ข่าวในประเทศ
1. ธปท.เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน มิ.ย.44 ต่ำสุดในรอบ 30 เดือน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน มิ.ย.44 ว่า ดัชนีฯ ตกลงมาอยู่ที่ระดับ 45.0 ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบ 30 เดือนนับตั้งแต่เดือน ก.พ.42 ที่อยู่ที่ระดับ 45.3 สำหรับแนวโน้มของดัชนีฯ ในระยะ 3 เดือนข้างหน้า ยังมีแนวโน้มที่ไม่ดีนัก นักธุรกิจยังไม่มีความมั่นใจ เนื่องจากต้นทุนการประกอบการและคำสั่งซื้อทั้งหมดยังเป็นปัจจัยที่ผันผวนมาก (กรุงเทพธุรกิจ 2)
2. ผลการประชุมคณะกรรมการ บสท.เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การประเมินราคาหลักทรัพย์ค้ำประกันเอ็นพีแอลในส่วนที่จะโอนไปยัง บสท. ประธานกรรมการบริหารบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการฯ ว่า ที่ประชุมมีความเห็นชอบหลักเกณฑ์การประเมินราคาหลักทรัพย์ค้ำประกันหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล)ของสถาบันการเงิน ให้ใช้วิธีการประเมินราคาตามบัญชีสุทธิที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนด จากเดิมที่ กม.ทีเอเอ็มซีกำหนดให้ใช้ราคาประเมินของกรมที่ดิน ซึ่งจะทำให้กระบวนการเกิดความล่าช้า เนื่องจากมีลูกหนี้ต้องประเมินราคาใหม่ถึงจำนวน 1.6 แสนราย และสูญเสียรายจ่ายจากการทำค่าประเมินรวม 300 ล.บาท รวมทั้งหากใช้ราคาประเมินของกรมที่ดิน ธพ.จะต้องเพิ่มทุนบางรายการ ขณะที่การประเมินราคาตามเกณฑ์ของ ธปท.ใช้ราคามูลค่าทางบัญชี(Book Value) ซึ่ง ธพ.ไม่ต้องเพิ่มทุน เพราะที่ผ่านมา ธพ.ได้เพิ่มทุนและมีการสำรองหนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 100 แล้ว ทั้งนี้ คณะกรรมการ บสท.จะนำหลักเกณฑ์ดังกล่าวเสนอ รมว.คลังพิจารณาเพื่อนำเสนอ ครม.แก้ไข พ.ร.ก.ภายในวันที่ 15 ส.ค.44 เพื่อที่จะสามารถโอนสินทรัพย์กลุ่มแรกได้ภายในสิ้นเดือน ส.ค.44 จำนวน 400,000 ล.บาท (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ 2)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคประจำเดือน ก.ค.44 อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปประจำเดือน ก.ค.44 ว่า มีค่าเท่ากับ 132.8 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน มิ.ย.44 และสูงขึ้นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับเดือน ก.ค.43 สำหรับค่าเฉลี่ยช่วง 7 เดือน (ม.ค.-ก.ค.44)ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 43 อย่างไรก็ตาม คาดว่าดัชนีฯ ทั้งปีน่าจะยังอยู่ในระดับร้อยละ 2-2.5 ตามเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้ (โลกวันนี้ 2)
4. ก.คลังออก พธบ. 1 แสน ล.บาทเพื่อไถ่ถอน พธบ.ที่ถึงกำหนด แหล่งข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า ก.คลังจะออก พธบ.เพื่อนำเงินไปไถ่ถอน พธบ.ที่ ก.คลัง ออกเพื่อชดเชยความเสียหายให้กับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ในส่วนที่ถึงกำหนดไถ่ถอนจำนวน 1 แสน ล.บาท โดยจะทยอยออกตั้งแต่เดือน ธ.ค.44-มิ.ย.45 โดย ธปท.จะเป็นผู้ดูแลความเหมาะสมเพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อนกับ พธบ.ของกองทุนฟื้นฟูฯ ที่จะเริ่มออกในปลายปี 44 (มติชน 2)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ. ลดลงอยู่ที่ระดับ 43.6 ในเดือน ก.ค.44 รายงานจากอาริโซน่าเมื่อ 1 ส.ค.44 National Association of Purchasing Management (NAPM) เปิดเผยว่า เดือน ก.ค.44 ดัชนีอุตสาหกรรมการผลิตโดยรวม (PMI) อยู่ที่ระดับ 43.6 ลดลงจากระดับ 44.7 ในเดือน มิ.