แรงงานต่างด้าวสามารถจำแนกตามประเภทการเข้าเป็น 2 กลุ่ม คือ (1) แรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานชั่วคราวตามกฎหมาย เช่น ตามกฎหมายส่งเสริมการลงทุน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานระดับกลางและสูงเข้ามาปฏิบัติงานในตำแหน่งบริหารและวิชาชีพเฉพาะ (2) แรงงานต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมือง ประกอบด้วย แรงงานพม่า จีน อินโดจีน และสัญชาติอื่น เช่น อินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ เนปาล และศรีลังกา ซึ่งจากการสำรวจของกระทรวงแรงงานฯ เมื่อเดือนมกราคม 2539 มีผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายเข้ามาขายแรงงานในประเทศไทยประมาณ 700,000 คน ส่วนใหญ่ทำงานในประเภทที่ไม่ต้องใช้ฝีมือ เช่น กรรมกรแบกหาม การเกษตรไร่อ้อย ก่อสร้าง งานรับจ้างในร้านและสถานบริการ
สำหรับในภาคเหนือก็มีแรงงานต่างด้าวทั้ง 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่เข้ามาทำงานตามกฎหมาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานสัญชาติญี่ปุ่นกระจุกตัวอยู่ใน นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน และจังหวัดเชียงใหม่เป็นสำคัญและกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมืองซึ่งส่วนใหญ่เป็นสัญชาติพม่า แรงงานกลุ่มนี้หนาแน่นตลอดแนวชายแดนไทย-พม่า โดยเฉพาะแนวชายแดนภาคเหนือ สามารถจำแนกแรงงานที่หลบหนีเข้าเมืองได้เป็น 4 กลุ่มสำคัญดังนี้
1. แรงงานพลัดถิ่นหรือผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในพม่าและเหตุผลทางเศรษฐกิจก่อนวันที่ 9 มีนาคม 2519 ซึ่งทางการได้สำรวจและออกบัตรประจำตัวผู้พลัดถิ่นให้แรงงาน กลุ่มนี้อยู่หนาแน่นในจังหวัดตากและเชียงราย
2. แรงงานที่เข้ามาหลังวันที่ 9 มีนาคม 2519 เป็น แรงงานที่เข้ามาหางานทำด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ จากการศึกษาของ TDRI พบว่ามีประมาณ 33,000 คน ในช่วงปี 2519-2535 และเพิ่มขึ้นเป็น 212,187 คน ในปี 2538 ในจำนวนนี้มีชื่ออยู่ในทะเบียนประวัติและบัตรประจำตัวที่ทางราชการออกให้จำนวน 100,356 คน
3. ผู้หลบหนีการสู้รบ ส่วนใหญ่เป็นชาวกระเหรี่ยงพำนักตามแนวชายแดนในภาคเหนือและภาคตะวันตก จากการศึกษาของ TDRI พบว่ามีประมาณ 33,000 คน ในช่วง ปี 2519-2535 และเพิ่มขึ้นเป็น 800,000 คน เมื่อปี 2538
4. กลุ่มที่ลักลอบเข้าเมืองและหลบซ่อนรับจ้างทำงาน ตามแนวชายแดนและจังหวัดอื่นๆ ไม่ทราบจำนวนแน่นอน เนื่องจากยังไม่มีการสำรวจที่ชัดเจน แต่จากการศึกษาของ TDRI ประมาณว่าแรงงานกลุ่มนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ประมาณ 400,000 - 500,000 คนทั่วประเทศ ในระหว่างปี 2537-2538 วิธีลักลอบเข้าเมืองส่วนใหญ่ใช้การเดินเท้าผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง แต่เมื่อถึงกำหนดเวลาจะไม่เดินทางกลับและลักลอบไปหาญาติหรือเพื่อหางานทำต่อไป และบางส่วนก็มีขบวนการนายหน้าชาวไทย พม่า และกลุ่มเจ้าของสถานประกอบการนำแรงงานเหล่านี้เข้าไทย
