1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
นโยบายและมาตรการข้าวปี 2542/43 ในส่วนของกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงสินเชื่อเพื่อการผลิตและบริการตลาดข้าวของสหกรณ์ปีการผลิต 2542/43 ซึ่งผลการรวบรวมข้าวเปลือก ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน - 31 ธันวาคม 2542 มีปริมาณรวม 11,525.06 ตัน มูลค่า 65.52 ล้านบาท
ส่วนการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของ ธกส. ปีการผลิต 2542/43 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2542 มีจำนวน 404 รายปริมาณข้าว 1,917 ตัน มูลค่า 10.216 ล้านบาท
แผนการส่งเสริมการปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2542/43
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยคณะกรรมการวางแผนและส่งเสริมการปลูกพืชฤดูแล้งได้อนุมัติแผนการส่งเสริมการปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2542/43 ซึ่งกำหนดเป้าหมายการเพาะปลูกทั้งประเทศไว้จำนวน 9.12 ล้านไร่ แบ่งเป็นข้าวนาปรัง 5.17 ล้านไร่ พืชไร่และพืชผัก 3.95 ล้านไร่ อยู่ในเขตชลประทาน 4.76 ล้านไร่ เขตสูบน้ำด้วยไฟฟ้า 0.16 ล้านไร่ และในเขตแหล่งน้ำอื่นๆ 3.75 ล้านไร่มีมาตรการสนับสนุน 3 ด้าน ได้แก่
1. ด้านการจัดสรรน้ำแยกเป็น
- เขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา ให้ปลูกพืชฤดูแล้งได้ในเกณฑ์ปกติโดยทำนาปรังได้ประมาณ 3 ล้านไร่ ส่วนพืชอื่นๆที่ใช้น้ำน้อยให้ดำเนินการได้เต็มที่
- เขตลุ่มน้ำแม่กลอง ให้ทำนาปรังได้ไม่เกิน 6 แสนไร่โดยเน้นพืชอายุสั้นและให้มีการใช้น้ำอย่างประหยัด
- เขตภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้สามารถปลูกพืชฤดูแล้งได้เท่ากับปีที่แล้วโดยพิจารณาน้ำต้นทุนในแต่ละพื้นที่เป็นหลัก
2. ด้านการส่งเสริมการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง
- การผลิตข้าวนาปรังควบคุมพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปรังในเขตที่มีน้ำต้นทุนขาดแคลนโดยส่งเสริมการปลูกพืชไร่-พืชผักทดแทนสำหรับข้าวนาปรังให้เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิตและการปรับปรุงคุณภาพข้าวเปลือก
- การผลิตพืชไร่ - พืชผักเร่งรัดขยายพื้นที่ปลูกในเขตที่ควบคุมการปลูกข้าวนาปรัง
3. ด้านการตลาดส่งเสริมสนับสนุนทางเลือกในการปลูกพืชฤดูแล้งทดแทนข้าวนาปรัง เช่น ถั่งเหลืองถั่วลิสง ถั่วเขียว พืชผัก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และไม้ดอกไม้ประดับ เป็นต้นรวมทั้งการผลิตแบบครบวงจรร่วมกับภาคเอกชน
ภาวะการซื้อขายในช่วงสัปดาห์นี้ราคาข้าวมีความเคลื่อนไหวขึ้น-ลงตามความต้องการของตลาดในขณะที่ปริมาณข้าวได้ทะยอยออกสู่ตลาดมากขึ้น
กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าต่างประเทศได้ออกประกาศรับซื้อข้าวขาว 100 % ชั้น 2 จำนวน 100,000 ตัน ในราคาส่งออกตันละ 8,952 บาท หรือ ตันละ 239.36 ดอลลาห์สหรัฐเพื่อทำการส่งมอบให้กับรัฐบาลอิหร่าน ระหว่างวันที่ 20 มกราคม - 20 มีนาคม 2543
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 19 มกราคม 2543 ไทยส่งออกข้าวรวม 220,411 ตัน ลดลงจาก 317,428 ตัน ของการส่งออกช่วงระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 30.56
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปีที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 6,725 บาท ลดลงจากเกวียนละ 6,750 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.37