ย.44 และต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ที่ระดับ 44.5 โดยส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้ PMI ในเดือน ก.ค. ลดลง ได้แก่ คำสั่งซื้อสินค้าใหม่ลดลงอยู่ที่ระดับ 46.3 จากระดับ 48.6 ในเดือน มิ.ย. การส่งมอบสินค้าอยู่ที่ระดับ 47.4 ลดลงจากระดับ 48.0 และดัชนีสินค้าคงคลังอยู่ที่ระดับ 35.8 ลดลงจากระดับ 40.8 การนำเข้าลดลงอยู่ที่ระดับ 47.3 จากระดับ 48.0 จากรายงานดังกล่าวบ่งชี้ว่า ยังไม่อาจหวังได้ว่าภาคอุตสาหกรรมของ สรอ.จะหลุดพ้นจากการชะลอตัวที่ยาวนาน ทั้งนี้ การลดลงของ PMI ในเดือน ก.ค.44 เป็นการโน้มต่ำลงอีกครั้งหนึ่งของอุตสาหกรรมการผลิตนับตั้งแต่เดือน ม.ค.44 ที่ดัชนีฯ อยู่ที่ระดับ 41.2 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 10 ปี นับตั้งแต่กลางปี 32-34 (รอยเตอร์ 2)
2. การใช้จ่ายเพื่อการก่อสร้างของ สรอ. เดือน มิ.ย.44 ลดลงร้อยละ 0.7 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 1 ส.ค.44 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน มิ.ย.44 ตัวเลขการใช้จ่ายเพื่อการก่อสร้าง หลังปรับฤดูกาล มีจำนวน 861.6 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 0.7 จากจำนวน 867.3 พัน ล. ดอลลาร์ในเดือน พ.ค. 44 และเป็นการลดลงมากที่สุดในรอบเกือบ 1 ปีนับตั้งแต่เดือน ก.ค.43 ที่ลดลงร้อยละ 1.3 นอกจากนั้น ยังลดลงอย่างมากจากที่นัก วิเคราะห์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 รายงานครั้งนี้ ชี้ถึงภาคการก่อสร้างของ สรอ. ที่ชะลอตัวลงจากภาวะที่เคยร้อนแรง ทั้งนี้ ในเดือนมิ.ย.44 การใช้จ่ายฯของภาคเอกชน ลดลงร้อยละ0.7 ขณะที่ การใช้จ่ายฯของภาครัฐบาล ลดลงร้อยละ 0.6 นับว่าลดลงมากที่สุดตั้งแต่ที่เคยลดลงร้อยละ 2.2 ในเดือน ก.ค. 43 (รอยเตอร์ 1)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคโดยรวมของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน ก.ค. 44 รายงานจากโซลเมื่อ 1 ส.ค. 44 สำนักงานสถิติแห่งชาติเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค(CPI)โดยรวมของเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน ก.ค. 44 ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือน มิ.ย. 44 และใกล้เคียงกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.18 แต่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมราคาอาหารและน้ำมันในเดือน ก.ค. เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 4.3 เทียบกับเดือนเดียวกันของปี 43 ทั้งนี้ ตัวเลข CPI ที่เพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เป็นผลจากราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้น เนื่องจากฝนตกอย่างรุนแรงในเดือน ก.ค. หลังจากที่แห้งแล้งอย่างมากในเดือน มิ.ย. นักเศรษฐศาสตร์ของ Daishin Economic Research (Kwon Hyeuk-boo) กล่าวว่า แม้เงินเฟ้อโดยรวมอ่อนตัวลง แต่เงินเฟ้อพื้นฐานที่สูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับปีก่อน จะส่งผลให้ ธ. กลางมีความลำบากใจในการตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 9 ส.ค. นี้ (รอยเตอร์1)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 1 ส.ค. 44 45.754(45.726)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 1 ส.ค. 44ซื้อ 45.5446 (45.5348) ขาย 45.8622 (45.8424)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,750 (5,700) ขาย 5,850 (5,800)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.59 (23.70)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 14.79 (14.79) ดีเซลหมุนเร็ว 13.64 (13.64)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน มิ.