น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า หากกล่าวถึงความล้มเหลวและความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาลแล้วถือว่ากรณีโรคไข้หวัดนกเป็นดัชนีชี้วัดได้ดีที่สุดอีกกรณีหนึ่ง โดยเฉพาะหากพิจารณาถึงการระบาดของโรคไข้หวัดนกที่ภายในระยะเวลา 1 ปีมีการระบาดถึง 3 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 ในช่วงปลายเดือนตุลาคม 2546 จนถึงเดือนปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2547 สร้างความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินของเกษตรกร โดยมีคนตาย ถึง 7 ราย มีผู้ป่วยที่ต้องเฝ้าระวัง 126 ราย ต้องมีการฆ่าไก่และสัตว์ปีกกว่า 30 ล้านตัวในพื้นที่ระบาดกว่า60 จังหวัด ส่วนผลกระทบทางเศรษฐกิจนั้นจากการประเมินในเบื้องต้นพบว่าเสียหายไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาทและมีคนว่างงานอีกนับแสนคน ครั้งที่ 2 ช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2547 จนถึงปลายเดือนกันยายน 2547 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย และมีการฆ่าทำลายไก่และสัตว์ปีกอีกกว่า 700,000 ตัว ซึ่งจากการระบาดสองครั้งที่ผ่านมาหากพิจารณาเฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมไก่ที่แถลงโดยสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทยที่ได้รับผลกระทบจากโรคไข้หวัดนกในปี 2547 ว่ามีมูลค่าถึงประมาณ กว่า 100,000 ล้านบาท ครั้งที่ 3 ตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม 2548 เป็นต้นมา นั้นกระทรวงสาธารณสุขรายงานว่าตั้งแต่วันที่ 1-20 มกราคม กรมควบคุมโรคพบว่ามีผู้ป่วยอยู่ในข่ายเฝ้าระวังจำนวน 25 ราย
ทั้งนี้น.พ.วัลลภ ได้กล่าวถึงมาตรการแก้ปัญหาของรัฐบาล ที่ชี้ให้เห็นถึงความผิดพลาด และไร้ประสิทธิภาพอย่างสิ้นเชิง คือ
1. การปกปิดข้อมูล ที่ผ่านมาในช่วงที่มีการระบาดของโรคตั้งแต่ปลายปี 2546 เป็นต้นมาและพบว่ามีไก่และสัตว์ปีกล้มตายเป็นจำนวนมาก แต่รัฐบาลกลับบอกว่าไก่และสัตว์ปีกที่ล้มตายนั้นตายเพราะเป็นอหิวาตกโรค หรือเป็นโรคหลอดลมอักเสบเท่านั้น ซึ่งเป็นการระบาดประจำปี จากการปกปิดข้อมูลเหล่านี้นี่เองทำให้โรคไข้หวัดนกแพร่ระบาดลุกลามใหญ่โต
จนต่อมามีผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดจากศิริราชพยาบาลและอีกหลายคนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญต่างยืนยันถึงการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก ทำให้รัฐบาลต้องออกมายอมรับในที่สุด แต่ทุกอย่างก็สายเกินไปเพราะโรคได้ระบาดออกไปจนยากควบคุม และสร้างความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินของเกษตรกร รวมทั้งทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจนับแสนล้านบาทดังกล่าวข้างต้น
2. เลือกปฏิบัติในการเข้าทำลายไก่ สาเหตุสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้เชื้อไข้หวัดนกยังคงอยู่ โดยที่ผ่านมารัฐบาลไม่เข้าตรวจสอบและทำลายไก่ในฟาร์มขนาดใหญ่ซึ่งเป็นระบบฟาร์มระบบปิด ซึ่งมีข้อสังเกตว่าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ส่งออกไก่รายใหญ่ และฟาร์มของหัวคะแนนของพรรคไทยรักไทย มีเพียงเข้าตรวจสอบและทำลายในฟาร์มขนาดเล็กของชาวบ้านเท่านั้น ซึ่งทำให้การตรวจสอบและทำลายไก่และสัตว์ปีกที่ติดเชื้อทำได้ไม่ทั่วถึง
