทำของสถาบันการเงินเพิ่มเติมจากเดิม ที่ ธปท.จะตรวจสอบเฉพาะรายงานของ ธพ. โดยเมื่อเจ้าหน้าที่ ธปท.พบความผิดและมีการลงโทษแล้ว ต้องมารายงานให้ผู้ว่าการฯ ทราบทุกระยะ ซึ่งมิได้เป็นการฝืนระบบ แต่หาก ธปท.ไม่มีความเด็ดขาด สถาบันการเงินก็จะไม่ปฏิบัติตาม (กรุงเทพธุรกิจ 25)
2. หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ของเอเอ็มซีสุขุมวิท นายเตชะพิทย์ แสงสิงแก้ว ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.เปิดเผยว่า ในวันที่ 28 ส.ค.43 คณะกรรมการบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด หรือเอเอ็มซีของ ธ.กรุงไทย จะประชุมเพื่อคัดเลือกบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัทฯ โดยมีหลักเกณฑ์การคัดเลือกตรงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะความสามารถทางด้านการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ความสามารถในการปรับลดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ความสามารถในการบริหารทั่วไป และความสามารถอื่นๆ สำหรับยอดเอ็นพีแอลของ ธ.กรุงไทย ณ วันที่ 31 ก.ค.43 มีทั้งสิ้น 506,151.82 ล.บาท คิดเป็นร้อยละ 50.46 ของสินเชื่อทั้งระบบ โดยก่อนหน้านี้ได้โอนหนี้เสียส่วนใหญ่ไปไว้ที่เอเอ็มซีสุขุมวิทจำนวน 537,000 ล.บาท ขณะที่เอ็นพีแอลของระบบ ธพ. มีจำนวน 1.491 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 34.95 ของสินเชื่อทั้งระบบ (วัฏจักร 25)
3. ธปท.เปิดเผยยอดการหักบัญชีเช็คในเดือน ก.ค.43 รายงานข่าวจาก ธปท.แจ้งสถิติการหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในเดือน ก.ค.43 ว่า มีปริมาณเช็คเรียกเก็บจำนวน 4.4 ล.ฉบับ มูลค่า 1,150.40 พัน ล.บาท ปริมาณและมูลค่าลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากปริมาณการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เบาบางลง และการปรับลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์อย่างต่อเนื่อง รวมถึงปัจจัยเศรษฐกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ขณะที่ปริมาณเช็คเรียกเก็บเฉลี่ยต่อวันทำการมีจำนวน 219,969 ล.ฉบับ สูงขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 7.70 (ไทยโพสต์ 25)
4. ญี่ปุ่นตัดสิทธิจีเอสพีสินค้าไทย 26 กลุ่มสินค้า อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเปิดเผยผลการใช้เพดานและโควตาจีเอสพีของญี่ปุ่นสำหรับสินค้าอุตสาหกรรมในระยะ 2 เดือนแรกของปีงบประมาณญี่ปุ่น 2543/2544 (1 เม.ย.43-31 มี.ค.44) สิ้นสุด ณ วันที่ 31 พ.ค.43 ปรากฏว่าประเทศไทยมีสินค้าที่ถูกระงับสิทธิจีเอสพีรวม 26 กลุ่มสินค้า เนื่องจากมีการใช้สิทธิเกินกว่าโควตารวมเกินกว่าเพดานที่กำหนด โดยสินค้าที่สำคัญได้แก่ พลาสติกบางรายการ เสื่อ ฝ้าย ถุงมือถัก เสื้อผ้าของสตรีและเด็ก รองเท้าหนัง และรองเท้ายาง (วัฏจักร 25)
ข่าวต่างประเทศ
1. คำสั่งซื้อสินค้าคงทนของ สรอ. ลดลงร้อยละ 12.4 ในเดือน ก.ค. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 24 ส.ค. 43 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ก.ค. 43 คำสั่งซื้อสินค้าคงทนโดยรวม ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล ลดลงอย่างมากถึงร้อยละ 12.4 อยู่ที่มูลค่า 212.4 พัน ล. ดอลลาร์ ตรงข้ามกับเดือน มิ.ย.43 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 ซึ่งลดลงมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์แถบวอลล์สตรีทคาดไว้ว่า จะลดลงร้อยละ 6.7 ทั้งนี้ คำสั่งซื้อฯ ส่วนใหญ่ที่ลดลง เนื่องจากคำสั่งซื้ออุปกรณ์ด้านการขนส่ง ลดลงร้อยละ 31.7 อยู่ที่มูลค่า 46.8 พัน ล. ดอลลาร์ เป็นเพราะความต้องการเครื่องบินและชิ้นส่วนลดลง หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.7 ในเดือน มิ.ย. 43 ขณะเดียวกัน ถ้าไม่รวมคำสั่งซื้อสินค้าด้านการขนส่ง คำสั่งซื้อสินค้าคงทนในเดือน ก.ค. 43 ลดลงร้อยละ 4.8 จากที่เพิ่มร้อยละ 0.5 ในเดือน มิ.ย. 43 (รอยเตอร์ 24)
