การอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitation) เป็นหลักการสำคัญเพื่อการบรรลุเป้าหมายโบกอร์ของเอเปคอย่างมีประสิทธิภาพในการเปิดเสรีทางการค้า และการลงทุนในภูมิภาค-เอเชีย-แปซิฟิค เพื่อประโยชน์ต่อทั้งภาครัฐและภาคเอกชนของแต่ละประเทศสมาชิก และเพื่อประโยชน์โดยรวมของภูมิภาค
การดำเนินงานด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าจะมีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงสภาพการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศในภูมิภาค เพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้าระหว่างประเทศ และช่วยเหลือธุรกิจ รวมถึงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) โดยการประหยัดเวลาและลดต้นทุนทางการค้า
การอำนวยความสะดวกทางการค้าไม่ควรสร้างภาระและความยุ่งยากในการดำเนินธุรกิจที่เกินความจำเป็นในการบรรลุความถูกต้องตามกฎหมาย เช่น การคุ้มครองด้านสุขภาพและความปลอดภัย และการคุ้มครองจากการกระทำที่ผิดกฎหมาย (การหลอกลวงทางการค้าและการลักลอบขนส่งสินค้าผิดกฎหมาย) เป็นต้น
การจัดทำหลักการด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าของเอเปค ยึดหลักการทั่วไปของวาระปฏิบัติการโอซาก้า (Osaka Action Agenda) และความก้าวหน้าของเรื่องนี้ในเวทีอื่น ๆ เช่น องค์การการค้าโลก ซึ่งการอำนวยความสะดวกทางการค้าจะเกี่ยวข้องกับทั้งสินค้าและบริการ โดยเป็นหลักการที่ไม่ผูกพัน แต่ละสมาชิกสามารถนำไปปฏิบัติตามความสมัครใจและร่วมมือกับภาคธุรกิจผ่านกระบวนการเปิดเสรีภายใต้แผนปฏิบัติการรายสมาชิก (IAP) และแผนปฏิบัติการร่วมกันของสมาชิก (CAP)
การจัดทำหลักการด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าจะทำให้งานด้านนี้ของเอเปคในอนาคตมีความชัดเจนมากขึ้น เสริมงานด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าในเวทีอื่น ๆ และช่วยให้การจัดทำและดำเนินนโยบายทางการค้าของสมาชิกเอเปคเอื้อต่อธุรกิจ
โดยทั่วไปการอำนวยความสะดวกทางการค้าจะเกี่ยวข้องกับการปรับขั้นตอนและพิธีการให้งานขึ้น (Simplification) การปรับประสานกฎระเบียบรวมถึงมาตรฐานต่าง ๆ ให้เป็นระดับสากล (Harmonization) การใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ (New Technology) และมาตรการอื่น ๆ ที่จะลดอุปสรรคทางการค้าในส่วนของขั้นตอน พิธีการ และการบริหารงาน
เนื่องจากความแตกต่างระหว่างสมาชิกเอเปคในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นระดับการพัฒนาของเศรษฐกิจ ระดับความสามารถทางเทคโนโลยีและกฎหมาย ดังนั้น ความช่วยเหลือทางวิชาการและความร่วมมือของเอเปคในการเสริมสร้างขีดความสามารถ (Capacity Building) ที่เหมาะสมให้กับสมาชิกกำลังพัฒนาจึงมีความสำคัญอย่างมากในการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินธุรกิจ
จากเหตุผลข้างต้นเอเปคให้การรับรองหลักการดังต่อไปนี้ คือ1. ความโปร่งใส (Transparency)
แต่ละประเทศสมาชิกควรเผยแพร่ข้อมูลในเรื่องนโยบาย กฎหมาย กฎระเบียบ การออกใบอนุญาต การออกใบรับรอง ข้อกำหนดในเรื่องการจดทะเบียนและการกำหนดมาตรฐาน และขั้นตอนกฎระเบียบ และข้อปฏิบัติในด้านการค้าสินค้าและบริการให้กับผู้ที่สนใจอย่างทั่วถึง ทั้งนี้การเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวควรทำได้อย่างรวดเร็ว และไม่เสียหรือเสียค่าใช้จ่ายที่สมเหตุสมผล
ตัวอย่างกิจกรรม: การเผยแพร่ข้อมูลที่ทันสมัยของกฎระเบียบและขั้นตอนที่เกี่ยวกับการค้า
ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต 2. การสื่อสารและการปรึกษาหารือ (Communication and Consultation)
หน่วยงานภาครัฐควรอำนวยความสะดวกและส่งเสริมให้มีกลไกการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการค้า โดยเฉพาะภาคธุรกิจ ทั้งนี้ ความคิดเห็นของภาคธุรกิจจากการปรึกษาหารือกันควรนำเข้ามาพิจารณาอย่างเหมาะสมเมื่อมีการจัดทำ ปฏิบัติ และทบทวนกฎระเบียบและขั้นตอนต่าง ๆ นอกจากนั้น หน่วยงานภาครัฐควรระบุบทบาท หน้าที่ และท่าทีของตนเองอย่างชัดเจน
ตัวอย่างกิจกรรม: -จัดตั้งหน่วยงานประสานงานรวบรวมความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้-ส่วนเสียกับบริการที่เกี่ยวข้องกับการค้า
-ปรึกษาหารือกับตัวแทนจากภาคธุรกิจและกลุ่มอาชีพต่างๆ ทั้งจากกลุ่มอุตสาหกรรม ผู้บริโภค และกลุ่มอาชีพอื่น ๆ ก่อนการปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบต่าง ๆ และการจดทำกฎระเบียบใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้าเพื่อให้กฎระเบียบดังกล่าวเป็นที่เข้าใจและลดความขัดแย้งเมื่อมีการประกาศใช้กฎระเบียบดังกล่าว -ส่งเสริมความร่วมมือและ/หรือการหารือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในเรื่องศุลกากร และการจัดตั้งจุดบริการสอบถามปัญหาผ่านเว็บไซต์โต๊ะช่วยเหลือ (Help-Desks) และอื่น ๆ ในเรื่องบริการศุลกากรที่เกี่ยวข้องกับการค้า3. การปรับให้ง่ายขึ้น ปฏิบัติได้ และมีประสิทธิภาพ (Simplification, Practicability, and Efficiency)
กฎระเบียบและขั้นตอนที่เกี่ยวกับการค้าควรปรับให้ง่ายขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่ากฎระเบียบและขั้นตอนดังกล่าวจะไม่สร้างภาระหรือเป็นการกีดกันทางการค้าที่เกินความจำเป็นในการบรรจุลความถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งนี้ กฎระเบียบและขั้นตอนดังกล่าวจะต้องสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างกิจกรรม: -การลดเอกสารและข้อกำหนดขั้นตอนให้เหลือน้อยที่สุด รวมทั้งจัดให้มีบริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One Stop Shopping Services) หรือศูนย์ประสานงาน
-การลดกฎระเบียบและขั้นตอนที่ไม่จำเป็นในการขอวีซ่าและการขอสิทธิ์ในการพำนักอาศัยชั่วคราว (Temporary Residence) สำหรับนักธุรกิจเพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายของนักธุรกิจในภูมิภาค
-การตรวจปล่อยทางศุลกากรอย่างรวดเร็วแก่ผู้ที่ปฏิบัติถูกต้องตามเกณฑ์ของศุลกากร หรือนำระบบ Post Audit Clearance System มาใช้
-กฎระเบียบในสาขาบริการ สามารถใช้ประโยชน์จากกรณีตัวอย่างของ "Best Pratices" ในเวทีย่อยด้านบริการของเอเปค
-รายงานเกี่ยวกับมาตรการชายแดนในการประเมินความสอดคล้องกับกฎระเบียบของสินค้าผ่านแดนแสดงความสอดคล้องที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง4. การไม่เลือกปฏิบัติ (Non-Discrimination)
ภายใต้สถานการณ์ที่เหมือนกัน กฎระเบียบและขั้นตอนที่เกี่ยวกับการค้าจะต้องไม่เลือกปฏิบัติต่อผู้ประกอบการในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้รวมถึงการไม่เลือกปฏิบัติระหว่างสินค้าและบริการที่ผลิตในประเทศและจากต่างประเทศ
ตัวอย่างกิจกรรม: -การเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับบริการที่เกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างผู้ประกอบการในประเทศ และต่างประเทศในอัตราเดียวกัน5. ความสอดคล้องตรงกันและการคาดการณ์ได้ (Consistency and Predictability)