3. กระทรวงเกษตรและสาธารณสุข ทำงานไม่สานงานกัน ที่ผ่านมาสิ่งที่ได้พบเห็นกันก็คือการทำงานของสองหน่วยงานดังกล่าวซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการป้องกันยับยั้งและการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคไข้หวัดนกไม่ได้ประสานการทำงานที่สอดคล้องกันต่างฝ่ายต่างก็ปัดความรับผิดชอบโยนความผิดให้กับอีกหน่วยงานหนึ่งอยู่ตลอดเวลา
4. แก้ปัญหาด้วยการสร้างภาพ ตลอดเวลาที่เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนกสิ่งที่พบเห็นอยู่ตลอดเวลาก็คือการสร้างภาพทางการเมืองเพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่น เช่นการจัดงานกินไก่โชว์ที่ทำเนียบรัฐบาลและท้องสนามหลวง เป็นต้น แต่ไม่ได้มีมาตรการในการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง
ผู้สมัครส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า การระบาดครั้งที่ 2 ก็เช่นเดียวกัน รัฐบาลก็ยังใช้วิธีการแก้ปัญหาในลักษณะเดิมๆคือ การสร้างภาพคุยโวเท่านั้น เช่น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร บอกว่าจะแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนกให้หมดภายใน 30 วัน คือภายในสิ้นเดือนตุลาคมปีที่แล้วจะต้องไม่มีเชื้อไข้หวัดนกเหลืออยู่ในประเทศไทย และในขณะนี้การระบาดครั้งที่ 3 ก็เกิดขึ้นแล้ว เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่ามาตรการหรือคำยืนยันของนายกรัฐมนตรีในช่วงที่ผ่านมาที่มีการระบาดในครั้งแรกและครั้งที่สองที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันมีความล้มเหลว และสร้างความเสียหายมากมาย เพราะจากข้อมูลของเจ้าหน้าที่องค์การอนามัยโลกได้ระบุว่าเชื้อโรคอาจกลายพันธุ์ทำให้มีความรุนแรงซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย 5-10 ปีในการทำลาย และล่าสุดวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ เจอนัล เมดิซีน ซึ่งเป็นวารสารการแพทย์ที่ได้รับความเชื่อถือจากทั่วโลกจะตีพิมพ์ในปลายสัปดาห์นี้เผยแพร่การติดเชื้อของเด็กหญิงคนหนึ่งที่จังหวัดกำแพงเพชรจนเสียชีวิตเมื่อครั้งมีการระบาดครั้งที่ 2 เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งจะเป็นการบันทึกถึงโรคที่ระบาดจากคนสู่คนเป็นครั้งแรกก็จะยิ่งสร้างความเสียหายต่อประเทศไทยมากขึ้นไปอีก
สำหรับมาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคในครั้งที่ 3 ของคณะกรรมการพิจารณาการแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนก ที่มี นายจาตุรนต์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานที่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปเอ็กซเรย์พื้นที่ทั่วประเทศนั้นจะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน เช่นการทำแผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อมรับมือโรคไข้หวัดนกที่มีระยะดำเนินการ 3 ปี ซึ่งจะใช้งบในปี 2548 จำนวน 287 ล้านบาท เพราะที่ผ่านมาเมื่อมีการระบาดของโรคที่ผ่านมาถึง 3 ครั้ง และครั้งนี้ก็ยังเกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 3
