กรุงเทพฯ--31 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
1. ตามคำเชิญของ ฯพณฯ นายจู หรงจี นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน ฯพณฯ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย ได้เดินทางไปเยือนประเทศจีนอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 27 — 29 สิงหาคม 2544 ซึ่งในระหว่างการเยือน นายกรัฐมนตรีได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะ ฯพณฯ นายเจียง เจ๋อหมิน ประธานาธิบดี ฯพณฯ นายหลี่ เผิง ประธานสมัชชาประชาชนแห่งชาติจีน และได้หารืออย่างเป็นทางการกับนายกรัฐมนตรีจู หรงจี ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ทวิภาคีและสถานการณ์ในภูมิภาคและต่างประเทศที่มีความสนใจร่วมกัน นอกจากนี้ ในระหว่างการเยือนได้มีการลงนามในความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านวัฒนธรรมระหว่างรัฐบาลไทยและจีน และบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดตั้งสภาธุรกิจระหว่างสภาส่งเสริมการค้าต่างประเทศของจีนและสภาหอการค้าไทย นายกรัฐมนตรีไทยได้ขอบคุณรัฐบาลและประชาชนชาวจีนที่ให้การต้อนรับด้วยอัธยาศัยไมตรีอย่างอบอุ่น ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่าการเยือนในครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์เอื้อและช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือทุกด้านฉันเพื่อนบ้านที่ดีและความไว้วางใจระหว่างไทยกับจีน
2. ในระหว่างการพบปะหารือ ผู้นำของประเทศทั้งสองต่างแสดงความพึงพอใจต่อความคืบหน้าและพัฒนาการของความสัมพันธ์ไทย-จีน ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนที่มีมาช้านานให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น รวมทั้งกระชับความร่วมมือด้านยุทธศาสตร์อันจะนำมาซึ่งประโยชน์ร่วมของประเทศทั้งสอง ตลอดจนความสงบสุข ความมั่งคั่งและพัฒนาการในภูมิภาค
3. ทั้งสองฝ่ายได้ยืนยันและสนับสนุนอย่างเต็มที่ “แถลงการณ์ร่วมไทย — จีนว่าด้วยแผนปฏิบัติการสำหรับศตวรรษที่ 21” ซึ่งลงนามที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2542 ทั้งสองฝ่ายพอใจกับความคืบหน้าของความร่วมมือไทย-จีนทุกด้านในสองสามปีทีผ่านมาและย้ำความสำคัญของแผนปฏิบัติการดังกล่าวในฐานะกรอบการพัฒนาความสัมพันธ์ไทย-จีนในอนาคตและเห็นพ้องที่จะนำโครงการตามแผนปฏิบัติการดังกล่าวไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ ในฐานะประเทศเพื่อนบ้านและบนหลักการของการเคารพและไว้วางใจซึ่งกันและกัน
4. ทั้งสองฝ่ายชื่นชมบทบาทอันสำคัญของคณะกรรมาธิการร่วมด้านการค้าและเศรษฐกิจ และคณะกรรมาธิการร่วมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย-จีน ซึ่งมีบทบาทในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งสองในด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม การศึกษา สาธารณสุข วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องให้มีการขยายกิจกรรมการแลกเปลี่ยนด้านดังกล่าวต่อเนื่องต่อไป
5. ทั้งสองฝ่ายพึงพอใจในความสำเร็จด้านการค้าและความร่วมมือด้านเศรษฐกิจทวิภาคี และเห็นพ้องว่าความร่วมมือด้านการค้าและเศรษฐกิจเป็นกลไกที่มีพลังในการขับเคลื่อนความสัมพันธ์ไทย-จีน ทั้งยืนยันการให้การสนับสนุนโครงการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ การขยายมูลค่าการค้าทวิภาคีและการลงทุน ที่อยู่บนพื้นฐานของประโยชน์ร่วมกันและเป็นธรรม และการนำความตกลง Swap Agreement ระหว่างไทย-จีน ให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ทางการค้าและวัฒนธรรมโดยอาศัยเมืองพี่เมืองน้องระหว่างกัน ทั้งสองฝ่ายเห็นว่าการที่จีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) และ ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคตะวันตกของจีนจะนำมาซึ่งโอกาสใหม่ของความร่วมมือทางด้านการค้าและเศรษฐกิจไทย-จีน และในโอกาสที่แผนการลดภาษีในกรอบเขตการค้าเสรี อาเซียน (AFTA) จะลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 — 5 ภายในปี พ.ศ. 2545 และเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ. 2553 ฝ่ายไทยหวังว่า จีนจะใช้ประโยชน์ในด้านลงทุนและการค้าโดยการย้ายการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตมาในประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียน ทั้งสองฝ่ายให้การสนับสนุนการขยายความร่วมมือด้านการค้าและเศรษฐกิจระหว่างภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนและภาคเหนือของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาเครือข่ายการคมนาคมทางบกระหว่างประเทศทั้งสอง รวมทั้งจะศึกษาลู่ทางการร่วมมือทางเศรษฐกิจด้านอื่น ๆ