การใช้กฎระเบียบและขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการค้าควรมีเอกภาพ สอดคล้องตรงกันและคาดการณ์ได้ เพื่อลดความไม่แน่นอนต่อการค้าและผู้ค้าให้เหลือน้อยที่สุด นอกจากนั้น กฎระเบียบและขั้นตอนดังกล่าวควรมีความชัดเจนและมีแนวทางที่แน่นอน (Precise) ให้หน่วยงานที่เหมาะสมสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติและตัดสินใจแบบมีมาตรฐานเดียวกัน มิใช่การตัดสินใจโดยดุลพินิจของเจ้าหน้าที่
ตัวอย่างกิจกรรม: -ประกาศกำหนดเวลาที่แน่นอนในการดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐ เช่น การระบุกรอบเวลาที่แน่นอนในการดำเนินการอนุมัติใบอนุญาต นับตั้งแต่ได้รับใบคำขอ เพื่อให้แน่ใจในมาตรฐานการบริการที่สามารถคาดการณ์ได้
-จัดตั้งหน่วยงานกลาง เช่น ศูนย์กลางในการตีความ เพื่อให้การตีความกฎระเบียบและขั้นตอนต่าง ๆ เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน และมีเอกภาพ6. การจัดทำและปรับประสานมาตรฐานและการยอมรับ (Harmonization, Standardization and Recognition)
ในขณะที่สมาชิกเอเปคมีความจำเป็นต้องกำหนดกฎระเบียบเพื่อบรรลุความถูกต้องตามกฎหมายในเรื่องต่าง ๆ เช่น การคุ้มครองด้านสุขภาพ ความปลอดภัย ความชอบธรรมของประชาชน และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่ขาดแคลน เป็นต้น ดังนั้น กฎระเบียบและขั้นตอนต่าง ๆ ที่มีผลต่อการยอมรับสินค้าและบริการระหว่างประเทศของแต่ละสมาชิกควรจัดทำและปรับประสานให้เป็นมาตรฐานสากลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งนี้การพัฒนากระบวนการยอมรับร่วมและสอดคล้องกันในมาตรฐานระหว่างประเทศ และความร่วมมือในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่องจะมีส่วนสำคัญอย่างมากในการลดต้นทุนในการติดต่อประสานงาน และต้นทุนในการดำเนินธุรกิจเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ
ตัวอย่างกิจกรรม: -ดำเนินการตามข้อตกลงเกียวโตฉบับทบทวน (Revised Kyoto Convention) ที่มีวัตถุประสงค์ในการอำนวยความสะดวกด้านการค้าผ่านการปรับประสานพิธีศุลกากรให้เป็นระบบสากล
-การดำเนินการในเรื่องการกำหนดพิกัดอัตราภาษีศุลกากรตามระบบ Harmonized System การประเมินราคาทางศุลกากรตามระบบ WTO Valuation System และการนำเข้าสินค้าซึ่งตรงตามระบบ A.T.A. Carnet System -เข้าร่วมในโครงการของเอเปค และภูมิภาคอื่น ๆ เกี่ยวกับการจัดทำข้อตกลงการยอมรับร่วมด้านคุณสมบัติและการจดทะเบียนนักวิชาชีพ เช่น APEC Registers of Architects and Engineers7. การปรับให้ทันสมัยและการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ (Modernization and the Use of New Technology)
สมาชิกควรทบทวนและปรับกฎระเบียบและขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการค้าให้ทันสมัย โดยคำนึงถึงความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของภาคธุรกิจ รวมทั้งข้อมูลและวิธีปฏิบัติทางธุรกิจแนวใหม่บทพื้นฐานการใช้เทคนิคทันสมัย และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ๆ นอกจากนั้นหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องควรดำเนินการในเรื่องการเปิดกว้างของข้อมูลในการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้เพื่อกระจายประโยชน์ให้กับผู้ที่สตใจทุกกลุ่ม รวมไปถึงการสนับสนุนการขยายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐของต่างประเทศและภาคเอกชนในการจัดตั้ง Interoperability และ/หรือ Interconnectivity ของเทคโนโลยี