นอกจากนี้จากข้อมูลยังพบว่ายังมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานบางหน่วย เช่นจากกรมปศุสัตว์ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ควบคุมโรคในสัตว์ซึ่งเป็นหน่วยงานต้นเหตุยังมีปัญหาบุคลากรไม่เพียงพอโดยเป็นผลมาจากการปฏิรูประบบราชการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในช่วงที่ผ่านมามีการที่ยังไม่มีการแต่งตั้งปศุสัตว์อำเภอครบทุกพื้นที่โดยเฉพาะในพื้นที่ที่พบการระบาดของโรค ซึ่งเวลานี้มีเพียงสาธารณสุขอำเภอที่ต้องทำหน้าที่แทนปศุสัตว์จังหวัดอยู่ด้วยจึงเป็นงานที่หนักเกินกำลังมาก
ดังนั้นเชื่อว่า การที่รัฐบาลประกาศจะมีการเอ็กเซเรย์พื้นที่ทั่วประเทศในเดือนกุมภาพันธ์นี้จึงทำให้ไม่สามารถทำได้อย่างทั่วถึงประกอบกับเวลานี้รัฐมนตรีในหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุขก็ยังไม่ทำงานประสานสอดคล้องกันมัวแต่มุ่งหาเสียง สร้างภาพทางการเมืองจึงน่าเป็นห่วงว่าการแก้ปัญหาจะล้มเหลวจนสร้างความเสียหายมากมายเหมือนดังเช่นที่ผ่านมา
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 25 ม.ค.2548--จบ--
-ดท-
ทั้งนี้น.พ.วัลลภ ได้กล่าวถึงมาตรการแก้ปัญหาของรัฐบาล ที่ชี้ให้เห็นถึงความผิดพลาด และไร้ประสิทธิภาพอย่างสิ้นเชิง คือ
1. การปกปิดข้อมูล ที่ผ่านมาในช่วงที่มีการระบาดของโรคตั้งแต่ปลายปี 2546 เป็นต้นมาและพบว่ามีไก่และสัตว์ปีกล้มตายเป็นจำนวนมาก แต่รัฐบาลกลับบอกว่าไก่และสัตว์ปีกที่ล้มตายนั้นตายเพราะเป็นอหิวาตกโรค หรือเป็นโรคหลอดลมอักเสบเท่านั้น ซึ่งเป็นการระบาดประจำปี จากการปกปิดข้อมูลเหล่านี้นี่เองทำให้โรคไข้หวัดนกแพร่ระบาดลุกลามใหญ่โต
จนต่อมามีผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดจากศิริราชพยาบาลและอีกหลายคนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญต่างยืนยันถึงการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก ทำให้รัฐบาลต้องออกมายอมรับในที่สุด แต่ทุกอย่างก็สายเกินไปเพราะโรคได้ระบาดออกไปจนยากควบคุม และสร้างความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินของเกษตรกร รวมทั้งทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจนับแสนล้านบาทดังกล่าวข้างต้น
2. เลือกปฏิบัติในการเข้าทำลายไก่ สาเหตุสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้เชื้อไข้หวัดนกยังคงอยู่ โดยที่ผ่านมารัฐบาลไม่เข้าตรวจสอบและทำลายไก่ในฟาร์มขนาดใหญ่ซึ่งเป็นระบบฟาร์มระบบปิด ซึ่งมีข้อสังเกตว่าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ส่งออกไก่รายใหญ่ และฟาร์มของหัวคะแนนของพรรคไทยรักไทย มีเพียงเข้าตรวจสอบและทำลายในฟาร์มขนาดเล็กของชาวบ้านเท่านั้น ซึ่งทำให้การตรวจสอบและทำลายไก่และสัตว์ปีกที่ติดเชื้อทำได้ไม่ทั่วถึง
3. กระทรวงเกษตรและสาธารณสุข ทำงานไม่สานงานกัน ที่ผ่านมาสิ่งที่ได้พบเห็นกันก็คือการทำงานของสองหน่วยงานดังกล่าวซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการป้องกันยับยั้งและการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคไข้หวัดนกไม่ได้ประสานการทำงานที่สอดคล้องกันต่างฝ่ายต่างก็ปัดความรับผิดชอบโยนความผิดให้กับอีกหน่วยงานหนึ่งอยู่ตลอดเวลา
4. แก้ปัญหาด้วยการสร้างภาพ ตลอดเวลาที่เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนกสิ่งที่พบเห็นอยู่ตลอดเวลาก็คือการสร้างภาพทางการเมืองเพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่น เช่นการจัดงานกินไก่โชว์ที่ทำเนียบรัฐบาลและท้องสนามหลวง เป็นต้น แต่ไม่ได้มีมาตรการในการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง
ผู้สมัครส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า การระบาดครั้งที่ 2 ก็เช่นเดียวกัน รัฐบาลก็ยังใช้วิธีการแก้ปัญหาในลักษณะเดิมๆคือ การสร้างภาพคุยโวเท่านั้น เช่น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร บอกว่าจะแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนกให้หมดภายใน 30 วัน คือภายในสิ้นเดือนตุลาคมปีที่แล้วจะต้องไม่มีเชื้อไข้หวัดนกเหลืออยู่ในประเทศไทย และในขณะนี้การระบาดครั้งที่ 3 ก็เกิดขึ้นแล้ว เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่ามาตรการหรือคำยืนยันของนายกรัฐมนตรีในช่วงที่ผ่านมาที่มีการระบาดในครั้งแรกและครั้งที่สองที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันมีความล้มเหลว และสร้างความเสียหายมากมาย เพราะจากข้อมูลของเจ้าหน้าที่องค์การอนามัยโลกได้ระบุว่าเชื้อโรคอาจกลายพันธุ์ทำให้มีความรุนแรงซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย 5-10 ปีในการทำลาย และล่าสุดวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ เจอนัล เมดิซีน ซึ่งเป็นวารสารการแพทย์ที่ได้รับความเชื่อถือจากทั่วโลกจะตีพิมพ์ในปลายสัปดาห์นี้เผยแพร่การติดเชื้อของเด็กหญิงคนหนึ่งที่จังหวัดกำแพงเพชรจนเสียชีวิตเมื่อครั้งมีการระบาดครั้งที่ 2 เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งจะเป็นการบันทึกถึงโรคที่ระบาดจากคนสู่คนเป็นครั้งแรกก็จะยิ่งสร้างความเสียหายต่อประเทศไทยมากขึ้นไปอีก
สำหรับมาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคในครั้งที่ 3 ของคณะกรรมการพิจารณาการแก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนก ที่มี นายจาตุรนต์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานที่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปเอ็กซเรย์พื้นที่ทั่วประเทศนั้นจะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน เช่นการทำแผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อมรับมือโรคไข้หวัดนกที่มีระยะดำเนินการ 3 ปี ซึ่งจะใช้งบในปี 2548 จำนวน 287 ล้านบาท เพราะที่ผ่านมาเมื่อมีการระบาดของโรคที่ผ่านมาถึง 3 ครั้ง และครั้งนี้ก็ยังเกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 3
นอกจากนี้จากข้อมูลยังพบว่ายังมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานบางหน่วย เช่นจากกรมปศุสัตว์ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ควบคุมโรคในสัตว์ซึ่งเป็นหน่วยงานต้นเหตุยังมีปัญหาบุคลากรไม่เพียงพอโดยเป็นผลมาจากการปฏิรูประบบราชการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในช่วงที่ผ่านมามีการที่ยังไม่มีการแต่งตั้งปศุสัตว์อำเภอครบทุกพื้นที่โดยเฉพาะในพื้นที่ที่พบการระบาดของโรค ซึ่งเวลานี้มีเพียงสาธารณสุขอำเภอที่ต้องทำหน้าที่แทนปศุสัตว์จังหวัดอยู่ด้วยจึงเป็นงานที่หนักเกินกำลังมาก
ดังนั้นเชื่อว่า การที่รัฐบาลประกาศจะมีการเอ็กเซเรย์พื้นที่ทั่วประเทศในเดือนกุมภาพันธ์นี้จึงทำให้ไม่สามารถทำได้อย่างทั่วถึงประกอบกับเวลานี้รัฐมนตรีในหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุขก็ยังไม่ทำงานประสานสอดคล้องกันมัวแต่มุ่งหาเสียง สร้างภาพทางการเมืองจึงน่าเป็นห่วงว่าการแก้ปัญหาจะล้มเหลวจนสร้างความเสียหายมากมายเหมือนดังเช่นที่ผ่านมา
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 25 ม.ค.2548--จบ--
-ดท-