ความแตกต่างของค่าจ้างและมาตรฐานการครองชีพระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะประเทศพม่าเป็นแรงดึงดูดสำคัญให้แรงงานพม่าหลั่งไหลเข้าไทย โดยเฉพาะในภาคเหนือส่วนใหญ่เป็นแรงงานไร้ฝีมือซึ่งพอใจกับค่าแรงที่ได้ในฝั่งไทย แรงงานเหล่านี้ลักลอบเข้ามาทำงานในหลายประเภท เช่น เป็นกรรมกรก่อสร้างและโรงสีข้าว เป็นลูกจ้าง ในภาคเกษตรทั้งปศุสัตว์และการผลิตพืชสวน (สวนผัก ผลไม้ และกุหลาบ เป็นต้น) หรือพืชตามฤดูกาล (ไร่อ้อย ถั่วเหลือง ข้าวโพด หอม กระเทียม เป็นต้น) ทำงานอุตสาหกรรม เช่น โรงอิฐ เหมืองแร่ และเหมืองหิน และเป็นแรงงานในบ้าน ร้านค้า และร้านอาหาร เป็นต้น
แรงงานส่วนใหญ่อยู่ในวัยหนุ่มสาวอาศัยกับนายจ้างโดยพักในโรงงาน สถานที่เก็บของ ปลูกกระต๊อบในไร่ หรือเช่าบ้านเป็นกลุ่มในเขตเมือง หมุนเวียนเข้ามาเป็นรุ่นๆ เพื่อหารายได้ กลับไปสร้างหลักฐานในพม่า พื้นที่ที่แรงงานพม่าอยู่หนาแน่นมี 2 แห่งคือ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และอำเภอใกล้เคียง (อำเภออุ้มผาง พบพระ แม่ระมาด และท่าสองยาง จังหวัดตาก) คาดว่าบริเวณชายแดนจังหวัดตากมีแรงงานพม่ารับจ้างทำงานทั้งในภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการประมาณ 83,200 คน ซึ่งในพื้นที่นี้มีอุตสาหกรรมส่งออกโดยเฉพาะอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากกรุงเทพฯและปริมณฑลเข้ามาตั้งโรงงานประมาณ 64 โรงงาน เงินลงทุน 1,804 ล้านบาท มูลค่าการผลิต 6,529 ล้านบาท ส่วนใหญ่ใช้แรงงานเชื้อสายกระเหรี่ยง และแรงงานเหล่านี้ยังกระจายไปสู่จังหวัดใกล้เคียง เช่น กำแพงเพชร นครสวรรค์ และพิษณุโลกด้วย อีกแห่งคือ บริเวณอำเภอแม่สาย แม่จัน จังหวัดเชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดเชียงใหม่ และน่าน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานเชื้อสายไทยใหญ่ โดยเฉพาะที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย แรงงานพม่าส่วนหนึ่งเข้ามาทำงานในลักษณะ ไป-กลับ เนื่องจากทางการไทยและพม่าอนุญาตให้ประชาชนทั้ง 2 ฝั่งข้ามไปมาซื้อขายสินค้าตามเวลาที่แต่ละฝ่ายกำหนด แรงงานในบริเวณนี้ส่วนหนึ่งเป็นแรงงานประเภทกึ่งฝีมือ เช่น การทำอัญมณี เป็นต้น
การจ้างแรงงานต่างด้าวช่วยให้ธุรกิจเอกชนจ้างแรงงานในราคาถูก เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันโดยเฉพาะธุรกิจส่งออก เพิ่มกำลังแรงงานและบรรเทาปัญหาการขาด แคลนแรงงานไร้ฝีมือ ทั้งนี้เนื่องจากอัตราเพิ่มของประชากรภาคเหนือในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาขยายตัวเพียงร้อยละ 1.06 ต่อปี ต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยร้อยละ 1.45 ต่อปี ของทั้งประเทศ และมีการเคลื่อนย้ายแรงงานประชากรไปสู่กรุงเทพฯ และปริมณฑล และไปทำงานต่างประเทศ เช่น ไต้หวัน ญี่ปุ่น และตะวันออกกลาง เป็นต้น รวมทั้งเคลื่อนย้ายไปสู่จังหวัดที่มีการจ้างงานสูง เช่น เชียงใหม่ ลำพูน