ตัวอย่างกิจกรรม: -การพัฒนาการจัดการในเรื่องของ Advanced Risk และเทคนิคของ Systematic Cargo-Profiling โดยกรมศุลกากร เพื่อลดขั้นตอนการตรวจสอบทางกายภาพ (Physical Examination) ให้เหลือน้อยที่สุด แต่ยัง ดำรงไว้ซึ่งการควบคุมทางศุลกากร
-การพัฒนาระบบศุลกากรเพื่ออำนวยความสะดวกในการส่งข้อมูลก่อนการจัดส่งสินค้า และการตรวจสอบภายหลังการตรวจปล่อยสินค้า (Post Clearance Audit System)
-การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น Computerication, Electronic Data Interchange (EDI), และอินเตอร์เน็ตในการพัฒนากระบวนการต่าง ๆ โดยเฉพาะในด้านการติดต่อประสานงาน และการปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการค้าไร้กระดาษ (Paperless Trading)
-การจัดทำโครงการความช่วยเหลือทางวิชาการ8. กระบวนการยุติธรรม (Due Process)
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจทั้งหมด (Stakeholders) ควรสามารถเข้าถึงกระบวนยุติธรรมเมื่อต้องการความเป็นธรรมในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการค้าตามที่กฎหมายของประเทศนั้น ๆ กำหนดไว้
ตัวอย่างกิจกรรม: -รวมข้อกำหนดการร้องทุกข์ที่ชัดเจน (Clear Appeal Provisions) อยู่ในตัวกฎหมาย9. ความร่วมมือกัน (Cooperation)
ความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับกลุ่มธุรกิจและกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการค้าจะส่งเสริมให้การดำเนินมาตรการต่าง ๆ สำหรับการอำนวยความสะดวกทางการค้ามีความก้าวหน้ามากขึ้น กระบวนการอำนวยความสะดวกทางการค้าที่มีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และปรับให้ง่ายขึ้น ซึ่งจำเป็นต่อระบบการค้าเสรีจะดำเนินการไปได้ด้วยดีหากรัฐบาลและภาคธุรกิจของสมาชิกมีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในเรื่องการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล นอกจากนั้น รัฐบาลของสมาชิกควรร่วมกันศึกษาหาโอกาสในการขยายความร่วมมือระหว่างกันในเรื่องต่างๆ เช่น ความช่วยเหลือทางวิชาการและการเสริมสร้างขีดความสามารถ (Capacity Building) ของสมาชิก การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดในการปฏิบัติตามนโยบายการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการประสานท่าทีในหัวข้อที่มีความสนใจร่วมกันที่มีการหารือกันในองค์การระหว่างประเทศทั้งในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ
ตัวอย่างกิจกรรม: -การบริหารงานที่เกี่ยวข้องกับการค้า ในการให้คำปรึกษาและส่งเสริมความร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจทั้งหมดในเรื่องการเคลื่อนย้ายสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงตัวแทนศุลกากร ผู้ให้บริการด้านการประกันภัย ธุรกิจจัดส่งสินค้าด้วยการขนส่งทางอากาศและทางเรือ และโกดังสินค้า เป็นต้น
-การบริหารทางศุลกากรหรือเวทีภูมิภาคเช่น APEC (SCCP) เพื่อพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันและจัดทำมาตรการเสริมสร้างขีดความสามารถ ในหัวข้อที่เกี่ยวกับศุลกากร เช่น การฝึกอบรม การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) การตรวจสอบและพิสูจน์ความถูกต้อง ห้องปฏิบัติ การทางศุลกากร และการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
ที่มา : APEC Principles on Trade Facilitation, 2001, Senior Officials' Meeting II. Shenzhen.
