กรุงเทพฯ--19 พ.ค.--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
เมื่อวันที่ 15-16 พฤษภาคม 2543 ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในหัวข้อ "Powering APEC Economies into the New Millennium : APEC E-Commerce Convention" ภายใต้กรอบเอเปค ที่กรุงโตเกียว โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 400 คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ระดับสูงของภาครัฐบาลและ ภาคเอกชนจากประเทศสมาชิกเอเปค ซึ่งมีทั้งหมด 22 ประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและข้อมูล เกี่ยวกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก โดยได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากทั้งภาครัฐบาล เอกชน อาจารย์มหาวิทยาลัยจากหลายประเทศสมาชิกเอเปค รวมทั้งผู้แทนจากองค์กรระหว่างประเทศ เช่น OECD มาบรรยายใน 5 หัวข้อด้วยกัน คือ
1) ผลกระทบของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่อเศรษฐกิจ ของประเทศสมาชิกเอเปค
2) ยุทธศาสตร์การปรับตัวของภาคเอกชนต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
3) การประเมินความพร้อมของแต่ละประเทศสมาชิกเอเปคต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
4) กรอบนโยบาย ระหว่างประเทศด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
5) ข้อเสนอแนะการดำเนินการขั้นต่อไปในกรอบเอเปค เพื่อส่งเสริมการขยายตัวของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ทั้งนี้ญี่ปุ่นจะรายงานผลการประชุมในครั้งนี้ ต่อที่ประชุมรัฐมนตรีเอเปคในปีนี้ ซึ่งจะจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 12-13 พฤศจิกายน 2543 ที่ประเทศบรูไน สรุปผลการประชุมในเบื้องต้นได้ว่า ภาคเอกชนควรมีบทบาทนำในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ ก้าวหน้าต่อไป รวมทั้งประสานงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานภาครัฐที่ทำหน้าที่ด้านการกำหนดนโยบาย เพื่อชี้แนะปัจจัยที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนบทบาทของ ภาครัฐนั้น ควรสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันที่เสรีมากขึ้น และดำเนินการด้านการอำนวยความสะดวกด้วยการ เสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมด้านกฎหมาย
ซึ่งได้มีการเสนอให้จัดตั้ง legal forum ขึ้นมาภายใต้กรอบเอเปค และรัฐบาลควรจะต้องคำนึงอยู่เสมอว่า การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทรอนิกส์ยังอยู่ในระยะเริ่มต้นเท่านั้น ดังนั้นรัฐจะต้องไม่ออกมาตรการที่เป็นการ จำกัดการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ นอกจากนั้น ควรจะต้องมีความร่วมมือระหว่างองค์กรระหว่างประเทศ ที่ดำเนินงานด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และผลักดันประเด็นต่างๆที่ได้มีการหารือในเวทีย่อยต่างๆ ของเอเปคให้คืบหน้าโดยเร็ว ซึ่งได้แก่ การประเมินความพร้อมต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และการค้า แบบไม่ใช้กระดาษ (paperless trading)รวมทั้งประเด็นสำคัญอื่นๆ เช่น การคุ้มครองผู้บริโภค การส่งเสริม บริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก มากไปกว่านั้น เนื่องจากเอเปคเป็นเวทีความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ดังนั้น เอเปคควรจะใช้สถานะที่ได้เปรียบดังกล่าวให้ดีที่สุด ซึ่งที่ประชุมก็ได้ให้ข้อเสนอแนะต่างๆ เช่น ความสำคัญ ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งรวมทั้งการพัฒนาทักษะด้านไอที การศึกษา และการสร้างโครงสร้าง พื้นฐานในการเข้าถึงอินเตอร์เนตที่ปลอดภัยและราคาไม่แพง รวมทั้งการแก้ไขปัญหา digital devide
สำหรับประเทศไทยนั้น รองอธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ (นายธวัชชัย โสภาเสถียรพงศ์) ได้รับเชิญจาก กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศของญี่ปุ่นหรือ MITI ให้ไปบรรยายในหัวข้อที่ 3 เกี่ยวกับการประเมินความพร้อมของประเทศไทยต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากกรมเศรษฐกิจ การพาณิชย์ได้ดำเนินการประเมินความพร้อมของไทยตาม"APEC E-Commerce Readiness Assessment Guide" ซึ่งจัดทำขึ้นในรูปแบบสอบถาม โดยความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐบาลของประเทศ สมาชิกเอเปค และได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐมนตรีเอเปคครั้งที่ 11 ระหว่างวันที่ 9-10 กันยายน 2542 ที่นครโอ็คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ ให้ประเทศสมาชิกเอเปคใช้เป็นแนวทางในการประเมิน ความพร้อมของแต่ละประเทศต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โดยความสมัครใจ ขณะนี้มีประเทศไทยและ เปรูที่ได้ทำการประเมินเสร็จแล้ว สหรัฐฯและญี่ปุ่นอยู่ระหว่างดำเนินการ และเกาหลี จีนไต้หวัน ฟิลิปปินส์ นิวซีแลนด์ และมาเลเซีย ได้ประกาศจะใช้แนวทางดังกล่าว