2. ราคาผู้ผลิตของเยอรมนีในเดือน ก.ค. 43 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 9 ปี รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ต เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 43 สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี เปิดเผยว่า เดือน ก.ค. 43 ราคาผู้ผลิต ที่ใช้วัดเงินเฟ้อในอนาคต เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เทียบต่อปี นับว่าเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 9 ปี และสูงกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เทียบต่อปี และร้อยละ 2.9 เทียบต่อเดือน ขณะเดียวกัน หากไม่รวมราคาน้ำมัน ราคาผู้ผลิตในเดือน ก.ค. 43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 และร้อยละ 2.2 เทียบต่อเดือนและต่อปี ตามลำดับ อนึ่ง ราคาผู้ผลิตที่เพิ่มสูงกว่าการคาดการณ์ในครั้งนี้ ได้รับแรงผลักดันจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและเงินยูโรที่อ่อนค่าลง ซึ่งตลาดเงินคาดว่าจะส่งผลให้ ธ. กลางยุโรปขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสัปดาห์หน้า (รอยเตอร์ 24)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคในเขตโตเกียวของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 1.3 ในเดือน ส.ค.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 25 ส.ค.43 สำนักบริหารและประสานงานของญี่ปุ่นรายงานว่า เดือน ส.ค.43 ดัชนีราคาผู้บริโภคในเขตโตเกียวเทียบปีต่อปีลดลงร้อยละ 1.3 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.9 ในเดือน ก.ค.43 เป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 12 หากเทียบเดือนต่อเดือนดัชนีฯ ลดลงร้อยละ 0.1 จากที่ลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือน ก.ค.43 สำหรับดัชนีฯ ที่เป็นแกนลดลงร้อยละ 0.1 จากเดือน ก.ค.43 และเทียบปีต่อปีลดลงร้อยละ 0.8 ซึ่งลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11 ทางด้านดัชนีฯ ของญี่ปุ่นโดยรวม ลดลงร้อยละ 0.5 จากระยะเดียวกันของปี 42 และลดลงร้อยละ 0.2 จากเดือน ก.ค.43 ส่วนดัชนีฯ ที่เป็นแกนลดลงร้อยละ 0.3 เท่ากันทั้งในอัตราเทียบปีต่อปีและเดือนต่อเดือน สำนักวางแผนเศรษฐกิจของญี่ปุ่น (EPA) ให้ความเห็นว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของญี่ปุ่นกำลังมีเสถียรภาพอย่างต่อเนื่อง โดยดูจากการที่ดัชนีฯ ที่เป็นแกนซึ่งไม่รวมราคาอาหารสด และราคาค่าเช่าบ้านในเขตโตเกียวลดลงน้อยมาก (รอยเตอร์ 25)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 24ส.ค. 43 40.966(40.601)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ 24ส.ค.43 ซื้อ 40.7183 (40.4257) ขาย 41.0166 (40.7239)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,350 (5,300) ขาย 5,450 (5,400)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 28.44 (29.46)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 13.89 (13.89)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-