แหล่งข้อมูล: สำนักความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าภูมิภาค
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
กระทรวงพาณิชย์
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 11/2544 วันที่ 15 มิถุนายน 2544--
-อน-
การดำเนินงานด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าจะมีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงสภาพการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศในภูมิภาค เพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้าระหว่างประเทศ และช่วยเหลือธุรกิจ รวมถึงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) โดยการประหยัดเวลาและลดต้นทุนทางการค้า
การอำนวยความสะดวกทางการค้าไม่ควรสร้างภาระและความยุ่งยากในการดำเนินธุรกิจที่เกินความจำเป็นในการบรรลุความถูกต้องตามกฎหมาย เช่น การคุ้มครองด้านสุขภาพและความปลอดภัย และการคุ้มครองจากการกระทำที่ผิดกฎหมาย (การหลอกลวงทางการค้าและการลักลอบขนส่งสินค้าผิดกฎหมาย) เป็นต้น
การจัดทำหลักการด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าของเอเปค ยึดหลักการทั่วไปของวาระปฏิบัติการโอซาก้า (Osaka Action Agenda) และความก้าวหน้าของเรื่องนี้ในเวทีอื่น ๆ เช่น องค์การการค้าโลก ซึ่งการอำนวยความสะดวกทางการค้าจะเกี่ยวข้องกับทั้งสินค้าและบริการ โดยเป็นหลักการที่ไม่ผูกพัน แต่ละสมาชิกสามารถนำไปปฏิบัติตามความสมัครใจและร่วมมือกับภาคธุรกิจผ่านกระบวนการเปิดเสรีภายใต้แผนปฏิบัติการรายสมาชิก (IAP) และแผนปฏิบัติการร่วมกันของสมาชิก (CAP)
การจัดทำหลักการด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าจะทำให้งานด้านนี้ของเอเปคในอนาคตมีความชัดเจนมากขึ้น เสริมงานด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าในเวทีอื่น ๆ และช่วยให้การจัดทำและดำเนินนโยบายทางการค้าของสมาชิกเอเปคเอื้อต่อธุรกิจ
โดยทั่วไปการอำนวยความสะดวกทางการค้าจะเกี่ยวข้องกับการปรับขั้นตอนและพิธีการให้งานขึ้น (Simplification) การปรับประสานกฎระเบียบรวมถึงมาตรฐานต่าง ๆ ให้เป็นระดับสากล (Harmonization) การใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ (New Technology) และมาตรการอื่น ๆ ที่จะลดอุปสรรคทางการค้าในส่วนของขั้นตอน พิธีการ และการบริหารงาน
เนื่องจากความแตกต่างระหว่างสมาชิกเอเปคในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นระดับการพัฒนาของเศรษฐกิจ ระดับความสามารถทางเทคโนโลยีและกฎหมาย ดังนั้น ความช่วยเหลือทางวิชาการและความร่วมมือของเอเปคในการเสริมสร้างขีดความสามารถ (Capacity Building) ที่เหมาะสมให้กับสมาชิกกำลังพัฒนาจึงมีความสำคัญอย่างมากในการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินธุรกิจ
จากเหตุผลข้างต้นเอเปคให้การรับรองหลักการดังต่อไปนี้ คือ1. ความโปร่งใส (Transparency)
แต่ละประเทศสมาชิกควรเผยแพร่ข้อมูลในเรื่องนโยบาย กฎหมาย กฎระเบียบ การออกใบอนุญาต การออกใบรับรอง ข้อกำหนดในเรื่องการจดทะเบียนและการกำหนดมาตรฐาน และขั้นตอนกฎระเบียบ และข้อปฏิบัติในด้านการค้าสินค้าและบริการให้กับผู้ที่สนใจอย่างทั่วถึง ทั้งนี้การเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวควรทำได้อย่างรวดเร็ว และไม่เสียหรือเสียค่าใช้จ่ายที่สมเหตุสมผล
ตัวอย่างกิจกรรม: การเผยแพร่ข้อมูลที่ทันสมัยของกฎระเบียบและขั้นตอนที่เกี่ยวกับการค้า
ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต 2. การสื่อสารและการปรึกษาหารือ (Communication and Consultation)