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5%ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 4,735 บาท สูงขึ้นจากเกวียนละ 4,705 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.64
ราคาข้าวเปลือกเจ้าที่ท่าข้าวกำนันทรง จังหวัดนครสวรรค์
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่ท่าข้าวกำนันทรง จังหวัดนครสวรรค์สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 4,850 บาท สูงขึ้นจากเกวียนละ 4,790 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.25
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,150 บาท ลดลงจากตันละ 8,310 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.93 ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 235 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,730 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนแต่สูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 7 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
สถานการณ์ข้าวในต่างประเทศ
1. จีน การเจรจาระหว่างสหรัฐ-จีนเกี่ยวกับการเข้าร่วมเป็นสมาชิก WTO ของจีนจีนให้สัญญว่าจะยุติการอุดหนุนการส่งออกข้าวที่ได้สนับสนุนการส่งออกข้าวเมล็ดยาวตันละ10-15 เหรียญสหรัฐฯ และข้าวเมล็ดปานกลางตันละ 40 เหรียญสหรัฐฯรวมทั้งจะเปิดตลาดข้าวภายใต้ข้อตกลงฯ โดยจะกำหนด Tariff Quota (TRO) ปริมาณข้าว 2.6 ล้านตัน ภาษีนำเข้า 1% ในปีแรก และเพิ่มขึ้นเป็น 5.2 ล้านตันภายในระยะ 5 ปี ซึ่งปริมาณนำเข้าแบ่งเป็นข้าวชนิดเมล็ดยาว เมล็ดปานกลางและเมล็ดสั้น ภาษีนำเข้านอกโควตาปีแรกกำหนดไว้ร้อยละ 88 และในแต่ละปีจะลดลงจนเหลือเป็นร้อยละ 65 ภายในระยะ 5 ปี
2. เวียตนาม สถานการณ์ข้าวเริ่มตึงตัวราคาส่งออกข้าวขยับตัวสูงขึ้นเนื่องจากมีการเร่งส่งมอบข้าวให้บริษัทผู้ซื้อของอินโดนีเซียจำนวนมากสถานการณ์ข้าวภายในจะตึงตัวไปจนกว่าผลผลิต winter-spring ออกสู่ตลาดในเดือนกพ.43 วงการค้าคาดว่าแม้เวียดนามจะประสบภาวะน้ำท่วมอย่างรุนแรงในพื้นที่ภาคกลางแต่สามารถปลูกทดแทนใหม่ได้ สำหรับปี 2542 คาดว่าจะส่งออกข้าวได้ 4.5ล้านตันข้าวสาร สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และปี 2543 ได้ตั้งเป้าหมายส่งออกไว้4.5 ล้านตันข้าวสาร
3. ฟิลิปปินส์ ปี 2542 ได้นำเข้าข้าวทั้งสิ้นประมาณ 9.15 แสนตัน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 56 สำหรับปี 2543 คาดว่า จะนำเข้าประมาณ 5 แสนตันเนื่องจากสภาวะอากาศเอื้ออำนวย และผลผลิตข้าวฤดูใหม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเพราะไม่ได้รับความเสียหายจากพายุไต้ฝุ่นในช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 2542
4. อินโดนิเซีย ปี 2542 แม้ว่ามีการขยายพื้นที่ปลูกข้าวแต่ผลผลิตต่อไร่ลดลงเนื่องจากประสบปัญหาแมลงและปริมาณการใช้ปุ๋ยลดลงจึงทำให้มีนำเข้าประมาณ 3.9-4 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2541 ซึ่งนำเข้าเป็นจำนวน 6.1 ล้านตันข้าวสาร สำหรับปี 2543 คาดว่าจะนำเข้าประมาณ 3 ล้านตันข้าวสาร ทั้งนี้รัฐบาลอินโดนีเซียได้ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าข้าวจากร้อยละ 0 เป็นร้อยละ 30 แต่ยังคงอนุญาตให้บริษัทเอกชนนำเข้าข้าวได้ทุกชนิดซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มค. 2543 เป็นต้นไป
