ข่าวในประเทศ
1. กองทุนการเงินระหว่างประเทศส่งเจ้าหน้าที่มารับฟังข้อมูลเศรษฐกิจจากไทย ผู้ช่วยผู้ว่าการสายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ ในฐานะโฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ส่งเจ้าหน้าที่มารับฟังข้อมูลเศรษฐกิจจาก ธปท. เพื่อนำไปประเมินภาวะเศรษฐกิจของไทย ซึ่งจะนำไปประเมินร่วมกับภาวะเศรษฐกิจโลกก่อนที่จะสรุปเพื่อรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการไอเอ็มเอฟและเผยแพร่ต่อไป โดยข้อมูลที่ไอเอ็มเอฟให้ความสนใจเป็นพิเศษคือ รายละเอียดของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นและกรอบการดำเนินนโยบายการคลัง ซึ่งข้อมูลดังกล่าวไอเอ็มเอฟจะนำไปประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยในระยะ 3-5 ปีข้างหน้า (ข่าวสด 12)
2. ยอดเอ็นพีแอลเดือน มี.ค.44 สูงขึ้นเนื่องจากลูกหนี้ชะลอการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อรอการจัดตั้งทีเอเอ็มซี รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จำนวนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)รายใหม่ และเอ็นพีแอลที่มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วกลับเป็นเอ็นพีแอลอีก ณ สิ้นเดือน มี.ค.44 มีจำนวน 40,628 ล.บาท เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าจากเดือน ก.พ.44 ที่มีจำนวน 22,397 ล.บาท เนื่องจากลูกหนี้ชะลอการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อรอการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (ทีเอเอ็มซี) โดยเกิดจากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่าทีเอเอ็มซีจะทำงานคล้ายกับองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ที่มีการเปิดประมูลขายสินทรัพย์ในราคาถูก และลูกหนี้สามารถซื้อสินทรัพย์ของตัวเองกลับมาบริหารต่อ ซึ่งจะเสียค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามกระบวนการของคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.) สำหรับกระบวนการทำงานของทีเอเอ็มซี ในหลักการเบื้องต้นทีเอเอ็มซีจะมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยขั้นตอนในการติดตามบริหารหนี้หลังจากรับโอนหนี้เอ็นพีแอลจากสถาบันการเงินแล้วจะเหมือนกับกระบวนการทำงานของ คปน.(โลกวันนี้, ข่าวสด 14)
3. ทีดีอาร์ไอและ สศช. ประเมินว่าอัตราการว่างงานของไทยจะมีแนวโน้มสูงขึ้นในปี 44 ผู้อำนวยการวิจัยการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า ทีดีอาร์ไอและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่า ในปี 44 อัตราการว่างงานจะมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยในปี 44 อัตราการว่างงานเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ร้อยละ 3.68 ของกำลังแรงงาน ในขณะที่ตัวเลขการว่างงานของทีดีอาร์ไอในปี 43 อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.6 ซึ่งหากจำแนกประชากรตามระดับการศึกษาพบว่าผู้ที่จบการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุปริญญาขึ้นไปจะมีอัตราการว่างงานสูงขึ้น โดยในปี 43 ผู้ที่จบการศึกษาระดับอนุปริญญามีอัตราการว่างงานร้อยละ 6.94 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 8.38 ในปี 44 ส่วนผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและสูงกว่ามีอัตราการว่างงานร้อยละ 3.93 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7.01 และมีแนวโน้มว่าผู้จบการศึกษาสูงจะมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นและสะสมต่อไปอีกหากเศรษฐกิจขยายตัวไม่ถึงร้อยละ 5 ต่อปี (กรุงเทพธุรกิจ 14)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้ผลิตของ สรอ. เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในเดือน เม.ย. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 11 พ.ค. 44 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) โดยรวม ในเดือน เม.ย. 44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 หลังจากลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน มี.ค. 44 ขณะเดียวกัน ดัชนีราคาผู้ผลิตพื้นฐาน (core PPI) ซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือน มี.ค. 44 รายงานครั้งนี้ ใกล้เคียงกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า PPI โดยรวม และ core PPI จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 และ 0.1 ตามลำดับ อนึ่ง การที่อัตราเงินเฟ้อในเดือน เม.ย. อยู่ในภาวะที่ชะลอตัว ยิ่งย้ำว่าคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของ ธ. กลางจะพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 15 พ.ค. 44 (รอยเตอร์11)