หน่วยงานภาครัฐควรอำนวยความสะดวกและส่งเสริมให้มีกลไกการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการค้า โดยเฉพาะภาคธุรกิจ ทั้งนี้ ความคิดเห็นของภาคธุรกิจจากการปรึกษาหารือกันควรนำเข้ามาพิจารณาอย่างเหมาะสมเมื่อมีการจัดทำ ปฏิบัติ และทบทวนกฎระเบียบและขั้นตอนต่าง ๆ นอกจากนั้น หน่วยงานภาครัฐควรระบุบทบาท หน้าที่ และท่าทีของตนเองอย่างชัดเจน
ตัวอย่างกิจกรรม: -จัดตั้งหน่วยงานประสานงานรวบรวมความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้-ส่วนเสียกับบริการที่เกี่ยวข้องกับการค้า
-ปรึกษาหารือกับตัวแทนจากภาคธุรกิจและกลุ่มอาชีพต่างๆ ทั้งจากกลุ่มอุตสาหกรรม ผู้บริโภค และกลุ่มอาชีพอื่น ๆ ก่อนการปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบต่าง ๆ และการจดทำกฎระเบียบใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้าเพื่อให้กฎระเบียบดังกล่าวเป็นที่เข้าใจและลดความขัดแย้งเมื่อมีการประกาศใช้กฎระเบียบดังกล่าว -ส่งเสริมความร่วมมือและ/หรือการหารือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในเรื่องศุลกากร และการจัดตั้งจุดบริการสอบถามปัญหาผ่านเว็บไซต์โต๊ะช่วยเหลือ (Help-Desks) และอื่น ๆ ในเรื่องบริการศุลกากรที่เกี่ยวข้องกับการค้า3. การปรับให้ง่ายขึ้น ปฏิบัติได้ และมีประสิทธิภาพ (Simplification, Practicability, and Efficiency)
กฎระเบียบและขั้นตอนที่เกี่ยวกับการค้าควรปรับให้ง่ายขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่ากฎระเบียบและขั้นตอนดังกล่าวจะไม่สร้างภาระหรือเป็นการกีดกันทางการค้าที่เกินความจำเป็นในการบรรจุลความถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งนี้ กฎระเบียบและขั้นตอนดังกล่าวจะต้องสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างกิจกรรม: -การลดเอกสารและข้อกำหนดขั้นตอนให้เหลือน้อยที่สุด รวมทั้งจัดให้มีบริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One Stop Shopping Services) หรือศูนย์ประสานงาน
-การลดกฎระเบียบและขั้นตอนที่ไม่จำเป็นในการขอวีซ่าและการขอสิทธิ์ในการพำนักอาศัยชั่วคราว (Temporary Residence) สำหรับนักธุรกิจเพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายของนักธุรกิจในภูมิภาค
-การตรวจปล่อยทางศุลกากรอย่างรวดเร็วแก่ผู้ที่ปฏิบัติถูกต้องตามเกณฑ์ของศุลกากร หรือนำระบบ Post Audit Clearance System มาใช้
-กฎระเบียบในสาขาบริการ สามารถใช้ประโยชน์จากกรณีตัวอย่างของ "Best Pratices" ในเวทีย่อยด้านบริการของเอเปค
-รายงานเกี่ยวกับมาตรการชายแดนในการประเมินความสอดคล้องกับกฎระเบียบของสินค้าผ่านแดนแสดงความสอดคล้องที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง4. การไม่เลือกปฏิบัติ (Non-Discrimination)
ภายใต้สถานการณ์ที่เหมือนกัน กฎระเบียบและขั้นตอนที่เกี่ยวกับการค้าจะต้องไม่เลือกปฏิบัติต่อผู้ประกอบการในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้รวมถึงการไม่เลือกปฏิบัติระหว่างสินค้าและบริการที่ผลิตในประเทศและจากต่างประเทศ
ตัวอย่างกิจกรรม: -การเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับบริการที่เกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างผู้ประกอบการในประเทศ และต่างประเทศในอัตราเดียวกัน5. ความสอดคล้องตรงกันและการคาดการณ์ได้ (Consistency and Predictability)