อย่างไรก็ตาม การจ้างแรงงานต่างชาติก็เป็นข้อจำกัดอันหนึ่งต่อโครงสร้างค่าจ้างภายในประเทศ เนื่องจากแรงงานเหล่านี้ยินดีรับค่าจ้างต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด และเข้ามาทำงาน แทนแรงงานไทย รวมทั้งยังก่อให้เกิดปัญหาต่อเนื่องหลายด้าน ทางการไทยได้ดำเนินการมาตรการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างชาติเป็นลำดับ ล่าสุดคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2542 ผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวจำนวน 86,895 คน ทำงานได้เฉพาะประเภทกรรมกรในพื้นที่ 37 จังหวัด 18 ประเภท กิจการไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม 2543 ซึ่งในส่วนของภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน แม่ฮ่องสอน กำแพงเพชร นครสวรรค์และตาก มีจำนวน 8,075 คน จาก การศึกษาของ TDRI พบว่าประเทศไทยมีปัญหาขาดแคลนแรงงานในบางพื้นที่และบางอาชีพจริงและได้เสนอแนะว่าในการเสนอแนะมาตรการ ที่จะนำมาใช้ต้องนำเอาข้อโต้แย้งทั้งสองด้านมาร่วมพิจารณาเป็นองค์ประกอบด้วย
กิจการที่ได้รับอนุญาตผ่อนผัน
การใช้แรงงานต่างด้าวในภาคเหนือ
จังหวัด จำนวน กิจการ จำนวน
(คน) (คน)
กำแพงเพชร 531 ไร่อ้อย 312
โรงสีข้าว 219
เชียงราย 867 สวนผัก ผลไม้ 500
ก่อสร้าง 250
โรงสีข้าว 117
เชียงใหม่ 3,398 สวนผัก ผลไม้ 3,140
ก่อสร้าง 100
โรงงานทำอิฐ 158
ตาก 2,125 ก่อสร้าง 1,250
พืชไร่ สวนกาแฟ 875
นครสวรรค์ 154 โรงสีข้าว 154
แม่ฮ่องสอน 879 ก่อสร้าง 463
สวนผัก ผลไม้ 416
ลำพูน 121 เลี้ยงหมู 121
รวม 8075
ที่มา : ราชกิจจานุเบกษาฉบับทั่วไป เล่ม 116 ตอนพิเศษ 54ง, 4 สิงหาคม 2542
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
สำหรับในภาคเหนือก็มีแรงงานต่างด้าวทั้ง 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่เข้ามาทำงานตามกฎหมาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานสัญชาติญี่ปุ่นกระจุกตัวอยู่ใน นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน และจังหวัดเชียงใหม่เป็นสำคัญและกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมืองซึ่งส่วนใหญ่เป็นสัญชาติพม่า แรงงานกลุ่มนี้หนาแน่นตลอดแนวชายแดนไทย-พม่า โดยเฉพาะแนวชายแดนภาคเหนือ สามารถจำแนกแรงงานที่หลบหนีเข้าเมืองได้เป็น 4 กลุ่มสำคัญดังนี้
1. แรงงานพลัดถิ่นหรือผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในพม่าและเหตุผลทางเศรษฐกิจก่อนวันที่ 9 มีนาคม 2519 ซึ่งทางการได้สำรวจและออกบัตรประจำตัวผู้พลัดถิ่นให้แรงงาน กลุ่มนี้อยู่หนาแน่นในจังหวัดตากและเชียงราย