ย.44 ต่ำสุดในรอบ 30 เดือน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน มิ.ย.44 ว่า ดัชนีฯ ตกลงมาอยู่ที่ระดับ 45.0 ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบ 30 เดือนนับตั้งแต่เดือน ก.พ.42 ที่อยู่ที่ระดับ 45.3 สำหรับแนวโน้มของดัชนีฯ ในระยะ 3 เดือนข้างหน้า ยังมีแนวโน้มที่ไม่ดีนัก นักธุรกิจยังไม่มีความมั่นใจ เนื่องจากต้นทุนการประกอบการและคำสั่งซื้อทั้งหมดยังเป็นปัจจัยที่ผันผวนมาก (กรุงเทพธุรกิจ 2)
2. ผลการประชุมคณะกรรมการ บสท.เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การประเมินราคาหลักทรัพย์ค้ำประกันเอ็นพีแอลในส่วนที่จะโอนไปยัง บสท. ประธานกรรมการบริหารบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการฯ ว่า ที่ประชุมมีความเห็นชอบหลักเกณฑ์การประเมินราคาหลักทรัพย์ค้ำประกันหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล)ของสถาบันการเงิน ให้ใช้วิธีการประเมินราคาตามบัญชีสุทธิที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนด จากเดิมที่ กม.ทีเอเอ็มซีกำหนดให้ใช้ราคาประเมินของกรมที่ดิน ซึ่งจะทำให้กระบวนการเกิดความล่าช้า เนื่องจากมีลูกหนี้ต้องประเมินราคาใหม่ถึงจำนวน 1.6 แสนราย และสูญเสียรายจ่ายจากการทำค่าประเมินรวม 300 ล.บาท รวมทั้งหากใช้ราคาประเมินของกรมที่ดิน ธพ.จะต้องเพิ่มทุนบางรายการ ขณะที่การประเมินราคาตามเกณฑ์ของ ธปท.ใช้ราคามูลค่าทางบัญชี(Book Value) ซึ่ง ธพ.ไม่ต้องเพิ่มทุน เพราะที่ผ่านมา ธพ.ได้เพิ่มทุนและมีการสำรองหนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 100 แล้ว ทั้งนี้ คณะกรรมการ บสท.จะนำหลักเกณฑ์ดังกล่าวเสนอ รมว.คลังพิจารณาเพื่อนำเสนอ ครม.แก้ไข พ.ร.ก.ภายในวันที่ 15 ส.ค.44 เพื่อที่จะสามารถโอนสินทรัพย์กลุ่มแรกได้ภายในสิ้นเดือน ส.ค.44 จำนวน 400,000 ล.บาท (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ 2)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคประจำเดือน ก.ค.44 อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปประจำเดือน ก.ค.44 ว่า มีค่าเท่ากับ 132.8 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน มิ.ย.44 และสูงขึ้นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับเดือน ก.ค.43 สำหรับค่าเฉลี่ยช่วง 7 เดือน (ม.ค.-ก.ค.44)ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 43 อย่างไรก็ตาม คาดว่าดัชนีฯ ทั้งปีน่าจะยังอยู่ในระดับร้อยละ 2-2.5 ตามเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้ (โลกวันนี้ 2)
4. ก.คลังออก พธบ. 1 แสน ล.บาทเพื่อไถ่ถอน พธบ.ที่ถึงกำหนด แหล่งข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า ก.คลังจะออก พธบ.เพื่อนำเงินไปไถ่ถอน พธบ.ที่ ก.คลัง ออกเพื่อชดเชยความเสียหายให้กับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ในส่วนที่ถึงกำหนดไถ่ถอนจำนวน 1 แสน ล.บาท โดยจะทยอยออกตั้งแต่เดือน ธ.ค.44-มิ.ย.45 โดย ธปท.จะเป็นผู้ดูแลความเหมาะสมเพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อนกับ พธบ.ของกองทุนฟื้นฟูฯ ที่จะเริ่มออกในปลายปี 44 (มติชน 2)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ. ลดลงอยู่ที่ระดับ 43.6 ในเดือน ก.ค.44 รายงานจากอาริโซน่าเมื่อ 1 ส.ค.44 National Association of Purchasing Management (NAPM) เปิดเผยว่า เดือน ก.ค.44 ดัชนีอุตสาหกรรมการผลิตโดยรวม (PMI) อยู่ที่ระดับ 43.6 ลดลงจากระดับ 44.7 ในเดือน มิ.ย.44 และต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ที่ระดับ 44.5 โดยส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้ PMI ในเดือน ก.