การใช้กฎระเบียบและขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการค้าควรมีเอกภาพ สอดคล้องตรงกันและคาดการณ์ได้ เพื่อลดความไม่แน่นอนต่อการค้าและผู้ค้าให้เหลือน้อยที่สุด นอกจากนั้น กฎระเบียบและขั้นตอนดังกล่าวควรมีความชัดเจนและมีแนวทางที่แน่นอน (Precise) ให้หน่วยงานที่เหมาะสมสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติและตัดสินใจแบบมีมาตรฐานเดียวกัน มิใช่การตัดสินใจโดยดุลพินิจของเจ้าหน้าที่
ตัวอย่างกิจกรรม: -ประกาศกำหนดเวลาที่แน่นอนในการดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐ เช่น การระบุกรอบเวลาที่แน่นอนในการดำเนินการอนุมัติใบอนุญาต นับตั้งแต่ได้รับใบคำขอ เพื่อให้แน่ใจในมาตรฐานการบริการที่สามารถคาดการณ์ได้
-จัดตั้งหน่วยงานกลาง เช่น ศูนย์กลางในการตีความ เพื่อให้การตีความกฎระเบียบและขั้นตอนต่าง ๆ เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน และมีเอกภาพ6. การจัดทำและปรับประสานมาตรฐานและการยอมรับ (Harmonization, Standardization and Recognition)
ในขณะที่สมาชิกเอเปคมีความจำเป็นต้องกำหนดกฎระเบียบเพื่อบรรลุความถูกต้องตามกฎหมายในเรื่องต่าง ๆ เช่น การคุ้มครองด้านสุขภาพ ความปลอดภัย ความชอบธรรมของประชาชน และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่ขาดแคลน เป็นต้น ดังนั้น กฎระเบียบและขั้นตอนต่าง ๆ ที่มีผลต่อการยอมรับสินค้าและบริการระหว่างประเทศของแต่ละสมาชิกควรจัดทำและปรับประสานให้เป็นมาตรฐานสากลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งนี้การพัฒนากระบวนการยอมรับร่วมและสอดคล้องกันในมาตรฐานระหว่างประเทศ และความร่วมมือในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่องจะมีส่วนสำคัญอย่างมากในการลดต้นทุนในการติดต่อประสานงาน และต้นทุนในการดำเนินธุรกิจเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ
ตัวอย่างกิจกรรม: -ดำเนินการตามข้อตกลงเกียวโตฉบับทบทวน (Revised Kyoto Convention) ที่มีวัตถุประสงค์ในการอำนวยความสะดวกด้านการค้าผ่านการปรับประสานพิธีศุลกากรให้เป็นระบบสากล
-การดำเนินการในเรื่องการกำหนดพิกัดอัตราภาษีศุลกากรตามระบบ Harmonized System การประเมินราคาทางศุลกากรตามระบบ WTO Valuation System และการนำเข้าสินค้าซึ่งตรงตามระบบ A.T.A. Carnet System -เข้าร่วมในโครงการของเอเปค และภูมิภาคอื่น ๆ เกี่ยวกับการจัดทำข้อตกลงการยอมรับร่วมด้านคุณสมบัติและการจดทะเบียนนักวิชาชีพ เช่น APEC Registers of Architects and Engineers7. การปรับให้ทันสมัยและการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ (Modernization and the Use of New Technology)
สมาชิกควรทบทวนและปรับกฎระเบียบและขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการค้าให้ทันสมัย โดยคำนึงถึงความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของภาคธุรกิจ รวมทั้งข้อมูลและวิธีปฏิบัติทางธุรกิจแนวใหม่บทพื้นฐานการใช้เทคนิคทันสมัย และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ๆ นอกจากนั้นหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องควรดำเนินการในเรื่องการเปิดกว้างของข้อมูลในการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้เพื่อกระจายประโยชน์ให้กับผู้ที่สตใจทุกกลุ่ม รวมไปถึงการสนับสนุนการขยายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐของต่างประเทศและภาคเอกชนในการจัดตั้ง Interoperability และ/หรือ Interconnectivity ของเทคโนโลยี
ตัวอย่างกิจกรรม: -การพัฒนาการจัดการในเรื่องของ Advanced Risk และเทคนิคของ Systematic Cargo-Profiling โดยกรมศุลกากร เพื่อลดขั้นตอนการตรวจสอบทางกายภาพ (Physical Examination) ให้เหลือน้อยที่สุด แต่ยัง ดำรงไว้ซึ่งการควบคุมทางศุลกากร
