วันนี้ (19 เม.ย. 48) เวลา 16.30 น. นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วย ม.ล.อภิมงคล โสณกุล นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ ร.อ.หญิงเดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่ และ น.ส.ณิรัฐกานต์ ศรีลาภ รองโฆษกฯ ร่วมกันแถลงภายหลังการประชุมคณะผู้บริหารและ ส.ส.ของพรรค
โดย ร.อ.หญิงเดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่ แถลงว่า คณะผู้บริหารพรรคมีมติให้ตั้งคณะทำงานด้านต่างๆของพรรค จำนวน 6 คณะ ดังนี้
1. ด้านเศรษฐกิจ ดูแลด้าน การเงินการคลัง, อุตสาหกรรม, ท่องเที่ยว, พลังงาน, พาณิชย์ และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
2. ด้านการเกษตร-สิ่งแวดล้อม ดูแลด้าน สิ่งแวดล้อม, การเกษตร และทรัพยากรธรรมชาติ
3. ด้านสังคม ดูแลด้าน แรงงาน, สวัสดิการสังคม, สตรี เด็กเยาวชน ผู้สูงอายุ, สาธารณสุข และคุ้มครองผู้บริโภค
4. ด้านเทคโนโลยี คมนาคม และการสื่อสาร ดูแลด้าน คมนาคม, เทคโนโลยีการสื่อสาร วิทยาศาสตร์ ฯลฯ
5. ด้านการศึกษา วัฒนธรรม การกีฬา ดูแลด้าน การศึกษา, ศาสนา, ศิลปวัฒนธรรม และการกีฬา
6. ด้านปกครองและความมั่นคง ดูแลด้าน กลาโหม, ตำรวจ, มหาดไทย, ปกครอง, ยุติธรรม สิทธิมนุษยชน และการต่างประเทศ
ซึ่งคณะทำงานจะมีหน้าที่พิจารณาศึกษางานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งติดตามและตรวจสอบการบริหารงานของรัฐบาล นอกจากนี้จะมีการวิเคราะห์และวิจัยเกี่ยวกับปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ในส่วนของผู้ที่จะมาเป็นคณะทำงานจะมีทั้งบุคคลจากภายในและภายนอกพรรค ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาบุคคลที่เหมาะสม มีความรู้ความสามารถและมีความถนัดในด้านต่างๆ
ต่อมานายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ แถลงว่า คณะผู้บริหารพรรคมีมติมอบหมายให้คณะทำงานด้านกฎหมายของพรรคดำเนินการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 257 ในประเด็นเรื่องการสรรหาคณะกรรมการในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์มีหลักการให้ตัดสัดส่วนตัวแทนจากพรรคการเมืองออก เพื่อให้องค์กรอิสระปลอดจากการแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองอย่างแท้จริง ส่วนสัดส่วนดังกล่าวจะให้ตัวแทนจากภาคประชาชนเข้ามาทดแทนหรือไม่ คณะทำงานด้านกฎหมายของพรรคจะศึกษารายละเอียดต่อไป ซึ่งการที่พรรคประชาธิปัตย์มีมติแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นดังกล่าวเพียงประเด็นเดียว เนื่องจากเห็นว่าเป็นประเด็นที่มีความสำคัญในการสร้างหลักประกันในการทำงานขององค์กรอิสระ ให้สามารถตรวจสอบอำนาจรัฐได้อย่างเป็นอิสระ ทั้งนี้พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้มีผลประโยชน์ส่วนตัวอื่นใดเคลือบแฝง ในการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้
จากนั้น ม.ล.อภิมงคล โสณกุล แถลงรายชื่อประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาผู้แทนราษฎร ในสัดส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 6 คณะ ดังนี้
1. นายสุวโรช พะลัง ประธานคณะกรรมาธิการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน
2. นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ประธานคณะกรรมาธิการการตำรวจ
3. นายประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ ประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ
4. นายวินัย เสนเนียม ประธานคณะกรรมาธิการติดตามผลและการปฏิบัติตามมติของสภาผู้แทนราษฎร
5. นายนคร มาฉิม ประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง
6. นายธีระ สลักเพชร ประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข
ส่วนอีกเรื่องคือ ที่ประชุมมีการพิจารณาจัดสรรบุคลากร เพื่อเข้าไปทำหน้าที่ในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2548 หรือ งบกลางปี ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ได้รับจัดสรร จำนวน 5 คน ดังนี้ 1.นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ 2. นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล 3.นายเชน เทือกสุบรรณ 4.นายศิริโชค โสภา และ 5.นายอิสระ สมชัย
