นายเกริกไกร จีระแพทย์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ได้รับแจังจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโคเปนเฮนเกน ว่า ประเทศเดนมาร์ก สวีเดน และฟินแลนด์ ได้ตรวจพบสาร 3 — MCPD ในซอสปรุงรสจากประเทศไทยมีปริมาณเกินกว่าที่กำหนดไว้ กรมการค้าต่างประเทศได้ประสานงาน และได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันอาหาร สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป และผู้ประกอบการมาประชุมหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
นายเกริกไกร เปิดเผยว่า จากการประชุมครั้งนี้ได้รับทราบข้อมูลว่าขณะนี้ยังไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐานสากลของปริมาณสารดังกล่าวในสินค้าอาหาร ปัญหาที่เกิดขึ้นจึงเป็นการที่แต่ละประเทศกำหนดขึ้นมาใช้บังคับการนำเข้าของตนเอง ทั้งนี้จะมีการประชุมในระดับนานาชาติเพื่อพิจารณาว่าจะกำหนดค่ามาตรฐานของสารดังกล่าวหรือไม่ ประมาณเดือนมีนาคม 2544 สำหรับด้านการแก้ไขปัญหาสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้เชิญผู้ประกอบการหารือและให้ข้อแนะนำแนวทางปรับปรุงวิธีการผลิตและกรมวิทยาศาสตร์ได้หารือแนวทางการตรวจสอบและการออกใบรับรอง โดยจะให้ความร่วมมือกับภาคเอกชน เพื่อให้มีการแก้ไขปัญหาและสามารถออกหนังสือรับรองเพื่อการส่งออกได้ในเร็ว ๆ นี้ ในส่วนของกรมการค้าต่างประเทศจะประสานไปยังสำนักงานคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก เพื่อพิจารณาการใช้มาตรการกำหนดปริมาณสาร 3 — MCPD เป็นมาตรการกีดกันทางการค้าและเป็นการเลือกปฏิบัติหรือไม่ และจะประสานงานกับสำนักงานพาณิชย์ ณ ต่างประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป และในประเทศคู่ค้าที่สำคัญ เพื่อขอทราบกฎระเบียบ และวิธีการวิเคราะห์สารของประเทศต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้ประกอบการทดสอบและแก้ไขป้องกันปัญหาต่อไป อีกทั้งจะประสานกับประเทศผู้ผลิตอื่น ๆ ในเอเชีย ซึ่งเคยประสบปัญหาดังกล่าวมาก่อนไทย เพื่อขอทราบแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่ผ่านมา เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับกรณีของไทยด้วย
-กรมการค้าต่างประเทศ กรกฎาคม 2543--
-อน-
นายเกริกไกร เปิดเผยว่า จากการประชุมครั้งนี้ได้รับทราบข้อมูลว่าขณะนี้ยังไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐานสากลของปริมาณสารดังกล่าวในสินค้าอาหาร ปัญหาที่เกิดขึ้นจึงเป็นการที่แต่ละประเทศกำหนดขึ้นมาใช้บังคับการนำเข้าของตนเอง ทั้งนี้จะมีการประชุมในระดับนานาชาติเพื่อพิจารณาว่าจะกำหนดค่ามาตรฐานของสารดังกล่าวหรือไม่ ประมาณเดือนมีนาคม 2544 สำหรับด้านการแก้ไขปัญหาสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้เชิญผู้ประกอบการหารือและให้ข้อแนะนำแนวทางปรับปรุงวิธีการผลิตและกรมวิทยาศาสตร์ได้หารือแนวทางการตรวจสอบและการออกใบรับรอง โดยจะให้ความร่วมมือกับภาคเอกชน เพื่อให้มีการแก้ไขปัญหาและสามารถออกหนังสือรับรองเพื่อการส่งออกได้ในเร็ว ๆ นี้ ในส่วนของกรมการค้าต่างประเทศจะประสานไปยังสำนักงานคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก เพื่อพิจารณาการใช้มาตรการกำหนดปริมาณสาร 3 — MCPD เป็นมาตรการกีดกันทางการค้าและเป็นการเลือกปฏิบัติหรือไม่ และจะประสานงานกับสำนักงานพาณิชย์ ณ ต่างประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป และในประเทศคู่ค้าที่สำคัญ เพื่อขอทราบกฎระเบียบ และวิธีการวิเคราะห์สารของประเทศต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้ประกอบการทดสอบและแก้ไขป้องกันปัญหาต่อไป อีกทั้งจะประสานกับประเทศผู้ผลิตอื่น ๆ ในเอเชีย ซึ่งเคยประสบปัญหาดังกล่าวมาก่อนไทย เพื่อขอทราบแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่ผ่านมา เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับกรณีของไทยด้วย
-กรมการค้าต่างประเทศ กรกฎาคม 2543--
-อน-