อย่างไรก็ดีกระทรวงพาณิชย์ได้วิเคราะห์ว่าการขึ้นภาษีจะไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวของไทยเนื่องจากไทยเป็นผู้ครองตลาดอันดับ1ซึ่งในปี 2542 อินโดนีเซียได้นำเข้าข้าวปริมาณ 3.9 ล้านตันข้าวสารเป็นการนำเข้าจากเวียดนาม จีน ญี่ปุ่น และไทย ในจำนวนดังกล่าวเป็นการนำเข้าจากไทยถึง 1.12 ล้านตันข้าวสาร หรือร้อยละ 17 ของการส่งออกข้าวไทยทั้งหมด และคาดว่าในปี 2543 อินโดนีเซียยังเป็นตลาดส่งออกข้าวรายใหญ่ของไทยซึ่งจากการประกาศนำเข้าข้าวอย่างชัดเจนดังกล่าวข้างต้นจะเป็นโอกาสของไทยในการระบายข้าวไปต่างประเทศตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อฉุดราคาข้าวภายในให้สูงขึ้น
ราคาข้าวในตลาดโลก
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ประกาศราคาข้าวในตลาดโลก ณ วันที่ 18 มกราคม 2543 เทียบกับที่ประกาศไว้เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2543 ดังนี้
ข้าวเมล็ดยาวปอนด์ละ 7.42 เซนต์ (6.06 บาท/กก.) ราคาลดลงจากปอนด์ละ 7.60 เซนต์ (6.21 บาท/กก.) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.37
ข้าวเมล็ดกลางปอนด์ละ 7.03 เซนต์ (5.75 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวเมล็ดสั้นปอนด์ละ 6.94 เซนต์ (5.67 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวหักปอนด์ละ 3.71 เซนต์ (3.03 บาท/กก.) ราคาลดลงจากปอนด์ละ 3.80 เซนต์ (3.10 บาท/กก.) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.37
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 37.15 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 3 ประจำวันที่ 17 - 23 ม.ค. 2543--
นโยบายและมาตรการข้าวปี 2542/43 ในส่วนของกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงสินเชื่อเพื่อการผลิตและบริการตลาดข้าวของสหกรณ์ปีการผลิต 2542/43 ซึ่งผลการรวบรวมข้าวเปลือก ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน - 31 ธันวาคม 2542 มีปริมาณรวม 11,525.06 ตัน มูลค่า 65.52 ล้านบาท
ส่วนการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของ ธกส. ปีการผลิต 2542/43 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2542 มีจำนวน 404 รายปริมาณข้าว 1,917 ตัน มูลค่า 10.216 ล้านบาท
แผนการส่งเสริมการปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2542/43
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยคณะกรรมการวางแผนและส่งเสริมการปลูกพืชฤดูแล้งได้อนุมัติแผนการส่งเสริมการปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2542/43 ซึ่งกำหนดเป้าหมายการเพาะปลูกทั้งประเทศไว้จำนวน 9.12 ล้านไร่ แบ่งเป็นข้าวนาปรัง 5.17 ล้านไร่ พืชไร่และพืชผัก 3.95 ล้านไร่ อยู่ในเขตชลประทาน 4.76 ล้านไร่ เขตสูบน้ำด้วยไฟฟ้า 0.16 ล้านไร่ และในเขตแหล่งน้ำอื่นๆ 3.75 ล้านไร่มีมาตรการสนับสนุน 3 ด้าน ได้แก่
1. ด้านการจัดสรรน้ำแยกเป็น
- เขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา ให้ปลูกพืชฤดูแล้งได้ในเกณฑ์ปกติโดยทำนาปรังได้ประมาณ 3 ล้านไร่ ส่วนพืชอื่นๆที่ใช้น้ำน้อยให้ดำเนินการได้เต็มที่
- เขตลุ่มน้ำแม่กลอง ให้ทำนาปรังได้ไม่เกิน 6 แสนไร่โดยเน้นพืชอายุสั้นและให้มีการใช้น้ำอย่างประหยัด
- เขตภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้สามารถปลูกพืชฤดูแล้งได้เท่ากับปีที่แล้วโดยพิจารณาน้ำต้นทุนในแต่ละพื้นที่เป็นหลัก