2. ยอดขายปลีกของ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ในเดือน เม.ย.44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 11 พ.ค.44 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน เม.ย.44 ยอดขายปลีกโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เทียบกับตัวเลขหลังปรับฤดูกาลในเดือน มี.ค. และ ก.พ. 44 ที่ลดลงร้อยละ 0.4 และ 0.2 ตามลำดับ นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงที่สุดตั้งแต่เดือน ม.ค. 44 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 และสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 โดยยอดขายปลีกที่เพิ่มขึ้นในเดือน เม.ย. เป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้าเกือบทุกประเภท แสดงให้เห็นว่าความตั้งใจใช้จ่ายของผู้บริโภคยังคงมีอยู่ อย่างไรก็ตาม หากไม่รวมการจำหน่ายรถยนต์ ยอดขายปลีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เทียบกับเดือน มี.ค.ที่ลดลงร้อยละ 0.4 (รอยเตอร์ 11)
3. ปรับเพิ่มดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนีในเดือน เม.ย. 44 รายงานจาก Wiesbaden ในเยอรมนี เมื่อ 11 พ.ค. 44 สำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อที่วัดจากราคาผู้บริโภค (CPI) โดยรวม ในเดือน เม.ย. 44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 เทียบต่อปี จากตัวเลขเบื้องต้นที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 และ 2.8 เทียบต่อเดือนและต่อปี ตามลำดับ นับเป็นอัตราเงินเฟ้อเทียบต่อปีที่เพิ่มขึ้นสูงที่สุดตั้งแต่เดือน ก.พ. 37 ที่มีอัตราร้อยละ 3.1 ขณะเดียวกัน เมื่อไม่รวมราคาพลังงานและน้ำมันที่ใช้ทำความร้อน ราคาผู้บริโภคในเดือน เม.ย. 44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 เทียบต่อปี และไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบต่อเดือน(รอยเตอร์11)
4. ยอดขายปลีกของเยอรมนีในเดือน มี.ค.44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 จากระยะเดียวกันปี 43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ 11 พ.ค.44 สำนักงานสถิติแห่งชาติ รายงานว่า เดือน มี.ค.44 ยอดขายปลีก หลังปรับฤดูกาลลดลงร้อยละ 1.9 เทียบต่อเดือน และลดลงร้อยละ 0.6 เทียบต่อปี เมื่อคำนวณตามราคาที่แท้จริง (real term) หลังจากที่ลดลงร้อยละ 1.3 และ ร้อยละ 6.4 ในเดือน ก.พ.44 ยอดขายปลีกในเดือนดังกล่าว ต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 และ 0.1 เมื่อเทียบต่อเดือนและต่อปีตามลำดับ……(รอยเตอร์ 11)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 11 พ.ค. 44 45.469 (45.514)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 11พ.ค. 44ซื้อ 45.2642 (45.3371) ขาย 45.5684 (45.6461)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,700 (5,700) ขาย 5,800 (5,800)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 24.89 (25.31)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 17.29 (17.29) ดีเซลหมุนเร็ว 14.54 (14.54)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ตม-
1. กองทุนการเงินระหว่างประเทศส่งเจ้าหน้าที่มารับฟังข้อมูลเศรษฐกิจจากไทย ผู้ช่วยผู้ว่าการสายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ ในฐานะโฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ส่งเจ้าหน้าที่มารับฟังข้อมูลเศรษฐกิจจาก ธปท. เพื่อนำไปประเมินภาวะเศรษฐกิจของไทย ซึ่งจะนำไปประเมินร่วมกับภาวะเศรษฐกิจโลกก่อนที่จะสรุปเพื่อรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการไอเอ็มเอฟและเผยแพร่ต่อไป โดยข้อมูลที่ไอเอ็มเอฟให้ความสนใจเป็นพิเศษคือ รายละเอียดของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นและกรอบการดำเนินนโยบายการคลัง ซึ่งข้อมูลดังกล่าวไอเอ็มเอฟจะนำไปประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยในระยะ 3-5 ปีข้างหน้า (ข่าวสด 12)
2. ยอดเอ็นพีแอลเดือน มี.ค.44 สูงขึ้นเนื่องจากลูกหนี้ชะลอการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อรอการจัดตั้งทีเอเอ็มซี รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จำนวนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)รายใหม่ และเอ็นพีแอลที่มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วกลับเป็นเอ็นพีแอลอีก ณ สิ้นเดือน มี.ค.44 มีจำนวน 40,628 ล.บาท เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าจากเดือน ก.พ.44 ที่มีจำนวน 22,397 ล.บาท เนื่องจากลูกหนี้ชะลอการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อรอการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (ทีเอเอ็มซี) โดยเกิดจากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่าทีเอเอ็มซีจะทำงานคล้ายกับองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ที่มีการเปิดประมูลขายสินทรัพย์ในราคาถูก และลูกหนี้สามารถซื้อสินทรัพย์ของตัวเองกลับมาบริหารต่อ ซึ่งจะเสียค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามกระบวนการของคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.) สำหรับกระบวนการทำงานของทีเอเอ็มซี ในหลักการเบื้องต้นทีเอเอ็มซีจะมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยขั้นตอนในการติดตามบริหารหนี้หลังจากรับโอนหนี้เอ็นพีแอลจากสถาบันการเงินแล้วจะเหมือนกับกระบวนการทำงานของ คปน.(โลกวันนี้, ข่าวสด 14)