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 19 เม.ย. 2548--จบ--
-ดท-
โดย ร.อ.หญิงเดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่ แถลงว่า คณะผู้บริหารพรรคมีมติให้ตั้งคณะทำงานด้านต่างๆของพรรค จำนวน 6 คณะ ดังนี้
1. ด้านเศรษฐกิจ ดูแลด้าน การเงินการคลัง, อุตสาหกรรม, ท่องเที่ยว, พลังงาน, พาณิชย์ และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
2. ด้านการเกษตร-สิ่งแวดล้อม ดูแลด้าน สิ่งแวดล้อม, การเกษตร และทรัพยากรธรรมชาติ
3. ด้านสังคม ดูแลด้าน แรงงาน, สวัสดิการสังคม, สตรี เด็กเยาวชน ผู้สูงอายุ, สาธารณสุข และคุ้มครองผู้บริโภค
4. ด้านเทคโนโลยี คมนาคม และการสื่อสาร ดูแลด้าน คมนาคม, เทคโนโลยีการสื่อสาร วิทยาศาสตร์ ฯลฯ
5. ด้านการศึกษา วัฒนธรรม การกีฬา ดูแลด้าน การศึกษา, ศาสนา, ศิลปวัฒนธรรม และการกีฬา
6. ด้านปกครองและความมั่นคง ดูแลด้าน กลาโหม, ตำรวจ, มหาดไทย, ปกครอง, ยุติธรรม สิทธิมนุษยชน และการต่างประเทศ
ซึ่งคณะทำงานจะมีหน้าที่พิจารณาศึกษางานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งติดตามและตรวจสอบการบริหารงานของรัฐบาล นอกจากนี้จะมีการวิเคราะห์และวิจัยเกี่ยวกับปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ในส่วนของผู้ที่จะมาเป็นคณะทำงานจะมีทั้งบุคคลจากภายในและภายนอกพรรค ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาบุคคลที่เหมาะสม มีความรู้ความสามารถและมีความถนัดในด้านต่างๆ
ต่อมานายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ แถลงว่า คณะผู้บริหารพรรคมีมติมอบหมายให้คณะทำงานด้านกฎหมายของพรรคดำเนินการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 257 ในประเด็นเรื่องการสรรหาคณะกรรมการในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์มีหลักการให้ตัดสัดส่วนตัวแทนจากพรรคการเมืองออก เพื่อให้องค์กรอิสระปลอดจากการแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองอย่างแท้จริง ส่วนสัดส่วนดังกล่าวจะให้ตัวแทนจากภาคประชาชนเข้ามาทดแทนหรือไม่ คณะทำงานด้านกฎหมายของพรรคจะศึกษารายละเอียดต่อไป ซึ่งการที่พรรคประชาธิปัตย์มีมติแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นดังกล่าวเพียงประเด็นเดียว เนื่องจากเห็นว่าเป็นประเด็นที่มีความสำคัญในการสร้างหลักประกันในการทำงานขององค์กรอิสระ ให้สามารถตรวจสอบอำนาจรัฐได้อย่างเป็นอิสระ ทั้งนี้พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้มีผลประโยชน์ส่วนตัวอื่นใดเคลือบแฝง ในการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้
จากนั้น ม.ล.อภิมงคล โสณกุล แถลงรายชื่อประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาผู้แทนราษฎร ในสัดส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 6 คณะ ดังนี้
1. นายสุวโรช พะลัง ประธานคณะกรรมาธิการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน
2. นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ประธานคณะกรรมาธิการการตำรวจ
3. นายประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ ประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ
4. นายวินัย เสนเนียม ประธานคณะกรรมาธิการติดตามผลและการปฏิบัติตามมติของสภาผู้แทนราษฎร
5. นายนคร มาฉิม ประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง
6. นายธีระ สลักเพชร ประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข
ส่วนอีกเรื่องคือ ที่ประชุมมีการพิจารณาจัดสรรบุคลากร เพื่อเข้าไปทำหน้าที่ในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2548 หรือ งบกลางปี ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ได้รับจัดสรร จำนวน 5 คน ดังนี้ 1.นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ 2. นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล 3.นายเชน เทือกสุบรรณ 4.นายศิริโชค โสภา และ 5.นายอิสระ สมชัย
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 19 เม.ย. 2548--จบ--
-ดท-