สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ สถานการณ์โดยรวมยังทรงตัว ราคาสุกรมีชีวิตอ่อนตัวลงจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย เพราะอากาศที่เย็นลง ทำให้สุกรเติบโตดี อย่างไรก็ตามเมื่อผ่านพ้นช่วงนี้ไปแล้วจะเข้าสู่หน้าร้อนที่ผลผลิตเริ่มลดน้อยลง ทำให้ราคาสุกรมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 31.36 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 31.66 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.95 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 32.21 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 29.98 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 30.22 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 35.13 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 750 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.25 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.75 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.23
ไก่เนื้อ สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ ราคาไก่เนื้อยังคงอ่อนตัวลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะผลผลิตที่เพิ่มขึ้นในช่วงฤดูหนาวในขณะที่ความต้องการบริโภคยังทรงตัวอยู่ อย่างไรก็ตามก็ยังเป็นราคาที่อยู่ในระดับสูงและคาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นอีกในช่วงต่อไป เพราะสภาพอากาศที่จะร้อนขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 27.58 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.61 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.60 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือภาคเหนือ กิโลกรัมละ 30.54 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 26.32 บาทภาคกลางกิโลกรัมละ 25.40 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 30.73 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 10.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.25 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.85 ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 39.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.59 ไข่ไก่ สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ การซื้อขายไข่ไก่ในช่วงนี้ยังค่อนข้างคล่องตัว เพราะผลผลิตที่ลดน้อยลง เนื่องจากการเลิกเลี้ยงของผู้เลี้ยงที่ประสบภาวะขาดทุน ทำให้มีการปลดไก่ขายกันมากในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่ผ่านมา และหลังจากเทศกาลก็มีคำสั่งซื้อจากตลาดฮ่องกงเพิ่มขึ้น เพราะผลผลิตไข่ไก่จากเนเธอร์แลนด์มีไม่เพียงพอ ทำให้ราคาไข่ไก่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับจะเข้าสู่ช่วงฤดูร้อนในเดือนหน้าที่อัตราการให้ไข่ลดลง ส่งผลให้ราคาไข่ไก่มีแนวโน้มสูงขึ้นอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 151 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 144 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.86 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 149 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 161 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 149 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 152 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.อยู่ที่ตัวละ 11 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 9 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 22.22
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 176 บาทสูงขึ้นจากร้อยฟองละ 156 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 12.82 ไข่เป็ด ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 170 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 167 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.80 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 157 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 170 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 179 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 160 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 245 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 225 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.89 โค ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 38.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.88 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 กระบือ ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 27.45 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 7 ประจำวันที่ 19-25 ก.พ. 2544--
-สส-
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ สถานการณ์โดยรวมยังทรงตัว ราคาสุกรมีชีวิตอ่อนตัวลงจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย เพราะอากาศที่เย็นลง ทำให้สุกรเติบโตดี อย่างไรก็ตามเมื่อผ่านพ้นช่วงนี้ไปแล้วจะเข้าสู่หน้าร้อนที่ผลผลิตเริ่มลดน้อยลง ทำให้ราคาสุกรมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 31.36 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 31.66 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.95 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 32.21 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 29.98 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 30.22 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 35.13 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 750 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.25 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.75 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.23
ไก่เนื้อ สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ ราคาไก่เนื้อยังคงอ่อนตัวลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะผลผลิตที่เพิ่มขึ้นในช่วงฤดูหนาวในขณะที่ความต้องการบริโภคยังทรงตัวอยู่ อย่างไรก็ตามก็ยังเป็นราคาที่อยู่ในระดับสูงและคาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นอีกในช่วงต่อไป เพราะสภาพอากาศที่จะร้อนขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 27.58 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.61 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.60 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือภาคเหนือ กิโลกรัมละ 30.54 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 26.32 บาทภาคกลางกิโลกรัมละ 25.40 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 30.73 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 10.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.25 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.85 ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 39.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.59 ไข่ไก่ สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ การซื้อขายไข่ไก่ในช่วงนี้ยังค่อนข้างคล่องตัว เพราะผลผลิตที่ลดน้อยลง เนื่องจากการเลิกเลี้ยงของผู้เลี้ยงที่ประสบภาวะขาดทุน ทำให้มีการปลดไก่ขายกันมากในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่ผ่านมา และหลังจากเทศกาลก็มีคำสั่งซื้อจากตลาดฮ่องกงเพิ่มขึ้น เพราะผลผลิตไข่ไก่จากเนเธอร์แลนด์มีไม่เพียงพอ ทำให้ราคาไข่ไก่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับจะเข้าสู่ช่วงฤดูร้อนในเดือนหน้าที่อัตราการให้ไข่ลดลง ส่งผลให้ราคาไข่ไก่มีแนวโน้มสูงขึ้นอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 151 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 144 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.86 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 149 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 161 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 149 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 152 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.อยู่ที่ตัวละ 11 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 9 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 22.22
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 176 บาทสูงขึ้นจากร้อยฟองละ 156 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 12.82 ไข่เป็ด ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 170 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 167 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.80 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 157 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 170 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 179 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 160 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 245 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 225 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.89 โค ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 38.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.88 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 กระบือ ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 27.45 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 7 ประจำวันที่ 19-25 ก.พ. 2544--
-สส-