บันทึกการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๕ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)

ข่าวการเมือง Monday October 15, 2001 13:57 —รัฐสภา

                                        บันทึกการประชุมวุฒิสภา
ครั้งที่ ๒๕ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันศุกร์ที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๔๐ นาฬิกา
เมื่อสมาชิกฯ มาครบองค์ประชุมแล้ว พลตรี มนูญกฤต รูปขจร ประธานวุฒิสภา
นายพิเชฐ พัฒนโชติ รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง และนายบุญทัน ดอกไธสง รองประธานวุฒิสภา
คนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
ประธานวุฒิสภาได้กล่าวเปิดประชุม แล้วให้เลขาธิการวุฒิสภาอ่านพระบรมราชโองการ
ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี
๑) ให้นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรี พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
๒) ให้แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่ง
นายสุวิทย์ คุณกิตติ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ตั้งแต่วันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๔๔ เป็นต้นไป
ต่อมา ประธานวุฒิสภาได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญ
เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติและความประพฤติของผู้ที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการ
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ได้ขอขยายเวลาการพิจารณาเรื่องดังกล่าว
ออกไปอีก ๓๐ วัน นับแต่วันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๔๔ ซึ่งการขอขยายเวลาของคณะกรรมาธิการ
ในครั้งนี้เป็นการขอขยายเวลาในระหว่างสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ ประธานวุฒิสภา
จึงอนุญาตให้ขยายเวลาได้ตามที่ขอมา ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๙๒
จากนั้น ประธานวุฒิสภาได้เสนอให้ที่ประชุมรับรองรายงานการประชุมวุฒิสภา
ครั้งที่ ๑๕ (สมัยสามัญทั่วไป) วันศุกร์ที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๔ ครั้งที่ ๑๖ (สมัยสามัญทั่วไป)
เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๔๔ ครั้งที่ ๑๗ (สมัยสามัญทั่วไป) วันศุกร์ที่ ๒๕
พฤษภาคม ๒๕๔๔ ครั้งที่ ๑๘ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันจันทร์ที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๔
ครั้งที่ ๑๙ (สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันอังคารที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๔๔ ครั้งที่ ๒๐
(สมัยสามัญทั่วไป) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๔ และครั้งที่ ๑ (สมัยวิสามัญ)
วันศุกร์ที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๔๔ ซึ่งที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมทั้ง ๗ ครั้งดังกล่าว
ต่อมา ประธานวุฒิสภาได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องตามระเบียบวาระ
เรื่องด่วน คือ ร่างพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญ
พิจารณาเสร็จแล้ว โดยประธานวุฒิสภาได้อนุญาตให้ นายสามารถ บูรณวัฒนาโชค ผู้อำนวยการ
อาวุโส ฝ่ายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เข้าร่วมชี้แจงต่อที่ประชุม
ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๖๐ ที่ประชุมได้พิจารณาในวาระที่ ๒ เริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียง
ตามลำดับมาตราจนจบร่าง และลงมติในวาระที่ ๓ ให้แก้ไขเพิ่มเติม
จากนั้น รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง ผู้ปฏิบัติหน้าที่ประธานของที่ประชุม
ได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอนำเรื่องตั้งกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน
แทนตำแหน่งที่ว่าง ๑ ตำแหน่ง ให้ที่ประชุมพิจารณา ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ และมีมติให้ตั้ง
พลตำรวจเอก วิรุฬห์ พื้นแสน เป็นกรรมาธิการแทน นายเพิ่มพูน ทองศรี ซึ่งขอลาออกจากตำแหน่ง
ต่อมา ประธานของที่ประชุมได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอนำเรื่องตามระเบียบวาระ
เรื่องด่วน ลำดับที่ ๓ ตั้งคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติและความประพฤติ
ของบุคคลผู้สมควรเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเพิ่มเติม ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๑๓๕
ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่
ตรวจสอบประวัติและความประพฤติของบุคคลผู้สมควรเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเพิ่มเติม
จำนวน ๒๑ คน ประกอบด้วย
๑. นายชุมพล ศิลปอาชา ๒. นายอาคม ตุลาดิลก
๓. นายศรีเมือง เจริญศิริ ๔. พลตำรวจตรี อำพล งามจิตร
๕. นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์ ๖. พลตำรวจเอก มีชัย นุกูลกิจ
๗. นายทองใบ ทองเปาด์ ๘. นายสุพร สุภสร
๙. นายทวี แก้วคง ๑๐. นายณรงค์ นุ่นทอง
๑๑. พลเอก วัฒนา สรรพานิช
จากนั้น รองประธานวุฒิสภาคนที่สอง ผู้ปฏิบัติหน้าที่ประธานของที่ประชุม
ได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องตามระเบียบวาระ เรื่องด่วน คือ ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพ
การสัตวแพทย์ พ.ศ. …. ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว เมื่อสมาชิกฯ อภิปราย
และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์)
ตอบชี้แจงแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา และมีมติให้ตั้ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา จำนวน ๒๑ คน ประกอบด้วย
๑. นายโอภาส รองเงิน ๒. นายทวี แก้วคง
๓. นางจิตรา อยู่ประเสริฐ ๔. นายวิชิต พูลลาภ
๕. นายถาวร เกียรติไชยากร ๖. นายบรรฑูรย์ เกริกพิทยา
๗. นายสหัส พินทุเสนีย์ ๘. นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์
๙. นายปรีชา ปิตานนท์ ๑๐. นายอมร นิลเปรม
๑๑. นายจอน อึ๊งภากรณ์ ๑๒. นายถวิล จันทร์ประสงค์
๑๓. พลโท ปัญญา อยู่ประเสริฐ ๑๔. นายนพดล สมบูรณ์
๑๕. นายผ่อง เล่งอี้ ๑๖. นายชิต เจริญประเสริฐ
๑๗. นายสมบัติ วรามิตร ๑๘. นางกรองกาญจน์ วีสมหมาย
๑๙. พลโท โกวิท พัฑฒฆายน ๒๐. นายเกษม มาลัยศรี
๒๑. นายนิวัฒน์ พ้นชั่ว
โดยมีกำหนดการแปรญัตติตามข้อบังคับฯ
เลิกประชุมเวลา ๑๖.๕๐ นาฬิกา
(ลายเซ็น)
(นายจำนงค์ สวมประคำ)
รองเลขาธิการวุฒิสภา รักษาราชการแทน
เลขาธิการวุฒิสภา
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
ให้แก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ….
รับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. ….
ฝ่ายระเบียบวาระและรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๑๕๖๘
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๑๕๖๖

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