ตามที่ ธปท. ได้เริ่มดำเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบ Inflation Targeting โดยใช้อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนระยะ 14 วัน เป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2543 และดูแลระดับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (overnight) มิให้ผันผวนมากเกินไปและเคลื่อนไหวสอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อให้การส่งผ่านของการดำเนินนโยบายการเงินมีประสิทธิภาพสูงสุด นั้นธปท.เห็นควรปรับเปลี่ยนหน้าต่างการให้กู้ยืมในลักษณะ Standing Facility และปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเงินสภาพคล่องระหว่างวัน (ILF) ประเภทข้ามคืน โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. การปรับเปลี่ยนหน้าต่างการให้กู้ยืมในลักษณะ Standing Facility
1.1 วัตถุประสงค์เพื่อเป็นหน้าต่างปล่อยสภาพคล่องแบบมีหลักประกันเมื่อสถาบันการเงินขาดสภาพคล่องในช่วงสิ้นวัน โดยอัตราดอกเบี้ยของ Standing Facility จะอ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และเป็นเพดานของอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน รวมทั้งทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นอื่นๆ ในตลาดเงินเคลื่อนไหวไม่แตกต่างจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายมากเกินไป
1.2 ความเป็นมาและสาเหตุการปรับเปลี่ยนในปัจจุบัน ธปท. มี Standing Facilities เพื่อเสริมสภาพคล่องให้สถาบันการเงินรวม 3 ช่องทาง คือ
1 การซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินโดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน (Loan window) ซึ่งมีค่าตอบแทนในการซื้อขายพันธบัตรโดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 4 ต่อปี
2 ตลาดซื้อคืนนอกเวลา (RP late hour) ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยเป็นแบบลอยตัว อยู่ที่อัตราร้อยละ 2.5 + อัตรากู้ยืมสูงสุดในตลาดซื้อคืน
3 การรับซื้อตั๋วเงินจากสถาบันการเงินโดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน เป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว เท่ากับอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนอายุ 7 วันที่ผ่านมา การขอกู้ยืมผ่านหน้าต่างดังกล่าวมีน้อยมาก เนื่องจากมีเงื่อนไขการให้กู้ยืมหลายประการ ทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่เป็นกลไกรักษาเสถียรภาพของตลาดเงินอย่างแท้จริง นอกจากนั้น อัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกันในแต่ละหน้าต่างก็ไม่สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทำให้การส่งผ่านของการดำเนินนโยบายการเงินไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
1.3 แนวทางการปรับเปลี่ยน
1.3.1 ยกเลิก Loan Window
1.3.2 ยกเลิกหน้าต่างตลาดซื้อคืนนอกเวลา
1.3.3 ยกเลิกหน้าต่างการรับซื้อตั๋วเงินจากสถาบันการเงินโดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน
1.3.4 ยกเลิกอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน
1.3.5 ใช้ “หน้าต่างสภาพคล่องสิ้นวัน หรือ End-of-day liquidity window ” เป็น standing facility ทดแทนเพียงหน้าต่างเดียว โดย
-กำหนดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย บวกด้วยส่วนต่าง (margin) ซึ่งในปัจจุบันกำหนดให้เท่ากับร้อยละ 1.5 ทำให้อัตราดอกเบี้ยของหน้าต่างสภาพคล่องสิ้นวันในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปี (2.5 + 1.5) โดยธปท. สามารถปรับเปลี่ยนส่วนต่างได้ตามความเหมาะสม
-สถาบันการเงินสามารถขอสภาพคล่องได้โดยไม่จำกัดวงเงินรายสถาบัน
-สถาบันการเงินที่สามารถขอกู้ยืมผ่านหน้าต่างสภาพคล่องสิ้นวัน ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และสถาบันการเงินพิเศษที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะเวลาดำเนินการของหน้าต่างสภาพคล่องสิ้นวัน คือ 17:00-17:30 น.
2. การปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย เงินสภาพคล่องระหว่างวัน (ILF) ประเภทข้ามคืน
2.1 วัตถุประสงค์
เพื่อให้อัตราดอกเบี้ย ILF ประเภทข้ามคืนสอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยหน้าต่างสภาพคล่องสิ้นวัน และอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
2.2 แนวทางการปรับเปลี่ยน
2.2.1 ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย ILF ประเภทข้ามคืน ให้อ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายและบวกด้วยส่วนต่าง (margin) แทนการอ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนและบวกด้วยส่วนต่าง
2.2.2 ปรับลดส่วนต่างจากเดิมที่ร้อยละ 6.5 ให้เท่ากับส่วนต่างของหน้าต่างสภาพคล่องสิ้นวัน (ร้อยละ 1.5 ในปัจจุบัน) ทำให้อัตราดอกเบี้ย ILF ประเภทข้ามคืน ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปี (2.5 + 1.5) เช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยหน้าต่างสภาพคล่องสิ้นวัน ทั้งนี้จะไม่มีการปรับส่วนต่างเพิ่มขึ้นตามความถี่ของการใช้ ILF ประเภทข้ามคืน
ทั้งนี้ ให้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวข้างต้นมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 เป็นต้นไป
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/20 กันยายน 2544--
-ยก-
1. การปรับเปลี่ยนหน้าต่างการให้กู้ยืมในลักษณะ Standing Facility
1.1 วัตถุประสงค์เพื่อเป็นหน้าต่างปล่อยสภาพคล่องแบบมีหลักประกันเมื่อสถาบันการเงินขาดสภาพคล่องในช่วงสิ้นวัน โดยอัตราดอกเบี้ยของ Standing Facility จะอ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และเป็นเพดานของอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน รวมทั้งทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นอื่นๆ ในตลาดเงินเคลื่อนไหวไม่แตกต่างจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายมากเกินไป
1.2 ความเป็นมาและสาเหตุการปรับเปลี่ยนในปัจจุบัน ธปท. มี Standing Facilities เพื่อเสริมสภาพคล่องให้สถาบันการเงินรวม 3 ช่องทาง คือ
1 การซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินโดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน (Loan window) ซึ่งมีค่าตอบแทนในการซื้อขายพันธบัตรโดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 4 ต่อปี
2 ตลาดซื้อคืนนอกเวลา (RP late hour) ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยเป็นแบบลอยตัว อยู่ที่อัตราร้อยละ 2.5 + อัตรากู้ยืมสูงสุดในตลาดซื้อคืน
3 การรับซื้อตั๋วเงินจากสถาบันการเงินโดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน เป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว เท่ากับอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนอายุ 7 วันที่ผ่านมา การขอกู้ยืมผ่านหน้าต่างดังกล่าวมีน้อยมาก เนื่องจากมีเงื่อนไขการให้กู้ยืมหลายประการ ทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่เป็นกลไกรักษาเสถียรภาพของตลาดเงินอย่างแท้จริง นอกจากนั้น อัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกันในแต่ละหน้าต่างก็ไม่สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทำให้การส่งผ่านของการดำเนินนโยบายการเงินไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
1.3 แนวทางการปรับเปลี่ยน
1.3.1 ยกเลิก Loan Window
1.3.2 ยกเลิกหน้าต่างตลาดซื้อคืนนอกเวลา
1.3.3 ยกเลิกหน้าต่างการรับซื้อตั๋วเงินจากสถาบันการเงินโดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน
1.3.4 ยกเลิกอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน
1.3.5 ใช้ “หน้าต่างสภาพคล่องสิ้นวัน หรือ End-of-day liquidity window ” เป็น standing facility ทดแทนเพียงหน้าต่างเดียว โดย
-กำหนดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย บวกด้วยส่วนต่าง (margin) ซึ่งในปัจจุบันกำหนดให้เท่ากับร้อยละ 1.5 ทำให้อัตราดอกเบี้ยของหน้าต่างสภาพคล่องสิ้นวันในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปี (2.5 + 1.5) โดยธปท. สามารถปรับเปลี่ยนส่วนต่างได้ตามความเหมาะสม
-สถาบันการเงินสามารถขอสภาพคล่องได้โดยไม่จำกัดวงเงินรายสถาบัน
-สถาบันการเงินที่สามารถขอกู้ยืมผ่านหน้าต่างสภาพคล่องสิ้นวัน ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และสถาบันการเงินพิเศษที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะเวลาดำเนินการของหน้าต่างสภาพคล่องสิ้นวัน คือ 17:00-17:30 น.
2. การปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย เงินสภาพคล่องระหว่างวัน (ILF) ประเภทข้ามคืน
2.1 วัตถุประสงค์
เพื่อให้อัตราดอกเบี้ย ILF ประเภทข้ามคืนสอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยหน้าต่างสภาพคล่องสิ้นวัน และอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
2.2 แนวทางการปรับเปลี่ยน
2.2.1 ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย ILF ประเภทข้ามคืน ให้อ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายและบวกด้วยส่วนต่าง (margin) แทนการอ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนและบวกด้วยส่วนต่าง
2.2.2 ปรับลดส่วนต่างจากเดิมที่ร้อยละ 6.5 ให้เท่ากับส่วนต่างของหน้าต่างสภาพคล่องสิ้นวัน (ร้อยละ 1.5 ในปัจจุบัน) ทำให้อัตราดอกเบี้ย ILF ประเภทข้ามคืน ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปี (2.5 + 1.5) เช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยหน้าต่างสภาพคล่องสิ้นวัน ทั้งนี้จะไม่มีการปรับส่วนต่างเพิ่มขึ้นตามความถี่ของการใช้ ILF ประเภทข้ามคืน
ทั้งนี้ ให้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวข้างต้นมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 เป็นต้นไป
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/20 กันยายน 2544--
-ยก-