สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคายังคงปรับเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าผลผลิตจะยังทรงตัวแต่ความต้องการบริโภคกระเตื้องขึ้น คาดว่าเป็นผลมาจากที่มีการเลือกตั้งในบางพื้นที่ แต่เมื่อผ่านพ้นช่วงนี้ไปแล้วความต้องการบริโภคกลับสู่ภาวะปกติ ส่งผลให้ราคาสุกรมีชีวิตมีแนวโน้มลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 32.09 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.28 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 32.41 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 31.41 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 30.72 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 35.95 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 750 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.75 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ตลาดไก่เนื้อหลังจากเทศกาลตรุษจีนอ่อนตัวลง เพราะความต้องการบริโภคลดลง ทำให้ราคาในสัปดาห์นี้ปรับลดลงด้วย อย่างไรก็ตามภาวะการซื้อขายโดยทั่วไปยังค่อนข้างแจ่มใส เพราะผลผลิตยังมีไม่มากเมื่อเทียบกับความต้องการทำให้ราคายังอยู่ในระดับสูงและมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 29.98 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.44 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.51 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 32.85 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 26.47 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 31.07 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 31.41 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 10.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.25 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.85 ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 45.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.30
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ภาวะการซื้อขายในสัปดาห์นี้ ราคากระเตื้องขึ้นเล็กน้อย ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาในช่วงที่ผ่านมา ทั้งในเรื่องของการเก็บเข้าห้องเย็นและการผลักดันส่งออก อย่างไรก็ตามผลผลิตก็ยังมีปริมาณมากเมื่อเทียบกับความต้องการ ทำให้ราคาไข่ไก่คาดว่าจะทรงตัวอยู่ในระดับต่ำไปจนถึงอ่อนตัวลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 134 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 131 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.29 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 132 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 153 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 125 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 149 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.อยู่ที่ตัวละ 9 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 139 บาทเพิ่มขึ้นจากร้อยฟองละ 129 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.75
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 163 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 164 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.61 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 150 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 169 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 166 บาทและภาคใต้ร้อยฟองละ 159 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 225 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 38.88 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.53 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.07
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 27.45 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 27.71 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.94
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 4 ประจำวันที่ 29 ม.ค. - 4 ก.พ. 2544--
-สส-
ราคายังคงปรับเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าผลผลิตจะยังทรงตัวแต่ความต้องการบริโภคกระเตื้องขึ้น คาดว่าเป็นผลมาจากที่มีการเลือกตั้งในบางพื้นที่ แต่เมื่อผ่านพ้นช่วงนี้ไปแล้วความต้องการบริโภคกลับสู่ภาวะปกติ ส่งผลให้ราคาสุกรมีชีวิตมีแนวโน้มลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 32.09 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.28 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 32.41 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 31.41 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 30.72 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 35.95 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 750 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.75 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ตลาดไก่เนื้อหลังจากเทศกาลตรุษจีนอ่อนตัวลง เพราะความต้องการบริโภคลดลง ทำให้ราคาในสัปดาห์นี้ปรับลดลงด้วย อย่างไรก็ตามภาวะการซื้อขายโดยทั่วไปยังค่อนข้างแจ่มใส เพราะผลผลิตยังมีไม่มากเมื่อเทียบกับความต้องการทำให้ราคายังอยู่ในระดับสูงและมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 29.98 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.44 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.51 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 32.85 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 26.47 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 31.07 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 31.41 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 10.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.25 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.85 ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 45.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.30
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ภาวะการซื้อขายในสัปดาห์นี้ ราคากระเตื้องขึ้นเล็กน้อย ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาในช่วงที่ผ่านมา ทั้งในเรื่องของการเก็บเข้าห้องเย็นและการผลักดันส่งออก อย่างไรก็ตามผลผลิตก็ยังมีปริมาณมากเมื่อเทียบกับความต้องการ ทำให้ราคาไข่ไก่คาดว่าจะทรงตัวอยู่ในระดับต่ำไปจนถึงอ่อนตัวลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 134 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 131 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.29 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 132 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 153 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 125 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 149 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.อยู่ที่ตัวละ 9 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 139 บาทเพิ่มขึ้นจากร้อยฟองละ 129 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.75
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 163 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 164 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.61 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 150 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 169 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 166 บาทและภาคใต้ร้อยฟองละ 159 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 225 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 38.88 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.53 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.07
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 27.45 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 27.71 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.94
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 4 ประจำวันที่ 29 ม.ค. - 4 ก.พ. 2544--
-สส-