6. ฝ่ายไทยเห็นว่า ประเทศจีนซึ่งมีความมั่นคงและความมั่งคั่งจะเอื้ออำนวยให้เกิดสันติภาพและพัฒนาการในภูมิภาค ฝ่ายไทยยืนยันว่ามีจีนเดียว ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน และไทยยังคงยึดมั่นในนโยบายจีนเดียว ไทยแสดงความยินดีที่จีนประสบความสำเร็จในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ปี ค.ศ. 2008 ซึ่งไทยพร้อมให้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับจีนเพื่อให้การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกประสบความสำเร็จ ขณะเดียวกัน ฝ่ายจีนแสดงความความขอบคุณต่อท่าทีของฝ่ายไทย รวมทั้งแสดงความยินดีกับรัฐบาลไทยที่ประสบความสำเร็จในการกำจัดปัญหาความยากจน กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศและส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาคและเชื่อมั่นว่า พัฒนาการด้านเศรษฐกิจและสังคมของไทยมีความสำคัญต่อความมั่นคงและความมั่งคั่งของภูมิภาคเช่นเดียวกัน
7. ทั้งสองฝ่ายแสดงความยินดีต่อผลการประชุมระดับรัฐมนตรี จีน ลาว พม่าและไทยว่าด้วยการควบคุมยาเสพติด ที่กรุงปักกิ่ง ระหว่างวันที่ 27 — 28 สิงหาคม ศกนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต่อความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างประเทศทั้ง 4 ในการกวาดล้างอาชญากรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติดในภูมิภาค ฝ่ายไทยแสดงความขอบคุณฝ่ายจีนที่สนับสนุนให้ความร่วมมือ 4 ฝ่ายในด้านการต่อต้านยาเสพติดเป็นผลสำเร็จ ทั้งสองฝ่ายแสดงความแน่วแน่ที่จะผลักดันกระบวนการดังกล่าวต่อไปข้างหน้า โดยฝ่ายไทยแสดงความพร้อมที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
8. ทั้งสองฝ่ายเห็นว่า ท่ามกลางกระแสของเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ ประเทศเอเชียจำเป็นที่จะต้องกระชับความร่วมมือในระดับภูมิภาคเพื่อแสวงหาโอกาสร่วมกันและขณะเดียวกันเพื่อเตรียมรับมือกับความท้าทายที่มากับกระแสโลกาภิวัตน์ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องให้ผลักดันความร่วมมือระหว่างอาเซียน จีน เกาหลีใต้และญี่ปุ่น (10+3) ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง ฝ่ายจีนแสดงความขอบคุณต่อความพยายามของฝ่ายไทยที่จะเสริมสร้างการหารือและความร่วมมือในระหว่างประเทศเอเชีย ฝ่ายจีนยังได้แสดงความหวังว่าจะเห็นอาเซียนมีความสามัคคี มีเสถียรภาพและมั่งคั่งขึ้น รวมทั้งสนับสนุนบทบาทเพิ่มขึ้นของอาเซียนในกิจการของภูมิภาคและกิจการระหว่างประเทศ
9. ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องในการส่งเสริมบทบาทของ ASEAN Regional Forum (ARF) ในฐานะกลไกส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงของภูมิภาคเอเชีย- แปซิฟิกและจิตวิญญาณแห่งการแสวงหาฉันทามติบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกัน รวมทั้งการส่งเสริมการปรึกษาหารือผ่านเวที ASEM, APEC สหประชาชาติและองค์การระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ
10. ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องว่า แนวโน้มของโลกปัจจุบันเป็นเรื่องของสันติภาพ พัฒนาการและความร่วมมือ และการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันของทุกประเทศเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการรักษาไว้ซึ่งสันติภาพของโลก อารยธรรมและระบบสังคมที่แตกต่างกันควรอยู่ร่วมกันได้ในระยะยาวโดยการแสวงหาประโยชน์จากจุดแข็งของแต่และฝ่ายผ่านทางการแข่งขันและการเปรียบเทียบและพัฒนาไปพร้อม ๆ กันโดยการแสวงหาจุดร่วมและสงวนจุดต่าง
11. ผู้นำของจีนได้ถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมราชินีนาถฯ ผ่านนายกรัฐมนตรีของไทย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