ทั้งนี้การประเมินความพร้อมต่อการพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์มีวัตถุประสงค์เพื่อที่รัฐบาลของแต่ละประเทศสมาชิกเอเปคจะรวบรวมข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น ต่อการประเมินสถานะของประเทศว่ามีจุดอ่อนจุดแข็งที่ตรงไหน ซึ่งจะช่วยให้ภาครัฐสามารถกำหนด นโยบายสนับสนุนการขยายตัวของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างถูกทิศทางและเหมาะสม กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ได้ทำการประเมินความพร้อมของไทยโดยการประสานงานกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง ได้แก่ กสท. องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เนคเทค สมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย และบริษัทผู้ให้บริการอินเตอร์เนต ทั้งนี้จะประสาน กับศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของเนคเทค เพื่อจัดใส่ผลการประเมินความพร้อมดังกล่าวไว้ในเว็บไซท์เพื่อที่สาธารณชนจะได้นำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป นอกจากนั้น หลังจบการประชุม APEC E-Commerce Convention ได้มีการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ ของกลุ่มเฉพาะกิจด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของเอเปค หรือ APEC Electronic Commerce Steering Group (ECSG) เพื่อเตรียมการประชุม ECSG ครั้งที่ 2 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-22 กรกฎาคม 2543 ที่กรุงเทพฯ ทั้งนี้ ECSG มีประเทศไทย (นายธวัชชัย โสภาเสถียรพงศ์) และสหรัฐฯเป็นประธาน ร่วมโดยจัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่ต้นปี 2542 เพื่อดำเนินการผลักดันกิจกรรมต่างๆที่ระบุไว้ในแผนปฏิบัติการ ด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของเอเปค (APEC Blueprint for Action on Electronic Commerce) ให้บรรลุผลสำเร็จโดยเร็ว และทำหน้าที่ประสานการดำเนินกิจกรรมด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของ คณะทำงานกลุ่มต่างๆของเอเปค
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 282-6623--จบ--
-อน-
เมื่อวันที่ 15-16 พฤษภาคม 2543 ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในหัวข้อ "Powering APEC Economies into the New Millennium : APEC E-Commerce Convention" ภายใต้กรอบเอเปค ที่กรุงโตเกียว โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 400 คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ระดับสูงของภาครัฐบาลและ ภาคเอกชนจากประเทศสมาชิกเอเปค ซึ่งมีทั้งหมด 22 ประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและข้อมูล เกี่ยวกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก โดยได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากทั้งภาครัฐบาล เอกชน อาจารย์มหาวิทยาลัยจากหลายประเทศสมาชิกเอเปค รวมทั้งผู้แทนจากองค์กรระหว่างประเทศ เช่น OECD มาบรรยายใน 5 หัวข้อด้วยกัน คือ
1) ผลกระทบของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่อเศรษฐกิจ ของประเทศสมาชิกเอเปค
2) ยุทธศาสตร์การปรับตัวของภาคเอกชนต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
3) การประเมินความพร้อมของแต่ละประเทศสมาชิกเอเปคต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
4) กรอบนโยบาย ระหว่างประเทศด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
5) ข้อเสนอแนะการดำเนินการขั้นต่อไปในกรอบเอเปค เพื่อส่งเสริมการขยายตัวของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ทั้งนี้ญี่ปุ่นจะรายงานผลการประชุมในครั้งนี้ ต่อที่ประชุมรัฐมนตรีเอเปคในปีนี้ ซึ่งจะจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 12-13 พฤศจิกายน 2543 ที่ประเทศบรูไน สรุปผลการประชุมในเบื้องต้นได้ว่า ภาคเอกชนควรมีบทบาทนำในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ ก้าวหน้าต่อไป รวมทั้งประสานงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานภาครัฐที่ทำหน้าที่ด้านการกำหนดนโยบาย เพื่อชี้แนะปัจจัยที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนบทบาทของ ภาครัฐนั้น ควรสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันที่เสรีมากขึ้น และดำเนินการด้านการอำนวยความสะดวกด้วยการ เสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมด้านกฎหมาย