ค. ลดลง ได้แก่ คำสั่งซื้อสินค้าใหม่ลดลงอยู่ที่ระดับ 46.3 จากระดับ 48.6 ในเดือน มิ.ย. การส่งมอบสินค้าอยู่ที่ระดับ 47.4 ลดลงจากระดับ 48.0 และดัชนีสินค้าคงคลังอยู่ที่ระดับ 35.8 ลดลงจากระดับ 40.8 การนำเข้าลดลงอยู่ที่ระดับ 47.3 จากระดับ 48.0 จากรายงานดังกล่าวบ่งชี้ว่า ยังไม่อาจหวังได้ว่าภาคอุตสาหกรรมของ สรอ.จะหลุดพ้นจากการชะลอตัวที่ยาวนาน ทั้งนี้ การลดลงของ PMI ในเดือน ก.ค.44 เป็นการโน้มต่ำลงอีกครั้งหนึ่งของอุตสาหกรรมการผลิตนับตั้งแต่เดือน ม.ค.44 ที่ดัชนีฯ อยู่ที่ระดับ 41.2 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 10 ปี นับตั้งแต่กลางปี 32-34 (รอยเตอร์ 2)
2. การใช้จ่ายเพื่อการก่อสร้างของ สรอ. เดือน มิ.ย.44 ลดลงร้อยละ 0.7 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 1 ส.ค.44 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน มิ.ย.44 ตัวเลขการใช้จ่ายเพื่อการก่อสร้าง หลังปรับฤดูกาล มีจำนวน 861.6 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 0.7 จากจำนวน 867.3 พัน ล. ดอลลาร์ในเดือน พ.ค. 44 และเป็นการลดลงมากที่สุดในรอบเกือบ 1 ปีนับตั้งแต่เดือน ก.ค.43 ที่ลดลงร้อยละ 1.3 นอกจากนั้น ยังลดลงอย่างมากจากที่นัก วิเคราะห์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 รายงานครั้งนี้ ชี้ถึงภาคการก่อสร้างของ สรอ. ที่ชะลอตัวลงจากภาวะที่เคยร้อนแรง ทั้งนี้ ในเดือนมิ.ย.44 การใช้จ่ายฯของภาคเอกชน ลดลงร้อยละ0.7 ขณะที่ การใช้จ่ายฯของภาครัฐบาล ลดลงร้อยละ 0.6 นับว่าลดลงมากที่สุดตั้งแต่ที่เคยลดลงร้อยละ 2.2 ในเดือน ก.ค. 43 (รอยเตอร์ 1)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคโดยรวมของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน ก.ค. 44 รายงานจากโซลเมื่อ 1 ส.ค. 44 สำนักงานสถิติแห่งชาติเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค(CPI)โดยรวมของเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน ก.ค. 44 ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือน มิ.ย. 44 และใกล้เคียงกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.18 แต่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมราคาอาหารและน้ำมันในเดือน ก.ค. เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 4.3 เทียบกับเดือนเดียวกันของปี 43 ทั้งนี้ ตัวเลข CPI ที่เพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เป็นผลจากราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้น เนื่องจากฝนตกอย่างรุนแรงในเดือน ก.ค. หลังจากที่แห้งแล้งอย่างมากในเดือน มิ.ย. นักเศรษฐศาสตร์ของ Daishin Economic Research (Kwon Hyeuk-boo) กล่าวว่า แม้เงินเฟ้อโดยรวมอ่อนตัวลง แต่เงินเฟ้อพื้นฐานที่สูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับปีก่อน จะส่งผลให้ ธ. กลางมีความลำบากใจในการตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 9 ส.ค. นี้ (รอยเตอร์1)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 1 ส.ค. 44 45.754(45.726)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 1 ส.ค. 44ซื้อ 45.5446 (45.5348) ขาย 45.8622 (45.8424)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,750 (5,700) ขาย 5,850 (5,800)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.59 (23.70)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 14.79 (14.79) ดีเซลหมุนเร็ว 13.64 (13.64)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-