2. แรงงานที่เข้ามาหลังวันที่ 9 มีนาคม 2519 เป็น แรงงานที่เข้ามาหางานทำด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ จากการศึกษาของ TDRI พบว่ามีประมาณ 33,000 คน ในช่วงปี 2519-2535 และเพิ่มขึ้นเป็น 212,187 คน ในปี 2538 ในจำนวนนี้มีชื่ออยู่ในทะเบียนประวัติและบัตรประจำตัวที่ทางราชการออกให้จำนวน 100,356 คน
3. ผู้หลบหนีการสู้รบ ส่วนใหญ่เป็นชาวกระเหรี่ยงพำนักตามแนวชายแดนในภาคเหนือและภาคตะวันตก จากการศึกษาของ TDRI พบว่ามีประมาณ 33,000 คน ในช่วง ปี 2519-2535 และเพิ่มขึ้นเป็น 800,000 คน เมื่อปี 2538
4. กลุ่มที่ลักลอบเข้าเมืองและหลบซ่อนรับจ้างทำงาน ตามแนวชายแดนและจังหวัดอื่นๆ ไม่ทราบจำนวนแน่นอน เนื่องจากยังไม่มีการสำรวจที่ชัดเจน แต่จากการศึกษาของ TDRI ประมาณว่าแรงงานกลุ่มนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ประมาณ 400,000 - 500,000 คนทั่วประเทศ ในระหว่างปี 2537-2538 วิธีลักลอบเข้าเมืองส่วนใหญ่ใช้การเดินเท้าผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง แต่เมื่อถึงกำหนดเวลาจะไม่เดินทางกลับและลักลอบไปหาญาติหรือเพื่อหางานทำต่อไป และบางส่วนก็มีขบวนการนายหน้าชาวไทย พม่า และกลุ่มเจ้าของสถานประกอบการนำแรงงานเหล่านี้เข้าไทย
ความแตกต่างของค่าจ้างและมาตรฐานการครองชีพระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะประเทศพม่าเป็นแรงดึงดูดสำคัญให้แรงงานพม่าหลั่งไหลเข้าไทย โดยเฉพาะในภาคเหนือส่วนใหญ่เป็นแรงงานไร้ฝีมือซึ่งพอใจกับค่าแรงที่ได้ในฝั่งไทย แรงงานเหล่านี้ลักลอบเข้ามาทำงานในหลายประเภท เช่น เป็นกรรมกรก่อสร้างและโรงสีข้าว เป็นลูกจ้าง ในภาคเกษตรทั้งปศุสัตว์และการผลิตพืชสวน (สวนผัก ผลไม้ และกุหลาบ เป็นต้น) หรือพืชตามฤดูกาล (ไร่อ้อย ถั่วเหลือง ข้าวโพด หอม กระเทียม เป็นต้น) ทำงานอุตสาหกรรม เช่น โรงอิฐ เหมืองแร่ และเหมืองหิน และเป็นแรงงานในบ้าน ร้านค้า และร้านอาหาร เป็นต้น
แรงงานส่วนใหญ่อยู่ในวัยหนุ่มสาวอาศัยกับนายจ้างโดยพักในโรงงาน สถานที่เก็บของ ปลูกกระต๊อบในไร่ หรือเช่าบ้านเป็นกลุ่มในเขตเมือง หมุนเวียนเข้ามาเป็นรุ่นๆ เพื่อหารายได้ กลับไปสร้างหลักฐานในพม่า พื้นที่ที่แรงงานพม่าอยู่หนาแน่นมี 2 แห่งคือ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และอำเภอใกล้เคียง (อำเภออุ้มผาง พบพระ แม่ระมาด และท่าสองยาง จังหวัดตาก) คาดว่าบริเวณชายแดนจังหวัดตากมีแรงงานพม่ารับจ้างทำงานทั้งในภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการประมาณ 83,200 คน ซึ่งในพื้นที่นี้มีอุตสาหกรรมส่งออกโดยเฉพาะอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากกรุงเทพฯและปริมณฑลเข้ามาตั้งโรงงานประมาณ 64 โรงงาน เงินลงทุน 1,804 ล้านบาท มูลค่าการผลิต 6,529 ล้านบาท ส่วนใหญ่ใช้แรงงานเชื้อสายกระเหรี่ยง และแรงงานเหล่านี้ยังกระจายไปสู่จังหวัดใกล้เคียง เช่น กำแพงเพชร นครสวรรค์ และพิษณุโลกด้วย อีกแห่งคือ บริเวณอำเภอแม่สาย แม่จัน จังหวัดเชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดเชียงใหม่ และน่าน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานเชื้อสายไทยใหญ่ โดยเฉพาะที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย แรงงานพม่าส่วนหนึ่งเข้ามาทำงานในลักษณะ ไป-กลับ เนื่องจากทางการไทยและพม่าอนุญาตให้ประชาชนทั้ง 2 ฝั่งข้ามไปมาซื้อขายสินค้าตามเวลาที่แต่ละฝ่ายกำหนด แรงงานในบริเวณนี้ส่วนหนึ่งเป็นแรงงานประเภทกึ่งฝีมือ เช่น การทำอัญมณี เป็นต้น
การจ้างแรงงานต่างด้าวช่วยให้ธุรกิจเอกชนจ้างแรงงานในราคาถูก เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันโดยเฉพาะธุรกิจส่งออก เพิ่มกำลังแรงงานและบรรเทาปัญหาการขาด แคลนแรงงานไร้ฝีมือ ทั้งนี้เนื่องจากอัตราเพิ่มของประชากรภาคเหนือในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาขยายตัวเพียงร้อยละ 1.06 ต่อปี ต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยร้อยละ 1.45 ต่อปี ของทั้งประเทศ และมีการเคลื่อนย้ายแรงงานประชากรไปสู่กรุงเทพฯ และปริมณฑล และไปทำงานต่างประเทศ เช่น ไต้หวัน ญี่ปุ่น และตะวันออกกลาง เป็นต้น รวมทั้งเคลื่อนย้ายไปสู่จังหวัดที่มีการจ้างงานสูง เช่น เชียงใหม่ ลำพูน
อย่างไรก็ตาม การจ้างแรงงานต่างชาติก็เป็นข้อจำกัดอันหนึ่งต่อโครงสร้างค่าจ้างภายในประเทศ เนื่องจากแรงงานเหล่านี้ยินดีรับค่าจ้างต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด และเข้ามาทำงาน แทนแรงงานไทย รวมทั้งยังก่อให้เกิดปัญหาต่อเนื่องหลายด้าน ทางการไทยได้ดำเนินการมาตรการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างชาติเป็นลำดับ ล่าสุดคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2542 ผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวจำนวน 86,895 คน ทำงานได้เฉพาะประเภทกรรมกรในพื้นที่ 37 จังหวัด 18 ประเภท กิจการไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม 2543 ซึ่งในส่วนของภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน แม่ฮ่องสอน กำแพงเพชร นครสวรรค์และตาก มีจำนวน 8,075 คน จาก การศึกษาของ TDRI พบว่าประเทศไทยมีปัญหาขาดแคลนแรงงานในบางพื้นที่และบางอาชีพจริงและได้เสนอแนะว่าในการเสนอแนะมาตรการ ที่จะนำมาใช้ต้องนำเอาข้อโต้แย้งทั้งสองด้านมาร่วมพิจารณาเป็นองค์ประกอบด้วย
กิจการที่ได้รับอนุญาตผ่อนผัน
การใช้แรงงานต่างด้าวในภาคเหนือ
จังหวัด จำนวน กิจการ จำนวน
(คน) (คน)
กำแพงเพชร 531 ไร่อ้อย 312
โรงสีข้าว 219
เชียงราย 867 สวนผัก ผลไม้ 500
ก่อสร้าง 250
โรงสีข้าว 117
เชียงใหม่ 3,398 สวนผัก ผลไม้ 3,140
ก่อสร้าง 100
โรงงานทำอิฐ 158
ตาก 2,125 ก่อสร้าง 1,250
พืชไร่ สวนกาแฟ 875
นครสวรรค์ 154 โรงสีข้าว 154
แม่ฮ่องสอน 879 ก่อสร้าง 463
สวนผัก ผลไม้ 416
ลำพูน 121 เลี้ยงหมู 121
รวม 8075
ที่มา : ราชกิจจานุเบกษาฉบับทั่วไป เล่ม 116 ตอนพิเศษ 54ง, 4 สิงหาคม 2542
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-