2. ด้านการส่งเสริมการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง
- การผลิตข้าวนาปรังควบคุมพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปรังในเขตที่มีน้ำต้นทุนขาดแคลนโดยส่งเสริมการปลูกพืชไร่-พืชผักทดแทนสำหรับข้าวนาปรังให้เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิตและการปรับปรุงคุณภาพข้าวเปลือก
- การผลิตพืชไร่ - พืชผักเร่งรัดขยายพื้นที่ปลูกในเขตที่ควบคุมการปลูกข้าวนาปรัง
3. ด้านการตลาดส่งเสริมสนับสนุนทางเลือกในการปลูกพืชฤดูแล้งทดแทนข้าวนาปรัง เช่น ถั่งเหลืองถั่วลิสง ถั่วเขียว พืชผัก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และไม้ดอกไม้ประดับ เป็นต้นรวมทั้งการผลิตแบบครบวงจรร่วมกับภาคเอกชน
ภาวะการซื้อขายในช่วงสัปดาห์นี้ราคาข้าวมีความเคลื่อนไหวขึ้น-ลงตามความต้องการของตลาดในขณะที่ปริมาณข้าวได้ทะยอยออกสู่ตลาดมากขึ้น
กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าต่างประเทศได้ออกประกาศรับซื้อข้าวขาว 100 % ชั้น 2 จำนวน 100,000 ตัน ในราคาส่งออกตันละ 8,952 บาท หรือ ตันละ 239.36 ดอลลาห์สหรัฐเพื่อทำการส่งมอบให้กับรัฐบาลอิหร่าน ระหว่างวันที่ 20 มกราคม - 20 มีนาคม 2543
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 19 มกราคม 2543 ไทยส่งออกข้าวรวม 220,411 ตัน ลดลงจาก 317,428 ตัน ของการส่งออกช่วงระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 30.56
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปีที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 6,725 บาท ลดลงจากเกวียนละ 6,750 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.37
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5%ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 4,735 บาท สูงขึ้นจากเกวียนละ 4,705 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.64
ราคาข้าวเปลือกเจ้าที่ท่าข้าวกำนันทรง จังหวัดนครสวรรค์
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่ท่าข้าวกำนันทรง จังหวัดนครสวรรค์สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 4,850 บาท สูงขึ้นจากเกวียนละ 4,790 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.25
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,150 บาท ลดลงจากตันละ 8,310 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.93 ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 235 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,730 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนแต่สูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 7 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
สถานการณ์ข้าวในต่างประเทศ
1. จีน การเจรจาระหว่างสหรัฐ-จีนเกี่ยวกับการเข้าร่วมเป็นสมาชิก WTO ของจีนจีนให้สัญญว่าจะยุติการอุดหนุนการส่งออกข้าวที่ได้สนับสนุนการส่งออกข้าวเมล็ดยาวตันละ10-15 เหรียญสหรัฐฯ และข้าวเมล็ดปานกลางตันละ 40 เหรียญสหรัฐฯรวมทั้งจะเปิดตลาดข้าวภายใต้ข้อตกลงฯ โดยจะกำหนด Tariff Quota (TRO) ปริมาณข้าว 2.6 ล้านตัน ภาษีนำเข้า 1% ในปีแรก และเพิ่มขึ้นเป็น 5.2 ล้านตันภายในระยะ 5 ปี ซึ่งปริมาณนำเข้าแบ่งเป็นข้าวชนิดเมล็ดยาว เมล็ดปานกลางและเมล็ดสั้น ภาษีนำเข้านอกโควตาปีแรกกำหนดไว้ร้อยละ 88 และในแต่ละปีจะลดลงจนเหลือเป็นร้อยละ 65 ภายในระยะ 5 ปี