ซึ่งได้มีการเสนอให้จัดตั้ง legal forum ขึ้นมาภายใต้กรอบเอเปค และรัฐบาลควรจะต้องคำนึงอยู่เสมอว่า การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทรอนิกส์ยังอยู่ในระยะเริ่มต้นเท่านั้น ดังนั้นรัฐจะต้องไม่ออกมาตรการที่เป็นการ จำกัดการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ นอกจากนั้น ควรจะต้องมีความร่วมมือระหว่างองค์กรระหว่างประเทศ ที่ดำเนินงานด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และผลักดันประเด็นต่างๆที่ได้มีการหารือในเวทีย่อยต่างๆ ของเอเปคให้คืบหน้าโดยเร็ว ซึ่งได้แก่ การประเมินความพร้อมต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และการค้า แบบไม่ใช้กระดาษ (paperless trading)รวมทั้งประเด็นสำคัญอื่นๆ เช่น การคุ้มครองผู้บริโภค การส่งเสริม บริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก มากไปกว่านั้น เนื่องจากเอเปคเป็นเวทีความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ดังนั้น เอเปคควรจะใช้สถานะที่ได้เปรียบดังกล่าวให้ดีที่สุด ซึ่งที่ประชุมก็ได้ให้ข้อเสนอแนะต่างๆ เช่น ความสำคัญ ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งรวมทั้งการพัฒนาทักษะด้านไอที การศึกษา และการสร้างโครงสร้าง พื้นฐานในการเข้าถึงอินเตอร์เนตที่ปลอดภัยและราคาไม่แพง รวมทั้งการแก้ไขปัญหา digital devide
สำหรับประเทศไทยนั้น รองอธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ (นายธวัชชัย โสภาเสถียรพงศ์) ได้รับเชิญจาก กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศของญี่ปุ่นหรือ MITI ให้ไปบรรยายในหัวข้อที่ 3 เกี่ยวกับการประเมินความพร้อมของประเทศไทยต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากกรมเศรษฐกิจ การพาณิชย์ได้ดำเนินการประเมินความพร้อมของไทยตาม"APEC E-Commerce Readiness Assessment Guide" ซึ่งจัดทำขึ้นในรูปแบบสอบถาม โดยความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐบาลของประเทศ สมาชิกเอเปค และได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐมนตรีเอเปคครั้งที่ 11 ระหว่างวันที่ 9-10 กันยายน 2542 ที่นครโอ็คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ ให้ประเทศสมาชิกเอเปคใช้เป็นแนวทางในการประเมิน ความพร้อมของแต่ละประเทศต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โดยความสมัครใจ ขณะนี้มีประเทศไทยและ เปรูที่ได้ทำการประเมินเสร็จแล้ว สหรัฐฯและญี่ปุ่นอยู่ระหว่างดำเนินการ และเกาหลี จีนไต้หวัน ฟิลิปปินส์ นิวซีแลนด์ และมาเลเซีย ได้ประกาศจะใช้แนวทางดังกล่าว
ทั้งนี้การประเมินความพร้อมต่อการพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์มีวัตถุประสงค์เพื่อที่รัฐบาลของแต่ละประเทศสมาชิกเอเปคจะรวบรวมข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น ต่อการประเมินสถานะของประเทศว่ามีจุดอ่อนจุดแข็งที่ตรงไหน ซึ่งจะช่วยให้ภาครัฐสามารถกำหนด นโยบายสนับสนุนการขยายตัวของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างถูกทิศทางและเหมาะสม กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ได้ทำการประเมินความพร้อมของไทยโดยการประสานงานกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง ได้แก่ กสท. องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เนคเทค สมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย และบริษัทผู้ให้บริการอินเตอร์เนต ทั้งนี้จะประสาน กับศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของเนคเทค เพื่อจัดใส่ผลการประเมินความพร้อมดังกล่าวไว้ในเว็บไซท์เพื่อที่สาธารณชนจะได้นำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป นอกจากนั้น หลังจบการประชุม APEC E-Commerce Convention ได้มีการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ ของกลุ่มเฉพาะกิจด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของเอเปค หรือ APEC Electronic Commerce Steering Group (ECSG) เพื่อเตรียมการประชุม ECSG ครั้งที่ 2 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-22 กรกฎาคม 2543 ที่กรุงเทพฯ ทั้งนี้ ECSG มีประเทศไทย (นายธวัชชัย โสภาเสถียรพงศ์) และสหรัฐฯเป็นประธาน ร่วมโดยจัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่ต้นปี 2542 เพื่อดำเนินการผลักดันกิจกรรมต่างๆที่ระบุไว้ในแผนปฏิบัติการ ด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของเอเปค (APEC Blueprint for Action on Electronic Commerce) ให้บรรลุผลสำเร็จโดยเร็ว และทำหน้าที่ประสานการดำเนินกิจกรรมด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของ คณะทำงานกลุ่มต่างๆของเอเปค
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 282-6623--จบ--
-อน-