-การพัฒนาระบบศุลกากรเพื่ออำนวยความสะดวกในการส่งข้อมูลก่อนการจัดส่งสินค้า และการตรวจสอบภายหลังการตรวจปล่อยสินค้า (Post Clearance Audit System)
-การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น Computerication, Electronic Data Interchange (EDI), และอินเตอร์เน็ตในการพัฒนากระบวนการต่าง ๆ โดยเฉพาะในด้านการติดต่อประสานงาน และการปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการค้าไร้กระดาษ (Paperless Trading)
-การจัดทำโครงการความช่วยเหลือทางวิชาการ8. กระบวนการยุติธรรม (Due Process)
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจทั้งหมด (Stakeholders) ควรสามารถเข้าถึงกระบวนยุติธรรมเมื่อต้องการความเป็นธรรมในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการค้าตามที่กฎหมายของประเทศนั้น ๆ กำหนดไว้
ตัวอย่างกิจกรรม: -รวมข้อกำหนดการร้องทุกข์ที่ชัดเจน (Clear Appeal Provisions) อยู่ในตัวกฎหมาย9. ความร่วมมือกัน (Cooperation)
ความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับกลุ่มธุรกิจและกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการค้าจะส่งเสริมให้การดำเนินมาตรการต่าง ๆ สำหรับการอำนวยความสะดวกทางการค้ามีความก้าวหน้ามากขึ้น กระบวนการอำนวยความสะดวกทางการค้าที่มีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และปรับให้ง่ายขึ้น ซึ่งจำเป็นต่อระบบการค้าเสรีจะดำเนินการไปได้ด้วยดีหากรัฐบาลและภาคธุรกิจของสมาชิกมีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในเรื่องการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล นอกจากนั้น รัฐบาลของสมาชิกควรร่วมกันศึกษาหาโอกาสในการขยายความร่วมมือระหว่างกันในเรื่องต่างๆ เช่น ความช่วยเหลือทางวิชาการและการเสริมสร้างขีดความสามารถ (Capacity Building) ของสมาชิก การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดในการปฏิบัติตามนโยบายการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการประสานท่าทีในหัวข้อที่มีความสนใจร่วมกันที่มีการหารือกันในองค์การระหว่างประเทศทั้งในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ
ตัวอย่างกิจกรรม: -การบริหารงานที่เกี่ยวข้องกับการค้า ในการให้คำปรึกษาและส่งเสริมความร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจทั้งหมดในเรื่องการเคลื่อนย้ายสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงตัวแทนศุลกากร ผู้ให้บริการด้านการประกันภัย ธุรกิจจัดส่งสินค้าด้วยการขนส่งทางอากาศและทางเรือ และโกดังสินค้า เป็นต้น
-การบริหารทางศุลกากรหรือเวทีภูมิภาคเช่น APEC (SCCP) เพื่อพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันและจัดทำมาตรการเสริมสร้างขีดความสามารถ ในหัวข้อที่เกี่ยวกับศุลกากร เช่น การฝึกอบรม การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) การตรวจสอบและพิสูจน์ความถูกต้อง ห้องปฏิบัติ การทางศุลกากร และการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
ที่มา : APEC Principles on Trade Facilitation, 2001, Senior Officials' Meeting II. Shenzhen.
แหล่งข้อมูล: สำนักความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าภูมิภาค
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
กระทรวงพาณิชย์
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 11/2544 วันที่ 15 มิถุนายน 2544--
-อน-