2. เวียตนาม สถานการณ์ข้าวเริ่มตึงตัวราคาส่งออกข้าวขยับตัวสูงขึ้นเนื่องจากมีการเร่งส่งมอบข้าวให้บริษัทผู้ซื้อของอินโดนีเซียจำนวนมากสถานการณ์ข้าวภายในจะตึงตัวไปจนกว่าผลผลิต winter-spring ออกสู่ตลาดในเดือนกพ.43 วงการค้าคาดว่าแม้เวียดนามจะประสบภาวะน้ำท่วมอย่างรุนแรงในพื้นที่ภาคกลางแต่สามารถปลูกทดแทนใหม่ได้ สำหรับปี 2542 คาดว่าจะส่งออกข้าวได้ 4.5ล้านตันข้าวสาร สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และปี 2543 ได้ตั้งเป้าหมายส่งออกไว้4.5 ล้านตันข้าวสาร
3. ฟิลิปปินส์ ปี 2542 ได้นำเข้าข้าวทั้งสิ้นประมาณ 9.15 แสนตัน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 56 สำหรับปี 2543 คาดว่า จะนำเข้าประมาณ 5 แสนตันเนื่องจากสภาวะอากาศเอื้ออำนวย และผลผลิตข้าวฤดูใหม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเพราะไม่ได้รับความเสียหายจากพายุไต้ฝุ่นในช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 2542
4. อินโดนิเซีย ปี 2542 แม้ว่ามีการขยายพื้นที่ปลูกข้าวแต่ผลผลิตต่อไร่ลดลงเนื่องจากประสบปัญหาแมลงและปริมาณการใช้ปุ๋ยลดลงจึงทำให้มีนำเข้าประมาณ 3.9-4 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2541 ซึ่งนำเข้าเป็นจำนวน 6.1 ล้านตันข้าวสาร สำหรับปี 2543 คาดว่าจะนำเข้าประมาณ 3 ล้านตันข้าวสาร ทั้งนี้รัฐบาลอินโดนีเซียได้ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าข้าวจากร้อยละ 0 เป็นร้อยละ 30 แต่ยังคงอนุญาตให้บริษัทเอกชนนำเข้าข้าวได้ทุกชนิดซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มค. 2543 เป็นต้นไป
อย่างไรก็ดีกระทรวงพาณิชย์ได้วิเคราะห์ว่าการขึ้นภาษีจะไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวของไทยเนื่องจากไทยเป็นผู้ครองตลาดอันดับ1ซึ่งในปี 2542 อินโดนีเซียได้นำเข้าข้าวปริมาณ 3.9 ล้านตันข้าวสารเป็นการนำเข้าจากเวียดนาม จีน ญี่ปุ่น และไทย ในจำนวนดังกล่าวเป็นการนำเข้าจากไทยถึง 1.12 ล้านตันข้าวสาร หรือร้อยละ 17 ของการส่งออกข้าวไทยทั้งหมด และคาดว่าในปี 2543 อินโดนีเซียยังเป็นตลาดส่งออกข้าวรายใหญ่ของไทยซึ่งจากการประกาศนำเข้าข้าวอย่างชัดเจนดังกล่าวข้างต้นจะเป็นโอกาสของไทยในการระบายข้าวไปต่างประเทศตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อฉุดราคาข้าวภายในให้สูงขึ้น
ราคาข้าวในตลาดโลก
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ประกาศราคาข้าวในตลาดโลก ณ วันที่ 18 มกราคม 2543 เทียบกับที่ประกาศไว้เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2543 ดังนี้
ข้าวเมล็ดยาวปอนด์ละ 7.42 เซนต์ (6.06 บาท/กก.) ราคาลดลงจากปอนด์ละ 7.60 เซนต์ (6.21 บาท/กก.) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.37
ข้าวเมล็ดกลางปอนด์ละ 7.03 เซนต์ (5.75 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวเมล็ดสั้นปอนด์ละ 6.94 เซนต์ (5.67 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวหักปอนด์ละ 3.71 เซนต์ (3.03 บาท/กก.) ราคาลดลงจากปอนด์ละ 3.80 เซนต์ (3.10 บาท/กก.) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.37
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 37.15 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 3 ประจำวันที่ 17 - 23 ม.ค. 2543--