3. ทีดีอาร์ไอและ สศช. ประเมินว่าอัตราการว่างงานของไทยจะมีแนวโน้มสูงขึ้นในปี 44 ผู้อำนวยการวิจัยการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า ทีดีอาร์ไอและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่า ในปี 44 อัตราการว่างงานจะมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยในปี 44 อัตราการว่างงานเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ร้อยละ 3.68 ของกำลังแรงงาน ในขณะที่ตัวเลขการว่างงานของทีดีอาร์ไอในปี 43 อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.6 ซึ่งหากจำแนกประชากรตามระดับการศึกษาพบว่าผู้ที่จบการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุปริญญาขึ้นไปจะมีอัตราการว่างงานสูงขึ้น โดยในปี 43 ผู้ที่จบการศึกษาระดับอนุปริญญามีอัตราการว่างงานร้อยละ 6.94 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 8.38 ในปี 44 ส่วนผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและสูงกว่ามีอัตราการว่างงานร้อยละ 3.93 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7.01 และมีแนวโน้มว่าผู้จบการศึกษาสูงจะมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นและสะสมต่อไปอีกหากเศรษฐกิจขยายตัวไม่ถึงร้อยละ 5 ต่อปี (กรุงเทพธุรกิจ 14)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้ผลิตของ สรอ. เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในเดือน เม.ย. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 11 พ.ค. 44 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) โดยรวม ในเดือน เม.ย. 44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 หลังจากลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน มี.ค. 44 ขณะเดียวกัน ดัชนีราคาผู้ผลิตพื้นฐาน (core PPI) ซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือน มี.ค. 44 รายงานครั้งนี้ ใกล้เคียงกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า PPI โดยรวม และ core PPI จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 และ 0.1 ตามลำดับ อนึ่ง การที่อัตราเงินเฟ้อในเดือน เม.ย. อยู่ในภาวะที่ชะลอตัว ยิ่งย้ำว่าคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของ ธ. กลางจะพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 15 พ.ค. 44 (รอยเตอร์11)
2. ยอดขายปลีกของ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ในเดือน เม.ย.44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 11 พ.ค.44 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน เม.ย.44 ยอดขายปลีกโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เทียบกับตัวเลขหลังปรับฤดูกาลในเดือน มี.ค. และ ก.พ. 44 ที่ลดลงร้อยละ 0.4 และ 0.2 ตามลำดับ นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงที่สุดตั้งแต่เดือน ม.ค. 44 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 และสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 โดยยอดขายปลีกที่เพิ่มขึ้นในเดือน เม.ย. เป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้าเกือบทุกประเภท แสดงให้เห็นว่าความตั้งใจใช้จ่ายของผู้บริโภคยังคงมีอยู่ อย่างไรก็ตาม หากไม่รวมการจำหน่ายรถยนต์ ยอดขายปลีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เทียบกับเดือน มี.ค.ที่ลดลงร้อยละ 0.4 (รอยเตอร์ 11)
3. ปรับเพิ่มดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนีในเดือน เม.ย. 44 รายงานจาก Wiesbaden ในเยอรมนี เมื่อ 11 พ.ค. 44 สำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อที่วัดจากราคาผู้บริโภค (CPI) โดยรวม ในเดือน เม.ย. 44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 เทียบต่อปี จากตัวเลขเบื้องต้นที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 และ 2.8 เทียบต่อเดือนและต่อปี ตามลำดับ นับเป็นอัตราเงินเฟ้อเทียบต่อปีที่เพิ่มขึ้นสูงที่สุดตั้งแต่เดือน ก.พ. 37 ที่มีอัตราร้อยละ 3.1 ขณะเดียวกัน เมื่อไม่รวมราคาพลังงานและน้ำมันที่ใช้ทำความร้อน ราคาผู้บริโภคในเดือน เม.ย. 44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 เทียบต่อปี และไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบต่อเดือน(รอยเตอร์11)
4. ยอดขายปลีกของเยอรมนีในเดือน มี.ค.44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 จากระยะเดียวกันปี 43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ 11 พ.ค.44 สำนักงานสถิติแห่งชาติ รายงานว่า เดือน มี.ค.44 ยอดขายปลีก หลังปรับฤดูกาลลดลงร้อยละ 1.9 เทียบต่อเดือน และลดลงร้อยละ 0.6 เทียบต่อปี เมื่อคำนวณตามราคาที่แท้จริง (real term) หลังจากที่ลดลงร้อยละ 1.3 และ ร้อยละ 6.4 ในเดือน ก.พ.44 ยอดขายปลีกในเดือนดังกล่าว ต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 และ 0.1 เมื่อเทียบต่อเดือนและต่อปีตามลำดับ……(รอยเตอร์ 11)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 11 พ.ค. 44 45.469 (45.514)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 11พ.ค. 44ซื้อ 45.2642 (45.3371) ขาย 45.5684 (45.6461)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,700 (5,700) ขาย 5,800 (5,800)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 24.89 (25.31)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 17.29 (17.29) ดีเซลหมุนเร็ว 14.54 (14.54)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ตม-