1. ตามคำเชิญของ ฯพณฯ นายจู หรงจี นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน ฯพณฯ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย ได้เดินทางไปเยือนประเทศจีนอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 27 — 29 สิงหาคม 2544 ซึ่งในระหว่างการเยือน นายกรัฐมนตรีได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะ ฯพณฯ นายเจียง เจ๋อหมิน ประธานาธิบดี ฯพณฯ นายหลี่ เผิง ประธานสมัชชาประชาชนแห่งชาติจีน และได้หารืออย่างเป็นทางการกับนายกรัฐมนตรีจู หรงจี ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ทวิภาคีและสถานการณ์ในภูมิภาคและต่างประเทศที่มีความสนใจร่วมกัน นอกจากนี้ ในระหว่างการเยือนได้มีการลงนามในความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านวัฒนธรรมระหว่างรัฐบาลไทยและจีน และบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดตั้งสภาธุรกิจระหว่างสภาส่งเสริมการค้าต่างประเทศของจีนและสภาหอการค้าไทย นายกรัฐมนตรีไทยได้ขอบคุณรัฐบาลและประชาชนชาวจีนที่ให้การต้อนรับด้วยอัธยาศัยไมตรีอย่างอบอุ่น ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่าการเยือนในครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์เอื้อและช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือทุกด้านฉันเพื่อนบ้านที่ดีและความไว้วางใจระหว่างไทยกับจีน
2. ในระหว่างการพบปะหารือ ผู้นำของประเทศทั้งสองต่างแสดงความพึงพอใจต่อความคืบหน้าและพัฒนาการของความสัมพันธ์ไทย-จีน ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนที่มีมาช้านานให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น รวมทั้งกระชับความร่วมมือด้านยุทธศาสตร์อันจะนำมาซึ่งประโยชน์ร่วมของประเทศทั้งสอง ตลอดจนความสงบสุข ความมั่งคั่งและพัฒนาการในภูมิภาค
3. ทั้งสองฝ่ายได้ยืนยันและสนับสนุนอย่างเต็มที่ “แถลงการณ์ร่วมไทย — จีนว่าด้วยแผนปฏิบัติการสำหรับศตวรรษที่ 21” ซึ่งลงนามที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2542 ทั้งสองฝ่ายพอใจกับความคืบหน้าของความร่วมมือไทย-จีนทุกด้านในสองสามปีทีผ่านมาและย้ำความสำคัญของแผนปฏิบัติการดังกล่าวในฐานะกรอบการพัฒนาความสัมพันธ์ไทย-จีนในอนาคตและเห็นพ้องที่จะนำโครงการตามแผนปฏิบัติการดังกล่าวไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ ในฐานะประเทศเพื่อนบ้านและบนหลักการของการเคารพและไว้วางใจซึ่งกันและกัน
4. ทั้งสองฝ่ายชื่นชมบทบาทอันสำคัญของคณะกรรมาธิการร่วมด้านการค้าและเศรษฐกิจ และคณะกรรมาธิการร่วมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย-จีน ซึ่งมีบทบาทในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งสองในด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม การศึกษา สาธารณสุข วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องให้มีการขยายกิจกรรมการแลกเปลี่ยนด้านดังกล่าวต่อเนื่องต่อไป
5. ทั้งสองฝ่ายพึงพอใจในความสำเร็จด้านการค้าและความร่วมมือด้านเศรษฐกิจทวิภาคี และเห็นพ้องว่าความร่วมมือด้านการค้าและเศรษฐกิจเป็นกลไกที่มีพลังในการขับเคลื่อนความสัมพันธ์ไทย-จีน ทั้งยืนยันการให้การสนับสนุนโครงการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ การขยายมูลค่าการค้าทวิภาคีและการลงทุน ที่อยู่บนพื้นฐานของประโยชน์ร่วมกันและเป็นธรรม และการนำความตกลง Swap Agreement ระหว่างไทย-จีน ให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ทางการค้าและวัฒนธรรมโดยอาศัยเมืองพี่เมืองน้องระหว่างกัน ทั้งสองฝ่ายเห็นว่าการที่จีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) และ ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคตะวันตกของจีนจะนำมาซึ่งโอกาสใหม่ของความร่วมมือทางด้านการค้าและเศรษฐกิจไทย-จีน และในโอกาสที่แผนการลดภาษีในกรอบเขตการค้าเสรี อาเซียน (AFTA) จะลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 — 5 ภายในปี พ.ศ. 2545 และเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ. 2553 ฝ่ายไทยหวังว่า จีนจะใช้ประโยชน์ในด้านลงทุนและการค้าโดยการย้ายการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตมาในประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียน ทั้งสองฝ่ายให้การสนับสนุนการขยายความร่วมมือด้านการค้าและเศรษฐกิจระหว่างภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนและภาคเหนือของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาเครือข่ายการคมนาคมทางบกระหว่างประเทศทั้งสอง รวมทั้งจะศึกษาลู่ทางการร่วมมือทางเศรษฐกิจด้านอื่น ๆ
6. ฝ่ายไทยเห็นว่า ประเทศจีนซึ่งมีความมั่นคงและความมั่งคั่งจะเอื้ออำนวยให้เกิดสันติภาพและพัฒนาการในภูมิภาค ฝ่ายไทยยืนยันว่ามีจีนเดียว ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน และไทยยังคงยึดมั่นในนโยบายจีนเดียว ไทยแสดงความยินดีที่จีนประสบความสำเร็จในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ปี ค.ศ. 2008 ซึ่งไทยพร้อมให้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับจีนเพื่อให้การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกประสบความสำเร็จ ขณะเดียวกัน ฝ่ายจีนแสดงความความขอบคุณต่อท่าทีของฝ่ายไทย รวมทั้งแสดงความยินดีกับรัฐบาลไทยที่ประสบความสำเร็จในการกำจัดปัญหาความยากจน กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศและส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาคและเชื่อมั่นว่า พัฒนาการด้านเศรษฐกิจและสังคมของไทยมีความสำคัญต่อความมั่นคงและความมั่งคั่งของภูมิภาคเช่นเดียวกัน
7. ทั้งสองฝ่ายแสดงความยินดีต่อผลการประชุมระดับรัฐมนตรี จีน ลาว พม่าและไทยว่าด้วยการควบคุมยาเสพติด ที่กรุงปักกิ่ง ระหว่างวันที่ 27 — 28 สิงหาคม ศกนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต่อความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างประเทศทั้ง 4 ในการกวาดล้างอาชญากรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติดในภูมิภาค ฝ่ายไทยแสดงความขอบคุณฝ่ายจีนที่สนับสนุนให้ความร่วมมือ 4 ฝ่ายในด้านการต่อต้านยาเสพติดเป็นผลสำเร็จ ทั้งสองฝ่ายแสดงความแน่วแน่ที่จะผลักดันกระบวนการดังกล่าวต่อไปข้างหน้า โดยฝ่ายไทยแสดงความพร้อมที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
8. ทั้งสองฝ่ายเห็นว่า ท่ามกลางกระแสของเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ ประเทศเอเชียจำเป็นที่จะต้องกระชับความร่วมมือในระดับภูมิภาคเพื่อแสวงหาโอกาสร่วมกันและขณะเดียวกันเพื่อเตรียมรับมือกับความท้าทายที่มากับกระแสโลกาภิวัตน์ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องให้ผลักดันความร่วมมือระหว่างอาเซียน จีน เกาหลีใต้และญี่ปุ่น (10+3) ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง ฝ่ายจีนแสดงความขอบคุณต่อความพยายามของฝ่ายไทยที่จะเสริมสร้างการหารือและความร่วมมือในระหว่างประเทศเอเชีย ฝ่ายจีนยังได้แสดงความหวังว่าจะเห็นอาเซียนมีความสามัคคี มีเสถียรภาพและมั่งคั่งขึ้น รวมทั้งสนับสนุนบทบาทเพิ่มขึ้นของอาเซียนในกิจการของภูมิภาคและกิจการระหว่างประเทศ
9. ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องในการส่งเสริมบทบาทของ ASEAN Regional Forum (ARF) ในฐานะกลไกส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงของภูมิภาคเอเชีย- แปซิฟิกและจิตวิญญาณแห่งการแสวงหาฉันทามติบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกัน รวมทั้งการส่งเสริมการปรึกษาหารือผ่านเวที ASEM, APEC สหประชาชาติและองค์การระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ
10. ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องว่า แนวโน้มของโลกปัจจุบันเป็นเรื่องของสันติภาพ พัฒนาการและความร่วมมือ และการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันของทุกประเทศเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการรักษาไว้ซึ่งสันติภาพของโลก อารยธรรมและระบบสังคมที่แตกต่างกันควรอยู่ร่วมกันได้ในระยะยาวโดยการแสวงหาประโยชน์จากจุดแข็งของแต่และฝ่ายผ่านทางการแข่งขันและการเปรียบเทียบและพัฒนาไปพร้อม ๆ กันโดยการแสวงหาจุดร่วมและสงวนจุดต่าง
11. ผู้นำของจีนได้ถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมราชินีนาถฯ ผ่านนายกรัฐมนตรีของไทย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-